โทรศัพท์ 1358

ปลัดฯ ณัฐพล ลงพื้นปราจีนบุรี มอบแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย MIND เน้นย้ำบูรณาการงานของหน่วยงานในพื้นที่ มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย กำกับโรงงานให้รักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมช่วยกันกระจายรายได้สู่ชุมชน เพื่อให้อุตสาหกรรมอยู่คู่กับชุมชนได้อย่างมีความสุข
จ.ปราจีนบุรี 11 มิถุนายน 2566 เวลา 13.00 น. - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (รปอ.) นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (หน.ผตร.อก.) นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (ผตร.อก.) นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (ชปอ.) นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) และผู้บริหารจากส่วนกลาง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแนวทางการบูรณาการงานของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระแก้ว ณ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี โดยมีนายพัตทอง กิตติวัฒน์ อุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี (อสจ.ปราจีนบุรี) และนายพฤกษ์ ศิโรรัตนเศรษฐ์ อุตสาหกรรมจังหวัดสระแก้ว (อสจ.สระแก้ว) ให้การต้อนรับ โดยทั้ง 2 หน่วยงานได้รายงานผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย โครงสร้างบุคลากร งบประมาณ ผลผลิต ตัวชี้วัด แผนการดำเนินงานในปี 2566 และคำของบประมาณปี 2567 ตลอดจนข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ สำหรับ สอจ.ปราจีนบุรี ปัจจุบันมีบุคลากร 26 คน มีเหมืองแร่ที่ได้ประทานบัตร 6 ประทานบัตร มีผู้ประกอบการทั้งสิ้น 22,459 ราย ในจำนวนนี้เป็นภาคการผลิต 3,649 ราย และมีวิสาหกิจชุมชน 389 กลุ่ม สำหรับการประยุกต์นโยบาย MIND ทั้ง 4 มิติ ได้ใช้วิธีการเชิญชวนผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาช่วยเป็นพี่เลี้ยงและเป็นต้นแบบการดำเนินการตามแนวคิดดังกล่าวให้กับธุรกิจรายอื่น ๆ ด้านการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปเสื่อกกบ้านบางพลวง สอจ.ได้เข้าไปช่วยเหลือกลุ่มจนทำให้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในด้านการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และมาตรฐาน มีการกระจายรายได้ไปยังสมาชิกอย่างยั่งยืน รวมถึงยังมีเป้าหมายให้โรงงานต่าง ๆ เข้าสู่ระบบ i-Industry และ i-Single Form ตามที่กระทรวงฯ กำหนด นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับเอกชนดำเนินการจิตอาสาเราทำความดีด้วยหัวใจ เข้าไปช่วยล้างแอร์ให้กับสถานที่กลุ่มเปาะบาง ผ่านโครงการ “เย็นกาย เย็นใจ” และร่วมกับบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จัดทำโครงการ “เถ้าดี สู่ ฟาร์ม” เพื่อจำหน่ายขี้เถ้าให้กับเกษตรกรในราคาถูกด้วย ด้าน อสจ.สระแก้ว ได้รายงานว่า ปัจจุบันมีบุคลากรจำนวน 20 คน มีโรงงาน 440 โรงงาน ส่วนใหญ่เป็นโรงงานไฟฟ้าห้องเย็น ผลิตภัณฑ์จากพืช อาหาร และอโลหะ เป็นต้น โดยที่ผ่านมา สอจ.