โทรศัพท์ 1358

ปลัดฯ ณัฐพล ตรวจเยี่ยมดีพร้อม มุ่งปฏิรูปหน่วยงาน MIND ใช้หัวและใจ ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชนผ่านการดำเนินงาน 4 มิติ
กรุงเทพฯ วันที่ 30 มกราคม 2566 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ประกอบด้วย นายสุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าตรวจเยี่ยม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม) โดยมีนายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ให้การต้อนรับ พร้อมนำเรียนการดำเนินงานของดีพร้อม ณ ห้องประชุมแพรวา ชั้น 7 อาคาร กช.กสอ. (พระราม 4) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา SMEs และวิสาหกิจชุมชน ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล โดยมีแนวทางการปฏิรูปหน่วยงานในอนาคต แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น 1 ปี ให้อุตสาหกรรมและวิสาหกิจไทย สามารถปรับตัวและอยู่รอด มีภูมิคุ้มกันในการประกอบการและมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ระยะกลาง 3 ปี ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและวิสาหกิจไทยให้เติบโตด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยี ดิจิทัล นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และระยะยาว 5 ปี ให้อุตสาหกรรมและวิสาหกิจไทยสามารถเติบโตและมีขีดความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลก มีศักยภาพสูงในการเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าโลก (Global Value Chain) ได้อย่างมั่นคงในยุคเศรษฐกิจอนาคต นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังเดินหน้าปั้นผู้ประกอบการ “อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ” สู่ความสำเร็จ 4 มิติ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมฐานรากให้มีศักยภาพและเติบโตในอนาคต ได้แก่ เกษตรอุตสาหกรรม อาหารแห่งอนาคต และ Soft Power พร้อมชูนโยบาย “ดีพร้อมโต” การนำโมเดลชุมชนดีพร้อม นำอุตสาหกรรมคู่ชุมชนเพื่อสร้างอุตสาหกรรมให้อยู่คู่กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน และการปฏิรูปพร้อมต่อยอด DIPROM Center ให้เป็นศูนย์กลางการบริการ SMEs แบบครบวงจร รวมถึงการพัฒนาชุมชนดีพร้อม หรือโครงการพัฒนาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม หรือ อาชีพดีพร้อม เพื่อยกระดับสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและความยั่งยืนทางธุรกิจ ช่วยยกระดับชุมชนให้มีรายได้เพิ่มและกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก โดย ปกอ. ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมว่า “ดีพร้อมมีแนวทางการดำเนินงานครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ มิติที่ 1 ความสำเร็จทางธุรกิจ มิติที่ 2 การดูแลสังคมโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม มิติที่ 3 การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และมิติที่ 4 การกระจายรายได้ให้กับประชาชนและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งถือเป็นการตอบโจทย์การดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมยุคใหม่ MIND ใช้หัวและใจ ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน คือให้ผู้ประกอบการหรือโรงงานคำนึงถึงผู้คนและชุมชนรอบโรงงาน โดยใช้รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมและรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นเป็นกลไกสำหรับการประเมินและพัฒนาศักยภาพของสถานประกอบการ รวมถึงการกำหนด THEME รางวัลในแต่ละปี เพื่อให้รางวัลมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ควรมีการพัฒนา DIPROM Center ให้เป็นศูนย์กลางการพัฒนา SMEs และวิสาหกิจชุมชนที่มีศักยภาพ และสามารถเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำแนวทางความรู้และการดำเนินงานต่าง ๆ กับทางอุตสาหกรรมจังหวัดได้” ขณะที่ รสอ.รก.รปอ. ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ควรมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างดีพร้อม โดยเฉพาะหน่วยงานศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค กับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด เนื่องจากดีพร้อมมีโครงการที่สอดคล้องกับนโยบาย 4 มิติ สามารถขยายผลไปสู่จังหวัดในวงกว้าง เช่น โครงการ DIPROM HERO หรือ Service Provider (SP) รวมถึงการประชาสัมพันธ์การรับสมัครรางวัลอุตสาหกรรม ให้กับ สอจ. ทุกแห่งได้ทราบรายละเอียดประเภท หลักเกณฑ์ และการสมัครต่าง ๆ เพื่อให้สถานประกอบการเข้ามาสมัครคัดเลือกรางวัลเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ควรมีการส่งต่อกลุ่มเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยหากผู้ประกอบการที่ต้องการรับความช่วยเหลือในเชิงลึกก็สามารถส่งต่อให้ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค ดำเนินการช่วยเหลือต่อไป โอกาสนี้ ปลัดกระทรวงฯ ได้นำคณะผู้บริหารเยี่ยมชมการดำเนินงานของดีพร้อม ภายในบริเวณกล้วยน้ำไท เช่น กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการนักส่งเสริมอาชีพดีพร้อม กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ DIPROM YES! ห้องจัดแสดงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ และนิทรรศการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชุมชน เป็นต้น ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าวนักส่งเสริมอาชีพดีพร้อม กิจกรรม DIPROM YES! ห้องจัดแสดงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ และนิทรรศการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชุมชน เป็นต้น ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
31 ม.ค. 2566
DIPROM YES! ดีเดย์ #แชปเตอร์ที่ 1 ปั้นคนรุ่นใหม่สู่กลไกสำคัญขับเคลื่อนองค์กร
กรุงเทพฯ 30 มกราคม 2566 – นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “ปั้นดีพร้อมรุ่นเยาว์สู่ดีพร้อมที่ยอดเยี่ยม DIPROM YOUNG ELITE SQUAD (DIPROM YES!)” #Chapter1 การฝึกภาคทฤษฎี รุ่นที่ 1 ร่วมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้เข้ารับการอบรมข้าราชการและพนักงานราชการ จากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จํานวน 38 คน โดยมี นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม สำนักงานเลขานุการกรม กล่าวรายงาน ณ ห้อง BSC ชั้น 1 อาคารกองนวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พระรามที่ 4 DIPROM YES!” เป็นโครงการที่พัฒนาทีมบุคลากรรุ่นใหม่ในให้เกิดความสามารถในหลากหลายมิติ ด้วยเล็งเห็นถึงการเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้สามารถไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แชปเตอร์ด้วยกัน โดย #แชปเตอร์ที่ 1 จะเป็นการฝึกภาคทฤษฎี ในระยะเวลา 5 วัน มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นเสริมสร้างทั้งในด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถ และทัศนคติ ผ่านกิจกรรมมากมาย เช่น กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ที่จะฝึกให้ผู้เข้าอบรมฯ ได้ละลายพฤติกรรม และฝึกทักษะการทำงานเป็นทีม กิจกรรมที่เน้นเสริมทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน ได้แก่ ทักษะด้านบุคลิกภาพ เรียนรู้เรื่องมารยาทบนโต๊ะอาหาร ศิลปะการพูดกับผู้ใหญ่ อีกทั้งยังส่งเสริมให้บุคลากรฝึกก้าวข้ามความคิดเดิม สู่ความคิดนอกกรอบและสร้างสรรค์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมได้ แชร์มุมมอง/ประสบการณ์ ที่ได้เรียนรู้ในแต่ละกิจกรรม ตลอดจนการเตรียมตัวเพื่อนำเสนอไอเดียใหม่ ๆ ในรูปแบบของ One Page Summary ที่จะต้องประกอบด้วย โครงการ/ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์ ที่สอดคล้องกับ 4 มิติ ตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ หลังจากที่อบรมแชปเตอร์ที่ 1 เรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าอบรมบางส่วนจะถูกคัดเลือกเพื่อเข้าสู่กระบวนการของ แชปเตอร์ที่ 2 On the Job Training ซึ่งจะเป็นส่วนของการฝึกภาคปฏิบัติต่อไป ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
31 ม.ค. 2566
ปลัดฯ ณัฐพล รุดตรวจเยี่ยม สอจ.ลำพูน พร้อมผลักดันโรงงานขนาดใหญ่ให้เป็น Hero ช่วยเหลือชุมชนให้ดีพร้อม
จังหวัดลำพูน : วันนี้ (29 มกราคม 2566) เวลา 10.00 น. ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าตรวจเยี่ยมสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน (สอจ.ลำพูน) โดยมีนางจันทนา ไวยาวัจมัย อุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน นายสุภชัย ไวยาวัจมัย อุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง นางพัชรี ใบยา อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ และนายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ให้การต้อนรับ โดยอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน ได้รายงานผลการดำเนินงานของ สอจ.