หมวดหมู่
"รสอ.วัชรุน" นำประชุมคณะทำงานกลั่นกรองจำหน่ายพัสดุ ครั้งที่ 3/2567
กรุงเทพฯ 15 กรกฎาคม 2567 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะทำงานกลั่นกรองการจำหน่ายพัสดุ ครั้งที่ 3/2567 พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และรูปแบบออนไลน์ผ่าน Zoom Meeting การประชุมครั้งนี้เป็นการพิจารณาการจำหน่ายครุภัณฑ์ของหน่วยงานดีพร้อมทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตามที่คณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงของแต่ละหน่วยงานได้ดำเนินการตรวจสอบ อาทิ พัสดุชำรุดเสื่อมสภาพ หรือไม่จำเป็นใช้งาน ครุภัณฑ์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 10 ปีขึ้นไป เศษวัสดุโครงคร่าวเหล็กและวัสดุอื่น ๆ จากการก่อสร้าง เพื่อหาแนวทางในการจัดการที่เหมาะสม ทั้งจำหน่ายโดยวิธีขายทอดตลาดจากหน่ายหรือวิธีการโอนให้กับหน่วยงานอื่น และยกเลิกการจำหน่าย โดยประธานได้กำชับให้ทุกหน่วยงานรีบดำเนินการตามมติที่ประชุมเห็นชอบให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว พร้อมให้ฝ่ายเลขาฯ จัดทำแนวทางวิธีปฏิบัติบริหารจัดการพัสดุจากส่วนราชการ เพื่อให้เป็นหลักปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน
16 ก.ค. 2567
"รสอ. วัชรุน" นั่งหัวโต๊ะพิจารณาคัดเลือกอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ประจาปี พ.ศ. 2567
กรุงเทพฯ 14 กรกฎาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เกียรติเป็นประธานพิธีปิดและมอบรางวัลกิจกรรมส่งเสริม Soft Power ผ่านบทละครเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการท่องเที่ยว พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางสาวอังสนา โสมาภา ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กล่าวรายงาน ณ ห้องทรัพย์มณีชั้น 2 โรงแรมทาวน์ อิน ทาวน์ กรุงเทพฯ กิจกรรมดังกล่าว ดีพร้อม (DIPROM) ขานรับนโยบายรัฐบาลผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ให้เป็นแม่เหล็กดึงดูดคนทั่วโลกให้เข้ามาท่องเที่ยว ทำงานและใช้ชีวิตในประเทศไทย จัดกิจกรรม ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทยผ่านบทละครเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยว เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมไปเมื่อต้นปี 2567 ที่ผ่านมา มีผู้ผ่านเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 23 คน โดยมีรางวัลผู้ชนะเลิศ 1 รางวัล ได้แก่ บทละคร 1) รักเขา เรา และเหล่าวิญญาณ บทละคร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รางวัล ได้แก่ เรื่อง 2) รับซื้อของ (ไม่เคย) เก่า และบทละคร 3) กุหลาบลั่นถัน และ 3 รางวัลชมเชย เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเขียนบทละครรุ่นใหม่ให้มีความรู้ความสามารถในการเขียนบทละครเชิงสร้างสรรค์ที่สามารถส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทย กระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศ และช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศไปสู่สายตาผู้ชมทั่วโลก คาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 25 ล้านบาท
16 ก.ค. 2567
"ดีพร้อม" เปิดบ้านสานฝันนักเขียนบท มืออาชีพดันซอฟต์พาวเวอร์บทละครไทย ออกสู่สายตาชาวโลก
กรุงเทพฯ 14 กรกฎาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เกียรติเป็นประธานพิธีปิดและมอบรางวัลกิจกรรมส่งเสริม Soft Power ผ่านบทละครเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการท่องเที่ยว พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางสาวอังสนา โสมาภา ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กล่าวรายงาน ณ ห้องทรัพย์มณีชั้น 2 โรงแรมทาวน์ อิน ทาวน์ กรุงเทพฯ กิจกรรมดังกล่าว ดีพร้อม (DIPROM) ขานรับนโยบายรัฐบาลผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ให้เป็นแม่เหล็กดึงดูดคนทั่วโลกให้เข้ามาท่องเที่ยว ทำงานและใช้ชีวิตในประเทศไทย จัดกิจกรรม ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทยผ่านบทละครเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยว เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมไปเมื่อต้นปี 2567 ที่ผ่านมา มีผู้ผ่านเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 23 คน โดยมีรางวัลผู้ชนะเลิศ 1 รางวัล ได้แก่ บทละคร 1) รักเขา เรา และเหล่าวิญญาณ บทละคร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รางวัล ได้แก่ เรื่อง 2) รับซื้อของ (ไม่เคย) เก่า และบทละคร 3) กุหลาบลั่นถัน และ 3 รางวัลชมเชย เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเขียนบทละครรุ่นใหม่ให้มีความรู้ความสามารถในการเขียนบทละครเชิงสร้างสรรค์ที่สามารถส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทย กระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศ และช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศไปสู่สายตาผู้ชมทั่วโลก คาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 25 ล้านบาท
