"อสอ.ภาสกร" นั่งหัวโต๊ะ ประชุมผู้บริหารดีพร้อมครั้งที่ 91 - 8/ 2567
กรุงเทพฯ 5 กรกฎาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมผู้บริหาร กสอ. ครั้งที่ 91 - 8/2567 ร่วมด้วย นายวาที พีระวรานุงพงศ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และนางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเจตนิพิฐ รอดภัย ที่ปรึกษากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว ได้มีการรายงานผลการดำเนินงานต่าง ๆ ดังนี้ 1) ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส่ของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และการขับเคลื่อนการประเมินองค์กรคุณธรรม กสอ. 2) การใช้ประโยชน์จากอาคารศูนย์กลางชุมชนภายใต้โครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยว : JBIC 3) ผลการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ ข้อมูลสิ้นสุดไตรมาส 3/2567 4) ความคืบหน้าการจัดงาน Moving Green Forward 5) ผลกิจกรรมดีพร้อมพัฒนายกระดับบุคลากรด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล และ 6) สรุปผลการดำเนินกิจกรรม “ติดปีกธุรกิจ พิชิตโอกาส เชื่อมตลาด สู่ความสำเร็จ” ทั้งนี้ ได้มีการเน้นย้ำในส่วนของกิจกรรมในห้วงเดือน ก.ค. ซึ่งเป็นเดือนมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดย ดีพร้อม ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จะมีการจัดกิจกรรมทำความดีถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะดำเนินการภายในเดือนกรกฎาคมนี้
10 ก.ค. 2567
“ดีพร้อม” ร่วมยินดีกับความสำเร็จในการจัดตั้งสมาคมการค้าโกโก้และช็อคโกแลตไทย
กรุงเทพฯ 4 กรกฎาคม 2567 - นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมด้วย นายอภิชิต ประสพรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมงานแถลงข่าวและให้เกียรติกล่าวแสดงความยินดีในความสำเร็จของการจัดตั้งสมาคมการค้าโกโก้และช็อคโกแลตไทย หรือ TACCO โดยมี นายบดินทร์ เจริญพงศ์ชัย ประธานกรรมการสมาคมการค้าโกโก้และช็อคโกแลตไทย ผู้บริหารศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ หน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เข้าร่วมและให้การต้อนรับ ณ โซน MunMun ชั้น 3 ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ สมาคมการค้าโกโก้และช็อคโกแลตไทย (TACCO) จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิกในการประกอบวิสาหกิจ ธุรกิจสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับโกโก้และช็อคโกแลต ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกเข้าร่วมสมาคมฯ แล้วกว่า 120 ราย และภายในงานยังมีเทศกาลของคนรักคราฟต์ช็อคโกแลต ที่เป็นการรวมตัวกันเพื่อกระตุ้นการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการ เกษตรกร นักธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของโกโก้ไว้อย่างครบวงจรและรวบรวมสินค้า ผู้เชี่ยวชาญด้านโกโก้ไว้ในที่เดียว ภายใต้แนวคิด “ปลูก แปร ปรุง” โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 - 7 กรกฎาคม 2567 ชั้น 3 ศูนย์สรรพสินค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์
05 ก.ค. 2567
"ดีพร้อม" ผลักดันมาตรฐานผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย Thailand Textiles Tag เพิ่มคุณภาพสินค้า พร้อมหนุนซอฟต์พาวเวอร์แฟชั่นไทย ก้าวไกลสู่ระดับโลก
กรุงเทพฯ 3 กรกฎาคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดและมอบวุฒิบัตร “กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม (DIPROM Thailand Textiles Tag) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมี นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ลานเจริญนครฮอลล์ ชั้น M ไอคอนสยาม กรุงเทพฯ กิจกรรมดังกล่าว ดีพร้อมได้บูรณาการกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เร่งผลักดันอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ชูมาตรฐาน Thailand Textiles Tag สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคภายใต้มาตรฐานสินค้าไทย เลือกใช้สินค้าคุณภาพที่ผลิตในไทย พร้อมเร่งพิจารณารับรองมาตรฐานด้วยฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย หรือ Thailand Textiles Tag โดยปี 67 มีผู้ผ่านการรับรองจำนวน 22 กิจการ 34 ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังได้เตรียมชงให้เกิดการซื้อขายภายในประเทศเพิ่ม พร้อมหนุนผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทยมุ่งสู่ซอฟต์พาวเวอร์แฟชั่นที่มีคุณภาพระดับสากล ซึ่งคาดสร้างมูลค่าเศรษฐกิจให้ผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท
05 ก.ค. 2567
รสอ.วาที" นั่งหัวโต๊ะประชุมคณะกรรมการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
