หมวดหมู่
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา เปิดงานประจำปี สศอ. OIE FORUM 2023 ครั้งที่ 15 "MIND : Set for Sustainability ปรับมุมคิด พลิกอุตสาหกรรมไทยสู่ความยั่งยืน"
กรุงเทพฯ 13 พฤศจิกายน 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานประจำปี สศอ. OIE FORUM 2023 ครั้งที่ 15 "MIND : Set for Sustainability ปรับมุมคิด พลิกอุตสาหกรรมไทยสู่ความยั่งยืน" และปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจไทยที่ยั่งยืน” พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม โดยมี ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงผลการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังมีมุมมองข้อเสนอแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมจากภาคธุรกิจของไทยโดยนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายสาโรช ชยาวิวัฒน์กุล รองประธานกรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองในการเสวนาหัวข้อ “MIND : Set for Sustainability ปรับมุมคิด พลิกอุตสาหกรรมไทยสู่ความยั่งยืน” โดยผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมระดับแนวหน้าของไทย ได้แก่ นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายพิพิธ เอนกนิธิกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และนายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน อีกทั้งยังมีการจัดแสดงนิทรรศการตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และการเปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ต้นแบบ โดย สศอ. และสถาบันเครือข่าย อก. รวม 11 เรื่อง ทั้งนี้ มีผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้บริหารสถาบันเครือข่าย และประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 2,000 คน ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท และผ่านระบบออนไลน์ (Live Streaming) ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
14 พ.ย. 2566
SMEs DIPROM EP.4 : เที่ยวกระบี่กับห้องพัก Pool Villa วิวทะเล และธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ "ลายวิจิตร"
เที่ยวกระบี่ แบบ ว้าว ว้าว กับห้องพัก Pool Villa วิวทะเลอันดามัน ตาม 2 คุณแม่อารมณ์ดี ซาร่าและหนูเล็ก ไปพักผ่อนแบบสุขภาพดีที่ Wellness Hotel มาตรฐานระดับโลก “โรงแรมอ่าวนาง ปริ้นซ์วิลล์ วิลล่า รีสอร์ต แอนด์ สปา” ไปฟังแนวคิดการทำธุรกิจโรงแรมเพื่อสุขภาพ ที่มีบริการแบบครบครัน พร้อมระบบความปลอดภัยและการช่วยเหลือ Emergency ตลอด 24 ชั่วโมง และไปต่อกันอีกหนึ่งธุรกิจ “ลายวิจิตร” ผู้นำด้านงานบันไดสำเร็จรูป ผลิตเฟอร์นิเจอร์ภายใต้แนวคิด “Zero Waste” สร้างยอดขายกว่า 100 ล้าน
14 พ.ย. 2566
ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มความสามารถ SME ให้ดีพร้อมด้วย ERP ระบบเดียว...เอาอยู่ พัฒนาธุรกิจ องค์กรคุณให้เติบโต
DIPROM CENTER 7 รับสมัครผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วม กิจกรรมการเพิ่มความสามารถ SME ให้ดีพร้อมด้วย ERP ระบบเดียว...เอาอยู่ พัฒนาธุรกิจ องค์กรคุณให้เติบโต สิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ ผู้เชี่ยวชาญเข้าให้คำปรึกษาแนะนำ ดังนี้ วินิจฉัยปัญหาของสถานประกอบการ เลือก (Module) ซอฟต์แวร์ ERP ที่เหมาะสมกับปัญหาของสถานประกอบการ ติดตั้งซอฟท์แวร์ ที่คัดเลือกร่วมกับสถานประกอบการ พร้อมทั้งอบรมการใช้งานให้กับบุคลากรในองค์กร และผู้เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ณ สถานประกอบการ จำนวน 4 MD (24 ชม.) จัดเก็บข้อมูล เปรียบเทียบผลก่อนและหลังปรับปรุง คุณสมบัติผู้สมัคร จดทะเบียนการค้า ได้แก่ บุคคลธรรมดาคนเดียว หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ บริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัด ประกอบกิจการทุกอุตสาหกรรม ดำเนินกิจกรรมตั้งแต่ ธันวาคม 2566 ถึง พฤษภาคม 2567 รับสมัครตั้งแต่วันนี้! หรือ หมายเหตุ: สถานประกอบการที่สมัครต้องอยู่พื้นที่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 086-4650162 (พิจิตต์)
14 พ.ย. 2566
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร ห้ามพลาด หลักสูตรปรับธุรกิจให้รุ่งปรุงกลยุทธ์การตลาดให้รอด ในยุค Next Normal
