หมวดหมู่
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา ตรวจเยี่ยมฝึกอาชีพชุมชน “ดีพร้อม” จ.นครราชสีมา มุ่งพัฒนาการกระจายโอกาส เข้าถึงบริการของภาครัฐ ต่อยอดองค์ความรู้ และสร้างงาน สร้างอาชีพ สู่ชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้
จังหวัดนครราชสีมา : 1 กรกฎาคม 2567 นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 4/2567 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 "นครชัยบุรินทร์" (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์) โดยเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพดีพร้อม จุดที่ 1 หลักสูตรการทำผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากดินเผา ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา และจุดที่ 2 หลักสูตรการแปรรูปอาหาร (การทำลูกชิ้น, การทำน้ำจิ้มลูกชิ้น) ณ หอประชุมอำเภอโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยมี นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมานายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ นายเศรษฐรัชต์ เลือดสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมนายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายพรยศ กลั่นกรอง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายกฤศ จันทร์สุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายเริงฤทธิ์ กุศลกรรมบถ รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ร่วมเปิดงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย ให้สอดรับกับความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะใช้ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างความสำเร็จอย่างสมดุลใน “4 มิติ” ทั้งด้านความสามารถในการแข่งขัน การได้รับการยอมรับจากชุมชนและสังคม การตอบโจทย์กติกาสากลด้านสิ่งแวดล้อม และการกระจายรายได้สู่ชุมชนให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ด้วยการสนับสนุน ให้ประชาชนมีอาชีพมั่นคงจากต้นทุนในชุมชน ทั้งต้นทุนทางวัฒนธรรมและวัตถุดิบในท้องถิ่น พร้อมพัฒนาทักษะอาชีพเสริม ผนวกกับวิชาการอุตสาหกรรมให้เข้ากับวิถีชุมชน ให้กระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำมีมาตรฐานมากขึ้น จึงเลือกปักหมุดที่ “จังหวัดนครราชสีมา” โดยมุ่งสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ด้วยการสร้างงาน สร้างอาชีพให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนลดรายจ่ายภาคครัวเรือน ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำจากระดับชุมชน ควบคู่กับการส่งเสริมการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อสร้างรายได้ยั่งยืนให้กับประชาชน และเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยก้าวข้ามประเทศกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ความมั่งคั่งในอนาคต จึงได้จัดทำ "โครงการส่งเสริมทักษะอาชีพดีพร้อม" ให้กับชุมชนโดยมุ่งเน้นการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งจากการกระจายโอกาสเข้าถึงบริการของภาครัฐและทรัพยากรในชุมชน การกระจายความรู้ต่อยอดองค์ความรู้ขยายผลสู่อีกหลายคนในชุมชน และการกระจายรายได้สร้างงาน สร้างอาชีพ สู่ชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว
02 ก.ค. 2567
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา เปิดกิจกรรม “สมอ. สัญจร” ครั้งที่ 3 พร้อมมอบใบรับรอง มผช.-มอก.เอส-มอก. ให้กับผู้ประกอบการอุตฯ SME และผู้ผลิตชุมชน และนำความรู้สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน
จ.นครราชสีมา 1 กรกฎาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรม “สมอ. สัญจร” ครั้งที่ 3 และพิธีมอบใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก.เอส) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม SME และผู้ผลิตชุมชน จำนวน 23 ราย โดยมี นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมานายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ นายเศรษฐรัชต์ เลือดสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายพรยศ กลั่นกรอง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายกฤศ จันทร์สุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายเริงฤทธิ์ กุศลกรรมบถ รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ร่วมเปิดงาน ณ โรงแรมเซ็นทารา โคราช จังหวัดนครราชสีมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ลงพื้นที่มาให้ความรู้กับชาวจังหวัดนครราชสีมา หรือชาวโคราช และจังหวัดใกล้เคียง โดยการสัมมนาในวันนี้มีกลุ่มเป้าหมายทั้งผู้ประกอบการอุตสาหกรรม SME กลุ่มคอนกรีตและวัสดุก่อสร้าง ผู้ผลิตชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมกว่า 500 คน ผ่านการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น 4 เรื่อง คือ 1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจใหม่ 2) ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ทางรอดของภาคอุตสาหกรรมไทย 3) การให้ความรู้ด้านการมาตรฐานและการจำหน่ายสินค้า มอก. ที่ผู้กำกับดูแลตลาด ผู้ประกอบการตลาดต้องรู้ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และ 4) การสัมมนากลุ่มผลิตภัณฑ์คอนกรีต มอก.ทางเลือกสู่ ทางรอดในการดำเนินธุรกิจ สำหรับ “สมอ. สัญจร” เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ได้จัดมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเล็งเห็นว่า “มาตรฐาน” เป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกคน และการประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการอุตสาหกรรม SME และผู้ผลิตชุมชน สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานได้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาช ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการผลักดันภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในท้องถิ่น นอกจากนี้ ความรู้ด้านการมาตรฐานจะมีผลต่อการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง การเผยแพร่ถ่ายทอดความรู้สู่ร้านจำหน่ายและพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพื่อยกระดับการคุ้มครองประชาชนในชุมชนให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าที่มีมาตรฐาน กระทรวงอุตสาหกรรมมีภารกิจสำคัญด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม และภารกิจด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้า ซึ่งรัฐมนตรัฯ พิมพ์ภัทรา ได้มอบนโยบายเร่งด่วนให้ สมอ. ดำเนินการกวาดล้างสินค้าด้อยคุณภาพให้หมดไปจากท้องตลาด เพื่อดูแลความปลอดภัยในการใช้สินค้าให้กับพี่น้องประชาชน ตลอดจนช่วยเหลือผู้ประกอบการภายในประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากสินค้าด้อยคุณภาพจากประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีราคาถูกแต่ไม่ได้มาตรฐาน เข้ามาแย่งตลาดผู้จำหน่ายในประเทศ โดยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – พฤษภาคม 2567 สมอ. ได้ยึดอายัดสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เป็นจำนวนกว่า 241 ล้านบาท สามารถช่วยสกัดสินค้าด้อยคุณภาพ และไม่มีความปลอดภัยก่อนถึงมือประชาชน และการจัดกิจกรรม “สมอ. สัญจร” ในครั้งนี้ สมอ. ยังได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจร้านจำหน่าย ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดูแลพี่น้องประชาชนอีกด้วย “สมอ. มีเป้าหมายการออกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) โดยในปีนี้ปี 2567 มีเป้าหมายที่ 1,200 มาตรฐาน โดยกระทรวงอุตสาหกรรม อำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ SME “เราจะไม่ทิ้งใครไว้” พร้อมนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี อำนวยความสะดวกให้มีความรวดเร็ว ช่วยเพิ่มทักษะแรงงาน พร้อมรับการปรับเปลี่ยนของโลก ภายใต้การนำของรัฐบาล“ รัฐมนตรีฯพิมพ์ภัทรา กล่าวทิ้งท้าย
