โทรศัพท์ 1358

“สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม” จัดพิธีมอบทุนการศึกษาบุตรสมาชิกฯ ประจำปี 2566
กรุงเทพฯ 14 กรกฎาคม 2566 – นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดพิธีการมอบทุนการศึกษาบุตรสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จำกัด ประจำปี 2566 โดยมี นางศริรัตน์ จิตต์เสรี ประธานคณะกรรมการฯ เป็นผู้มอบทุนการศึกษาฯ ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting กิจกรรมดังกล่าว เป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาของบุตรสมาชิกสหกรณ์ โดยประกาศผลการขอรับทุนฯดังกล่าว เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ที่ผ่านมา มีสมาชิกได้รับทุนการศึกษาบุตรทั้งหมด 51 ราย จำแนกทุนออกเป็น 5 กลุ่ม รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 189,200 บาท ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
17 ก.ค. 2566
ปลัดฯ ณัฐพล ระดมสรรพกำลัง MIND เตรียมแผนเสนอโครงการ Flagship ปี 68 ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 13 แผนแม่บท เพื่อการส่งเสริมผู้ประกอบการที่ดี การสนับสนุนการมาตรฐาน การพัฒนาอุตสาหกรรม S-Curve เพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยให้มีขีดความสามารถในระดับสากล
จ.ระยอง 12 กรกฎาคม 2566 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการนำเสนอโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ณ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting โดยที่ประชุมได้นำเสนอการจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ปี 2568 ของกระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 82 โครงการ ภายใต้ 13 ประเด็นแผนแม่บท 29 แผนแม่บทย่อย 34 เป้าหมายแผนแม่บทย่อย สู่การส่งเสริมผู้ประกอบการที่ดี สอดคล้องกับแผนแม่บท ดังนี้ (01) ความมั่นคง (02) การต่างประเทศ (03) การเกษตร (04) อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต (05) การท่องเที่ยว (06) พื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ (07) โครงสร้างพื้นฐานระบบโลจิสติกส์และดิจิทัล (08) ผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ ในส่วนของแผนประเด็นแผนแม่บท (09) เขตเศรษฐกิจพิเศษ (16) เศรษฐกิจฐานราก (18) การเติบโตอย่างยั่งยืน (20) การบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ (21) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ จะให้นำเสนอในการประชุมครั้งถัดไป ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กล่าวชื่นชมทุกหน่วยงานที่นำเสนอ Flagship นำไปสู่การเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณปี 2568 และขอให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการการส่งเสริมผู้ประกอบการให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ควรมีการผลักดันมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก. ให้โรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศเข้าถึง และสร้างมาตรฐานในภาคอุตสาหกรรมของประเทศ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะในการเขียนโครงการเพื่อของบประมาณ ควรเขียนให้ครอบคลุม สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมี นายเอกภัทร วังสุวรรณ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวีระกิตติ์ รันทกิจธนวิชญ์ นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ และนายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารระดับสูงจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด เข้าร่วมประชุม ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
17 ก.ค. 2566
ปลัดฯ ณัฐพล กำชับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด เร่งแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน พร้อมบูรณาการนโยบาย MIND ใช้ "หัว" และ "ใจ" ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชนอย่างยั่งยืน
