หมวดหมู่
“เอกนัฏ” นำทีมจิตอาสา ก.อุตฯ ปลูกป่าลดคาร์บอนฯ สืบสานพระราชปณิธาน ณ อุทยานเขาสามร้อยยอด
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดกิจกรรมจิตอาสา “กระทรวงอุตสาหกรรมปลูกป่าชายเลน เพิ่มการดูดซับก๊าซเรือนกระจก ลดภาวะโลกร้อน” เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2567 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ภายใต้โครงการจิตอาสา “อุตสาหกรรมรวมใจ ดูแลสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ลม ไฟ” โดยมีนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีนายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุรพล ชามาตย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวีรพงษ์ เอี่ยมเจริญชัย รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายกฤศ จันทร์สุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมงาน ณ อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก สาเหตุหลักมาจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งมั่นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่สภาพแวดล้อม โดยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มอากาศบริสุทธิ์คืนสู่สังคม และให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์และการฟื้นฟูป่าชายเลนให้มีสภาพสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งป่าชายเลนสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงกว่าป่าประเภทอื่นกว่า 3 - 4 ตัน/ไร่/ปี และที่ผ่านมาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเห็นความสำคัญของป่าชายเลน และทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับป่าชายเลนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2534 ในพระราชพิธีแรกนาขวัญหว่านข้าว ณ บริเวณสวนจิตรลดา ความตอนหนึ่งว่า “...ป่าชายเลนมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศของพื้นที่ชายฝั่งทะเลและอ่าวไทย แต่ปัจจุบันป่าชายเลนของประเทศไทยเรากำลังถูกบุกรุกและถูกทำลายลงไปโดยผู้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน จึงควรหาทางป้องกัน อนุรักษ์ และขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะต้นโกงกาง เป็นไม้ชายเลนที่แปลกและขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก เพราะต้องอาศัยระบบน้ำขึ้นน้ำลงในการเติบโตด้วย จึงขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องคือ กรมป่าไม้ กรมประมง กรมชลประทาน และกรมอุทกศาสตร์ ร่วมกันหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการทดลองขยายพันธุ์โกงกางและปลูกสร้างป่าชายเลนกันต่อไป...” ดังนั้น เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และร่วมสืบสานพระราชปณิธาน ในการปกป้อง ดูแลรักษา และฟื้นฟูป่าชายเลน กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จัดกิจกรรมจิตอาสา “กระทรวงอุตสาหกรรมปลูกป่าชายเลน เพิ่มการดูดซับก๊าซเรือนกระจก ลดภาวะโลกร้อน” ขึ้น โดยปลูกป่าชายเลน จำนวน 77,100 ต้น ในพื้นที่ 100 ไร่ เพื่อรักษาระบบนิเวศทั้งทางบกและทางน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้อยใหญ่หลากหลายชนิด และยังเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของสัตว์ทะเลให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งคาดว่าป่าชายเลนช่วยเพิ่มศักยภาพในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 100 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อนที่เรากำลังเผชิญอยู่ โดยในวันนี้ (10 ตุลาคม 2567) ผมและปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (นายณัฐพล รังสิตพล) พร้อมคณะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ได้ไปร่วมกับเหล่าจิตอาสาทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นักศึกษาและประชาชนในพื้นที่ กว่า 500 คน ปล่อยปูดำ จำนวน 83 ตัว และปลูกป่าชายเลน จำนวน 11,565 ต้น ได้แก่ ต้นจิกทะเล ต้นโปรงแดง ต้นโปรงขาว ต้นโกงกาง ต้นถั่วขาว และต้นพังกาหัวสุมดอกแดง ในพื้นที่ 15 ไร่ และอีก 85 ไร่ ทางหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จะร่วมดำเนินการให้ครบถ้วน 100 ไร่ต่อไป “กิจกรรมดังกล่าวจะเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่สำคัญของภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2608 ขอฝากทุกท่านร่วมกันรณรงค์รักษาผืนป่าชายเลนแห่งนี้ให้คงอยู่และเติบโต สร้างคุณประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน ถึงแม้เป็นเพียงการเริ่มต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในอนาคตผืนป่าชายเลนจะยังคงสร้างคุณประโยชน์แก่โลกของเราได้อีกมาก ขอชื่นชม และขอขอบคุณภาคีเครือข่ายหน่วยงานราชการ ประชาชน และผู้ประกอบกิจการโรงงาน ที่ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมทำความดีให้เกิดผลสัมฤทธิ์ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและผืนป่าอย่างแท้จริง” เอกนัฏ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวทิ้งท้าย
15 ต.ค. 2567
"รองอธิบดีดวงดาว" รับมอบเครื่องอุปโภค​ บริโภค​ และสิ่งของจำเป็นจากดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
กรุงเทพฯ 10 ตุลาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รับมอบเครื่องอุปโภค บริโภค และสิ่งของจำเป็นที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 และผู้ประกอบการในพื้นที่ที่รวมใจส่งมอบรอยยิ้ม สำหรับนำมาบรรจุลงถุง ภายใต้โครงการ "อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย" เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ประสบอุทกภัยในการก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter)
15 ต.ค. 2567
เปิดบ้านดีพร้อม แจงนโยบาย "รมต.เอกนัฏ" เตรียมพร้อมขับเคลื่อนนิคม SMEs โชว์เครื่องจักรต้นแบบโรงงานนำร่อง 13 แห่งทั่วประเทศ ร่วมกับการนิคมฯ และ อว.
