หมวดหมู่
ธนาคาร ADB เข้าพบ “พิมพ์ภัทรา” หารือความร่วมมือสนับสนุนเอสเอ็มอี ปรับตัวรับกติกาใหม่โลก พร้อมสนับสนุนเพื่อพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
กรุงเทพฯ 25 มิถุนายน 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับ นายสก็อตต์ มอร์ริส รองประธานฝ่ายกำกับดูแลกิจการในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) พร้อมคณะ เข้าพบ เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างธนาคาร ADB กับประเทศไทย รวมทั้งการสนับสนุนเพื่อพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยมี นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายจงรักษ์ โรจน์พลาเสถียร ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม ณ ห้องประชุม อก.1 สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา กล่าวว่า ในสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปเอสเอ็มอีจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้ทันกติกาใหม่ของโลก เราตระหนักดีว่าผู้ประกอบการจะประกอบกิจการได้ต้องมีความรู้และเงินทุน ซึ่งถือเป็นความโชคดีที่เรามี SME D BANK กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กรมโรงงาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ฯลฯ ที่ช่วยกันสร้างและสนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้มแข็งมีผลิตภาพสีเขียว (Green Productivity) ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะความรู้เรื่อง คาร์บอนเครดิต คาร์บอนฟุตปรินท์ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการปรับตัวและประกอบอาชีพใหม่ภายใต้กติกาใหม่ได้ “นี่คือความตั้งใจของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องการ สร้างโลกใบนี้ให้สวยงาม ส่งต่ออากาศบริสุทธิ์สะอาดและนวัตกรรมสีเขียวให้กับรุ่นลูก รุ่นหลานของเราต่อไป ซึ่งหากมีอะไรที่จะแนะนำกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานต่าง ๆ ก็พร้อมรับฟัง และนำไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไป” นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าว โดยผู้บริหารของธนาคาร ADB ได้กล่าวถึงความร่วมมือที่ดำเนินการร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม ว่า ธนาคาร ADB ได้ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่ SME D Bank เพื่อพัฒนากรอบการเงินที่ยั่งยืนในปี 2564 และ 2565 และพัฒนากระบวนการระดมทุนทั้งในรูปแบบพันธบัตรและผลิตภัณฑ์เงินฝาก เพื่อนำไปปล่อยสินเชื่อสำหรับสนับสนุน SME ไทย ยกระดับสู่เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Model (BioCircular-Green Economy) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเคลื่อนพัฒนาประเทศไทยยุคใหม่ ด้วย BCG Model และขณะนี้ อยู่ระหว่างหารือกับสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) ซึ่งเป็นหน่วยรับรองระบบงานต่าง ๆ ตามกติกาสากล ในประเทศไทย เพื่อให้การรับรองตราสารหนี้สีเขียว (Green Bonds) ในพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะสำหรับ SME ขณะเดียวกันก็ได้สำรวจความต้องการของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อขยายขอบเขตและปรับปรุงการดำเนินงานของกองทุนลดคาร์บอน (Decarbonization Fund) ซึ่งรวมถึงการพัฒนาตัวชี้วัดผลกระทบที่เหมาะสมซึ่ง MASCI สามารถรองรับได้ จากนี้ธนาคารเอดีบี ซึ่งจัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนการออกแบบและการดำเนินการสำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกทางการเงินสีเขียว (Green Finance) ซึ่งอาจอยู่ภายใต้กองทุนเพื่อสนับสนุน SMEs ของไทยในสาขาสำคัญ เช่น ยานพาหนะไฟฟ้าและสถานีชาร์จไฟฟ้า เกษตรกรรมและการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “เราเห็นความสำคัญของนโยบายสิ่งแวดล้อมและการปรับตัวของ SME และเราก็มีประสบการณ์ ที่ได้ถ่ายทอดและสนับสนุนเอสเอ็มอีในหลาย ๆ ประเทศ เป็นโอกาสดีที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการให้สินเชื่อผ่านทางภาครัฐ ในด้านความรู้และเทคนิค โดยเงินทุนจากจากหลายภาคส่วน และภายใน 3-6 เดือนข้างหน้าเราจะทำงานกับเอสเอ็มอี เพื่อที่จะทำเป็น Action Plan เพื่อดำเนินการต่อไป
26 มิ.ย. 2567
"รสอ.ดวงดาว" ติดตามความคืบหน้า Thailand Textiles Tag
