โทรศัพท์ 1358

ปลัด ณัฐพลฯ นำทีมลงพื้นที่ จ.พิษณุโลก ตรวจเยี่ยมกิจกรรมฝึกอบรมผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ (สาขาสมุนไพร) ภายใต้โครงการ “พัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม” มั่นใจสร้างอาชีพให้ประชาชนมีรายได้ทั่วหน้า
จ.พิษณุโลก 18 พฤศจิกายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดร.อริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม นางสาวนิจรินทร์ โอภาสเสถียร ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 2 (DIPROM CENTER 2) นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 3 (DIPROM CENTER 3) นายสุรพงษ์ พินิตเกียรติสกุล อุตสาหกรรมจังหวัดสุโขทัย นายธงชัย เมืองสนธิ์ อุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ ณ วัดพันชาลี ตำบลพันชาลี อำเภอวังทอง สำหรับกิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรมพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สาขาสมุนไพร ซึ่งได้เชิญวิทยากรจากชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านวังส้มซ่า มาถ่ายทอดองค์ความรู้ ผ่าน 3 หลักสูตร ได้แก่ 1) ยาดมสมุนไพรส้มซ่า 2) ยาหม่องสมุนไพรใกล้ตัว และ 3) ลูกประคบสมุนไพรรอบรั้ว ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์อาหารให้มีความโดดเด่น น่าสนใจ สอดรับกับความต้องการของตลาด มีความเหมาะสมกับการขนส่ง เพื่อจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์และสามารถกระจายสินค้าและบริการได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งจะสามารถช่วยยกระดับศักยภาพชุมชน เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และอาชีพในชุมชน รวมทั้งส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตและมีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ทั้งนี้ โครงการ “พัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม” ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง เพื่อดำเนินการเพิ่มทักษะและรายได้ให้ชุมชน ตั้งเป้าพัฒนาประชาชนกว่า 700,000 ราย และคาดว่าจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
21 พ.ย. 2565
ปลัด ณัฐพลฯ นำทีมดีพร้อม ลงพื้นที่ จ.พิษณุโลก ตรวจเยี่ยมการดำเนินกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ (สาขาอาหาร) ภายใต้โครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม (อาชีพดีพร้อม) ตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และช่วยชาวบ้านมีอาชีพเสริม
จ.พิษณุโลก 18 พฤศจิกายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ อบต.แม่ระกา อำเภอวังทอง กิจกรรมในครั้งนี้ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและคณะ ได้ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานการอบรมและฝึกปฏิบัติการผลิตอาหาร 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) ผลิตภัณฑ์หมูแดดเดียวสูตรคีโต และ 2) ผลิตภัณฑ์น้ำพริกเห็ดสูตรคีโต ตลอดจนการซีลแบบสูญญากาศเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จะช่วยสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์อาหารให้มีความโดดเด่น น่าสนใจ สอดรับกับความต้องการของตลาด มีความเหมาะสมกับการขนส่ง เพื่อจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์และสามารถกระจายสินค้าและบริการได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งจะสามารถช่วยยกระดับศักยภาพชุมชน เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และอาชีพในชุมชน รวมทั้งส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตและมีความเข้มแข็งสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในการนี้ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารฯ ได้ชมการนำเสนอเครื่องอบความร้อนซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการตากแห้งผลิตภัณฑ์อาหารและช่วยปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีความเหมาะสม ตลอดจนได้ร่วมดำเนินการสาธิตการผลิตสินค้าอาหาร คือ ผลิตภัณฑ์หมูแดดเดียวสูตรคีโต ร่วมกับคณะวิทยากรและตัวแทนผู้เข้าร่วมอบรม พร้อมแจกจ่ายให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ลองรับประทานอย่างเป็นกันเอง รวมทั้งพบปะและรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนที่เข้าร่วมอบรม ซึ่งมีประชาชนผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้กว่า 200 คน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
