หมวดหมู่
เข้าร่วมกิจกรรมลดต้นทุนโลจิสติกส์และเพิ่มประสิทธิภาพซัพพลายเชน
ขอเชิญสถานประกอบการ กลุ่มอุตสาหกรรม ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เข้าร่วมกิจกรรมลดต้นทุนโลจิสติกส์และเพิ่มประสิทธิภาพซัพพลายเชน ให้คำแนะนำเชิงลึก จำนวน 7 วัน ดำเนินการโดย : กลุ่มมาตรฐานและนวัตกรรมโลจิสติกส์ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้กิจกรรม : พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2567 "การพัฒนาการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานด้วยมาตรฐานและนวัตกรรม" วัตถุประสงค์ : เพื่อสนับสนุนสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมให้ยกระดับและพัฒนาการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ด้วยมาตรฐานและนวัตกรรมโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือลดต้นทุนโลจิสติกส์แก่สถานประกอบการได้ไม่น้อยกว่า 15% ต่อกิจการ สาขากลุ่มเป้าหมาย 10 กลุ่ม คือ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ยางและพลาสติก อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์และเครื่องสำอางค์ อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมกระดาษสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและเครื่องจักรกลทางการเกษตร อุตสาหกรรมเซรามิค อุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่องตามการพิจารณาของคณะกรรมการโครงการฯ รวม 40 กิจการ และอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย คือ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล อยุธยาฯ เเละสระบุรี สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับ เครื่องมือช่วยในการบริการจัดการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน การประเมินศักยภาพด้วย ILPI และ SCORmark เพื่อยืนยันประเด็นปัญหาที่แท้จริง การวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ไขปัญหาเชิงลึก ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ให้คำแนะนำและ Coaching เชิงลึก ณ สถานประกอบการ การันตรีผลการลดต้นทุนโลจิสติกส์ไม่ต่ำกว่า 15% คุณสมบัติของผู้สมัคร เป็นกิจการ/สถานประกอบการภาคการผลิต ภายใต้อุตสาหกรรมเป้าหมาย และอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทยและมีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทย 51% ไม่เคยเข้าโครงการให้คำปรึกษาเชิงลึก กิจกรรมอื่นภายใต้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในปีงบประมาณ 2566 ขนาดธุรกิจ SME และมหาชน สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 30 พ.ย. 66 และปิดรับสมัครทันทีเมื่อครบ 5 กิจการต่อกลุ่มอุตสาหกรรม ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม อ.เพ็ญพักตร์ (09 0539 9666) คุณพงศ์กฤษณ์ (08 6564 1295) คุณจิรประภา (08 2929 6595)
07 ธ.ค. 2566
เชิญสถานประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมยกระดับสถานประกอบการ
รับสมัครสถานประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมยกระดับสถานประกอบการ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโยโลยีหุ่นยนต์ระบบอัติและดิจิทัลโนมัติ ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ระยะเวลาดำเนินงาน : วันที่ 10 ธันวาคม 2566 - 20 พฤษภาคม 2567 คุณสมบัติผู้สมัคร เป็น SMEs จดทะเบียน นิติบุคคล และมีคนไทยถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 51% อยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก (ยกเว้นจังหวัดสมุทรปราการ) เป็นอุตสาหกรรม S-CURVE , อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ,อุตสาหกรรมเกษตรแปรูปและอาหารแปรรูป มีความต้องการเพิ่มผลิตภาพด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล มีความพร้อมด้านงบประมาณ บุคคลากรและสถานที่ ประโยชน์ที่ได้รับ : สถานประกอบการจะได้รับคำแนะนำเชิงลึกเพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและดิจิทัลในสายการผลิต เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ - 20 ธ.ค. 2567 รับจำนวนจำกัด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณฐิติมา (08 9251 2516) คุณทัศน์วรรณ 0 3821 5033 ต่อ 1009
06 ธ.ค. 2566
เชิญเข้าร่วมกิจกรรม พัฒนาสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
ขอเชิญผู้ประกอบการที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรม พัฒนาสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้โครงการ : การพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม วัตถุประสงค์ : พัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ของสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้สามารถปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต การคมนาคมทางเลือกอื่น หรืออุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าสูงอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณสมบัติผู้เข้าร่วมกิจกรรม เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภาคการผลิต อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่หรืออุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ชิ้นส่วนรถยนต์ไฮบริด อุปกรณ์ตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และสถานประกอบการที่่ต้องการพัฒนาเป็นยานยนต์สมัยใหม่ สัดส่วนผู้ถือหุ้นชาวไทย ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51 