“รสอ.วาที” ลงพื้นที่ติดตามกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมชีวภาพ
จ.หนองบัวลำภู 19 มิถุนายน 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมด้วย นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมชีวภาพ ณ บริษัท กู๊ดไลฟ์พาวเวอร์กรุ๊ป จำกัด จากการลงพื้นที่ดังกล่าว เป็นการติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินของกิจกรรมฯ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ ซึ่งพบว่าผู้ประกอบการได้รับประโยชน์จากกิจกรรมดังกล่าว ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดกระบวนการผลิตที่เป็นคอขวด โดยนำเครื่องผสม Mixer มาใช้แทนแรงงานคน ลดการสัมผัสกับวัตถุดิบ และปรับ Layout กระบวนการผลิตเพื่อขอรับรอง อย. รองรับผลิตภัณฑ์ใหม่ (ชาหวานละมุน) คือชาผักหวานป่าที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ช่วยในการบำรุงหัวใจและหลอดเลือด มีคุณค่าทางโภชนาการ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังนำระบบ Solar Cell มาประยุกต์ใช้กับระบบน้ำบริโภคในสถานประกอบการ ทำให้สามารถลดค่าไฟฟ้าได้กว่า 98,000 ต่อปี และได้พัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ผ่าน Social Media อาทิ Facebook TikTok และ Line OA ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 50% ต่อปี
21 มิ.ย. 2567
“อธิบดีภาสกร” เร่งติดตามขับเคลื่อนการดำเนินงาน DIPROM BSC
กรุงเทพฯ 18 มิถุนายน 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมติดตามการทำงานโครงการศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม (DIPROM BSC) พร้อมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมในวันนี้ ได้มีติดตามกระบวนการทำงานของ DIPROM BSC พร้อมรับฟังสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวม และรายงานความคืบหน้าในการประชาสัมพันธ์ พร้อมแผนการพัฒนาบุคลากรของดีพร้อมให้สามารถให้บริการผ่าน DIPROM BSC รวมถึงได้วางแนวทางที่จะนำผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (Service Provider : SP) มาให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการที่มาเข้ารับบริการผ่าน DIPROM BSC และสามารถนำระบบ Ecosystem มาประยุกต์ใช้กับบริการด้านต่าง ๆ ของดีพร้อม เพื่อให้ DIPROM BSC สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น
21 มิ.ย. 2567
"อธิบดีภาสกร" ร่วมประชุมบอร์ด GIT ครั้งที่ 6/2567
กรุงเทพฯ 18 มิถุนายน 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมประชุมคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ครั้งที่ 6/2567 พร้อมด้วย คณะผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยมี นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 6 สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT และในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom meeting ในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ร่วมพิจารณาขอความเห็นชอบ MOU จำนวน 2 โครงการ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กับ 2 สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พร้อมหารือเพื่อพิจารณาการขออนุมัติเงินสะสมในการทำโครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาโลหะมีค่า (ทองคำ) ความแข็งสูง เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันแก่อุตสาหกรรมเครื่องประดับไทย
21 มิ.ย. 2567
“อสอ.ภาสกร” ประชุมหารือร่วมนารายณ์ภัณฑ์ ส่งเสริมด้านการตลาดและการทำสื่อสมัยใหม่