กรุงเทพฯ 8 ตุลาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 94-1/2567 พร้อมสักการะองค์พระนารายณ์ และพระภูมิ ประจำอาคารกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน (กช.) และประจำอาคารกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (กน.) เพื่อความเป็นสิริมงคลในการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ร่วมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุมแพรวา ชั้น 7 อาคารกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว รปอ.รก.อสอ. ได้มอบนโยบายการทำงานของดีพร้อมในปีงบประมาณ 2568 ซึ่งมีความสอดรับกับนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยให้ทุกหน่วยงานของดีพร้อมบูรณาการทำงานร่วมกับ สอจ. และสำรวจ MOU ระหว่างดีพร้อมกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศในการเร่งขับเคลื่อนการทำงานในด้านต่าง ๆ อาทิ ขับเคลื่อนตามมติของคณะกรรมการสมุนไพร Soft Power ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียว หรือ BCG พัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล พัฒนาโรงงานต้นแบบ อุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ อุตสาหกรรม 5.0 S-Curve และการพัฒนาหลักสูตร คพอ.ดีพร้อม รวมถึงการเพิ่มความเท่าเทียมในการแข่งขัน อาทิ การทำให้ Smart Phone เป็นเครื่องมือที่ครอบคลุมสำหรับการประกอบการของ SMEs อีกทั้ง การส่งเสริมให้เกิดนิคม SMEs การลงทุนในรูปแบบ Value Chain เชื่อมโยงผู้ประกอบการชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการในและนอกนิคมอุตสาหกรรม โดยใช้กลไกในการบ่มเพาะและพัฒนาของดีพร้อม และรวบรวมข้อมูล Eco-System เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำดัชนีโลจิสติกส์ รวมทั้งการให้บริการของศูนย์ ITC และ Thai-IDC ให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้รวบรวมข้อมูลดาวเด่น (Star) ที่เกิดจากการฝึกอาชีพมาต่อยอดสู่การเป็นผู้ประกอบการใหม่ พร้อมผลักดันผู้ประกอบการ OTOP สินค้า OTOP ที่มีศักยภาพ ในรูปแบบ Big Brother เพื่อผลักดันสินค้า OTOP ให้สามารถส่งออกได้ (Local to Global) รวมถึงดำเนินการปล่อยสินเชื่อ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ และ DIPROM Pay ให้ผู้ที่ได้รับรางวัลต่าง ๆ จากกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ครบทุกมิติและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังได้ให้ความสำคัญกับบุคลากรดีพร้อมด้วยการจัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะ และจัดทำ Career Path ให้ชัดเจน พร้อมสนับสนุนดูแลเรื่องสวัสดิการให้ครอบคลุม รวมทั้งได้วางแผนและเตรียมความพร้อมในการปรับโครงสร้างหน่วยงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของบุคลากรให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
15 ต.ค. 2567
กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมจัดร้านงานกาชาดปี 67 ภายใต้ธีม "อุตสาหกรรมรวมใจภักดิ์ 72 พรรษา" พร้อมลุ้นรางวัลใหญ่ ทองคำ รถยนต์ไฟฟ้า
กรุงเทพฯ 9 ตุลาคม 2567 - นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ได้รับมอบหมายจาก นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการจัดงานร้านกระทรวงอุตสาหกรรมในงานกาชาด ประจำปี 2567 ครั้งที่ 1/2567 เพื่อเตรียมการจัดงานกาชาด ร้านกระทรวงอุตสาหกรรม ประจำปี 2567 โดยมี นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวีรพงษ์ เอี่ยมเจริญชัย รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายนรุณ สุขสมาน รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายอานันท์ ฟักสังข์ ผู้อำนวยการกองวิศวกรรมบริการ รักษาราชการแทนรองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะอนุกรรมการจากสถาบันต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมอก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting โดยในการประชุมครั้งนี้ มีการแจ้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และได้พิจารณารายละเอียดสำคัญหลายประการเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะจัดขึ้นภายในร้านกระทรวงอุตสาหกรรมในงานกาชาดปีนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 6 รอบ โดยธีมหลักของร้านค้ากระทรวงอุตสาหกรรมคือ "อุตสาหกรรมรวมใจภักดิ์ ๗๒ พรรษา ทศมราชา" เพื่อสะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรืองในภาคอุตสาหกรรมไทยและความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ในที่ประชุมยังได้มีการหารือถึงแนวคิดในการออกแบบร้าน