02 ก.ค. 2567
“อสอ.ภาสกร” ลงพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ผลักดัน โกโก้นครชัยบุรินทร์
จ.นครราชสีมา 30 มิถุนายน 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้ประกอบการโกโก้ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ และเครือข่ายผู้ประกอบการอาหารแปรรูปและเกษตรแปรรูปนครชัยบุรินทร์ พร้อมหาแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมโกโก้ในพื้นที่นครชัยบุรินทร์ พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายไพฑูรย์ กระโทกนอก ประธานวิสาหกิจชุมชนคนรักโกโก้ เจ้าของ COCOA FARM ลำตะคอง ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งพาคณะผู้บริหารเยี่ยมชมกิจการ และกระบวนการแปรรูปโกโก้ ณ COCOA FARM ลำตะคอง ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว การลงพื้นที่ดังกล่าว ดีพร้อมได้ดำเนินการตามนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต โดยโกโก้เป็นพืชเศรษฐกิจที่น่าสนใจ และเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน รวมถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจจะต้องก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก เช่น ด้านการค้าขายออนไลน์ สังคมผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและความงามที่ได้รับความนิยม การพัฒนาสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการพัฒนาสินค้าสู่ Superfood เป็นต้น พร้อมทั้งได้เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ ที่นำสินค้ามาร่วมออกบูธเชื่อมโยงธุรกิจภายในงาน ซึ่งมีเครือข่ายธุรกิจ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา มาร่วมกิจกรรมและร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ทั้งนี้ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “พัฒนาผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมโกโก้” ครั้งที่ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่จัดขึ้นในวันนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวางแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมโกโก้ของดีพร้อม สร้างความสัมพันธ์และวิเคราะห์ Value chain และศักยภาพทางธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมโกโก้ในพื้นที่นครชัยบุรินทร์ และเครือข่ายในพื้นที่และพื้นที่อื่น เชื่อมโยงพันธมิตรทางธุรกิจ และจัดทำแบบจำลองทางธุรกิจ BMC รับฟังประเด็นปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ และเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างเกษตรกรต้นน้ำสู่ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมพัฒนาทักษะองค์ความรู้ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกร ผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทาน สู่การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์โกโก้สู่อาหารแห่งอนาคต ตรงตามความต้องการของตลาด
01 ก.ค. 2567
“ดีพร้อม” เดินหน้า RESHAPE THE AREA บางเจ้าฉ่า ผนึกกำลังจัดงานเทศกาลกินกระท้อนทองใบใหญ่ ของดีโพธิ์ทอง
จ.อ่างทอง 29 มิถุนายน 2567 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมพิธีเปิดงานเทศกาลกินกระท้อนทองใบใหญ่และได้รับเกียรติเป็นแขกรับเชิญในเวทีเสวนาภายใต้หัวข้อ “ของดีอำเภอโพธิ์ทอง” พร้อมด้วย นางเกษสุดา ดอนเมือง ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม โดยมี นายพิริยะ ฉันทดิลก ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด ร่วมด้วย นายอนุชา เรืองอมรวิวัฒน์ นายอำเภอโพธิ์ทอง และนางสาวสายชล สุขมนต์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางเจ้าฉ่า ให้การต้อนรับ ณ วัดยางทอง ตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง เทศกาลกินกระท้อนทองใบใหญ่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 – 30 มิถุนายน 2567 โดยเกิดจากความร่วมมือจากหน่วยงานราชการในจังหวัดอ่างทอง ผู้นำชุมชนวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่บางเจ้าฉ่า และ ดีพร้อม โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ภายใต้นโยบาย RESHAPE THE FUTURE ตามแนวคิด RESHAPE THE AREA ขับเคลื่อนชุมชนเปลี่ยนเปลี่ยนชุมชนให้ดีพร้อมด้วยบริบทของอุตสาหกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ นำองค์ความรู้ด้านอุตสาหกรรมเข้าไปประยุกต์กับวิสาหกิจชุมชนชาวสวนกระท้อนให้เกิดการแปรรูปขั้นต้น ยืดอายุผลิตภัณฑ์ กระตุ้นเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างงาน สร้างรายได้ควบคู่ไปกับการธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์และวิถีของชุมชนบางเจ้าฉ่า สานประโยชน์พื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนชุมชนสู่เป้าหมายให้ “ชุมชนมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจบนวิถีของตนเองอย่างยั่งยืน
01 ก.ค. 2567
ที่ปรึกษาฯ ดนัยณัฏฐ์ หารือ แนวทางในการดำเนินโครงการแพรตฟอร์มไอโอทีและระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม IDA
กรุงเทพฯ 28 มิถุนายน 2567 - นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ นายชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ พร้อมคณะ เข้าพบ เพื่อหารือแนวทางในการดำเนินโครงการแพรตฟอร์มไอโอทีและระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม “Industrial IoT and Data Analytics (IDA) Platform” โดยมี นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดำเนินงานภายใต้เมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติหุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ARIPOLIS) ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EECi และขับเคลื่อนโครงการแพรตฟอร์มไอโอทีและระบบวิเคราะห์ข้อมูลอุตสาหกรรม Industrial IoT and Data Analytics (IDA) Platform มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไทยสู่ Industry 4.0 ซึ่งการหารือในครั้งนี้ เป็นแนวทางหารือการขยายโครงการ IDA Platform ระยะต่อไป โดยระหว่างปี พ.ศ. 2565-2566 มีโรงงานอุตสาหกรรมเจ้าร่วมโครงการดังกล่าวแล้ว 118 โรง และในปี พ.ศ. 2567 มีแผนขยายผลไปยังโรงงานอีก 100 โรง
01 ก.ค. 2567
“อธิบดีภาสกร” นำทีมผู้บริหารดีพร้อม จัดทำแผนปี 68-69
กรุงเทพฯ 28 มิถุนายน 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติราชการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2568-2569 โดยมี นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเจตนิพิฐ รอดภัย ที่ปรึกษากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุมเรนโบว์ 1 ชั้น 17 โรงแรมใบหยกสกาย การสัมมนาในวันนี้ จัดขึ้นเพื่อหารือเกี่ยวกับแผนปฏิบัติราชการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 และปี 2569 มุ่งเน้นการพัฒนากรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตในเศรษฐกิจและสังคมโลกยุคใหม่อย่างมั่นคง โดยมีการปรับตัวเพื่อรองรับทิศทางการทำงานในอนาคต เรียนรู้ให้เร็ว มองเชิงกลยุทธ์ มีความเข้าใจด้านอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ส่งเสริมและสร้างนวัตกรรมในหน่วยงานให้สามารถตอบสนองผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารดีพร้อมได้ร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนการพัฒนาเชิงพื้นที่ ซึ่งต้องมีการบูรณาการกับแผนปฏิบัติงานของแต่ละจังหวัด หารือเกี่ยวกับประเด็นการรองรับอุตสาหกรรมใหม่ เช่น อุตสาหกรรม soft power อุตสาหกรรมผู้สูงอายุ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ นอกจากนี้ ยังแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถมากขึ้น เพื่อยกระดับการให้บริการและสอดรับกับแนวคิด “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม”
