หมวดหมู่
กลุ่มตะกร้าสานพลาสติกบุษราพร พัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดออนไลน์ ยอดจำหน่ายเพิ่ม
จากจุดเริ่มต้นเป็นเพียงแม่ค้าที่รับซื้อผลิตภัณฑ์ตะกร้าจักสานไปจำหน่ายยังพื้นที่ต่าง ๆ กระทั่งใน พ.ศ. 2553 พลิกผันสู่ผู้ผลิตจากฝีมือคนในชุมชนในนามกลุ่มวิสาหกิจชุมชน “กลุ่มตะกร้าสานพลาสติกบุษราพร” ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิก 50 คน ช่วยกันสร้างผลิตภัณฑ์หลากหลาย อาทิ ตะกร้าพลาสติก กล่องพลาสติก บ้านน้องหมา-น้องแมว ได้รับการตอบรับอย่างดี การันตีด้วยมาตรฐาน OTOP ระดับ 5 ดาว แต่การออกงานแสดงสินค้าทั้งเล็กใหญ่ปีละหลายครั้ง นอกจากพลังกายที่ต้องสูญเสีย ยังสูญเสียเวลาในด้านการผลิต สะท้อนไปถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ คุณบุษราพร วังคะฮาด ประธานกลุ่มฯ จึงหาวิธีแก้ปัญหา ด้วยการเข้าโครงการส่งเสริมการผลิตและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เข้าสู่มาตรฐานสากล เมื่อปี 2561 ซึ่งได้รับคำแนะนำทั้งด้านลดต้นทุนการผลิตลดความสูญเปล่า แก้ไขปัญหาด้านคุณภาพสินค้า รวมถึงการเข้าสู่กระบวนการขายบนโลกออนไลน์ ด้วยวิธีสร้างเพจเฟซบุ๊ก และไลน์กลุ่ม โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มตะกร้าสานพลาสติกบุษราพร สามารถลดต้นทุนการผลิตลง 6 เปอร์เซ็นต์ มียอดขายเพิ่มขึ้น 30 - 40 เปอร์เซ็นต์ มีผู้ติดตามเฟซบุ๊กและไลน์กลุ่มเพิ่มขึ้น จากเดิม 60 เปอร์เซ็นต์ มีลูกค้าทั้งชาวไทยและส่งไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ ช่วยลดเวลาการเดินทางไปออกงานแสดงสินค้าต่างถิ่น แต่เพิ่มเวลาการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างเต็มศักยภาพ คุณบุษราพร วังคะฮาด กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มตะกร้าสานพลาสติกบุษราพร บ้านชัยมงคล ต.โชคชัย อ.นิคมคำสร้อย จ.มุกดาหาร 49130 โทรศัพท์ 08-3012-6003, 08-8563-1159 https://m.facebook.com/boodsarahandmade ที่มา : รายงานประจำปี 2561 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2561
โรแยล พลัส ผู้ผลิตเครื่องดื่มผลไม้บรรจุขวดชั้นนำ เตรียมพร้อมสู่ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
บริษัท โรแยล พลัส จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2541 โดย คุณพลแสง แซ่เบ๊ เริ่มผลิตและพัฒนา สินค้ากลุ่มแรกในกลุ่มน้ำมะพร้าวบรรจุขวดแก้วและพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จนวันนี้โรแยล พลัส กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการผลิตเครื่องดื่มบรรจุขวดชั้นนำของไทย คุณพลแสง มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะส่งต่อ “สินค้าไทย” ไปสู่ “ผู้บริโภคทั่วโลก” จึงมุ่งพัฒนา ด้วยการจัดโครงสร้างธุรกิจ การบริหารจัดการองค์กร การปรับปรุงและพัฒนาระบบบัญชีและ ระบบควบคุมภายในที่ได้มาตรฐาน พร้อมการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและการพัฒนา ประสิทธิภาพด้านการผลิตและการตลาด เพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) หลังจากการเข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อม SMEs เพื่อเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในปี 2561 บริษัทได้จัดโครงการเพิ่มศักยภาพรายกลุ่มย่อย “Royal Plus SMART” เพื่อเพิ่มศักยภาพในด้านภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร ด้านทัศนคติต่องานของ บุคลากร รวมถึงการบริหารจัดการการผลิต ตลอดกระบวนการจนถึงการส่งมอบสินค้าอย่างมี ประสิทธิภาพ นอกจากนี้ทางบริษัทยังมีความเข้าใจด้านการบริหารการตลาดและงานขายต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะประเด็นสำคัญในการวิเคราะห์ตลาดและการตั้งราคา และจากการพัฒนาประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการด้านต่างๆ ดังกล่าว ส่งผลให้มีการเติบโตของยอดขายแบบก้าวกระโดด โดยปี 2560 มียอดขายอยู่ที่ 450 ล้านบาท ยอดขายเติบโตเป็น 750 ล้านบาท ในปี 2561 คุณพลแสง แซ่เบ๊ บริษัท โรแยล พลัส จำกัด สำนักงาน : 84/3-7 ซอยพระรามที่ 2 ซอย 69 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150 โรงงาน : 129 หมู่ที่ 6 ต.แพรกหนามแดง อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม 75110 โทรศัพท์ 0-2416-9209 ที่มา : รายงานประจำปี 2561 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2561
