หมวดหมู่
แป้งมันเม่งเส็ง
ส่งไม้ต่อทายาทรุ่น 2 สร้างแต้มต่อให้ธุรกิจ เทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวหน้าได้เข้ามามีบทบาท สำคัญขึ้นเรื่อยๆ ต่อแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีการนำมาปรับใช้เพื่อสร้างแต้มต่อและเพิ่มความสามารถในการแข้งขันให้กับธุรกิจกันมากขึ้นไม่เว้นแม้แต่โรงงานแป้งมันเม่งเส็งที่มี,ทายาทรุ่นที่ 2 คุณปนัฏฐา สัตถากุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท แป้งมันเม่งเส็ง จำกัด เข้ามาต่อยอดและขยายธุรกิจให้เติบโตขึ้น จากลานมันที่รับซื้อหัวมันสดจากเกษตรกรโดยตรงได้ปรันตัวเข้ามาสู่ธุรกิจโรงงานแปรรูปเป็นแป้งมันสำปะหลังเมื่อ 10 ปีก่อน (2555) ที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยมีกลุ่มลูกค้าหลักคือโรงงานผลิตกระดาษเน้นส่งออกถึง 80 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อ 5 ปีก่อน คุณปนัฏฐาได้เข้าไปช่วยธุรกิจเริ่มที่การขยายฐานลูกค้าให้หลากหลายขึ้น ตลอดจนการพัฒนาเว็บไซต์ และโซเชียสมีเดียต่างๆ เพื่อให้เป็นช่องทางสำหรับลูกค้าติดต่อเข้ามายังบริษัทได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโรงงานแปรรูปแป้งมันด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในด้านต่างๆอย่างต่อเนื่อง โดยเธอเล่าว่าได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) รวมถึงครั้งล่าสุด คือ กิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำการเพิ่มผลิตภาพโดยใช้เทคโนโลยีติจิทัลและเชื่อมโยง เครือข่ายอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายคสัสเตอร์เกษตรอุตสาหกรรม ปีงบประมาณ 2564 ซึ่งได้นำหลายๆ เรื่องมาใช้ ประโยชน์ เช่น การลดของเสียและการเพิ่มอัตราการผลิต การจัดการ Dead Stock การใช้บาร์โค้ดเข้ามาช่วยควบคุม จำนวนสต็อกสินค้าทั้งที่เป็นสินค้าแป้งมันและอะไหล่เครื่องจักร นำเครื่องมือดิจิทัลเข้ามาช่วยให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถรู้ว่าสต็อกส่วนไหนใกล้หมดก็จะสามารถสั่งมาล่วงหน้าและสั่งให้พอดีกับ การใช้งานได้ "การอบรมแต่ละครั้งถือว่าได้รับประโยชน์มาก เพราะจะมีการประชุมกันก่อนทุกครั้งว่าทางคลัสเตอร์ต้องการให้จัดในหัวข้ออะไรจึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง สำหรับโรงงานแป้งมันของเมงเส็งเอง ตอนนี้ มองว่าหลายๆอย่างเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้นและยังสามารถ พัฒนาจากจุดนี้ไปได้อีกมาก เช่น ตอนนี้นำระบบ คอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุมการผลิต การจัดการสต็อกสินค้าซึ่งผลจากการเข้าร่วมโครงการช่วยให้บริษัทลดต้นทุนสต็อกลง 59.58 เปอร์เซ็นต์ หรือสามารถลดต้นทุนได้เป็นเงิน 1,843,118 บาท และเป้าหมายต่อไปก็คือการทำเป็นระบบออโตเมชัน ล่าสุดทางกลุ่มคลัสเตอร์ยังคุยกันถึงเรื่อง ERP (Enterprise Resource Planning) ซึ่งกำลังดูอยู่ว่าจะใช้ระบบใดที่จะท่าให้ Lost น้อยที่สุดและการทำงานต้องไม่ซับซ้อนเป็นต้น" คุณปนฎฐา สัตถาฤล บริษัท แชงมันเบ่งเส็ง จำกัด 99 หมู่ที่ 20 ถ.ด่านขุนทด-ชัยบาดาล ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา 30210 โทรศัพท์ 08 7963 1939 http://www.mengseng.co.th/ ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
17 มี.ค. 2565
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมพิธีเปิดโรงงานพ่นสีแห่งใหม่ของบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
จ.ชลบุรี 16 มีนาคม 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมพิธีเปิดตัวโรงงานพ่นสีแห่งใหม่ของบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ณ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีฯ พร้อมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งญี่ปุ่น ประจำราชอาณาจักรไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน โดยมี นายทาคาโอะ คาโตะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น พร้อมคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ ณ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง โดยโรงงานพ่นสีแห่งใหม่นี้ ใช้เทคโนโลยีการพ่นสีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงในกระบวนการพ่นสีเฉพาะจุดที่มีความยากและซับซ้อน เช่น ระบบซีลตัวถังอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และปืนพ่นสีนำประจุไฟฟ้า รวมถึงช่วยลดมลพิษ ลดของเสียให้น้อยที่สุด ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการร่วมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานหมุนเวียน ตลอดจนลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ถือเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายระดับชาติของรัฐบาลไทย ในอุตสาหกรรมสีเขียวและใช้พลังงานสะอาด กระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมให้การสนับสนุนและส่งเสริมภาคเอกชนในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มุ่งลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมไทยก้าวเข้าสู่การเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทั้งนี้ โรงงานพ่นสีแห่งใหม่นี้ใช้งบประมาณการก่อสร้างกว่า 3 พันล้านบาท โดยโรงงานดังกล่าวได้ใช้แผงโซลาร์เซลล์ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานทางเลือก ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ 2 เมกะวัตต์ ซึ่งหากรวมที่ติดตั้งไปแล้วก่อนหน้าก็จะสามารถช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงปีละ 6,100 ตันต่อปี ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
17 มี.ค. 2565
DIPROM รับมอบถุงดีพร้อม ช่วยธุรกิจ ชุบชีวิตชุมชน
กรุงเทพฯ 16 มีนาคม 2565 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้รับมอบถุงดีพร้อม ช่วยธุรกิจ ชุบชีวิตชุมชน จาก นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 หรือ ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 3 (DIPROM CENTER 3) จำนวน 2,400 ชุด ซึ่งดีพร้อมได้ส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนให้ได้รับการสนับสนุนเทคโนโลยีการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต พร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ในแต่ละภูมิภาคให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ตลาดออนไลน์ ซึ่งมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาด อันเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาได้ผ่านการส่งเสริมการตลาดในรูปแบบ DIPROM SET ที่มีการกระจายสู่การทดสอบตลาดทั่วทุกภูมิภาค โดยมี QR Code แบบสำรวจความคิดเห็นของผู้ได้รับผลิตภัณฑ์ เป็นการทดลองตลาดเพื่อนำความคิดเห็นไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสำหรับผู้ที่ทดลองผลิตภัณฑ์แล้ว มีความต้องการซื้อ หรือ สั่งผลิตภัณฑ์ที่ได้ทดลองในถุงดีพร้อม ก็สามารถสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ และผ่านช่องทาง DIPROM MARKETPLACE และระบบ QR Code นี้ได้ต่อไป
17 มี.ค. 2565
“รสอ.ณัฏฐิญา” ร่วมประชุมหารือแผนการดำเนินงานโครงการสนับสนุนให้ SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
กรุงเทพฯ 16 มีนาคม 2565 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมครั้งที่ 4/2565 ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting โดยในที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาแผนการดำเนินงานโครงการสนับสนุนให้ SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมบัญชีกลาง) ในสองประเด็น คือ 1 ขออนุมัติขยายระยะเวลาการดำเนินงาน จากสิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2565 เป็น วันที่ 30 กันยายน 2565 เพื่อให้มีเวลาเพียงพอต่อการดำเนินปรับปรุงระบบ e-GP ในการรองรับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการดำเนินงาน ทั้งในส่วนของการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบของ สสว. (Thai SME-GP) และการปรับปรุงระบบ e-GP ของกรมบัญชีกลาง และ 2 การปรับแผนกันเงินไว้จ่ายเหลื่อมปี ตามระเบียบคณะกรรมการบริหารฯ ว่าด้วยการรับและเบิกจ่ายเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2544 ข้อ 28 เพื่อดำเนินงานโครงการจนสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ พร้อมกันนี้ยังได้ร่วมพิจารณามาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในโครงการด้านการเงินของ สสว. ภายใต้ระเบียบคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมว่าด้วยการประนอมหนี้และการจำหน่ายหนี้สูญ พ.ศ. 2564 โดยมีการศึกษาเทียบเคียงกับมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นกรอบในการทบทวนมาตรการช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งนี้ ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการบริหารจัดการโครงการสนับสนุนด้านการเงินของ สสว. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
