หมวดหมู่
เชิญเข้าร่วมโครงการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล
ขอเชิญชวนสถานประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หากคุณกำลังมองหาเทคโนโลยีเจ๋งๆ และวิธีที่เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถช่วยธุรกิจของคุณในทางปฏิบัติได้คุณมาถูกทางแล้ว กิจกรรม ยกระดับธุรกิจสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Health) การเพิ่มประสิทธิภาพ SMEs ด้วยซอฟต์แวร์บริหารจัดการ และ AI การเสริมแกร่งกระบวนการผลิตให้ดีพร้อมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (IIoT) กลุ่มเป้าหมาย SME วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน สถานประกอบการทั่วไป ทั้งภาคการผลิต การค้า หรือการบริการ ทุกสาขาอุตสาหกรรม เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาแนะนำ ด้านระบบดิจิทัลต่างๆ อาทิเช่น ระบบบริหารบัญชี การบริหารการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารการผลิต การบริหารการขาย การบริหารสินค้าคงคลัง ตลอดจนโปรแกรม Power BI สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ หรือโปรแกรมอื่นใดที่สถานประกอบการต้องการ สำหรับผู้ประกอบการในพื้นที่ 7 จังหวัด สุราษฎร์ธานี ระนอง ชุมพร นครศรีธรรมราช ภูเก็ต พังงา และกระบี่ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ - 30 พ.ย. 67 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณแฟ้ม (06 2965 3944) คุณยุ้ย (08 6280 5943)
18 พ.ย. 2567
เชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรม การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้วยแบบจำลองอุตสาหกรรม
เชิญชวนผู้ประกอบการที่สนใจลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์เข้าร่วมกิจกรรม การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้วยแบบจำลองอุตสาหกรรม ลดต้นทุน เพิ่มกำไร รวยง่ายๆ ด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน ดำเนินการโดย : กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คุณสมบัติผู้สมัคร สถานประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคล ในพื้นที่จังหวัด กรุงเทพ นนทบุรี สมุทราปราการ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับ การให้คำแนะนำในการปรับปรุงกระบวนการเพื่อลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการซัพพลายเชนแบบครบวงจร สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ไม่น้อยกว่า 15 % สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กลุ่มพัฒนาระบบโลจิสติกส์ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 02 4306875 ต่อ 1547
18 พ.ย. 2567
"ดีพร้อม" วิพากษ์ผลของคณะทำงานศึกษาปรับปรุงกฎหมายอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร โชว์นโยบาย "รมต.เอกนัฏ" แนวทางการช่วยเหลือ Disrupted Industries อุตสาหกรรมที่หยุดชะงัก และการส่งเสริมเอสเอ็มอีเข้าสู่ยุค Digital Transformation
กรุงเทพฯ 14 พฤศจิกายน 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมประชุมกับคณะทำงานศึกษาปรับปรุงกฎหมายเพื่อดูแลอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบรุนแรงและไม่สามารถปรับตัวได้ทัน (Disrupted Industries) ภายใต้คณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร โดยมี ว่าที่ร้อยตรีไพศาล เอกคณิต เป็นหัวหน้าคณะทำงานฯ ในโอกาสขอเข้าพบ พร้อมหารือแนวทางการแก้ปัญหาในภาคอุตสาหกรรมหลักที่ได้รับผลกระทบ ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การเข้าพบครั้งนี้ คณะทำงานฯ ได้แจ้งวัตถุประสงค์ถึงการดูแลและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยศึกษาปัญหาของอุตสาหกรรมหลัก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมทางการเกษตร ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและไม่สามารถปรับตัวได้ทัน รวมถึงพิจารณาศึกษากฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยรัฐที่ดูแลส่งเสริมการอุตสาหกรรม