ลำพูน ประกอบด้วย โครงสร้างบุคลากร งบประมาณ ผลผลิต ตัวชี้วัด แผนการดำเนินงานในปี 2566 และคำของบประมาณปี 2567 รวมถึงรายงานสถานการณ์ภาคอุตสาหกรรมของจังหวัด โดยปัจจุบันมีโรงงานนอกเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จำนวน 368 โรงงาน ส่วนใหญ่เป็นโรงงานผลิตภัณฑ์จากพืช โรงงานคัดแยกวัสดุห้องเย็นเก็บพืชผลทางการเกษตร และอุตสาหกรรมผลิตอาหาร ส่วนโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ มีจำนวน 76 โรงงาน เช่น ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อะไหล่ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ เลนส์ และเครื่องประดับ ขณะที่สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ลำพูน มีจำนวน 13 โรงงาน เป็นโรงงานผลิตเครื่องประดับ โรงบำบัดของเสีย และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ยังได้รายงานถึงการดำเนินงานภายใต้นโยบาย MIND ทั้งในด้านความสำเร็จทางธุรกิจ มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนธุรกิจและอุตสาหกรรมไปสู่อุตสาหกรรมศักยภาพ หรือ S-Curve รวมถึงธุรกิจและการผลิตรูปแบบใหม่ และโครงการ มอก.เอส /มผช. ด้านการดูแลสังคมโดยรอบ เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างสถานประกอบการ ชุมชน และสังคม ให้อยู่ร่วมกันอย่างรับผิดชอบและเป็นมิตร ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม มีการผลักดันผ่านกลไกการกำกับดูแลที่ทรงประสิทธิภาพ และการส่งเสริมยกระดับสถานประกอบการหรือโรงงานด้วยแนวคิด BCG โครงการบริหารจัดการลุ่มน้ำและวางระบบธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม และโครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือโครงการอุตสาหกรรมสีเขียว ส่วนในด้านการกระจายรายได้ ดำเนินการผ่านโครงการพัฒนาและเชื่อมโยงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และ SME โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกายสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและการออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ เป็นต้น ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ชื่นชมเจ้าหน้าที่ สอจ.ลำพูน ทุกท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยที่ดี ยิ้มแย้ม เป็นกันเอง และมีการทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สู่องค์กรที่เข้มแข็ง โดยมอบนโยบายให้ สอจ.ลำพูน ผลักดันการดำเนินงานด้านการส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรม เนื่องจากในพื้นที่มีความหลากหลายทางผลผลิต เช่น มะม่วงและลำไย เป็นต้น รวมถึงให้ประสานขอความร่วมมือนิคมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานขนาดใหญ่จัดกิจกรรมเชื่อมโยงกับชุมชนเพื่อกระจายรายได้ รวมถึงเชิญชวนโรงงานในนิคมฯ สมัครคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2566 ขณะที่ รสอ.รก.รปอ. ได้ให้ข้อแนะนำว่า จังหวัดลำพูนมีความหลากหลายทั้งภาคอุตสาหกรรมและการเกษตรในพื้นที่ จึงสามารถดำเนินการผ่านกลไก DIPROM HERO เพื่อเชื่อมโยงความร่วมมือโรงงานขนาดใหญ่กับชุมชนสู่การกระจายรายได้ รวมถึงการเชื่อมโยง Supply Chain ในระดับโรงงานสู่ภาคการเกษตรที่เป็นต้นน้ำ ขณะเดียวกันดีพร้อมมีโครงการ “พัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม” ที่สามารถแปลงสู่การปฏิบัติ ด้วยการพัฒนากลไก 7 วิธีปั้นชุมชนดีพร้อม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง สร้างรายได้อย่างยั่งยืน ทั้งการเสริมทักษะในการประกอบธุรกิจ การสร้างอาชีพใหม่และสร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้ให้กลับคืนสู่ชุมชน นอกจากนี้ด้วยพื้นที่ที่มีนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโรงงานที่มีระบบและความพร้อม จึงสามารถลงข้อมูลใน i-Single Form เพื่อให้หน่วยงานสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ต่อไป ต่อจากนั้น รสอ.รก.สปอ. ได้นำคณะเข้าเยี่ยมชม ร้านศรีวิลัยผ้าฝ้าย ซึ่งดีพร้อมได้เข้ามาให้การส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยการผสมผสานการนำลวดลายที่หลากหลาย ผ่านเทคนิคการสานผ้า และการสร้างสรรค์ผลงานจากผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติให้สวมใส่สบาย ทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนด้านเงินทุนหมุนเวียนเพื่อเป็นทุนในการสร้างพื้นที่จัดแสดงสินค้า ส่งผลให้ธุรกิจสามารถกระจายไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
31 ม.ค. 2566
