หมวดหมู่
ดีพร้อม ประชุมชี้แจงกรอบทิศทางการจัดสรรงบฯ ปี 67
กรุงเทพฯ 21 มีนาคม 2567 - นายวาที พีระวรานุงพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุม “ชี้แจงการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของ กสอ." ร่วมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการแจกแจงรายละเอียดการจัดสรรงบประมาณทั้งหมด 16 โครงการ (7 แผนงาน) รวมถึงเป้าหมายของแต่ละโครงการประกอบด้วย คน กิจการ กลุ่ม ผลิตภัณฑ์ ต้นแบบ และ รูปแบบ เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องได้รับทราบกรอบทิศทางการจัดสรรงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รวมถึงสามารถดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ ###PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 มี.ค. 2567
ขอเชิญฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "สร้างบุคลากรด้านออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน"
ขอเรียนเชิญผู้ประกอบการชุมชน นักออกแบบ นักศึกษาหรือบุคคลทั่วไป เข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตร การสร้างบุคลากรด้านออกแบบและผลิตภัณฑ์ชุมชน ดำเนินการโดย : กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เนื้อหาการอบรม การสร้างแบรนด์ชุมชน กระบวนการจัดการ การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน แนวคิดธุรกิจชุมชนตอบโจทย์ Net Zero & Go Green 9 เรื่องน่ารู้สู่การเป็น นักออกแบบ Work Shop และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผู้ประกอบการชุมชน วิชาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ OTOP นักออกแบบ ช่างหัตถศิลป์ พนักงาน/บุคลากรในหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้บริกรธุรกิจอุตสาหกรรม นักศึกษา และผู้สนใจประกอบวิชาชีพด้านการออกแบบ ระหว่างวันที่ 26-28 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมแก้วสมุย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี รับจำนวนจำกัด ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย สนใจสมัครได้ที่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คุณชัยนาท ผาสอน 06 2245 2595
21 มี.ค. 2567
"อสอ. ภาสกร" ระดมทีมดีพร้อม ยกระดับธุรกิจ SME ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG Model
กรุงเทพฯ 20 มีนาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานประชุมแนวทางการดำเนินโครงการยกระดับธุรกิจ SME ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของ กสอ. พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquater) การประชุมดังกล่าว ได้นำเสนอประเด็นและร่วมกันพิจารณาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการหากลุ่มเป้าหมายและแนวทางการดำเนินโครงการ รวมถึงการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดรับทราบทิศทางการดำเนินงานใน 2 ประเด็นหลัก คือ 1) แนวทางการดำเนินโครงการยกระดับ SME ตามแนวทาง BCG โมเดล 2) แนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs สู่สากลด้วย BCG Model ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 มี.ค. 2567
“อธิบดีภาสกร” มอบโล่และประกาศเกียรติคุณ “คนดี ศรี กสอ.” ประจำปี 2566
กรุงเทพฯ 20 มีนาคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานพิธีมอบโล่และประกาศเกียรติคุณ "คนดี ศรี กสอ." ประจำปี 2566 จำนวน 10 ท่าน เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 82 ปี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและเป็นขวัญกำลังใจแก่ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการปฏิบัติงานราชการอย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยมี ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนจากหน่วยงานเครือข่ายภาครัฐและเอกชน ผู้บริหาร ข้าราชการ อดีตผู้บริหารระดับสูงและข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมพิธีดังกล่าว ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 มี.ค. 2567