17 มี.ค. 2565
DIPROM Japan Desk ผนึกกำลัง SMRJ และหน่วยงานภาคีเครือข่ายจัดงานสัมมนา New OTAGAI Forum ครั้งที่ ๒๑ สร้างโอกาสเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมไทย – ญี่ปุ่น
เมื่อวันพุธที่ 9 มีนาคม 2565 เวลา 13.30 - 16.30 น. โต๊ะญี่ปุ่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Japan Desk) ร่วมกับองค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และนวัตกรรมภูมิภาค (SMRJ) ตลอดจนหน่วยงานภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชนของไทยและญี่ปุ่น จัดงานสัมมนา New OTAGAI Forum ครั้งที่ ๒๑ ขึ้นในรูปแบบไฮบริด (Hybrid) ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค (BITEC) ภายใต้งาน METALEX March โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่าง SMEs ไทยและญี่ปุ่นในด้านอุตสาหกรรม BCG (Bio-Circular-Green) และอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพเป็นหลัก มีผู้สนใจเข้าร่วมงานทั้งสิ้นกว่า 150 คน ซึ่งมีทั้งผู้แทนหน่วยงานไทยและญี่ปุ่น ตลอดจนผู้ประกอบการจากทั้งสองประเทศ งานสัมมนาดังกล่าวได้รับเกียรติจากผู้แทนสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย (Thai Subcon) นำเสนอภาพรวมของความต้องการทางธุรกิจ (Business Needs) ของผู้ประกอบการไทยที่มีต่อภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่น อีกทั้งยังได้รับเกียรติจากผู้ประกอบการไทยที่ได้ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ได้แก่ บริษัท เอส.พี. เมทัล พาร์ท จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ได้ริเริ่มการผลิตเตียงสำหรับผู้ป่วย และ บริษัท แม่น้ำ เมคคานิกา จำกัด ผู้ผลิตคลังสินค้าอัจฉริยะ (Smart Warehouse) และอื่น ๆ ที่ใช้ AI และ IoT รวมทั้งผลิตชุดป้องกัน PAPRs เพื่อบุคลากรทางการแพทย์ โดยผู้ประกอบการไทยทั้งสองรายคาดหวังถึงโอกาสในการร่วมทุน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีจากภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากผู้ประกอบการญี่ปุ่นร่วมนำเสนอ Business Needs ประกอบด้วย บริษัท Shizen International จำกัด ผู้ผลิตและให้บริการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) อย่างครบวงจร บริษัท Hirose Products จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไม้ และไม้ไผ่ บริษัท Kanto Electronics จำกัด ผู้ผลิตเครื่องมืออัตโนมัติ เช่น Part Feeder ที่สามารถจัดเรียงและป้อนชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กมากได้อย่างแม่นยำ และบริษัท GPC Laboratory จำกัด Startup ที่มีจุดแข็งในการสร้างเซลล์ชนิดต่าง ๆ ที่ใช้วัดประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเวชภัณฑ์ ซึ่งผู้ประกอบการทั้ง 4 รายล้วนมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม BCG และมีเทคโนโลยีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยต่างมุ่งหวังที่จะสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการไทย รวมทั้งสนับสนุนในเชิงเทคโนโลยีเพื่อร่วมกันยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทย ภายใต้เทคโนโลยีที่หลากหลายจากผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการทุกรายมุ่งหวังร่วมกันคือความต้องการที่จะเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมไทยและญี่ปุ่นเพื่อประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย (Win-Win) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด OTAGAI ที่มีความหมายว่าช่วยเหลือซึ่งกันและกันอีกด้วย ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ไดสึเกะ มัทสึชิมะ ผู้มีบทบาทสำคัญในการริเริ่มการดำเนินงานภายใต้แนวคิด OTAGAI บรรยายพิเศษเพื่อนำเสนอแนวทางการฟื้นตัวให้แก่ธุรกิจ รวมทั้งการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ๆ ในสภาวะปัจจุบัน รวมทั้ง คุณเท็ตสึยะ อิโนะอุเอะ ผู้แทน SMRJ ประจำโต๊ะญี่ปุ่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Japan Desk) ได้ใช้โอกาสนี้แนะนำระบบฐานข้อมูล T-GoodTech และ J-GoodTech หนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง DIPROM และ SMRJ ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