กรุงเทพฯ 24 มิถุนายน 2567 – นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมติดตามคณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์และข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์สิ่งทอสำหรับการให้การรับรองติดฉลาก Thailand Textiles Tag ครั้งที่ 3/2567 โดยมี นายชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ นางสาวอังสนา โสมาภา ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันสิ่งทอ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารอำนวยการ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซอยตรีมิตร ถนนพระรามที่ 4 การประชุมดังกล่าว เพื่อรับฟังความก้าวหน้าของกิจกรรมปีงบประมาณ 2567 ซึ่งมีการจัดสัมมนาให้ความรู้ด้านสิ่งทอไทย จำนวน 3 ครั้ง มีผู้เข้าร่วม จำนวน 154 คน และคัดเลือกผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 กิจการจากผู้สมัคร จำนวน 53 กิจการ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการ SME ซึ่งกระจายอยู่ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล ภาคเหนือ และจังหวัดอุดรธานี กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม (DIPROM Thailand Textiles Tag) เพื่อให้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าคุณภาพตามมาตรฐาน ลดการนำเข้าสิ่งทอจากต่างประเทศ และกระตุ้นให้คนไทยใช้สินค้าไทยมากขึ้น ซึ่งบริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัลของจีนกำลังจะจัดทำ Travel Platform สำหรับการนำเที่ยวในประเทศไทยและมีเมนูที่บรรจุรายการสินค้าที่มีคุณภาพของไทยไว้ให้คนจีนที่มาเที่ยวไทยได้สืบค้น คาดว่าหาก Platform ดังกล่าวเปิดใช้งานจะสามารถสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการสิ่งทอไทยและจะทำให้มีการยื่นขอการรับรองเครื่องหมาย Thailand Textiles Tag เพิ่มเข้ามามากขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก
25 มิ.ย. 2567
"รสอ.วาที" ประชุมติดตามผลการดำเนินงานหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล
กรุงเทพฯ 24 มิถุนายน 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมติดตามผลการดำเนินงานหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล โดยมี นายเจตนิพิฐ รอดภัย ที่ปรึกษากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมในวันนี้ เป็นการติดตามผลการดำเนินงานหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล ได้แก่ กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 โดยมีการนำเสนอผลการดำเนินงานในภาพรวม ประกอบด้วย โครงสร้างอัตรากำลัง ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม และการใช้จ่ายงบประมาณ
25 มิ.ย. 2567
“อสอ.ภาสกร” ประชุมคณะทำงานจัดการแข่งขันกีฬากอล์ฟสวัสดิการ กสอ. ครั้งที่ 2/2567
กรุงเทพฯ 24 มิถุนายน 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะทำงานจัดการแข่งขันกีฬากอล์ฟสวัสดิการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2/2567 พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเจตนิพิฐ รอดภัย ที่ปรึกษากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Zoom Meeting การประชุมในครั้งนี้ ได้มีการกล่าวถึงคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานย่อย ซึ่งประกอบด้วย คณะทำงานย่อยด้านอำนวยการและด้านการประสานงานและอำนวยความสะดวกในการจัดการแข่งขันกีฬากอล์ฟสวัสดิการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสรุปผลการจำหน่ายใบสมัคร พร้อมติดตามความคืบหน้าการจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬากอล์ฟสวัสดิการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
25 มิ.ย. 2567
ขอเชิญเข้าร่วมฝึกอบรมกิจกรรมเสริมแกร่งเพื่อสร้างศักยภาพให้เชื่อมโยง Soft power
เชิญผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมฝึกอบรมกิจกรรม เสริมแกร่งเพื่อสร้างศักยภาพให้เชื่อมโยง Soft power โดยมีหลักสูตรดังนี้ การสร้างการรับรู้เชื่อมโยงตลาด ทั้งในและต่างประเทศ (Market Trend โดยใช้แนวโน้มความต้องการของตลาดนำ) เพื่อเชื่อมโยง Soft Power การบริหารจัดการธุรกิจในโลกธุรกิจปัจจุบัน การเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน การสร้างคุณค่าเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน ศึกษาดูงาน ช่วงเวลาการฝึกอบรม วันที่ 15-19 ก.ค 67 ณ โรงแรมเลยพาเลช อ.เมือง จ.เลย ผู้ที่สามารถเข้าร่วมอบรมได้ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ OTOP ผู้ประกอบการชุมชน นักออกแบบนักศึกษาชั้นปี 3-4 / ผู้ที่เพิ่งจบการศึกษา ผู้สนใจทั่วไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม นายพงษ์ศักดิ์ พูนะกูล 08 6225 3215, 09 2283 8306 นางสาวสุภัณฑา จิตต์เลขา 09 8391 0242 นางสาวบุศกร ศักดิ์ดีศรี 09 4015 9238