สระแก้ว ได้เข้าไปให้คำปรึกษาแนะนำสถานประกอบการอุตสาหกรรมแบบบูรณาการ เช่น บริษัท วินไทย ฟู้ด จำกัด ซึ่งเป็นผู้ส่งออกเป็ดแปรรูปรายใหญ่ แต่ยังคงมีปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ จึงได้มีการประสานงานกับจังหวัดให้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการเลี้ยงเป็ดในพื้นที่ให้มากขึ้นเพื่อส่งวัตถุดิบให้กับบริษัทฯ รวมถึงการส่งเสริมการปลูกมันสำปะหลังทดแทนการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ส่งให้กับบริษัทแปรรูปในจังหวัด ทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น ส่วนในด้านการแก้ไขข้อร้องเรียนบริษัท โปรเฟสชั่นแนล เวสต์ เทคโนโลยี (1999) จำกัด (มหาชน) ซึ่งพบปัญหาส่งกลิ่นเหม็นจากการประกอบกิจการ โดย สอจ. ได้เข้าไปปรับปรุงแก้ไขผ้าใบที่ปิดคลุมหลุมฝังกลบที่ชำรุด และสูบน้ำเสียที่ท่วมขังบนผ้าใบที่ปิดคลุมหลุม และสูบน้ำชะกากที่ท่วมขัง พร้อมจัดทำมาตรการป้องกันกลิ่นเหม็นขณะปฏิบัติงานเพื่อลดผลกระทบด้านกลิ่นเหม็น นอกจากนี้ในด้านการดูแลการเผาอ้อยในพื้นที่ ซึ่งมีการลักลอบเผากว่าร้อยละ 40 ทำให้เกิดปัญหาฝุ่น PM 2.5 โดยการเผาอ้อยเกิดจากพื้นที่การเพาะปลูกบางส่วนเป็นพื้นที่เนินสูง ทำให้การนำรถตัดอ้อยเข้าไปในพื้นที่ได้ยาก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเผาอ้อยเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี สอจ. ได้ใช้แนวทางการให้รางวัลแก่เกษตรกรที่ไม่เผาอ้อยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเกษตรกรรายอื่น ๆ ต่อไป ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบนโยบายให้ สอจ. ใช้ “หัว และใจ” ในการทำงาน มุ่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการดำเนินการตามนโยบาย 4 มิติ เพื่อสร้างความสำเร็จให้ภาคธุรกิจ ดูแลสังคม รักษาสิ่งแวดล้อมโดยรอบโรงงาน และกระจายรายได้ให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งมี GDP เป็นอันดับ 4 ของประเทศ และมีจำนวนโรงงานเป็นจำนวนมาก ดังนั้น สอจ. ต้องคำนึงถึงการทำให้ชุมชนอยู่ร่วมกันกับอุตสาหกรรมได้อย่างมีความสุข โดยการกำกับดูแลโรงงานต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชน พร้อมช่วยกันดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบโรงงาน ตามแนวทางอุตสาหกรรมรวมใจ : ดูแลสิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม อากาศ และคูคลอง อย่างไรก็ดี กระทรวงฯ กำลังดำเนินการโครงการอุตสาหกรรมรวมใจ จิตอาสา ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งเป็นการร่วมมือของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และจังหวัด ร่วมกันลงพื้นที่สำรวจตรวจสอบคุณภาพน้ำในคูคลองรอบโรงงาน พร้อมหาแนวทางแก้ไข เพื่อให้โรงงานกับชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตร สงบสุข และถ้อยทีถ้อยอาศัยนำไปสู่ "โรงงานรักชุมชน ชุมชนรักโรงงาน" นอกจากนี้ ยังได้มอบนโยบายให้ สอจ. โดยให้หัวหน้ากลุ่มนโยบายและแผนงาน ทำหน้าที่ผู้ช่วยอุตสาหกรรมจังหวัด พร้อมเป็นหัวหน้ากลุ่มนโยบายและแผนงาน และกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเหลือในการกลั่นกรองให้ข้อคิดเห็น และตรวจสอบการดำเนินงานในภารกิจต่าง ๆ ของ สอจ. มุ่งเน้นการบูรณาการการทำงานให้เกิดการเรียนรู้ข้ามสายงานมากยิ่งขึ้น ส่วนในด้านการจัดกิจกรรมอุตสาหกรรมแฟร์ เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพและกระจายรายได้ให้กับคนในพื้นที่ ขอให้หน่วยงานบูรณาการร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคเอกชน และหน่วยงานในจังหวัด ส่วนเรื่องการสมัครรางวัลอุตสาหกรรม