ขอเชิญชวน ผู้ประกอบการธุรกิจอาหารจังหวัดตรัง หลักสูตรปรับธุรกิจให้รุ่งปรุงกลยุทธ์การตลาดให้รอด ในยุค Next Normal ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ภายใต้โครการ : 5.1-1 การปรับธุรกิจให้รองรับการเปลี่ยนแปลง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รับสมัครตั้งเเต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจำนวนผู้สมัครจะเต็ม อบรมระหว่างวันที่ 6-7 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้องอีโค่ 4 ชั้น 1 โรงแรม อีโค่อินน์ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง ผู้เรียนหลักสูตรนี้ ลุ้นรับฟรี รีวิวสุดปัง จากอินฟลูเอนเซอร์ ที่มียอดติดตามมากกว่า 100,000 คน เป็นหลักสูตรที่จะทำให้ธุรกิจคุณโตขึ้นด้วยแนวทางการทำการตลาดยุคใหม่ ที่กำลังมาแรงด้วยโลกออนไลน์ พร้อมการทำ Workshop จริง หัวข้อการอบรม กลยุทธ์การตลาดแบบรู้ใจลูกค้าด้วยCustomer Persona เคล็ดลับการทำการตลาดแบบครบวงจรด้วยPENCIL STRATEGY ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน การทำคอนเทนต์ให้ปังได้แสนง่ายด้วย Chat GPT การสร้างยอดขายกับลูกค้าเก่าด้วย LINE OA Strategy กลยุทธ์การทำ Tiktok x Tiktok Shop เพื่อสร้างแบรนด์ให้โด่งดัง สมัครออนไลน์ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย (รับจำนวนจำกัด 20 ท่าน) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 09 9241 9698 (คุณมนิตรียา) 08 1956 7301 (คุณสุระพิณ)
13 พ.ย. 2566
ขอเชิญเข้าร่วม ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร ปรับธุรกิจอาหารให้โดนใจ ดึงดูดลูกค้าได้อย่างดีพร้อม
เชิญชวนผู้ประกอบการ ธุรกิจอาหาร ทุกรูปแบบ เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร ปรับธุรกิจอาหารให้โดนใจ ดึงดูดลูกค้าได้อย่างดีพร้อม ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 อบรมระหว่างวันที่ 28 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ ระยอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง คุณสมบัติ เป็นผู้ประกอบการ ธุรกิจอาหาร ทุกรูปแบบ รวมถึงร้านสตรีทฟู้ด ฟู้ดทรักซ์ ในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออก ทำอย่างไรให้ร้านเป็นที่รู้จัก สอนเทคนิคการจัดตกแต่งอาหารที่ใครเห็นก็อยากลิ้มลอง โดย เจ้าของร้าน Coffee zone classic จ.ระยอง การถ่ายภาพอาหาร เครื่องดื่ม สร้างคอนเทนต์กระตุ้นต่อมน้ำลาย โดย คุณยุทธนา ผู้เชี่ยวชาญด้าน VDO และการโปรโมทธุรกิจออนไลน์ สนใจสมัคร ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย (รับจำนวนจำกัด 25 ท่าน) หมายเหตุ : 1. ผู้ลงทะเบียนต้องสมัครสมาชิกในระบบทะเบียนลูกค้ากระทรวงอุตสาหกรรม สมัครได้ที่ https://i.industry.go.th/ 2. ผู้เข้าร่วมอบรมต้องสะดวกเข้าร่วมอบรมทั้ง 3 วัน 3. ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมอบรมจะได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ ผ่านการติดต่อทางโทรศัพท์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 คุณสุดาพร 06 4637 2752 , 08 1245 4730
13 พ.ย. 2566
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วม กิจกรรมยกระดับการออกแบบบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์
กิจกรรมยกระดับการออกแบบบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ Creative Packaging Design ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 กิจกรรมประกอบด้วย ให้คำปรึกษาแนะนำเแก่ผู้ประกอบการด้านการออกแบบ บรรจุภัณฑ์และกราฟิก จำนวนไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง / 1 กิจการ ออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่ส่งเสริม Soft Power ของไทย ในด้านต่าง ๆ จัดทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์ ประโยชน์ที่จะได้รับ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ธุรกิจในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สามารถนำความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ / บรรจุภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ได้ต้นแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อทดสอบตลาด และไฟล์งานออกแบบเพื่อใช้ผลิตต่อไป คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้า 4 จังหวัด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ ผู้ประกอบการจดทะเบียนนิติบุคคล หรือทะเบียนพาณิชย์ ผู้ประกอบการในสาขาอุตสาหกรรม ดังนี้ อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป และอุตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ สมัครออนไลน์ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย (รับจำนวนจำกัด) ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 คุณม๋าเหมี่ยว 08 2151 9973