กรุงเทพฯ 3 กรกฏาคม 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2/2567 โดยมี คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการรายงานความคืบหน้าและพิจารณาการตอบแบบสำรวจระดับความพร้อมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย ประจำปี 2567 ที่ดำเนินการสำรวจโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. (Digital Government Development Agency : DGA) ซึ่งมีการสำรวจข้อมูลหลากหลายประเด็น เช่น แผนปฏิบัติการดิจิทัล ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่รัฐบาลดิจิทัล พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 การผลักดันโครงการดิจิทัล การฝึกอบรมด้านทักษะดิจิทัล การประเมินทักษะด้านดิจิทัลของบุคลากร ระบบสำหรับการบริหารจัดการภายใน และการนำระบบ Automation มาลดกระบวนการทำงานผ่าน แพลตฟอร์มที่ใช้ในการสื่อสารและการทำงานร่วมกันภายในองค์กร เป็นต้น
05 ก.ค. 2567
"ดีพร้อม" ประชุมคณะกรรมการจริยธรรมฯ เร่งหารือเกณฑ์การตัดสิน "นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ ส่งเสริมจริยธรรมให้ดีพร้อม"
กรุงเทพฯ 3 กรกฎาคม 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ และนายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการจริยธรรมประจำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2567 ร่วมด้วย นางบุญเจือ วงษ์เกษม และ นายเพทาย ล่อใจ กรรมการผู้ทรง และผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม โดยมี นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกรรมการนำการประชุม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ประชุมดังกล่าว เป็นการรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างเดือนตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567 โดยได้ดำเนินการสำเร็จแล้วจำนวน 20 กิจกรรม จากจำนวนกิจกรรมทั้งหมด 22 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 90.90 พร้อมถอดบทเรียนในแต่ละกิจกรรม และนำข้อเสนอแนะมาพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาองค์กรคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ยังได้ร่วมพิจารณา และหารือในประเด็นต่าง ๆ ประกอบด้วย 1) หลักเกณฑ์การพิจารณาตัดสินผลการประกวด “นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ ส่งเสริมจริยธรรมให้ดีพร้อม” และ 2) การแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลงาน “นวัตกรรมสื่อสร้างสรรค์ ส่งเสริมจริยธรรมให้ดีพร้อม” ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริม สนับสนุน กระตุ้น สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรดีพร้อมได้ตระหนักถึงความสำคัญของจริยธรรม และเผยแพร่แนวคิดและแนวทางการแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
05 ก.ค. 2567
ก.อุตฯ เฝ้ารับเสด็จ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีฯ เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด Thailand Herbal Expo 21th
กรุงเทพฯ 3 กรกฎาคม 2567 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เฝ้ารับเสด็จ ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ และการประชุมวิชาการประจำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 21 “Thailand Herbal Expo 21th” พร้อมพระราชทานโล่รางวัล หมอไทยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2567 รางวัลพื้นที่ต้นแบบดีเด่นแห่งชาติด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก ระดับเพชร ประจำปี 2567 รางวัลพื้นที่ต้นแบบดีเด่นชมรมผู้สูงอายุ ด้านการแพทย์แผนไทย ประจำปี 2567 รางวัลโครงการวิทยาศาสตร์ ประจำปี 2567 และทรงพระราชทานเหรียญที่ระลึก แก่ผู้อุปการคุณในการจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ โดย ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพร พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้ารับพระราชทานเหรียญที่ระลึก ในโอกาสนี้ด้วย ณ อาคาร 11-12 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี
05 ก.ค. 2567
ปลัดฯ ณัฐพล นำทีม MIND บริจาคโลหิตและมอบกล้าต้นรวงผึ้งและต้นดาวเรือง 72 ต้น พลิกฟื้นผืนป่า ภายใต้กิจกรรม “ทําความดีด้วยหัวใจเพื่อ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567”
กรุงเทพฯ 2 กรกฎาคม 2567 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรม “ทําความดีด้วยหัวใจเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567” โดยมีนายเอกภัทร วังสุวรรณ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี นางสาวณัฎฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ นายเอกนิติ รมยานนท์ นายเศรษฐรัชต์ เลือดสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการสถาบันเครือข่าย ผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมงาน ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รองปลัดฯ ณัฏฐิญา กล่าวว่า คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานร่วมจัดกิจกรรมโครงการ 72 ล้านต้น พลิกฟื้นผืนป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับมอบกล้าไม้ (ต้นรวงผึ้ง) จากนายกรัฐมนตรี (ท่านเศรษฐา ทวีสิน) ในงานพิธีเปิดโครงการดังกล่าว ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลัก ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2567 