เป็นสถานประกอบการที่ยังดำเนินธุรกิจอยู่ และมีเลขนิติบุคคล สถานประกอบการอยู่ในพื้นที่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว เงื่อนไขการรับบริการ : วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภาคการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ หรืออุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 กิจการ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ สถานประกอบการยานยนต์ที่ต้องการพัฒนาเป็นยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับยานยนต์สมัยใหม่ มีรายได้ไม่เกิน 500 ล้านบาท/ปี มีบุคลากรภายในองค์กรไม่เกิน 200 คน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม นางสาวเรณู แซ่เตียว นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ 09 4481 3444
06 ธ.ค. 2566
เชิญเข้าร่วม "กิจกรรมเพิ่มศักยภาพ SME ไทยให้ดีพร้อมด้วยโมเดลธุรกิจดิจิทัล e-Commerce 4.0"
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ SME ที่ต้องการนำเทคโนโลยี ทางด้าน e-commerce ไปใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ สมัครเข้าร่วมกิจกรรม เพิ่มศักยภาพ SME ไทยให้ดีพร้อมด้วยโมเดลธุรกิจดิจิทัล e-Commerce 4.0 ภายใต้โครงการ : เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สิ่งที่จะได้รับ ได้รับการจัดทำโมเดลธุรกิจดิจิทัล (Digital Business Model) ที่ช่วยวางกลยุทธ์ การตลาด สินค้า บริการ และลูกค้าของแบรนด์ ได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการใช้เครื่องมือการตลาดออนไลน์ (Digital Marketing Tool) ได้รับการพัฒนาด้านการบริหารจัดการระบบหลังบ้าน (Back office system) ของการขายสินค้าออนไลน์ คุณสมบัติผู้สมัคร เป็นได้ทั้งภาคการผลิต ภาคการค้า หรือภาคการบริการ ประกอบกิจการในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ พะเยา เชียงราย) เป็นอุตสาหกรรมในสาขาอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป สาขาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป สาขาอุตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ และ/หรือสาขาอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องการนำเทคโนโลยีทางด้าน e-commerce ไปใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ ระยะเวลาดำเนินกิจกรรม ธันวาคม 2566 - เมษายน 2567 สมัครด่วน วันนี้ - 15 ธันวาคม 2566 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัดเพียง กิจการที่ผ่านการคัดเลือก เท่านั้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 09 2615 8955 (คุณเจริญ) 09 5631 3331 (คุณหัสนัย)
06 ธ.ค. 2566
เปิดรับสมัครบุคลากรแฟชั่นเข้าร่วมหลักสูตร FASHION POWERHOUSE จับมือดีไซเนอร์-อุตสาหกรรม
สมัครเข้าร่วมหลักสูตร FASHION POWERHOUSE ปลุกพลังสร้างสรรค์ ดันกระแสแฟชั่นไทย กิจกรรมนี้ : ออกแบบโดยคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านแฟชั่น จัดโดย : กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กิจกรรมพิเศษส่งท้ายปี โอกาสครั้งสำคัญ ในการร่วมกันหาทางออกและพัฒนาอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย ตามแนวคิดอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันและยกระดับแบรนด์ไทยสู่ตลาดโลก ด้วยการพัฒนาด้านคุณค่า คุณภาพ และความยั่งยืน หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ นักออกแบบ ผู้ประกอบการและผู้นำในธุรกิจ SMEs ในอุตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ ที่ต้องการปรับตัว ต่อยอด หรือขยายธุรกิจ สัมมนาเชิงอภิปรายและปฏิบัติการ โดยวิทยากรมากประสบการณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม พร้อมรับฟังกรณีศึกษาจากแบรนด์ระดับสากล สร้างความเข้าใจระหว่างโรงงานและนักออกแบบ เพื่อเปิดประตูสู่ความร่วมมือ ร่วมกิจกรรมเจรจาธุรกิจ เพื่อเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่าและสร้างโอกาสจากทรัพยากรที่มี วันที่ 14-15 ธันวาคม 2566 และวันที่ 8-9 มกราคม 2567 ห้อง ICONLUXE Gallery ห้างสรรพสินค้า ICONSIAM รับเพียง 30 ที่นั่งเท่านั้น ไม่มีค่าใช้จ่าย สมัครภายในวันที่ 9 ธันวาคม 2566 ลงทะเบียนทาง https://forms.gle/DAvLnGxyazF7xXpN7
06 ธ.ค. 2566
เชิญสมัครเข้าร่วมอบรม หลักสูตร “การวินิจฉัยสถานประกอบการเพื่อยกระดับความสามารถใน การแข่งขัน
ขอเชิญชวนที่ปรึกษาสมัครคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมการอบรม หลักสูตร “การวินิจฉัยสถานประกอบการเพื่อยกระดับความสามารถใน การแข่งขัน (SHINDAN) ดำเนินการโดย : กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาที่เข้มข้น พร้อมทักษะในการเป็นที่ปรึกษาด้านวินิจฉัย ทำให้สามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม และวิเคราะห์สภาพปัญหาแบบนักวินิจฉัยมืออาชีพ รายละเอียดการฝึกอบรมฯ ทฤษฎี วันที่ 25-27 ธันวาคม และวันที่ 8-9 มกราคม 2566 ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ OJT วันที่ 10 มกราคม 2567 ณ สถานประกอบการ ทำรายงานและนำเสนอ ในวันที่ 11-12 มกราคม 2567 ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ เงื่อนไขการสมัคร สำหรับที่ปรึกษาที่ไม่เคยอบรม หลักสูตรวินิจฉัยสถานประกอบการมาก่อน เป็นสมาชิก i.Industry.go.th และสอบผ่านข้อเขียน I3C สมัครผ่านระบบ customer.diprom.go.th พร้อมแนบประวัติส่วนตัว (CV) ในระบบ วิธีการสมัคร กรณียังไม่เป็นสมาชิก i-Industry กรุณาสมัครสมาชิกก่อน ได้ที่ https://i.industry.go.th/ สมัครเข้าร่วมอบรม ได้ที่ customer.diprom.go.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณณัฐพร (09 8292 9676) คุณตรัยพร (08 2624 1653)
