หมวดหมู่
คิดเห็นแชร์ : กระตุ้นเศรษฐกิจไทย ด้วยกลไกการจัดซื้อภาครัฐ
คอลัมน์ : คิดเห็นแชร์ (มติชนออนไลน์) ผู้เขียน : นายณัฐพล รังสิตพล (อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) สวัสดีแฟนๆ คิดเห็นแชร์ทุกท่านครับ เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังพบการกลายพันธุ์ของเชื้อที่ทำให้เกิดการระบาดเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว แม้ว่ารัฐบาลจะเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชน เพื่อสร้างให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่และลดการแพร่ระบาดของเชื้อแล้ว แต่ผมก็อยากให้ทุกท่านยังคงระมัดระวังตัว และรักษาวินัยต่อตนเองและสังคม เพื่อเป็นปราการต้านโรคโควิด-19 ที่เราจะร่วมด้วยช่วยกันได้คนละไม้คนละมือครับ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2563 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด โดยในปี 2563 ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ Gross Domestic Product (GDP) หรือจีดีพีของไทย อยู่ที่ -6.1% แต่ในปีนี้ เราอาจยังพอมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์อยู่บ้าง เพราะล่าสุด สภาพัฒน์ได้คาดการณ์ว่าจีดีพีของปีนี้จะขยายตัว ราว 1.5-2.5% ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ จากปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกที่สอดคล้องกับการเร่งฉีดวัคซีนของหลายๆ ประเทศทั่วโลก และแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐ หรือ Government Spending (G) ที่เป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของจีดีพี ได้แก่ 1.Consumption (C) มูลค่าการบริโภคของภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป 2.Investment (I) มูลค่าการลงทุนจากภาคเอกชน 3.Government Spending (G) ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐบาลที่ใช้ซื้อสินค้าและบริการ หรือการลงทุนในโครงการต่างๆ 4.Export (X) มูลค่าการส่งออก และ 5.Import (M) มูลค่าการนำเข้า โดยจีดีพีถือเป็นตัวบ่งบอกถึงมาตรฐานการครองชีพของประชากรในประเทศ และสามารถคำนวณได้จากสูตร GDP = C + I + G + (X – M) เมื่อเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ทำให้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนจีดีพีที่มีอยู่ 5 ส่วนก็เริ่มทำงานติดขัด เช่น (C) หรือมูลค่าการบริโภคของภาคเอกชนที่ลดลงตามรายได้และกำลังซื้อ และ (I) หรือมูลค่าการลงทุนจากภาคเอกชนที่อยู่ในระดับต่ำเพราะนักลงทุนขาดความมั่นใจในเสถียรภาพของเศรษฐกิจในยุคโควิด-19 ดังนั้น ในภาวะฝืดเคืองเช่นนี้ ไอเท็มลับที่รัฐบาลสามารถบริหารจัดการและหยิบมาใช้ได้ทันทีเพื่อช่วยประคองเศรษฐกิจภายในประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้ คือ (G) หรือการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ โดยปรับให้ส่วนราชการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุและสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยจากทั้งนักธุรกิจ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และวิสาหกิจทั่วประเทศแทนการนำเข้า โดยแต่ละปีงบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 1.77 ล้านล้านบาท จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะกระจายเม็ดเงินเหล่านี้ให้ถึงมือผู้ประกอบการไทย ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยและการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจโดยไม่ขัดต่อกติกาการค้าสากล แนวคิดการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการใช้จ่ายของภาครัฐและแนวคิดการเพิ่มการพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศ (Economic Self-Reliance) ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาใช้แบบเฉพาะกิจเพื่อรักษาความแข็งแรงของระบบเศรษฐกิจในประเทศ เช่น เมื่อต้นปีที่ผ่านมา นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศว่ารัฐบาลกลางของสหรัฐจะเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ผลิตในประเทศเท่านั้น เพื่อผลักดันให้สหรัฐเป็นผู้นำการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าระดับโลกและเพิ่มการจ้างงานสำหรับชาวอเมริกันอีกกว่า 1 ล้านคน นอกจากนี้ ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย มีคำสั่งระงับการขึ้นทะเบียนนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสาร อาทิ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ลำโพงบลูทูธ และหูฟังไร้สาย เป็นการชั่วคราว ซึ่งมีนัยสำคัญเพื่อส่งเสริมให้อินเดียเป็นผู้นำด้านการประกอบชิ้นส่วนสมาร์ทโฟนในเอเชียใต้ และจูงใจให้บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติหันมาลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารในอินเดีย สำหรับประเทศไทยนั้น เมื่อรายได้หลักจากต่างประเทศที่เคยพึ่งพา ทั้งจากการส่งออกและการบริการลดน้อยลง เราจึงต้องหันมาบริหารกระแสเงินสดภายในประเทศให้หมุนวนหลายๆ รอบเพื่อกระจายไปถึงทุกภาคส่วนโดยถ้วนหน้า จึงเป็นที่มาของนโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนการบริโภคสินค้าภายในประเทศผ่านระบบการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐ โดยมี 2 มาตรการสำคัญ คือ 1.THAI SME-GP สำหรับเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าสู่ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ รับผิดชอบโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และ 2.Made in Thailand (MiT) เป็นการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการไทยที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ ไม่น้อยกว่า 40% ในการผลิต รับผิดชอบโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เป็นหน่วยงานพิจารณาออกใบรับรอง แนวคิดการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการใช้จ่ายของภาครัฐและแนวคิดการเพิ่มการพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศ (Economic Self-Reliance) ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาใช้แบบเฉพาะกิจเพื่อรักษาความแข็งแรงของระบบเศรษฐกิจในประเทศ เช่น เมื่อต้นปีที่ผ่านมา นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศว่ารัฐบาลกลางของสหรัฐจะเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ผลิตในประเทศเท่านั้น เพื่อผลักดันให้สหรัฐเป็นผู้นำการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าระดับโลกและเพิ่มการจ้างงานสำหรับชาวอเมริกันอีกกว่า 1 ล้านคน นอกจากนี้ ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย มีคำสั่งระงับการขึ้นทะเบียนนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสาร อาทิ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ลำโพงบลูทูธ และหูฟังไร้สาย เป็นการชั่วคราว ซึ่งมีนัยสำคัญเพื่อส่งเสริมให้อินเดียเป็นผู้นำด้านการประกอบชิ้นส่วนสมาร์ทโฟนในเอเชียใต้ และจูงใจให้บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติหันมาลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารในอินเดีย สำหรับประเทศไทยนั้น เมื่อรายได้หลักจากต่างประเทศที่เคยพึ่งพา ทั้งจากการส่งออกและการบริการลดน้อยลง เราจึงต้องหันมาบริหารกระแสเงินสดภายในประเทศให้หมุนวนหลายๆ รอบเพื่อกระจายไปถึงทุกภาคส่วนโดยถ้วนหน้า จึงเป็นที่มาของนโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนการบริโภคสินค้าภายในประเทศผ่านระบบการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐ โดยมี 2 มาตรการสำคัญ คือ 1.THAI SME-GP สำหรับเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าสู่ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ รับผิดชอบโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และ 2.Made in Thailand (MiT) เป็นการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการไทยที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ ไม่น้อยกว่า 40% ในการผลิต รับผิดชอบโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เป็นหน่วยงานพิจารณาออกใบรับรอง โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เริ่มใช้มาตรการ Thai SME-GP และ Made in Thailand (MiT) ในการจัดซื้อจ้างวัสดุ-ครุภัณฑ์ในสำนักงาน อีกทั้งยังได้กระจายนโยบายดังกล่าวไปยังศูนย์ภาคทั้ง 11 แห่งทั่วประเทศ โดยทั้ง 2 มาตรการนี้ยังมีสิทธิประโยชน์ด้านราคาสำหรับผู้ประกอบการไทยในกรณีแข่งขันกับบริษัทต่างชาติเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคการผลิตในประเทศ และยังช่วยสนับสนุนให้เกิดการส่งต่อเทคโนโลยีเข้ามาในประเทศและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศอีกทางหนึ่งอีกด้วย ท้ายที่สุด แม้อาจเกิดเสียงวิจารณ์ว่าเหตุใดหน่วยงานรัฐจึงเลือกซื้อสินค้าราคาสูง แต่การใช้จ่ายเงินของภาครัฐเพื่ออุดหนุนสินค้าไทย ที่ผลิตโดยผู้ประกอบการไทย ย่อมเป็นการช่วยกักเก็บเงินให้ไหลกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและห่วงโซ่การผลิต เกิดการจ้างงานและการบริโภค เกิดการหมุนเวียนของเงินในระบบที่จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล ส่งผลให้ตัวเลขจีดีพีเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังเป็นการช่วยพยุงผู้ประกอบการไทยให้ก้าวพ้นวิกฤตในตอนนี้ไปได้ ผ่านการนำเงินในส่วนของภาครัฐที่เปรียบได้กับเงินเก็บก้นถุงมาอุดหนุนธุรกิจในประเทศให้สามารถพลิกฟื้นกลับมาแข็งแกร่งได้ในเร็ววันครับ ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2807972
16 ก.ค. 2564
กิจกรรมบริการข้อมูลธุรกิจ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น
How to รอด?...รอดวิกฤติโดยผู้เชี่ยวชาญ บริการให้คำปรึกษาแนะนำและ Coaching โดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ การตลาด/การจัดการ/บุคลากร/Happy Workplace สุขอนามัยและความปลอดภัยในที่ทำงาน การผลิต/Lean/ระบบมาตรฐาน/Supply Chain บัญชีและการเงิน ระบบไอทีเพื่อการจัดการบริหาร อื่น ๆ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณณัฎฐ์ทิตา เสนาทิพย์ 0 2215 3313 sme.consult2021@gmail.com
15 ก.ค. 2564
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) ขอแจ้งเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ 0 2430 6860
ศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SSRC) 0 2430 6860 ต่อ 1919 กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 0 2367 8001 กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 0 2367 8021 กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน 0 2367 8335 สำนักงานเลขานุการกรม 0 2430 6865-66 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน 0 2430 6867-68 กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม 0 2430 6869-70 กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม 0 2430 6871-72 กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ 0 2430 6873-74 กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม 0 2430 6875-76 กองโลจิสติกส์ 0 2430 6877-78
07 ก.ค. 2564
สุริยะ สั่งการ ดีพร้อม นำเอสเอ็มอี ฝ่าวิกฤตคลัสเตอร์โรงงานโควิด-19
สุริยะ สั่งการ ดีพร้อม นำเอสเอ็มอี ฝ่าวิกฤตคลัสเตอร์โรงงานโควิด-19 กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) หรือ “ดีพร้อม” เร่งช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ในโรงงาน ผ่านการติวเข้มทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อเติมวัคซีนความรู้เฉพาะทางด้านอาชีวอนามัย ประยุกต์ใช้งานโปรแกรมดิจิทัลเพื่อช่วยลดความแออัดในโรงงาน พร้อมปรับใช้มาตรฐานอุตสาหกรรมในการบริหารจัดการสถานประกอบการให้ปลอดภัย ห่างไกลโควิด-19 รวมทั้งแชร์ประสบการณ์ตรงจากผู้ประกอบการต้นแบบเพื่อฝ่าวิกฤตโควิด-19 