13 พ.ย. 2566
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทยและรักษามาตรฐานการผลิตหรือแปรรูป
เข้าร่วมอบรม “หลักสูตรการผสานศาสตร์ของสมุนไพรเพื่อสร้างสรรค์เครื่องสำอางจากธรรมชาติ’’ สมุนไพรก้าวหน้า เพิ่มมูลค่า - รักษามาตรฐาน ดำเนินการโดย : กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณาจารย์จาก ภาควิขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยากรที่มากด้วยประสบการณ์ในวงการเครื่องสำอางทั้งในและต่างประเทศ ในวันที่ 7-8 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ณ อาคารมหามกุฎ ชั้น 3 ห้อง 308—309 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กิจกรรม การใช้เครื่องมือ GC-Mร วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของกลิ่นในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง การใช้เครื่องมือ LC-MS ในการวิเคราะห์สารสำคัญและการติดตามความคงสภาพผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง หัวข้อการอบรม มาตรฐานการผลิตและแปรรูปสมุนไพรไทย การสกัดสมุนไพรให้ได้สารออกฤทธิ์ที่ต้องการ ระบบการกักเก็บ นำส่งและยืดเวลาการออกฤทธิ์ของสารสำคัญ เทคโนโลยีการกักเก็บสารออกฤทธิ์สมุนไพรด้วยพอลิเมอร์ชีวภาพ การสกัด สารออกฤทธิ์ นวัตกรรม กระชายดำ ขมิ้นชัน ไพล การวิเคราะห์เชิงคุณภาพและปริมาณในผลิตภัณฑ์ กลยุทธการตลาด การใช้ Raman Spectroscopy กับวัตถุดิบสมุนไพร ลงทะเบียนออนไลน์ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย (รับจำนวนจำกัด ไม่เกิน 80 ท่าน) ติดต่อสอบถามรายละเอียด รศ.ดร.พัฒทรา ธีรพิบูลย์เดช 08 1296 1475 : pattara.t@chula.ac.th
13 พ.ย. 2566
ดีพร้อม เร่งปฏิบัติการส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นต้นแบบ องค์กรคุณธรรม ประจำปี 67
กรุงเทพฯ 11 พฤศจิกายน 2566 – นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ครั้งที่ 2/2566 พร้อมด้วย คณะกรรมการฯ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางบุญเจือ วงษ์เกษม ประธานคณะทำงาน นายเพทาย ล่อใจ รองประธานคณะทำงาน และนายเจตนิพิฐ รอดภัย คณะทำงาน ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom Meeting การประชุมครั้งนี้ เป็นการหารือผู้ปฏิบัติงานด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของหน่วยงานในสังกัด กสอ. และผู้แทนคณะทำงานโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามแนวทางมาตรฐานองค์กรแห่งความสุข (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) เข้าร่วมประชุม เพื่อกำหนดแนวทางร่วมกัน ในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และคณะทำงานได้ติดตามผลการดำเนินงานในส่วนต่าง ๆ เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม มีความสอดคล้องแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของกระทรวงอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว และกฎหมาย ยุทธศาสตร์ นโยบายระดับชาติ และแผนงานที่เกี่ยวข้องเกิดการบูรณาการทุกภาคส่วนของหน่วยงานในสังกัด กสอ. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ได้ร่วมพิจารณา 1) ร่างประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง นโยบายขับเคลื่อนเป็นองค์กรคุณธรรม 2) ร่างแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อรักษามาตรฐานการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวคงมาตรฐานดังเดิม ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 พ.ย. 2566
"ไพลิน" เลขานุการรัฐมนตรีฯ ก.อุตฯ เปิดฝึกอบรม "สร้างโอกาส พัฒนาอาชีพ สู่เศรษฐกิจชุมชน” ส่งผลต่อเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตและยั่งยืน