16 มี.ค. 2565
ดีพร้อม เดินหน้ายกระดับ CIV DIPROM มุ่งกระจายรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ
จ.นนทบุรี 10 กุมภาพันธ์ 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวต้อนรับคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา นำโดย ดร.สมชาย หาญหิรัญ รองประธานคณะกรรมาธิการ พร้อมคณะฯ เนื่องในโอกาสศึกษาดูงานหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village DIPROM : CIV DIPROM) ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม (DIPROM) คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้นำชุมชนและสมาชิกชุมชนบ้านปลายบาง ณ บันดาลสุขสมาร์ทฟาร์ม ศูนย์เรียนรู้เกษตรแม่นยำ อำเภอบางใหญ่ ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom Meeting ชุมชนคนปลายบาง เป็นชุมชนเก่าแก่ อยู่ริมคลองมหาสวัสดิ์ในจังหวัดนนทบุรี มีวิถีการดำเนินชีวิตดั้งเดิมที่เรียบง่ายและเต็มไปด้วยเรื่องราววัฒนธรรม การท่องเที่ยวชุมชนจึงเป็นไปในแนวทางเชิงนิเวศและวัฒนธรรม มีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจมากมาย อาทิ วัดศรีบุญเรือง สวนเกษตรลัดดาวัลย์ เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงเกษตรอินทรีย์ของชุมชน สวนสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติ บ้านโบราน 100 ปี และ ศาลเจ้าแม่ทับทิม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวชุนชนปลายบาง โดยทางชุมชนได้เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village DIPROM : CIV DIPROM) กับดีพร้อม ตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน เพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมทักษะรอบด้านให้กับชุมชน ได้แก่ 1. สร้างศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 2. อุตสาหกรรมระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และ 3. พัฒนาด้านมาตรฐาน โดยการจัดทำแผนธุรกิจเพิ่มศักยภาพการประกอบธุรกิจในยุค Next Normal นอกจากนี้ ชุมชนยังได้เข้าร่วมกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการชุมชนสู่การพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดเครือข่ายในการพัฒนาธุรกิจ พร้อมทั้งการสร้างจุดแข็งในทุกมิติให้กับชุมชนจนเกิดเป็นผลสำเร็จ และต่อยอดยกระดับชุมชนผ่านหลายกิจกรรม อาทิ โครงการ CIV 5 ดาว การพัฒนานักส่งเสริมการตลาดออนไลน์ (Marketeer/ Influencer) การพัฒนาชุมชนที่ต่อยอดจาก CIV Concept ขณะเดียวในปีงบประมาณ 2565 ดีพร้อม ยังดำเนินโครงการยกระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายที่จะสร้าง DIPROM HERO ผ่านแนวทางการดำเนินงานในการมุ่งเน้นพัฒนาผู้นำชุมชนให้เป็นผู้นำหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ CIV Leader ผ่านกระบวนการติวเข้มหลักสูตรการสร้างนักบริหารจัดการธุรกิจเพื่อสังคม หลักสูตรผู้นำ การพัฒนาชุมชน และหลักสูตรการนำเสนอ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการรับรู้และตระหนักในการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนต่อชุมชน นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังได้เชื่อมโยงเครือข่ายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และต่อยอดธุรกิจ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมชุมชนในทุกระดับการพัฒนา ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายนำร่องการพัฒนา 20 ชุมชน เพื่อเสริมความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากในอนาค ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
11 มี.ค. 2565
ดีพร้อม ติดอาวุธ SMEs ไทย พร้อมเสริมแกร่งกว่า 30 ซอฟต์แวร์ ใช้ฟรี 6 เดือน