รวมทั้งกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโครงการอุตสาหกรรมรวมใจ ลดคาร์บอนไทย 7.2 ล้านตัน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ผ่านการเห็นชอบจากสำนักนายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้จัดกิจกรรม “ทำความดีด้วยหัวใจเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567” ขึ้นเพื่อสานต่อพระราชปณิธาน ทำความดีถวายพระราชกุศล โดยจัดกิจกรรมบริจาคโลหิต โดยรับบริจาคได้ 139 ราย และพิธีมอบกล้าต้นรวงผึ้งและต้นดาวเรืองให้กับผู้บริหารระดับสูง ผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันเครือข่าย จำนวน 72 ต้น พร้อมนำต้นรวงผึ้งที่ได้รับมอบจากนายกรัฐมนตรี มาปลูกไว้บริเวณลานองค์พระนารายณ์ในพื้นที่กระทรวงอุตสาหกรรม และยังสอดรับกับโครงการอุตสาหกรรมรวมใจ ลดคาร์บอนไทย 7.2 ล้านตัน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศในภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย
04 ก.ค. 2567
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา ร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 4/2567
จ.นครราชสีมา 2 กรกฎาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 4/2567 โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ และคณะรัฐมนตรี ร่วมประชุม ณ หอประชุมราชภัฏรังสฤษฏ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา วันนี้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ได้สวมเสื้อผ้าไหมมัดหมี่หางกระรอกประยุกต์สีทอง ผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดนครราชสีมา ร่วมการประชุม ครม. สัญจรในครั้งนี้ นายกฯ กล่าวว่า ครม. เห็นชอบในหลักการโครงการของกลุ่มจังหวัดและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์) จำนวน 16 โครงการ กรอบวงเงิน 249 ล้านบาท โดยให้กลุ่มจังหวัดแต่ละจังหวัดของบจัดสรรงบกลาง ปี 2567 และเห็นชอบในหลักการของโครงการข้อเสนอของภาคเอกชนจำนวน 8 โครงการ กรอบวงเงิน 247.15 ล้านบาท โดยให้ส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการขอรับการจัดสรรจากงบประมาณในปี 2567 ทั้งนี้ ได้เตรียมจัดประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ครั้งต่อไปที่จังหวัดอยุธยา
04 ก.ค. 2567
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา ตรวจเยี่ยมฝึกอาชีพชุมชน “ดีพร้อม” จ.นครราชสีมา มุ่งพัฒนาการกระจายโอกาส เข้าถึงบริการของภาครัฐ ต่อยอดองค์ความรู้ และสร้างงาน สร้างอาชีพ สู่ชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้
จังหวัดนครราชสีมา : 1 กรกฎาคม 2567 นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 4/2567 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 "นครชัยบุรินทร์" (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์) โดยเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพดีพร้อม จุดที่ 1 หลักสูตรการทำผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากดินเผา ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา และจุดที่ 2 หลักสูตรการแปรรูปอาหาร (การทำลูกชิ้น, การทำน้ำจิ้มลูกชิ้น) ณ หอประชุมอำเภอโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยมี นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมานายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ นายเศรษฐรัชต์ เลือดสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมนายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายพรยศ กลั่นกรอง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายกฤศ จันทร์สุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายเริงฤทธิ์ กุศลกรรมบถ รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ร่วมเปิดงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย ให้สอดรับกับความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะใช้ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความสำเร็จอย่างสมดุลใน “4 มิติ” ทั้งด้านความสามารถในการแข่งขัน การได้รับการยอมรับจากชุมชนและสังคม การตอบโจทย์กติกาสากลด้านสิ่งแวดล้อม และการกระจายรายได้สู่ชุมชนให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ด้วยการสนับสนุน ให้ประชาชนมีอาชีพมั่นคงจากต้นทุนในชุมชน ทั้งต้นทุนทางวัฒนธรรมและวัตถุดิบในท้องถิ่น พร้อมพัฒนาทักษะอาชีพเสริม ผนวกกับวิชาการอุตสาหกรรมให้เข้ากับวิถีชุมชน ให้กระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำมีมาตรฐานมากขึ้น จึงเลือกปักหมุดที่ “จังหวัดนครราชสีมา” โดยมุ่งสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ด้วยการสร้างงาน สร้างอาชีพให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนลดรายจ่ายภาคครัวเรือน ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำจากระดับชุมชน ควบคู่กับการส่งเสริมการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อสร้างรายได้ยั่งยืนให้กับประชาชน และเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยก้าวข้ามประเทศกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ความมั่งคั่งในอนาคต จึงได้จัดทำ "โครงการส่งเสริมทักษะอาชีพดีพร้อม" ให้กับชุมชนโดยมุ่งเน้นการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งจากการกระจายโอกาสเข้าถึงบริการของภาครัฐและทรัพยากรในชุมชน การกระจายความรู้ต่อยอดองค์ความรู้ขยายผลสู่อีกหลายคนในชุมชน และการกระจายรายได้สร้างงาน สร้างอาชีพ สู่ชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว
02 ก.ค. 2567
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา เปิดกิจกรรม “สมอ. สัญจร” ครั้งที่ 3 พร้อมมอบใบรับรอง มผช.-มอก.เอส-มอก. ให้กับผู้ประกอบการอุตฯ SME และผู้ผลิตชุมชน และนำความรู้สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน
จ.นครราชสีมา 1 กรกฎาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรม “สมอ. สัญจร” ครั้งที่ 3 และพิธีมอบใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก.เอส) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม SME และผู้ผลิตชุมชน จำนวน 23 ราย โดยมี นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมานายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ นายเศรษฐรัชต์ เลือดสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายพรยศ กลั่นกรอง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายกฤศ จันทร์สุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายเริงฤทธิ์ กุศลกรรมบถ รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ร่วมเปิดงาน ณ โรงแรมเซ็นทารา โคราช จังหวัดนครราชสีมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ลงพื้นที่มาให้ความรู้กับชาวจังหวัดนครราชสีมา หรือชาวโคราช และจังหวัดใกล้เคียง โดยการสัมมนาในวันนี้มีกลุ่มเป้าหมายทั้งผู้ประกอบการอุตสาหกรรม SME กลุ่มคอนกรีตและวัสดุก่อสร้าง ผู้ผลิตชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมกว่า 500 คน ผ่านการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น 4 เรื่อง คือ 1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจใหม่ 2) ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ทางรอดของภาคอุตสาหกรรมไทย 3) การให้ความรู้ด้านการมาตรฐานและการจำหน่ายสินค้า มอก. ที่ผู้กำกับดูแลตลาด ผู้ประกอบการตลาดต้องรู้ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และ 4) การสัมมนากลุ่มผลิตภัณฑ์คอนกรีต มอก.ทางเลือกสู่ ทางรอดในการดำเนินธุรกิจ สำหรับ “สมอ. สัญจร” เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ได้จัดมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเล็งเห็นว่า “มาตรฐาน” เป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกคน และการประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรม SME และผู้ผลิตชุมชน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานได้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาช ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการผลักดันภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในท้องถิ่น นอกจากนี้ ความรู้ด้านการมาตรฐานจะมีผลต่อการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง การเผยแพร่ถ่ายทอดความรู้สู่ร้านจำหน่ายและพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพื่อยกระดับการคุ้มครองประชาชนในชุมชนให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าที่มีมาตรฐาน กระทรวงอุตสาหกรรมมีภารกิจสำคัญด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม และภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า ซึ่งรัฐมนตรัฯ พิมพ์ภัทรา ได้มอบนโยบายเร่งด่วนให้ สมอ. ดำเนินการกวาดล้างสินค้าด้อยคุณภาพให้หมดไปจากท้องตลาด เพื่อดูแลความปลอดภัยในการใช้สินค้าให้กับพี่น้องประชาชน ตลอดจนช่วยเหลือผู้ประกอบการภายในประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากสินค้าด้อยคุณภาพจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีราคาถูกแต่ไม่ได้มาตรฐาน เข้ามาแย่งตลาดผู้จำหน่ายในประเทศ โดยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – พฤษภาคม 2567 สมอ. ได้ยึดอายัดสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เป็นจำนวนกว่า 241 ล้านบาท สามารถช่วยสกัดสินค้าด้อยคุณภาพ และไม่มีความปลอดภัยก่อนถึงมือประชาชน และการจัดกิจกรรม “สมอ. สัญจร” ในครั้งนี้ สมอ. ยังได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจร้านจำหน่าย ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดูแลพี่น้องประชาชนอีกด้วย “สมอ. มีเป้าหมายการออกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) โดยในปีนี้ปี 2567 มีเป้าหมายที่ 1,200 มาตรฐาน โดยกระทรวงอุตสาหกรรม อำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ SME “เราจะไม่ทิ้งใครไว้” พร้อมนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี อำนวยความสะดวกให้มีความรวดเร็ว ช่วยเพิ่มทักษะแรงงาน พร้อมรับการปรับเปลี่ยนของโลก ภายใต้การนำของรัฐบาล“ รัฐมนตรีฯพิมพ์ภัทรา กล่าวทิ้งท้าย
02 ก.ค. 2567