ป.อุบล ของดีเมืองอุบลเชื่อมโยงอุตสาหกรรมสู่การท่องเที่ยว
การเติบโตของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารในจังหวัดอุบลราชธานี รวมถึงอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่นับพันล้านบาท แต่การเติบโตอย่างยั่งยืนไม่ใช่การแข่งขันชิงสัดส่วนทางการตลาด หากแต่หมายถึงการร่วมมือพัฒนาระบบอุตสาหกรรมให้แข็งแรง เช่นเดียวกับมุมมองของ คุณสมนึก เหรียญรักวงศ์ ผู้ผลิตอาหารแปรรูป ป.อุบล ที่ได้มาตรฐานการผลิตทั้ง อย. GMP และ HACCP จึงได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (คลัสเตอร์) ปีงบประมาณ 2561 คุณสมนึกมองว่า การรวมกลุ่มของผู้ประกอบการช่วยเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตกลุ่มเดียวกันให้สามารถต่อรองเรื่องการสั่งซื้อวัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพ หลังจากเข้าร่วมโครงการดังกล่าว รวมถึงอีกหลายโครงการที่ได้รับกาสนับสนุนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในช่วง 4 - 5 ปีที่ผ่านมา ช่วยส่งเสริมให้ ป.อุบล นำความรู้ไปต่อยอดการพัฒนาธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงเรื่องบรรจุภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจ มีความปลอดภัย และหลักการรวมกลุ่มแบบคลัสเตอร์มาปรับใช้ โดยเปิดศูนย์จำหน่ายสินค้าของฝากของที่ระลึกของจังหวังอุบลราชธานี ช่วยรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเข้ามาวางจำหน่าย เพื่อเป็นการขยายต่อยอดตลาดของกลุ่ม นอกจากนี้ยังลุยตลาดท่องเที่ยวเชิงเกษตรสำหรับคนรักสุขภาพ เปิดโครงการ “ฟาร์มฮัก” ฟาร์มปลูกผักออร์แกนิกแบบ 100เปอร์เซ็นต์ เชื่อมโยงจุดท่องเที่ยว เช่น พิพิธภัณฑ์รถโบราณ แพร้านอาหารลอยน้ำ ฟาร์มแกะ จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกลุ่มภายในฟาร์มพร้อมทำตลาดออนไลน์ เพื่อประชาสัมพันธ์ธุรกิจให้เกิดการรับรู้จากกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น ส่งผลถึงยอดจำหน่ายที่สูงขึ้นตามลำดับ คุณสมนึก เหรียญรักวงศ์ 27 หมู่ 22 ต.วารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190 โทรศัพท์ 0-4532-1198, 08-1266-8766 ที่มา : รายงานประจำปี 2561 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2561
เบสท์-แพค คอนกรีต ยกระดับดาวเด่น SMEs ไทย (DIP Stars)
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการคมนาคมที่เติบโตส่งผลให้ธุรกิจ เกี่ยวเนื่องทางวิศวกรรมมีแนวโน้มสดใส แต่บริษัท เบสท์-แพค คอนกรีต จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จและผลิตภัณฑ์คอนกรีตอัดแรง กลับพบปัญหายอดขายตกต่ำเป็นเหตุให้ คุณวิทวัส วทานิโยบล ผู้บริหารต้องแก้ปัญหา จึงเข้าร่วมโครงการยกระดับดาวเด่น SMEs ไทย (DIP Stars) กิจกรรมวินิจฉัย จัดทำแผนและให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก พื้นที่จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองบัวลำภู ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 โครงการดังกล่าวทำให้พบอีกหลายสาเหตุที่เป็นอุปสรรคทางธุรกิจ คือ ขาดแผนกลยุทธ์การตลาดที่ชัดเจน การผลิตต่ำกว่าเป้าหมาย และขาดระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคล ที่ปรึกษาจึงผลักดันแนวทางการสร้างแผนพัฒนาธุรกิจ 3 ปี ตามความตั้งใจของคุณวิทวัสที่ต้องการเพิ่มมูลค่าทางการค้าและการลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีแผนปฏิบัติการและเกิดผลลัพธ์ตั้งแต่ปี 