ได้เน้นย้ำว่าสถานประกอบการที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจจนได้รับรางวัล ควรมีการดำเนินการตามนโยบาย MIND ใช้หัวและใจปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ เป็นพื้นฐานสำคัญ ทั้งโรงงานดี ชุมชนโดยรอบอยู่ดีมีสุข และมีสิ่งแวดล้อมที่ดี ส่วนในด้านปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ส่วนหนึ่งมาจากการเผาอ้อย ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและด้านสุขภาพของประชาชน ได้ให้ข้อแนะนำว่า อาจหันกลับมาพิจารณาแนวทางการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชผลการเกษตรชนิดอื่นหากไม่สามารถลดการเผาอ้อยได้ เช่น การปลูกมันสำปะหลัง การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ด้าน รปอ.ณัฏฐิญา กล่าวเพิ่มเติมว่า สอจ. ควรพิจารณาเป้าหมายการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นจุดมุ่งเน้นทางยุทธศาสตร์ของจังหวัด และสามารถขยายผลไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ส่วนในด้านการขอรับรอง GI ของโรงงาน นอกจากการกำหนดตัวชี้วัดในเชิงปริมาณแล้ว ควรมีการกำหนดตัวชี้วัดด้านคุณภาพด้วย เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกควรอยู่ในระดับใด รวมทั้งการขับเคลื่อนนโยบาย BCG ขอให้พิจารณาทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพด้วยเช่นกัน และมุ่งส่งเสริมให้มีการปลูกพืชไปสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ขณะที่การบริหารจัดการงบประมาณ ระบบการบัญชี และฐานคำนวณต้นทุนต่อหน่วยในการดำเนินงานพัฒนาตามโครงการต่าง ๆ ขอให้คำนวณค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริงและสะท้อนการใช้งบประมาณตามความเป็นจริงอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในส่วนของงบประมาณค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่ไม่เพียงพอ ขอให้ สอจ. แจ้งยอดหนี้มาที่ส่วนกลางเพื่อดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ในเรื่องการให้บริการผ่านกองทุน ทั้งดีพร้อมเพย์ และกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ หากมีการเข้าไปส่งเสริมและพัฒนาแล้ว พยายามเชิญชวนให้ผู้ประกอบการเข้ามาเป็นลูกค้าของกองทุนฯ เนื่องจากมีความพร้อมในทางธุรกิจที่สามารถขยายการลงทุนในกิจการได้ หน.ผตร.อก. ฝากเรื่องประเด็นการร้องเรียนต่าง ๆ ขอให้ สอจ. เอาจริงเอาจัง และพยายามแก้ไขข้อร้องเรียนให้จบโดยเร็วที่สุด ส่วนในด้านการกระจายรายได้ให้กับชุมชนโดยรอบ ควรมีการกระตุ้นให้โรงงานรายใหญ่เข้ามาช่วยเหลือชุมชนรอบ ๆ ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อความเป็นอยู่ของอุตสาหกรรมและชุมชนอย่างมีความสุข ผตร.เดชา กล่าวว่า จ.ปราจีนบุรี มีบริษัทรายใหญ่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อมซึ่งในพื้นที่มีโรงงานได้การรับรอง GI กว่าร้อยละ 72 แต่ก็ยังเป็นเพียงในเชิงปริมาณ อย่างไรก็ตามจะต้องหาแนวทางวัดในเชิงคุณภาพ ทั้งในด้านการกำหนดปริมาณคาร์บอนที่โรงงานปล่อยออกมาด้วย ส่วนในการเข้าไปกำกับติดตาม สอจ.ยังขาดเครื่องมือที่เป็นมาตรฐาน ทำให้ สอจ. ไม่สามารถวิเคราะห์การประเมินค่าที่แท้จริงได้ จึงขอกระทรวงฯ ช่วยพิจารณาเครื่องมือเพื่อให้การประเมินมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนการชี้เป้าอุตสาหกรรมในพื้นที่ควรมีผู้แทนจาก กสอ. สศอ. จังหวัด เข้ามาวางแผนร่วมกันและบูรณาการรวมกัน เพื่อให้ทิศทางการดำเนินงานมีความสอดคล้องมากยิ่งขึ้น ชปอ.