21 พ.ย. 2565
รัฐมนตรีฯ สุริยะ จับมือ รัฐมนตรีฯ เมติ สานต่อความร่วมมือการยกระดับภาคอุตฯ สู่ Thailand 4.0
กรุงเทพฯ 16 พฤศจิกายน 2565 - นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ประชุมหารือความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม และพิธีแลกเปลี่ยนกรอบความร่วมมือ "Cooperation Framework on Human Resource Development for Realizing Industry 4.0" กับ นายนิชิมุระ ยาสึโทชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (Ministry of Economy, Trade and Industry, METI) ประเทศญี่ปุ่น โดยมีนายสุชาติ ไตรแสงรุจิระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมงาน ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ความร่วมมือครั้งนี้มุ่งส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม ภายใต้กรอบการทำงานผ่าน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1) แนวทางการร่วมกันพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม 2) การขับเคลื่อนนโยบาย BCG ในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3) การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานผ่านแนวคิดการร่วมสร้าง (Co-Creation) และการพัฒนาความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนไทยและญี่ปุ่น ซึ่งจะช่วยสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมไทย เพิ่มโอกาสด้านการค้าและการลงทุน ตลอดจนโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ ผ่านการถอดบทเรียนหลังการระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green Economy : BCG Model ของไทย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
21 พ.ย. 2565
รสอ.ณัฏฐิญา" ประชุมคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ครั้งที่ 11/2565
กรุงเทพฯ 15 พฤศจิกายน 2565 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมประชุมคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ครั้งที่ 11/2565 พร้อมด้วย นางสาวอังสนา โสมาภา ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม โดยมี นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานคณะกรรมการในการประชุมดังกล่าว ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันระบบ Zoom Meeting ในการประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาการทำงานในหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ หลักเกณฑ์กฎระเบียบและการปฏิบัติงานของบุคลากรภายในสถาบัน การขออนุมัติแผนปฏิบัติงานและแผนงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (Pre-Ceiling) การขอความเห็นชอบแผนการบริหารและปฏิบัติการในบริบทต่าง ๆ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 อาทิ แผนปฏิบัติการด้านบริหารทรัพยากรบุคคล แผนปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนบริหารความเสี่ยงและแผนควบคุมภายใน การขออนุมัติเงินสะสมจากรายได้ค่าบริหารจัดการงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ครั้งที่ 67 สำหรับการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ครั้งที่ 68 ตลอดจน ขอความเห็นชอบปฏิทินการประชุมคณะกรรมการสถาบัน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พร้อมติดตาม สถานการณ์นำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเดือนมกราคมถึงกันยายน 2565 และรายได้จากผลการดำเนินงาน ประจำเดือนตุลาคม 2565 สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ถูกจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2541 เป็นองค์กรของรัฐในรูปแบบองค์การมหาชนในกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นสถาบันหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 พ.ย. 2565
“อธิบดีใบน้อย” ประชุมเหล่าขุนพลดีพร้อม แจงแผนการทำงาน ปี 66 พร้อมยกระดับผู้ประกอบการอย่างเต็มสูบ
