หมวดหมู่
IoT กับ 6 อุตสาหกรรมที่มุ่งหน้าสู่รูปแบบดิจิทัล
ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกต่างกำลังมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงการบรรจุ Industrial Internet of Things หรือ IIoT ลงไปในแผนเทคโนโลยีแห่งชาติหรือเฟรมเวิร์กของแต่ละประเทศ เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับเศรษฐกิจและสวัสดิภาพทางสังคม หลายประเทศที่กำลังมุ่งสู่ IoT ได้มีการพัฒนาศักยภาพของตัวเองในหลาย ๆ ด้านเพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ ภาพที่ชัดเจนคือประเทศเหล่านั้นมีการเพิ่มการลงทุนในเรื่องของบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาและนำโซลูชัน IIoT มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ สิ่งที่เป็นศูนย์รวมของแผนงานแห่งชาติหรือจุดร่วมเดียวกันที่เห็นได้บ่อยคือเรื่องของความริเริ่มด้านความอัจฉริยะ เช่น Smart Factory, Smart City หรือ Smart Grid เหล่านี้ล้วนได้รับการออกแบบมาเพื่อขับเคลื่อนความมีประสิทธิภาพและกระตุ้นการเติบโตให้กับเศรษฐกิจได้อย่างทั่วถึง สมาคมอินเตอร์เน็ตเพื่ออุตสาหกรรม หรือ IIC (Industrial Internet Consortium) มีความสนใจอย่างยิ่งในการสร้างแอพพลิเคชัน IIoT ที่ช่วยปรับปรุงและสร้างความแข็งแกร่งให้กับส่วนที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติและประเทศทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพลังงาน การดูแลสุขภาพ เกษตรกรรม การขนส่ง การผลิต และการศึกษา ซึ่งการทำให้เสาหลักด้านเศรษฐกิจเหล่านี้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และให้ผลิตผลที่ดี ก็จะเป็นการช่วยกระตุ้นให้ได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมที่ดีขึ้นเช่นกัน สิ่งที่บ่งชี้ให้เห็นถึงความสนใจเรื่องนี้ก็คือ IIC ได้อนุมัติให้มีการจัดตั้ง “ศูนย์ทดสอบ” (Testbeds) แห่งใหม่กว่า 40 แห่งขึ้นในเวลาอันรวดเร็วแค่ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ศูนย์ทดสอบเหล่านี้คือห้องปฏิบัติการที่ใช้ในการทดสอบและพัฒนาแอพพลิเคชัน IIoT อย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากศูนย์ทดสอบคาดว่าในปี 2018 จะมี 6 อุตสาหกรรมที่นำ IIoT มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง คือ 1. อุตสาหกรรมด้านพลังงาน การนำ IIoT มาใช้จะเพิ่มความฉลาดของระบบพลังงานและระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการพลังงานจากท่อส่งอัจฉริยะ (Smart Pipelines) ถึงมิเตอร์อัจฉริยะ (Smart Meters) และโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ทุกแง่มุมของการสร้างและส่งต่อพลังงานล้วนถูกทำให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น พึ่งพาอาศัยกันได้มากขึ้น และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย เพื่อตอบสนองความกระหายพลังงานของโลก IIoT ไม่ได้เป็นแค่ความก้าวหน้าในการผลักดันด้านการกระจายพลังงานและการสื่อสารผ่านโครงข่ายหรือกริด แต่ยังเป็นการปรับปรุงกระบวนการดำเนินการหลัก ๆ ได้แก่ เรื่องของการตรวจสอบสถานะการทำงานได้จากระยะไกล การซ่อมบำรุงที่คาดการณ์ได้ การควบคุมที่ล้ำหน้า ความปลอดภัยรวมถึงการรักษาความปลอดภัย เราเรียกรวมกันว่า พลังงานอัจริยะ หรือ Smart Energy แต่ละองค์ประกอบของสิ่งที่กล่าวมาช่วยเรื่องของอัพไทม์ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่อุปกรณ์หรือระบบต่าง ๆ ทำงานได้อย่างเต็มที่ ในเรื่องของประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสินทรัพย์ด้านพลังงาน