01 ก.ค. 2567
“พิมพ์ภัทรา” ร่วมงาน “THACCA SPLASH : Soft Power Forum 2024” ซูปเปอร์อีเวนท์แห่งปี ดันอาหารฮาลาล อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต ปลุกพลังซอฟท์พาวเวอร์ ให้ดังไกลทั่วโลก
กรุงเทพฯ 28 มิถุนายน 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมงานเปิด “THACCA SPLASH : Soft Power Forum 2024” ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นประธานพิธี ร่วมด้วย นางสาวแพรทองทาน ชินวัตร ประธานกรรมการพัฒนาซอฟท์พาวเวอร์แห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี ผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมงานกันอย่างพร้อมเพรียง โดยมีสื่อมวลชนและประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก โดยไฮไลท์ของงาน ประกอบด้วย 1. Vision Stage เวทีโชว์วิสัยทัศน์ของ 48 Speaker ชั้นนำและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาที่จะพาทุกคนไปสัมผัสอนาคตของ Soft Power นำโดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ นพ. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานอนุกรรมการอำนวยการจัดการประชุมนานาชาติด้านซอฟต์พาวเวอร์ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด คุณพิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหารกลุ่มเซ็นทรัล คุณนวลพรรณ ล่ำซำ นายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย 2. Performance Stage พลังแห่งความบันเทิงในกิจกรรม Meet and Greet ระหว่างศิลปิน นักเขียน จาก WEBTOON ซีรีส์วาย การแสดงศิลปะร่วมสมัย ไฮไลต์กิจกรรม Mini Concert จากระเบียบวาทศิลป์ วงหมอลำชื่อดัง จากจังหวัดขอนแก่น 30 ชีวิต เตรียมขึ้นเวที 2 ชั่วโมงเต็ม ในวันที่ 29 มิถุนายน 2567 เวลา 17.00 - 19.00 น. วง The Paradise Bangkok Molam International Band วงดนตรีหมอลำแบบโมเดิร์นที่เคยขึ้นเวทีเฟสติวัล ระดับโลก ในวันที่ 28 มิถุนายน 2567 เวลา 17.45 - 19.00 น. ปิดท้ายกับวงดนตรีแนว Asian Pop Asia7 ในวันที่ 30 มิถุนายน 2567 เวลา 18.00-19.00 น. นอกจากนี้ชวน สายแดนซ์มาร่วมแจมกับทีม Back Up วง K-Pop เช่น Redvelvet Itzy และ Super Junior 3. โซนนิทรรศการจาก 11 อุตสาหกรรม เรื่องราวของผู้คน ความฝัน และเส้นทางตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันกับการเดินของอุตสาหกรรมซอฟพาวเวอร์ไทย โดยมีไฮไลต์สำคัญ อาทิ อุตสาหกรรมเฟสติวัล ยกรถแห่เทียนพรรษาขนาดยาวกว่า 12 เมตร สูงถึง 4.5 เมตร จาก อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี มาจัดแสดงให้เห็นถึงความประณีตและความยิ่งใหญ่ของฝีมือช่างไทย อุตสาหกรรมศิลปะ จัดแสดงผลงานศิลปะของศิลปินชื่อดัง อาทิ อ.ประเทือง เอมเจริญ , อ.ถวัลย์ ดัชนี, อ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต, อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และนิสา ศรีคำดี ผู้สร้างสรรค์ "Cry Baby" มูลค่ารวมกว่า 200 ล้านบาท อุตสาหกรรมกีฬา พบกับเวทีมวยกลางกรุง จัดโชว์สินค้ามวยไทย และกระทบไหล่ เหล่า Hero อย่าง “เพชรจีจ้า” "เจ-ชนาธิป” “กัปตัน-กิ๊ฟวิลาวัลย์” โดยผู้ที่มาร่วมงานสามารถฝึกมวยเบื้องต้นได้และมีครูมวยมาให้คำแนะนำ นอกจากนี้ยังมี อุตสาหกรรมด้านอาหาร อาหารฮาลาล ในโซนนิทรรศการอาหารรังสรรค์เมนู โดยเชฟชุมพล อาทิ อาหารชาววัง ท้องถิ่น และฟิวเจอร์ฟู้ด เปิดให้ชิมฟรีตลอด 3 วัน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจได้แก่ Pathway Stage เวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดสุดสร้างสรรค์ SPLASH Masterclass ห้องเรียนเสริมทักษะ 6 อุตสาหกรรม Podcast Studio ห้องสัมภาษณ์สดเพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจ และ Hackathon พื้นที่ประลองไอเดียสู่การสร้าง City Branding ฯลฯ โดยทุกรายการเข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยงานจะมีตั้งแต่วันที่ 28-30 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00-19.00น. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฮอลล์ 1-2 ชั้น G
