"พิมพ์ภัทรา" เร่งหารือผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมสนับสนุน หลังรับผลกระทบ จากตลาดรถยนต์ EV บูม
กรุงเทพฯ 29 กุมภาพันธ์ 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมสรุปประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไขเพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมสนับสนุน โดยมี นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวิโรจน์ ศิริธนาศาสตร์ ประธานสมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน นายวาที พีระวรานุพงษ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และนางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้แทนสมาคมต่าง ๆ คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวว่า รัฐบาลได้มุ่งสนับสนุนการใช้ศักยภาพของประเทศ เพื่อให้เป็นแหล่งรองรับการลงทุนที่โดดเด่นของภูมิภาค โดยหนึ่งในอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่รัฐบาลให้การสนับสนุน คือ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ที่รัฐบาลได้มีการกำหนดมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริม อาทิ การให้เงินอุดหนุน การลดอัตราอากรขาเข้ารถยนต์สำเร็จรูป และการลดอัตราภาษีสรรพสามิต เป็นต้น ซึ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV มีการเติบโตขึ้นเป็นลำดับ แต่ในขณะเดียวกันการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าก็ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine: ICE) ปรับตัวลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสนับสนุนหรือผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ICE เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงขอรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบถึงปัญหาและแนวทาง การช่วยเหลือและสนับสนุนที่ตรงจุดและตรงต่อความต้องการ พร้อมจะได้จัดทำนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมสนับสนุน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยมีหน่วยงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ร่วมรับทราบถึงแนวทาง และหารือข้อแก้ไขเพื่อช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมสนับสนุน และดำเนินการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสนับสนุนของประเทศได้ต่อไป ทั้งนี้ การประชุมได้มีผู้แทนจากสมาคมต่าง ๆ อาทิ สมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย สมาคมอุตสาหกรรมหล่อโลหะไทย สมาคมพัฒนาสเตนเลสไทย สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย สมาคมไทยคอมโพสิท นายกสมาคมเครื่องจักรกลไทย สมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย สมาคมผู้ค้าเครื่องปรับอากาศไทย เข้าร่วมหารือด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
05 มี.ค. 2567
"อสอ.ภาสกร" หารือ ผู้แทนรัฐบาลนครฉางชุน มณฑลจี๋หลิน แลกเปลี่ยนนโยบายด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 29 กุมภาพันธ์ 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำทีมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ร่วมประชุมหารือกับนายหลี่ จั้วซิน (Mr. Li Zuoxin) รองผู้อำนวยการ กรมพาณิชย์รัฐบาลนครฉางชุน มณฑลจี๋หลิน สาธารณรัฐประชาชนจีน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และผู้ประกอบการจากนครฉางชุน ในกลุ่มอุตสาหกรรมอุปกรณ์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์นำแสง (Photo Electronics) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) มณฑลจี๋หลิน เป็นหนึ่งในมณฑลของประเทศจีนที่มูลค่า GDP เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2566 โดยปัจจัยหลัก คือ รายได้จากอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์ ชีวการแพทย์ และเกษตร อีกทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่มีศักยภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศจีนอีกด้วย การประชุมหารือวันนี้ ได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนนโยบายด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมและข้อมูลด้านอุตสาหกรรมที่ทั้งสองฝ่ายมีความเชี่ยวชาญและสนใจร่วมกัน เพื่อเชื่อมโยงและต่อยอดอุตสาหกรรมเป้าหมายไทย-จีน อาทิ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ และชิ้นส่วนยานยนต์ ตลอดจนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าไทยและความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยไปได้พร้อม ๆ กัน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 มี.ค. 2567
"รสอ.ดวงดาว" นำประชุมบอร์ดพิจารณาหลักเกณฑ์และข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์สิ่งทอ
กรุงเทพฯ 29 กุมภาพันธ์ 2567 – นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์และข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์สิ่งทอสำหรับการให้การรับรองติดฉลาก Thailand Textiles Tag ครั้งที่ 1/2567 พร้อมด้วย คณะกรรมการจากหน่วยงานต่าง ๆ คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารเคมีและคุณภาพสิ่งทอสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยการประชุมครั้งนี้ ได้ร่วมกันพิจารณาทบทวนข้อกำหนดและหลักเกณฑ์เครื่องหมายคุณภาพสิ่งทอไทย หรือ Thailand Textiles Tag ประกอบด้วย ขอบข่ายของลักษณะผลิตภัณฑ์ หัวข้อการทดสอบตามเกณฑ์มาตรฐานต่าง ๆ หลักเกณฑ์ในการตรวจสถานที่ผลิต ตั้งแต่ การจัดซื้อ การผลิต การควบคุมผลิตภัณฑ์ และ หลักเกณฑ์เพิ่มเติม เพื่อการขยายขอบข่ายไปยังผลิตภัณฑ์ BCG อาทิ การจัดการของเสีย การจัดการสภาพแวดล้อมการทำงาน และนโยบายสิ่งแวดล้อม รวมถึงร่วมรับทราบผลการดำเนินกิจกรรม ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 - 2566 รวมทั้งติดตามสถานะการดำเนินกิจกรรม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 มี.ค. 2567