จ.ระยอง 13 กรกฎาคม 2566 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ส่งเสริมการประกอบการตามนโยบาย MIND เพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 2 พร้อมย้ำการใช้ "หัว" และ "ใจ" ในการทำงานส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านนโยบาย MIND ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ให้แก่เจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมจาก สอจ. ในเขตภาคตะวันออกและภาคกลาง สำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 7 และศูนย์วิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงานภาคตะวันออก และภาคตะวันตก กรมโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงกำชับให้ สอจ. บังคับใช้กฎหมายในการกำกับดูแลโรงงานอย่างสุดซอย กล่าวคือ หากพบกรณีโรงงานมีข้อร้องเรียน ให้ สอจ. ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวโดยละเอียด อีกทั้งยังเพิ่มความเข้มข้นให้ดำเนินการตรวจสอบตามกฎหมาย/กฎระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโรงงานในทุกมิติ เพื่อไม่ให้โรงงานกล้ากระทำความผิด โดยมีนายเตมีย์ พันธุวงค์ราช ผู้อำนวยการกองตรวจราชการ กล่าวรายงาน พร้อมกันนี้ได้รับเกียรติจากนายสุรพล ชามาตย์ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมเปิดงาน ณ โรงแรมโนโวเทล ระยอง ริมเพ รีสอร์ท สำหรับการสัมมนาฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-13 กรกฎาคม 2566 โดยมีหัวข้อการบรรยาย อาทิ การดำเนินงานศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรณีตัวอย่างและข้อควรรู้เกี่ยวกับคดีศาลปกครอง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการแก้ไขปัญหาของ บริษัท แวกซ์ กาเบ็จ รีไซเคิล เซ็นเตอร์ จำกัด เทคนิคการส่งเสริมการประกอบการอุตสาหกรรมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ทั้งนี้ ผลของการสัมมนาฯ ดังกล่าว จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพแก่บุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรม รวมถึงเป็นแนวทางในการบูรณาการนโยบาย MIND มุ่งส่งเสริมผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จ พร้อมกับแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนอย่างยั่งยืน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
14 ก.ค. 2566
“รสอ.วัชรุน” หารือภาคีเครือข่าย เดินหน้ากระชับสัมพันธ์ในกีฬาสามัคคีตรีมิตร ครั้งที่ 29
กรุงเทพฯ 13 กรกฎาคม 2566 - นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมหารือการจัดงาน “กีฬาสามัคคีตรีมิตร” ร่วมด้วย ผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานภาคเครือข่าย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 อาคารกองนวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พระรามที่ 4 การประชุมครั้งนี้ เป็นการร่วมหารือการจัดงาน “กีฬาสามัคคีตรีมิตร” ครั้งที่ 29 ซึ่งดำเนินการจัดกิจกรรมกีฬาฯ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงาน โดยร่วมกันหารือในประเด็นต่าง ๆ ประกอบด้วย ช่วงเวลาการจัดงาน ระยะเวลา ประเภทของกีฬา และการแบ่งทีมผู้เข้าแข่งขัน ที่ต้องคำนึงถึงบริบทและปัจจัยต่าง ๆ เพื่อความสมดุลและเหมาะสม โดย รสอ.วัชรุนฯ ได้มอบหมายให้ดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาและกลั่นกรองการจัดกิจกรรมกีฬาฯ ในครั้งนี้ต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
14 ก.ค. 2566
ดีพร้อม ยกทัพสิ่งทอคุณภาพ Thailand Textiles Tag บุกสีลมย่านไข่แดงเศรษฐกิจทดสอบตลาดหนุ่มสาวออฟฟิศ
กรุงเทพฯ 11 กรกฎาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน DIPROM ยกขบวนจัดแสดงผลงานและจำหน่ายสินค้าฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย ร่วมด้วย นายชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากเครือข่ายภาครัฐ-เอกชน ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน ณ ชั้น G ศูนย์การค้าธนิยะ พลาซ่า สีลม งานดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-14 กรกฎาคมนี้ ณ ชั้น G ศูนย์การค้าธนิยะ พลาซ่า สีลม ภายใต้กิจกรรม ดีพร้อมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม (DIPROM Thailand Textiles Tag) เพื่อแสดงศักยภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทยที่ผ่านการรับรองฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทยในพื้นที่สีลม ซึ่งถือเป็นย่านการค้าและเศรษฐกิจใจกลางเมืองและเต็มไปด้วยกลุ่มคนทำงาน กลุ่มนักท่องเที่ยว และนักช้อปทั้งชาวไทยและต่างชาติที่มีกำลังซื้อ ภายในงานมีจำหน่ายสินค้าจากผู้ประกอบการที่ผ่านการรับรองฉลากคุณภาพฯ รวมกว่า 20 บูธ รวมถึงพบกับโปรโมชั่นสินค้าคุณภาพดี ราคาพิเศษมากมาย ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า 3,000 คน และสร้างการรับรู้ สร้างความเชื่อมั่นด้านมาตรฐานดังกล่าว และในโอกาสนี้ อธิบดีฯ ให้เกียรติมอบวุฒิบัตรแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานการทดสอบฯ จำนวน 25 ราย 44 ผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ ดีพร้อมได้ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง 4 ปี สามารถยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทยจนได้รับการรับรองฉลาก Thailand Textiles Tag จำนวน 129 กิจการ 237 ผลิตภัณฑ์ และกระตุ้นมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นปีละไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 คิดเป็นมูลค่ากว่า 180 ล้านบาท ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 ก.ค. 2566