กรุงเทพฯ 15 พฤศจิกายน 2565 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2566 และการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของดีพร้อม (DIPROM) ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่นระบบ Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้หน่วยงานภายในของดีพร้อมได้รับทราบถึงทิศทางการดำเนินงานและติดตามประเมินผลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยดีพร้อมได้รับการจัดสรรงบประมาณในปีนี้กว่า 1 พันล้านบาท และตั้งเป้าหมายการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนกว่า 15,000 ราย เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกว่า 7 พันล้านบาท นอกจากนี้ ยังได้ชี้แจงรายละเอียดแนวทางการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยเน้นย้ำให้มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านที่ 4 การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม และ ด้านที่ 5 การสร้างความเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 พ.ย. 2565
"ดร.ณัฐพล" ระดมทีมโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้ากำหนดทิศทางประชาสัมพันธ์ให้ตรงใจประชาชน
กรุงเทพฯ 14 พฤศจิกายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะทำงานโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2566 โดยมี ดร.กฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิยา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายพรยศ กลั่นกรอง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันระบบ Zoom Meeting โดยในการประชุม ปลัดฯ ได้ให้นโยบายแนวทางการจัดทำข่าวและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของกระทรวงอุตสาหกรรม ประจำปี 2566 เน้นความสำคัญในการสร้างทัศนคติร่วมกันเพื่อการมีมุมมองไปในทิศทางเดียวกัน (Shares Vision) ให้ชุมชนและประชาชนเกิดความเข้าใจอันดีต่อภาคอุตสาหกรรม สะท้อน 4 มติ คือ การสร้างความสำเร็จให้ภาคธุรกิจ การดูแลประชาชนโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม การใส่ใจรักษาสิ่งแวดล้อม และการกระจายรายได้สู่ประชาชน โดยการนำเสนอข่าวควรมีการจัดลำดับความสำคัญในการเผยแพร่ข่าวของแต่ละหน่วยงาน มีความรวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัด จัดเตรียมแผนการดำเนินงาน/โครงการ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2566 ให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ ส่วนในด้านของ เลขานุการรัฐมนตรีฯ ได้กล่าวเสริมในเรื่อง การจัดทำข่าวประชาสัมพันธ์มีแนวทาง 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. ข่าวตอบโต้หรือข่าวตั้งรับ ต้องมีความรวดเร็วในการตอบโต้หรือแก้ข่าวได้อย่างทันท่วงที 2. ข่าวสร้างสรรค์ ต้องเป็นข่าวเชิงบวก ประชาชนและผู้ประกอบการได้รับประโยชน์ และ 3. ข่าวประจำ ซึ่งเป็นข่าวที่มีการนำเสนอภาพรวมผลงานของหน่วยงานอยู่เป็นประจำ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
15 พ.ย. 2565
“อธิบดีใบน้อย” นำคณะสื่อมวลชนล่องใต้ฝั่งอันดามัน โชว์ผลสำเร็จการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนดีพร้อม อัพสกิลสู่ของฝากขึ้นชื่อ
จ.กระบี่ 12 พฤศจิกายน 2565 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะสื่อมวลชน คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการต้นแบบธุรกิจ (Success Cases) ที่ประสบความสำเร็จจากการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าสินค้า ณ บริษัท จี้ออ ฟู้ด จํากัด อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมของฝากของที่ระลึกเป็นหนึ่งสาขา อุตสาหกรรมที่สำคัญต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทยและได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ซึ่งหลังสถานการณ์โควิด-19 ดังกล่าวเริ่มคลี่คลายลง ดีพร้อม (DIPROM) จึงเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าชุมชนประเภทของ ฝากของที่ระลึก เพื่อรองรับการท่องเที่ยว และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยเดินหน้าพัฒนาองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็น ตลอดจนออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างสร้างสรรค์ด้วยอัตลักษณ์ ซึ่งในปี 2565 ที่ผ่านมา ดีพร้อม ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบสินค้าของฝากผ่านกิจกรรมต่าง ๆ จำนวน 1,100 กิจการ 320 ผลิตภัณฑ์ และคาดว่าก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 