หมวดหมู่
"ดีพร้อม" เดินหน้าโครงการปี 2568 พร้อมทบทวน ปรับปรุง เป้าหมาย ตัวชี้วัด ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อจัดทำขอคำงบประมาณประจำปี 2569
กรุงเทพฯ 12 พฤศจิกายน 2567 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และนางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมการประชุมชี้แจงการจัดสรรผลผลิตและแนววิธีปฏิบัติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และเตรียมการจัดทำขอคำงบประมาณประจำปี 2569 ร่วมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการชี้แจงเกี่ยวกับกระบวนการขออนุมัติงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยแต่ละหน่วยงานจัดทำข้อมูลโครงการ และดำเนินการจัดส่งรายละเอียดโครงการ/กิจกรรม เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลรายละเอียดโครงการ พร้อมอนุมัติรายละเอียดโครงการต่อไป อีกทั้ง ยังได้กำหนดแนวทางการบริหารงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ให้เป็นไปตามเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณภาพรวม ซึ่งประกอบด้วย งบบุคลากร งบดำเนินงาน งบอุดหนุน งบลงทุน และงบรายจ่ายอื่น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังได้ทบทวน ปรับปรุง เป้าหมายผลผลิต/โครงการ กิจกรรม ตัวชี้วัด ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ พร้อมจัดทำแผนผังความเชื่อมโยง และเตรียมจัดทำคำงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 เพื่อเตรียมรวบรวมคำของบประมาณในภาพรวมของดีพร้อมส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาภายในระยะเวลาที่กำหนดต่อไป
14 พ.ย. 2567
“กินในไทย พกไปขายญี่ปุ่น ร่วมทุนได้จริง" รมต.เอกณัฏ สั่งดีพร้อมทำทันที จับมือแล้ว WAKATAM INC. บริษัทผลิตขนมรายใหญ่ จังหวัดนางาซากิ ปั่นกระแส Soft Power อาหารพื้นถิ่น สื่อญี่ปุ่นขานรับ
กรุงเทพฯ 11 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับนายวากาซุงิ คาซุยะ (Mr. WAKASUGI Kazuya) ผู้บริหารของบริษัท Wakatam Inc. ผู้ผลิตและจำหน่ายขนมเค้กไข่ (Castella) รายใหญ่ของจังหวัดนางาซากิ และภูมิภาคคิวชู (ตอนใต้) ของญี่ปุ่น พร้อมประชุมเพื่อหาแนวทางยกระดับอุตสาหกรรมขนม และต่อยอด Soft Power ด้านอาหารของไทยสู่ตลาดสากล ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมได้กล่าวถึงการบูรณาการที่ผ่านมาของ ดีพร้อม กับจังหวัดนางาซากิได้มีการยกระดับและพัฒนาศักยภาพโกโก้ พร้อมผลักดันผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากโกโก้ เพื่อทำให้เป็นที่ต้องการในตลาดสากลมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง ประเทศไทยยังมีวัตถุดิบที่เหมาะกับการทำขนมอีกหลากหลายชนิด อาทิ มะพร้าว และมะม่วง ดังนั้น จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้เชื่อมโยงการผลิตระหว่างกัน ในแนวทาง "กินในไทย พกไปขายญี่ปุ่น ร่วมทุนได้จริง" เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันสู่ตลาดสากล ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงรุก เซฟพี่น้องอุตสาหกรรมไทย สร้างความเท่าเทียม สร้างรายได้ สร้างโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งนี้ ในส่วนของบริษัท Wakatam Inc. ดำเนินธุรกิจด้านขนมเค้กไข่มานานแล้ว โดยเมื่อปี 2566 ได้มีโอกาสเชื่อมโยงกับบริษัท ผึ้งน้อย เบเกอรี่ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อผลิตขนมเค้กไข่ออกจำหน่ายในร้าน MUJI ทั้ง 15 สาขาในประเทศไทย โดยตั้งใจว่าจะใช้วัตถุดิบบางชนิดจากประเทศไทย เพื่อให้สะท้อนถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น เช่น น้ำผึ้งจากเชียงใหม่ ที่มีความหอมเฉพาะตัว ซึ่งปัจจุบันได้มีการวางจำหน่ายมาแล้วเป็นเวลา 3 เดือน และได้รับกระแสตอบรับที่ดี ดังนั้น บริษัท Wakatam Inc. จึงต้องการมองหาโอกาสเพิ่มเติมในการขยายความร่วมมือผลิตขนมเค้กไข่และชนิดอื่น ๆ ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาธุรกิจขนมร่วมกันผ่านการประยุกต์องค์ความรู้และความประณีตแบบญี่ปุ่นเข้ากับวัตถุดิบชั้นเลิศของประเทศไทย