06 ธ.ค. 2566
“อธิบดีภาสกร" ร่วมพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
กรุงเทพฯ 5 ธันวาคม 2566 - นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าเฝ้าตามหมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานฯ ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สำนักพระราชวัง ดำเนินการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พุทธศักราช 2566 ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงวางพานพุ่มดอกไม้ถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
06 ธ.ค. 2566
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา หารือกับผู้นำชุมชน เอกชน เร่งพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กลุ่มจังหวัดอีสานตอนบน 1 สู่การยกระดับศักยภาพในพื้นที่
จ.อุดรธานี 3 ธันวาคม 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2566 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (จังหวัดบึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะฯ ได้ลงพื้นที่ประชุมร่วมกับผู้นำชุมชน เอกชน และส่วนราชการในพื้นที่ เพื่อหารือข้อเสนอการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จังหวัดอุดรธานี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า ในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการและภาคเอกชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุมนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ได้นำข้อเสนอของภาคเอกชนในพื้นที่ 2 ข้อ คือ 1.โครงการยกระดับรายได้เกษตรกรภายใต้การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (Income enhancement project for farmers under Sabaidee Excellent Center for Local Development: SDEC) โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี และ 2.โครงการศึกษาระบบโลจิสติกส์และวางแผนการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 สู่ NeEC และเชื่อมโยงภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี เข้าในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยทั้ง 2 โครงการได้รับการอนุมัติจากกระทรวงอุตสาหกรรม และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อน “ทั้งสองโครงการมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และยกระดับศักยภาพพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 โดยโครงการยกระดับรายได้เกษตรกรภายใต้การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (SDEC) จะมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และโครงการศึกษาระบบโลจิสติกส์และวางแผนการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 สู่ NeEC และเชื่อมโยงภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มุ่งเน้นการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในพื้นที่” ทั้งนี้ การลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2566 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (จังหวัดบึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี มีนางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ นางสาวณัฎฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการ รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นางศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตาสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะข้าราชการของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
06 ธ.ค. 2566
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและพบปะสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุดรธานี
จ.อุดรธานี 3 ธันวาคม 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2566 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (จังหวัดบึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี) โดยในจุดที่สอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะฯ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและพบปะสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อสถานการณ์ราคาอ้อยและน้ำตาลทรายในปัจจุบัน ล่าสุดราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานกิโลกรัมละ 21-22 บาท จากเดิมที่กิโลกรัมละ 19-20 บาท โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะใช้เป็นองค์ประกอบในการคำนวณราคาอ้อยขั้นต้น จะทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยและโรงงานมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2566/67 ได้มีการผลักดันให้มีราคาที่ 1,400 บาท/ตันอ้อย เนื่องจากต้นทุนการผลิตอ้อยของชาวไร่สูงขึ้นและความต้องการน้ำตาลทรายในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งการขึ้นราคาน้ำตาลทรายในครั้งนี้ ส่งผลดีต่อชาวไร่อ้อยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ติดตามสถานการณ์ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลก ว่าจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลในประเทศอย่างไร พร้อมหาแนวทางช่วยเหลือดูแลปัญหาอย่างใกล้ชิด จากนั้น คณะฯ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการพันธุ์อ้อย ชมการสาธิตการใช้โดรนในการใส่ปุ๋ย พ่นยาฆ่าแมลง ชมการสาธิตเครื่องจักรกลการเกษตร การวิเคราะห์ดิน และการผสมปุ๋ย พร้อมมอบรางวัลให้กับชาวไร่อ้อยดีเด่น และมอบเครื่องสางใบอ้อยให้เกษตรกรชาวไร่ยืมไว้ใช้ในการดำเนินงาน โดยมีนางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ นางสาวณัฎฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการ รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นางศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตาสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะข้าราชการของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