ฤกษ์ดี!! รสอ.สุชาดาฯ ก้าวเท้าเข้าห้องทำงาน พร้อมสักการะองค์พระนารายณ์พระภูมิ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงอุตสาหกรรม และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ - 29 มกราคม 2566 เวลา 09.09 น. นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าสักการะองค์พระนารายณ์ พระภูมิ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และกราบพระพุทธรูปที่ประดิษฐานประจำกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมอันเชิญพระพุทธรูป เข้าห้องทำงานเป็นวันแรก เพื่อเป็นสิริมงคลเนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมีคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ บริเวณอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และอาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
31 ม.ค. 2566
ปลัดฯ ณัฐพล นำคณะลงพื้นที่ศูนย์ DIPROM MICE CENTER จ. ลำปาง พร้อมดันเป็นศูนย์กลางการจัดงานและการประชุมนานาชาติภาคเหนือ
จังหวัดลำปาง : วันนี้ (27 มกราคม 2566) เวลา 13.30 น. ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรมและแนวทางการบูรณาการงานของหน่วยงานในพื้นที่ พร้อมเยี่ยมชมศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM MICE CENTER) อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยมีนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุภชัย ไวยาวัจมัย อุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง นางพัชรี ใบยา อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ นางจันทนา ไวยาวัจมัย อุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ และนายสกล สุพรรณบรรจง ประธานหอการค้าจังหวัดลำปาง และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุม โดยมีนายกิตติโชติ ศุภกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับและนำเรียนการดำเนินงานของ DIPROM MICE CENTER โดยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบนโยบายถึงการใช้พื้นที่ของศูนย์ DIPROM MICE CENTER ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการบูรณาการจากหน่วยงานภายในและภายนอกเพื่อให้เกิดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดอบรมสัมมนา การจัดนิทรรศการ การจัดงานแสดงสินค้า กิจกรรมการศึกษาดูงาน และกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ รสอ.รก.รปอ. ได้มีข้อแนะนำให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 บูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อดำเนินการจัดทำแผนงานหรือปฏิทินการจัดกิจกรรมภายในศูนย์ DIPROM MICE CENTER ให้เหมาะสมกับฤดูกาลของจังหวัด เชื่อมโยงสู่การพัฒนากลุ่มท่องเที่ยวอารยธรรมล้านนา เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการประชุมระดับชาติและการจัดงานขนาดเล็กในพื้นที่ภาคเหนือ รวมถึงพัฒนากิจกรรมและบริการให้อยู่ในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ส่วนทางด้านประธานหอการค้าจังหวัดลำปาง ได้เสนอแนะให้ใช้พื้นที่ศูนย์ฯ จัดกิจกรรม E-Sport หรือ กีฬาอิเล็กทรอนิกส์ ทางภาคเหนือ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่ได้มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้สู่การพัฒนาทักษะให้ดียิ่งขึ้นต่อไป นอกจากนี้ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ได้รายงานผลการดำเนินงานของศูนยวิจัยฯ เช่น โครงสร้างบุคลากร งบประมาณ ตัวชี้วัด แผนการดำเนินงานในปี 2566 และคำของบประมาณปี 2567 นอกจากนี้ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการพัฒนาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม ซึ่งมีผลการดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย หลังจากนั้น ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมคณะ ได้ตรวจเยี่ยมสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สาขาจังหวัดลำปาง เพื่อรับฟังการดำเนินงานและให้กำลังใจบุคลากรทุกระดับ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
31 ม.ค. 2566
ดีพร้อม เปิดเวทีนำเสนอเกียรติประวัติและความภาคภูมิใจในการทำงานของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็น “คนดี ศรี กสอ.” และข้าราชการพลเรือนดีเด่น กสอ. ประจำปี พ.ศ. 2565