2560 ดำเนินแผนการจัดทำแผนกลยุทธ์การตลาด ระยะ 3 ปี ครอบคลุมทั้งกลยุทธ์ระดับองค์กร ระดับธุรกิจ และระดับเจ้าหน้าที่ ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ให้เหมาะสมกับการบริหารงานตามกลยุทธ์ ผลลัพธ์คือสามารถเพิ่มยอดขาย 20.74 เปอร์เซ็นต์ เป็นจำนวนเงิน 18,289,712 บาท (เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ปี 2559) ในปี 2561 ดำเนินแผนการจัดทำระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล สร้างระบบการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนระบบการพัฒนาบุคลากรรายบุคคล ส่งผลให้พนักงานมีทักษะการจัดการเพิ่มขึ้น 30.82 เปอร์เซ็นต์ และในปี 2562 กำลังก้าวสู่ขั้นตอนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งคุณวิทวัส มั่นใจว่าบริษัท เบสท์-แพค คอนกรีต จำกัด จะก้าวสู่ดาวเด่นSMEs ไทยได้อย่างแน่นอน คุณวิทวัส วทานิโยบล บริษัท เบสท์-แพค คอนกรีต จำกัด 194 หมู่ 1 ถ.หนองบัวลำภู-เลย ต.หนองภัยศูนย์ อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู 39000 ที่มา : รายงานประจำปี 2561 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2561
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมอาชีพบ้านหาดไก่ต้อย เพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูปมะม่วงหิมพานต์หลากรส
กว่า 3 หมื่นไร่ ในอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ คือพื้นที่ปลูกมะม่วงหิมพานต์ ก่อเกิดการต่อยอดสู่กระบวนการแปรรูป ดังเช่น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมอาชีพบ้านหาดไก่ต้อย ซึ่งจัดตั้งกลุ่มเมื่อปี 2548 ปัจจุบันมีเกษตรกรสมาชิกรวม 69 ราย แปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ พัฒนารสชาติหลากหลาย อาทิ รสดั้งเดิม อบน้ำเกลือ ต้มยำ ปาปริก้า บาบีคิว โนริสาหร่าย เคลือบเกสรผึ้งภายใต้แบรนด์ “วันทา” การตอบรับจากตลาดและกำลังการผลิตที่สูงถึงเดือนละ 3,500 กิโลกรัม ทำให้คุณวันทรา ผ่านค????ำ ประธานกลุ่มฯ พบว่าปัญหาในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะการสูญเสียวัตถุดิบและการใช้พลังงานสูงที่กระทบต่อต้นทุน จึงเข้าร่วมโครงการกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำกระบวนการผลิตและการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพตามมาตรฐาน ภายใต้โครงการส่งเสริมการผลิตและการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เข้าสู่มาตรฐานสากล จากการเข้าร่วมโครงการทำให้คุณวันทราทราบถึงปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะในส่วนกระบวนการอบเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ที่แต่เดิมจะอบจำนวนน้อย 3 - 5 กิโลกรัมต่อรอบ ทำให้สูญเสียพลังงานมาก และเกิดความเสียหายของวัตถุดิบมากเช่นกัน จึงปรับมาเป็นการอบแบบเต็มกำลังการผลิตที่ใช้เวลาเท่ากัน พลังงานเท่ากัน แต่ได้ปริมาณสินค้ามากกว่า ช่วยลดความสูญเสียเม็ดมะม่วงหิมพานต์ลงร้อยละ 43.18 หรือคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียที่ลดลง 297,216 บาทต่อปี ส่วนพลังงานที่ใช้ในกระบวนการอบเม็ดมะม่วงหิมพานต์ก็ลดลงร้อยละ 50 นอกจากนี้ยังพัฒนาการบริหารการจัดการหลังได้รับคำแนะนำอย่างถูกวิธีสามารถตัดสินใจวางแผน และบริหารงานด้านการผลิต การจัดซื้อ และการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลถึงรายได้ที่กลับคืนสู่สมาชิกทุกคน คุณวันทรา ผ่านคำ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มส่งเสริมอาชีพบ้านหาดไก่ต้อย 89 หมู่ 3 ต.หาดล้า อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ โทรศัพท์ 08-9960-1388 ที่มา : รายงานประจำปี 2561 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2561
ไทย-นิจิอินดัสทรี ยกระดับเหนือมาตรฐานข้าวแปรรูป