และเสนอแนะการปฏิรูปกฎหมายหรือการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่และบทบาทของดีพร้อม อีกทั้ง ได้เสนอผลการศึกษา และแนวทางการช่วยเหลืออุตสาหกรรมที่หยุดชะงักด้วยการที่ดีพร้อมให้การช่วยเหลืออุตสาหกรรมที่ถูก Disrupt ผ่านการส่งเสริมเอสเอ็มอีเข้าสู่ยุค Digital Transformation การต่อยอดอุตสาหกรรมเดิม ด้วยการ Upskill/Reskill บุคลากรภาคอุตสาหกรรมให้สามารถยกระดับการประกอบการให้มีความเป็นกลางทางคาร์บอน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่เป็นธรรมให้แก่ผู้ประกอบการไทยผ่านระบบนิเวศเศรษฐกิจโดยใช้ Digital Economy การจัดสรรเงินกองทุน การส่งเสริมการเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม และการผลักดัน Low Carbon Industry รวมถึงการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ สศอ.ควรสร้าง Digital Economy เป็น Ecosystem Economy ถ่ายทอดผลงานวิจัยจาก สวทช. ไปสู่ ดีพร้อม เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ เร่งรัดให้เกิดการรายงานข้อมูลการปฏิบัติทั้งที่เป็น "กฏหมาย และไม่ใช่กฏหมาย" เข้าระบบและนำมาประมวลผลจัดระดับโรงงานชั้นดี และสิทธิประโยชน์ทางภาษีและด้านการเงิน รวมถึงการผลักดันการซื้อขาย Carbon Credit ระดับ T-Ver การสร้างกลไกการทำ Life Cycle Assessment : LCA และการกำกับติดตามปัญหา "นอมินี" นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ได้เสนอให้ดีพร้อมส่งข้อมูลเรื่องการขอจัดตั้งกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม และศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มในรานงานการศึกษา ประกอบด้วย ภารกิจ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พร้อมตัวชี้วัดของทั้ง 2 หน่วยงาน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของคณะทำงานฯ ต่อไป ทั้งนี้ รปอ.รก.อสอ.ณัฏฐิญา ได้ชี้แจงว่า ตามบทบาท ภารกิจของดีพร้อมจะดูแลครอบคลุมตั้งแต่กลุ่มอุตสาหกรรมรายใหญ่ กลุ่มอุตสาหกรรมหกรรมเป้าหมายในอนาคต หรือ S-Curve รวมถึงกลุ่มเอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน แม้กระทั้งกลุ่มสตาร์ทอัพ ซึ่งตอนนี้กำลังมุ่งเน้นภารกิจในการขับเคลื่อนภาคเกษตรอุตสาหกรรม โดยการนำศาสตร์ของอุตสาหกรรมเข้ามาประยุกต์ใช้กับด้านเกษตร เพื่อพัฒนาต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ไปจนถึงการตลาด อีกทั้งดีพร้อมยังมีเซ็นเตอร์กระจายตัวทั่วทุกภูมิภาค และได้ถูกกำหนดเป็นศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม ซึ่งอุตสาหกรรมนำร่อง คือ เกษตรอุตสาหกรรม เพื่อรองรับในเรื่องผลผลิตที่ล้นตลาดนำมาแปรรูปทำให้เกษตรกร หรือวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่สามารถไปทดลองการผลิตและทำต้นแบบผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของตลาดยานยนต์จะไปในทิศทางของพลังงานสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รัฐบาลไทยจึงมีมาตรการส่งเสริมการผลิตและการใช้รถ EV เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสนับสนุนรถยนต์ ICE และ HEV ที่มีคุณภาพมาตรฐานสูงขึ้น เพื่อรักษาการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่สำคัญของโลก พร้อมยกระดับอุตสาหกรรมเหล็กไทยให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อลดผลกระทบจากการกีดกันทางการค้าและเพิ่มความสามารถในการส่งออก
18 พ.ย. 2567
ขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพ SMEs ด้วยซอฟต์แวร์บริหารจัดการ และ AI
ขอเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพ SMEs ด้วยซอฟต์แวร์บริหารจัดการ และ AI ดำเนินการโดย : กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัล และ AI มาประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการและเพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากรในสถานประกอบการให้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการใช้และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ AI สิ่งที่ท่านจะได้รับ ได้รับคำปรึกษาแนะนำเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 28 ชั่วโมง/กิจการ การพัฒนารเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มผลิตภาพในสถานประกอบการของตนได้ คุณสมบัติผู้สมัคร SMEs ภาคการผลิต การค้าและบริการ และอื่น ๆ ที่อยุ่ในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สระบุรี อยุธยา สมุทรปราการ สมัครด่วน ฟรี รับจำนวนจำกัด รับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 20 ม.ค. 68 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณอภิสราฯ 0 2430 6871 ต่อ 2 กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ชั้น 6
18 พ.ย. 2567
รมว.เอกนัฏ หารือ กมธ.พาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา ร่วม”สู้ เซฟ สร้าง“ ก้าวผ่านความท้าทาย เซฟอุตสาหกรรมไทย
กรุงเทพฯ 14 พฤศจิกายน 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม หารือคณะกรรมาธิการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา นำโดยนายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานคณะกรรมการ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน และรับทราบแนวทางการดำเนินนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่จะเป็นแนวร่วมในการผลักดันและขับเคลื่อนภารกิจที่เกี่ยวข้อง โดยมี นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานที่ปรึกษาคณะทำงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ด้านยุทธศาสตร์ นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเศรษฐรัชต์ เลือดสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และนายพิชิต มินทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และผู้เข้าร่วมของคณะกรรมาธิการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา ประกอบด้วย นายเอกชัย เรืองรัตน์ รองประธานคณะกรรมการคนที่หนึ่ง นางรจนา เพิ่มพูน รองประธานคณะกรรมการคนที่สาม นางสาวตวงคุณ ทรงธรรมวัฒน์ รองประธานคณะกรรมการคนที่สี่ นายสหพันธ์ รุ่งโรจน์พณิชย์ รองประธานคณะกรรมการคนที่ห้า และคณะกรรมาธิการผู้ทรงคุณวุฒิ เข้าร่วมหารือด้วย ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม หลังจากสถานการณ์โรคระบาด ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เกิดความเปลี่ยนแปลงของโลก และนับเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทย ที่ต้องรับมือความท้าทายใหม่ๆ ที่ภาคอุตสาหกรรมจะต้องปรับตัว พร้อมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยไปสู่ตลาดโลก โดยในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา พบว่านักลงทุนต่างชาติสนใจมาลงทุนในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งไทยมีความสมดุลทางด้านทรัพยากร และห่วงโซ่อุปทาน จึงมีความได้เปรียบในการเพิ่มขีดความสามารถด้านความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยผ่านการขับเคลื่อนด้วยนโยบาย “สู้ เซฟ สร้าง” ที่มุ่งหวังเติมเต็มห่วงโซ่อุปทาน เซฟธุรกิจไทย ต่อสู้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เดินหน้าไปสู่ความยั่งยืน สร้างความเท่าเทียม สร้างรายได้ สร้างโอกาส ในการแข่งขันทางธุรกิจ และสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจยุคใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก โดยใช้ 3 ปฏิรูป 3 แนวทาง ได้แก่ ปฏิรูป 1 จัดการกากสารพิษที่ทำร้ายชีวิตประชาชน โดยการปรับการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมทั้งระบบ การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืน จัดตั้งกองทุนเพื่อการปฏิรูประบบอุตสาหกรรม สร้างความยั่งยืน และฟื้นฟู เยียวยาผลกระทบที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการ จัดการกากอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร ปฏิรูป 2 สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SME ไทย ปกป้องและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันผู้ประกอบการไทย