ซึ่งจะใช้โทนสีทองเพื่อสื่อถึงความยิ่งใหญ่และความเจริญก้าวหน้าของภาคอุตสาหกรรม และใช้ตัวอักษรสีม่วงซึ่งเป็นสีประจำของกระทรวงอุตสาหกรรม ภายในร้านยังจะมีการจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ โดยมีซุ้มประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์และเครื่องราชสักการะ เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมถวายพระพร นอกจากนี้ ยังได้มีการอนุมัติงบประมาณในการจัดจ้างออกแบบ ก่อสร้าง ตกแต่งร้าน และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในร้านกระทรวงอุตสาหกรรม โดยได้รับจัดสรรพื้นที่ในรูปแบบของโซนนิทรรศการ การจัดแสดงเวที และจุดจำหน่ายสลากและของรางวัลต่าง ๆ ที่จะจัดเตรียมไว้สำหรับผู้เข้าร่วมงาน รวมถึงการหารือถึงงบประมาณในการจัดสรรรางวัลสลากกาชาดของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยจะมีการจัดทำสลากจำนวน 60,000 ฉบับ เพื่อนำรายได้ไปสนับสนุนกิจกรรมของสภากาชาดไทย โดยรางวัลใหญ่สำหรับสลากกาชาดในปีนี้ประกอบด้วย รถยนต์ไฟฟ้า 2 คัน รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 4 คัน ทองคำ และ Smart TV เป็นของรางวัลให้กับผู้โชคดีที่ร่วมกิจกรรมกับกระทรวงอุตสาหกรรม
15 ต.ค. 2567
"อรรถวิชช์" ประชุม คกก.ปรับปรุงกฎหมายเพื่อการปฏิรูปอุตฯ ติดตามความคืบหน้าการร่าง กฎหมายการจัดการกากอุตสาหกรรม-ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และจัดตั้งกองทุนปฏิรูปอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 7 ตุลาคม 2567 - นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานคณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม ประชุมคณะกรรมการฯ โดยมีนางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวชิระ ไม้แพ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย และคณะกรรมการฯ ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 3 สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาตามวาระการประชุมที่สืบเนื่องจากการประชุมครั้งแรก ได้แก่ การติดตามความคืบหน้าของการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงอุตสาหกรรมทุกฉบับ รวมทั้งแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายทั้งหมด โดยที่ประชุมได้มีมติให้กำหนดแบบการรายงานให้เกิดความชัดเจน และสะดวกแก่การรวมรวบวิเคราะห์ข้อมูล นอกจากนั้น ยังได้ติดตามความคืบหน้าในการยกร่าง กฎหมายเพื่อการจัดการ กากอุตสาหกรรม ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดตั้งกองทุนในกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้มอบหมายผู้แทนกรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ไปดำเนินการในการประชุมครั้งที่แล้ว ซึ่งได้มีการรายงานความคืบหน้าของการยกร่างกฎหมายต่อที่ประชุม โดยมีกากรอภิปรายอย่างกว้างขวางโดยที่ประชุมได้มีมติรับทราบความคืบหน้าและมอบหมายให้ผู้ยกร่างรับข้อสังเกตและคำแนะนำของคณะกรรมการไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไข โดยในส่วนของกองทุนที่จะตั้งขึ้นในกฎหมาย ที่ประชุมได้กำหนดให้ใช้ชื่อว่า “กองทุนปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืน” หรือ “Industrial Reform for Sustainability Fund (IRS Fund)” โดยให้ปรับใช้แนวคิด เรื่อง ความยั่งยืน หรือ การพัฒนาที่ยั่งยืน ตามนิยามของคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาของสหประชาชาติ (The United Nations World Commission on Environment and Development) มาปรับใช้ จากนั้นประชุมได้มีมติเห็นชอบแผนการจัดทำร่างกฎหมายในเบื้องต้น และเร่งรัดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
15 ต.ค. 2567
“เอกนัฏ” ควงปลัดอุตฯ ลงใต้ เดินหน้า “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” ยกระดับอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่
จังหวัดภูเก็ต - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่กับ นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เยี่ยมชมสถานประกอบการ SME และชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต เพื่อพัฒนาศักยภาพสร้างความเท่าเทียมให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล สอดคล้องกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” ในการให้ความสำคัญ “Save อุตสาหกรรมไทย” สู่การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค โดย SME มีความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เป็นกลไกหมุนเวียนรายได้และกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ จากรายงานสถานการณ์ SME ไทย ของสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในปี 2566 พบว่า มีผู้ประกอบการกว่า 3.24 ล้านราย กระจายอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และจากสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต (สอจ.