24 มิ.ย. 2567
SUPER FOOD – SUPER PRODUCT โอกาสพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์อาหารซุปเปอร์ฟู้ด มาถึงแล้ว
ขอเชิญผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สมัครเข้าร่วมโครงการกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากซุปเปอร์ฟู้ด (Super food – Super product) ภายใต้โครงการ : การยกระดับธุรกิจ SME ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กลุ่มเป้าหมาย สาขาเกษตรอุตสาหกรรม (อาหารและเกษตรแปรรูป) พื้นที่จังหวัดจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน สิทธิพิเศษสำรับผู้ผ่านคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการผลิตภัณฑ์อาหารจากชุปเปอร์ฟู้ด ตลอดการดำเนินงาน พัฒนาสูตร กระบวนกวนผลิต การตรวจวิเคราะห์และทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ การออกแบบและจัดทำผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) การตรวจวิเคราะห์คุณภาพ สารสำคัญ และฉลากโภชนาการ Nutrition Fact การทดสอบตลาด (Market test) สมัครได้แล้ว วันนี้ – 12 กรกฎาคม 67 รับเพียง 10 กิจการ เท่านั้น ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 08 2320 9746 (ต้อยติ่ง) 08 7304 1239 (อุ้มอิ้ม)
24 มิ.ย. 2567
เชิญผู้ที่สนใจสมัครเจ้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผลิตภาพสำหรับเกษตรแปรรูปเป้าหมาย
กิจกรรมพัฒนาผลิตภาพสำหรับเกษตรแปรรูปเป้าหมาย (แผนธุรกิจและการตลาด) ประจำปีงบประมาณ 2567 ดำเนินการโดย : กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พื้นที่ดำเนินการ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา สระบุรี และสมุทรปราการ หรืออื่น ๆ ที่ผ่านการเห็นชอบจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ระยะเวลาโครงการ มิถุนายน - กันยายน 2567 สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับ คอร์สอบรมพัฒนาองค์ความรู้การผลิต การพัฒนาแผนธุรกิจและการตลาด จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ได้รับการวินิจฉัยและวิเคราะห์ศักยภาพแผนธุรกิจของสถานประกอบการ เพื่อพัฒนาผลิตภาพด้านแผนธุรกิจและการตลาด ณ สถานประกอบการ หรือOnline จำนวน 1 ครั้งต่อกิจการ ได้รับคำปรึกษาด้านการปรับปรุงและแก้ไขปัญหา การพัฒนาการผลิต ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ เสริมศักยภาพการวางแผนกลยุทธ์แผนธุรกิจและแผนการตลาด จำนวน 3 ครั้งต่อกิจการ ณ สถานประกอบการ ได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมกิจรรมพัฒนาผลิตภาพด้านแผนธุรกิจและการตลาด กลุ่มเป้าหมาย วิสาหกิจขนาดกลางและขนากย่อม วิสาหกิจชุมชน (สาขาเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง) รับสมัครวันนี้ - 30 มิถุนายน 2567 รับสมัครผู้ประกอบการจำนวน 30 กิจการ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณยลพัชร์ ลิ่มรัตนมงคล คณะทำงานฝ่ายประสานงานโครงการ 06 2549 5461 yonlapat.lim@gmail.com
24 มิ.ย. 2567
"รสอ.วาที" ลงพื้นที่จังหวัดน่าน หารือแนวทางพัฒนาการพัฒนาโกโก้ไทย
จ.น่าน 21 มิถุนายน 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่หารือแนวทางการพัฒนาพืชเศรษฐกิจ (โกโก้) พร้อมด้วย นายกิตติโชติ ศุภกำเนิด ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ผู้แทนจากศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายมนูญ ทนะวัง ผู้ก่อตั้ง โกโก้ วัลเล่ ให้การต้อนรับ ณ โกโก้ วัลเล่ อำเภอปัว การลงพื้นที่ดังกล่าว เพื่อสอบถามปัญหาอุปสรรคและความต้องการของผู้ประกอบการในการพัฒนาอุตสาหกรรมโกโก้ในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งผู้ประกอบการได้แจ้งข้อมูลว่าปัจจุบันทั่วโลกมีความต้องการโกโก้กว่า 100,000 ตัน และตลาดของโกโก้ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้บริโภค เนื่องจากโกโก้ในแต่ละพื้นที่มีจุดเด่นแตกต่างกันไป