สร้างความเท่าเทียมด้านกฎระเบียบและภาษีระหว่างร้านค้าที่มีหน้าร้านในไทยผู้ประกอบการออนไลน์ที่อยู่ในไทยและผู้ประกอบการออนไลน์ต่างประเทศ การตรวจสอบมาตรฐานสินค้ากระบวนการผลิตสินค้า และวัตถุอันตราย และการนำเข้าที่ต้องควบคุมเป็นการทั่วไปและในเขต Free Zone การยกระดับขีดความสามารถให้แข่งขันได้ กลไกการส่งเสริมจากภาครัฐผ่าน DIPROM และสถาบันเครือข่าย ผลักดันมาตรการ “Made in Thailand" และปฏิรูป 3 สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ ส่งเสริมอุตสาหกรรมให้ก้าวทันโลก เพิ่มผลิตภาพ ลดต้นทุนการผลิต ปรับการผลิตให้ยืดหยุ่นเพิ่มขีดความสามารถด้วยระบบอัตโนมัติ ดิจิทัล และAI พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมการใช้พลังงานสีเขียวทางด้านคณะกรรมาธิการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา กล่าวว่า ภารกิจของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องส่งเสริมหรือพัฒนาอุตสาหกรรม เอสเอ็มอี รวมถึงไมโครเอสเอ็มอี ที่มีความเปราะบางในการดำเนินกิจการ มีปัญหาต้องเร่งแก้ไข ซึ่งจากการรับฟังนโยบายของรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมในวันนี้ ถือว่าการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมตรงกับความต้องการคณะกรรมาธิการฯ คือการคำนึงถึงผู้ประกอบการรายเล็กๆ เป็นอันดับแรก แต่อยากเน้นย้ำให้ติดตามการส่งเสริม สนับสนุน ผู้ประกอบการรายใหญ่จนถึงไมโครเอสเอ็มอีในทุกมิติ เพื่อให้ทุกกิจการยังคงดำเนินไปได้ และนำพาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตขึ้น ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และนายพิชิต มินทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และผู้เข้าร่วมของคณะกรรมาธิการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา ประกอบด้วย นายเอกชัย เรืองรัตน์ รองประธานคณะกรรมการคนที่หนึ่ง นางรจนา เพิ่มพูน รองประธานคณะกรรมการคนที่สาม นางสาวตวงคุณ ทรงธรรมวัฒน์ รองประธานคณะกรรมการคนที่สี่ นายสหพันธ์ รุ่งโรจน์พณิชย์ รองประธานคณะกรรมการคนที่ห้า และคณะกรรมาธิการผู้ทรงคุณวุฒิ
18 พ.ย. 2567
เชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรม "ยกระดับการผลิตสู่โรงงานอัจฉริยะด้วย Digital Lean & IIoT"
เชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรมหลักสูตร ยกระดับการผลิตสู่โรงงานอัจฉริยะด้วย Digital Lean & IIoT ดำเนินการโดย : กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสสาหกรรม เชิญชวนสถานประกอบการที่ต้องการพัฒนาและยกระดับสถานประกอบการโดยเป็นแหล่งเรียนรู้ในการฝึกภาคปฏิบัติ ให้กับที่ปรึกษาที่ผ่านการอบรมภาคทฤษฎี จำนวน 3 วัน ได้แก่ ครั้งที่ 1 : ศุกร์ที่ 7 ก.พ. 68 ครั้งที่ 2 : พฤหัสบดีที่ 13 ก.พ. 68 ครั้งที่ 3 : อังคารที่ 25 ก.พ. 68 คุณสมบัติฯ เป็นสถานประกอบการที่มีเครื่องจักร หรือระบบอัตโนมัติในกระบวนการผลิต ต้องการหาแนวทางในการต่อยอด หรือปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยี IIoT สามารถเปิดเผยข้อมูลในการผลิต เพื่อใช้ประกอบการให้คำปรึกษา และการวิเคราะห์ Protect Concept (เท่าที่จำเป็น) สถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และสระบุรี สถานประกอบการจะได้รับ แผนการปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยใช้แนวคิด Digital Lean with IIoT การประมาณผลลัพธ์จากการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยใช้แนวคิด Digital Lean with IIoT ผู้แทนบริษัทฯ สามารถเข้าร่วมอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ (ตลอดหลักสูตร) จำนวน 1 ที่นั่ง (ฟรี) สมัครได้ตั้งแต่ วันนี้ ถึง 29 พ.ย. 67 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณณัฐพร (09 8292 9676) คุณศุภชญา (08 3019 9149)
18 พ.ย. 2567
"CIO ดีพร้อม" ปรับโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ยกระดับ Ecosystem รองรับการปฏิรูปอุตสาหกรรม และการบริการภาครัฐทันสมัย