กรุงเทพฯ 9 มีนาคม 2565 - นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานสัมมนาออนไลน์เสริมแกร่ง SMEs ด้วย Software ในระบบ i-Industry ร่วมด้วย ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 400 ราย โดยมี นายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กล่าวรายงาน ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom Meeting การสัมมนาดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้เอสเอ็มอีและผู้ที่มีความสนใจในซอฟต์แวร์ที่มีให้บริการทดลองใช้ในระบบ i-Industry มีการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้ซอฟต์แวร์ของไทยมากขึ้น ตลอดจนสร้างความสำคัญในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาบริหารจัดการธุรกิจ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย (Software House) ร่วมดำเนินการให้บริการด้านซอฟต์แวร์แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อาทิ การบริหารบัญชี การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารการผลิต การบริหารการขาย การบริหารสินค้าคงคลัง ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ผลิตโดยคนไทย นอกจากนี้ ยังเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างเอสเอ็มอีผู้ใช้งาน (Demand) กับผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไทย (Supply) อันจะส่งผลให้เกิดการเติบโตของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยและลดการนำเข้าซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ เพื่อเป็นการยกระดับการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอีให้เข็มแข็งและสามารถแข่งขันในเวทีโลกต่อไปได้ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศได้ทดลองใช้ซอฟต์แวร์ฟรีเป็นระยะเวลา 6 เดือน รวมกว่า 30 ซอฟต์แวร์ ซึ่งคาดว่าผู้ประกอบการจะนำองค์ความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลไปประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการธุรกิจและสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ในปี 2565 ดีพร้อมได้มีการปรับเปลี่ยนการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการให้ตอบโจทย์ความต้องการในทุกมิติและสอดรับกับบริบททั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้ นโยบาย “DIProm CARE: ดีพร้อม แคร์” ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาที่มีผลต่อการเติบโตทางธุรกิจ เพื่อทำให้ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริง (Customization) รวมทั้งมุ่งเน้นในการสรรหาเครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับระดับของสถานประกอบการเพื่อให้ตรงกับปัญหาที่เป็นไปตามบริบทที่แท้จริง อีกทั้ง ยังมีการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชน (Engagement) ที่มีความโดดเด่นในแต่ละด้านมาช่วยพัฒนาและสนับสนุนภาคธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีความเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป ### PR@DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
09 มี.ค. 2565
ขอเชิญเข้าร่วมการสัมมนา เรื่อง "เจาะลึกบัญชีและภาษีสำหรับธุรกิจออนไลน์"
การสัมมนา เรื่อง "เจาะลึกบัญชีและภาษีสำหรับธุรกิจออนไลน์" หัวข้อ เข้าใจบัญชีและภาษีสำหรับธุรกิจออนไลน์ รับมือกับภาษี การยื่นแบบฯ ภาษี และการเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย สร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจในระยะยาว พบกับ อ.อัสมา แวฑโน๊ะ เจ้าของเพจบัญชีอย่างง่ายเพื่อเจ้าของกิจการ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 9 มีนาคม 2565 กำหนดการจัดสัมมนาในวันพุธที่ 9 มีนาคม 2565 เวลา 13.30 - 16.30 น. ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM และ Facebook Live สามารถลงทะเบียนกิจกรรมได้ที่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นางสาวอรวราค์ จันทร์เกษม (อ้อม) เบอร์ติดต่อ 02 430 6877 ต่อ 4
07 มี.ค. 2565
คิดเห็นแชร์ : ดีพร้อมฮีโร่ (DIPROM Heroes) ธุรกิจอุตสาหกรรมยุคใหม่ พร้อมใส่ใจสังคมไทยอย่างยั่งยืน