14 พ.ย. 2567
เอกนัฏ ถก สภาอุตฯ วางแนวทางรองรับมาตรการ EUDR ไม่ให้กระทบอุตสาหกรรมส่งออกไทย
กรุงเทพฯ 12 พฤศจิกายน 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้คณะผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) เข้าพบเพื่อหารือแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการภายใต้กฎหมาย EUDR โดยมี นายธนารักษ์ พงษ์เภตรา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร นายวิกรม วัชรคุปต์ กรรมการบริหาร รองประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร และคณะผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมหารือ พร้อมด้วย นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานคณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ด้านยุทธศาสตร์ นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิการบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับวัตถุประสงค์การหารือในครั้งนี้ เพื่อเป็นการหาแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการภายใต้กฎหมาย EU Deforestation-free Product Regulation: EUDR (กฎหมายว่าด้วยการนำเข้าและส่งออกสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า) ซึ่งเป็นกฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า โดยกำหนดให้ส่งออกและนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์ 7 กลุ่มของ EU ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน วัว ไม้ กาแฟ โกโก้ และถั่วเหลือง รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากสินค้าเหล่านี้ ต้องดำเนินการตรวจสอบสถานะและรายงานที่มาของสินค้า เพื่อให้ความมั่นใจว่าสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายไม่ได้มาจากการตัดไม้ทำลายป่า จากประเด็นดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยในภาพรวมดังนี้ ผู้ผลิตและผู้ส่งออกต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนสูงขึ้น เนื่องจาก EUDR กำหนดให้ผู้นำเข้าในสหภาพยุโรป หรือ EU ที่ต้องการซื่อสินค้าเป้าหมายทั้ง 7 กลุ่ม จากประเทศไทย ต้องตรวจสอบ DUE GILIGENCE ว่าสินค้าจากไทยไม่เกี่ยวข้องกับการทำลายป่าและมาจากการผลิตที่ถูกต้องตามกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลจากผู้ส่งออกไทยเพื่อยืนยัน ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากผู้ประกอบไทยบางรายไม่สามารถขายสินค้าใน EU ได้ ทั้งนี้ การหารือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เสนอให้มีการจัดทำ การยืนยันพื้นที่การทำเกษตรว่าพื้นที่ใดไม่อยู่ในเขตพื้นที่ป่า เพื่อทำ Geolocation Map ออกมาตรการบังคับใช้เกี่ยวกับการปลูกพืชแต่ละชนิดที่จะส่งออกไปขายยัง EU ทำระบบ Audit และรับรอง Auditor เพื่อตรวจสอบขั้นตอนการปลูกพืชว่าถูกต้องตามกฎระเบียบหรือไม่ จัดทำฐานข้อมูลการจดทะเบียนเกษตรกรทั้ง Supply chain การเจราจาเรื่อง Map ของไทย กับ EU ให้เป็นที่ยอมรับ และทำระบบ Traceability ให้มีความน่าเชื่อถือ โปร่งใสและตรวจสอบได้ รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือการจัดทำฐานข้อมูล ซึ่งจะต้องมีการวาง Platform, Database และหน่วยงานเจ้าภาพในการจัดทำ เป็นตัวกลางในการประสานงาน ทั้งด้านการเกษตร ด้านมาตรฐาน และด้านพื้นที่เพาะปลูก โดย กระทรวงอุตสาหกรรม มีการจัดทำฐานข้อมูล I-Industry และระบบ I-Single Form ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในด้านต่าง ๆ ของผู้ประกอบการ ข้อมูลของสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย ในการเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการ และเกษตรกร ข้อมูลเหล่านี้เป็นแบบอย่างที่สามารถนำไปปรับใช้เป็นระบบฐานข้อมูลแบบครบวงจรได้ ตัวอย่างเช่น การลงทะเบียนพื้นที่ที่มีการปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน โกโก้ ว่าไม่ได้อยู่ในพื้นที่ป่า ไม่ได้บุกรุกทำลายป่า เป็นต้น ซึ่งระบบนี้ จะเป็นการรวบรวมข้อมูล เพื่อเป็นการลดขั้นตอนในการตรวจสอบของผู้ประกอบการ โดยในอนาคตจะส่งผลดีต่อประเทศไทยในการวางระบบของฐานข้อมูลในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการขยายฐานข้อมูล การบูรณาการด้านการเกษตร ด้านการผลิต ด้านการส่งออก และในด้านอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงในทุกมิติต่อไป
