หมวดหมู่
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา หารือผู้ว่าไซตามะ ขยายความร่วมมือเศรษฐกิจการลงทุนทุกระดับ
กรุงเทพฯ 10 พฤศจิกายน 2566 – นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับนายโอโนะ โมโตฮิโระ (Mr. OHNO Motohiro) ผู้ว่าราชการจังหวัดไซตามะ และคณะผู้แทนจากภาคเอกชนและสถาบันการเงินประเทศญี่ปุ่น ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยเพื่อร่วมหารือแนวทางการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการลงทุนในอุตสาหกรรมของประเทศไทย และเพื่อเข้าร่วมงาน Saitama Business Networking in Thailand โดยมีนางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมด้วย ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม การประชุมดังกล่าว จังหวัดไซตามะเน้นย้ำว่าประเทศไทยยังเป็นเป้าหมายแรกในภูมิภาคอาเซียนที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้ามาลงทุน เนื่องจากศักยภาพและความพร้อมด้านทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ โดยเฉพาะบรรยากาศการลงทุนและนโยบายความร่วมมือระหว่างรัฐบาล ที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของทั้งสองประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทจากจังหวัดไซตามะเข้าลงทุนในประเทศไทยแล้วมากถึง 262 บริษัท ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ขับเคลื่อนความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น ผ่านการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ทั้งในระดับรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น รวม 28 แห่ง เพื่อเดินหน้าพัฒนาความร่วมมือในรูปแบบ Local to Local ที่เน้นเชื่อมโยงอุตสาหกรรมที่โดดเด่นของจังหวัดต่าง ๆ ของญี่ปุ่น เข้ากับภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย จังหวัดไซตามะถือเป็นรัฐบาลท้องถิ่นแห่งแรกที่ลงนาม MOU กับกระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งนับเป็นต้นแบบความร่วมมือที่สำคัญในการเริ่มต้นสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ยกระดับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ดำเนินงานร่วมกัน ได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 พ.ย. 2566
ดีพร้อม เร่งปฏิบัติการส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นต้นแบบ องค์กรคุณธรรม ประจำปี 67
กรุงเทพฯ 11 พฤศจิกายน 2566 – นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ครั้งที่ 2/2566 พร้อมด้วย คณะกรรมการฯ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางบุญเจือ วงษ์เกษม ประธานคณะทำงาน นายเพทาย ล่อใจ รองประธานคณะทำงาน และนายเจตนิพิฐ รอดภัย คณะทำงาน ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom Meeting การประชุมครั้งนี้ เป็นการหารือผู้ปฏิบัติงานด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของหน่วยงานในสังกัด กสอ. และผู้แทนคณะทำงานโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามแนวทางมาตรฐานองค์กรแห่งความสุข (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) เข้าร่วมประชุม เพื่อกำหนดแนวทางร่วมกัน ในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และคณะทำงานได้ติดตามผลการดำเนินงานในส่วนต่าง ๆ เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม มีความสอดคล้องแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของกระทรวงอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว และกฎหมาย ยุทธศาสตร์ นโยบายระดับชาติ และแผนงานที่เกี่ยวข้องเกิดการบูรณาการทุกภาคส่วนของหน่วยงานในสังกัด กสอ. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ได้ร่วมพิจารณา 1) ร่างประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง นโยบายขับเคลื่อนเป็นองค์กรคุณธรรม 2) ร่างแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อรักษามาตรฐานการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวคงมาตรฐานดังเดิม ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
11 พ.ย. 2566
เชิญร่วมตอบแบบสอบถามการสำรวจความตระหนักและการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลภาคประชาชน
แบบสอบถามการสำรวจความตระหนักและการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลภาคประชาชน (Privacy First Citizen Survey : P1 Survey) "ไม่หลุด ไม่รั่ว ไม่โดนหลอก" เราปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลได้ดีพอหรือยัง มาร่วมวัดระดับความรู้และการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ไปกับแบบสอบถาม P1 Survey โดย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ตอบแบบสอบถาม เปิดรับคำตอบตั้งแต่วันที่ 1-17 พฤศจิการยน 2566 ลุ้นรับของรางวัล Lotus Gift Card มูลค่า 500 บาท จำนวน รางวัล
10 พ.ย. 2566
ขอเชิญเข้าร่วมอบรมเชิงปฎิบัติการ หลักสูตร “นักการตลาดชุมชนดีพร้อมแบบมืออาชีพ” กิจกรรมเพิ่มศักยภาพทางการตลาดวิถีใหม่ให้ชุมชนดีพร้อม
