"อธิบดีภาสกร” เดินหน้าบูรณาการดำเนินโครงการในพื้นที่ระหว่าง ดีพร้อม และ สอจ. ชุมพร
จ.ชุมพร 20 มกราคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายคณิต กายสอน อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และเจ้าหน้าที่ สอจ.ชุมพร เข้าร่วมประชุม ณ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร การประชุมครั้งนี้ เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างดีพร้อม และ สอจ.ชุมพร ในการผลักดันผู้ประกอบการให้เข้าถึงโครงการได้เพิ่มมากขึ้น โดย สอจ.ชุมพร เร่งให้เกิดการส่งต่อความต้องการของผู้ประกอบการให้ได้รับการส่งเสริม พัฒนา และยกระดับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ประจำปี 2567 ตามนโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ที่มีแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรม ร่วมกับแนวคิด “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม” โดยมีทิศทางการทำงานที่สอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในบริบทต่าง ๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมถึงมีศักยภาพในการแสวงหาโอกาสและผลประโยชน์จากความท้าทายต่าง ๆ ผ่านกลยุทธ์ 3 ด้าน ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบนโยบายและพร้อมประสานความร่วมมือในการส่งต่อความต้องการเพื่อเปิดโอกาสในการเข้าถึงบริการให้มากขึ้น โดยเฉพาะความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรม และการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อ เพื่อเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการร่วมกันในอนาคต ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ม.ค. 2567
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา เปิดอบรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก
จ.ชุมพร 19 มกราคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ"ภายใต้โครงการ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน โดยมี นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายคณิต กายสอน อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร นายวิชญพรรณ พลอยทับทิม อุตสาหกรรมจังหวัดระนอง นางดวงธิดา จันทร์พุ่ม อุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช และคณะผู้บริหาร เข้าร่วม ณ อาคารอเนกประสงค์วัดหินแก้ว อำเภอท่าแซะ และอาคารตลาดกลาง เทศบาลวังใหม่ ตำบลวังไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา กล่าวว่า ภายใต้การนำของรัฐบาล ท่านเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการช่วยเหลือและฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วและเป็นระบบด้วยนโยบายต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมุ่งแก้ไขปัญหาในระดับเศรษฐกิจฐานรากลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจให้บรรลุเป้าหมาย กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนกลุ่มเป้าหมายในทุกพื้นที่ของประเทศ ให้มีความเติบโตอย่างมีคุณภาพ เพื่อการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งและพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการประกอบธุรกิจ โดยการส่งเสริม พัฒนาและสนับสนุนให้มีองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการในการดำเนินธุรกิจ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านคุณภาพและมาตรฐาน การเชื่อมโยงธุรกิจเพื่อนำไปสู่การขยายโอกาสทางการตลาด โดยนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรม และส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยการผลักดัน Soft Power ของประเทศไทย ด้วยทุนทางวัฒนธรรมในระดับประเทศสู่ระดับภาคและท้องถิ่นตลอดจนสนับสนุนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่าง อ่าวไทยและอันดามัน หรือ โครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งเป็นโครงการสำคัญ ของ รัฐบาลการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวนโยบายข้างต้น จะถูกขับเคลื่อนควบคู่ ไปกับการกระจายความเจริญสู่ระดับพื้นที่ให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรมและเติบโต คู่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนพร้อม ๆ ไปกับการเติบโตสู่ความยั่งยืน โดยกำหนดนโยบายในการส่งเสริม สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการไทยทุกกลุ่มให้เติบโตอย่างมีคุณภาพรวมถึงให้ความสำคัญกับการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ด้วยการสนับสนุนให้ประชาชนมีอาชีพมั่นคงจากต้นทุนในชุมชน ทั้งต้นทุนทางวัฒนธรรมและวัตถุดิบในท้องถิ่น พร้อมการพัฒนาทักษะ อาชีพเสริมเพื่อการลดรายจ่ายในภาคครัวเรือน การผนวกวิชาการอุตสาหกรรมเข้ากับวิถีชุมชนเพื่อสร้างรายได้ยั่งยืนให้กับประชาชน และเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยก้าวข้ามประเทศกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ความมั่งคั่งในอนาคต ทั้งนี้ ในปัจจุบันตลาดสมุนไพรไทย ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น และมีการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ในเชิงอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2565 การบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศไทย มีมูลค่าสูงถึง 52,104.3 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรม ได้ส่งเสริมให้มีการนำพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานสำหรับใช้ในการรักษา บำบัดร่างกายและดูแลสุขภาพในเชิงการแพทย์ อาทิ เครื่องสำอาง และเวชภัณฑ์จากสมุนไพรเป็นต้น ซึ่งจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาและสร้างผู้ประกอบการให้เกิดการ พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยการยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้มีมาตรฐานเพื่อรองรับตลาดการทองเที่ยวเชิงสุขภาพ ต่อไป สำหรับการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ" ในครั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งมีศักยภาพในการแข่งขัน พัฒนาองค์ความรู้และเพิ่มทักษะให้ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน ตลาดจนพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง ได้มีโอกาสต่อยอดสู่การเป็น ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและสร้างรายได้ให้กับชุมชนกระตุ้นระบบเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ม.ค. 2567
“อธิบดีภาสกร” ชูนโยบาย RESHAPE THE FUTURE ปรับ 3 ด้าน รับเทรนด์โลก ตอกย้ำผู้ประกอบการ “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม” คาดกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 10,000 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 18 มกราคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แถลงนโยบายทิศทางการส่งเสริม พัฒนา และยกระดับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ประจำปี 2567 พร้อมชูนโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ร่วมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และผ่าน Facebook Live : https://fb.watch/pES_F5JsTw/?mibextid=Nif5oz อธิบดีดีพร้อม เปิดเผยว่า ในปี 2567 ดีพร้อมมีแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบาย “RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต” กับแนวคิด “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม” โดยมีทิศทางการทำงานที่สอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในบริบทต่าง ๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมถึงมีศักยภาพในการแสวงหาโอกาสและผลประโยชน์จากความท้าทายต่าง ๆ ผ่านกลยุทธ์ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1. ปรับตัวให้ก้าวทันอุตสาหกรรมยุคใหม่ (RESHAPE THE INDUSTRY) ผ่านการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม การพัฒนาสินค้าและบริการด้านเชิงสุขภาพ สนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์ในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและ การส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้เป็นเครื่องยนต์ใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG 2. ปรับเปลี่ยนการพัฒนาเชิงพื้นที่ (RESHAPE THE AREA) ผ่านการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค โดยสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่อุปทานให้กับสินค้าและบริการที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมเป้าหมายของแต่ละพื้นที่ รวมถึงสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการและชุมชนมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชนตามแนวคิด “ชุมชนเปลี่ยน” 3. ปรับเพิ่มการเข้าถึงโอกาส (RESHAPE THE ACCESSIBILITY) ผ่านการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยพัฒนากลไกการให้สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อกลุ่ม SMEs ที่มีศักยภาพให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันการเงินต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังขยายเครือข่ายความร่วมมือและบูรณาการกับองค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ ในปี 2567 ดีพร้อมตั้งเป้าหมายการส่งเสริมและพัฒนายกระดับผู้ประกอบการกว่า 18,400 ราย ภายใต้งบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 ม.ค. 2567
“ดีพร้อม” กางแผนหารือโครงการซอฟต์พาวเวอร์ อาหาร แฟชั่น
