หมวดหมู่
รมว.พิมพ์ภัทรา เร่งเครื่อง ‘ก.อุตสาหกรรม’ มอบนโยบาย ‘รื้อ ลด ปลด สร้าง’ หนุนอุตฯ กระตุ้นเศรษฐกิจไทยตอบโจทย์ตลาดโลก คำนึงถึงประโยชน์และผลกระทบประชาชนเป็นสำคัญ
กรุงเทพฯ 27 พฤษภาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมสัมมนามอบนโยบายเพื่อผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศสู่การขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ ซึ่งจัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม โดยมีนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ นายบรรจง สุกรีฑา นายใบน้อย สุวรรณชาตรี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ นายวีระกิตติ์ รันทกิจธนวิชญ์ นายศุภกิจ บุญศิริ นายเอกนิติ รมยานนท์ นายเศรษรัชต์ เลือดสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมจังหวัด และผู้แทนอุตสาหกรรมจังหวัด เข้าร่วมด้วย ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า จากวันแรกที่เข้ารับตำแหน่งจนถึงวันนี้ มีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะเข้ามาขับเคลื่อนงานของกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อให้เป็นที่พึ่งของผู้ประกอบการและประชาชนอย่างแท้จริง พร้อมมอบนโยบาย “รื้อ ลด ปลด สร้าง” เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานให้กับผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ทุกระดับที่ปฏิบัติงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมทั่วประเทศได้นำไปปรับใช้ในการเร่งรัดสนับสนุนและแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการ พร้อมสร้างปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวย โดยมีเป้าหมายให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และอยู่คู่กับประชาชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน การดำเนินภารกิจให้สำเร็จนั้น จะทำโดยลำพังไม่ได้ ต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจของทุกหน่วยงานในกระทรวงอุตสาหกรรม โดยเฉพาะหน่วยงานในระดับพื้นที่ต้องมีบทบาทที่เข้มแข็งมากขึ้น เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนเกิดผลอย่างรวดเร็วเป็นรูปธรรมในระดับพื้นที่ ประกอบด้วย รื้อ ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบให้เอื้อต่อการประกอบกิจการอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น อย่าให้ใครมาตราหน้าว่าเป็น “แดนสนธยา ป่าหิมพานต์ ทำงานอยู่ใต้ดิน” เราต้องสื่อสารต่อประชาชนให้เข้าใจ ต้องมีคำตอบด้วยผลงานที่แสดงให้เห็นเป็นรูปธรรม ลด ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการประกอบการ ซึ่งต้องพิจารณาทั้งระบบตั้งแต่ก่อนการอนุญาตไปจนถึงการกำกับดูแลและการปราบปรามผู้กระทำความผิด ให้อุตสาหกรรมจังหวัดทุกจังหวัดจัดทำแผนแก้วิกฤติโดยฝากปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมกำกับดูแล ปลด ภาระให้ผู้ประกอบการ ลดกระบวนการทำงานที่ไม่จำเป็น รวบรวมรายชื่อผู้ประกอบการให้อยู่ที่เดียวทั้งหมด และสามารถใช้แพลตฟอร์มกลาง ทั้งนี้เพื่อสะดวกต่อการประเมินว่า มีผู้ประกอบการกี่รายที่ได้รับผลกระทบต่อกติกาใหม่ของโลกเพื่อเตรียมพร้อมรับมือ เพื่อให้คงไว้ซึ่งอุตสาหกรรมของประเทศนี้ต่อไป และ สร้าง โอกาสให้ผู้ประกอบการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศชาติ สร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อประโยชน์ของประชาชน นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวต่อไปว่า เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้เดินหน้าสู่อนาคตที่ดีขึ้น กระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมผลักดันโครงการใหม่ ๆ เช่น การขับเคลื่อน Green Productivity เพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน โดยนำเทคโนโลยี นวัตกรรมและการวิจัย มาใช้พัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์ การจัดตั้งนิคม Circular