"รสอ.วาที" เร่งติดตามแผนปฎิบัติการดิจิทัล ของ กสอ. ประจำปี 2566-2570
กรุงเทพฯ 6 ธันวาคม 2566 – นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2/2566 พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการพิจารณาคำของบประมาณด้านครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ประจำปี 2568 และแผนปฎิบัติการดิจิทัล ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปี 2566-2570 พร้อมร่วมกันรับทราบการยืนยันชุดข้อมูลเปิดสำหรับลงทะเบียนในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) ทั้งนี้ กสอ. ได้มุ่งเน้นการพัฒนาด้านดิจิทัลเพื่อยกระดับการบริการ การดำเนินงาน โครงสร้าง และเครือข่ายของ กสอ. ตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาตินโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัล ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
07 ธ.ค. 2566
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา ประชุมหารือผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ชื่นชมการทำงาน พร้อมสั่งการเตรียมมอบของขวัญปีใหม่ 2567
กรุงเทพฯ 6 ธันวาคม 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมติดตามและสรุปผลการดำเนินงานประจำเดือนธันวาคม พร้อมด้วย นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา กล่าวชื่นชมการทำงานอย่างเข้มข้นของทุกหน่วยงาน ตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์ภาคใต้ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลงานด้านมาตรฐานอุตสาหกรรม มาตรการการสนับสนุนการตัดอ้อยสด การจัดการกากอุตสาหกรรม และการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่การนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นผลงานที่สำคัญของรัฐบาลและผลงานของกระทรวงฯ พร้อมเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานที่จัดกิจกรรมการอบรม การสัมมนาต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่นั้น ๆ เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการที่เข้าร่วม ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ ในกิจกรรมอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ รัฐมนตรีฯ ได้กล่าวเพิ่มว่า นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ทุกกระทรวง เร่งพิจารณาแนวทางการสนับสนุนช่วยเหลือประชาชน ผ่านการมอบเป็นของขวัญ เนื่องในโอกาสวันปีใหม่ 2567 โดยได้มอบหมายให้แต่ละหน่วยงานเร่งหาแนวทางมาตรการของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชนต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
07 ธ.ค. 2566
"ดีพร้อม" เทรนนิ่งสายธุรกิจคาร์บอนต่ำ พร้อมบูรณาการเครือข่ายสร้างกลไกสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน
กรุงเทพฯ 6 ธันวาคม 2566 – นายวาที พีระวรานุพงษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “BCG Industry Training : เจาะลึกแนวทางการดำเนินธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน“ พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้แทนจากเครือข่ายภาครัฐ-เอกชน สถาบันการเงิน กลุ่มผู้ประกอบการและบุคลากรภาคอุตสาหกรรม โดยมีนายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ ห้อง The Barn ชั้น 1 โรงแรมเบสท์เวสเทิร์น จตุจักร การฝึกอบรมฯ ดังกล่าว เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการดำเนินธุรกิจตามแนวคิด BCG ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตามแนวเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมแนวทางการขอมาตรฐานหรือฉลากสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือให้เป็นกลไกสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านกิจกรรมทั้งแบบบรรยายและแบ่งกลุ่มฝึกภาคปฏิบัติ (Workshop) โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับองค์ความรู้ที่สำคัญ เช่น การประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร การกำหนดเป้าหมายและแผนการลดก๊าซเรือนกระจกตามกลุ่มอุตสาหกรรม การขอสินเชื่อและสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับธุรกิจรักษ์โลก นอกจากนี้ ยังมีนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์และบริการด้านสินเชื่อเพื่อธุรกิจรักษ์โลก สิทธิประโยชน์ทางภาษี อุตสาหกรรมสีเขียว เทคโนโลยีและนวัตกรรมการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกจาก 12 หน่วยงานพันธมิตร ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านการอบรมจะมีโอกาสได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนายกระดับกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยแนวคิด BCG เพื่อเข้าสู่กระบวนการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกและเตรียมความพร้อมสถานประกอบการในการขอรับรองฉลากสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