กรุงเทพฯ 11 พฤศจิกายน 2566 - ดร.ไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “สร้างโอกาส พัฒนาอาชีพ สู่เศรษฐกิจชุมชน” พร้อมเยี่ยมชมฐานการเรียนรู้ และร่วมฝึกปฏิบัติ โดยมี นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ ของการจัดกิจกรรมฯ และมีนางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปฏิบัติราชการประจํารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวขอบคุณ ณ วัดจันทวงศาราม (กลาง) แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันนโยบายสำคัญของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี คือ เศรษฐกิจของไทยที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิรัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของโลกที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ความแปรปรวนของสภาพอากาศ และโรคอุบัติใหม่ พร้อมกับประเทศไทยที่กำลังเผชิญกับการเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์ (Aged Society) โดยมีคนสูงวัยมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด มีความจำเป็นต้องฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทางกระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้ความสำคัญกับนโยบายเพื่อฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กำหนดนโยบายในมิติการกระจายรายได้ให้กับประชาชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ได้จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “สร้างโอกาส พัฒนาอาชีพ สู่เศรษฐกิจชุมชน” ณ วัดจันทวงศาราม (กลาง) แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพ ขึ้นในวันนี้ เพื่อเป็นถ่ายทอดองค์ความรู้ จำนวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรที่ 1 การผลิตบ๊ะจ่าง สร้างโอกาส และ หลักสูตรที่ 2 การผลิตน้ำยำ ให้กับผู้สูงวัย ประชาชนผู้สนใจทั่วไป หรือผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมชุมชน หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มอาชีพในชุมชน จำนวน 100 คน ในการสร้างโอกาสให้กับสังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์ (Aged Society) ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ช่วยก่อให้เกิดการยกระดับมาตรฐาน การครองชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนให้ดีขึ้น รวมถึงการแก้ไขปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้า โดยได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านผู้มีองค์ความรู้ เป็นการเสริมสร้างทักษะให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ในสาขาอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ด้วยตนเอง ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและเกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ประกอบการหรือประชาชนในพื้นที่สามารถนำองค์ความรู้และสั่งสมความเชี่ยวชาญ ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้คนในชุมชนรุ่นต่อไป สามารถขยายผลการดำเนินงานไปยังพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งสามารถช่วยยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากทำให้เกิดการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดการกระจายรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน เกิดการสร้างงานและสร้างอาชีพในชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตและมีความเข้มแข็ง และเป็นพลังสำคัญ ในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความยั่งยืนต่อไป ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 พ.ย. 2566
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา มอบนโยบาย สอจ.สุราษฎร์ธานี - ศูนย์ฯ ภาคที่ 10 ย้ำนโยบายสำคัญ “อุตสาหกรรมเติบโตอย่างยั่งยืน ชุมชนมีความสุข”