คาดว่าสามารถช่วยพยุงเอสเอ็มอีทั่วประเทศให้พร้อมรับมือและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในโรงงานได้ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบันระลอกใหม่นี้ที่ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน รวมถึงผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และผู้ประกอบการรายย่อย ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะที่กำกับและดูแลโรงาน สถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ได้เห็นถึงความสำคัญและได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือในการส่งเสริม สนันสนุนเทคโนโลยีดิจิทัล และองค์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป ขณะเดียวกันเพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงในภาคอุตสาหกรรมและสถานประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผมจึงได้สั่งการให้ “ดีพร้อม” เร่งจัดคอร์สเฉพาะกิจเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเน้นเสริมความรู้ที่จำเป็นสำหรับบริหารจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ รวมถึงการป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในโรงงานและสถานประกอบการให้ได้อย่างทันท่วงที นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระรอกใหม่ ได้ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ขณะเดียวกันเศรษฐกิจของประเทศไทย ยังต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมการผลิตและส่งออกเป็นหลัก โดยฟันเฟืองสำคัญที่เป็นรากฐานของการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและจีดีพีของไทยกว่าร้อยละ 35 คือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ซึ่งยังต้องพึ่งพาแรงงานในการผลิตสินค้าเช่นเดียวกับโรงงานขนาดใหญ่และอาจเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ ดังนั้น “ดีพร้อม” ได้ขานรับนโยบายและความห่วงใยของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้สำรวจปัญหาและความต้องการจริงของเอสเอ็มอีทั่วประเทศและนำมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำโครงการเร่งด่วน “ช่วยเอสเอ็มอีแบบดีพร้อม นำธุรกิจปลอดภัย ห่างไกลโควิด-19” ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาหลักสูตรเกี่ยวกับการป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในแบบฉบับของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่เน้นทำได้ฟรี ทำได้ไว และใช้ได้จริง โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่ม เน้นชู 3 มิติ ตอบโจทย์สถานการณ์ปัจจุบัน ได้แก่ 1) การปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ ด้วยการลดความสูญเสียในกระบวนการผลิต (Lean) และลดความแออัดในโรงงานด้วยโปรแกรมดิจิทัลเฉพาะทางที่พัฒนาโดยคนไทย 2) การประยุกต์ใช้มาตรฐานอุตสาหกรรมและวิธีบริหารจัดการโซ่อุปทาน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการผลิต และ 3) การเสริมความรู้และเทคนิคด้านสุขอนามัยและอาชีวอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดระหว่างโรงงานและชุมชน โดยมีไฮไลต์สำคัญ คือ การแชร์ประสบการณ์จากผู้ประกอบการต้นแบบในการรับมือและพลิกฟื้นจากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในโรงงานที่เกิดขึ้นจริง พร้อมจัดทัพที่ปรึกษาเพื่อให้คำแนะนำด้านอาชีวอนามัยและสุขอนามัยแก่ผู้ประกอบการตามความต้องการ โดยโครงการนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 - 18 มิถุนายน 2564 ในรูปแบบการอบรมออนไลน์ผ่าน Facebook Live ทาง Fanpage : DIProm Station ของดีพร้อมเอง เพื่อให้ผู้ประกอบการและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมฟังได้อย่างสะดวกและทั่วถึง ทั้งนี้ การดำเนินโครงการในครั้งนี้ มีจุดประสงค์หลักเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันแก่โรงงานและสถานประกอบการที่ต้องอาศัยแรงงานในกระบวนการผลิตให้ปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19ที่อาจทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงักลง โดยมุ่งเน้นส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการในเชิงรุกผ่านการพัฒนาความรู้ในเชิงทฤษฎีและเสริมด้วยการใช้โปรแกรมดิจิทัลเพื่อให้เกิดการนำไปใช้ได้จริง อีกทั้ง ยังนำเอาองค์ความรู้ในภาคอุตสาหกรรมมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริหารจัดการองค์กรให้ผู้ประกอบการสามารถยืนหยัดท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ได้อย่างมั่นคง และรอดพ้นจากความเสี่ยงคลัสเตอร์โรงงานอุตสาหกรรมได้โดยตลอดรอดฝั่ง นายณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย เอกสารประกอบ