ภูเก็ต) จึงได้ส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาค ผ่านกิจกรรมสร้างงาน สร้างอาชีพ และการกระจายรายได้ ให้คำปรึกษาพัฒนาบรรจุภัณฑ์และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ด้านกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม ยังได้จัดฝึกอบรมการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม หรือ คพอ.ดีพร้อม เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะด้านการบริหารจัดการในทุกมิติผ่านกระบวนการฝึกอบรม ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือทางธุรกิจ สู่การพัฒนาศักยภาพให้สามารถขยายธุรกิจให้เติบโตและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ยังได้เชิญ ธพว. มาร่วมสำรวจพื้นที่ด้วยกันว่ามีกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนมาเพื่อใช้ประกอบกิจการและให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนและเทคโนโลยีได้ง่ายมากยิ่งขึ้น “ผมและคณะได้เยี่ยมชมย่านเมืองเก่าภูเก็ต ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งในอดีตจะมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ได้แก่ จีน อินเดีย ยุโรป มุสลิม เข้ามาตั้งถิ่นฐาน และได้สร้างบ้านเป็นตึกแถว มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบ"ชิโน-ยูโรเปียน" ทั้งสองสองฝั่งถนน ถือเป็นจุดท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมอันเกิดจากการผสมผสานความแตกต่างทางวัฒนธรรมจนเกิดเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด โดย สอจ.ภูเก็ต ได้เข้าไปส่งเสริมในด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก.เอส) การส่งเสริมสู่การแข่งขันเศรษฐกิจวิถีใหม่ อาทิ การทอเศษผ้าปาเต๊ะด้วยกระบวนการประยุกต์การทอเส้นด้าย การปักลูกปัดสีและเลื่อม สกรีน การเพ้นท์สีลายน้ำให้มีมิติผสมผสานศิลปะ สถาปัตยกรรมจีน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้ไปเยี่ยมชมร้านคุณแม่จู้ของฝากเมืองภูเก็ต (บริษัท แม่จู้ จำกัด) ร้านค้าภูมิปัญญาไทย (DIS SHOP) รายแรกของภาคใต้ ภายใต้การสนับสนุนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประกอบกิจการทำขนมอบแห้ง น้ำพริกกุ้งเสียบ น้ำพริกปลาย่าง น้ำพริกตาแดง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารพื้นเมืองหลากหลายชนิดและของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของภูเก็ต โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ให้การรับรอง Green Industry ระดับที่ 1 “ความมุ่งมั่นสีเขียว” ให้กับบริษัทฯ ในความมุ่งมั่นของนโยบายเป้าหมายและแผนงานที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน” รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ กล่าวต่อว่า ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมในภูเก็ต โดยเฉพาะกลุ่ม SME ที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ เราเข้าใจถึงความท้าทายที่พวกเขาต้องเผชิญ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะผู้ประกอบการในโครงการสนับสนุนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่เรียกว่า “โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม” หรือ คพอ.(ดีพร้อม) สำหรับภูเก็ตมีการดำเนินงานมาแล้วทั้งหมด 7 รุ่น ซึ่งเป็นการฝึกอบรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านการบริหารจัดการ และสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการ ก็พร้อมที่จะสนับสนุนในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันในตลาดสากลได้ นอกจากนี้อุตสาหกรรมหลักของภูเก็ตคือภาคการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญในการสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจในพื้นที่ รวมถึงการเป็นศูนย์กลางด้าน Soft Power ภูเก็ต คือ อาหาร อาคาร อาภรณ์ อารมณ์ โดยเฉพาะในด้านวัฒนธรรมและอาหาร การเชื่อมโยงพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและอาหาร หรือการโปรโมทสินค้าท้องถิ่นและวัฒนธรรมผ่านเวทีนานาชาติสู่การขยายตลาดในกลุ่มนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งอาจเป็นก้าวสำคัญในการผลักดัน Soft Power ของไทยสู่ตลาดโลก และยังสอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปอุตสาหกรรม เน้นการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมให้เติบโตอย่างยั่งยืน สู่การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภูมิภาคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามกรอบแนวคิด BCG เพื่อให้สถานประกอบการหรือวิสาหกิจนำองค์ความรู้และเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในการยกระดับผลิตภาพการผลิตและสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีการใช้ทรัพยากรในภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนอีกด้วย