ขอเชิญเข้าร่วมอบรมเชิงปฎิบัติการ หลักสูตร “นักการตลาดชุมชนดีพร้อมแบบมืออาชีพ” กิจกรรมเพิ่มศักยภาพทางการตลาดวิถีใหม่ให้ชุมชนดีพร้อม ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ภายใต้โครงการ : ยกระดับธุรกิจอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน รับสมัครตั้งเเต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจำนวนผู้สมัครจะเต็ม อบรมวันที่ 20-22 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (รวม 3 วัน) ณ โรงแรม ไอบิส สไตล์ เชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการชุมชน หรือวิสาหกิจชุมชน ที่ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการชุมชนที่ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพระดับพืันฐาน ตามที่กฎหมายกำหนด หรือมาตรฐานอื่น เช่น มอก. อย. GMP สาขาอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย ของใช้และเครื่องประดับตกแต่ง อาหารและเครื่องดื่ม สมุนไพร่ที่ไม่ใช่อาหาร สิ่งที่ท่านจะได้รับ เทคนิคการถ่ายภาพ การสร้างแบรนด์สินค้า เทคนิคการเลือกใช้ Content Marketing แบบมืออาชีพ การเล่าเรื่อง Story Telling ให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชนดีพร้อม เทคนิคการปิดการขายแบบมืออาชีพ สมัครออนไลน์ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวน 30 ท่าน ดาวน์โหลดตารางฝึกอบรม ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 0 5324 5361-2 ต่อ 320 คุณสมพร 08 1531 9151
10 พ.ย. 2566
ขอเชิญรับฟังการบรรยายพิเศษ การลดต้นทุนโลจิสติกส์เเละเพิ่มประสิทธิภาพซัพพลายเชน
กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน การลดต้นทุนโลจิสติกส์เเละเพิ่มประสิทธิภาพซัพพลายเชนเพื่อสร้างความยั่งยืนด้วยมาตรฐานเเละนวัตกรรม ดำเนินการโดย : กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 16 พ.ย. พ.ศ. 2566 หรือจนกว่าจะเต็ม สัมมนาวันเสาร์ที่ 18 พ.ย. พ.ศ. 2566 อบรม online ผ่านโปรแกรม Zoom เวลา 9.00-17.00 น. กลุ่มเป้าหมายหลัก เป็นกิจการ สถานประกอบการภาคการผลิต การค้า บริการ จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย ทุกขนาดธุรกิจ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจถึงแนวทางและหลักการการลดต้นทุนโลจิสติกส์และเพิ่มประสิทธิภาพซัพพลายเชนขององค์กรได้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำหลักการไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้จริง เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำเครื่องมือแบบประเมินศักยภาพ ILPI ไปประยุกต์ใช้ได้ กล่าวเปิดงานและชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ โดย ดร.จิรประภา ขจรบุญ วิทยากร/หัวข้อการอบรม นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ ผอ. กลุ่มมาตรฐานและนวัตกรรมโลจิสติกส์ เวลาบรรยาย 9.00-09.30 น. อ.ณญารร แทนอำพันทอง หัวข้อบรรยาย : เข้าใจซัพพลายเชนเพิ่มแต้มต่อในการเติบโต เวลาบรรยาย 9.30-11.00 น. ผศ.ดำรงค์ ถาวร หัวข้อบรรยาย : แนวทางการลดต้นทุนสินค้าคงคลัง เวลาบรรยาย 11.00 -12.00 น. ดร.อาทร จิตสุนทรชัยกุล หัวข้อบรรยาย : คลังสินค้าขมสมบัติ หรือถังขยะของโรงงาน เวลาบรรยาย 13.00-14.00 น. ดร.วศ.สิริพงศ์ จึงถาวรรณ หัวข้อบรรยาย : Lean Solution เพื่อสร้างกำไรอย่างยั่งยืน เวลาบรรยาย 14.00-15.00 น. อ.สุรศักดิ์ พรบรรเจิดกุล หัวข้อบรรยาย : Transport แนวทางลดต้นทุนขนส่ง เวลาบรรยาย 15.00-16.00 น. อ.สมพงษ์ พูนลาภทวี หัวข้อบรรยาย : การประยุกต์ใช้ดิจิตัลในงานโลจิสติกส์ เวลาบรรยาย 16.00-17.00 น. สมัครออนไลน์ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย หมายเหตุ : 1.เมื่อท่านลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ทีมงานจะส่งอีเมลยืนยันการลงทะเบียน ไปยังอีเมลที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้ใน2.กรณีมีผู้สมัครเข้าอบรมเกินจำนวน 100 ท่าน ทางผู้จัดฯ ขอสงวนสิทธิการคัดเลือกผู้เข้าอบรม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อ.เพ็ญพักตร์ 09 0539 9666 คุณพงศ์กฤษณ์ 08 6564 1295 คุณจิรประภา 08 2929 6595
10 พ.ย. 2566
ขอเชิญ SMEs ภาคการผลิต หรือภาคการค้าและบริการ ในเขตพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ที่สนใจพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนตามแนวทาง ESG