"CIO ดีพร้อม" ปรับโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ยกระดับ Ecosystem รองรับการปฏิรูปอุตสาหกรรม และการบริการภาครัฐทันสมัย กรุงเทพฯ 14 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (CIO) ร่วมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ และนายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และระบบออนไลน์ Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการพิจารณากรอบระยะเวลาการจัดทำคำของบประมาณโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 เพื่อรับทราบผลสำรวจความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลของ กสอ. ปี 2567 และแผนการดำเนินงาน ปี 2568 การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัลกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พ.ศ.2566 - 2570 ชี้แจงการจัดทำคำของบประมาณด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของดีพร้อม ปี 2569ให้เป็นไปตามมาตรฐานของ DE (Digital Economy) และข้อกำหนดของ CIO ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการดึงจุดแข็งในด้านของโครงสร้างพื้นฐานที่ดีและเรื่องของซัพพลายเชนที่เข้มแข็งให้ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะลงทุนในเรื่องของเม็ดเงินการลงทุนใหม่ ๆ ในอนาคต โดยดีพร้อมได้เตรียมการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานและแผนงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร การพัฒนาองค์กรด้วยข้อมูลและเทคโนโลยีดิจิทัลและการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน การพัฒนาระบบสนับสนุนการให้บริการผู้ประกอบการ ประชาชน และการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและมาตรการการรับมือภัยคุกคามหรือความเสี่ยงทางไซเบอร์ และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านดิจิทัล เพื่อยกระดับการให้บริการ และการดำเนินงานของกรมฯ สู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างครบวงจร
18 พ.ย. 2567
อธิบดีดีพร้อม นำทีมส่งมอบ ถุง MIND ไม่ทิ้งกัน ส่งต่อความห่วงใยของ “รมต.เอกนัฏ” นำอุตสาหกรรมรวมใจพร้อมให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน รวมถึงผลกระทบจากภัยพิบัติทั่วประเทศ
กรุงเทพฯ 15 พฤศจิกายน 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ร่วมขนย้าย "ถุงอุตสาหกรรมรวมใจ MIND ไม่ทิ้งกัน" ขึ้นรถบรรทุกเพื่อลำเลียงไปส่งมอบเป็นกำลังใจให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน รวมถึงได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดชุมพร ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ซึ่งภายในถุงบรรจุสิ่งของอุปโภค บริโภค และของใช้ที่จำเป็น เป็นถุงยังชีพที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศที่รวมใจส่งมอบรอยยิ้ม เป็นกำลังใจให้กับผู้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดชุมพรในการก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ ตามนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการเตรียมมาตรการป้องกันให้พร้อมรับมือกับปัญหาภัยพิบัติอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการและประชาชน
15 พ.ย. 2567
"อธิบดีดีพร้อม" OPEN HOUSE: Green Technology & Innovate Healthcare for Japan and Thailand Business Matching เร่งเครื่องยนต์อุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ "รมต.เอกนัฏ" ชี้เครือข่ายธุรกิจการแพทย์และสิ่งแวดล้อมไทยยั่งยืน