"อธิบดีภาสกร" นำประชุมแต่งตั้งอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 20 มีนาคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเลือกข้าราชการพลเรือน เพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุงพงศ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และนางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว ได้ลงคะแนนเลือกข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารหรืออำนวยการเพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แทนอนุกรรมการที่พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งเป็นไปตามกฎ ก.พ. ว่าด้วยการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิและการเลือกข้าราชการพลเรือนเพื่อเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สามัญ พ.ศ. 2566 โดยผู้มีสิทธิลงคะแนน ประกอบด้วย ข้าราชการระดับบริหาร และระดับอำนวยการ จำนวนทั้งสิ้น 25 คน ผู้มีสิทธิได้รับเลือกจำนวน 18 คน และ มีผู้ได้รับเลือกเพื่อขึ้นบัญชีรายชื่อ จำนวน 16 คน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 มี.ค. 2567
“ดีพร้อม” บวงสรวงองค์พระนารายณ์ และไหว้ศาลพระภูมิฉลองครบรอบ 82 ปี
กรุงเทพฯ 20 มีนาคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมพิธีบวงสรวงองค์พระนารายณ์ ณ บริเวณหน้าอาคารกระทรวงอุตสาหกรรม พิธีไหว้ศาลพระภูมิ ณ บริเวณประตูทางเข้าอาคารกระทรวงอุตสาหกรรม พิธีไหว้พระพุทธรูปและบวงสรวงองค์พระนารายณ์ ณ ห้องพระ ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พิธีไหว้ศาลพระภูมิ ณ บริเวณชั้นดาดฟ้า อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครบรอบ 82 ปี ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 มี.ค. 2567
“รสอ.ดวงดาว” ตรวจเยี่ยมชมผลงาน ฝีมือพัฒนาสถานประกอบการ DIPROM CENTER 4
จ.อุดรธานี 19 มีนาคม 2567 – นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ณ บริษัท ไทยออร์แกนิคส์ เวจิทะเบิ้ล แอนด์ ฟรุตส์ จำกัด (ฟาร์มผักบ้านดอนม่วง) อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี และวิสาหกิจชุมชน กลุ่มจักสานไม้ไผ่บ้านยามกาใหญ่ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี การลงพื้นที่ในวันนี้ เป็นการติดตามผลโครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการไทย ผลักดันให้เกิด Soft Power ด้านอาหาร พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น พัฒนาให้เกิดต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่ผ่านการพัฒนาภายใต้โครงการสร้างและพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 กิจกรรมการยกระดับการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ (Creative Product Design) ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 มี.ค. 2567
“พิมพ์ภัทรา” แอ่วเมืองเหนือ เยือนถิ่นล้านนา ลุยยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างรายได้เพิ่ม
นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2567 กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) ระหว่างวันที่ 17-19 มีนาคม 2567 ซึ่งก่อนที่จะมีการประชุมคณะรัฐมนตรีฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมกิจกรรมของผู้ประกอบการชุมชนภาคเหนือในพื้นที่จังหวัดแพร่ โดยมีนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ นายบรรจง สุกรรฑา นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย นายกฤศ จันทร์สุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายสุนทร แก้วสว่าง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจําลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางนิภา รุกขมธร์ รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมลงพื้นที่ และมีนางกฤษนันท์ ทะวิชัย อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย นายสำรวย เข็มทองหลาง อุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ นายพงษ์เกษม โพธิ์แก้วอุตสาหกรรมจังหวัดพะเยา นางสาวนิลเนตร โลหะพจน์พิลาศ อุตสาหกรรมจังหวัดน่าน ให้การต้อนรับ โดยวันที่ 17 มีนาคม 2567 จุดแรกคณะฯ ได้เยี่ยมชมการดำเนินกิจการของชุมชนหมู่บ้านตีเหล็กบ้านร่องฟอง ตั้งอยู่ที่ศูนย์การแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน หมู่ 5 ตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ดำเนินกิจการอุตสาหกรรมตีเหล็ก และอุตสาหกรรมผ้ามัดย้อม มีจำนวนสมาชิก/พนักงาน ตีเหล็กประมาณ 800 ครัวเรือน ทำผ้าประมาณ 700 ครัวเรือน โดยมียอดขายปีล่าสุด ตีเหล็กประมาณ 20-30 ล้านบาท และผ้าประมาณ 20 ล้านบาท ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ทางการเกษตร ได้แก่ มีด เคียว จอบ เสียมพร้า ฯลฯ และผลิตภัณฑ์ชุดเสื้อผ้ามัดย้อม กางเกงขาก๊วยเสื้อผ้าแฟชั่น และเสื้อกันหนาว ทั้งนี้ หมู่บ้านตีเหล็กบ้านร่องฟอง