10 มิ.ย. 2564
ดีพร้อม เดินหน้าเร่งด่วนเยียวยาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ดีเดย์จัดกิจกรรมออนไลน์ 5 วัน ช่วยเหลือรายย่อย อาทิ ขายสินค้า ปรึกษาการเงิน ฯลฯ
ดีพร้อม เดินหน้าเร่งด่วนเยียวยาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ดีเดย์จัดกิจกรรมออนไลน์ 5 วัน ช่วยเหลือรายย่อย อาทิ ขายสินค้า ปรึกษาการเงิน ฯลฯ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กระทรวงอุตสาหกรรม ขานรับนโยบาลรัฐ ชูนโยบายเร่งด่วน ฟื้นฟูวิสาหกิจชุมชนหลังพิษโควิด-19 จัดกิจกรรมช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน อาทิ การจัดงานมหกรรมแสดงสินค้าออนไลน์ หรือ Virtual Event เชื่อมโยงผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนสู่พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กว่า 140 ร้านค้า พร้อมทั้งพบกับกิจกรรมให้คำปรึกษาการเงิน เงินทุนหมุนเวียน และงานสัมมนาโดยวิทยากรชื่อดังระดับประเทศ ด้าน e-Commerce ระหว่างวันที่ 11 – 15 มิถุนายน 2564 ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้อย่างต่อเนื่องทุกที่ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนในวงกว้าง และเพื่อเป็นการขานรับนโยบายรัฐในการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งจากเศรษฐกิจฐานรากสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ดีพร้อมจึงมีโยบายเร่งด่วน เพื่อเยียวยาผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนในสถานการณ์เร่งด่วน ซึ่งมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับชุมชนในการนำความรู้และทรัพยากรในพื้นที่มาผลิตเป็นสินค้าและบริการ เพื่อเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจฐานรากให้สามารถกระจายรายได้สู่ชุมชน สนับสนุนสินค้าชุมชน และยกระดับวิสาหกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง พัฒนาและขยายช่องทางการตลาด เชื่อมโยงกับระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ ผ่านกิจกรรมพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ภายใต้ โครงการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถวิสาหกิจชุมชนคลื่นลูกใหม่ เพื่อการแข่งขันในตลาด New Normal ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรมเชื่อมโยงธุรกิจ กิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำ และกิจกรรมทดสอบตลาด โดยจะมุ่งเน้นการอบรมให้ความรู้ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การนำแผนงานไปทดลองและปรับปรุงสินค้ารวมถึงการนำสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ปรับปรุงแล้วได้มาตรฐานมีคุณภาพไปทดสอบตลาดทั้งในออนไลน์และออฟไลน์ ตลอดจนการนำผลการทดสอบตลาดนั้นมาทำแผนธุรกิจอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ดีพร้อมยังให้การส่งเสริมและสนับสนุนพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้มีความสามารถในการบริหารธุรกิจสมัยใหม่การสร้างสรรค์นวัตกรรมทั้งในกระบวนการผลิต การนำเสนอสินค้า การบริการและการตลาด เพื่อสร้างผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนคลื่นลูกใหม่ให้มีองค์ความรู้สามารถวิเคราะห์ธุรกิจตนเอง สามารถแก้ไขปัญหาธุรกิจของตนเองได้เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมของตนเองในสถานการณ์ปัจจุบันได้ ขณะเดียวกัน ดีพร้อม