ผ่านการใช้ซอฟต์แวร์ เซนเซอร์ การเชื่อมต่อ และการวิเคราะห์ข้อมูล 2. ระบบการดูแลสุขภาพที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นผ่าน IIoT จากการที่อายุคาดเฉลี่ยของคนทั่วไปเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพโดยเฉลี่ยสูงกว่า 10% ของ GDP ในระดับชาติของทั่วโลก ได้สร้างความกดดันให้กับรัฐบาลในการหาวิธีลดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลรักษาสุขภาพในขณะที่ต้องปรับปรุงและขยายการดูแลสุขภาพประชากรให้ได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังต่อเนื่อง IIoT จึงเป็นหัวใจหลักในการปรับปรุงการนำเสนอบริการสำคัญด้านการดูแลสุขภาพผ่านการเชื่อมต่อและการแบ่งปันข้อมูล ซึ่งเป็นเหตุผลของการสร้างศูนย์ทดลอง Connected Care ของ IIC สมาชิกของศูนย์ดังกล่าวต่างมุ่งเน้นในการสร้างระบบนิเวศด้านการดูแลสุขภาพผ่าน IIoT ในระบบเปิดไว้สำหรับสอดส่องดูแลผู้ป่วยที่อยู่ที่บ้านหรือที่อยู่ระยะไกล เพื่อให้ทางเลือกแก่ผู้ป่วยที่ต้องการพักอยู่ที่บ้าน โดยมีระบบบริหารจัดการจากระยะไกลที่มีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างดีไว้สำหรับคอยติดตามดูอาการของผู้ป่วยเรื้อรัง สิ่งนี้มอบศักยภาพในการสร้างโซลูชันในราคาเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ดูแลมีโอกาสดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพแม้จะอยู่นอกออฟฟิศก็ตาม 3. เกษตรกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลจากการคาดการณ์ของสหประชาชาติ จำนวนประชากร 7,400 ล้านคนในปัจจุบันจะเพิ่มขึ้นเป็น 11,000 ล้านคนภายในปี 2020 ซึ่งความสำเร็จในการทำเกษตรกรรมให้ได้ผลิตผลมากยิ่งขึ้น คืนสภาพได้ดี และมีความยั่งยืนนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อการดำรงชีพ และ IIoT ก็เข้ามาอยู่แถวหน้าของความคิดในเรื่องนี้ ในศูนย์ทดสอบด้านการจัดการผลผลิตได้อย่างแม่นยำ (Precision Crop Management) ของสมาคมอินเตอร์เน็ตเพื่ออุตสาหกรรม หรือ IIC ผู้จำหน่ายได้ร่วมมือกันพัฒนาแนวทางที่ดียิ่งขึ้นในการสร้างผลผลิตเพิ่มขึ้น พร้อมกับการลดต้นทุนเพื่อพยายามแก้ปัญหาความยากไร้ของโลก แนวทางดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการบูรณาการด้านภาพถ่ายทางอากาศและเทคโนโลยีเซนเซอร์ที่หลากหลาย เพื่อให้มีมุมมองเกี่ยวกับพืชผลในแบบ 360 องศา ได้ใกล้เคียงกับเวลาที่เกิดขึ้นจริง รวมถึงการส่งผ่านข้อมูลตลอดเวลาแบบ 24/7 ผ่านเครือข่ายเซลลูลาร์และเครือข่ายเมช พร้อมให้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจจับความผิดปกติของพืชผลได้ก่อน เพื่อจะได้ดำเนินการแก้ไขได้ทันท่วงที 4. การลดความสูญเสียในการขนส่งด้วยเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือผู้คน การขนส่งนับเป็นศูนย์กลางที่ช่วยให้เศรษฐกิจหรือสังคมดำเนินไปอย่างราบรื่น และมีผลกระทบแผ่ขยายไปถึงเรื่องผลิตผล สุขภาพ และสภาพภูมิอากาศ ผู้ที่เข้าถึง IIoT ได้ก่อนนั้นมองว่า IIoT สามารถช่วยในเรื่องต่อไปนี้ได้ • สร้างระบบขนส่งที่สามารถรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและดำเนินการตอบสนองได้อย่างรวดเร็วในแบบเรียลไทม์ • เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความปลอดภัยของสาธารณะ ลดช่วงเวลาดาวน์ไทม์ และดูแลเรื่องของการบำรุงรักษาระบบหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ในเชิงป้องกันก่อนที่จะเกิดความขัดข้องกับชิ้นส่วนเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ด้วยการวิเคราะห์และดำเนินการแก้ไขตามข้อมูลที่ได้จากตรวจสอบเซนเซอร์และเครื่องจักรที่อยู่แวดล้อม (ในเรื่องอุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ ฯลฯ) • ระบุเส้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานจากการวิเคราะห์ความสามารถ 5. ภาคการผลิตและระบบซัพพลายเชนกับการดำเนินงานที่ชาญฉลาดมากขึ้นจุดที่ให้ประโยชน์อย่างเห็นได้ชัดสำหรับการนำนวัตกรรมด้าน Internet of Things สำหรับภาคอุตสาหกรรมมาใช้ ก็คือในภาคการผลิตซึ่งปัจจุบันพัฒนาไปสู่โรงงานอัจฉริยะแห่งอนาคต (Smart Factory) IIoT ให้ความสามารถในการปรับปรุงประสิทธิภาพและผลลัพธ์ได้อย่างมากมายมหาศาล ทั้งในเรื่องของกระบวนการผลิตไปตลอดทั่วทั้งซัพพลายเชนด้วย IIoT กระบวนการผลิตจะควบคุมการทำงานได้ด้วยตัวเองจากเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีความชาญฉลาด สามารถดำเนินการแก้ไขเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเหตุขัดข้องแบบที่ไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้า โดยจะมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนต่าง ๆ ได้เองโดยอัตโนมัติจากการนำข้อมูลเรียลไทม์มาใช้ และอุปกรณ์ดิจิทัลแบบพกพาทุกชิ้นในโรงงานจะต้องรายงานสถานะของอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ซ่อมอยู่ และสามารถใช้มือถือของเจ้าหน้าที่เข้าถึงข้อมูลการดำเนินงานได้แบบเรียลไทม์ โดยตัวเซนเซอร์ของอุปกรณ์สวมใส่จะติดตามตำแหน่งของพนักงานในโรงงานแต่ละคนได้ ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น และที่กล่าวมาก็เป็นประโยชน์เพียงแค่บางส่วนเท่านั้น 6. ห้องเรียนที่เชื่อมต่อกันได้ทั่วโลก และการเปลี่ยนโฉมหน้าของการศึกษา บทบาทในเชิงกลยุทธ์ของการศึกษาในการนำโซลูชัน IIoT มาช่วยให้บรรลุผลเป็นสิ่งที่ถ้าไม่พูดถึงคงจะไม่ได้ ทั้งนี้สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ล้วนเป็นผลกระทบจาก IIoT เนื่องจากห้องเรียนต่าง ๆ มีการเชื่อมต่อออนไลน์มากขึ้น และมีอุปกรณ์เชื่อมต่อมากขึ้นเช่นกัน เหล่านี้ช่วยให้นักเรียนเข้าถึงเนื้อหาได้ใกล้เคียงความจริงมากยิ่งขึ้น ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ในหนังสือเรียน นอกจาก IIoT จะช่วยเปลี่ยนโฉมหน้าการศึกษาแล้ว การศึกษายังมีบทบาทสำคัญในการนำเสนอ IIoT ด้วยเช่นกัน ประเทศต่าง ๆ จะต้องขยายการลงทุนในเรื่องของ STEM Education (ซึ่งเป็นแนวทางการศึกษาที่บูรณาการความรู้ระหว่างศาสตร์วิชาแขนงต่าง ๆ อันประกอบไปด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) เพื่อผลักดันนวัตกรรม IIoT ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ปัจจุบัน การพึ่งพาอาศัย IIoT นี้เห็นได้ชัดในประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะยังมีตำแหน่งงานว่างในภาคการผลิต แม้จะมีการจ่ายค่าจ้างสูงก็ตาม เนื่องจากขาดแรงงานที่มีคุณสมบัติ สำหรับประเทศไทยนั้น IoT เป็นเรื่องใหม่ที่ทุกภาคส่วนกำลังให้ความสำคัญ โดยในส่วนของภาครัฐนั้น สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ริเริ่มโครงการ Phuket Smart City Innovation Park เพื่อพัฒนาภูเก็ตให้เป็นเมืองต้นแบบในการก้าวสู่ Smart City ซึ่งงานที่สำคัญอย่างหนึ่งของ สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล คือ การจัดตั้งศูนย์ IoT Lab เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเทคโนโลยี IoT ของประเทศ loT Lab จะเป็นศูนย์กลางให้นักเรียน นักศึกษา รวมถึงผู้ประกอบการที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้และทดสอบการใช้งานของเทคโนโลยี IoT รวมถึงการจัดอบรมให้ความรู้ในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับเริ่มต้น กลางไปจนถึงระดับสูงสุด ภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และกลุ่มเมคเกอร์คลับในจังหวัดภูเก็ต IoT Lab จึงเป็นหนึ่งในโครงการที่สำคัญของสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ Digital Economy ตามแผนงานของรัฐบาลที่จะผลักดันประเทศไทยก้าวสู่ Thailand 4.0