กรุงเทพฯ 18 มกราคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการระดมความเห็นโครงการซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร และสาขาแฟชั่น พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุงพงศ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมครั้งนี้ เป็นการระดมความเห็นเพื่อจัดทำรายละเอียดโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร และสาขาแฟชั่น ประกอบด้วย สาขาแฟชั่น 4 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาและเชื่อมโยงเครือข่ายบุคลากรอุตสาหกรรมแฟชั่น โครงการส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นจากทุนทางวัฒนธรรมไทยสู่สากล โครงการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แฟชั่นและหัตถกรรมสิ่งทอระหว่างประเทศ และสาขาอาหาร 4 โครงการ ได้แก่ โครงการยกระดับศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชน โครงการส่งเสริมการใช้นวัตกรรม ยกระดับ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทยสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน โครงการยกระดับหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย โครงการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชนอาหารถิ่น อาหารไทย และอีก 3 โครงการจะดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภายนอก ได้แก่ โครงการจัดทำและพัฒนาแพลตฟอร์ม Cross Border E-Commerce (CBEC) โครงการ Thai Food / Thai Cuisine / Documentary / Series on Netflix และ โครงการ Best Thai Guide ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับข้อเสนอเพื่อจัดทำรายละเอียดโครงการ และจัดส่งข้อมูลต่อ ให้สำนักงบประมาณพิจารณากรอบวงเงินตามขั้นตอนต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 ม.ค. 2567
“อสอ.ภาสกร” ร่วมประชุมแนะนำระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กรุงเทพฯ 18 มกราคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมแนะนำระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กองทุน และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พร้อมด้วย นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในวันนี้ เป็นการรายงานโครงสร้างและแผนการดำเนินงานระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ทั้งนี้การจัดตั้งกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมขึ้นใน สกสว. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนระบบการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสหวิทยาการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ พัฒนานโยบายสาธารณะ และสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 ม.ค. 2567
"อธิบดีภาสกร" นั่งหัวโต๊ะประชุมทีมผู้บริหารดีพร้อมครั้งที่ 86 - 3/ 2567
กรุงเทพฯ 17 มกราคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมผู้บริหาร กสอ. ครั้งที่ 86 - 3/2567 ร่วมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการร่วมกันพิจารณาในประเด็น 1) ผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม (DIPROM Pay for BCG)” เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในสินทรัพย์ถาวรที่สนับสนุนการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และรักษาสิ่งแวดล้อม สำหรับกลุ่มประเภทอุตสาหกรรมที่เป็นผู้ผลิตสินค้าภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG กลุ่มประเภทอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเกี่ยวเนื่อง Supply Chain ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และกลุ่มประเภทอุตสาหกรรมภาคการผลิตที่มีความประสงค์ในการปรับปรุงเครื่องจักร และกระบวนการผลิต เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งมีวงเงินให้กู้ระยะยาวสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 7 ปี (84 งวด) โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ แบบขั้นบันได เริ่มต้นร้อยละ 3 เป็นระยะเวลา 3 ปี และปีที่ 4 ถึงปีที่ 7 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปี 2) แผนเงินทุนหมุนเวียน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
18 ม.ค. 2567
อสอ. ภาสกร นำทีมคัดเลือก “คนดี ศรี กสอ.” และ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น กสอ. ปี 66
กรุงเทพฯ 16 มกราคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก “คนดี ศรี กสอ.” และข้าราชการพลเรือนดีเด่น กสอ. ประจำปี พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 1/2567 ร่วมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะกรรมการฯ และคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom Meeting การประชุมในครั้งนี้ เป็นการพิจารณาแผนดำเนินการพิจารณาคัดเลือก “คนดี ศรี กสอ.” และข้าราชการพลเรือนดีเด่น กสอ. ประจำปี พ.ศ. 2566 และหลักเกณฑ์ ขั้นตอนการพิจารณาการคัดเลือกฯ ตามคู่มือที่กำหนด โดยจะแจ้งเวียนให้หน่วยงานในสังกัดเสนอชื่อผู้สมัคร และคณะกรรมการจะดำเนินการตามขั้นตอนการคัดเลือกฯ เพื่อเสนอชื่อข้าราชการพลเรือนดีเด่น กสอ. ไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ภายในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 ต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