และการได้รับรองมาตรฐานฮาลาลคือความต้องการของผู้บริโภคในขณะนี้ ดีพร้อม จึงได้หารือแนวทางการพัฒนาพืชเศรษฐกิจ (โกโก้) ตามความต้องการของผู้ประกอบการในด้านต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ได้มาตรฐานฮาลาล การนำวัสดุเหลือใช้จากการแปรรูปโกโก้มาเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น ภาชนะเซรามิกสำหรับผลิตภัณฑ์โกโก้ ตลอดจนการพัฒนาสูตรน้ำยาเคลือบเซรามิกและการออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกต้นแบบที่มีโทนสีและลักษณะคล้ายช็อกโกแลตบาร์ พร้อมเชิญชวนผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการของดีพร้อมต่อไป
24 มิ.ย. 2567
"รสอ.ดวงดาว" เปิดศูนย์ Happy Workplace Center เสริมสร้างองค์กรแห่งความสุข
จ.นครราชสีมา 21 มิถุนายน 2567 – นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดศูนย์ Happy Workplace Center ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามแนวทางมาตรฐานองค์กรแห่งความสุข (SMEs Happy and Productive Workplace: SHAP) โดยมี นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) คณะผู้บริหารในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ผู้แทนหน่วยงานเครือข่ายสนับสนุนการสร้างสุขภาวะองค์กร ผู้ประกอบการ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม โดยมี นางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 กล่าวรายงาน ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 ตำบลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน ศูนย์ Happy Workplace Center จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางการให้บริการด้านการเรียนรู้แนวทางและเทคนิคการสร้างองค์กรแห่งความสุขจากองค์กรต้นแบบ รวมถึงการฝึกอบรมให้บุคลากรภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สสส. หน่วยงานองค์กรภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ SMEs และหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายสุขภาวะองค์กร ร่วมกัน “เปิดประตูสู่องค์กรแห่งความสุข” สร้างลูกกุญแจในแบบฉบับของแต่ละองค์กรอย่างสร้างสรรค์ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ สร้างความตระหนักไปสู่องค์กรแห่งความสุข สร้างมาตรฐานในการทำงาน ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภาพ สร้างสรรค์นวัตกรรม โดยใช้ภูมิปัญญา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งมีทรัพยากรบุคคลเป็นกลไกที่สำคัญ ทำให้คนทำงานมีความสุข เกิดเป็นองค์กรสุขภาวะ ส่งผลให้องค์กรมีความก้าวหน้า เกิดการพัฒนาเติบโตอย่างยั่งยืน
24 มิ.ย. 2567
“อธิบดีภาสกร” หารือคณะผู้แทนโยโกฮามะ ผลักดันศักยภาพผู้ประกอบการสองประเทศ
กรุงเทพฯ 21 มิถุนายน 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานประชุมหารือในด้านความร่วมมือระหว่างเมืองโยโกฮามะและดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายยามานากะ ทาเคฮารุ (Mr. YAMANAKA Takeharu) นายกเทศมนตรีเมืองโยโกฮามะ คณะผู้แทนจากเมืองโยโกฮามะ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) กิจกรรมดังกล่าว เป็นการเข้าเยี่ยมและหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างดีพร้อมและเมืองโยโกฮามะ โดยเมืองโยโกฮามะนั้น ได้มีการลงนามใน MOU กับดีพร้อม เมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาและเชื่อมโยงผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมและ SMEs ให้เข้มแข็ง และยังมีความร่วมมือในด้านการแลกเปลี่ยนบุคลากร เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าวให้รุดหน้ายิ่งขึ้น ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายด้านเศรษฐกิจและสถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นนโยบายด้านการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและเอสเอ็มอี พร้อมเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green) และสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 ดีพร้อมยินดีให้ความร่วมมือกับเมืองโยโกฮามะ ในการส่งเสริมผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมของไทยและญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรม BCG และ Smart City ให้เติบโตไปสู่ตลาดโลกอย่างเข้มแข็งไปด้วยกัน
24 มิ.ย. 2567