14 พ.ย. 2567
"ดีพร้อม" ผนึกกำลัง MIND ร่วมกำหนดแนวทางส่งเสริมเอสเอ็มอี แก้ปัญหาการทะลักของสินค้าจีน พร้อม "เลขาฯ พงศ์พล" ในการประชุมบอร์ดใหญ่ สสว.
กรุงเทพฯ 11 พฤศจิกายน 2567 - นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ครั้งที่ 4/2567 ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุม 109 ชั้น 1 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล การประชุมดังกล่าว สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้รายงานแนวทางการลดผลกระทบจากการทะลักของสินค้าต่างประเทศในประเทศไทย โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศจีนในกลุ่มสินค้าราคาถูกที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้แจ้งที่ประชุมให้ทราบถึงการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ตามนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มุ่ง “เซฟ” SME ไทย สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน และส่งเสริมสินค้าไทย นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบเรื่องการใช้เงินคงเหลือในกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าบริหารจัดการให้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ภายใต้โครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม ซึ่ง รปอ.รก.อสอ.ณัฏฐิญาฯ ได้สอบถามถึงค่าบริหารจัดการที่ให้แก่ ธพว. ในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปีจากยอดภาระหนี้ทั้งหมด ณ ขณะใดขณะหนึ่งโดยเบิกจ่ายทุกเดือน และค่าบริหารจัดการให้แก่ ธพว. ภายใต้โครงการเงินทุนพลิกฟื้น ร้อยละ 1 ต่อปีของยอดสินเชื่อคงค้าง โดยเบิกจ่ายทุก 6 เดือน มีความต่างกันกันอย่างไร ทั้งนี้ สสว. ได้เสนอร่างระเบียบคณะกรรมการบริหารฯ ว่าด้วยการรับและเบิกจ่ายเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่ง รปอ.รก.อสอ.ณัฏฐิญาฯ ได้ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมของการกำหนดกรอบวงเงินเพื่อให้ผู้อนุมัติวงเงินว่ามีฐานประมาณเท่าไหร่ เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการบริหารงานของกองทุนฯ ต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างกฎบัตรคณะอนุกรรมการตรวจสอบ สสว. ฉบับทบทวน ปี 2567 และกำหนดนิยามวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสตรี เพื่อให้สามารถรับการสนับสนุนความช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและที่ไม่ใช่การเงินสำหรับ SME ที่มีสตรีเป็นเจ้าของ/หรือมีสตรีเป็นผู้บริหารจากองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) เป็นต้น
14 พ.ย. 2567
เชิญผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมหลักสูตร “เสริมความรู้ด้าน อย. กฎหมายและแนวทางปฏิบัติในการขอ อย. สำหรับผู้ประกอบการ”
เปิดรับสมัครแล้วการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “เสริมความรู้ด้าน อย. กฎหมายและแนวทางปฏิบัติในการขอ อย. สำหรับผู้ประกอบการ” ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ ผู้ประกอบการที่ต้องการความเข้าใจและตีความกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารอย่างปลอดภัยได้ครบถ้วน ครอบคลุมและถูกต้องในทุกมิติและสามารถนำความรู้มาปรับประยุกต์ใช้ในการขออนุญาตผลิตภัณฑ์ตามประเภทของผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและปลอดภัย วันที่ 16 - 18 ธันวาคม 2567 เวลา 09.00 - 16.00 น. ณ โรงแรมพีลูส อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัดเพียง 30 ท่าน เท่านั้น ขอสงวนสิทธิ์ สำหรับผู้ที่สมัครลงทะเบียนแล้วเท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม นางสาวศุภาลัย การบรรจง (06 1821 6269) นายเศรษฐยศ ธีรโฆษิตพงศ์ (09 0462 9561)
14 พ.ย. 2567
เชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรม DIProm Creative Product
เชิญผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม DIProm Creative Product ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โอกาสพิเศษ สำหรับผู้ประกอบการสิ่งทอและแฟชั่นรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพเสริมสร้างธุรกิจและเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ของคุณไม่ว่าคุณจะต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิม โครงการนี้คือโอกาสสำหรับคุณ! พบกับทีมผู้เชี่ยวชาญที่จะมอบคำแนะนำเฉพาะด้าน ให้คุณพร้อมสู้ในตลาดสิ่งทอและแฟชั่น พัฒนาสินค้าให้โดดเด่น เสริมความเป็นเอกลักษณ์ให้แบรนด์ เจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ คุณสมบัติ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs), OTOP (จดทะเบียนนิติบุคคล หรือทะเบียนพาณิชย์) ผู้ประกอบการ ในพื้นที่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ ประโยชน์ที่ท่านจะได้รับ ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ 4 ครั้ง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิม ให้คำแนะนำด้านการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขาย งบสนับสนุนการจัดทำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึง 25 พฤศจิกายน 2567 ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณปริทัศน์ เชื้อประทุม 08 2151 9973
14 พ.ย. 2567
เชิญเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตชั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการเกษตรแปรรูปที่ต้องการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม กระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปสินค้าทางการเกษตรอุตสาหกรรม สมัครเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตชั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ : ยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการเกษตรแปรรูป ด้านอาหารแปรรูป ผลไม้แปรรูป สมุนไพรแปรรูป ประโยชน์การเข้าร่วมโครงการ สำรวจ วิเคราะห์ประเมินวินิจฉัยเบื้องต้น เพื่อทราบปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการ ออกแบบและพัฒนาระบบเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ ณ สถานประกอบการ ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตชั้นสูง ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการ นำเทคโนโลยีการผลิตชั้นสูงไปประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการ รับสมัครแล้ววันนี้ รับจำนวนจำกัดเพียง 3 กิจการเท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 09 2259 7605 (คุณสุมิตร) ipc7.dip.go.th
13 พ.ย. 2567
"Made by Thais" รมต.เอกนัฏ ชี้ทิศทางการพัฒนา SMEs ให้ดีพร้อม สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน ยกระดับวิสาหกิจไทยสู่เวทีการแข่งขันระดับโลก
กรุงเทพฯ 7 พฤศจิกายน 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ ”ทิศทางการพัฒนา SMEs ให้ดีพร้อม“ พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายกฤศ จันทร์สุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายสุปรีย์ ทองเพชร ประธานสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย คณะผู้บริหารสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งขับเคลื่อนนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” มุ่ง “เซฟ” SME ไทย สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน ร่วมกับสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยผ่าน 5 แนวทาง ดังนี้ 1) ปกป้อง SME ไทยจากคลื่นการลงทุนของบริษัทข้ามชาติและการทุ่มตลาดของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ 2) ยกระดับขีดความสามารถของ SME ไทยให้สามารถแข่งขันได้และทันต่อเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3) ริเริ่มนิคมอุตสาหกรรม SME 4) ผลักดันการขับเคลื่อนมาตรการ “Made by