01 ก.ค. 2567
"ดีพร้อม" ร่วมงานมอบรางวัลเซเว่น อีเลฟเว่น เอสเอ็มอียั่งยืน 2023
จ.นนทบุรี 27 มิถุนายน 2567 - นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมงานมอบรางวัลเซเว่น อีเลฟเว่น เอสเอ็มอียั่งยืน 2023 พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลฯ ณ ห้อง B104-B105 ชั้น B1 อาคาร เดอะ ธารา ถนนแจ้งวัฒนะ กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติ SMEs ที่มีศักยภาพ โดยมี SMEs ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 26 ราย จาก 10 ประเภทรางวัล ได้แก่ 1) SME ยั่งยืน 2) SME The Legen 3) SME ดาวรุ่ง 4) SME Young Entrepreneur 5) SME สินค้าเกษตร 6) SME ผู้ประกอบการชุมชน 7) SME ความคิดสร้างสรรค์ 8) SME ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ 9) SME ผู้รับเหมา และ 10) SME พัฒนาอุปกรณ์ โดยแบรนด์ที่ได้รับรางวัล SME ดาวรุ่ง จัดอยู่ในกลุ่มขนมหวาน สินค้าเพื่อสุขภาพ ความงาม ภายใต้แบรนด์มหานคร, ฮูเร่, ด็อกเตอร์ อินโนวาเท็กซ์, หนุ่ย คอลลาเจน และเมอร์ซี่รัชชา ไลฟ์ นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษด้าน AI เพื่อติดอาวุธทางความรู้ให้ SMEs ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก AI ซึ่งเป็นแนวทางการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ นโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนเอสเอ็มอี” ภายใต้แนวคิด RESHAPE THE INDUSTRY ปรับตัวให้ก้าวทันอุตสาหกรรมยุคใหม่ เพื่อพัฒนา SMEs ให้เป็นนักธุรกิจที่พร้อมจะพัฒนาและรองรับการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
01 ก.ค. 2567
ดีพร้อม - ไปรษณีย์ไทย จับมือสองกระทรวงฯ “ขน-ขาย-เก็บ-แพ็ค-ส่ง” ขยายตลาดสินค้าชุมชน ดันยอดขายโตกว่า 200 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 27 มิถุนายน 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้เกียรติขึ้นกล่าวแสดงความยินดีและร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “การพัฒนาศักยภาพและสร้างโอกาสทางการตลาดเพื่อยกระดับขีดความสามารถวิสาหกิจไทยอย่างยั่งยืน” ระหว่างผู้แทนจาก 2 หน่วยงาน ได้แก่ นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ณ ห้องคาร์ลตันแกรนด์บอลรูม ชั้น 9 โรงแรมคาร์ลตัน สุขุมวิท บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “การพัฒนาศักยภาพและสร้างโอกาสทางการตลาดเพื่อยกระดับขีดความสามารถวิสาหกิจไทยอย่างยั่งยืน” เป็นการผนึกกำลังระหว่าง ดีพร้อม และ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ผ่าน DIPROM CONNECTION เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างโอกาสทางการตลาดในการยกระดับขีดความสามารถวิสาหกิจไทยให้มีความยั่งยืนผ่านการเสริมสร้างองค์ความรู้ในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต มาตรฐาน และออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัยสอดรับกับเทรนด์โลก พร้อมสนับสนุนการเติบโตของผู้ประกอบการไทยในการช่วยขน และช่วยขายสินค้าผ่านเครือข่ายไปรษณีย์ อำนวยความสะดวกในการจัดการด้านโลจิสติกส์และคลังสินค้าช่วย “เก็บ แพ็ค ส่ง”สินค้าผ่านช่องทางออนไลน์บนเว็บไซต์ ThailandpostMart และออฟไลน์ ณ ที่ทำการไปรษณีย์และเครือข่ายพันธมิตรกว่า 50,000 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างโอกาสทางการตลาดผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้กว่า 200 ล้านบาท
28 มิ.ย. 2567
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2567
ขอเชิญผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส โดยแสกน QR CODE https://itas.nacc.go.th/go/eit/et27qg วิธีการตอบแบบวัดการรับรู้ EIT ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
27 มิ.ย. 2567