2,496 ล้านบาท สำหรับ บริษัท จี้ออ ฟู้ด จํากัด ดีพร้อม ได้นำกลไกการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนดีพร้อม ซึ่งเป็น 1 ใน 7 วิธีปั้นชุมชนให้ดีพร้อม ผ่านโดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเชิงพาณิชย์ ที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มสู่ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าให้มีคุณภาพและมูลค่าสูงสอดคล้องกับความต้องการของตลาด อาทิ แกงคั่วเห็ดแครง คั่วกลิ้งปลา รวมถึงการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม จนสามารถสร้างโรงงานผลิตตามมาตรฐานได้สำเร็จ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
14 พ.ย. 2565
ปลัด ณัฐพลฯ ลงพื้นที่ จ.กระบี่ มอบนโยบายการส่งเสริม Medical Hub พร้อมเยี่ยมชมผู้ประกอบการที่เป็นโมเดลต้นแบบผ่านการยกระดับเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ช่วยพัฒนาเครือข่ายธุรกิจในท้องถิ่นและชุมชน
จ.กระบี่ 12 พฤศจิกายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่จังหวัดกระบี่ พร้อมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 10 นางสาววรรณี พุฒแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 นายวัชรินทร์ ไชยานุพงศ์ อุตสาหกรรมจังหวัดกระบี่ ข้าราชการ ร่วมลงพื้นที่ โดยมี นางสาวกุสุมา กิ่งเล็ก กรรมการผู้จัดการ บริษัท อ่าวนางพลาซ่า จำกัด ให้การต้อนรับ ณ โรงแรมอ่าวนางปริ้นซ์ วิลล์ วิลล่า รีสอร์ท แอนด์ สปา การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้เปิดนโยบายการเสริมสร้างความเข้มแข็งและกระจายรายได้สู่ชุมชนในพื้นที่ ครอบคลุม 3 มิติ คือ 1) การพัฒนาภาคการเกษตรอุตสาหกรรมผ่านการยกระดับไปสู่ความเป็นเกษตรอุตสาหกรรม อัจฉริยะ 2) การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม อาทิ การพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ และการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมโอเลโอเคมี พร้อมจัดสินเชื่อดีพร้อมเปย์เสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ 3) การพัฒนาภาคบริการ เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างสมดุล การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาด กระจายรายได้สู่ชุมชนและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตคู่กับสังคมได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ การลงพื้นที่ดังกล่าว สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ หรือ Medical Hub (พ.ศ.2560-2569) และการพัฒนาเขตระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสอันดามัน โดยการขยายผลความสำเร็จด้านการบริการสุขภาพของโรงแรมอ่าวนาง ปรินซ์วิลล์ วิลลา รีสอร์ต แอนด์ สปา จ.กระบี่ เพื่อเป็นโมเดลต้นแบบแก่ผู้ประกอบการรายอื่น ตามโครงการสร้างเครือข่ายผู้นำธุรกิจดีพร้อมฮีโร่ที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงและผลักดันให้เกิดกระบวนการพัฒนาเครือข่ายธุรกิจในท้องถิ่นและชุมชน ภายในงานยังมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ "ชุมชนดีพร้อม" โดยวิสาหกิจชุมชนของดีเมืองกระบี่ จำนวน 6 บูท ได้แก่ 1) ร้านเดอะมัลเบอร์รี่@น้ำพุร้อนเค็ม จากชุมชนดีพร้อมบ้านนา 2) วิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านดินแดง(กาแฟขี้ชะมด) จากชุมชนดีพร้อมบ้านดินแดง 3) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มงานอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติปากคลองอ่าวลึกน้อย (หอยกะพงอบแห้ง ไส้กรอกแพะ แหนมแพะ ซุปแพะสกัดเสริมคอลลาเจน) เครือข่ายชุมชนดีพร้อมบ้านดินแดง 4) บริษัท วิณัฐมิตรา จำกัด (น้ำปลาหวาน สูตรตะไคร้ กะปิ) เครือข่ายชุมชนดีพร้อมบ้านนา 5) วิสาหกิจชุมชนร้านย้อมรัก (ผ้ามัดย้อม, เสื้อส้าเร็จรูป) เครือข่ายชุมชนดีพร้อมบ้านนาตีน 6) ร้านวริทกระบี่บาติก (ผ้าบาติก) เพ้นด้วยเครื่องเขียนเทียนอัตโนมัติ จากดีพร้อมเปย์ ซึ่งทั้ง 6 ราย นับเป็นเครือข่ายความสำเร็จของการเชื่อมโยงและบูรณาการให้เติบโตไปด้วยกัน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
14 พ.ย. 2565
ปลัดฯ ณัฐพล ตรวจเยี่ยมสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกระบี่ มอบนโยบายให้โรงงานอยู่ร่วมชุมชนอย่างยั่งยืน