กรุงเทพฯ 27 มกราคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมการนำเสนอประสบการณ์และความภาคภูมิใจตลอดชีวิตการทำงานของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็น “คนดี ศรี กสอ.” และข้าราชการพลเรือนดีเด่น กสอ. ประจำปี พ.ศ. 2565 ร่วมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการเปิดเวทีให้กับผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็น “คนดี ศรี กสอ.” ได้มีโอกาสในการแนะนำตนเอง และบอกเล่าผลงานต่าง ๆ อันเป็นที่ประจักษ์ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้บุคลากรดีพร้อมได้รู้จักเพื่อนร่วมงานด้วยกันมากยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาลงคะแนนเลือกในระบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 2–6 กุมภาพันธ์ 2566 โดยปีนี้ ดีพร้อม ได้แบ่งการคัดเลือกออกเป็น 5 กลุ่มประเภท ประกอบด้วย ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ประเภทอำนวยการ ระดับสูง และประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ จำนวน 1 ท่าน กลุ่มที่ 2 ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ และประเภททั่วไป ระดับอาวุโส จำนวน 2 ท่าน กลุ่มที่ 3 ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน จำนวน 2 ท่าน กลุ่มที่ 4 ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ และประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน จำนวน 2 ท่าน และ และ กลุ่มที่ 5 ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างเหมาบริการ จำนวน 3 ท่าน รวมทั้งสิ้น 10 ท่าน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ดีพร้อม จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งกำลังใจให้แก่บุคลากรดีพร้อมที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดจนเพื่อเชิดชูเกียรติในการปฏิบัติงานราชการอย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยความภาคภูมิใจ ในการได้รับคัดเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น กสอ. ประจำปี 2565 ซึ่งรายชื่อผู้ได้รับการนำเสนอ จำนวน 2 ท่าน จะถูกนำเสนอไปที่กระทรวงศึกษาธิการต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
31 ม.ค. 2566
ปลัดฯ ณัฐพล ให้ ประธาน JTECS และคณะกรรมการบริหาร ส.ส.ท. เข้าพบ
กรุงเทพฯ 26 มกราคม 2566 - นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มอบหมายให้ ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม ให้นายคุวาตะ ฮะจิเมะ (Mr. Kuwata Hajime) ประธานสมาคมส่งเสริมเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Cooperation Society: JTECS) และคณะ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) (ส.ส.ท.) เข้าพบ เพื่อรายงานความคืบหน้าการดำเนินการ Smart Monodzukuri Support Team Project ที่เน้นการทำ IoT ให้เหมาะสมกับขนาดของบริษัท รวมทั้งขอแสดงความขอบคุณสำหรับความร่วมมือในการสนับสนุนการทำให้เกิด "Smart Factory" โดยมีนายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และนายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาการในตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจักรพันธ์ เด่นดวงบริพันธ์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้แทนจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เข้าร่วมด้วย ณ ห้องประชุม อก. 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม การเข้าพบดังกล่าว ปลัดกระทรวงฯ ได้กล่าวแสดงความยินดีในการดำเนินโครงการ Smart Monodzukuri Support Team ที่ประสบความสำเร็จเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ประกอบการสายการผลิต สามารถนำระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาพัฒนากระบวนการผลิตให้ความเที่ยงตรง และมีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ดี หาก JTECS มีความคืบหน้าของโครงการนี้ที่จะขยายผลการดำเนินการให้มากยิ่งขึ้น หรือความร่วมมือในโครงการอื่น ๆ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมมีความยินดีให้ความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน พร้อมผลักดันให้ไทยเป็นฐานการลุงทุนที่เข้มแข็งของญี่ปุ่นต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
27 ม.ค. 2566
“อธิบดีใบน้อย” ต้อนรับ คณะเมติ ในโอกาสขอเข้าเยี่ยมคารวะ พร้อมหารือความคืบหน้า 3 โครงการใหญ่