แห่งแรกของประเทศไทยในพื้นที่ EEC มุ่งหวังให้เป็นพื้นที่เป้าหมายของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน การเดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรภายในประเทศ เพื่อต่อยอดสู่การเป็นศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลกตามวิสัยทัศน์ประเทศไทย อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยจากแร่โพแทช ส่งเสริมการใช้แร่ลิเทียมผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมโกโก้ ยกระดับการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่อุตสาหกรรมเกษตรไทย อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ รองรับการเป็นศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพนานาชาติ “ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรมต้องเผชิญกับความท้าทายในหลายด้าน เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นอีก รวมถึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน กระทรวงอุตสาหกรรมจึงต้องปรับสู่การเป็นหน่วยงานที่ “สู้ให้ทุกปัญหา พึ่งพาได้ทุกเรื่อง” โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ เจ้าหน้าที่ อก. ต้องเข้าไปช่วยแก้ปัญหาและเป็นที่พึ่งของผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ได้ในทุกเรื่องอย่างทันท่วงที ตลอดจนขจัดอุปสรรคต่าง ๆ เช่น การปรับปรุง พ.ร.บ.โรงงาน การเพิ่มบทลงโทษผู้กระทำผิด การผลักดันการจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย รวมถึงการผลักดันการแก้ปัญหาเรื่องผังเมือง โดยบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง” นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าว นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ภายใต้สถานการณ์ความท้าทายในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เราต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทำให้ทิศทางการพัฒนาประเทศมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและทั่วถึง ครอบคลุมมิติของสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนั้น การพัฒนาเชิงพื้นที่จึงเป็นนโยบายที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญสูง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดรับกับศักยภาพของพื้นที่และนโยบายการพัฒนาเชิงพื้นที่ของรัฐบาล เพื่อให้เกิดการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย และเกิดการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ สร้างการเติบโตของเศรษฐกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Growth) ได้อย่างยั่งยืนต่อไป
28 พ.ค. 2567
“รสอ.ดวงดาว” ลงพื้นที่เยี่ยมชมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จ.อุบลราชธานี
จ.อุบลราชธานี 26 พฤษภาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดําเนินงานส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 พร้อมด้วย นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ จ.อุบลราชธานี การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ได้ตรวจเยี่ยมและติดตามวิสาหกิจชุมชน ประกอบไปด้วย เฮือนชูฮัก โฮมสตังค์ กลุ่มฝ้ายแท้ทอมือเขมราฐ และวิสาหกิจชุมชนอ้อมกอดผ้าฝ้าย ซึ่งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ได้เข้ามาส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การให้คำแนะนำเชิงลึกการพัฒนาชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสู่สากล สนับสนุนกิจกรรมยกระดับการออกแบบบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ (Creative Packaging Design) รวมไปถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวเม่าคาราเมลให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ผสานอัตลักษณ์ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าสนใจ สามารถเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้กับกลุ่มชุมชน อีกทั้งเป็นการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้มั่นคงได้อย่างยั่งยืน