30 พ.ค. 2563
องค์ประกอบของพฤติกรรม Behavior Factors
พฤติกรรมคือการแสดงออก หรือ การกระทำของบุคคลต่อสิ่งที่มากระทบ หรือมาเร้าเรา โดยคนเราจะแสดงออกซึ่งพฤติกรรมใดก็ตาม เขาจะต้อง 1. รับรู้/ความเชื่อ (Perceive/Believe) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ 2. ความคิด/ทัศนคติ (Attitude/Thinking) จึงจะเกิดการแสดงออกพฤติกรรมซึ่งก็แบ่งเป็นทางบวก หรือทางลบ ด้วยผู้รับรู้ เป้าหมาย สถานการณ์ ประกอบกับ ความคิดหรือ ทัศนคติที่แตกต่างกันทำให้พฤติกรรมที่แสดงออกมาของพนักงาน ทั้งคำพูด บุคลิกภาพแตกต่างกัน ที่ ปัจจัย การประยุกต์ใช้ 1 ความตั้งใจจริงและความมีวินัยในตนเองจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญ - เริ่มต้นจากกำหนดจุดประสงค์ -เดินตามแผนที่วางไว้ 2 ความรู้และทักษะที่เหมาะกับพฤติกรรม - มั่นใจว่ามีความรู้ในเรื่องที่ต้องการเปลี่ยนอย่างถูกต้อง เช่นต้องการลดน้ำหนักก็ต้องรู้อาหารอะไรเหมาะกับเรา หรือ ออกกำลังแบบไหนดี 3 สังคมเป็นแรงจูงใจ ครอบครัว เพื่อน ผู้ร่วมงานมักมีอิทธิพลต่อเรา - คนรอบตัวเราจะช่วยให้เราเดินไปตามเป้าหมายที่กำหนด - เขาย่อมอยากเห็นเรามีความสุขหากสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ - มั่นใจว่าบอกคนใกล้ตัวเราในเรื่องที่เราจะเปลี่ยนพฤติกรรม - อธิบายเป้าหมายและทำไมเราถึงมุ่งมั่นจะทำให้สำเร็จ 4 ความสามารถทางสังคม หาคนใกล้ตัวที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้สำเร็จ เพื่อขอให้เขาช่วยแนะนำ ช่วยวางแผน - หาผู้ที่จะช่วยเราเปลี่ยนพฤติกรรม อาจเป็นเพื่อน คนรู้จัก ที่ปรึกษา - ผู้ช่วยนี้จะทำให้เป้าหมายที่เรากำหนดไว้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ - นอกจากนั้นเราจะได้คำแนะนำ จากผู้ชี้แนะด้วย 5 โครงสร้างแรงจูงใจ ไม่สามรถบอกได้ว่ารางวัลอะไรดีที่สุด (เพราะขึ้นกับแต่ละคน) - มีทั้งการให้รางวัลและลงโทษ - ควรกำหนดรางวัลเพื่อการจูงใจ 6 โครงสร้างความสามารถ กำหนดโครงสร้างเพื่อให้การทำสิ่งดี ๆ ทำได้ง่ายกว่าสิ่งที่ไม่ดี -จัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อให้ทำสิ่งที่ถูกต้องง่ายขึ้น - เขียนเวลาที่ความตั้งใจและความมีวินัยของตนเองไม่เป็นไปตามแผน ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง : 6 Factors That Influence Our Behavior, willpower.co
29 พ.ค. 2563
ทัศนคติคือทุกอย่างในชีวิต Attitude is Everything
ทัศนคติใช้ในการประเมินสิ่งต่าง ๆ ทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดพฤติกรรม (Behavior) ทัศนคติ และ คุณค่า (Value) มีความเกี่ยวข้องกันแต่ไม่ใช้อันเดียวกัน ทัศนคติเกี่ยวข้องกับ 3 อย่างคือ ความคิด (Cognitive) ผลกระทบ (Affect) และ พฤติกรรม (Behavior) ทัศนคติเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมการทำงาน ทั้งการมีส่วนร่วมและความพอใจในงานที่ทำ ทัศนคติมิใช่เฉพาะในงานเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับตัวเราเองด้วย หลายคนรับรู้สิ่งที่มากระทบแล้วคิดต่อถ้าคิดดีก็ไม่นำปัญหามาให้ แต่ถ้าคิดไม่ดีก็อาจนำผลลบมาสู่ชีวิต ดังที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ ตัวอย่างแบบสำรวจทัศนคติ ตอบคำถามต่อไปนี้ 5 = เห็นด้วยอย่างยิ่ง 4 = เห็นด้วย 3 = ไม่สามารถตัดสินใจได้ 2 = ไม่เห็นด้วย 1 = ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ที่ เรื่อง คะแนน 1 หน่วยงานงานนี้เป็นสถานที่ทำงานที่ดี 2 ถ้าฉันพยายามมากกว่านี้ ฉันคงทำงานที่นี่ได้ 3 อัตราค่าแรงของหน่วยงานแข่งกับหน่วยงานอื่นได้ 4 ยุติธรรมในการตัดสินใจเลือกพนักงานเพื่อทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น 5 ฉันเข้าใจในผลประโยชน์หลากหลายที่หน่วยงานจัดให้ 6 ฉันได้ใช้ความสามารถเต็มที่ในงานที่ทำ 7 งานที่หนักของฉันเป็นความท้าทายไม่ใช้เป็นภาระ 8 ฉันเชื่อใจและมั่นใจในหัวหน้า 9 ฉันสามารถบอกหัวหน้าในสิ่งที่คิดได้ทุกเรื่อง 10 ฉันรู้ว่าหัวหน้าคาดหวังอะไรจากฉัน เทคนิคการพัฒนาทัศนคติเชิงบวก 1. ออกกำลังกาย 2. พักผ่อนให้เพียงพอ 3. ตื่นอย่างกระฉับกระเฉง 4. ร้องเพลงระหว่างอาบน้ำ 5. เดินให้เร็วเข้าไว้ 6. ทักทายเชิงบวก 7. มองปัญหาให้เป็นโอกาส 8. เริ่มต้นวันด้วยการคิดว่าจะไปช่วยหรือ บริการใครอย่างไรบ้าง 9. สังคมกับคนที่ทัศนคติเป็นเชิงบวก 10. อ่านหนังสือที่เสริมสร้างกำลังใจ 11. เชื่อว่าทุกสิ่งเป็นไปได้ หากพยายาม 12. ลองทำก่อนปฏิเสธ สิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตเรามีแค่ 10% แต่ อีก 90% อยู่ที่เราตอบสนองต่อสิ่งที่มากระทบกาย ใจ เราแค่ไหน
29 พ.ค. 2563
วงล้อการเปลี่ยนแปลง Change Cycle
เมื่อไหร่ก็ตามที่มีการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงาน หรือแม้แต่ในชีวิตเรา หากเป็นไปในทางที่ดี แต่การสื่อสารไม่ดีพอปัญหาก็ตามมา เช่นหน่วยงานมีการนำเครื่องจักรมาช่วยให้ทำงานเร็วขึ้นโดยไม่ได้บอกพนักงาน ก็อาจทำให้พนักงานเข้าใจผิดคิดว่าเอาเครื่องจักรมาแทนได้ นั่นเป็นเพราะขาดการสื่อสารภายในหน่วยงาน ยิ่งถ้าการเปลี่ยนแปลงเป็นในทางที่ไม่ดี เช่นงานเพิ่มขึ้นแต่รายรับไม่เพิ่มตาม มีการโยกย้ายแต่พนักงานไม่ต้องการ นำระบบใหม่ ๆ มาใช้ในหน่วยงาน การเปลี่ยนแปลงจะได้ผลขึ้นกับระยะเวลา ความมั่นใจ ขวัญและกำลังของพนักงาน รวมทั้งผลสำเร็จที่ได้หลังการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น พนักงานพิมพ์ดีดอายุมาก เคยใช้แต่เครื่องพิมพ์ดีด ต่อมาหน่วยงานนำคอมพิวเตอร์มาใช้ พนักงานยังไม่มีความมั่นใจในทักษะ ตอนแรกพนักงานจึงอาจปรับตัวไม่ได้ แต่พอระยะเวลาผ่านไปพอสมควรพนักงานก็สามารถสร้างทักษะในการพิมพ์ดีด เพราะทำทุกวัน ประกอบกับมีน้อง ๆ ช่วย พนักงานพิมพ์ดีดสูงอายุก็สามารถทำได้เป็นปกติ นอกจากนั้นยังขึ้นกับพฤติกรรมหน่วยงาน และทีมงาน ด้วย วงล้อการเปลี่ยนแปลง (Change Cycle) จากภาพ ขั้นตอนที่ 1 ปฏิเสธ อาการสับสนของที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงจะเปิดเผยให้เห็นจากสีหน้า แววตา พฤติกรรม ส่วนขั้นตอนที่ 2 จะเป็นการซ่อนเร้น คือเป็นความคิดภายในใจของแต่ละคน ถ้าไม่หาทางแก้ไขก็อาจทำให้พนักงานคับข้องใจ หยุดงานโดยไม่บอกกล่าว ถ้าข้ามขั้นตอน 1 -2 ได้เร็วเท่าไหร่ การพัฒนา และ เปลี่ยนก็จะก้าวไปข้างหน้าเร็วขึ้น นั่นคือ ขั้นที่ 3 และ 4 4 ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพร้อมการแก้ไข ที่ ขั้นตอน พฤติกรรม การแก้ไข 1 ปฏิเสธ - ไร้ความรู้สึก - สับสน - ให้ข้อมูลเพียงพอ - ให้เวลาค่อย ๆ ซึมเข้าไป 2 ต่อต้าน - ไม่แน่ใจตนเอง - โกรธ - เศร้าใจ - กังวล - เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น - แชร์ประสบการณ์ 3 ค้นหา - ยอมรับ - เน้นอนาคต - ระดมสมอง - คาดการณ์ - วางแผน 4 มุ่งมั่น พอใจ - เน้นเรื่องใหม่ - ปรับความคิด - สร้างทีมงาน - พัฒนา - ให้รางวัล