กรุงเทพฯ 18 มิถุนายน 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมหารือการประชาสัมพันธ์การตลาดแบบใหม่ผ่าน Social Network ร่วมกับ บริษัท นารายณ์ภัณฑ์ จำกัด พร้อมด้วย นางยุวนิตย์ ปิสัญธนะกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท นารายณ์ภัณฑ์ จำกัด นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเจตนิพิฐ รอดภัย ที่ปรึกษากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในครั้งนี้ ดีพร้อมได้ให้แนะนำการประชาสัมพันธ์แบรนด์และการทำการตลาด พร้อมให้คำแนะนำในการ Rebranding ของนารายณ์ภัณฑ์ ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยเพิ่มเติมในส่วนของการทำการตลาดบนช่องทางออนไลน์ รวมไปถึงการทำกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนในด้านภาพลักษณ์ของสินค้า สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและขยายฐานลูกค้าเพิ่มมากขึ้น
20 มิ.ย. 2567
“รสอ.วาที” ลงพื้นที่ติดตาม กิจกรรมส่งเสริมสถานประกอบการด้วยระบบอัตโนมัติและดิจิทัล
จ.อุดรธานี 18 มิถุนายน 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมด้วย นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสถานประกอบการด้วยระบบอัตโนมัติและดิจิทัล ณ บริษัท ไทยคาเมล ดีเวลลอปเม้นท์ 2000 จำกัด การลงพื้นที่ดังกล่าว เป็นการติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินกิจกรรมฯ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งพบว่าผู้ประกอบการมีความพึงพอใจอย่างยิ่งที่ได้รับการบริการจากดีพร้อม อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการช่วยพัฒนาต้นแบบระบบตู้รถห้องเย็นควบคุมอุณหภูมิ เป็นระบบห้องเย็น EV โดยการชาร์ตแบตเตอรี่ในรูปแบบ Hybrids สามารถใช้ไฟบ้านชาร์ตได้ และระบบ Solar Cell ที่ติดตั้งบนหลังคารถให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมสูงสุด
20 มิ.ย. 2567
“รมว.พิมพ์ภัทรา” นั่งหัวโต๊ะ ประชุมผู้บริหาร อก. เผย “นายกฯ” กำชับ เร่งใช้มาตรการกระตุ้นการลงทุนเพิ่ม GDP ประเทศ ย้ำดูแลเสริมแกร่งเอสเอ็มอีให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน จัดการน้ำในพื้นที่ EEC รวมทั้งควบคุมกระบวนการโรงงานแก้ปัญหาราคาปาล์มตกต่ำ
กรุงเทพฯ 17 มิถุนายน 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ครั้งที่ 10/2567 โดยมี นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ นายบรรจง สุกรีฑา นายใบน้อย สุวรรณชาตรี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2567 นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามประเด็นภาวะเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและตั้งเป้าการเติบโตของเศรษฐกิจที่ร้อยละ 3.0 ซึ่ง อก. ต้องเร่งตอบโจทย์มาตรการกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน เพื่อเพิ่ม GDP ได้ตามเป้าหมาย การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณควรเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามแผน ด้านมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว การจัดอบรม สัมมนาของภาครัฐควรมีการเชื่อมโยงพื้นที่เมืองน่าเที่ยวหรือเมืองรอง ส่วนการส่งเสริม SME วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็ง ด้วยการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำของหน่วยงานภายในกระทรวงอุตสาหกรรม ผ่านกองทุนพัฒนา SME ตามแนวประชารัฐ และ SME D BANK และขอให้เร่งประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้ประกอบการ SME ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนต่อไป ส่วนเรื่องราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ ขอให้ อก. เข้าไปช่วยในเรื่องกระบวนการ ควบคุมดูแลโรงงานต่างๆ และการจัดการน้ำในพื้นที่ EEC ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมหรือน้ำแล้ง ขอให้ดูเรื่องอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ และปริมาณน้ำมีเพียงพอหรือไม่ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมข้อมูลเรื่องผังเมือง นำเสนอก่อนการประชุม ครม.