"ดีพร้อม" จับมือ "EXIM BANK" เดินหน้านโยบาย "รมว.เอกนัฏ" สร้างธุรกิจสีเขียว ส่งเสริมผู้ประกอบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่อย่างยั่งยืน
กรุงเทพฯ 11 ธันวาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) นำโดย ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองกรรมการผู้จัดการ EXIM BANK พร้อมคณะ ในประเด็นการร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการในด้านต่าง ๆ โดยมีคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมครั้งนี้ เป็นการหารือเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการสร้างโอกาสความร่วมมือและสนับสนุนผู้ประกอบการไทยอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการบูรณาการร่วมกัน ระหว่าง ดีพร้อม และ EXIM BANK ซึ่งดีพร้อมเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจได้อย่างเข้มแข็ง เพื่อยกระดับผู้ประกอบการไทยให้สามารถพัฒนาธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ให้ต่อยอดสู่สากลได้ ส่วนของ EXIM BANK ถือเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนของไทยให้เติบโตในเวทีโลกอย่างยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออก การนำเข้า และการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียวในภาคการเงิน ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยในการสนับสนุนการเข้าสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ดีพร้อม และ EXIM BANK ได้เล็งเห็นโอกาสในการร่วมมือกันสนับสนุนผู้ประกอบการในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย 1) การสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว อาทิ การอบรมเพิ่มองค์ความรู้ 2) การจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) ในการสนับสนุนทางด้านการเงินและการวิเคราะห์คู่ค้า 3) การส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ โดยการเข้าไปช่วยวิเคราะห์ธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้น และบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมผลักดัน และ 4) การส่งเสริมวิสาหกิจให้เติบโตบนพื้นฐานของความยั่งยืนผ่านการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศให้เพิ่มขึ้น ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
16 ม.ค. 2568
กระทรวงอุตฯ ชู 41 องค์กรต้นแบบ เตรียมรับรางวัลจากนายกรัฐมนตรีในงานมอบ "รางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2567"
กรุงเทพฯ 11 ธันวาคม 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานแถลงข่าวการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรมประจำปี พ.ศ. 2567 ร่วมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสมคิด ประดิษฐกำจรชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ (กลุ่มงานการผลิต) บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมแถลงข่าว โดยมี นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ นายบรรจง สุกรีฑา นายศุภกิจ บุญศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายพรยศ กลั่นกรอง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม ณ ห้องประชุมชั้น 6 โซน 2 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมจัดงานมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 (The Prime Minister’s Industry Award 2024) ในวันที่ 18 ธันวาคมนี้ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยได้รับเกียรติจากนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบรางวัลให้แก่สถานประกอบการที่มีความเป็นเลิศ ทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิต คุณภาพ ความปลอดภัย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ความรับผิดชอบต่อสังคม เศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นการเชิดชูเกียรติ และเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ประกอบการที่พัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมและชุมชนโดยรวมของประเทศ การพิจารณารางวัลอุตสาหกรรมประจำปี พ.