29 พ.ค. 2563
ทำอย่างไรให้คนเปลี่ยนแปลงได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ลองตรวจสอบเป้าหมายที่กำหนดดังนี้ ขั้นตอนเพื่อการกำหนดเป้าหมายให้ประสบความสำเร็จ 1. มีความเชื่อ เป็นสิ่งแรกในการกำหนดเป้าหมายคือต้องเชื่อว่าแน่วแน่ในเป้าหมาย และ กระบวนการเพื่อให้เป้าหมายสำเร็จ เพราะความเชื่อก่อให้เกิดพฤติกรรม หากเราไม่มีความเชื่อในเป้าหมาย และ กระบวนการที่กำหนดว่าจะทำได้สำเร็จ ก็ลองพิจารณารอบ ๆ ตัวเพื่อหาแรงจูงใจ/บันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงตนเอง 2. เห็นภาพสิ่งที่ต้องการอย่างชัดเจน คิดว่าอะไรคือสิ่งที่เราปรารถนาที่จะได้ในชีวิต อีก 1 ปีข้างหน้าเราจะเป็นอย่างไร อีก 5 ปี เราจะยืนอยู่ตรงไหน 3. เขียนเป้าหมายที่ต้องการลงในกระดาษ พร้อมติดในจุดที่เราจะเห็นได้ทุกวัน การที่เราไม่เขียนเป้าหมายและติดให้เห็นอย่างชัดเจน ก็เป็นไปได้ว่าเราจะลืมเป้าหมายนั้น 4. วัตถุประสงค์ การรู้ว่าทำไมต้องทำเป้าหมายนี้ให้สำเร็จจะสร้างพลังให้กับตนเอง เช่น ผู้หญิงคนหนึ่งต้องการลดความอ้วนเพราะเธอมีเป้าหมายคือการมีแฟน แล้วเธอก็ทำได้สำเร็จ หรือ การเก็บเงินให้ได้ 100,000 บาท เพื่อซื้อบ้านให้พ่อแม่ก็จะสร้างแรงจูงใจได้มากกว่าเพื่อเก็บไว้ในธนาคาร 5. มุ่งมั่น คำนี้สำคัญมากที่เป้าหมายไม่สำเร็จเพราะขาดความุ่งมั่น เขียนลงในกระดาษ แต่ละเป้าหมายนี้มีความหมายกับเราเพียงไร ทำไมการมุ่งมั่นในแต่ละเป้าหมายที่เรากำหนดจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเรา เราจะสร้างความมุ่งมั่นเพื่อให้แต่ละเป้าหมายที่กำหนดสำเร็จได้อย่างไร หากเราขาดความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าพอเราเจออุปสรรคเราก็จะไม่ทำตามกระบวนการที่เราคิด เช่น พอฝนตกก็ไม่ออกกำลังกายแล้ว แต่หากเรามีความมุ่งมั่นฝนตกก็ออกในร่มได้ 6. จดจ่อที่เป้าหมายที่กำหนด การจดจ่อที่เป้าหมายที่กำหนด แรก ๆ เราอาจจะรู้สึกไม่มั่นใจ หรือ รู้สึกว่ายาก แต่เมื่อเราทำไปทุกวันเป้าหมายที่กำหนดก็จะทำได้ง่ายขึ้น การเขียนเป้าหมายติดไว้ในจุดที่เราได้เห็น และ ได้อ่านทุกวันจะทำให้เรารู้ว่าเราทำตามเป้าหมายได้แค่ไหนแล้ว และ อีกแค่ไหนจึงจะสำเร็จ อันจะช่วยสร้างแรงกดดันให้เราเปลี่ยนแปลงหากเราไม่จดจ่ออยู่กับเป้าหมายที่กำหนด 7. วางแผนดำเนินการ จะต้องมีความชัดเจนในสิ่งที่เราต้องการจริง ๆ รู้วัตถุประสงค์ เขียนเป้าหมายลงในกระดาษ มุ่งมั่นไปให้ถึง จดจ่อเฉพาะเป้าหมายที่กำหนด สิ่งเหล่านี้จะนำเราไปสู่การวางแผนดำเนินการ แม้เราจะไม่ทราบขั้นตอนทั้งหมดในอนาคต แต่เราสามารถวางแผนที่ละขั้นได้ การวางแผนจะช่วยให้เราจัดลำดับความสำคัญก่อน-หลังได้ ทำให้เราไม่ออกนอกเส้นทางที่คิด 8. ลงมือทำทันที ถ้าเราต้องทำอะไรเพื่อให้เป็นไปตามแผน ให้ลงมือทำทันทีไม่รอช้า สิ่งนี้จะเป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นของเรา เช่นถ้าเป้าหมายของเราคือออกกำลังทุกวันตอนช้า ตื่นมาไปเข้าห้องน้ำ แล้วมาออกกำลังเลย หรือ เป้าหมายคือทำสมาธิทุกวัน ๆ ละ 15 น าทีตอนเช้า ลุกขึ้นมาทำเลย อย่ามัวแต่คิดว่าจะทำอะไรก่อนดี อาบน้ำก่อนดีไม๊ หรือ สวดมนต์ก่อนดี 9. รับผิดชอบ หากติดขัด หรือ มีปัญหาในการกระทำตามแผนงานที่กำหนด ควรหาผู้ที่จะช่วยเราได้ บอกเพื่อน และ คนในครอบครัวถึงเป้าหมายของเรา และ ขอให้เข้าช่วยหากเราติดปัญหา 10. ทบทวน ทุกวันจะต้องทบทวนเป้าหมายที่กำหนด และ การกระทำที่ได้ทำแล้ว สิ่งนี้จะช่วยให้เป้าหมายของเราอยู่ในใจเราตลอดเวลา การทบทวนจะช่วยให้เราเห็นความคืบหน้าของแผนงาน และ เป้าหมาย