ดีพร้อม จับมือ GISTDA จัดประชุมหารือเเนวทางการบูรณาการผลักดันอุตสาหกรรมอวกาศ
กรุงเทพฯ 29 กุมภาพันธ์ 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานประชุมหารือแนวทางบูรณาการความร่วมมือกับคณะผู้บริหารสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) GISTDA เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นการบริการและดำเนินงาน เพื่อบริการข้อมูลภูมิสารสนเทศ บริการวิชาการ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ มีบริการจัดทำโครงการและให้คำปรึกษาในการนำข้อมูลดาวเทียม ข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ รวมถึงการฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ การประชุมดังกล่าว เป็นการหารือแนวทางความร่วมมือ ระหว่าง ดีพร้อม กับ GISTDA ใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1) การบูรณาการอุตสาหกรรมอวกาศและงบประมาณ 2) การส่งเสริมอุตสาหกรรมอวกาศผ่านสมาคมฯ ภายใต้ กสอ. 3) การผลักดันอุตสาหกรรมอวกาศให้เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ของประเทศ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูล บูรณาการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อประยุกต์การใช้งานเเละยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมอวกาศ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 มี.ค. 2567
"รสอ.วาที" ประชุมคณะทำงานบริหารความเสี่ยงเงินทุนหมุนเวียนฯ ครั้งที่ 1/2567
กรุงเทพฯ 29 กุมภาพันธ์ 2567 – นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะทำงานบริหารความเสี่ยงเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย ครั้งที่ 1/2567 ร่วมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว ได้พิจารณาประเด็นสำคัญต่าง ๆ ประกอบด้วย 1) การมอบหมายผู้ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้องค์ประกอบคณะทำงานบริหารความเสี่ยงของเงินทุนหมุนเวียนฯ 2) การทบทวนคู่มือและแผนการบริหารความเสี่ยงของเงินทุนหมุนเวียนฯ ประจำปีบัญชี 2567 โดยมีแนวทางและกระบวนการบริหารความเสี่ยง สอดคล้องกับเกณฑ์ตัวชี้วัดการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ตามกรอบโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงของ COSO-ERM และ 3) การจัดทำร่างแผนการบริหารความเสี่ยงฯ ประจำบัญชี 2567 ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 มี.ค. 2567
"รสอ.วัชรุน" นั่งหัวโต๊ะติดตามคณะทำงานกลั่นกรองจำหน่ายพัสดุ ครั้งที่ 2/2567
กรุงเทพฯ 29 กุมภาพันธ์ 2567 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะทำงานกลั่นกรองการจำหน่ายพัสดุ ครั้งที่ 2/2567 พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และรูปแบบออนไลน์ผ่าน Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อติดตามการปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของคณะทำงานฯ ในเรื่องการขอความยินยอมต่ออายุสัญญาเช่าอาคารราชพัสดุ การจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุการขอใช้พื้นที่ ชั้น 2 อาคาร กสอ. (พระรามที่ 6) และสอบทานความถูกต้องของการจำหน่ายครุภัณฑ์ของหน่วยงานใน กสอ. ทั้งนี้ รสอ.วัชรุนฯ ได้มีการเน้นย้ำแนวทางการหาข้อมูลเพื่อประเมินการจำหน่ายครุภัณฑ์ โดยให้มีพิจารณาวิธีการจำหน่ายพัสดุด้วยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐ และสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และเกิดประโยชน์ต่อองค์กรในภาพรวมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 มี.ค. 2567
“อสอ.ภาสกร” ฟอร์มดรีมทีมอัพเกรดบุคลากรให้ดีพร้อม ภายใต้นโยบาย RESHAPE THE FUTURE โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต
กรุงเทพฯ 28 กุมภาพันธ์ 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะทำงานสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2567 พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงษ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และนางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และรูปแบบออนไลน์ผ่าน Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรของดีพร้อมให้พร้อมให้บริการแก่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆ ตามนโยบายที่ออกมา RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ประกอบด้วย การส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (CLIMATE CHANGE) ส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่มีส่วนช่วยสร้างเสริมสุขภาพ อาทิ อาหารแห่งอนาคต (Future Food) อาหารจากซูเปอร์ฟู้ด (Super Food) ผลิตภัณฑ์สมุนไพร (Herbal Product) และการบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภายนอก นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำให้บุคลากรพัฒนาทักษะในด้านต่าง ๆ อาทิ การจัดทำคำกล่าวผู้บริหาร การออกแบบ Presentation ให้น่าสนใจ การคิดตัวชี้วัดใหม่ ๆ ของ กสอ. การกำหนดกลยุทธ์ในการหาผู้รับบริการเพิ่มในโครงการต่าง ๆ การจัดทำแนวทางการทำงานของโต๊ะญี่ปุ่น (Japan Desk) ในอนาคต ฯลฯ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 มี.ค. 2567