ศ. 2567 จะมุ่งเน้นให้รางวัลกับสถานประกอบการที่มุ่งสู่การพัฒนาและปรับเปลี่ยนการประกอบการภาคอุตสาหกรรม ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมเศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะดวก สะอาด โปร่งใส” ภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ” ที่ “เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน” โดยเน้นมาตรการและกลไกมุ่งสู่ความสำเร็จ 4 มิติ ประกอบด้วย มิติที่ 1 ความสำเร็จทางธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ มิติที่ 2 ความอยู่ดีกับสังคมโดยรวมส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างสถานประกอบการ ชุมชน และสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตร มิติที่ 3 ความลงตัวกับกติกาสากล ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมสู่อุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อโอกาสทางธุรกิจมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก และมิติที่ 4 การกระจายรายได้สู่ชุมชนที่ตั้ง (กระจายรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน) ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สำหรับรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 (The Prime Minister’s Industry Award 2023) มีจำนวน 14 ประเภทรางวัล มีสถานประกอบการได้รับรางวัลจำนวน ทั้งสิ้น 41 รางวัล และสถานประกอบการที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ได้แก่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (โรงงานเกตเวย์) จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยสามารถดูรายชื่อผู้ได้รับรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ.2567 ได้ที่เว็บไซต์กระทรวงอุตสาหกรรม โดยแบ่งประเภทรางวัล ดังนี้ 1. รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม (The Prime Minister’s Best Industry Award) จำนวน 1 รางวัล ซึ่งคัดเลือกจากสถานประกอบการที่เคยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ประเภท และเป็นสถานประกอบการที่มีการพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีมาตรฐานการผลิตในระดับสากล 2. รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น (The Prime Minister’s Industry Award) จำนวน 23 รางวัล แบ่งเป็น 9 ประเภท ประกอบด้วย 1) ประเภทการเพิ่มผลผลิต จำนวน 7 รางวัล 2) ประเภทการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จำนวน 1 รางวัล 3) ประเภทการบริหารความปลอดภัย จำนวน 1 รางวัล 4) ประเภทการบริหารงานคุณภาพ จำนวน 2 รางวัล 5) ประเภทการจัดการพลังงาน จำนวน 2 รางวัล 6) ประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จำนวน 1 รางวัล 7) ประเภทอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต จำนวน 6 รางวัล ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม จำนวน 1 รางวัล และ 9) ประเภทเศรษฐกิจหมุนเวียน จำนวน 2 รางวัล 3. รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น (The Prime Minister’s Small and Medium Industry Award) จำนวน 17 รางวัล แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ประเภทการบริหารจัดการที่ดี จำนวน 3 รางวัล 2) ประเภทการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ จำนวน 7 รางวัล 3) ประเภทการจัดการเทคโนโลยีเชิงนวัตกรรม จำนวน 5 รางวัล และ 4) ประเภทบริหารธุรกิจสู่สากล จำนวน 2 รางวัล นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยมีสถานประกอบการให้ความสนใจสมัครเข้ารับการคัดเลือก จำนวนทั้งสิ้น 162 ราย แบ่งเป็นรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม จำนวน 4 ราย รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น และรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้ง 13 ประเภท รวม 158 ราย ซึ่งในปีผู้ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมยังได้รับรางวัลพิเศษ ทูตอุตสาหกรรมภาคเอกชน หรือ MIND Ambassador ซึ่งรางวัลนี้เปรียบเสมือนตัวแทนของกระทรวงอุตสาหกรรมจากภาคเอกชนที่จะเป็นต้นแบบการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมที่ดีและอยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมและส่งเสริม สร้างภาพลักษณ์ที่ดีผ่านการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ตลอดจนช่วยประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสาร และบริการของหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมอีกด้วย ทั้งนี้ การปฏิรูปอุตสาหกรรมเศรษฐกิจยุคใหม่นั้นส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องพัฒนายกระดับศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ โดยกิจกรรมหนึ่งที่สนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง คือ การจัดงานมอบรางวัลอุตสาหกรรม โดยกระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาสถานประกอบการอย่างมีศักยภาพ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการผลิตของภาคอุตสาหกรรมและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการค้า ซึ่งจะทำให้ “อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ” ที่ “เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน” ต่อไป นายสมคิด ประดิษฐกำจรชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ (กลุ่มงานการผลิต) บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า โตโยต้ามีแนวทางการดำเนินบทบาทในฐานะทูตอุตสาหกรรมภาคเอกชน หรือ MIND Ambassador โดยนอกเหนือจากการเป็นผู้ผลิตรถยนต์ที่ดีแล้ว โตโยต้ายังมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างหนทางสู่การเป็นองค์กรแห่งการขับเคลื่อนในอนาคตที่ยั่งยืน ซึ่งแนวคิดขององค์กรแห่งการขับเคลื่อนนี้ จะต้องเป็นไปอย่างสมดุล ระหว่างการเจริญเติบโตทางธุรกิจกับการพัฒนาที่ยั่งยืน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และสังคม หมุดหมายปลายทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ตั้งเป้าไว้คือการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนด้านสังคม โตโยต้ายังคงมุ่งมั่นที่จะมอบความสุขและรอยยิ้มกับคนไทยทุกคน
16 ม.ค. 2568
ปลัดฯ ณัฐพล เฝ้ารับเสด็จกรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ เปิดงานกาชาด ปี 67 กระทรวงอุตฯ น้อมรวมใจจัดงานใหญ่ พร้อมมอบโชคลุ้นรางวัลสร้างความสุขให้ประชาชนตลอด 12 วัน
กรุงเทพฯ 11 ธันวาคม 2567 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เฝ้ารับเสด็จ ณ พลับพลาพิธี ห้องสมุดประชาชน สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานกาชาดประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “ทศมราชา 72 พรรษา ถวายพระพร” โดยมี นายเตช บุนนาค เลขาธิการสภากาชาดไทย ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานกาชาดประจำปี 2567 คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม เหรัญญิกสภากาชาดไทย พร้อมด้วย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารสภากาชาดไทย และคณะกรรมการอำนวยการจัดงานกาชาด เฝ้าฯ รับเสด็จด้วย งานกาชาด 2567 ภายใต้แนวคิด "ทศมราชา 72 พรรษา ถวายพระพร" เนื่องในโอกาสมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์พระบรมราชูปถัมภกสภากาชาดไทย เจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 รวมถึงเผยแพร่ภารกิจของสภากาชาดไทย ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายรูปแบบ มีการออกร้านกาชาดและบูธกิจกรรมมากมายจากทุกภาคส่วน อาทิ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคธุรกิจเอกชน สถาบันการศึกษา มูลนิธิ สมาคม และสโมสรต่าง ๆ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เข้าร่วมออกร้านกระทรวงอุตสาหกรรมในงานกาชาด ประจำปี 2567 ในแนวคิด "อุตสาหกรรม รวมใจภักดิ์ 72 พรรษา ทศมราชา" เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ แบ่งการจัดกิจกรรมเป็น 2 โซน ได้แก่ โซนนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ โดยจะมีการเพิ่มเติมการจัดทำบอร์ดนิทรรศการประวัติความเป็นมาของส่วนราชการในสังกัด และโซนกิจกรรม เกมส์จับฉลากแทงหลอด ลุ้นรับรางวัลมากมายพร้อมกิจกรรมบนเวทีและความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการจัดหารายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย แล้วพบกันที่ร้านกาชาดกระทรวงอุตสาหกรรม โซน 3 บูธ 3.4 ฝั่งถนนพระราม 4 บริเวณประตู 3 (ใกล้น้ำพุ) ในงานกาชาดประจำปี 2567 ตั้งแต่วันนี้ - 22 ธันวาคม 2567 ณ สวนลุมพินี ซึ่งประชาชนสามารถเข้าร่วมงานได้ฟรี ตั้งแต่เวลา 11.00 - 22.00 น. และวันสุดท้ายปิดเวลา 23.00 น. โดยภายในงานดังกล่าวมีผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมเข้าร่วมงานอย่างพร้อมเพียง ได้แก่ นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกประจํากระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ นายบรรจง สุกรีฑา นายศุภกิจ บุญศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมงานดังกล่าวด้วย
15 ม.ค. 2568
"ดีพร้อม" จับมือ "บสย." เตรียมยกเครื่องระบบการค้ำประกันสินเชื่อ เพิ่มบทบาทการพัฒนาและส่งเสริม ตามนโยบาย “เซฟ” SMEs ของ รมต.เอกนัฏ ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน หนุนองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำธุรกิจแก่วิสาหกิจให้มีธรรมาภิบาลและประสิทธิภาพ