ในครั้งต่อไป จากนั้น กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้รายงานการพิจารณาคำขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง. 4) ว่า ระหว่าง 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2567 มี 254 คำขอ ดำเนินการแล้วเสร็จ 98 คำขอ คิดเป็น 38.6% อยู่ระหว่างดำเนินการ 94 คำขอ คิดเป็น 37% คำขอที่ผู้ประกอบการขอขยายเวลา 23 คำขอ คิดเป็น 9% และอยู่ระหว่าง กรอ. พิจารณาอีก 39 คำขอ คิดเป็น 15.4% และรายงานความคืบหน้าการจัดการกากอุตสาหกรรมในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา และ จ.ระยอง นอกจากนี้ รองปลัดฯ บรรจง ได้นำเสนอแนวทางเพื่อปรับปรุงกระบวนการควบคุมกากอุตสาหกรรมระยะยาว โดยให้มีการกำหนดราคากลางกากอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ เพิ่มบทบาทพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ เชื่อมโยงข้อมูลแหล่งอื่นที่ไม่ใช่โรงงาน เช่น กรมอนามัย (ขยะติดเชื้อ) และศึกษาเทคโนโลยีการบำบัดและกำจัดกากอุตสาหกรรมให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการจัดการกากอุตสาหกรรมขั้นสูง ด้านกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) รายงานความคืบหน้าการขนย้ายกากตะกอนแคดเมียมจากพื้นที่ต้นทางคือ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และ ชลบุรี ไปยังพื้นที่ปลายทางที่โรงงานในจังหวัดตากแล้ว 10,042 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77 เมื่อเทียบกับปริมาณกากตะกอนแคดเมียมที่ตรวจพบทั้งหมด โดยคาดว่าจะสามารถขนกากตะกอนแคดเมียมทั้งหมดไปยังจังหวัดตากได้ภายในสิ้นเดือนมิถุนายน พร้อมเร่งตรวจสอบและเตรียมการซ่อมแซมบ่อกักเก็บกากตะกอนที่ถูกเปิดออกต่อไป และที่ประชุมโดยหน่วยงานภายใต้กำกับของ อก.ได้รายงานถึงผลการดำเนินงานในรอบ 1 ปี ตลอดจนการเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมาย นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือถึงการเตรียมการ ครม.สัญจร ครั้งที่ 4/2567 ระหว่างวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2567 ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และ สุรินทร์) ณ จ.นครราชสีมา
20 มิ.ย. 2567
“อสอ.ภาสกร” จับมือสมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย (THTA) ผลักดันความเป็นเลิศของหัตถกรรมไทยสู่การแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ
กรุงเทพฯ 17 มิถุนายน 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าหัตถอุตสาหกรรม ร่วมกับ สมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย (THTA) พร้อมด้วย ดร.สุรภีร์ โรจนวงศ์ นายกสมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย (THTA) นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในครั้งนี้ ได้หารือแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยสมาคมฯ จะมีการดำเนินงานร่วมกับดีพร้อม ในด้านการสำรวจผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมาย ที่ผ่านการพัฒนาฝีมือและมีความพร้อมในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาด รวมไปถึงกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการส่งเสริมนักออกแบบ ผู้ผลิต และช่างฝีมืองานหัตถกรรมให้สามารถพัฒนาศักยภาพการผลิต ผสมผสานนวัตกรรมที่ทันสมัยควบคู่กับการอนุรักษ์วัฒนธรรมการผลิตแบบดั้งเดิม เพื่อยกระดับตลาดสินค้าหัตถกรรมชุมชน นำไปสู่ตลาดระดับสากล
20 มิ.ย. 2567
“ดีพร้อม” มอบรางวัลนักออกแบบ ชูศักยภาพซอฟต์พาวเวอร์แฟชั่นไทย ก้าวไปสู่ระดับสากล
กรุงเทพฯ 16 มิถุนายน 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิด “กิจกรรมพัฒนานักออกแบบดีพร้อมในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (DIPROM Thai Designer Lab)” พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางสาวอังสนา โสมาภา ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กล่าวรายงาน ณ ลาน Co-Event Space Zone A ชั้น G ศูนย์การค้ายูเนี่ยน มอลล์ ลาดพร้าว กิจกรรมดังกล่าว เป็นการแสดงถึงผลสำเร็จของนักออกแบบไทยที่เข้าร่วม "กิจกรรมพัฒนานักออกแบบดีพร้อมในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (DIPROM Thai Designer Lab)" ประจำปี 2567 โดยมีแบรนด์เข้าร่วม 24 แบรนด์ และมีผลงานผ่านคัดเลือกได้รับรางวัล จำนวน 3 แบรนด์ ได้แก่ แบรนด์ KH EDITIONS แบรนด์ HOMRAK (ห่มรัก) และแบรนด์ Chanikran เพื่อให้นักออกแบบสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้จากหลักสูตรนำไปประยุกต์ใช้ สร้างความโดดเด่นให้กับแบรนด์ เพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภค พร้อมก้าวไปสู่การเป็นแบรนด์สินค้าที่เป็นที่รู้จักในระดับสากล