Thais” และ “SME GP” และ 5) จัดตั้ง SME War Room เพื่อช่วย SME ไทยแก้ปัญหาให้สามารถก้าวข้ามข้อจำกัด และความท้าทายต่าง ๆ เพื่อเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ภาคอุตสาหกรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างรายได้จากการส่งออก การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ และพัฒนาเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ การส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์สู่ยานยนต์แห่งอนาคต รวมถึงการยกระดับภูมิปัญญาไทยไปสู่วัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุน Soft Power ของประเทศ จะเป็นส่วนสำคัญในการเร่งให้ประเทศหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางและพัฒนาให้เป็นผู้เล่นสำคัญในเวทีเศรษฐกิจโลกต่อไป ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ตระหนักถึงความสำคัญของ SME ในฐานะฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของไทย จึงได้มีการกำหนดนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” เพื่อมุ่งเน้นการปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ “สู้” เพื่อจัดการกากอุตสาหกรรมที่เป็นพิษ “เซฟ” เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SME ไทย และ “สร้าง” เพื่อสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ นายเอกนัฏ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายใต้นโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ฯ” กระทรวงอุตสาหกรรมจะเดินหน้าเซฟ SME ไทย สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากลและเติบโตอย่างยั่งยืน ร่วมกับสภาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยที่ได้รวบรวมผู้ประกอบการขนาดย่อมในการขับเคลื่อนให้เป็นผู้ประกอบการกลางและขนาดใหญ่ เพื่อมุ่งสู่อุตสาหกรรมใหม่ โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ 1) ปกป้อง SME ไทยจากคลื่นการลงทุนของบริษัทข้ามชาติและการทุ่มตลาดของสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ โดยการพิจารณากำหนด หรือ ปรับปรุง มาตรการ กฎระเบียบ และสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องให้มีความครอบคลุม สร้างระบบนิเวศการแข่งขันที่มีความเท่าเทียม โดยเฉพาะการตรวจบังคับด้านมาตรฐานสินค้า และสร้างความเท่าเทียมด้านภาษีระหว่างร้านค้าที่มีหน้าร้านในไทย ผู้ประกอบการออนไลน์ที่อยู่ในไทยและผู้ประกอบการออนไลน์ต่างประเทศ 2) ยกระดับขีดความสามารถของ SME ไทยให้สามารถแข่งขันได้และทันต่อเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมผ่านกลไกการส่งเสริมของกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานพันธมิตร โดยเฉพาะการเข้าถึงแหล่งเงินทุนการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ SME ไทยให้สามารถแข่งขันได้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมและหน่วยงานระดับกระทรวงและกรมที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนร่วมกัน 3) ริเริ่มนิคมอุตสาหกรรม SME เพื่อสนับสนุนการสร้างห่วงโซ่อุปทาน 4) ผลักดันการขับเคลื่อนมาตรการ “Made by Thais” และ “SME GP” เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเลือกผลิตภัณฑ์ของ SME ไทยในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ตลอดจนการอุปโภค บริโภคทั่วไป และ 5) จัดตั้ง SME War Room ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนกระบวนการยกระดับขีดความสามารถ แก้ไขปัญหา และสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันให้กับ SME ทั้งระบบ “ผมขอยืนยันว่ากระทรวงอุตสาหกรรมมีความมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่ที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนหลักในการยกระดับ SME ไทยสู่เวทีการแข่งขันระดับโลก ผ่านการผลักดันนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ฯ” และกลไกการดำเนินงานสำคัญตามที่ได้กล่าวไป กระทรวงอุตสาหกรรมมองเห็นอนาคตที่ SME ไทยจะเป็นผู้นำในการสร้างนวัตกรรม เป็นต้นแบบของการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบกับความร่วมมือ และการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาครัฐ และภาคเอกชน จะทำให้ SME ไทยได้รับการยกระดับให้สามารถก้าวข้ามข้อจำกัด และความท้าทายต่าง ๆ เพื่อเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” นายเอกนัฏ กล่าวทิ้งท้าย