กรุงเทพฯ 26 มกราคม 2566 – นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาการในตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ร่วมให้การต้อนรับ นายโทดากะ ฮิเดชิ รองอธิบดีกรมการค้าและเศรษฐกิจ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม หรือ เมติ (METI) และนายซาโนะ โชทาโร่ เลขานุการโท สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย และคณะติดตาม ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะและหารือด้านการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) โดย อสอ.ได้กล่าวต้อนรับคณะ และหารือความคืบหน้าในการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะบุคลากรภาคอุตสาหกรรมทั้ง 3 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการ LASI (Lean Automation System Integrator) เพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมไทย เพื่อขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในช่วงปี 2561-2565 ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ LASI ไปแล้วกว่า 300 ราย รวมถึงสร้างการรับรู้การนำ Lean Automation ไปประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการ จำนวน 1,020 ราย และประเมินศักยภาพสถานประกอบการ จำนวน 24 สถานประกอบการ และในปี 2566 นี้ ตั้งเป้าหมายบูรณาการร่วมกับ สถาบันไทย - เยอรมัน และหน่วยงานระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาบุคลากรเพิ่มขึ้นอีกจำนวน 20 ราย 2.โครงการ LIPE เป็นโครงการที่ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมไทย เพื่อขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม และเพิ่มศักยภาพด้านการผลิต ซึ่งได้เป็นการพัฒนาองค์ความรู้แก่บุคลากรในการดำเนินงานด้าน Lean IoT ไปแล้วทั้งหมด 9 รุ่น จำนวน 180 ราย และในปี 2566 ตั้งเป้าจะพัฒนาบุคลากรเพิ่มอีก 80 ราย และ 3.โครงการ Smart Monodzukuri Support Team เป็นการพัฒนาบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมสู่การเป็นที่ปรึกษาที่จะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้พัฒนาบุคลากรไปแล้วกว่า 50 ราย และได้เข้าให้คำปรึกษาแก่สถานประกอบการ จำนวน 2 กิจการ และโรงงานอุตสาหกรรมอีก 4 แห่ง ซึ่งได้รับผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ และปีนี้ตั้งใจจะพัฒนาบุคลากรเพิ่มอีก 20 ราย ผ่านความร่วมมือสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) และหน่วยงานระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้ร่วมหารือเกี่ยวกับ การพัฒนาระบบการรับรองสมรรถนะร่วมที่ปรึกษาอุตสาหกรรม (Service Provider: SP) ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบสำหรับการขึ้นทะเบียนบุคลากรผู้มีทักษะสูง และนำบุคลากรที่ผ่านการพัฒนาภายใต้โครงการความร่วมมือกับ METI มาต่อยอดสู่การเป็นที่ปรึกษาอุตสาหกรรม เพื่อผลักดันให้บุคลากรเหล่านี้ได้มีบทบาทในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม โดยการดำเนินงานยังอยู่ในระหว่างการสำรวจเพื่อสร้างระบบขึ้นทะเบียนบุคลากรส่งเสริม DX ในประเทศไทย และคาดว่าอาจมีการพิจารณาบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดำเนินการรับรองสมรรถนะของบุคลากรได้อย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 ม.ค. 2566
ปลัดฯ ณัฐพล นำทีม MIND เยี่ยมชมพร้อมให้กำลังใจผู้ประกอบการในงาน "อุตสาหกรรมแฟร์"
กรุงเทพฯ 26 มกราคม 2566 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นำทีมผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม (MIND) เยี่ยมชมพร้อมให้กำลังใจผู้ประกอบการร้านค้าที่มาออกบูธภายในงาน "อุตสาหกรรมแฟร์" ภายใต้แนวคิด “ช้อปของที่ใช่ ราคาโดนใจ ได้ที่ดีพร้อม (DIPROM)” โดยมีนายสุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมชมงาน ทั้งนี้ มีนายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ให้การต้อนรับ สำหรับงาน "อุตสาหกรรมแฟร์" ดังกล่าว เป็นการออกร้านจำหน่ายสินค้าจากผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม ผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ กว่า 40 ร้านค้า อาทิ เครื่องหนัง รองเท้า สินค้าเกษตรแปรรูป อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น โดยกำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 25 -27 มกราคม 2566 เวลา 08.00 - 15.00 น. ณ อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 ม.ค. 2566
ปลัดฯ ณัฐพล ระดมขุนพลด้านยุทธศาสตร์ อก. เตรียมพร้อมของบปี 67
กรุงเทพฯ 25 มกราคม 2566 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ในภาพรวมของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำส่งข้อมูลสำหรับการจัดทำคำของบประมาณในภาพรวมของกระทรวงอุตสาหกรรม และนำเรียนขอความเห็นชอบต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อเสนอต่อสำนักงบประมาณพิจารณา ในลำดับต่อไป โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม อก. 1 ชั้น 2 สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
26 ม.ค. 2566