SMEs เติบโตอย่างยั่งยืนไปกับดีพร้อม SMEs ภาคการผลิต หรือภาคการค้าและบริการ พัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืนตามแนวทาง ESG ดำเนินการโดย : กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุสาหกรรม ภายใต้โครงการ : เตรียมความพร้อม SME ศักยภาพเพื่อรองรับการขยายทุนอย่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG" รับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 10 ธ.ค. 66 การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึง ความรับผิดชอบของบริษัทต่อสิ่งแวดล้อม การจัดการความสัมพันธ์และมีการสื่อสาร กับลูกจ้าง suppliers ลูกค้าหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการจัดการบริการความสัมพันธ์ในเชิงการกำกับดูแล เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพโปร่งใส ตรวจสอบ ได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน คุณสมบัติ SMEs ภาคการผลิต รายได้ 100 - 500 ล้านบาท ภาคการค้า (บริการ) รายได้ 50-300 ล้านบาท หรือผู้ที่มีความพร้อมในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน สถานประกอบการอยู่ในเขตพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร การประเมินศักยภาพสถานประกอบการ การประเมินสถานประกอบการ 1 MD การให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกตามแนวทาง ESG 9 MD การจัดทำแผนการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน สมัครเข้าร่วมโครงการออนไลน์ หมายเหตุ : รับจำนวนจำกัด เพียง 5 กิจการเท่านั้น สมัครสมาชิก i.Industry หมายเหตุ : กรณียังไม่เป็นสมาชิก i.Industry สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุสาหกรรม คุณอัจจิมา 08 6907 4886 คุณตรัยพร 08 2624 1653
10 พ.ย. 2566
ขอเชิญผู้ประกอบการ เข้าร่วมอบรมหลักสูตร สร้างจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการอย่างดีพพร้อม
ขอเชิญผู้ประกอบการ SMEs วิสาหกิจชุมชน ผู้สนใจ เข้าร่วมอบรม หลักสูตร สร้างจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการอย่างดีพพร้อม (Enterpreneur Spirit Diprom) ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 ภายใต้โครงการ : การจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ ประจำปีงบประมาณ 2567 รับสมัครตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป - 14 ธ.ค. พ.ศ. 2566 สัมมนาแนะนำโครงการ คัดเลือก สัมภาษณ์ วันที่ 14 ธ.ค. พ.ศ. 2566 อบรมระหว่างวันที่ 18- 26 ธ.ค. พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมพลอยพาเลซ จังหวัดมุกดาหาร วัตถุประสงค์ ส่งเสริมให้ SME จัดตั้งหรือขยายธุรกิจรูปแบบใหม่ ที่มีมูลค่าเเพิ่มขึ้นและอยู่รอดในสังคมอย่างยั่งยืน กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการ SME/วิสาหกิจมีอายุ ไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ในวันรับสมัคร และไม่เกิน 60 ปีในวันรับสมัคร ผู้ประกอบการอาชีพอื่นอยู่แล้ว เช่นข้าราชการ พนักงานผู้ประกอบอาชีพอิสระ/ทายาทธุรกิจ ผู้ประกอบการที่เริ่มต้นประกอบธุรกิจในระยะ 1-3 ปีทียังไม่เข้มแข็งจำเป็นต้องได้รับความรู้ในการสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง นักศึกษาจบใหม่ซึ่งมีแนวความคิดและตั้งใจจะเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Young Entrepreneur) ผู้ว่างงาน ที่มีความตั้งใจจะเป็นผู้ประกอบการ เนื้อหาหลักสูตรการฝึกอบรม 36 ชม./ศึกษาดูงาน 1 วัน รวม 8 วัน) Module 1 สร้างจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการดีพร้อม AMT (6 ชม.) Module 2 พัฒนาผู้ประกอบการใหม่สร้างธุรกิจเชิงนวัตกรรม และ (BMC) จำนวน 18 ชม. Module 3 ส่งเสริมการตลาด/กลยุทธ์ด้านการตลาดบนแพลตฟอร์มโซเชียล จำนวน 12 ชม. Module 4 เข้าถึงแหล่งเงินทุน และนำเสนอแผนธุรกิจ ศึกษาดูงาน 1 วัน สมัครออนไลน์ รับจำนวนจำกัด 35 คนเท่านั้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมเเละผู้ประกอบการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 คุณธีรพงษ์ 08 0318 4282 คุณแหวนเพชร 09 9468 2333
09 พ.ย. 2566
โครงการส่งเสริมสนับสนุนการตรวจรับรองมาตฐานฮาลาล ให้กับผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชน 2567
ยกระดับผลิตภัณฑ์ของคุณให้ดีพร้อมด้วยมาตรฐาน 'ฮาลาล' ไปกับเรา สู่ระบบมาตรฐานฮาลาล เครื่องหมายรับรองฮาลาล ดำเนินการโดย : สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ภายใต้โครงการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการรับรองมาตรฐานฮาลาลให้กับผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชน 2567 โครงการที่คุณจะได้เข้าสู่ระบบมาตรฐานฮาลาลและได้รับการอนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองฮาลาล เปิดรับสมัครวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 – 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 สัมภาษณ์ออนไลน์ 23-24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 (เฉพาะผ่านหลักเกณฑ์) ประกาศผล 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 หลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ ดังนี้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนถูกต้อง (จดทะเบียนนิติบุคคล/จดทะเบียนพานิชย์) โรงงานมี อย. และ GMP Primary ผู้ประกอบการไม่เคยได้การรับรองมาตรฐานฮาลาล (ผู้ประกอบการรายใหม่) ผู้ประกอบการมีความตั้งใจ มุ่งมั่น ในการขอการรับรองฮาลาล รับสมัครโรงงาน/สถานประกอบการ ในพื้นที่ ดังนี้ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ฯลฯ สมัครออนไลน์ ด่วน เพียง 50 กิจการเท่านั้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย 09 2256 3376