16 ก.ค. 2567
"อธิบดีภาสกร" หารือกับผู้ประกอบการรถ EV ผลักดันผลิตภัณฑ์ในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร
กรุงเทพฯ 12 กรกฎาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมร่วมกับ Jinpeng Group ผู้ผลิตและจำหน่ายยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า (EV) ร่วมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมครั้งนี้ ได้หารือถึงการผลักดันยานพานะพลังงานไฟฟ้า หรือ EV ในภาคเกษตรอุตสาหกรรม ด้วยตระหนักถึงปัญหาที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ ทั้ง การเติบโตของ GDP ภาคการเกษตรที่ขาดความเสถียร ภาวะการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การเก็บภาษีคาร์บอน และต้นทุนโลจิสติกส์สูง เป็นต้น โดยบริษัทฯ ได้นำเสนอแนวคิดการพัฒนาระบบ EV เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน ด้วยจุดแข็งสามารถช่วยในเรื่องของการลดต้นทุน ลดภาวะโลกร้อน และ ลด PM 2.5 อีกทั้ง บริษัทฯ มีจุดแข็ง คือ เป็นผู้ผลิตรถสามล้อไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดในโลก เชี่ยวชาญในการพัฒนา การผลิต และการขายยานพาหนะไฟฟ้าทุกชนิด ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี จึงอยากสนับสนุนการนำรถ EV เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในกลไกภาคการเกษตรเพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาที่กล่าวไปข้างต้น และเพื่อให้เกษตรกรไทยได้เข้าถึงเทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าในราคาที่เอื้อมถึง
16 ก.ค. 2567
รมว.พิมพ์ภัทรา โชว์วิสัยทัศน์ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อโลก เพื่อเรา นำร่องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 7.2 ล้านตันต่อปี
กรุงเทพฯ 12 กรกฎาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานและกล่าวปาฐกถา ในหัวข้อ “Moving Green Forward ก้าวไปข้างหน้า เพื่อโลก เพื่อเรา” โดยมีนายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเศรษฐรัชต์ เลือดสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมเป็นเกียรติ และมีนายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับ ณ สามย่านมิตรทาวน์ กรุงเทพมหานคร นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวว่า ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมไทยกำลังเผชิญความเสี่ยงและความผันผวนจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทั้งปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ปัญหาสงคราม และภาวะโลกเดือด ซึ่งมีสาเหตุจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นจนเกินสมดุล กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะภาคการผลิตมีส่วนที่ต้องรับผิดชอบต่อโลก ซึ่งตนได้ให้นโยบายไปตั้งแต่วันที่เข้ามารับตำแหน่งว่า พร้อมส่งเสริมและสนับสนุนทั้งเรื่องของความรู้และเงินทุน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการแบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ในวันที่กติกาโลกเปลี่ยน เราก็ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมให้ก้าวไปข้างหน้าไปด้วยกัน ผ่านกลไก 3 ด้าน คือ Green Productivity, Green Marketing และ Green Finance นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวต่อว่า ความท้าทายใหญ่ที่สุดของคนในกระทรวงอุตสาหกรรมเวลานี้ คือ เราจะทำอย่างไรให้พี่น้องผู้ประกอบการยังคงอยู่กับเรา ในช่วงที่ผ่านมา เรารับรู้ถึงข่าวสารการปิดตัวของกิจการต่าง ๆ รวมถึงเอสเอ็มอี เนื่องจากมีปัญหาเรื่องเงินทุน ภาวะการแข่งขันอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนกติกาโลก เหล่านี้คือความท้าทายของรัฐบาล และกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องเร่งหามาตรการในการช่วยเหลือและสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนยานยนต์ (EV) ในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมและคลอดมาตรการ อีวี 3.5 โดยนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกยานยนต์ไฟฟ้าพวงมาลัยขวา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะทอดทิ้งยานยนต์ดั้งเดิม (ICE) และได้มีการขยายเวลาบังคับใช้มาตรการมาตรฐานเครื่องยนต์ยูโร 5 และยูโร 6 ไปอีกสองปีข้างหน้า เพื่อให้ผู้ประกอบการมีเวลาปรับตัว ส่วนการสนับสนุนพลังงานสะอาด กระทรวงอุตสาหกรรม กำลังจะยื่นขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เพื่อปลดล็อคโซลาร์รูฟท็อป เพื่อรองรับนโยบายพลังงานสีเขียวได้อย่างเป็นรูปธรรม ใช้ได้ด้วยตัวเอง ทั้งนี้เรื่องของพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรมไม่ได้ส่งเสริมและสนับสนุนเฉพาะนักลงทุนในประเทศเท่านั้น แต่ยังตอบโจทย์นักลงทุนต่างประเทศที่กำลังตัดสินใจเข้ามาลงทุนและถามหาพลังงานสะอาดในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัจจัยให้สามารถตัดสินใจที่จะเข้ามาลงทุนได้ ส่วนปัญหา PM 2.5 ที่เกิดจากการเผา ซึ่งเกษตรกรชาวไร่อ้อย มักจะตกเป็นจำเลยว่าเป็นต้นเหตุ ซึ่งเราได้ขอความร่วมมือไปยังจิสด้า และไทยคม เพื่อใช้เทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจจุดความร้อน (hot spot) หากพบที่ใดให้ตรวจสอบทันทีว่าเป็นเพราะการเผาของชาวไร่อ้อยหรือไม่ ทั้งนี้ จากการตรวจสอบย้อนหลัง 3 ปี พบว่า การเผาของชาวไร่อ้อยลดลง ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการชดเชยการตัดอ้อยสดลดพีเอ็มที่กระทรวงอุตสาหกรรมสนับสนุนเงินทุนเพื่อดำเนินการ นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะเดียวกันก็ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งสร้างการรับรู้ให้ภาคอุตสาหกรรมได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดการภาวะโลกร้อนที่เป็นความท้าทายต่อภาคการผลิตของประเทศ โดยคาดว่าจะสามารถนำร่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมได้มากกว่า 7.2 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ด้านนายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ขานรับทิศทางการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมทั้ง 3 ด้าน โดยเชื่อมกับนโยบาย RESHAPE THE FUTURE :โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต มุ่งยกระดับให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับตัวให้ก้าวทันอุตสาหกรรมยุคใหม่ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก (RESHAPE THE INDUSTRY) โดยเฉพาะในเรื่องของการดำเนินธุรกิจที่จะต้องคำนึงถึงความยั่งยืน ผ่านการจัดกิจกรรม “Moving Green Forward ก้าวไปข้างหน้า เพื่อโลก เพื่อเรา” ซึ่งภายในงานจะได้เรียนรู้เทรนด์ธุรกิจ องค์ความรู้ และมุมมองการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมยุคใหม่ครบทุกมิติ ทั้งการบรรยายและเสวนาจากองค์กรและบริษัทชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงการบริหารจัดการด้านอุตสาหกรรมสีเขียว พร้อมกับกิจกรรมคลินิกให้คำปรึกษาแนะนำจากหน่วยงานพันธมิตรที่มาจัดแสดงสินค้านวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การให้แนะนำสินเชื่อสำหรับธุรกิจรักษ์โลกจากสถาบันการเงิน นอกจากนี้ โครงการยกระดับธุรกิจ SME ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ยังมีรูปแบบกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมการใช้นวัตกรรมในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดยตั้งเป้ายกระดับผู้ประกอบการให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งประเทศจำนวนกว่า 1,800 ราย และคาดการณ์ว่าการดำเนินโครงการดังกล่าว สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 1,380 ล้านบาท ทั้งนี้ ดีพร้อม เชื่อมั่นว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่สำคัญของภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2608
16 ก.ค. 2567
“รสอ. ดวงดาว” ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนาม MOU โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. SMEs ยั่งยืน (PGS ระยะที่ 11)