06 ธ.ค. 2566
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา เร่งรัด “โครงการเหมืองแร่โพแทช อุดรฯ” กำชับ “กพร.” กำกับดูแลกิจการให้เป็นเหมืองแร่ดีอยู่คู่ชุมชน
จ.อุดรธานี วันที่ 3 ธันวาคม 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2566 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (จังหวัดบึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี โดยในจุดแรก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะฯ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเหมืองโปแตช บริษัทเอเซีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชัน จำกัด ตําบลหนองไผ่ อําเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ซึ่งดำเนินโครงการเหมืองแร่โพแทชจังหวัดอุดรธานี ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดอุดรธานี ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 15 – 20 กิโลเมตร ครอบคลุมอําเภอเมืองอุดรธานี และอําเภอประจักษ์ศิลปาคม มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 26,446 ไร่ โดยข้อมูลทางธรณีวิทยาพบว่าปริมาณสำรองแร่โพแทชในพื้นที่ประทานบัตรทั้งหมดรวม 267 ล้านตัน ซึ่งจะสามารถนำแร่ขึ้นมาผลิตเป็นปุ๋ยโพแทชได้ประมาณ 34 ล้านตัน ทั้งนี้แร่โพแทชเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตปุ๋ยซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตหลักในภาคเกษตรกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า โครงการเหมืองแร่โพแทชจากบริษัท เอเซีย แปซิฟิค โปแตช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (APPC) ได้รับประทานบัตรการทำเหมืองเมื่อเดือนตุลาคม 2565 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับสถาบันการเงินเพื่อใช้สนับสนุนการดำเนินโครงการฯ ซึ่งหากสถาบันการเงินให้การอนุมัติก็จะเร่งรัดการผลิตแร่โพแทชให้ได้ภายใน 3 ปี ส่วนกรณีการคัดค้านจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุดรธานี ที่กังวลต่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพและเศรษฐกิจในพื้นที่ เช่น มลพิษทางอากาศ ทางน้ำ และทางดิน ผลกระทบต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนในพื้นที่นั้น ได้สั่งกำชับให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) และ อุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับบริษัทฯ ชี้แจงและจัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลโครงการและสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีร่วมกำกับดูแลการทำเหมือง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ด้าน กพร. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลโครงการฯ ได้กำหนดมาตรการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไว้ เช่น การติดตั้งเครื่องบำบัดฝุ่นในบริเวณก่อสร้างอุโมงค์และเครื่องจักร การติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศในบริเวณพื้นที่เฝ้าระวัง การติดตามตรวจวัดเสียงไม่ให้เกินค่ามาตรฐานและติดตั้งแผ่นป้องกันเสียงในบริเวณที่คาดว่าอาจได้รับผลกระทบ การรังวัดการทรุดตัวของพื้นที่ทำเหมืองด้วยกล้องสมัยใหม่และโดรน การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั่วไป การใช้เทคโนโลยีวัดผลกระทบในการก่อสร้างอุโมงค์ และการใช้เทคโนโลยีการป้องกันผลกระทบจากน้ำไหลเข้าอุโมงค์ เป็นต้น ทั้งนี้ โครงการเหมืองแร่โพแทชจังหวัดอุดรธานี คาดจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อประเทศและประชาชน ในส่วนของภาครัฐจะได้ค่าภาคหลวงแร่ร้อยละ 7 คิดเป็นเงินประมาณ 35,000 ล้านบาท ทำให้เกิดการจ้างงานกว่า 1,000 อัตรา ขณะที่ชาวบ้านรอบพื้นที่โครงการฯ จะได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากโครงการและกองทุนต่าง ๆ อีก 6 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบพื้นที่เหมือง กองทุนเฝ้าระวังสุขภาพ กองทุนการศึกษาเพื่ออนาคตเยาวชน กองทุนประกันความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน กองทุนสวัสดิการชุมชน และกองทุนช่วยเหลือค่าปุ๋ยเกษตรกรในพื้นที่ประทานบัตร รวมทั้งเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินในพื้นที่ประทานบัตรยังได้รับเงินค่าทดแทน (ค่าลอดใต้ถุน) ในอัตราไร่ละ 45,500 บาท โดยแบ่งเฉลี่ยจ่าย 24 งวดตลอดอายุประทานบัตร โดยมีนางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ นางสาวณัฎฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการ รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นางศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตาสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะข้าราชการของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
06 ธ.ค. 2566