คอลัมน์ : คิดเห็นแชร์ (มติชนออนไลน์) ผู้เขียน : นายณัฐพล รังสิตพล (อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) สวัสดีแฟนๆ คิด เห็น แชร์ ทุกท่านครับ หากเราลองมองภาพกลับไปในอดีต “ชุมชน” กับ “โรงงานอุตสาหกรรม” ถือเป็นสถานที่ที่ไม่น่าเกี่ยวข้องกัน เพราะมักตั้งอยู่ห่างไกลกัน อย่างไรก็ตาม วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในสังคมได้เปลี่ยนไปตามบริบทของยุคสมัย จากเดิม รายได้หลักในการดำรงชีพมาจากภาคเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันภาคการผลิตและอุตสาหกรรมได้กลายเป็นแหล่งรายได้สำคัญทั้งของประชาชนและของประเทศไทย จึงอาจกล่าวได้ว่า ภาคอุตสาหกรรมทำให้เกิดความเจริญ กระตุ้นการจ้างงาน และสร้างรายได้ในพื้นที่ ส่งผลให้การขยายตัวของชุมชนไปอยู่ใกล้กับแหล่งอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม คนในชุมชนก็อาจยังมีความรู้สึกไม่มั่นใจและกังวลใจที่จะอยู่ร่วมกับแหล่งอุตสาหกรรม เนื่องจากมีภาพจำว่าแหล่งอุตสาหกรรม มักเป็นสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทำให้เกิดมลภาวะต่างๆ ดังนั้น การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศ (Ecosystem) ของการอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุลและยั่งยืน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ภาครัฐและภาคเอกชนไทยต้องร่วมมือกันผลักดันให้เกิดขึ้น เราทราบกันดีว่าจุดประสงค์ของการประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม คือ การสร้างรายได้สูงสุดจากการใช้ทรัพยากรและต้นทุนที่ต่ำสุด เพื่อให้สามารถหล่อเลี้ยงกิจการและพนักงานในองค์กร ตลอดจนแบ่งปันผลกำไรให้กับนักลงทุนได้ และเมื่อกล่าวถึงคำว่า “ต้นทุน” ก็อาจแบ่งออกได้เป็นต้นทุนทางตรง เช่น วัตถุดิบในการผลิตสินค้า/บริการ และต้นทุนทางอ้อม ที่รวมถึงการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและการตอบแทนสังคม ซึ่งมักจะจัดขึ้นในรูปแบบการทำกิจกรรมเพื่อสังคมด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กร หรือที่รู้จักกันว่า “กิจกรรม CSR” (Corporate Social Responsibility) ที่พบเห็นได้จากองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพและความพร้อมทั้งงบประมาณและทีมงานที่มีประสบการณ์ ในขณะเดียวกันก็ยังมีองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่อีกมากมายในประเทศ ที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจของตนเอง เป็นองค์กรที่มีรายได้ มีกำไร และมีส่วนช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี แต่อาจยังไม่มีประสบการณ์และทีมงานในการส่งเสริมความยั่งยืนให้กับชุมชน เมื่อเทียบกับผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมที่มีความใกล้ชิดกับชุมชนในพื้นที่อยู่แล้ว ดังนั้น ภาพที่เราเห็นกันอย่างคุ้นชิน จึงเป็นภาพของกิจกรรมเพื่อตอบแทนสังคมและช่วยเหลือชุมชนโดยรอบ ด้วยการบริจาคสิ่งของ ปรับปรุงสิ่งก่อสร้างหรือสถานที่สาธารณะ เช่น วัด โรงเรียน หรือมูลนิธิ เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น อย่างไรก็ดี หากเราสามารถระดมสรรพกำลังจากองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่กลุ่มนี้ เพื่อให้เขาเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้วยการสนับสนุนงบประมาณหรือนำองค์ความรู้ความเชี่ยวชาญในธุรกิจของตนเอง มาช่วยพัฒนาและสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม ซึ่งมีความใกล้ชิด เข้าใจ เข้าถึง ทราบความคาดหวังและความต้องการที่แท้จริงของชุมชนในพื้นที่เป็นอย่างดี เพื่อให้เขาเหล่านี้ช่วยเป็นตัวกลางส่งต่อความช่วยเหลือจากธุรกิจขนาดใหญ่ที่อยู่ต้นน้ำ ให้ไหลลงมาสู่ชุมชนในพื้นที่ต่างๆ ที่อยู่ปลายน้ำได้อย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ปัจจุบัน กระแสของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ก่อให้เกิดวิสาหกิจเริ่มต้นหรือสตาร์ตอัพใหม่ ๆ ที่มีนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน รวมถึงผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมจำนวนมากขึ้น ซึ่งกลุ่มคนตัวเล็กเหล่านี้มีพลังใจ พลังกาย มีไอเดียและนวัตกรรมที่สามารถนำมาต่อยอดช่วยเหลือชุมชน พัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อมได้ อย่างไรก็ดี หากมองในเรื่องของความคุ้มค่าในการลงทุนเพียงอย่างเดียว