15 ต.ค. 2567
"รองอธิบดีดวงดาว" ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ ภาคอีสาน ครั้งที่ 1/68
จ.อุบลราชธานี 4 ตุลาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 1/2568 ประกอบไปด้วย 1) ผลการดำเนินงานในภาพรวมของเงินทุนหมุนเวียนฯ ศภ.4, ศภ.5, ศภ.6, และ ศภ.7 2) ลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ครบระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี พร้อมทั้งเสนอเรื่องเพื่อพิจารณาอนุมัติเงินกู้วงเงินกู้ไม่เกิน 2 ล้านบาท รวมไปถึงพิจารณานำเสนอขออนุมัติตัดจำหน่ายหนี้สูญ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมประเภทดอกไม้ประดิษฐ์ อู่ซ่อมรถยนต์ และ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ณ ห้องประชุมผาแต้ม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
15 ต.ค. 2567
“ดีพร้อม” รับโจทย์ “รมต.เอกนัฏ” บูรณาการภาคเอกชน หารือเครือข่าย คพอ.ดีพร้อม ขับเคลื่อนนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” พัฒนาหลักสูตร Upskill / Reskill ต่อยอดธุรกิจ
กรุงเทพ 3 ตุลาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เร่งประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม (คพอ. ดีพร้อม) ร่วมด้วย นายณัฐพล แสงฟ้า นายกสหพันธ์สมาคมผู้ประกอบการไทย และคณะผู้ประกอบการ พร้อมด้วย นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการหารือแนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม (คพอ. ดีพร้อม) ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน ซึ่ง ดีพร้อม ได้เชื่อมโยงเครือข่าย คพอ.ดีพร้อม มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ปี 2523 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 44 ปี จำนวน 412 รุ่น เป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพจากทั่วประเทศกว่า 13,000 ราย เกิดเชื่อมโยงเครือข่ายกันตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยน และการลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ ในปี 2568 ดีพร้อม มีแผนที่จะ Upskill และ Reskill ปรับปรุงหลักสูตร คพอ.ดีพร้อม ให้ทันสมัยเท่าทันต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง พร้อมเชิญนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาให้ความรู้ และเพิ่มจำนวนรุ่นให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการในปัจจุบัน อีกทั้ง ยังมีการจัดงานเจรจาธุรกิจระหว่างสมาชิก คพอ.ดีพร้อม จำนวนไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ดีพร้อมวางแผนจัดประชุมกับ คพอ.ดีพร้อม ในทุกไตรมาส เพื่อเร่งพัฒนาต่อยอดธุรกิจ และสามารถสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการให้ครบคลุมทั่วประเทศ
15 ต.ค. 2567
"ปลัดฯ ณัฐพล" รับมอบถุงยังชีพ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
กรุงเทพฯ 3 ตุลาคม 2567 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม รับมอบถุงยังชีพ 1,958 ถุง จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ "อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย" เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน โดยโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการทั่วประเทศ
15 ต.ค. 2567
ภาครัฐและเอกชนร่วมแสดงความยินดี ”อธิบดีดีพร้อม“ ในโอกาส ครม. ได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่
กรุงเทพฯ 3 ตุลาคม 2567 - นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสมชาย เถื่อนสุวรรณ์ อุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา นายณัฐพล แสงฟ้า นายกสหพันธ์สมาคมผู้ประกอบการไทย และคณะผู้ประกอบการได้เข้าร่วมแสดงความยินดีแก่ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เนื่องในโอกาสที่คณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) ณ ห้องอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter)
15 ต.ค. 2567