“ดีพร้อม“ ร่วมการนำเสนอผลการดำเนินการจบหลักสูตร ป.ย.ป. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
กรุงเทพฯ 28 กุมภาพันธ์ 2567 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการนำเสนอการขับเคลื่อนโจทย์บูรณาการภายใต้หัวข้อ "การใช้ Soft Power เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายหลักในการ Workation (Best Destination for Workation) และการยกระดับอาหารไทยให้เป็น Soft Power ที่สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ภายใต้หลักสูตร ป.ย.ป. ประจำปี พ.ศ. 2566 ต่อนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี โดยมี นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมด้วย ณ ห้องพระวิษณุ ชั้น 3 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น ถนนวิภาวดี เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ การประชุมดังกล่าว เป็นการนำเสนอผลการดำเนินการหลักสูตรบูรณาการนวัตกรรมเชิงนโยบาย ภายใต้โจทย์บูรณาการทั้งสิ้น 5 โจทย์ คือ 1) การเพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษาและการมีงานทำ 2) การลดจำนวนผู้เสพยาเสพติดโดยใช้การบำบัดรักษาโดยชุมชนมีส่วนร่วมเพื่อกลับคืนสังคมอย่างมีคุณค่าและเพิ่มประสิทธิภาพการตัดวงจรอาชญากรรม 3) การสร้างความเข็มแข็งแก่สถาบันเกษตรกรให้สามารถบริหารจัดการสินค้าการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่ 4) การยกระดับอาหารไทยให้เป็น Soft Power ที่สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ 5) การใช้ Soft Power เพื่อสร้างให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายหลักในการท่องเที่ยวแบบ Workation ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
29 ก.พ. 2567
“อสอ.ภาสกร" ประชุมหารือกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย
กรุงเทพฯ 28 กุมภาพันธ์ 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาและส่งเสริมสมุนไพรตลอดห่วงโซ่คุณค่า ร่วมกับ นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก พร้อมด้วย นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการร่วมหารือแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาและส่งเสริมสมุนไพรตลอดห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก สรุปภาพรวมผลการดำเนินงาน แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ และการหารือเพื่อการขับเคลื่อนร่วมกับ 4 กระทรวงหลัก ประกอบด้วย 1) กระทรวงพาณิชย์ 2) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 3) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ 4) กระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ บทบาทของดีพร้อมในด้านการขับเคลื่อนสมุนไพร มีการทักษะองค์ความรู้ และผลิตภัณฑ์ พร้อมส่งเสริมความสามารถและปัจจัยแวดล้อมของผู้ประกอบการสมุนไพร ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพร ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
29 ก.พ. 2567
ดีพร้อม ชูคลัสเตอร์เครื่องหนังไทย มุ่งปรับตัวรับอุตสาหกรรมใหม่ เน้นนวัตกรรมสร้างแบรนด์ หวังติดลมบนสู่ตลาดสากล
กรุงเทพฯ 28 กุมภาพันธ์ 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานจำหน่ายและจัดแสดงสินค้า "อุตสาหกรรมแฟร์แฟนพันธุ์แท้เครื่องหนังไทย ครั้งที่ 16" พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงษ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และนางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้ประกอบการ เข้าร่วมกิจกรรม โดยมี นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน และนายวิโรจน์ เศรษฐโชตินันท์ ประธานกลุ่มคลัสเตอร์เครื่องหนัง กล่าวถึงความเป็นมาของกลุ่มคลัสเตอร์เครื่องหนัง ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) กิจกรรมดังกล่าว เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องและมีความสำคัญต่อการเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นอย่างยิ่ง โดยดีพร้อมได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับเวทีสากลมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการสร้างความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดสากล และการรวมกลุ่มในลักษณะ “คลัสเตอร์” เป็นพลังขับเคลื่อนทางธุรกิจในอุตสาหกรรมเครื่องหนังไทยอย่างเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น งานแสดงสินค้าดังกล่าว มีขึ้นระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2567 ซึ่งเป็นการทดสอบตลาดและเพิ่มช่องทางการตลาดของคลัสเตอร์เครื่องหนังไทย และสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มคลัสเตอร์เครื่องหนังไทยที่สามารถผลิตสินค้าได้มีคุณภาพมาตรฐาน มีความสร้างสรรค์ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในปัจจุบัน นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกลุ่มคลัสเตอร์ที่ได้รับการพัฒนาจากดีพร้อมอีก จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหัตถศิลป์สยาม กลุ่มนวัตศิลป์บางกอก กลุ่มสิ่งทอ และกลุ่มอาหารแปรรูป มาร่วมงานแสดงและจำหน่ายสินค้า โดยคาดว่าตลอดการจัดงานทั้ง 3 วัน จะมีเงินสะพัดภายในงานไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
29 ก.พ. 2567