ทั้งยังสร้างกำลังใจให้เราด้วย เทคนิคการช่วยสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง 1. รู้ความต่อเนื่อง ระวังความต่อเนื่องที่เป็นลบอันจะส่งผลต่อการไม่บรรลุเป้าหมายที่กำหนด 2. ให้รางวัลตนเอง เพื่อแสดงว่าเราทำได้ 3. ทำตามคู่มือ เราจะทำงานได้ดีขึ้นหากเรารู้ว่าเราจะต้องทำอะไรที่ถูกต้อง 4. เมตตาตนเอง รู้ความสามารถของตนเอง 5. กำหนดวันที่ต้องทำงานให้เสร็จ กำหนดวันที่ต้องทำงานให้เสร็จ ไม่เร็วไป และ ไม่ช้าไป และ อย่าเปลี่ยนแปลงกำหนดวันนั้น 6. พัฒนาสภาพจิตใจของทีมที่ดี สร้างสภาพแวดล้อมของความเป็นมิตร 7. มุ่งสู่ผลลัพธ์เป็นสำคัญ ต้องชัดเจนว่าจะทำอะไร และ เน้นเป้าหมายเป็นสำคัญ 8. สร้างความท้าทาย เปิดโอกาสให้ตนเองได้เผชิญกับปัญหาใหม่ ๆ และ ปัญหาที่ยุ่งยาก 9. ปรับปรุงอยู่เสมอ ยกระดับเป้าหมายที่ละนิดอยู่เสมอ เพื่อสร้างความท้าทายในการทำงาน และ ในชีวิตตนเอง 10. สนุก สนุกกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเองจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีขึ้น 11. สื่อสาร รู้ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและแก้ไขมัน 12. ปลุกเร้าความกระตือรือร้นอยู่เสมอ รวมสิ่งที่มีในตนเอง และ สร้างภาพความคิดที่ยิ่งใหญ่ให้ตนเอง
29 พ.ค. 2563
การกำหนดเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม
เคยหรือไม่ที่คิดจะทำอะไร หรือฝันจะทำอะไรที่ชอบ บางคนอยากสุขภาพดี บางคนอยากปลูกบ้าน บางคนอยากเที่ยวเมืองนอก ฯลฯ หลายคนได้แต่คิด และส่วนใหญ่มักทำได้แต่ไม่ต่อเนื่อง เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเราไม่ได้นำความคิด หรือ ความฝันนั้นมากำหนดเป้าหมายเพื่อเป็นทิศทางนำไปสู่ความสำเร็จตามที่ต้องการ หากเราต้องการสุขภาพดี เราก็ต้องออกกำลังแล้วเราจะออกกำลังอย่างไรจนสร้างวินัยให้ตนเอง ก็ต้องกำหนดเป้าหมายที่ออกกำลังอย่างไรให้ต่อเนื่อง ถ้าเราต้องการปลูกบ้านเราก็ควรมีภาพบ้านที่เราอยากได้ว่าเป็นแบบไหน ราคาเท่าไหร่ จึงมากำหนดเป้าหมายเพื่อให้สร้างบ้านได้สำเร็จ กฎทองเพื่อการกำหนดเป้าหมาย 1. กำหนดเป้าหมายที่เราปรารถนาจริง ๆ ถามตนเองว่าทำไมเป้าหมายที่นี้จึงสำคัญและมีค่าสำหรับเรา แล้วเราจะจูงใจให้คนอื่นเห็นคุณค่าของเป้าหมายนี้อย่างไร 2. เป้าหมายควรประกอบด้วย SMART เป้าหมายที่ดีจะต้องชัดเจน และเจาะจง และมีทิศทางที่จะทำให้เรารู้ว่าเป้าหมายที่กำหนดจะจบที่ใด Specific = เจาะจง เป้าหมายจะต้องชัดเจน และเจาะจง การกำหนดเป้าหมายก็เพื่อให้เรารู้ว่าจุดหมายปลายทางของเราอยู่ที่ไหน Measurable = วัดได้ การกำหนดผลอย่างเป็นรูปธรรมจะช่วยให้เราวัดระดับความสำเร็จได้ ดังนั้น หากกำหนดว่า "ลดรายจ่าย" เราจะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่เราจะทำได้สำเร็จ แต่หากกำหนดว่า "ลดรายจ่าย 1% ภายใน 1 เดือน" หรือ "ลดรายจ่าย 10% ภายใน 2 ปี" Attainable = ทำได้สำเร็จ เป้าหมายที่กำหนดจะต้องมั่นใจว่าทำได้สำเร็จ มิฉะนั้นจะทำให้เราขาดกำลังใจ และทอนความมั่นใจในตัวเองลง อย่างไรก็ตามเป้าหมายที่สำเร็จง่ายเกินไปก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติไม่ตื่นเต้น และกลัวการล้มเหลวหากมีการกำหนดเป้าหมายที่เสี่ยงหรือท้าทายในอนาคต Relevant = เกี่ยวเนื่องกัน เป้าหมายควรเกี่ยวข้องกับทิศทางที่เราต้องการในงาน หรือในชีวิต Time-bound = เวลา เป้าหมายจะต้องมีเวลาสิ้นสุด อันทำให้เรารับรู้ถึงความเร่งด่วน และความสำเร็จเร็วขึ้น รวมถึงรับรู้ว่าจะฉลองความสำเร็จเมื่อไหร่ 3. เขียนเป้าหมายที่ต้องการให้เห็นได้อย่างชัดเจน