12 พ.ย. 2567
"รมต. เอกนัฏ" หนุน คพอ.ดีพร้อม เปิดหลักสูตร 5 Module ใหม่ ขยายรุ่น ครอบคลุมทั่วไทย ยึดโยงเครือข่าย Smart SMEs 13,000 ราย บริหารจัดการทุกมิติ เสริมพลังผู้นำดีพร้อม
กรุงเทพฯ 6 พฤศจิกายน 2567 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ผู้ประกอบการที่ผ่านหลักสูตรการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) เข้าพบ นำโดยนายณัฐพล แสงฟ้า ประธาน คพอ. เพื่อหารือแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม ตามนโยบาย “การปฏิรูปอุตสาหกรรม” โดยมีนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม เข้าร่วมหารือการขับเคลื่อนเครือข่าย คพอ.ดีพร้อม ณ อาคารการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดีรังสิต หลักสูตรการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมของดีพร้อม เริ่มตั้งปี 2523 เป็นระยะเวลากว่า 44 ปี จำนวน 412 รุ่น มีผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ ทายาทธุรกิจ กว่า 13,000 ราย ที่ผ่านการพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการทั่วประเทศให้มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมทุกด้าน พร้อมเชื่อมโยงเครือข่าย แลกเปลี่ยนและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ ทางผู้ประกอบการมีความต้องการให้เพิ่มหลักสูตรมากขึ้นจาก 12 รุ่นเป็น 20 รุ่น เพื่อพัฒนา SME ให้เป็น Smart SME และยกระดับธุรกิจให้เติบโต เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย มากยิ่งขึ้น โดยดีพร้อมจะเพิ่มหลักสูตรให้รองรับความต้องการของผู้ประกอบการและปรับหลักสูตรตามนโยบาย “การปฏิรูปอุตสาหกรรม” เน้นการบริหารจัดการในทุกมิติเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก และปรับรูปแบบการเรียนการสอนจาก Class room เป็น Sharing และ Coaching พร้อมดึงผู้ประกอบการใหม่เข้ามามีส่วนร่วมผ่าน 5 Module ประกอบด้วย 1) การเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 2) การบริหารจัดการในมิติต่าง ๆ 3) การเสริมสร้างพลังความเป็นผู้นำ 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และ 5) การจัดทำแผนกลยุทธ์ธุรกิจ
11 พ.ย. 2567
เชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรม เพิ่มประสิทธิภาพ SMEs ด้วยซอฟต์แวร์บริหารจัดการ และ AI
เชิญผู้ประกอบการ SMEs สมัครเข้าร่วมกิจกรรมกิจกรรม เพิ่มประสิทธิภาพ SMEs ด้วยซอฟต์แวร์บริหารจัดการ และ AI ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โครงการที่จะทำให้คุณ การจัดการข้อมูลกิจการคุณให้เป็นระบบ สืบค้นไว ด้วยดิจิทัล เฉพาะสถานประกอบการในพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ศรีสะเกษ เท่านั้น ดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ เดือนธันวาคม 2567 ถึง เดือนพฤษภาคม 2568 พบผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแนะนำ ดังนี้ วินิจฉัยปัญหาของกิจการ และระบบบริหารจัดการของสถานประกอบการ เลือกระบบดิจิทัลที่เหมาะสมกับปัญหาและสถานประกอบการ‼️ ติดตั้งระบบดิจิทัล พร้อมทั้งอบรมการใช้งานบุคลากรในองค์กร และผู้เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ณ สถานประกอบการ จำนวน 4 MD (24 ชม.) จัดเก็บข้อมูล เปรียบเทียบผลก่อนและหลังปรับปรุง เป้าหมาย/ผลที่ได้จากกิจกรรม สถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม สามารถลดเวลาการทำงาน ลดต้นทุน หรือ ลดของเสียหรือเพิ่มยอดขายหรือรายได้เพิ่ม หรือ ไม่น้อยกว่า 10% รับสมัครแล้ววันนี้ รับสมัครแล้ววันนี้ จำนวนจำกัดเพียง 6 กิจการเท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 08 6465 0162 (พิจิตต์)
11 พ.ย. 2567