09 พ.ย. 2566
ขอเรียนเชิญผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ OTOP
ขอเรียนเชิญผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ OTOP ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ภายใต้โครงการ : การส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรครบวงจร ปีงบประมาณ 2567 ผู้ประกอบการที่มีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ แก้ไขปัญหาผลิตภัณฑ์ ต้องการเพิ่มยอดขาย ลดของเสีย แต่ขาดวิธีการ ขาดความรู้ ต้องการผู้เชียวชาญเข้าช่วยเหลือในกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเป้าหมาย วัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแปรรูปที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เพื่อขยายโอกาสทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป คุณสมบัติผู้สมัครเข้าร่วม กิจกรรม/โครงการ ในพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ จังหวัดพัทลุง กลุ่มเป้าหมาย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ OTOP ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนาให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ ผลไม้ สมุนไพร อาหารแปรรูป เครื่องสำอาง ยางพารา พืชเศรษฐกิจ สาขาเป้าหมาย อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมเครื่องสำอางหรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สิ่งที่จะได้รับจาการร่วมกิจกรรม/โครงการ ได้รับการปรึกษาแนะนำเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตร ด้านการตลาดและแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภค ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์และมาตรฐาน การคำนวณต้นทุนการผลิต การตั้งราคาขาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค รวมทั้งออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสม จำนวน 5 ครั้ง ได้รับต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา เข้าร่วมกิจกรรมทดสอบตลาดกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ลงทะเบียนโครงการออนไลน์ หมายเหตุ : รับจำนวนจำกัด 12 กิจการเท่านั้น ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คุณชัยยศ 08 6940 8984 คุณพรนิภา 09 1813 5604
09 พ.ย. 2566
กระทรวงอุตฯ หารือ กมธ.อุตสาหกรรม ปูทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
กรุงเทพฯ 8 พฤศจิกายน 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ประธานคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร นำคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม ที่ปรึกษา นักวิชาการ และเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ และ ข้าราชการสำนักกรรมาธิการ 1 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เข้าหารือกับคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีนางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมหารือ ณ ห้องประชุม ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร นำเสนอแผนการขับเคลื่อนนโยบายอุตสาหกรรมเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน การปรับภารกิจเข้าสู่ดิจิทัลอย่างเป็นระบบ (Digital Government) การบูรณาการการกำกับดูแลโดยใช้กลไกทางกฎหมาย และกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรม ตลอดจนแผนการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัด ในโอกาสที่คณะกรรมาธิการฯ เดินทางเข้าพบ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นสำหรับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในชั้นกรรมาธิการต่อไป โดยที่ประชุมได้หารือในประเด็นต่าง ๆ อาทิ การส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเดิมให้สามารถปรับไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า สำหรับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพความพร้อม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และการนำเสนอแนวโน้มทิศทางอุตสาหกรรมโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่พร้อมปรับแผนการผลิต รวมทั้งการสนับสนุนแหล่งเงินทุนสำหรับการเปลี่ยนผ่านจากกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรม และการส่งเสริมการทำเหมืองโพแทช ให้สามารถผลิตปุ๋ยได้เองภายในประเทศ ซึ่งช่วยลดรายจ่ายจากการนำเข้าปุ๋ยปีละกว่า 2 หมื่นล้านบาท โดยในส่วนนี้คณะกรรมาธิการฯ ได้เน้นย้ำให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่ ประกอบธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ และบริหารความสัมพันธ์ให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างเป็นสุข ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
09 พ.ย. 2566