กรุงเทพฯ 11 กรกฎาคม 2567 – นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจข้อตกลงร่วมมือ (MOU) โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 11 (PGS 11) “บสย. SMEs ยั่งยืน” โดยมี นายพิชัย ชุณหวชิร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในพิธี และเป็นคณะผู้ลงนามร่วมกับ นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และผู้แทนหน่วยงานพันธมิตร ภาครัฐและเอกชน ณ ห้องอินฟินิตี้ 2 โรงแรมพูลแมน คิงพาวเวอร์ ถนนรางน้ำ ราชเทวี พิธีลงนามฯ ดังกล่าว เป็นการแสดงความร่วมมือในการช่วยเหลือ SMEs ร่วมกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ในโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 11 (PGS 11) โดยให้สถาบันการเงิน ปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ ที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่รัฐบาลสนับสนุน และผู้ประกอบการรายใหม่ที่ยังไม่เคยได้รับสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินเป็นลำดับแรก โดยผ่านกลไกการค้ำประกันของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ซึ่งจะค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ วงเงินค้ำประกัน 50,000 ล้านบาท และกำหนดวงเงินค้ำประกันต่อรายไม่เกิน 40 ล้านบาท
16 ก.ค. 2567
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา ผลักดันต้นแบบสวนทุเรียนอัจฉริยะ ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ตอบโจทย์นโยบาย RESHAPE THE FUTURE นำเทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนาเชิงพื้นที่ เร่งขยายผลแก่เกษตรกรในชุมชนโดยรอบ
จ.นครศรีธรรมราช 10 กรกฎาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดการอบรม “กิจกรรมส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบให้น้ำอัตโนมัติ” ภายใต้การพัฒนาพื้นที่นำร่องเพาะปลูกทุเรียนเพื่อการเป็นแหล่งเรียนรู้แก่เกษตรกร โดยนายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเจตนิพิฐ รอดภัย ที่ปรึกษากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นายศุภชัย โจมฤทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฉลอง ร่วมเปิดงาน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลฉลอง อำเภอสิชล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการตามนโยบาย RESHAPE THE FUTURE: โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะโลกที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเทคโนโลยี (Digital Disruptions) จึงจำเป็นต้องเร่งให้ผู้ประกอบการหรือเกษตรกรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตที่เกิดขึ้น การพัฒนาเชิงพื้นที่ (RESHAPE THE AREA) เพื่อสร้างชุมชนเปลี่ยนก็เป็นสิ่งสำคัญ การเตรียมชุมชนให้ดีพร้อม เพื่อเป็นต้นแบบให้กับชุมชนรอบข้างอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรฐานราก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงได้ดำเนินกิจกรรม “ส่งเสริมและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบให้น้ำอัตโนมัติ” ภายใต้การพัฒนาพื้นที่นำร่องเพาะปลูกทุเรียนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่เกษตรกร เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบการให้น้ำแบบอัตโนมัติในพื้นที่การเกษตร เป็นโมเดลต้นแบบการนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัลมาประยุกต์ในสวนเกษตรให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย และช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกร โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้บูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการเอกชน เพื่อมุ่งเน้นการยกระดับชุมชนเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปรับตัวให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและเปลี่ยนผ่านสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งในกระบวนการผลิต และการพัฒนาบุคลการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยระยะเริ่มแรก ได้นำร่องในพื้นที่ของ ต.ฉลอง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งภายใน จ.นครศรีธรรมราชมีพื้นที่การปลูกทุเรียนกว่า 100,000 ไร่ (ที่มา: ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดนครศรีธรรมราช, สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำเดือนมีนาคม 2567) เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ โดยดำเนินการให้คำปรึกษาด้านการปรับปรุงระบบแนวท่อ จุดจ่ายน้ำด้วยมินิสปริงเกอร์ ระบบการใช้พลังงานด้วยโซลาร์เซลล์ การควบคุมการเปิด-ปิดอุปกรณ์ด้วยระบบ IoT ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาและนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต ลดจำนวนแรงงาน ลดเวลาการทำงาน และในอนาคตจะเร่งขยายผลไปสู่ชุมชนรอบข้าง และในผลผลิตอื่นๆ ต่อไป โดยผลจากการดำเนินงานจะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกชุมชน ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชนอื่นที่สนใจ
