รสอ. วาที ร่วมประชุม “ฟรุ๊ทบอร์ด” ครั้งที่ 3/2567
กรุงเทพฯ 24 พฤษภาคม 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้แทนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 3/2567 ร่วมด้วย คณะกรรมการฯ และ ผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมจำลอง อัตนโถ ส.ป.ก. ถนนราชดำเนินนอก และสถานที่ตั้งของผู้เข้าร่วมประชุม ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมครั้งนี้ ได้ร่วมหารือ ประกอบด้วย สถานการณ์และแนวโน้มการผลิต – การตลาดผลไม้ ปี 2567 ประเด็นความเสี่ยงและแผนบริหารความเสี่ยง โดยนับตั้งแต่เริ่มเก็บเกี่ยว – ช่วงพีค – สิ้นสุดฤดูกาล ของผลไม้ในภาคเหนือ (ลำไย ลิ้นจี่) ภาคใต้และภาคตะวันออก (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการตลาดสินค้าลำไยในสถาบันเกษตรกร ฤดูกาลผลิตปี 2567 และแผนปฏิบัติการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2567 – 2570 ผ่านกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อผลักดันให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า ภายใน 4 ปี
28 พ.ค. 2567
"ดีพร้อม" ประชุมบอร์ดเงินทุนหมุนเวียนฯ ครั้งที่ 4/2567
กรุงเทพฯ 23 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย ครั้งที่ 4/2567 โดยมี นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเจตนิพิฐ รอดภัย ที่ปรึกษากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว คณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณาแผนปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของเงินทุนหมุนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย ในช่วงระยะเวลา 15 มิ.ย 67 – 30 ก.ย. 68 เพื่อให้การดำเนินงานของเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด พร้อมรับฟังรายงานผลของการดำเนินงานในส่วนต่าง ๆ ประกอบด้วย 1) ผลการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ ณ วันที่ 30 เม.ย.67 2) งบการเงินของเงินทุนหมุนเวียนฯ ประจำปีบัญชี 2567 (ไตรมาสที่ 2) 3) ผลการจัดกิจกรรม “พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR” และ 4) ผลการประชุมติดตามผลการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ ของหน่วยปฏิบัติ ประจำปีบัญชี 2567 เป็นต้น
24 พ.ค. 2567
“พิมพ์ภัทรา” ประชุมผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ย้ำ ให้ดูแลประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุไฟไหม้มาบตาพุด – การขนย้ายกากสารเคมี กำชับต้องสื่อสารให้ชัดเจน พร้อมเร่งรัดออกใบอนุญาต รง.4 และต้องทำให้ถูกต้องตามกระบวนการ
กรุงเทพฯ 21 พฤษภาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ครั้งที่ 8/2567 โดยมี นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ นายบรรจง สุกรีฑา นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แจ้งในที่ประชุมถึงข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน เรื่องการส่งเสริมการปลูก การผลิต และการแปรรูปผลผลิตกาแฟ โดยได้ฝากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมไปดำเนินการพัฒนาทั้ง 4 ภูมิภาค นอกจากนี้ ขอให้หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ลดธงครึ่งเสาเป็นเวลา 3 วัน เพื่อแสดงความไว้อาลัยประธานาธิบดีอิหร่านถึงแก่อสัญกรรม ทั้งนี้ ที่ประชุม ได้รายงานลำดับเหตุการณ์ไฟไหม้นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตลอดจนมาตรการดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งรัฐมนตรีอุตสาหกรรมได้ กำชับเรื่องการใช้งบประมาณและความเร่งด่วนต่อการเยียวยา โดยต้องบริหารจัดการความรู้สึกของพี่น้องประชาชนไปพร้อม ๆ กัน และต้องสื่อสารให้ชัดเจนกับผู้ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน ทั้งเรื่องของการจัดการขนย้ายกากสารเคมี กากแคดเมียม ฯลฯ เพื่อไม่ให้มีปัญหาตามมา นอกจากนี้ยังได้เร่งรัดเรื่องการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) โดยย้ำว่าต้องทำให้ถูกต้อง
23 พ.ค. 2567
"ดีพร้อม" ผนึกกำลัง "สถาบันอาหาร" ยกระดับวัตถุดิบท้องถิ่นด้วย Soft Power รังสรรค์เป็นเมนูเด็ดชุมชนดีพร้อม
จ.กรุงเทพ 21 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวแสดงความยินดีในพิธีปิดและมอบวุฒิบัตรกิจกรรมยกระดับวัตถุดิบท้องถิ่นด้วย Soft Power รังสรรค์เป็นเมนูเด็ดชุมชนดีพร้อม โดยมี นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดร.ศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร พร้อมด้วย ตัวแทนวิสาหกิจชุมชน คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 ศูนย์การเรียนรู้อาหารไทย สถาบันอาหาร กิจกรรมดังกล่าว เป็นการร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จจากกิจกรรม “ยกระดับวัตถุดิบท้องถิ่นด้วย Soft Power รังสรรค์เป็นเมนูเด็ดชุมชนดีพร้อม”ภายใต้โครงการยกระดับธุรกิจอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 13 ชุมชน 56 คน ในพื้นที่ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 จังหวัดสุพรรณบุรี และในพื้นที่ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อนำเสนออัตลักษณ์ของชุมชนผ่านจานอาหาร และยกระดับต่อเนื่องกับองค์ความรู้ในการพัฒนาเมนูเด็ดชุมชนดีพร้อม สู่ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าอย่างครบวงจร นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ยังได้เข้าร่วมกิจกรรมการให้คำปรึกษาแนะนำ (Coaching) ผ่านระบบ Online Conference เพื่อทำการให้คำปรึกษาแนะนำวิธีการยกระดับวัตถุดิบท้องถิ่นเมนูเด็ดชุมชนดีพร้อม เพิ่มมูลค่าผ่านการจัดจานอาหาร และการคำนวณเพื่อตั้งราคาได้อย่างเหมาะสม พร้อมให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาเมนูเด็ดชุมชนดีพร้อมเป็นผลิตภัณฑ์เชิงอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการยืดอายุ รวมถึงการพัฒนาช่องทางการตลาดทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ และยกระดับวัตถุดิบท้องถิ่นขึ้นเป็นเมนูเด็ดชุมชนดีพร้อม โดยผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันอาหารและผู้เชี่ยวชาญด้านการบริการอาหารจากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
23 พ.ค. 2567
“อสอ. ภาสกร” ประชุมแนวทางการปรับตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ มุ่งพัฒนาบุคลากร สนองแนวคิด “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม”
กรุงเทพฯ 21 พฤษภาคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมการนำเสนอผลการศึกษา “แนวทางการปรับตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม” พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว ได้มีการนำเสนอผลการศึกษา “แนวทางการปรับตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ สำหรับการยกระดับบทบาทของหน่วยงานภายใต้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดย ทีมงานบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด อีกทั้งได้มีการทบทวนบทบาทของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในระบบนิเวศ (Ecosystem) และร่างแนวทางการปรับตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ในภาพรวมและหน่วยงานภายใต้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 5 หน่วยงาน ประกอบไปด้วย 1) กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม (กข.) 2) กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (กน.) 3) กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม (กท.) 4) กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน(กช.) และ 5) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ศส.) ทั้งนี้ ได้มีการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการของดีพร้อม โดยการเร่งสร้างบุคลากรให้เป็น Business Consult และ Market Creators เพื่อให้บรรลุแนวคิด “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม”
23 พ.ค. 2567
“อธิบดีภาสกร” นำทีมดีพร้อม รวมพลังปลูกต้นไม้ เนื่องในวันต้นไม้ของชาติประจำปี 2567
กรุงเทพฯ 20 พฤษภาคม 2566 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรม Reshape ภูมิทัศน์ กสอ. พระรามที่ 6 รวมพลังจิตอาสาปลูกต้นไม้ เนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2567 โดยมี นายวาที พีระวรานุพงศ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม เห็นคุณค่าของการรักษา และฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวด้วยกระบวนการต่าง ๆ เพื่อสร้างสมดุลให้ธรรมชาติ จากรุ่นสู่รุ่นในอนาคต โดยการร่วมกันปลูกต้นไม้ ปรับภูมิทัศน์ บริเวณกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พระรามที่ 6 ให้เป็นสถานที่ร่มรื่น น่าอยู่และเป็นระเบียบเรียบร้อย อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างความสามัคคี ระหว่างสมาชิก ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานต่อไป
23 พ.ค. 2567
“อธิบดีภาสกร” นำทีมผู้ประกอบการเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน Toyota L&F Customer’s Center
ประเทศญี่ปุ่น 18 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ นายกิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรม ประจำประเทศญี่ปุ่น นำคณะผู้ประกอบการไทยเยี่ยมชมและศึกษาดูงานบริษัทในเครือโตโยต้า โดยมี Mr.Yasuji Fukuta ผู้บริหารบริษัทในเครือโตโยต้า และคณะ ให้การต้อนรับ ณ Toyota L&F Customer’s Center เมืองชิบะ ประเทศญี่ปุ่น กิจกรรมในวันนี้ เป็นการศึกษารายละเอียดและจุดเด่นของบริษัทโตโยต้า อาทิ 1) ด้านโลจิสติกส์ที่นําเสนอ Solution ที่เหมาะสมให้กับสถานประกอบการ 2) การผลิตผลิตภัณฑ์ Material Handling เครื่องจักรและอุปกรณ์อํานวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ 3) ให้บริการสนับสนุนอื่น ๆ ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวเป็นการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย และหน่วยงานภาคเอกชนในประเทศญี่ปุ่น ในการส่งเสริมและสนับสนุนสถานประกอบการโลจิสติกส์ต้นแบบ เพื่อการศึกษาและเผยแพร่องค์ความรู้ในอนาคตต่อไป
20 พ.ค. 2567