ณิรดา ฝากถึงระบบรายงานฐานข้อมูลกลางของกระทรวงอุตสาหกรรม i-Single Form และ i-Industry ขอให้ สอจ. เข้ามารับการอบรมทุกท่าน เพื่อให้สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับโรงงานได้ โดยจะต้องสร้างความเข้าใจและอธิบายกฎหมายควบคู่กับระบบได้อย่างถูกต้องชัดเจน ส่วนในด้านการชำระค่าธรรมเนียมรายปี ขอให้ทุกจังหวัดเตรียมการออกใบค่าชำระค่าธรรมเนียมรายปี ซึ่งสามารถเข้าไปตรวจสอบในระบบและสามารถพิมพ์ใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ได้ รสอ.วาที กล่าวว่า ในการส่งเสริมอุตสาหกรรม ควรมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ทั่วประเทศ และ สอจ. ในพื้นที่ รวมถึงมีการชี้เป้าเพื่อเข้าไปส่งเสริมพร้อมทำงานร่วมกันได้อย่างตรงจุด และลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน หลังจากนั้น ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะ ได้ให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) นำเสนอผลการดำเนินงานของธนาคารที่กำกับดูแลในพื้นที่ โดยมี นายเดชนริศ โยธาภิรมย์ รองผู้อำนวยการเขต 21 รักษาการผู้อำนวยการเขต 19 (นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว) รายงานผลการดำเนินงานด้านการอนุมัติสินเชื่อและการเบิกจ่าย ปริมาณ NPL และแผนการดำเนินงานในอนาคต ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
12 มิ.ย. 2566
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่ชุมชนแม่กำปอง เร่งเสริมแกร่งยกระดับการผลิตให้วิสาหกิจชุมชน
จ.เชียงใหม่ 10 มิถุนายน 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม พบปะชุมชนแม่กำปอง ร่วมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางสาวชฎาพร ถมมา ผู้ใหญ่บ้านแม่กำปอง และ นายธีรเมศร์ ขจรพัฒนภิรมย์ อดีตผู้ใหญ่บ้านแม่กำปอง (ผู้นำดีพร้อม) ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมพื้นที่ชุมชน ณ ชุมชนแม่กำปอง อำเภอแม่ออน การลงพื้นที่ครั้งนี้ เป็นการพบปะพูดคุยกับผู้นำชุมชนเพื่อสอบถามถึงปัญหาและความต้องการของชุมชนในการพัฒนาพื้นที่ โดยหมู่บ้านแม่กำปองมีชื่อเสียงในเรื่องของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบโฮมสเตย์ และมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตสินค้าต่าง ๆ เช่น โรงคั่วกาแฟ ถ่านอัดแท่ง หมอนใบชา ห้องอบสมุนไพร จักสานไม้ไผ่ ร้านกาแฟชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นชุมชนที่แข็งแกร่งและพึ่งพาตนเองได้ โดยดีพร้อมจะเข้าไปช่วยเสริมแกร่งยกระดับศักยภาพชุมชนด้านการผลิตสินค้า เช่น เสริมแกร่งผลิตถ่านอัดแท่งด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย พัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าที่เป็นของฝากของที่ระลึก และออกแบบผลิตภัณฑ์จากไผ่ให้มีอัตลักษณ์เป็นที่น่าสนใจและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าในชุมชนได้ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
12 มิ.ย. 2566
ดีพร้อม เตรียมบิ๊กอีเวนท์ งาน “อุตสาหกรรมแฟร์” สู่ความสำเร็จ 4 มิติเปิดพื้นที่ยกระดับอุตสาหกรรมคู่ชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือ คาดสร้างเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 100 ลบ.