กรุงเทพฯ 3 ธันวาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมหารือการบูรณาการความร่วมมือ กับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) นำโดย นายกิตติพงษ์ บุรณศิริ รองผู้จัดการทั่วไป สายงานกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์ และคณะ ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ในการประชุมดังกล่าว ได้มีการหารือเกี่ยวกับโครงการ "ติดปีก SMEs หลักทรัพย์ไม่มี ดีพร้อมค้ำประกันให้" ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เข้าถึงหลักประกันและแหล่งเงินทุน ของทั้ง 6 หน่วยงาน ได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) และธนาคารออมสิน เพื่อบูรณาการความร่วมมือในการสนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs ที่มีศักยภาพ แต่ขาดหลักประกันหรือหลักประกันไม่เพียงพอ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน พร้อมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำในด้านการบริหารจัดการธุรกิจ ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมามีผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก โดยอยู่ในระหว่างการให้คำปรึกษาแนะนำและปรับปรุงรายงานทางการเงินโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้ยังมีผู้ประกอบการที่พร้อมรับสิทธิไม่มากนัก ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันทบทวนกรอบความร่วมมือ และหารือแนวทางการดำเนินโครงการดังกล่าว ให้มีความชัดเจนและสอดรับกับบทบาทในการส่งเสริมผู้ประกอบการในภาพรวมของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีการสนับสนุนแหล่งเงินทุนของภาครัฐ ผ่านการดำเนินงานของเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย และกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ซึ่งกำลังจะมีการปรับปรุงบทบาทของกองทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้ความร่วมมือภายใต้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวสามารถช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาของผู้ประกอบการได้อย่างตรงประเด็นมากขึ้น
15 ม.ค. 2568
"ปลัดณัฐพล" มอบหมาย "ดีพร้อม" จับมือ "สอจ." บูรณาการ DIPROM Center 6 นำทีม MIND ร่วมมือ "สู้ เซฟ สร้าง ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย ด้วยหัวและใจ"
จ.นครราชสีมา 8 ธันวาคม 2567 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นำทีมผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 พร้อมมอบนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมเข้าร่วม ณ ห้องประชุม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 ตำบลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในปัจจุบันเพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยการร่วม "สู้ เซฟ สร้าง ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย ด้วยหัวและใจ" และนโยบาย อก. "MIND" ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยั่งยืน ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) จึงต้องดำเนินการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานในสังกัด อก. ในเชิงพื้นที่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยอาศัยกลไกของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) ร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ในการร่วมกันยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศไปอย่างมั่นคงและยั่งยืน นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ ดีพร้อม ได้ร่วมบูรณาการกับ สอจ. ผ่านการดำเนินโครงการต่าง ๆ ในภาพรวม โดยมีเป้าหมายในภาพรวมกว่า 2,180 คน วงเงินรวม 9.15 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการและกิจกรรม ดังนี้ 1) ยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม 2) ยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน 3) เร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ 4) เสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสู่การแข่งขันเศรษฐกิจวิถีใหม่ และ 5) สนับสนุนและพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรมพัฒนาความรู้และให้ข้อมูล อาทิ พัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและการตลาดออนไลน์ ส่งเสริมธุรกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยแนวคิด BCG/ Net Zero อีกทั้ง การให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นในการดำเนินงาน รวมถึงใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ (ITC) การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพสถานประกอบการ การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์หรือบริการด้วยความคิดสร้างสรรค์/อัตลักษณ์เชิงพื้นที่ หรือ Soft Power และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐาน รวมทั้งการส่งเสริมการตลาดผ่านการจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์ในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นต้น ในโอกาสนี้ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบนโยบายแก่ผู้บริหาร อก.ในโอกาสรับตำแหน่งใหม่ ประกอบด้วย อุตสาหกรรมจังหวัด และผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค โดยให้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพและยึดนโยบาย อก. "MIND" ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยั่งยืน พร้อมทั้งใช้ "หัว" และ "ใจ" ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน ยึดมั่นความถูกต้อง โปร่งใส สุจริตในการทำงานด้วย
15 ม.ค. 2568
"???? ของขวัญปีใหม่ ดีพร้อมให้อะไร“ ”อธิบดีณัฏฐิญา" ชงมาตรการของขวัญปีใหม่ เสนอ รมว.เอกนัฏ รวมแพ็คเกจกระทรวงเพิ่มโอกาส เสริมแกร่ง กระจายรายได้ สำหรับประชาชนและผู้ประกอบการ ปี 68
กรุงเทพฯ 4 ธันวาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว ได้มีการรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงาน ประกอบไปด้วย การมอบสินเชื่อฮาลาล พิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 และกิจกรรมเปิดตัวโครงการซอฟต์พาวเวอร์สาขาแฟชั่นและสาขาอาหาร รวมไปถึงวาระเร่งด่วนในการกำหนดแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 และได้มอบนโยบายให้แต่ละหน่วยงานวางแผนจัดทำโครงการเพื่อเสนอของบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ภายใต้การพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมและวิสาหกิจไทยให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคเศรษฐกิจใหม่ ทั้งนี้ ดีพร้อมได้มีการเตรียมมาตรการของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2568 สำหรับประชาชนและผู้ประกอบการ ประกอบไปด้วย มาตรการเสริมแกร่งเพิ่มความรู้ Upskills / Reskills ผ่านโครงการด้าน Soft Power มาตรการเติมทุนต่อยอดธุรกิจ ผ่านการมอบสินเชื่อพิเศษเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ และมาตรการสิทธิพิเศษสำหรับผู้ประกอบการ ผ่านการให้บริการออกแบบผลิตภัณฑ์ฟรี การให้บริการเครื่องจักรเพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์ภายใต้ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมดีพร้อม (DIPROM ITC) และบริการดีพร้อมแคร์ ให้บริการซอฟต์แวร์ฟรี 6 เดือนสำหรับ SMEs เช่น เครื่องมือสร้างเว็บไซต์อัจฉริยะพร้อมข้อมูลสนับสนุน และโปรแกรมบัญชีออนไลน์ต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
15 ม.ค. 2568
“ปลัดณัฐพล” สั่งการ “ดีพร้อม” เสนอปลดล็อคสุราสามทับ! รับนโยบาย รมต.เอกนัฏ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยกระดับการผลิต ผลิตภัณฑ์ และสมุนไพรรายย่อยในประเทศไทย ทำแผนระยะ 3 ปี
กรุงเทพฯ 4 ธันวาคม 2567 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพร ครั้งที่ 2/2567 ร่วมด้วย นายโฆสิต สุวินิจจิต คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธาธารณสุข นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting การประชุมครั้งนี้ เป็นการรายงานความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาเรื่องแอลกอฮอล์สำหรับอุตสาหกรรมสมุนไพร ที่เกิดจากการหารือร่วมกับผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมเอทานอลจากมันสำปะหลัง องค์การสุรา กรมสรรพสามิต ภาคเอกชน โดยได้ร่วมกันพิจารณาให้ข้อคิดเห็นต่อข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาเรื่องแอลกอฮอล์สำหรับอุตสาหกรรมสมุนไพร ความร่วมมือระหว่างองค์การสุรา และ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด พร้อมร่างแผนการยกระดับผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรรายย่อยในประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2568-2570) รวมถึงข้อเสนอต่าง ๆ ของภาคเอกชน เพื่อตรวจสอบ และยืนยันข้อมูลร่วมกัน ปัจจุบันการผลิตแอลกอฮอล์ในประเทศไทยหรือ “สุราสามทับ” มี 3 กลุ่มหลัก คือ 1) ผู้ผลิตจำหน่ายสุราสามทับภายในประเทศโดยองค์การสุรา กรมสรรพสามิต มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 18 ล้านลิตร/ปี 2) กลุ่มผู้ผลิตสุราสามทับเพื่อการส่งออก 7 บริษัท มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 132 ล้านลิตร/ปี และ 3) กลุ่มโรงงานเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง รวม 26 โรงงาน มีกำลังการผลิตประมาณ 2,000 ล้านลิตร/ปี นอกจากนี้ ได้รายงานความก้าวหน้าการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการกัญชงกัญชาของดีพร้อม โดยมีการเพิ่มสมุนไพร 2 ชนิด คือ กระท่อม และกัญชงกัญชาในแผนการขับเคลื่อนสมุนไพร Herb of the year ปี 2568-2570 ตามมติคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2567 และมีการขอความร่วมมือคณะอนุกรรมการฯ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมดำเนินการขับเคลื่อนสมุนไพร Herb of the year ทั้งนี้ ดีพร้อมได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพกัญชง ดังนี้ 1) การจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ 2) การดำเนินการขับเคลื่อนผ่าน 4 มาตรการ ได้แก่ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่กัญชง ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปกัญชงเชิงพาณิชย์ ส่งเสริมด้านการตลาด และสร้างปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการประกอบการ และ 3) การต่อยอดจากมาตรการสู่การดำเนินงานของดีพร้อมโดยร่วมมือกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ดำเนินการจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อรองรับการผลิตสินค้ากึ่งวัตถุดิบจากพืชกัญชง หรือมาตรฐานสินค้าแปรรูปจากกัญชง จำนวน 6 มาตรฐาน ได้แก่ น้ำมันเมล็ดกัญชง สารสกัดจากกัญชงที่มีปริมาณ CBD รวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 สารสกัดจากกัญชงที่มีปริมาณ CBD รวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เปลือกกัญชง แกนกัญชง เส้นใยกัญชง เพื่อให้มีมาตรฐานในการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง นอกจากนี้ ที่ประชุมยังร่วมกันพิจารณาแผนการยกระดับผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรรายย่อยในประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2568-2570) โดยปีที่ 1 เน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรม ทั้งด้านบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ กระบวนการผลิต และเครือข่ายพันธมิตร ปีที่ 2 เน้นดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์และขยายตลาด และปีที่ 3 เน้นขยายธุรกิจและสร้างความยั่งยืน ซึ่งดีพร้อมได้ดำเนินโครงการส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจรผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ กิจกรรมการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม กิจกรรมยกระดับผู้ประกอบการสมุนไพรเข้าสู่มาตรฐาน GMP เพื่อให้สอดรับกับแผนฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอโครงการ/กิจกรรมที่สอดรับกับแผนฯ ให้ครบถ้วนในแต่ละแนวทาง เพื่อให้แผนการผลักดันผู้ประกอบการบรรลุได้ตามเป้าหมายและเติมเต็มการทำงานให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมยังได้เสนอแนวทางการบูรณาการร่วมกับภาคเอกชนในการออกตรวจสถานประกอบการ พร้อมสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะด้านการตรวจสอบสถานประกอบการให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อร่นระยะเวลาการรอดำเนินการตรวจสอบในอนาคต
15 ม.ค. 2568
”อธิบดีดีพร้อม“ ลงพื้นที่จังหวัดชลบุรี เดินหน้าพัฒนาเขต EEC ต่อยอดความร่วมมือเชิงพื้นที่ สร้าง Smart Park เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
จ.ชลบุรี 2 ธันวาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานและมอบนโยบายให้แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จังหวัดชลบุรี อธิบดีดีพร้อม ได้สำรวจพื้นที่และติดตามผลการดำเนินงานพร้อมมอมอบนโยบายในการปฏิบัติงาน โดยเน้นย้ำแนวทางการสร้างและส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ ซึ่งดีพร้อมได้รับผิดชอบในด้านสาขาอาหารและสาขาแฟชั่น อีกทั้งเน้นย้ำการบริหารจัดการบุคลากร ให้มีความพร้อมทั้งในด้านองค์ความรู้ การใช้งานระบบสารสนเทศที่มีความหลากหลาย และการพัฒนาตนเองเพื่อเข้าสู่ภาครัฐดิจิทัล โดยต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรดิจิทัลตามกรอบที่กำหนด นอกจากนี้ บุคลากรจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้อัตลักษณ์ของพื้นที่ตนเอง