จ.สุราษฎร์ธานี 10 พฤศจิกายน 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตรวจราชการและมอบนโยบายให้แก่หน่วยงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีนายวัชรินทร์ ไชยานุพงศ์ อุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี (อสจ.สุราษฎร์ธานี) นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้แทนศูนย์วิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงานภาคใต้ สาขาย่อยจังหวัดจังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้การภาค 7 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สาขาสุราษฎร์ธานี ร่วมต้อนรับ ณ ห้องประชุมศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จังหวัดสุราษฎร์ธานี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กล่าวให้กำลังใจการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ผู้บริหาร บุคลากรทุกคนเป็นกำลังหลักสำคัญในการขับเคลื่อนองคาพยพของกระทรวงอุตสาหกรรม และยังต้องมีหน้าที่เป็นผู้ประสานระหว่างชุมชนถึงโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมเดินหน้าอยู่คู่ชุมชนได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้ขอให้หน่วยงานทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนประเทศสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตอย่างสมดุลในระยะยาวทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ ให้เติบโตคู่ชุมชนยั่งยืน" ซึ่งเป็นแนวทางของการพัฒนาอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่สามารถเติบโตไปได้ อยู่ได้ร่วมกับชุมชนอย่างมีความสุขนั่นเอง อสจ.สุราษฎร์ธานี ระบุว่า พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจการ จำนวน 934 โรง มีจำนวนการจ้างงาน 36,419 คน โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มการผลิตอื่น ๆ เช่น ขุดดิน ดูดทราย ผลิตไฟฟ้า คัดแยกวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว จำนวน 364 โรงงาน กลุ่มแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ จำนวน 232 โรงงาน กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ผลิตน้ำแข็ง เครื่องดื่ม แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร จำนวน 135 โรงงาน กลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ยาง จำนวน 69 โรงงาน และกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม จำนวน 10 โรงงาน มีเงินลงทุน จำนวน 65,334.48 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีประทานบัตรเปิดการทำเหมือง จำนวน 33 ประทานบัตร และยังได้รายงานการปฏิบัติงานที่เห็นผลสำคัญ คือ โครงการยกระดับสินค้าเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัยด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ ที่มีแนวโน้มมุ่งสู่ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีความสะดวกในการบริโภค มีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม สามารถคงคุณภาพผลิตภัณฑ์ไว้ได้ยาวนาน การเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกร ผู้ผลิต หรือเอสเอ็มอี มีขีดความสามารถพร้อมเข้าสู่การผลิตสินค้าที่มีคุณค่าเพิ่ม (Value Creation) ภายใต้กระบวนการผลิตอาหารปลอดภัย (Food Safety) ทั้งนั้มีโครงการค่าใช้จ่ายแปรรูปสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม 1 จังหวัด 1 ชุมชน เสริมสร้างความรู้ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ต้นแบบ และทดสอบตลาด ในปี 2566 โดยมีกรณีที่ประสบความสำเร็จ คือ ซอสคั่วกลิ้งปรุงสำเร็จ จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านควนไทร ต.ท่าโรงช้าง อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ได้พัฒนาต่อยอดมาจากส่วนผสมพื้นถิ่นที่ได้รับความนิยมอย่างมาก นอกจากนี้ยังได้รายงานถึงการดำเนินงาน “พลอยได้..พาสุข” ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักอินทรีย์ ภายใต้โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อสนับสนุนการแข่งขันแบบจำลองธุรกิจและการนำไปดำเนินการ” เป็นโครงการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจชุมชน หรือ กลุ่มบุคคล ที่มีศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ในการนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (Waste) หรือ วัสดุพลอยได้ (By-product) จากภาคอุตสาหกรรม มาต่อยอดทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มตามหลักแนวคิด “การพึ่งพาอาศัยกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมและชุมชน” ซึ่งเห็นผลและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอีกด้วย ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ศภ.10 ภาพข่าว
13 พ.ย. 2566