07 ธ.ค. 2566
“อธิบดีภาสกร" ร่วมพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
กรุงเทพฯ 5 ธันวาคม 2566 - นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าเฝ้าตามหมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานฯ ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สำนักพระราชวัง ดำเนินการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พุทธศักราช 2566 ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงวางพานพุ่มดอกไม้ถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
06 ธ.ค. 2566
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา หารือกับผู้นำชุมชน เอกชน เร่งพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กลุ่มจังหวัดอีสานตอนบน 1 สู่การยกระดับศักยภาพในพื้นที่
จ.อุดรธานี 3 ธันวาคม 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2566 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (จังหวัดบึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะฯ ได้ลงพื้นที่ประชุมร่วมกับผู้นำชุมชน เอกชน และส่วนราชการในพื้นที่ เพื่อหารือข้อเสนอการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จังหวัดอุดรธานี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า ในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการและภาคเอกชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ได้นำข้อเสนอของภาคเอกชนในพื้นที่ 2 ข้อ คือ 1.โครงการยกระดับรายได้เกษตรกรภายใต้การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (Income enhancement project for farmers under Sabaidee Excellent Center for Local Development: SDEC) โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี และ 2.โครงการศึกษาระบบโลจิสติกส์และวางแผนการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 สู่ NeEC และเชื่อมโยงภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี เข้าในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยทั้ง 2 โครงการได้รับการอนุมัติจากกระทรวงอุตสาหกรรม และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อน “ทั้งสองโครงการมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับศักยภาพพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 โดยโครงการยกระดับรายได้เกษตรกรภายใต้การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (SDEC) จะมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และโครงการศึกษาระบบโลจิสติกส์และวางแผนการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 สู่ NeEC และเชื่อมโยงภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มุ่งเน้นการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในพื้นที่” ทั้งนี้ การลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2566 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (จังหวัดบึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี มีนางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ นางสาวณัฎฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการ รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นางศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตาสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะข้าราชการของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
06 ธ.ค. 2566
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและพบปะสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุดรธานี
จ.อุดรธานี 3 ธันวาคม 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2566 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (จังหวัดบึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี) โดยในจุดที่สอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะฯ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและพบปะสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อสถานการณ์ราคาอ้อยและน้ำตาลทรายในปัจจุบัน ล่าสุดราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานกิโลกรัมละ 21-22 บาท จากเดิมที่กิโลกรัมละ 19-20 บาท โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะใช้เป็นองค์ประกอบในการคำนวณราคาอ้อยขั้นต้น จะทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยและโรงงานมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2566/67 ได้มีการผลักดันให้มีราคาที่ 1,400 บาท/ตันอ้อย เนื่องจากต้นทุนการผลิตอ้อยของชาวไร่สูงขึ้นและความต้องการน้ำตาลทรายในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งการขึ้นราคาน้ำตาลทรายในครั้งนี้ ส่งผลดีต่อชาวไร่อ้อยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ติดตามสถานการณ์ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลก ว่าจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลในประเทศอย่างไร พร้อมหาแนวทางช่วยเหลือดูแลปัญหาอย่างใกล้ชิด จากนั้น คณะฯ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการพันธุ์อ้อย ชมการสาธิตการใช้โดรนในการใส่ปุ๋ย พ่นยาฆ่าแมลง ชมการสาธิตเครื่องจักรกลการเกษตร การวิเคราะห์ดิน และการผสมปุ๋ย พร้อมมอบรางวัลให้กับชาวไร่อ้อยดีเด่น และมอบเครื่องสางใบอ้อยให้เกษตรกรชาวไร่ยืมไว้ใช้ในการดำเนินงาน โดยมีนางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ นางสาวณัฎฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการ รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นางศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตาสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะข้าราชการของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
06 ธ.ค. 2566
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา เร่งรัด “โครงการเหมืองแร่โพแทช อุดรฯ” กำชับ “กพร.” กำกับดูแลกิจการให้เป็นเหมืองแร่ดีอยู่คู่ชุมชน
จ.อุดรธานี วันที่ 3 ธันวาคม 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2566 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (จังหวัดบึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี โดยในจุดแรก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะฯ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเหมืองโปแตช บริษัทเอเซีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชัน จำกัด ตําบลหนองไผ่ อําเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ซึ่งดำเนินโครงการเหมืองแร่โพแทชจังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดอุดรธานี ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 15 – 20 กิโลเมตร ครอบคลุมอําเภอเมืองอุดรธานี และอําเภอประจักษ์ศิลปาคม มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 26,446 ไร่ โดยข้อมูลทางธรณีวิทยาพบว่าปริมาณสำรองแร่โพแทชในพื้นที่ประทานบัตรทั้งหมดรวม 267 ล้านตัน ซึ่งจะสามารถนำแร่ขึ้นมาผลิตเป็นปุ๋ยโพแทชได้ประมาณ 34 ล้านตัน ทั้งนี้แร่โพแทชเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตปุ๋ยซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตหลักในภาคเกษตรกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า โครงการเหมืองแร่โพแทชจากบริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (APPC) ได้รับประทานบัตรการทำเหมืองเมื่อเดือนตุลาคม 2565 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับสถาบันการเงินเพื่อใช้สนับสนุนการดำเนินโครงการฯ ซึ่งหากสถาบันการเงินให้การอนุมัติก็จะเร่งรัดการผลิตแร่โพแทชให้ได้ภายใน 3 ปี ส่วนกรณีการคัดค้านจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ที่กังวลต่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพและเศรษฐกิจในพื้นที่ เช่น มลพิษทางอากาศ ทางน้ำ และทางดิน ผลกระทบต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนในพื้นที่นั้น ได้สั่งกำชับให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) และ อุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับบริษัทฯ ชี้แจงและจัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลโครงการและสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีร่วมกำกับดูแลการทำเหมือง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ด้าน กพร. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลโครงการฯ ได้กำหนดมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไว้ เช่น การติดตั้งเครื่องบำบัดฝุ่นในบริเวณก่อสร้างอุโมงค์และเครื่องจักร การติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศในบริเวณพื้นที่เฝ้าระวัง การติดตามตรวจวัดเสียงไม่ให้เกินค่ามาตรฐานและติดตั้งแผ่นป้องกันเสียงในบริเวณที่คาดว่าอาจได้รับผลกระทบ การรังวัดการทรุดตัวของพื้นที่ทำเหมืองด้วยกล้องสมัยใหม่และโดรน การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั่วไป การใช้เทคโนโลยีวัดผลกระทบในการก่อสร้างอุโมงค์ และการใช้เทคโนโลยีการป้องกันผลกระทบจากน้ำไหลเข้าอุโมงค์ เป็นต้น ทั้งนี้ โครงการเหมืองแร่โพแทชจังหวัดอุดรธานี คาดจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อประเทศและประชาชน ในส่วนของภาครัฐจะได้ค่าภาคหลวงแร่ร้อยละ 7 คิดเป็นเงินประมาณ 35,000 ล้านบาท ทำให้เกิดการจ้างงานกว่า 1,000 อัตรา ขณะที่ชาวบ้านรอบพื้นที่โครงการฯ จะได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากโครงการและกองทุนต่าง ๆ อีก 6 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมือง กองทุนเฝ้าระวังสุขภาพ กองทุนการศึกษาเพื่ออนาคตเยาวชน กองทุนประกันความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชน และกองทุนช่วยเหลือค่าปุ๋ยเกษตรกรในพื้นที่ประทานบัตร รวมทั้งเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในพื้นที่ประทานบัตรยังได้รับเงินค่าทดแทน (ค่าลอดใต้ถุน) ในอัตราไร่ละ 45,500 บาท โดยแบ่งเฉลี่ยจ่าย 24 งวดตลอดอายุประทานบัตร โดยมีนางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ นางสาวณัฎฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการ รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นางศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตาสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะข้าราชการของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