ได้เร่งดำเนินโส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในการขยายช่องทางการตลาดและสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มมากขึ้น โดยการจัดกิจกรรมทดสอบตลาด Market Survey ซึ่งในยุค New Normal ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การตลาดแบบออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทและมีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างมาก ดีพร้อมจึงเร่งผลักดันและพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการเหล่านี้ให้มีขีดความสมารถในการเข้าสู่ตลาดออนไลน์ อันจะทำให้ผู้ประกอบการเกิดทักษะประสบการณ์และสามารถเชื่อมโยงเพื่อการแข่งขันในระดับสากลได้อย่างแท้จริง โดยความน่าสนใจของกิจกรรมทดสอบตลาด Market Survey ในครั้งนี้เป็นการจัดงานในรูปแบบ Virtual Event ซึ่งเป็นอีกหนึ่งงานมหกรรมแสดงสินค้าในรูปแบบโลกเสมือนจริงในระบบออนไลน์ที่ดีพร้อมจัดขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในยุคนี้มาใช้ในการจัดกิจกรรม เพื่อช่วยเพิ่มช่องทางการตลาดให้ผู้ประกอบการในสถานการณ์เช่นนี้ ซึ่งภายในงานได้รวบรวมสินค้าดีมีคุณภาพจากผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนทั่วประเทศกว่า 140 ราย อาทิ เสื้อผ้า และเครื่องแต่งกาย ของใช้ ของตกแต่งบ้าน ของที่ระลึก สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร อาหารและเครื่องดื่ม ถือว่าครบจบในงานเดียว นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการจัดสัมมนาโดยมีวิทยากรชื่อดังระดับประเทศ ทางด้าน e-Commerce เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเข้าร่วมอบรมได้ฟรี อาทิ การทดสอบตลาด Market Survey การพื้นฐานการสำรวจและการทำตลาดด้วย Facebook การทำตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง (DIY e-Commerce) การดีลกับโรงงานเพื่อสร้างสินค้านวัตกรรม อัปเดตหลังโควิด ภูมิศาสตร์ e-Commerce ของประเทศไทยและพื้นฐานของการขายออนไลน์ ทั้งนี้ งานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 - 15 มิถุนายน 2564 รวมระยะเวลา 5 วัน โดยผู้ร่วมงานสามารถเข้าร่วมงานได้อย่างต่อเนื่องทุกที่ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง และคาดว่าจะมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานครั้งนี้เป็นจำนวนมากตลอดระยะเวลาของการจัดงาน เอกสารแนบ
04 มิ.ย. 2564
ขอเชิญผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อของหน่วยงานรัฐ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment 2021 : ITA) แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) ขอเชิญผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อของหน่วยงานรัฐ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
13 พ.ค. 2564
ขอเชิญชมนิทรรศการเสมือนจริง ภายในงาน THAIFEX – Virtual Trade Show
กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมกิจกรรมในงาน THAIFEX – Virtual Trade Show 2021 ระหว่างวันที่ 25 - 29 พฤษภาคม 2564 พร้อมแล้ว เตรียมพบกับ ประสบการณ์ใหม่ที่จะยกงานแสดงสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม มาไว้บนโลกออนไลน์ เสมือนจริงแบบ Virtual Driving the next normal ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม "สู่วิถีใหม่" พิธีเปิดวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 เวลา 13.00 น. โดยท่านอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในงานท่านจะได้พบกับการแสดงสินค้า และ Live Webinar พบกับกูรูที่มากด้วยประสบการณ์ที่จะมาแบ่งปันเรื่องราวและความสำเร็จในหัวข้อ การตลาดแบบ Next Normal (Digital Marketing / Social Media / Power of Branding) การเสวนา Driving That’s Products to Next Normal แบ่งเป็น 2 รอบต่อวัน ช่วงเวลา 10.30 - 12.00 น. และเวลา 15.00 -16.30 น. พลาดไม่ได้กับกิจกรรมร่วมสนุก โดยการตอบแบบสอบถาม เพื่อลุ้นของรางวัลมากมาย ขอเชิญท่านติดตามและเข้าเยี่ยมชมได้ ตามลิงค์ www.dipromvirtual.com
12 พ.ค. 2564