"ดีพร้อม" ร่วมแสดงความยินดีในความสำเร็จ RESHAPE THE FUTURE คพอ.ดีพร้อมภาคเหนือ
จ.พิจิตร 17 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวแสดงความยินดีในพิธีปิดและมอบวุฒิบัตรกิจกรรมเชื่อมโยงและจับคู่ธุรกิจระหว่างสมาชิก คพอ.ดีพร้อม พื้นที่ภาคเหนือ โดยมี นายณัฐพล แสงฟ้า นายกสหพันธ์สมาคมผู้ประกอบการไทย (FA SME) คณะผู้บริหารจากส่วนกลางและคณะผู้บริหารดีพร้อมภาคเหนือ เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม และได้รับเกียรติจาก นายสิงหราช วงษ์เสงี่ยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ให้การต้อนรับ ณ HAPPY Convention Hall ศูนย์การค้า HAPPY PLAZA อำเภอเมืองพิจิตร กิจกรรมดังกล่าว เป็นการร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จจากอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม (คพอ.ดีพร้อม) ในพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน 3 รุ่น คือ รุ่น 401 จังหวัดเชียงใหม่ รุ่น 402 จังหวัดพิษณุโลก และรุ่น 403 จังหวัดพิจิตร เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการให้เป็นนักธุรกิจที่พร้อมจะพัฒนาและรองรับการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และเกิดการเรียนรู้หลักการบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในด้านการบริหารจัดการธุรกิจในทุกมิติแล้ว ยังได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์โดยให้ สมาชิก คพอ.ดีพร้อม ได้เชื่อมโยงกลุ่ม คพอ. พร้อมกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจ และเกิดโอกาสในการต่อยอดธุรกิจ หรือขยายการลงทุนในอนาคต ซึ่งจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศชาติต่อไป ทั้งนี้ โครงการ คพอ. ดีพร้อม เป็นโครงการที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 - ปัจจุบัน มีผู้ผ่านการฝึกอบรมแล้วจำนวนกว่า 12,000 ราย ทั่วประเทศ (พื้นที่ภาคเหนือประมาณ 3,300 ราย) ส่งผลให้ผู้ประกอบการได้ปรับปรุงการบริหารจัดการ เกิดประสิทธิภาพและเพิ่มศักยภาพ รวมไปถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเกิดการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงธุรกิจในจังหวัดตนเองและในระดับภูมิภาคไปจนถึงในระดับประเทศต่อไป
20 พ.ค. 2567
"รสอ.วัชรุน" ลงพื้นที่เมืองชาละวัน มอบนโยบายพร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ดีพร้อม
จ.พิจิตร 17 พฤษภาคม 2567 - นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 เพื่อสำรวจและวางแผนแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนสาธารณูปโภคพื้นฐาน พร้อมทั้งประชุมติดตามการดำเนินงานและมอบนโยบายการดำเนินงานให้แก่ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ตำบลท่าหลวง อำเภอเมือง การประชุมดังกล่าว เป็นการติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 และกำชับให้มีการเร่งดำเนินการในงบประมาณ ปี พ.ศ.2567 (ส่วนที่เหลือ) โดยมีการรายงานแผนและผลการดำเนินงาน ผลการเบิกจ่าย รวมทั้งหารือประเด็นแนวทางการพัฒนากระบวนงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้กำชับให้นำนโยบาย “RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต” มาเชื่อมโยงสู่ภาคการปฏิบัติและสร้างสรรค์งานตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการและสอดรับกับปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน
20 พ.ค. 2567
“อธิบดีภาสกร” เยือนญี่ปุ่น ศึกษางาน E-commerce ด้วยระบบโลจิสติกส์ หุ่นยนต์ และระบบ IoT
ประเทศญี่ปุ่น 17 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) พร้อมด้วย นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ นายกิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรม ประจำประเทศญี่ปุ่น นำคณะผู้ประกอบการไทยเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน บริษัท แอคก้า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดยมี นายโอกาโมโตะ ฮิเดโตชิ ผู้บริหารบริษัท แอคก้า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ให้การต้อนรับ ณ เมืองชิบะ ประเทศญี่ปุ่น กิจกรรมในวันนี้ เป็นการเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน บริษัท แอคก้า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนธุรกิจด้าน E-commerce ด้วยระบบโลจิสติกส์ หุ่นยนต์ และระบบ IoT เป็นผู้ให้บริการด้าน Logistics Solution, Fulfillment การบริหารระบบหลังบ้าน เช่น Customer Support (Call Center, บริหารหลังการขาย, การวิเคราะห์คำสั่งซื้อ) การบริหารคลังสินค้า รวมถึงการบริหารข้อมูลเชื่อมโยงกับระบบอื่น ๆ ให้บริการด้านหุ่นยนต์ และระบบ IoT ได้แก่ AGV (Automated Guided Vehicle) ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ (Automated Warehouse) ที่สามารถเก็บข้อมูลและบริหารงานได้ ซึ่งเหมาะสำหรับบริษัทด้าน E-commerce ซึ่งบริษัทมีระบบ Software ของตนเองชื่อ ALIS (All is One) เป็นระบบการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ซึ่งบริหารจัดการได้ทั้งอัตราการใช้งานและผลกำไร
20 พ.ค. 2567