ค้นหาเศรษฐกิจหลักในพื้นที่เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม เนื่องจากพื้นที่ในแต่ละศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมทั้ง 11 แห่งมีความแตกต่างกัน รวมถึงการทำงานในเชิงบูรณาการเชิงพื้นที่ร่วมกับอุตสาหกรรมจังหวัด ส่งเสริมและพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นิคมอุตสาหกรรม Smart Park ที่รองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรมใหม่ที่ยั่งยืน ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ การลงพื้นที่ดังกล่าว ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ได้รายงาน โครงสร้างและอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ดีพร้อม โดยมีพื้นที่ความรับผิดชอบ 8 จังหวัด ได้แก่ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อีกทั้งได้รายงานวงเงินงบประมาณและแผนงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีวงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ประกอบไปด้วย งบดำเนินงาน งบรายจ่ายอื่น งบลงทุน และงบประมาณหมวดรายจ่ายอื่นสำหรับดำเนินโครงการ รวมไปถึงรายงานการให้บริการ ซึ่งในปัจจุบันศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ได้มีการให้บริการในส่วนของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมดีพร้อม (DIPROM ITC) การให้บริการสินเชื่อ การให้บริการปรึกษาแนะนำผู้ประกอบการ และการให้บริการศูนย์ HAPPY WORK PLACE CENTER 9
15 ม.ค. 2568
"ดีพร้อม" ประชุมบอร์ด CIO วางแผนเคาะงบประมาณโครงการด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศปี 2569 ขยายการให้บริการด้านดิจิทัลแก่เอสเอ็มอี ตามนโยบาย "เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 4 ธันวาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (CIO) ครั้งที่ 2/2567 พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุมดังกล่าวในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการพิจารณาคำของบประมาณโครงการด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ประกอบด้วย 1) งบลงทุน ได้แก่ ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การปรับปรุงระบบเครือข่ายและความปลอดภัยของระบบงานสารสนเทศ กล้องโทรทัศน์วงจรปิดสำหรับใช้ในงานรักษาความปลอดภัยทั่วไปและงานอื่น ๆ การพัฒนาระบบสารสนเทศ 2) งบดำเนินงานในการปรับปรุงและบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ และ 3) งบรายจ่ายอื่นผ่านโครงการบริหารจัดการและคุ้มครองข้อมูลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย เพื่อการศึกษาและจัดทำรายงาน แนวปฏิบัติ และประกาศที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลข้อมูลพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และการบริหารและจัดการความเสี่ยงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้การดำเนินงานตลอดปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ด้านสารสนเทศ เกิดผลสัมฤทธิ์และมีประสิทธิภาพ มีความพร้อมในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
15 ม.ค. 2568
“ดีพร้อม” ประชุมหารือแนวทางสร้างความเข้าใจโครงการซอฟต์พาวเวอร์อาหารและแฟชั่น ตอบโจทย์นโยบาย "รมว.เอกนัฏ" สร้างอัตลักษณ์พื้นถิ่นไทย ดังไปไกลสู่สากล
จ.สงขลา 3 ธันวาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในการประชุมหารือแนวทางการดำเนินโครงการซอฟต์พาวเวอร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกระจูด อาคารศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 การประชุมในครั้งนี้ ได้มีการแจ้งให้ทราบถึงความคืบหน้าในการดำเนินงานโครงการซอฟต์พาวเวอร์ ประจำปี 2568 ดีพร้อมมีแนวทางในการสร้าง พัฒนา และส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์สาขาอาหารและแฟชั่น โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผู้ประกอบการ สถานประกอบการ ร้านค้าชุมชน ให้มีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ทรงคุณค่า มีอัตลักษณ์ แสดงออกถึงภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานที่มีความสอดคล้องกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงรุก เซฟพี่น้องอุตสาหกรรมไทย สร้างความเท่าเทียม สร้างรายได้ สร้างโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมวัฒนธรรม ธุรกิจ และความเป็นไทยให้ก้าวสู่ Soft Power ในระดับสากล เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการของประเทศไทย
15 ม.ค. 2568