แนวโน้มตลาดขนมประเภทข้าวอบกรอบของไทยคาดว่าจะเติบโตสูงขึ้นราว 2,000 ล้านบาทในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า บริษัท ไทย-นิจิอินดัสทรี จำกัด ผู้ผลิตอาหารแปรรูปขนมข้าวอบกรอบแบรนด์ MIZUHO และ HONTO เตรียมรับมือการแข่งขันมุ่งพัฒนาศักยภาพการผลิตเพื่อสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งทั้งในไทยและระดับสากล นอกเหนือจากมาตรฐานที่ได้รับทั้ง ISO140011 มรท. 8001 - 2553, ISO9001-2008, HALAL, GMP และ HACCP ไทย-นิจิอินดัสทรี ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ จึงเข้าร่วม โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแขง่ ขัน ในกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำด้านการพัฒนาประสิทธิภาพ การบริหารจัดการโลจิสติกส์ภายในองค์กร คุณวรญา จีนาราช ตัวแทนจากฝ่ายการตลาดกล่าวว่า โครงการดังกล่าวทำให้เกิดแนวคิดในการคำนวณปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด พร้อมเก็บข้อมูลในการสั่งซื้อจริงและอัตราการใช้วัตถุดิบ ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการวิเคราะห์ต้นทุนของบริษัท ตามแนวคิดการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing) ที่มุ่งกำจัดความสูญเสียในกระบวนการ ภายหลังร่วมโครงการพบว่าวัตถุดิบการนำเข้ามีต้นทุนในการถือครองโดยรวมลดลง ทำให้สถานประกอบการสามารถลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการคลังวัตถุดิบลงได้ 41.9 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นต้นทุน 350,827 บาทต่อปี นอกจากนี้บริษัทยังปรับปรุงกระบวนการทำงาน โดยใช้แผนผังการไหลของกิจกรรมและการลดความสูญเปล่าด้วยเทคนิค ECRS โดยพิจารณาวิเคราะห์กระบวนการทำงานและวางแผนกระบวนการทำงานใหม่ ทำให้ใช้เวลาในการดำเนินงานลดลงจากเดิม 15 วัน คิดเป็น 34.8 เปอร์เซ็นต์ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ช่วยแบ่งเบาภาระต้นทุนของบริษัทได้เป็นอย่างดี คุณวรญา จีนาราช บริษัท ไทย-นิจิอินดัสทรี จำกัด 77 หมู่ที่ 13 ต.มะเขือแจ้ อ.เมือง จ.ลำพูน 51000 โทรศัพท์ 0-5358-12223 ที่มา : รายงานประจำปี 2561 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2561
“Xentrack” อุปกรณ์ IOT แจ้งเตือนผ่าน Line นวัตกรรมเพื่อชีวิตยุคใหม่
ความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีพัฒนาระบบสื่อสารและการเก็บข้อมูลที่รวดเร็วและสะดวกมากขึ้น คุณณัฐ โชคศิลปสาท พัฒนาอุปกรณ์ไอทีภายใต้แบรนด์ Xentrack โดยนำระบบ IoT (Internet of Things) เข้ามาใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ Gateway ในการติดต่อสื่อสารต่าง ๆ เช่น Indoor location Tracking เพื่อส่งค่าจาก Tags ไปยัง Server เพื่อเก็บค่าและส่งการแจ้งเตือนตามเงื่อนไข ทั้งการแจ้งตำแหน่งที่อยู่เพื่อติดตามทรัพย์สิน ตรวจวัดอุณหภูมิสำหรับเก็บสถิติเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพตู้แช่ รวมถึงการบันทึกเวลาเข้าออก เชื่อมต่อระบบปลดล็อกประตูอัตโนมัติ เป็นต้น “Xentrack” อุปกรณ์ IOT แจ้งเตือนผ่าน Line นวัตกรรมเพื่อชีวิตยุคใหม่ เนื่องจากยังขาดความเข้าใจเรื่องการทำแผนการตลาดที่ดี ทำให้การเริ่มต้นธุรกิจยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน คุณณัฐจึงเข้าร่วมกิจกรรมบ่มเพาะวิสาหกิจ สาขาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร และการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ภายใต้ “โครงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม” ปีงบประมาณ 2561 ทำให้เรียนรู้การสร้างโมเดลธุรกิจ เกิดการวางแผนอย่างเป็นระบบก่อนการออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึงการหาจุดอ่อนจุดแข็งของตัวผลิตภัณฑ์ และการวิเคราะห์หาตลาดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ประสบการณ์ที่ได้รับยังนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมรุ่นใหม่ ภายใต้คำแนะนำจากที่ปรึกษาที่มีความรู้ความสามารถ ช่วยให้ธุรกิจเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีรายได้จากยอดการสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น สร้างความมั่นคงทางด้านระบบการจัดการตามแผนธุรกิจของบริษัทได้เป็นอย่างดี คุณณัฐ โชคศิลปสาท หจก.ทัชเทคดีไซน์ 2586 หมู่บ้านสินทวี ถนนพระราม 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 09-0986-3154 ที่มา : รายงานประจำปี 2561 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2561