จ.ลำปาง 9 มิถุนายน 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานงานแถลงข่าว ประชาสัมพันธ์งานอุตสาหกรรมแฟร์ “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปั้นแต่ง โตไว ด้วยดีพร้อม” ปี 2566 ร่วมด้วย นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นายจักรพงษ์ กลิ่นวงษ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน และสื่อมวลชน ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM MICE CENTER) อำเภอเกาะคา งานอุตสาหกรรมแฟร์ “อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปั้นแต่ง โตไว ด้วยดีพร้อม” เป็นการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ดำเนินการจัดพื้นที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้แสดงถึงความสำเร็จทางธุรกิจผ่านโซนต่าง ๆ ประกอบด้วย โซน DIY ชุมชนดีพร้อม โซนเอสเอ็มอีดีพร้อมจำหน่ายสินค้ามาตรฐานเกรดพรีเมี่ยม โซนเครื่องจักรกลทางการเกษตรพร้อมทดลองใช้ฟรี โซนนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิต โซนเพิ่มมูลค่านวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุและเครื่องมือแพทย์ โซนนิทรรศการแนวคิดการพัฒนาแม่เมาะเมืองน่าอยู่ (Mae Moh Smart City) และโซนฝึกอาชีพนักส่งเสริมอาชีพดีพร้อมกว่า 50 หลักสูตร พร้อมจัดแสดงกลไกสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน ผ่านกลไก “7 วิธีปั้นชุมชนดีพร้อม” พร้อมทั้ง มีการให้คำแนะนำปรึกษาการดำเนินธุรกิจในด้านต่าง ๆ และการบริการด้านการเงิน เพื่อเป็นการกระตุ้นภาคอุตสาหกรรม ให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ ตลอดจนเกิดการต่อยอดพัฒนาสินค้าและบริการต่อไป โดยงานอุตสาหกรรมแฟร์ดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-30 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM MICE CENTER) จังหวัดลำปาง โดยคาดว่าตลอดการจัดงานทั้ง 8 วัน จะมีผู้ร่วมงานไม่ต่ำกว่า 50,000 คน และต่อยอดมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
12 มิ.ย. 2566
"อธิบดีใบน้อย" นำทัพชาวดีพร้อมต้อนรับผู้ตรวจราชการ อก. ในการติดตามผลการดำเนินงาน
กรุงเทพฯ 8 มิถุนายน 2566 – นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และนายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) จากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้การต้อนร้บคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม นำโดย นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงอุตสาหกรรม ผตร.อก. นายเดชา จาตุธนานันท์ นายทาวัน ทวีถาวรสวัสดิ์ ผตร.อก. นายวีระกิตติ์ รันทกิจธนวิชญ์ และ นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม และ คณะผู้ตรวจกระทรวงอุตสาหกรรม ในวาระการประชุมติดตามการดำเนินงาน และผลการปฏิบัติราชการ กสอ. ณ ห้องแพรวา ชั้น 7 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พระรามที่ 4 กล้วยน้ำไท และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว ดีพร้อมได้แนะนำหน่วยงานพร้อมสรุปภาพรวมผลการปฎิบัติราชการ ทั้งจากนโยบายของรัฐบาลและอก. ได้แก่ การพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย(S-Curve) การเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย BCG Model และจากแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการและข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ด้านการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูปและผลิตภัณฑ์ การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของเศรษฐกิจฐานราก พร้อมรายงานแผนการร่วมขับเคลื่อนแบบบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และความก้าวหน้าในการปฏิรูปหน่วยงานตามความคาดหวังเชิงนโยบายของ อก. ประกอบด้วย การเชื่อมโยงโครงการ/กิจกรรมนโยบาย “MIND ใช้หัวและใจ” ผลการดำเนินงานโมเดลชุมชนดีพร้อม ยกระดับวัตถุดิบท้องถิ่นด้วย Soft Power ด้านอาหาร ขยายโอกาสทางธุรกิจด้วยการจัดกิจกรรม “อุตสาหกรรมแฟร์” และ “กาดดีพร้อม” โดยคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมรับฟังพร้อมให้คำแนะนำการดำเนินดีพร้อมในประเด็นต่างๆ ได้แก่ 1) การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูปและการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก 2) หาแนวทางความร่วมมือระหว่างศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ กับ อุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อเชื่อมโยงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 3) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์พื้นที่ว่างเปล่าภายใต้การดูแลของดีพร้อมเซ็นเตอร์ 4) กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการยกระดับผู้ประกอบการ ด้วยการขับเคลื่อน Soft Power ให้ครบทั้ง 5 ด้าน (5F) ได้แก่ อาหาร (Food) ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Film), การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion), ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting) และ เทศกาลประเพณีไทย (Festival) 5) ต่อยอดโมเดลชุมชนดีพร้อมด้านแพทย์แผนไทย รวมถึง พัฒนามาตรฐานด้านเนอสเซอรี เป็นการสนับสนุนและส่งเสริมกลไกการตลาดในกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้สอดรับกับการอุตสาหกรรมแพทย์ครบวงจร (Medical Hub Industry) ซึ่งเป็น S-Curve ที่รัฐบาลกำลังเร่งผลักดันเพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ 6) สนับสนุนและส่งเสริมสถานประกอบด้วยระบบเครื่องจักรอัตโนมัติเพื่อให้มีความเป็นเลิศสู่สากลอย่างยั่งยืน และ 7) ส่งเสริมความรู้เรื่องการสร้างกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับสถานประกอบการ รวมถึงส่งต่อความรู้ให้กับหน่วยงานอุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อเสริมแกร่งให้กับชุมชนดีพร้อมและดีพร้อมฮีโร่ในอนาคต ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
09 มิ.ย. 2566
“รสอ.วัชรุน” ร่วมยกระดับการบูรณาการหลักสูตร ป.ย.ป. ประจำปี 2566
นนทบุรี 7 มิถุนายน 2566 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมกิจกรรมเตรียมความพร้อมขับเคลื่อนโจทย์หัวข้อ "การบูรณาการการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันเกษตรกร เพื่อให้สามารถบริหารจัดการสินค้าเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่ ภายใต้หลักสูตร (ป.ย.ป.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566" พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรม โดยได้รับเกียรติจาก นายอภิชาต จงสกุล รองเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นที่ปรึกษาของโจทย์บูรณาการภาคเกษตรอุตสาหกรรม ณ ห้องประชุมสำนักงาน ก.พ.ร. ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ได้มีการดำเนินการภายใต้หลักสูตร ป.ย.ป. ปี 2566 ในรูปแบบการบูรณาการนวัตกรรมเชิงนโยบาย ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคการเกษตรของประเทศไทย การพัฒนาเกษตรแปรรูป พัฒนาเกษตรกรยุคใหม่ ยกระดับนักธุรกิจเกษตร การทำเกษตรอย่างยั่งยืน โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย เช่น การทำสมาร์ทฟาร์มพัฒนาการส่งเสริมการตลาดภาคการเกษตร เพื่อให้การเกษตรของไทยมีความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
08 มิ.ย. 2566
รสอ.สุชาดา" นำทีมดีพร้อมจับมือญี่ปุ่น ตอกย้ำการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง
กรุงเทพฯ 7 มิถุนายน 2566 - นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ให้การต้อนรับ นายโยชิฮิโระ ยาโอะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานสนับสนุนการขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศ และนายโซ เมสึกิ ผู้แทนรัฐบาลท้องถิ่นจังหวัดชิมาเนะ ประเทศญี่ปุ่น ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การพบกันครั้งนี้ เพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยและญี่ปุ่น รวมถึงสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งให้กับหน่วยงานที่ดำเนินงานด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการทั้งในภาคอุตสาหกรรมและเอสเอ็มอีไทยของทั้งสองประเทศให้เติบโตร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาอุตสาหกรรมที่ดีพร้อม และรัฐบาลท้องถิ่นจังหวัดชิมาเนะ มีความสนใจร่วมกัน อาทิ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรม BCG และอุตสาหกรรมดิจิทัล ทั้งนี้ ที่ผ่านมาดีพร้อมมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลท้องถิ่นจังหวัดชิมาเนะ ประเทศญี่ปุ่น มาโดยตลอดซึ่งเห็นได้จากความร่วมมือต่าง ๆ อาทิ การลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) การจัดตั้งโต๊ะญี่ปุ่น กสอ. (DIPROM Japan Desk) ตลอดจนการแลกเปลี่ยนบุคลากร และในครึ่งปีหลังนี้ได้วางแผนเดินหน้าส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านการจัดงานแสดงสินค้าของผู้ประกอบการจากจังหวัดชิมาเนะ การจัดกิจกรรม Ruby Engineer Exchange เพื่อประชุมแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ใช้งานภาษา Ruby การเจรจาจับคู่ธุรกิจไทย-ญี่ปุ่น นอกจากนี้ ดีพร้อม ยินดีที่จะช่วยรัฐบาลท้องถิ่นจังหวัดชิมาเนะ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ไปสู่ผู้ประกอบการ เพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิตต่อไป ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าวดีพร้อม