06 ธ.ค. 2566
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดงาน สมอ. สัญจร ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช
จ.นครศรีธรรมราช 30 พฤศจิกายน 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาภายใต้กิจกรรม “สมอ. สัญจร” ครั้งที่ 1 ณ โรงแรมทวินโลตัส จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวต้อนรับ และ นายวันชัย พนมชัย รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนเลขาธิการ สมอ. กล่าวรายงาน ประกอบด้วยการสัมมนาจำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ 1) การสัมมนาให้ความรู้ด้านการมาตรฐานแก่เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) การสัมมนา เรื่อง “มอก. : ทางเลือกสู่ “ทางรอด” ในการดำเนินธุรกิจ” เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานปูนซิเมนต์และคอนกรีตแก่ผู้ประกอบการ 3) การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจใหม่” เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการมาตรฐานแก่ผู้ผลิตชุมชน 4) สัมมนาเรื่อง “ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ทางรอดของภาคอุตสาหกรรมไทย” เพื่อให้ความรู้ผู้ประกอบการเกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาทั้งสิ้น 516 คน นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มีพิธีมอบใบรับรองมาตรฐาน มผช. แก่ผู้ผลิตชุมชน จำนวน 10 ราย ใบรับรองมาตรฐาน มอก. เอส แก่ผู้ประกอบการ SMEs จำนวน 10 ราย และใบอนุญาต มอก. แก่ผู้ประกอบการ จำนวน 9 ราย โดยมี นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม รักษาการในตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางบุบผา กวินวศิน รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าร่วมด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
04 ธ.ค. 2566
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา หารือผู้ประกอบพื้นที่ภาคใต้ หนุนภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รองรับอุตสาหกรรมฮาลาล
จ.นครศรีธรรมราช 29 พฤศจิกายน 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมพื้นที่ภาคใต้ พร้อมด้วย นายเอกภัทร วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และผู้ประกอบการ เข้าร่วมหารือ ณ โรงแรม แกรนด์ ฟอร์จูน การประชุมหารือในครั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ รวมถึงภาคเอกชน และผู้ประกอบการ ได้เสนอให้กระทรวงอุตสาหกรรม ส่งเสริม สนับสนุน ในเรื่องผังเมืองสำหรับการก่อสร้าง ซึ่งบางพื้นที่ไม่มีโซนที่สามารถก่อสร้างได้ จึงทำให้การก่อสร้างของโรงงานใหม่เป็นไปได้ยาก เรื่องการขนส่งโลจิสติกส์ เช่น ถนนสี่เลนที่มีอยู่มีความจำเป็นต้องขยายออกไป จากอำเภอทุ่งสงมาอำเภอปากพนัง หากมีการขยายถนนจากสองเลนเป็น 4 เลนได้ ด้านการขนส่งจะดีขึ้นโดยไม่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ๆ เรื่องการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ติดทะเลประมาณ 250 กม. หากมีท่าเรือขนส่งเป็นศูนย์กระจายสินค้า ซึ่งจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมาก นอกจากนี้ ในด้านของพืชเศรษฐกิจ ซึ่งในพื้นที่ภาคใต้ มีพืชเศรษฐกิจเป็นจำนวนมาก ได้แก่ ยางพารา ปาล์ม และผลไม้ต่าง ๆ โดยอยากให้มีการส่งเสริม และโครงสร้างของการสนับสนุน อยากให้มีกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ในอุตสาหกรรม ที่ชี้เป้าของภาคใต้ ให้ผู้ประกอบการ SME ในภาคใต้ มีการอบรมให้ความรู้ พัฒนาความสามารถมากขึ้น รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา กล่าวว่า อุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ SEC ที่กำหนดไว้ ได้แก่ ด้านเกษตรและอาหาร เป็นการใช้เทคโนโลยีระดับสูง ไม่ใช่เกษตรและอาหารทั่วไป ด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ ซึ่งมาจากฐานของน้ำมันปาล์ม และสารสกัดจากยางพารา และด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ จากข้อมูล GDP ที่ผ่านมา มูลค่าจากสินค้าด้านการเกษตร คิดเป็น 40% เป็นการบริการ คิดเป็น 44% ซึ่ง GDP ในภาคอุตสาหกรรมมีมูลค่าน้อย อาจมาจากปัญหาด้านผังเมือง จึงทำให้โรงงานในการแปรรูปก่อตั้งไม่ได้ โดยในพื้นที่ภาคใต้มีการขอการส่งเสริมการลงทุนเป็นอันดับสอง รองจากพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งในการขอการส่งเสริมการลงทุนในปีหน้าเป็นต้นไป จะเริ่มมีการลงทุนซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นพื้นที่ให้ทำหน้าที่ในฐานะเป็นระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ กระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นนักลงทุนจากในพื้นที่ และส่วนหนึ่งมาจากนักลงทุนจากภายนอกพื้นที่ นอกจากนี้ ในเรื่องของ โกโก้ จากที่ศึกษาข้อมูล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ที่มีการปลูกโกโก้คุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย ต้องยอมรับว่าโกโก้ไทยไม่เหมือนในต่างประเทศ เปรียบเทียบกับโคลอมเบียไม่ได้เพราะสภาพการปลูกไม่เหมือนกัน เวลาส่งเสริมต้องไม่ทำเหมือนคนอื่น สิ่งที่ต้องทำคือส่งเสริมเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น คือ โกโก้นครศรีธรรมราช รสชาติเป็นแบบนี้ ต้องส่งเสริมแบบไหน การเพิ่มมูลค่าให้โกโก้ต้องยึดเอกลักษณ์ท้องถิ่น นอกจากนี้ ในด้านของอุตสาหกรรมฮาลาล อยากเห็นการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยพื้นที่ภาคใต้ เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยง โค แพะ เป็นจำนวนมาก แต่ขายเป็นตัว ไม่มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ซึ่งการแปรรูปต้องใช้ปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น โรงเชือด ตลาด การส่งออก โดย ฮาลาล เป็นอุตสาหกรรมที่มีอนาคต ถ้าเราดูอุตสาหกรรมฮาลาลของโลก เฉพาะด้านอาหาร สองล้านล้านเหรียญสหรัฐทั่วโลก เรามีส่วนแบ่งตลาดเพียงแค่ 2.7% (หกพันล้าน) เป็นผลิตภัณฑ์ฮาลาลจำพวกข้าว น้ำตาล ถั่ว ประมาณ 60% แต่ในด้านสินค้าฮาลาลจริง ๆ มีน้อยมาก แทบจะไม่มีส่วนแบ่งตลาดในนั้นเลย เราต้องส่งเสริมสินค้าฮาลาลในรูปแบบที่เป็นสินค้าไทย ซึ่งหน่วยงานส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาลในประเทศไทย มีกว่า 10 หน่วยงาน ไม่มีหลักแบบแผนแม่บทใหญ่เพื่อวางตัวชี้วัดหรือแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม จะรีบนำเสนอการจัดตั้ง กรมอุตสาหกรรมฮาลาล อย่างรวดเร็ว เพื่อให้อุตสาหกรรมฮาลาลของไทยมีความชัดเจนในการโดยจะเน้นการส่งเสริมฮาลาล ไม่ใช่การขอการรับรอง โดยต้องตั้งเป้าหมายตัวชี้วัดการพัฒนาต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
04 ธ.ค. 2566
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา ล่องใต้ เปิดงาน MIND: Your Industrial Power หนุนผู้ประกอบการ ยกระดับศักยภาพภาคอุตสาหกรรมไทย
จ.นครศรีธรรมราช 1 ธันวาคม 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดการสัมมนา “การส่งเสริมและยกระดับอุตสาหกรรม ในพื้นที่ภาคใต้ MIND: Your Industrial Power” โดยมี นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม รักษาการแทนผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรักษาการแทนผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม ณ โรงแรม แกรนด์ ฟอร์จูน ปลัดฯณัฐพล กล่าวว่า สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการส่งเสริม และสนับสนุนผู้ประกอบการในทุกมิติ สร้างธุรกิจให้เข้มแข็งเติบโตอย่างแข็งแกร่ง นําไปสู่ความสําเร็จอย่างยั่งยืน ภายใต้กรอบความแนวคิดและทิศทางการทํางานด้วย “MIND” ใช้ หัว และ ใจ เพื่อบรรลุเป้าหมาย การสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน เปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมวิถีใหม่ ซึ่งการดําเนินงานภายใต้กรอบแนวคิด “MIND” ของกระทรวงอุตสาหกรรมนั้น มุ่งเน้นความสําเร็จ 4 มิติ ประกอบด้วย มิติที่ 1 ความสําเร็จทางธุรกิจ มิติ ที่ 2 ความอยู่ดีกับสังคมโดยรวม มิติที่ 3 ความลงตัวกับกติกาสากล และมิติที่ 4 การกระจายรายได้สู่ชุมชนที่ตั้ง ผ่านการดําเนินการพัฒนาอุตสาหกรรม ไปสู่อุตสาหกรรมศักยภาพสูงและการสร้างธุรกิจรูปแบบใหม่ ควบคู่ไปกับการดูแลสังคม การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน และส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก โดยการจะสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืนได้นั้น จําเป็นต้องมีความเข้มแข็งของผู้ประกอบการในพื้นที่เป็นองค์ประกอบสําคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเป็นภาคส่วนที่สําคัญอย่างยิ่ง ในการร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จึงให้ความสําคัญกับการเสริมสร้างองค์ความรู้แก่ผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมในประเด็นที่จะช่วยยกระดับการดําเนินธุรกิจอุตสาหกรรมให้แก่ผู้ประกอบการ รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา กล่าวเพิ่มเติมว่า พื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ มีความโดดเด่นในหลากหลายมิติ เช่น ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลระดับโลก เป็นทางเลือกในการพักผ่อนระยะยาว หรือ Long Stay ของชาวต่างชาติที่มีกําลังซื้อสูง ในด้านการเกษตร ภาคใต้มีความโดดเด่นเช่นเดียวกัน โดยมีพืชเศรษฐกิจที่สําคัญมากมาย เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน และโกโก้ เป็นต้น นอกจากนี้ ภาคใต้ ยังเป็นศูนย์กลางการแปรรูปอาหารทะเล รวมทั้งอาหารฮาลาล และมีความโดดเด่นในด้านการค้าและโลจิสติกส์ เนื่องจากทําเลที่ตั้งของ ภาคใต้เป็นประตูสู่ตลาดมาเลเซียและสิงค์โปร์ ซึ่งการดําเนินงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่จะสอดคล้องกับนโยบายล่าสุดของรัฐบาล ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรมฮาลาล ต่อยอดสู่สากล ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลให้ความสําคัญกับภาคใต้เป็นอย่างยิ่ง จึงได้มีการกําหนดทิศทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ โดยได้มีการประกาศระเบียงเศรษฐกิจ ภาคใต้ หรือ SEC ที่ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ได้แก่ จังหวัดระนอง ชุมพร นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี ซึ่งรัฐบาลไทยต้องการผลักดันให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาค เพื่อรองรับการขนส่งทางทะเลและทางบก นอกจากนี้ยังกําหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สําหรับดําเนินโครงการ Land Bridge ซึ่งเป็นโครงการสร้างท่าเรือน้ําลึกเชื่อมทะเลอ่าวไทยและอันดามัน เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการขนส่งและการค้าของไทย ซึ่งจะทําให้มีความสะดวก และสามารถเชื่อมต่อกับเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าภาคใต้เป็นพื้นที่ศักยภาพและเต็มไปด้วยโอกาสด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานหลักในการสนับสนุนผู้ประกอบการในการดําเนินธุรกิจอุตสาหกรรม จึงมีความจําเป็นที่จะต้องส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการในด้านการเพิ่มขีดความสามารถ การประกอบการและการผลิตอย่างรอบด้าน เพื่อยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในภาพรวมการดําเนินงานในปัจจุบันของกระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งเน้นไปที่การสร้างธุรกิจ ให้เข้มแข็งเติบโตอย่างแข็งแกร่ง นําไปสู่ความสําเร็จอย่างยั่งยืน ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพเชิงพื้นที่ ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการสร้างงานและ อาชีพให้แก่ผู้คน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้มีความเข้มแข็ง ผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรม มีการดําเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชน สร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่สังคมและอุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้เป็นอย่างดี สำหรับ การสัมมนา “การส่งเสริมและยกระดับอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคใต้ : MIND Your Industrial Power” ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ภาคใต้ แนะนําช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่จะเป็นประโยชน์ในการดําเนินธุรกิจ เปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการ ตลอดจนเป็นการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคใต้ให้เข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ในจังหวัดพื้นที่ภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด จํานวนกว่า 150 คน โดยมีกิจกรรม 3 กิจกรรม ประกอบไปด้วย 1. การบรรยาย เรื่อง “การส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคใต้” โดยผู้แทนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI 2. การอภิปราย เรื่อง “การแนะนําช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน” โดยผู้แทนจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และผู้แทนจากธนาคารออมสิน และ 3. การเสวนา เรื่อง “การส่งเสริมและยกระดับ อุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคใต้ : แนวคิดและประสบการณ์” โดย ผู้แทนจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ผู้แทนภาคการศึกษา ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้แทนจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยร่วมเสวนา นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเน้นย้ำความสําคัญทางเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคใต้ สํานักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมยังได้มีการจัดกิจกรรมพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมสู่ต้นแบบอัจฉริยะ หรือ MIND STAR เพื่อดําเนินการสร้าง ผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมที่เข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมในพื้นที่อีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
04 ธ.ค. 2566