17 ม.ค. 2567
"อธิบดีภาสกร" เร่งปล่อยเงินทุนหมุนเวียนเพื่อสินเชื่อธุรกิจสิ่งแวดล้อม (DIPROM Pay For BCG)
กรุงเทพฯ 15 มกราคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ ครั้งที่ 1/2567 ร่วมด้วยนางสาวจิราภา วงศ์พิสุทธิ์ไพศาล นักวิเคราะห์งบประมาณชำนาญการพิเศษ ผู้แทนสำนักงบประมาณ นางสาวสุพรรณี สุริยะ รักษาการนักบัญชีชำนาญการพิเศษ ผู้แทนกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการร่วมพิจารณาในประเด็น 1) ผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อธุรกิจสิ่งแวดล้อม (DIPROM Pay For BCG)” เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรม SME รายย่อยที่มีความประสงค์ในการปรับปรุงเครื่องจักรและกระบวนการผลิต เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นวงเงินกู้ระยะยาวสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 7 ปี (84 งวด) โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ แบบขั้นบันได เริ่มต้นร้อยละ 3 เป็นระยะเวลา 3 ปี และปีที่ 4 ถึงปีที่ 7 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปี 2) พิจารณาการปรับปรุงองค์ประกอบคณะอนุกรรมการพิจารณาร่างตัวชี้วัดการประเมินผลการดำเนินงาน ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้ขานรับนโยบายโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ต้องสามารถแข่งขันด้วยนวัตกรรม เพื่อให้เศรษฐกิจ BCG เติบโตและแข่งขันได้ในระดับโลก จนเกิดเป็นการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ ชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
17 ม.ค. 2567
“รสอ.ดวงดาว” ร่วมประชุมการจัดทำงบประมาณปี 68
กรุงเทพฯ 12 มกราคม 2567 – นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) เข้าร่วมการประชุมสัมมนาการมอบนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการประชุมฯ ร่วมด้วย คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อการหารือเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่งประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ นอกจากนี้ ยังเป็นการประชุมเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด สามารถนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาประเทศตามนโยบายของรัฐบาล และสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างแท้จริง ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
15 ม.ค. 2567
ดีพร้อม ปลุกพลังสร้างสรรค์ ดันกระแสแฟชั่นไทย เปิดเวทีจับคู่ธุรกิจยกระดับสินค้าแฟชั่นไทยสู่เวทีโลก หวังกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 500 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 9 มกราคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมการเจรจาธุรกิจ (Business Matching) ร่วมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้แทนจากพันธมิตรภาคีเครือข่ายด้านแฟชั่น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย และสื่อมวลชนจำนวนมากเข้าร่วมงานดังกล่าว ณ ห้อง ICONLUXE Gallery ชั้น 1 ห้างสรรพสินค้า ICONSIAM ดีพร้อม ยกระดับสินค้าไทยสู่เวทีโลก สอดรับนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ นำร่อง Quick Win 100 วันแรก ภายใต้หลักสูตร “ปลุกพลังสร้างสรรค์ ดันกระแสแฟชั่นไทย” (Fashion Powerhouse) โดยเชิญกูรูด้านแฟชั่นแถวหน้า พร้อมร่วมกับตัวแทนภาคเอกชนสาขาอุตสาหกรรมแฟชั่น ได้แก่ นักออกแบบ โรงงานผู้ผลิตวัตถุดิบ โรงงานผู้ผลิตสินค้าแฟชั่น มาจุดประกายสร้างโอกาสแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยผ่านกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแฟชั่นและทุกภาคส่วนกว่า 100 ราย ได้แลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ร่วมกันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำในการปรับกลยุทธ์การแข่งขันทางธุรกิจ จากการแข่งขันด้านราคาสู่ชุดความคิดใหม่ เน้นการสร้างสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อยกระดับและส่งเสริมตราสินค้าไทยให้เติบโตเป็นที่รู้จักและยอมรับในเวทีโลก และคาดว่าจะสามารถขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยให้เติบโตและกระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่า 500 ล้านบาท ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
11 ม.ค. 2567