16 ก.ค. 2567
"ดีพร้อม" เร่งพัฒนาชุมชน หารือ สสส. เตรียมจัดงานมหกรรมเครื่องดื่มชุมชน
กรุงเทพฯ 11 กรกฎาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานประชุมหารือความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร (สำนัก 8) และ เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว ได้มีการหารือเตรียมการจัดงานมหกรรมเครื่องดื่มชุมชน เพื่อพัฒนาและสร้างรายได้ให้กับทุกชุมชน ที่รวมอัตลักษณ์สำคัญของโกโก้ กาแฟ น้ำหมักและน้ำกลั่นพื้นบ้าน ผสมผสานกับเรื่องราวประจำท้องถิ่น โดยมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 4-10 กันยายน 2567 ณ หน้าลานศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ พร้อมทั้งมีการหารือเพิ่มเติมในประเด็นต่าง ๆ ทั้งนี้ ดีพร้อม จะมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาในด้านของวิสาหกิจชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มชุมชน นอกจากนี้ ดีพร้อม ร่วมกับ สสส. จัดกิจกรรมงดเหล้าเข้าพรรษา “ให้ตับได้พักบ้าง” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ผู้บริหารและพนักงานในสถานประกอบการพร้อมสมาชิกในครอบครัวของพนักงาน ลงนามเข้าร่วมกิจกรรมกล่าวปฏิญาณตนคนบวชใจ “งดเหล้าเข้าพรรษา”จำนวนกว่า 6,500 คน
16 ก.ค. 2567
กสอ. เล่นใหญ่ "5 Day Trip Biz-X 5 วัน ธุรกิจพันธุ์ X"
ขอเชิญผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม สมัครเข้าร่วม กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายธุรกิจเกษตรแปรรูป ดำเนินการโดย : กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หลักสูตร : เชื่อมโยงเครือข่ายและเสริมเขี้ยวเล็บเกษตรอุตสาหกรรมให้แข็งแกร่งจับคู่แข่งมาเป็นคู่ค้า เชื่อมโยงเครือข่ายผ่านมิตรภาพ กับ 5 Day Trip Biz-X 5 วัน ธุรกิจพันธุ์ X" ร่วมปลุกกระแสพลังความคิด กล้าคิด กล้าข้ามจุดเดิมๆ เสริมแกร่งให้เกษตรกรไทย พบกับหลักสูตรแน่นๆ 5 วันเน้นๆ กับกิจกรรมอบรม+Workshop+ ศึกษาดูงานฯ รวม 30 ชม. AgroBiz ละลายพฤติกรรม-เชื่อมธุรกิจพันธุ์(X) Biz-(X)พลังเครือข่ายหัวใจ..แกร่ง CONNEXTbiz การเชื่อมโยงเพื่อขยายธุรกิจ 2025 Biz Marketing-(X) การสร้างพลังทางการตลาด ธุรกิจพันธุ์(X) ศึกษาดูงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรระดับอาเซียน จัดอบรมระหว่างวันที่ 24 สิงหาคม -1 กันยายน 67 (อบรมวันเสาร์-อาทิตย์ ) ณ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พระราม 6 กทม. เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 26 กรกฎาคม 2567 เท่านั้น ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 67 หมายเหตุ : กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม,เกษตรแปรรูป,อาหารแปรรูป,อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง หรืออุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือก ต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดระยะเวลา 5 วัน พร้อมเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกำหนด คณะกรรมการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาคุณสมบัติ และความพร้อมของผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือก ผลการพิจารณาของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัด 20 กิจการ เท่านั้น สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คุณศรัญญา (ญา) เบอร์ติดต่อ 08 8452 4373 คุณพิรุณพร (หยก) เบอร์ติดต่อ 09 4983 9650
16 ก.ค. 2567
"ดีพร้อม" รวมพลังพี่ให้น้อง สร้างอักษรเบรลล์ด้วยหัวใจ
กรุงเทพฯ 15 กรกฎาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมกิจกรรม "รวมพลังพี่ให้น้อง สร้างอักษรเบรลล์ด้วยหัวใจ" พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) กิจกรรมดังกล่าว เป็นการให้เจ้าหน้าที่ดีพร้อมร่วมกันจัดทำสื่อการสอน เพื่อช่วยเหลือผู้พิการทางการเห็นของมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระราชินูปถัมภ์ (โรงเรียนสอนคนตาบอด กรุงเทพฯ) โดยมีวิทยากรจากอาสาสมัครมูลนิธิสภากาชาดแห่งประเทศไทย มาสอนทักษะและวิธีการทำสื่อการสอนฯ เพื่อทำความดีถวายเป็นพระราชกุศลและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ (72 พรรษา) ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2567 โดยแบ่งเป็น 6 รอบ รอบละครึ่งวัน (เช้า-บ่าย) ในแต่ละรอบจะขอรับสมัครจิตอาสาจำนวน 30 คน สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://bit.ly/diprom-braille
15 ก.ค. 2567