"รสอ.วาที" ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 8
จ.สุพรรณบุรี 11 กรกฎาคม 2566 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดำเนินงานแก่ศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 8 (DIPROM CENTER 8) โดยมีนางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 8 พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ให้การต้อนรับและเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมประกายทองศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 8 (DIPROM CENTER 8) การลงพื้นที่ดังกล่าว เป็นการติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 8 (DIPROM CENTER 8) โดยมีการนำเสนอผลการดำเนินงานในภาพรวม ประกอบด้วย บทบาทภารกิจหน้าที่ โครงสร้างอัตรากำลัง ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม การใช้จ่ายงบประมาณ การปล่อยสินเชื่อของงานเงินทุนหมุนเวียน ทั้งนี้ รสอ.วาทีฯ ได้มอบนโยบายการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนตามนโยบายดีพร้อมโต พร้อมตรวจเยี่ยมอาคาร บ้านพักราชการ และห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยเน้นย้ำการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยและพื้นที่ให้บริการแก่ประชาชนอย่างเหมาะสม มีความเป็นระเบียบ และสวยงามต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 ก.ค. 2566
“อธิบดีใบน้อย” นั่งหัวโต๊ะ พิจารณาโครงการสำคัญ วาง Flagship ดีพร้อมปี 2568
กรุงเทพฯ 10 กรกฎาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานประชุมพิจารณาโครงการสำคัญ ของดีพร้อมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ร่วมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการหารือและร่วมกันพิจารณาแนวทางการจัดทำโครงการสำคัญ (Flagship Projects) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เพื่อให้สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นแผนแม่บท แผนปฏิบัติราชการ แผนแม่บทย่อยต่าง ๆ โดยเน้นย้ำให้สอดรับกับนโยบาย MIND 4 มิติ ของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้กระบวนการขั้นตอนการทำคำของบประมาณและการดำเนินงานของดีพร้อมเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และให้หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความเห็นพ้องในหมุดหมาย ตามเป้าประสงค์ของการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมไทยของดีพร้อมต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
11 ก.ค. 2566
“ดีพร้อม” ร่วมประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 10 กรกฎาคม 2566 – นางสุชาดา โพธิ์เจริญ และนายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2/2566 (วิสามัญประจำปี 2566) โดยมี นายมนู เลียวไพโรจน์ เป็นประธานกรรมการ ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) พระรามที่ 6 การประชุมในครั้งนี้ เป็นการพิจารณารายละเอียดการดำเนินโครงการพัฒนาและบริหารจัดการธุรกิจให้เข้มแข็งและเข่งขันได้ในระดับสากล โดยมีเป้าหมายส่งเสริมผู้ประกอบการออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. การอบรมให้ความรู้และสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ (Training & Networking) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำความรู้ด้านการทำ Digital Transformation และนำนวัตกรรมข้ามาประยุกต์ใช้พัฒนาธุรกิจ ตลอดจนสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการ 2. การขยายโอกาสทางธุรกิจ (Business Opportunity) เป็นการเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้กับผู้ประกอบธุรกิจ มีช่องทางซื้อ-ขายสินค้า ผ่านกิจกรรม Business Talk กับผู้ประกอบการภายใน-ต่างประเทศ และ การศึกษาดูโรงงานต้นแบบ เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปบริหารธุรกิจก่อเกิดผลลัพธ์ทางมูลค่ายอดขายและรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า
11 ก.ค. 2566
ปลัดฯ ณัฐพล นำทีม MIND ลงพื้นที่ร้อยเอ็ด และอำนาจเจริญ ถกประเด็นการบริหารจัดการอาคารสำนักงาน