ได้ขอรับการสนับสนุนแหล่งเงินทุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ผลักดันการแก้ปัญหาผังเมืองจังหวัดเพื่อให้สามารถขยายกิจการโรงงานได้ โดยในปี 2567 กระทรวงอุตสาหกรรม จะเข้าไปส่งเสริม สนับสนับ ได้แก่ 1) การสนับสนุนเงินทุน โดย ธพว. และกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เช่น โครงการสินเชื่อ BCG Loan, สินเชื่อ SME 3D, สินเชื่อ SME Refinance, สินเชื่อ SME Speed Up, สินเชื่อ Micro SME และสินเชื่อลดโลกร้อน (Decarbonize Loan) 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า โดย กสอ. ให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เดิมสู่ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ใหม่ ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ของใช้บนโต๊ะอาหาร ชุดมีดทำครัว มีดเดินป่า ของใช้ของตกแต่งบ้าน เป็นต้น 3) การผลักดันการแก้ไขปัญหาผังเมือง สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และกลุ่มผู้ประกอบการ ได้ยื่นข้อเสนอการแก้ไขผังเมืองจังหวัดแก่คณะกรรมการผังเมืองจังหวัดเรียบร้อยแล้ว โดยอยู่ระหว่างกระบวนการของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง และกระทรวงอุตสาหกรรมในการแก้ไขปัญหาผังเมืองเชิงนโยบายในภาพรวมต่อไป จากนั้นได้ลงพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เพื่อเยี่ยมชมกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการยกระดับผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จังหวัดแพร่ เพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน หรือ โครงการ “แพร่-กระจาย” ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งมีกิจกรรมฝึกอบรมการทำตลาดออนไลน์ เช่น การสร้าง Story telling และเทคนิคการถ่ายภาพอย่างมืออาชีพ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึกจากชิ้นส่วนไม้สักที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานหลากหลาย และในช่วงบ่าย ได้เดินทางไปยังห้างหุ้นส่วนจำกัด แพร่สักทองเฟอร์นิเจอร์ (ไทยแลนด์) ตั้งอยู่ที่ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ซึ่งประกอบกิจการเครื่องเรือนตกแต่งภายในอาคารจากไม้ เฟอร์นิเจอร์ไม้สักและผลิตภัณฑ์จากไม้สัก โดยผู้ประกอบการได้ขอรับการสนับสนุนจากกระทรวงอุตสาหกรรมในด้านเงินทุน เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำสำหรับการลงทุนเครื่องจักร เพื่อยกระดับผลิตภาพการผลิต การติดตั้งระบบ Solar Rooftop เพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้า และการสนับสนุนการปรับปรุงเครื่องจักรและกระบวนการผลิต และในวันที่ 18 มีนาคม 2567 คณะฯ ได้เยี่ยมชมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ"การยกระดับผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์จังหวัดแพร่ เพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน" ณ ที่ทำการชมรมสตรีอำเภอร้องกวาง ตำบลทุ่งศรี จังหวัดแพร่ ในหลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของฝากของที่ระลึกตามแนวทาง BCG ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากขี้เลื่อยไม้สัก เศษเหลือใช้วัสดุทางการเกษตร และถ่ายทอดองค์ความรู้ตามแนวคิด BCG มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 200 คน และในจุดสุดท้ายได้เดินทางไปตรวจราชการวิสาหกิจชุมชนสุราสักทองแพร่ ซึ่งประกอบกิจการสุรากลั่นชุมชน มีผลิตภัณฑ์สุรากลั่นชุมชน สาโท ไวน์ ณ ห้องประชุมใหญ่ สุราสักทองแพร่ โดยได้ขอรับการสนับสนุนด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ การปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีศักยภาพ ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกจากน้ำเสีย และของเสียจากกระบวนการผลิต เช่น กากส่าเหล้า มูลของสุกร ตามความเหมาะสมกับวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งปัญหาข้อจำกัดเรื่องการโฆษณาประชาสัมพันธ์ พร้อมขอรับการสนับสนุนการสร้างแบรนด์และโฆษณาในพื้นที่ “ข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ประกอบการ จะเป็นเรื่องของเงินทุน การขอรับการสนับสนุนการติดตั้งระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการสนับสนุนปรับปรุงเครื่องจักรและกระบวนการผลิต ซึ่งกระทรวงฯ พร้อมสนับสนุนเต็มที่ โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ ธพว. และกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ มีสินเชื่อสนับสนุนเงินทุน เช่น สินเชื่อ BCG โปรแกรมสินเชื่อสำหรับ SME และสินเชื่อลดโลกร้อน (Decarbonize Loan) ขณะเดียวกันกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือ กรอ. ได้เสนอแก้ไขกฎกระทรวงกำหนดชนิด หรือ ประเภทของโรงงาน เพื่อแก้ไขชนิดหรือประเภทของโรงงานให้การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดติดตั้งบนหลังคา ไม่เข้าข่ายการเป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานต่อไป ซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการแก้ไขคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในปี พ.