กรุงเทพฯ 13 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมและกล่าวเปิดงาน OPEN HOUSE : Green Technology & Innovate Healthcare for Japan and Thailand Business Matching พร้อมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และนายพลาวุธ วงวิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ณ ศูนย์ Knowledge Xchange (KX) ที่จัดขึ้นโดย จังหวัดชิมาเนะ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี การจัดงานดังกล่าว เป็นการจับคู่เจรจาธุรกิจกับผู้ประกอบการจากจังหวัดชิมาเนะ ประเทศญี่ปุ่น และผู้ประกอบการ SME ไทยในกลุ่มธุรกิจ Healthcare & Wellness Tech & Green Tech สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ตัวแทนจำหน่ายสินค้า หรือเครื่องมือทางการแพทย์ บริษัทหรือโรงงานผู้รับผลิตสินค้าในไทย ซึ่งภายในงานดังกล่าวสำนักงานจังหวัดชิมาเนะ ประเทศญี่ปุ่น ได้นำคณะผู้ประกอบการเข้าร่วมงานฯ ดังกล่าว ได้แก่ 1) บริษัท Mikuniya Corporation ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องลดปริมาณขยะอินทรีย์ เพื่อนำขยะที่ย่อยสลายแล้ว ไปหมุนเวียนใช้เป็นปุ๋ย 2) บริษัท CC. Kendensha Co., Ltd. ผู้ผลิตและจำหน่ายสารตกตะกอนที่ผลิตจากดินแดง และกากอ้อย เพื่อปรับสภาพน้ำเสียให้กลับมาใสสะอาด 3) บริษัท e-Grid Inc. ผู้พัฒนาเทคโนโลยี AI สำหรับการบริหารจัดการเอกสารในธุรกิจ 4) บริษัท Erisa Co., Ltd. ผู้พัฒนาโปรแกรมประเมินความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมโดยใช้เทคโนโลยี AI 5) บริษัท Resvo Inc. ผู้พัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์ตรวจวัดความเครียดผ่านปัสสาวะ ซึ่งภายในงานฯ ดังกล่าว มีผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจและเข้าร่วมประมาณ 100 ราย ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ คณะผู้บริหารดีพร้อม ได้เข้าร่วมประชุมกับนายนากาอิ ทัตสึยะ ผู้อำนวยการสำนักงานสนับสนุนการขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศ สำนักงานจังหวัดชิมาเนะ ประเทศญี่ปุ่น และคณะ เพื่อหารือถึงแนวทางการต่อยอดความร่วมมือ ระหว่าง ดีพร้อม และจังหวัดชิมาเนะ ในการร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ ที่ทั้งสองหน่วยงานมีความสนใจร่วมกัน โดยจังหวัดชิมาเนะ ให้ความสนใจกับการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นเรื่องที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตคนในปัจจุบัน ทั้งนี้ ดีพร้อม ก็มีความสนใจที่จะยกระดับอุตสาหกรรมดังกล่าวเช่นกัน เนื่องจากประเทศไทยมีนโยบายที่จะเป็น Medical Hub ประกอบกับกระแสรักษ์โลกทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยต้องปรับตัวสู่ Green Industry หรืออุตสาหกรรมสีเขียวในอนาคตอันใกล้ ดังนั้น งานเจรจาจับคู่ธุรกิจในวันนี้ จึงเป็นเหมือนก้าวสำคัญของทั้งประเทศไทย และจังหวัดชิมาเนะ ที่จะยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมสู่สากลร่วมกัน
15 พ.ย. 2567
"ดีพร้อม" เดินหน้าโครงการปี 2568 พร้อมทบทวน ปรับปรุง เป้าหมาย ตัวชี้วัด ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อจัดทำขอคำงบประมาณประจำปี 2569
กรุงเทพฯ 12 พฤศจิกายน 2567 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และนางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมการประชุมชี้แจงการจัดสรรผลผลิตและแนววิธีปฏิบัติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และเตรียมการจัดทำขอคำงบประมาณประจำปี 2569 ร่วมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการชี้แจงเกี่ยวกับกระบวนการขออนุมัติงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยแต่ละหน่วยงานจัดทำข้อมูลโครงการ และดำเนินการจัดส่งรายละเอียดโครงการ/กิจกรรม เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลรายละเอียดโครงการ พร้อมอนุมัติรายละเอียดโครงการต่อไป อีกทั้ง ยังได้กำหนดแนวทางการบริหารงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ให้เป็นไปตามเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณภาพรวม ซึ่งประกอบด้วย งบบุคลากร งบดำเนินงาน งบอุดหนุน งบลงทุน และงบรายจ่ายอื่น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังได้ทบทวน ปรับปรุง เป้าหมายผลผลิต/โครงการ กิจกรรม ตัวชี้วัด ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ พร้อมจัดทำแผนผังความเชื่อมโยง และเตรียมจัดทำคำงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 เพื่อเตรียมรวบรวมคำของบประมาณในภาพรวมของดีพร้อมส่งให้สำนักงบประมาณพิจารณาภายในระยะเวลาที่กำหนดต่อไป
14 พ.ย. 2567