28 พ.ค. 2567
“รสอ.ดวงดาว” มอบวุฒิบัตร “คพอ.ดีพร้อม” พื้นที่ภาคอีสาน
จ.อุบลราชธานี 25 พฤษภาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบวุฒิบัตรหลักสูตร “พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม (คพอ.ดีพร้อม)” ภายใต้โครงการการพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพด้านการบริหารจัดการ พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายณัฐพล แสงฟ้า นายกสหพันธ์สมาคมผู้ประกอบการไทย (FA SME) กล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม และนางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กล่าวรายงาน ณ โรงแรมกิจตรงวิลล์ รีสอร์ท งานดังกล่าวประกอบไปด้วย กิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายผู้นำองค์กร คพอ.ดีพร้อม รุ่นที่ 404 405 406 และ 407 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพิธีมอบวุฒิบัตรแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมซึ่ง คพอ.ดีพร้อม เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและนโยบาย “Reshape The Future” โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าสู่กระบวนการพัฒนาอย่างรอบด้าน ตั้งแต่กระบวนการพัฒนาองค์ความรู้ ไปจนถึงทักษะด้านการบริหารจัดการในทุกมิติ ผ่านกระบวนการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs และสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทย (Sharing Economy) ตลอดจนการเตรียมความพร้อม SMEs ในการพัฒนาศักยภาพการประกอบธุรกิจให้เติบโตและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
28 พ.ค. 2567
"อธิบดีภาสกร" เปิดงาน Nakiri SDGs Festival
ประเทศญี่ปุ่น 25 พฤษภาคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน Nakiri SDGs Festival พร้อมด้วย นายกิตติพันธ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมงาน ณ สวนสาธารณะ Sasebo Central Park เมืองซาเซโบะ จังหวัดนางาซากิ งานดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อรณรงค์สร้างความเข้าใจในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ (UN) และการประยุกต์ใช้ SDGs ในชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนาสู่การเป็นสังคมที่เติบโตอย่างยั่งยืน โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานนี้กว่า 10,000 คน นอกจากนี้ ภายในงานดังกล่าวยังมีการนำเสนอสินค้าและนวัตกรรมสีเขียว (Green products and innovations) ที่พัฒนาขึ้นโดยผู้ประกอบการท้องถิ่นของจังหวัดนางาซากิ อาทิ นวัตกรรมเครื่องกรองน้ำพกพา ซึ่งสามารถใช้บำบัดน้ำที่มีตะกอนปนเปื้อนในครัวเรือนและธุรกิจขนาดเล็ก พร้อมทั้ง ยังมีบูธที่ให้บริการในด้านการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับ SDGs แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจอีกด้วย
28 พ.ค. 2567
"อธิบดีภาสกร" หารือฝ่ายอุตสาหกรรมและแรงงาน รัฐบาลท้องถิ่น จังหวัดนางาซากิ
ประเทศญี่ปุ่น 24 พฤษภาคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมหารือกับ นายอิอุจิ มาโกโตะ รองอธิบดีฝ่ายอุตสาหกรรมและแรงงาน รัฐบาลท้องถิ่น จังหวัดนางาซากิ และคณะ พร้อมด้วย นายกิตติพันธ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรม และนายพุฒิพล เกนทะนะศิล กงสุล ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกุโอกะ และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ เมืองซาเซโบะ จังหวัดนางาซากิ การประชุมดังกล่าว เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลและขยายความร่วมมือ เพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมระหว่างกัน ซึ่งนายอิอุจิ มาโกโตะ ได้กล่าวถึงอุตสาหกรรมสำคัญของจังหวัด คือ อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน โดยเฉพาะพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ และอุตสาหกรรมอากาศยาน ซึ่งต่อยอดมาจากความเชี่ยวชาญด้านการต่อเรือ ในฐานะที่เป็นเมืองท่าสำคัญของประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ รัฐบาลท้องถิ่น จังหวัดนางาซากิยังมีความต้องการที่จะร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ ดีพร้อม ซึ่งจังหวัดนางาซากิเป็นจังหวัดใหญ่ และมีความสำคัญทั้งในด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจในภูมิภาคคิวชู ดังนั้น การลงนาม MOU ร่วมกันจะเป็นโอกาสอันดีในการสนับสนุน ส่งเสริม และยกระดับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมและ SMEs ระหว่างกัน ทั้งในด้านการลงทุน การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และการพัฒนาทักษะบุคลากรต่อไป
28 พ.ค. 2567
"อธิบดีภาสกร" เปิดงาน Otagai Forum in Sasebo ครั้งที่ 23
ประเทศญี่ปุ่น 24 พฤษภาคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน Otagai Forum in Sasebo ครั้งที่ 23 พร้อมด้วย นายกิตติพันธ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้ประกอบการญี่ปุ่นและไทยสนใจเข้าร่วมงาน ทั้งทาง Online และ Onsite กว่า 50 ราย ณ สวนสาธารณะ Sasebo Chuo Park เมืองซาเซโบะ จังหวัดนางาซากิ Otagai Forum เป็นงานที่ต่อยอดการดำเนินงานร่วมกันระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น ภายใต้แนวคิด "Otagai" ที่มีความหมายว่า "กันและกัน" ซึ่งเกิดขึ้นในปี 2554 ที่ทั้งสองประเทศประสบปัญหาภัยธรรมชาติ จนกระทบถึงห่วงโซ่อุปทานและภาคอุตสาหกรรม จึงเกิดเป็นการรวมกลุ่มเพื่อผลิตทดแทนกัน (Sister Cluster) ที่ประสบความสำเร็จและเป็นรากฐานของความร่วมมือที่แน่นแฟ้นระหว่างไทยและญี่ปุ่นจวบจนปัจจุบัน อีกทั้ง ภายในงานดังกล่าว ยังมีการนำเสนอโปรไฟล์และสินค้าของแต่ละบริษัทที่เข้าร่วมงาน เพื่อโอกาสในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและขยายธุรกิจร่วมกันอีกด้วย นอกจากนี้ ช่วงเย็น อธิบดีภาสกรฯ ได้เข้าร่วมงานเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการของเมืองซาเซโบะและพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนาม MOU ระหว่างเมืองซาเซโบะและกลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมสำหรับพัฒนาเมืองและสังคม ตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
28 พ.ค. 2567
"อธิบดีภาสกร" หารือกับผู้บริหารของ Osaka Steel Tube Co.,Ltd.
ประเทศญี่ปุ่น 24 พฤษภาคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายกิตติพันธ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุมหารือกับผู้บริหารของ Osaka Steel Tube Co.,Ltd. และเยี่ยมชมโรงงานผลิตท่อเหล็กไร้รอยต่อแบบ Cold drawn และสินค้าท่อเหล็กชนิดอื่น ๆ โดยมี นายสึโยชิ ซากะเนะ ประธานบริษัทฯ และ นายโคจิ ยามาชิตะ ให้การต้อนรับ ณ เมืองซาเซโบะ จังหวัดนางาซากิ การประชุมดังกล่าว เป็นการหารือเกี่ยวกับลงทุนในประเทศไทย ตามนโยบายเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ของประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในเศรษฐกิจ BCG ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียวได้ในอนาคตอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ Osaka Steel Tube Co.,Ltd. มีโรงงานผลิตท่อเหล็กไร้รอยต่อแบบ Cold drawn และสินค้าท่อเหล็กชนิดอื่น ๆ ซึ่งนิยมใช้ในเครื่องจักร Heater และ Boiler พร้อมมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตที่ช่วยให้ประหยัดพลังงานสูงสุด โดย Osaka Steel Tube Co.,Ltd เปิดทำการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1921 และปัจจุบันกำลังมีแผนขยายธุรกิจไปยังสาขาอุตสาหกรรม Solar Thermal Power และสนใจการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มเติม
28 พ.ค. 2567
“รสอ.ดวงดาว” ร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 5/2567