จ.กระบี่ 11 พฤศจิกายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่บุคลากรสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกระบี่ พร้อมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และนางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายวัชรินทร์ ไชยานุพงศ์ อุตสาหกรรมจังหวัดกระบี่ นางพรทิพา อัครสุต อุตสาหกรรมจังหวัดตรัง นางสาววรรณี พุฒแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 ข้าราชการ พนักงานและเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกระบี่ ให้การต้อนรับและรับมอบนโยบาย ณ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกระบี่ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เน้นย้ำให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) ปฏิบัติงานภายใต้ 4 มิติ ได้แก่ 1. การสร้างความสำเร็จให้ธุรกิจ 2. การดูแลประชาชนโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม 3. การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และ 4. การกระจายรายได้ให้กับประชาชนและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ พร้อมกันนี้ยังได้เน้นย้ำให้ สอจ. กำกับดูแลและให้คำแนะนำกับโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ให้ดำเนินกิจการโดยคำนึงถึงชุมชนโดยรอบ เช่น การป้องกันการปล่อยน้ำเสียลงสู่ลำน้ำสาธารณะ และการลดการก่อมลพิษทางอากาศ เพื่อให้โรงงานและชุมชนอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
14 พ.ย. 2565
“ปลัดณัฐพล" เปิดงาน DIPROM Creative Products Fair 2022" พร้อมหนุนยอดขายอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
กรุงเทพฯ 10 พฤศจิกายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานกิจกรรมส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ "DIPROM Creative Products Fair 2022" พร้อมเยี่ยมชมบูธจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์กว่า 80 ร้านค้า ร่วมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานในครั้งนี้ ณ พระราม 2 ฮอลล์ ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า พระราม 2 สำหรับงาน DIPROM Creative Products Fair 2022 จัดขึ้นเพื่อทดสอบตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกิดจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากกิจกรรมต่าง ๆ ของดีพร้อม (DIPROM) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคต่อสินค้าที่ผ่านการพัฒนา และยกระดับให้มีความเป็นสากล รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้มีพื้นที่ในการจัดจำหน่ายสินค้าตลอดจนการให้บริการปรึกษาแนะนำด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด และการเงิน อีกทั้ง ยังเป็นการเผยแพร่ผลการดำเนินงานของดีพร้อมในการยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งงานดังกล่าวจัดระหว่างวันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2565 ณ ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า พระราม 2 โดยแบ่งออกเป็น 4 โซน คือ โซนที่ 1 การจัดจำหน่ายสินค้า "DIPROM Creative Products Fair 2022" ที่คัดสรรผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์กว่า 80 ร้านค้า โซนที่ 2 นิทรรศการแสดงผลงาน (Showcase) ที่ผ่านการพัฒนาจากกิจกรรมต่าง ๆ ของดีพร้อม โซนที่ 3 การให้คำปรึกษาแนะนำการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ จากศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Thai-IDC) และ โซนที่ 4 กิจกรรมพิเศษต่าง ๆ อาทิ กิจกรรมเสวนา Workshop ที่จะมาเสริมสร้างองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ พร้อมติดอาวุธให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อยกระดับไปสู่ความเป็นสากล ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่นับว่ามีบทบาทสำคัญและสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย กระทรวงอุตสาหกรรม โดยดีพร้อม (DIPROM) ได้มีการสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มาอย่างต่อเนื่อง ในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศ มีความยั่งยืนสู่สากล พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยภาคอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
11 พ.ย. 2565