19 มิ.ย. 2567
รมว.พิมพ์ภัทรา ดันเรือนจำกลางนครศรีธรรมราชเป็นโมเดลต้นแบบ "นิคมราชทัณฑ์" อนุรักษ์ทักษะงานศิลป์เลอค่า สร้างอาชีพเส้นทางใหม่ คืนคนดีสู่สังคม
จ.นครศรีธรรมราช 15 มิถุนายน 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมหารือกับนายกฤษณะ ทิพย์จันทร์ ผู้บัญชาการเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นภาพรวมและโอกาสในการสร้างอาชีพให้กับผู้ต้องขังได้ฝึกทักษะอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนพ้นโทษ หรือในช่วงต้องขัง พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม การหารือดังกล่าว เป็นเตรียมการฝึกทักษะการตัดเย็บเสื้อผ้าให้กับบุคลากรเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช เพื่อเป็นอาชีพเสริมและเป็นการอนุรักษ์งานศิลป์ที่ทรงคุณค่าของเมืองนครฯ อาทิ เครื่องถม จักสานหญ้าลิเภา และผ้าทอผ้ายกดอก เพื่อให้ผู้ต้องขัง สามารถนำไปประกอบอาชีพอิสระพร้อมทั้งสืบสาน อนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่เล่อค่า ทั้งนี้ รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา พร้อมคณะ ได้เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตจากฝืมือผู้ต้องขัง อาทิ ผลิตภัณฑ์จักสานจากเส้นพลาสติก ผ้ามัดย้อม ตัดเย็บเสื้อผ้า และอื่น ๆ พร้อมทั้งร่วมอุดหนุนสินค้าและมอบแนวทางการเพิ่มทักษะในการทำงานให้สอดคล้องกับตลาดและโอกาสในการสร้างแบรนด์ให้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อดึงทักษะของแรงงานที่มีฝืมือที่ถูกสร้างไว้หลังกำแพงเรือนจำ "แค่เราสร้างโอกาสให้เปิดกว้าง สิ่งเหล่านี้ก็สร้างมูลค่าให้กับสังคมได้ หากมีโอกาสที่ดี การกลับมาทำความผิดน้อยลง ส่งให้สังคมปลอดภัยมากยิ่งขึ้น" โดยได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จะร่วมพัฒนาโมเดลต้นแบบ "นิคมราชทัณฑ์" โดยการเพิ่มทักษะบุคลากรในเรือนจำ โดยการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต การสร้างตราสินค้า และการบริหารจัดการด้านการตลาด การตลาดออนไลน์ต่อไป
18 มิ.ย. 2567
“รสอ.วาที” ประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติฯ ครั้งที่ 21
กรุงเทพฯ 14 มิถุนายน 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจากนายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติและการประชุมวิชาการ ประจำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 21 พร้อมด้วย นายกิตติโชติ ศุภกำเนิด ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม โดยมี นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องประชุมรองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ชั้น 3 และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว ได้มีการนำเสนอแผนการประชาสัมพันธ์และความก้าวหน้าในการจัดเตรียมงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติฯ ครั้งที่ 21 “Thailand Herbal Expo 21th” เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้เข้มแข็ง เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านสาธารสุข เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศด้วยวิถีใหม่ ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 3 - 7 ก.ค.67 โดยในปีนี้ “สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี” ทรงเป็นประธานในการเปิดงานมหกรรมดังกล่าว
18 มิ.ย. 2567