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผนึกกำลังสถาบันอาหาร ผุดหลักสูตรอบรมติวเข้ม ยกระดับ SMEs สู่ตลาดโลก
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จับมือสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดตัวกิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการด้วยเครื่องมือการบริหารจัดการสมัยใหม่ (Advance SME Program) ประจำปี 2561 นำร่องหลักสูตรอบรม SMEs แบบครบเครื่อง ทั้งด้านทักษะการผลิต การบริหารจัดการ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยปีแรกเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต หวังยกระดับเป็น Smart SMEs และ Global SMEs ตั้งเป้าเกิดนวัตกรรมใหม่ 1 เรื่อง และเพิ่มมูลค่ายอดขาย หรือลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 – 5 ชี้แนวโน้มโครงสร้างอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทย ทั้งรูปแบบสินค้า และตลาดส่งออกจะเปลี่ยนแปลงไป อาหารอนาคตหรือ Future Food มีศักยภาพสูง ไทยจะลดการพึ่งพิงตลาดเดิมนอกภูมิภาคและหันมากระจายสินค้าสู่ตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น และจีนมากขึ้น.....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม / ภาพกิจกรรม
31 ม.ค. 2561
กสอ.ชู 3 P เน้นพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ผ่านงาน “มหกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน”
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จัดกิจกรรมทดสอบตลาด ภายใต้ชื่องาน “มหกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน” เน้นหนุนผู้ประกอบการชุมชนตอบโจทย์ผู้บริโภคอย่างตรงจุด ยึดหลัก “การตลาดนำการผลิต” หวังต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงความต้องการของตลาด สร้างอำนาจต่อรอง และเพิ่มศักยภาพผ่านโมเดลการพัฒนา 3 P นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กสอ.ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถ และการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ภาคอุตสาหกรรมทั้งระดับ SMEs และระดับฐานราก โดยเฉพาะการขยายตลาดจากระดับภายในประเทศสู่ตลาดต่างประเทศที่มีศักยภาพสำหรับสินค้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชุมชน ซึ่ง กสอ.ได้มีโครงการที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากผ่านโมเดล 3 P คือ 1.People หรือ การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ โดยเป็นการให้คำแนะนำสำหรับการเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ โดยมีการแบ่งหลักสูตรที่เหมาะสม เช่น ผู้ประกอบการชุมชนคนรุ่นใหม่ ผู้ประกอบการชุมชนก้าวสู่สังคมดิจิทัล 2.Process หรือ การพัฒนาศักยภาพในการผลิต โดยมีการแนะนำให้ความรู้สำหรับการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green OTOP) รวมถึงกระบวนการผลิตที่ให้ได้สู่การรับรองมาตรฐานต่าง ๆ และ 3.Product หรือ การพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ ที่เป็นการให้คำแนะนำส่งเสริมการผลิตและการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้เข้าสู่มาตรฐานสากล โดยการสรรหาผู้มีความชำนาญในแต่ละประเภทอุตสาหกรรมเข้าไปช่วยแนะนำการพัฒนาการผลิตให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค.....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม /ภาพข่าว
29 ม.ค. 2561