กรุงเทพฯ 24 พฤษภาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 5/2567 โดยมี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นประธานการประชุม ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ การประชุมในครั้งนี้ ได้มีการติดตามความคืบหน้าในประเด็นต่างๆ ประกอบด้วย 1) ความคืบหน้าการจัดงาน SPLASH 2) การจัดทำตราสัญลักษณ์ THACCA 3) โครงการเทศกาลอวดเมืองและโครงการพัฒนาเฟสติวัลไทยเป็นเฟสติวัลโลก 4) การจัดเทศกาลไทยในต่างประเทศ 5) การติดตามการจัดสรรและเบิกจ่ายงบประมาณ และ 6) ความคืบหน้าการจัดการอบรมโครงการ OFOS ของสาขาแฟชั่นและสาขาภาพยนตร์ รวมไปถึงการพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในสาขาแฟชั่น ดนตรี หนังสือ และเกม เพิ่มเติม พร้อมทั้งได้มีการหารือในส่วนของการดำเนินการเผยแพร่ Soft Power ด้านอาหารและด้านการท่องเที่ยว ในกิจกรรมสงกรานต์ ณ รัฐมินนิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา
28 พ.ค. 2567
รสอ. วาที ร่วมประชุม “ฟรุ๊ทบอร์ด” ครั้งที่ 3/2567
กรุงเทพฯ 24 พฤษภาคม 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้แทนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 3/2567 ร่วมด้วย คณะกรรมการฯ และ ผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมจำลอง อัตนโถ ส.ป.ก. ถนนราชดำเนินนอก และสถานที่ตั้งของผู้เข้าร่วมประชุม ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมครั้งนี้ ได้ร่วมหารือ ประกอบด้วย สถานการณ์และแนวโน้มการผลิต – การตลาดผลไม้ ปี 2567 ประเด็นความเสี่ยงและแผนบริหารความเสี่ยง โดยนับตั้งแต่เริ่มเก็บเกี่ยว – ช่วงพีค – สิ้นสุดฤดูกาล ของผลไม้ในภาคเหนือ (ลำไย ลิ้นจี่) ภาคใต้และภาคตะวันออก (ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการตลาดสินค้าลำไยในสถาบันเกษตรกร ฤดูกาลผลิตปี 2567 และแผนปฏิบัติการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2567 – 2570 ผ่านกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อผลักดันให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า ภายใน 4 ปี
28 พ.ค. 2567
เชิญเข้าร่วมงาน ASEAN Tool Expo 2024
เชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน ASEAN Tool Expo 2024 งานเดียวที่ตอบโจทย์ทุกงานช่าง ไม่ว่าคุณจะเป็นช่างแบบไหน หรือเป็นนักธุรกิจด้านเครื่องมือช่าง งานนี้เหมาะที่สุดสำหรับคุณ รวมถึงตัวแทนจำหน่ายทั้งค้าปลีกและส่ง ฝ่ายจัดหาเครื่องมือช่างเพื่อเป็นของที่ระลึกต่างๆ สามารถมาพบได้ที่นี่ งานนี้ ไม่ใช่แค่การรวมตัวของคนวงการช่างทั่วไป แต่เป็นการรวมตัวในระดับอาเซียน กิจกรรมไฮไลท์ในงาน เพื่อช่างอย่างคุณโดยเฉพาะ พบผู้แสดงสินค้าด้านเครื่องมือช่างทั้งในและต่างประเทศครอบคลุมทุกวงการช่าง ร่วมฟังสัมมนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่หลากหลาย เจรจาจับคู่ทางธุรกิจเพื่อพบปะเจ้าของแบรนด์โดยตรง ครบ จบ เฉพาะช่าง แล้วมาพบที่งาน “ASEAN Tools Expo 2024” กรกฎาคมนี้ TheOnlyExpoforAllMechanicCommunities No matter what type of technician you are, doing business in the field of tools, being a distributor of hand tools products (both retail and wholesale), procurement of tools for various souvenirs. Must visit the event.Highlight activities at the event. Meet mechanical tools exhibitors from domestic and international. covering all engineering circles. Attending to seminar for exchange a variety of knowledge. Negotiate in business pairings to meet the business owner directly. Don’t miss "ASEAN Tools Expo 2024" this July. ระหว่างวันที่ 24-26 กรกฎาคม 2567 | 2024, July 24-26 เวลา 10:00 – 18:00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ห้องบอลรูม | Ballroom Hall, QSNCC www.aseantoolsexpo.com รับข้อเสนอสุดพิเศษเมื่อจองพื้นที่ภายในงาน 0 2229 3526 aseantoolsexpo@nccexhibition.com
27 พ.ค. 2567