ศ. 2567 พร้อมทั้งเตรียมผลักดันให้มีการแปลงเครื่องจักรเป็นทุนจาก Solar Roof top ได้อีกด้วย ส่วนข้อเรียกร้องของผลิตภัณฑ์สุรากลั่นชุมชน ได้มอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ให้คำแนะนำในการขอการรับรอง มผช. และกำหนดมาตรฐานรองรับผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมทั้งให้ กรอ.สนับสนุนการปรับปรุงกระบวนการผลิตผ่านโครงการ "เร่งรัดการจดทะเบียนเครื่องจักรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม" เพื่อเชิญชวนให้จดทะเบียนเครื่องจักรและให้คำแนะนำการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรให้กับสถานประกอบการ และส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก โดย กสอ. มีแผนการดำเนินโครงการยกระดับธุรกิจ SME ด้วย การประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และส่งเสริมการสร้างแบรนด์ (Branding) และอัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) เพื่อสร้างตัวตนของแบรนด์ตอบสนองเป้าหมายทางธุรกิจ” สำหรับการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2567 ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) ในวันพรุ่งนี้ (19 มี.ค.67) ในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมมีโครงการตามข้อเสนอของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) จังหวัดแพร่ ที่ขอรับการผลักดันจากกระทรวงฯ ในโครงการก่อสร้างศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้และออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไม้สักแห่งประเทศไทย ในวงเงินงบประมาณ 270 ล้านบาท ในพื้นที่ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ โดยใช้ระยะเวลาดำเนินโครงการในปี 2568 - 2571
20 มี.ค. 2567
เชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาบุคลากรด้าน Low Cost Automation
กิจกรรมพัฒนาบุคลากรด้าน Low Cost Automation ด้วยการประชุกต์ใช้ Karakuri KaiZen เพื่อเปลี่ยน ให้ดีพร้อม ดำเนินการโดย : ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กิจกรรมดีๆ โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรรม ร่วมกับ ทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก บ.โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภายใต้ต้นทุนที่ต่ำ คือเป้าหมายสูงสุดของธุรกิจทุกประเภท ดังนั้น ผู้ผ่านการอบรมจะสามารถเข้าใจระบบกลไกอัตโนมัติ (Karakuri) ที่ได้เรียนรู้จากการดำเนินงานจริงภายในโตโยต้า พร้อมนำความรู้ เทคนิค และประสบการณ์ที่ได้ทดลองสร้างผลงานจริงไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจของตนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เหมาะสำหรับ พนักงานในโรงงานสายการผลิต ผู้ที่สนใจในเรื่อง Karakuri วันที่ 20-22 มิถุนายน 2567 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ ตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามขอมูลเพิ่มเติม นายศิริเทพ พิริยอุตสาหกร 08 3614 6971
19 มี.ค. 2567
“รสอ.ดวงดาว” ลงพื้นที่ส่งเสริม Soft Power ด้าน Fashion
จ.อุดรธานี - หนองบัวลำภู 18 มีนาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดําเนินงานส่งเสริมการผลิต และแปรรูปผ้าทอ เพื่อส่งเสริม Soft Power ด้าน Fashion ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 พร้อมด้วย นายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ บริษัท เทวา อินเตอร์กรุ๊ป จํากัด (เทวาผ้าไทย) อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู และร้านพะแพง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ผู้ประกอบการจากร้านเทวาผ้าไทย และร้านพะแพง ได้กล่าวขอบคุณทางศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่ได้นำโครงการต่าง ๆ เข้ามาช่วยเหลือและพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ รวมถึงยังมีการส่งเสริมการจับคู่ธุรกิจอีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 มี.ค. 2567