ก็อาจมองว่ามีผลตอบแทนไม่มาก ทำให้ไม่เป็นที่สนใจของนักลงทุนหรือสถาบันการเงินในการให้สินเชื่อ ส่งผลให้นวัตกรรมเหล่านี้ต้องเจอกับทางตัน แต่ในทางกลับกัน กลุ่มธุรกิจด้านเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Technology) กลับเนื้อหอมและเติบโตอย่างก้าวกระโดด ราวกับว่าการเป็นธุรกิจเพื่อสังคมนั้น ต้องแบกรับภาระมาก จนอาจเรียกได้ว่าเป็น “ฮีโร่กินแกลบ” กันเลยทีเดียว ดีพร้อม (DIPROM) หรือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งต้องการเน้นความสำคัญของการอยู่ร่วมกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมและชุมชนอย่างยั่งยืน จึงได้จัดทำโครงการรูปแบบใหม่ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เรียกว่า “โครงการสร้างเครือข่ายผู้นำพันธุ์ดีพร้อม (DIPROM Heroes)” เพื่อให้การสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมที่มีพลังใจ พลังกาย พร้อมเป็นฮีโร่ช่วยเหลือชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยดีพร้อมจะช่วยส่งเสริมและพัฒนาฮีโร่เหล่านี้ ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแรง มีผลประกอบการที่ดี ควบคู่ไปกับการประสานประโยชน์เครือข่ายโซ่อุปทานและชุมชนโดยรอบ ผ่านกลไกการบ่มเพาะในการสร้างกรอบความคิดของการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur Mindset) ให้มีแนวคิดที่ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ จากนั้นดีพร้อมจะช่วยฮีโร่จับคู่ธุรกิจ (business matching) กับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีใจและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล พร้อมมาช่วยเติมเต็มให้กิจกรรมของผู้ประกอบการฮีโร่ดำเนินไปได้อย่างสมบูรณ์ ผ่านการให้การสนับสนุนเงินทุนหรือองค์ความรู้ ซึ่งองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่เอง ก็จะได้ประโยชน์จากการสนับสนุนกิจกรรมเหล่านี้ ด้วยสิทธิลดหย่อนภาษี การสร้างความสัมพันธ์และภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรด้วยเช่นกัน สุดท้ายนี้ ผมเชื่อมั่นว่า โครงการสร้างเครือข่ายผู้นำพันธุ์ดีพร้อม (DIPROM Heroes) ซึ่งเป็นโครงการแนวคิดใหม่ จะเป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะช่วยสร้างระบบนิเวศของการอยู่ร่วมกันของธุรกิจอุตสาหกรรมและชุมชนได้อย่างไร้รอยต่อ ซึ่งดีพร้อมจะเป็นสื่อกลางเชื่อมโยงเหล่าฮีโร่ที่มีใจและองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีพลังในการสนับสนุน ให้ทั้งสองได้มาเจอกัน เพื่อผนึกกำลังร่วมกันพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนกับโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุก และช่วยกันขับเคลื่อนประเทศให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนครับ ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/eco-report/news_3217745
06 มี.ค. 2565
โอกาสสำหรับนักธุรกิจ SMEs ที่กำลังมองหาแผนการตลาดออนไลน์พร้อมอัปเดตเทรนด์การตลาดปี 2022
ข่าวดีขยายโอกาสสำหรับนักธุรกิจ SMEs ที่กำลังมองหาแผนการตลาดออนไลน์พร้อมอัปเดตเทรนด์การตลาดปี 2022 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มาพร้อมโครงการดี ๆ กับกิจกรรมดีพร้อมแคร์เติมเต็มค้าออนไลน์ในประเทศสู่ e-Commerce 3.0 โดยเชิญวิทยากรชั้นนำของเมืองไทย ผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Marketing มาช่วยวางแผนการตลาดออนไลน์ พร้อมรอดด้วยเครื่องมือดิจิทัลทางด้านการตลาด พร้อมโตด้านแผนการตลาดออนไลน์ เริ่ม Consult เดือนมีนาคม 2565 เป็นต้นไป รวมระยะเวลา 24 ชั่วโมงเต็ม ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 6 มีนาคม 2565 รับสมัครจำนวนจำกัดเพียง 50 คน เท่านั้น คุณสมบัติ เป็น SMEs ที่เริ่มขายออนไลน์ มีเลขทะเบียนนิติบุคคล/เลขทะเบียนการค้า/วิสาหกิจชุมชน/OTOP ธุรกิจอยู่ในพื้นที่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบฯ กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และสระบุรี สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดระยะเวลากิจกรรม สามารถลงทะเบียนกิจกรรมได้ที่ กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ติดต่อ 0 2430 6871 ต่อ 3
04 มี.ค. 2565