08 มิ.ย. 2566
"รสอ.วาที" ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 9
จ.ชลบุรี 7 มิถุนายน 2566 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 9 พร้อมมอบนโยบายการทำงานให้แก่เจ้าหน้าที่ของดีพร้อมเซ็นเตอร์ 9 โดยมี นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 9 ให้การต้อนรับและสรุปภาพรวมการดำเนินงาน ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 7 อาคารอำนวยการดีพร้อมเซ็นเตอร์ 9 การประชุมดังกล่าว เป็นการนำเสนอผลการดำเนินงานในภาพรวมของดีพร้อมเซ็นเตอร์ 9 ในประเด็นต่าง ๆ ประกอบด้วย ภารกิจ โครงสร้าง และอัตรากำลัง โครงการ/กิจกรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่รับผิดชอบ และผลการดำเนินงานและผลการเบิกจ่ายในภาพรวม พร้อมทั้ง ติดตามแผนการปรับปรุงอาคารหอพัก งบลงทุนและการบริหารสัญญาให้เป็นไปตามแผนและระเบียบฯ ที่กำหนดไว้ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
08 มิ.ย. 2566
“รสอ.สุชาดา” นำทีมเปิดหลักเกณฑ์ The Prime Minister’s Industry Award 2023
กรุงเทพฯ 6 มิถุนายน 2566 – นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการสัมมนาชี้แจงหลักเกณฑ์รางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 (The Prime Minister’s Industry Award 2023) โดยมีคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting และ Facebook Live -> https://fb.watch/k_jaVt9Q_p/?mibextid=v7YzmG การสัมมนาดังกล่าว เป็นการชี้แจงเกณฑ์การพิจารณา และรายละเอียดการสมัครรางวัลอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับข้อมูลที่ตรงประเด็น เป็นประโยชน์ในการเตรียมเอกสาร และความพร้อมในการสมัครเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมแต่ละประเภทรางวัล ได้แก่ รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 9 ประเภท รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น 4 ประเภท โดยเปิดรับสมัครสถานประกอบการที่สนใจเข้ารับการพิจารณาคัดเลือก ตั้งแต่วันนี้ - 30 มิถุนายน 2566 สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์รางวัลอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม industryaward.industry.go.th ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
06 มิ.ย. 2566
ดีพร้อม เตรียมพร้อมถ่ายโอนภารกิจการรับรองไหม
กรุงเทพฯ 2 มิถุนายน 2566 – นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมหารือเกี่ยวกับหลักการจัดตั้งโรงงานสาวไหม พร้อมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายศรัญญู พูลลาภ รองอธิบดีกรมหม่อนไหม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมหม่อนไหม เข้าร่วมดังกล่าว ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการหารือร่วมกันระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและกรมหม่อนไหม ในประเด็นเกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจของหน่วยงานในการรับรองรังไหมภายในประเทศ การรับรองนำเข้าเส้นไหมดิบจากต่างประเทศ ซึ่งเดิมเป็นหนึ่งในภารกิจของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อถ่ายโอนภารกิจนี้ให้กรมหม่อนไหมดำเนินการต่อไปเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการที่ต้องการจัดตั้งโรงงานสาวไหมภายในประเทศต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
06 มิ.ย. 2566
"รสอ.สุชาดา" นำทีมพิจารณาการคัดเลือกอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2566
กรุงเทพฯ 1 มิถุนายน 2566 – นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะทำงานพิจารณาคัดเลือกอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมครั้งนี้ ได้พิจารณาเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม แผนการดำเนินงานการพิจารณาคัดเลือกอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม เกณฑ์การรับสมัครที่มีการปรับเปลี่ยนในปีนี้ได้ขานรับนโยบาย MIND 4 มิติ ของ อก. ประกอบด้วย มิติที่ 1 ความสำเร็จทางธุรกิจ มิติที่ 2 การดูแลสังคมโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม มิติที่ 3 การรักษาสิ่งแวดล้อมที่ตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก มิติที่ 4 การกระจายรายได้ให้กับประชาชนและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
02 มิ.ย. 2566