เมื่อเร็ว ๆ นี้ 8 กรกฎาคม 2566 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (รปอ.) นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (หน.ผตร.อก.) นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (ผตร.อก.) นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (ชปอ.) นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) และผู้บริหารจากหน่วยงานส่วนกลาง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดร้อยเอ็ด (สอจ.ร้อยเอ็ด) โดยมี นางสาวรัชฎา เมธาวีกุลชัย อุตสาหกรรมจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วย ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ ณ อุตสาหกรรมจังหวัดร้อยเอ็ด สอจ.ร้อยเอ็ด ปัจจุบันตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณโรงพยาบาลร้อยเอ็ดที่มีความประสงค์จะขยายพื้นที่ของโรงพยาบาลเพื่อรองรับการรักษาพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ สอจ.ร้อยเอ็ด และหน่วยงานราชการหลายแห่งในบริเวณใกล้เคียง มีความจำเป็นจะต้องย้ายสถานที่ตั้งของหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความสะดวกของประชาชนและผู้ประกอบการในการเดินทางมาติดต่อรับบริการ รวมถึงปัจจุบันตัวอาคาร สอจ.ร้อยเอ็ด เริ่มมีสภาพทรุดโทรมและพื้นที่คับแคบ ควรมีการขยับขยายที่ตั้งไปยังพื้นที่อื่น ทั้งนี้ เวลา 10.00 น. ปกอ. พร้อมคณะผู้บริหาร ได้รับฟังแนวทางบริหารจัดการพื้นที่ดังกล่าว พร้อมได้สำรวจบริเวณโดยรอบ สอจ.ร้อยเอ็ด เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาตามความเหมาะสม และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป จากนั้น ปกอ. พร้อมคณะผู้บริหาร ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) สาขาร้อยเอ็ด พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ ณ ธพว.สาขาร้อยเอ็ด โดยมี นายธนกร เงินงอก ผู้จัดการสาขาร้อยเอ็ด ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมพื้นที่ในหน่วยงาน เวลา 14.00 น. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอำนาจเจริญ (สอจ.อำนาจเจริญ) โดยมีนายบัณฑิต ศรีเพชรพงษ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ พร้อมด้วย ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ ณ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอำนาจเจริญ สอจ.อำนาจเจริญ มีความประสงค์จะขอย้ายที่ทำการใหม่ด้วยเช่นกัน โดยปัจจุบัน ตั้งอยู่ในพื้นที่อาคารศูนย์ราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เนื่องด้วยประสบปัญหาจากการเปิด-ปิดอาคารเป็นเวลา ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการเข้าไปปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ และห้องน้ำมีการชำรุดทรุดโทรมขาดการบำรุงรักษา โดยขณะนี้ได้รับการจัดสรรพื้นที่เพื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่แล้ว ภายในพื้นที่บริเวณศูนย์ราชการ ห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 300 เมตร บนพื้นที่ประมาณ 2.3.55 ไร่ แต่ยังประสบปัญหาด้านการออกแบบแปลนอาคาร และพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารสำนักงานที่ยังมีขนาดไม่ต่างจากที่เดิมมากนัก ทั้งนี้ ปกอ. และคณะผู้บริหาร ได้รับฟังข้อมูล พร้อมให้ข้อแนะนำว่าหากมีการสร้างอาคารสำนักงานใหม่ ต้องคำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น ความคุ้มค่า และประโยชน์การใช้สอยพื้นที่อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง การดูแลและบำรุงรักษาต่าง ๆ ในอนาคตด้วย จากนั้น ปกอ. พร้อมคณะผู้บริหาร ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) สาขาอำนาจเจริญ พร้อมให้กำลังใจและกล่าวชื่นชมเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ที่สามารถบริหารจัดการลูกค้าของธนาคารได้เป็นอย่างดี ทั้งที่เป็นจังหวัดขนาดเล็ก มีผู้ประกอบการไม่มาก และมีจำนวนบุคลากรน้อย แต่สามารถหาลูกค้าและดูแลลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม โดยมี นางสาวคำปิ่น พิมพ์พร ผู้จัดการสาขาอำนาจเจริญ ให้การต้อนรับ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
10 ก.ค. 2566
ปลัดฯ ณัฐพล ลงพื้นที่อีสาน ย้ำหน่วยงาน สอจ.ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ ดำเนินการตามนโยบาย MIND ทั้ง 4 มิติ อย่างถูกต้อง ครบถ้วน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน
จ.อุบลราชธานี 7 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.30-16.30 น. - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (รปอ.) นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (หน.ผตร.อก.) นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (ผตร.อก.) นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (ชปอ.) นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) และผู้บริหารจากหน่วยงานส่วนกลาง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแนวทางการบูรณาการงานของหน่วยงาน ณ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนางสาวรัชฎา เมธาวีกุลชัย อุตสาหกรรมจังหวัดร้อยเอ็ด (อสจ.ร้อยเอ็ด) นำเสนอผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย โครงสร้างบุคลากร งบประมาณ ผลผลิต ตัวชี้วัด แผนการดำเนินงานในปี 2566 และคำของบประมาณปี 2567 ตลอดจนข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ และนายบัณฑิต ศรีเพชรพงษ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สอจ.อำนาจเจริญ รายงานคำของบประมาณก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ สอจ.ร้อยเอ็ด ปัจจุบันมีบุคลากร 21 คน มีโรงงาน 373 โรงงาน มี SME 53,589 กิจการ และมีวิสาหกิจชุมชนเด่นในจังหวัด 71 กลุ่ม โดยขณะนี้มีการรายงานข้อมูลการประกอบการในระบบ iSingleForm แล้วเกือบ 100% รวมทั้งมีการดำเนินการขับเคลื่อนนโยบาย MIND ทั้ง 4 มิติ เพื่อให้สถานประกอบการนำไปดำเนินการจนประสบความสำเร็จทางธุรกิจ โรงงานและชุมชนโดยรอบอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งปรากฏผลสำเร็จเป็นรูปธรรม เช่น บริษัท กฤษณกรณ์ออร์กานิคฟาร์ม จำกัด ผู้ประกอบการโรงสีข้าวและจำหน่ายข้าวออร์แกนิค และบริษัท หมอยาไทย 101 จำกัด ผู้ผลิตสินค้าสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สปา ยาสมุนไพร และอาหารเสริม นอกจากนี้ อสจ.ร้อยเอ็ด ยังได้นำเสนอประเด็นการของบประมาณก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ ซึ่งเป็นผลกระทบสืบเนื่องมาจากที่โรงพยาบาลร้อยเอ็ดมีความประสงค์จะขยายพื้นที่ของโรงพยาบาลเพื่อรองรับการรักษาพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ สอจ.ร้อยเอ็ด และหน่วยงานราชการหลายแห่งในบริเวณใกล้เคียงจำเป็นต้องย้ายสถานที่ตั้งของหน่วยงาน โดยจังหวัดร้อยเอ็ดได้มีการประชุมเพื่อให้ส่วนราชการที่ได้รับผลกระทบจากการใช้พื้นที่ดังกล่าว สามารถย้ายที่ทำการใหม่พร้อมให้เสนอของบประมาณทดแทนส่งไปยังหน่วยงานต้นสังกัด สำหรับ สอจ.ร้อยเอ็ด ก็ได้รับผลกระทบในส่วนของอาคารสำนักงาน และบ้านพักราชการ ดังนั้น จึงมีความประสงค์จะปรับปรุงอาคารใหม่และขอขยายพื้นที่ของสำนักงานพาณิชณ์จังหวัดที่อยู่ติดกันเพิ่มเติม หรือขอย้ายที่ทำการใหม่ไปยังสถานที่ตั้งแห่งใหม่ต่อไป สำหรับ สอจ.อำนาจเจริญ ก็มีความประสงค์จะย้ายที่ทำการใหม่ด้วยเช่นกัน โดยปัจจุบันสถานที่ตั้งอยู่ภายในศูนย์ราชการ ชั้น 3 มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 375 ตร.ม. แต่เนื่องด้วยประสบปัญหาจากการเปิด-ปิดอาคารเป็นเวลา ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการเข้าไปปฏิบัติงาน ณ ที่ทำการ กอปรกับบริเวณห้องน้ำมีความชำรุดทรุดโทรมขาดการบำรุงรักษา สอจ.อำนาจเจริญ จึงมีความประสงค์ขอก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ ซึ่งอยู่ภายในพื้นที่บริเวณศูนย์ราชการ และห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 300 เมตร บนพื้นที่ประมาณ 2.3.55 ไร่ มีขนาดพื้นที่ใช้สอยประมาณ 590 ตร.ม. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ขอให้ สอจ. ทำความเข้าใจในนโยบาย MIND ทั้ง 4 มิติ อย่างถ่องแท้ เพื่อให้การขับเคลื่อนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนในด้านการของบประมาณเพื่อปรับปรุงอาคารหรือย้ายสำนักงานแห่งใหม่ จะต้องคำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น ความคุ้มค่า และประโยชน์จากการใช้สอยพื้นที่อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมทั้งการจัดทำเอกสารและการจัดทำงบประมาณจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ นอกจากนี้ ในด้านการรับโอนวัสดุครุภัณฑ์เก่าจะต้องพิจารณาว่าหากรับโอนมาแล้วจะเป็นภาระหรือเป็นประโยชน์มากกว่ากัน รวมถึงอาจไม่ตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของการใช้งาน ดังนั้น ก่อนที่จะรับโอนขอให้พิจารณาเหตุผล และดำเนินการให้ถูกต้องและเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบพัสดุฯ รวมทั้งควรมีการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยเพื่อให้เป็นมาตรฐานต่อไป ในการนี้ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะ ได้ให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) นำเสนอผลการดำเนินงานของธนาคารที่กำกับดูแลในพื้นที่ โดยมี นายนำยศ ลักษณะงาม ผู้อำนวยการภาค 4 (12 สาขา ครอบคลุม 10 จังหวัดภาคอีสาน) พร้อมด้วยผู้จัดการสาขาอุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และบุรีรัมย์ รายงานผลการดำเนินงานด้านการอนุมัติสินเชื่อและการเบิกจ่าย ปริมาณ NPL และแผนการดำเนินงานในพื้นที่รับผิดชอบด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
10 ก.ค. 2566