เพื่อทำให้เห็นเป้าหมายอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมจับต้องได้ เป็นการเตือนตัวเองไม่ให้ออกนอกเส้นทาง keyword คือ ฉัน "จะ" ไม่ใช่ "อยากจะ" - ตัวอย่างเช่น "ปีนี้ฉันจะต้องลดต้นทุนการผลิตลง 10%" แทน "ปีนี้ฉันอยากลดต้นทุน 10%" ถ้าเราต้องการลดอัตราการลาออกของพนักงาน เราควรกำหนดเป้าหมาย "ฉันจะรักษาบุคลากรทั้งหมดที่มีจนถึงไตรมาสหน้า" แทนเป้าที่ว่า "ฉันจะลดปริมาณการลาออกของพนักงาน" จะเห็นว่าเป้าหมายแรกเป็นการสร้างแรงจูงใจที่จะไม่ให้มีการลาออกอย่างเด็ดขาด ในขณะที่แบบที่ 2 เป็นการที่แม้จะทำได้สำเร็จแต่ก็ยังมีการลาออกอยู่ดี - ควบคู่ไปกับการเขียนเป้าหมาย ควรมีการกำหนดตารางการนำเป้าหมายไปปฏิบัติ (To-do-list) อย่างเป็นขั้นเป็นตอน - ติดเป้าหมายเพื่อเตือนความจำไว้หลาย ๆ จุด อาทิบนผนังห้อง หน้าจอคอมพิวเตอร์ 4. กำหนดแผนขั้นตอนการลงมือกระทำ ขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่มักข้ามเพราะมุ่งผลลัพธ์เป็นสำคัญ การเขียนขั้นตอนจะช่วยให้เราเห็นความก้าวหน้าของเป้าหมายที่ต้องการทำ โดยเฉพาะเป้าหมายระยะยาว หรือเป้าหมายใหญ่ ๆ 5. ติดอยู่กับเป้าหมายที่กำหนด หมั่นเตือนตนเองถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ พร้อมทบทวนเป้าหมายอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นการกำหนดเป้าหมายจะต้องชัดเจนถึงสิ่งท่ีเราต้องการและทำไมเราจึงต้องการตั้งแต่แรก ทำไมต้องกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน เป้าหมายที่ต้องการจะช่วยสร้างพลังขับ (Drive) เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่กำหนด เมื่อมีแรงขับเราก็จะลงมือกระทำ โดยใช้ความสามารถ และคุณค่าที่มี และเมื่อเป้าหมายเป็นไปดังปรารถนาเราจะเข้าใจว่าความหมายของชีวิตคืออะไร จากประสบการณ์คนส่วนใหญ่ไม่มีเป้าหมายจึงทำงานไปเรื่อย ๆ ไม่มีแรงจูงใจ แต่หากมีการกำหนดเป้าหมาย หรือ รู้ความฝันของตนเองแล้วนำความฝันมากำหนดเป้าหมาย เมื่อเขาได้ดั่งฝันเขาก็จะมีความสุขมาก ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง : Golden Rules of Goal, mindtools.com
29 พ.ค. 2563
เทคนิคการเตรียมบุคลากรก่อนแต่งต้ังให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขี้น
การสนับสนุนให้บุคลากรภายในหน่วยงานเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นนั้น นอกจากจะเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงาน แล้ว ยังช่วยให้พนักงานเห็นคุณค่าในตนเองด้วย ทั้งนี้หน่วยงานควรมีการกำหนดระบบความก้าวหน้าในอาชีพ (Career Path) และเตรียมการพัฒนาพนักงานให้พร้อมทำงานในตำแหน่งที่สูงขึ้น เทคนิคการเตรียมบุคลากรก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น 1. กำหนดความรู้ ทักษะที่ต้องการในตำแหน่งนั้น ๆ เช่นเราต้องการปรับตำแหน่งให้พนักงานขึ้นเป็นผู้บริหารระดับต้น คุณสมบัติที่เราต้องการแบ่งเป็น ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะต่าง ๆ เช่น การวางกลยุทธ์ วางแผนงาน การเป็นผู้นำทีมงาน การสอนงานพนักงานระดับปฏิบัติการ การบริหารงบประมาณ การค้นหาและ แก้ไขปัญหา ประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นต้น 2. เลือกพนักงานที่มีความเป็นไปได้ในการดำรงตำแหน่งนั้น ๆ โดยสามารถเลือกผู้ที่มีความเป็นไปได้ได้มากกว่า 1 คน 3. กำหนดเกณฑ์คัดเลือกเพิ่มเติม หากไม่สามารถเลือกได้จากหลักเกณฑ์การคัดเลือกที่กำหนด (ไม่ควรมีแค่หลักเกณฑ์การคัดเลือกเดียว) และควรบอกผู้สมัคร หรือ ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่หน่วยงานเลือกว่าตำแหน่งนั้น ๆ เป็นตำแหน่งอะไร ต้องทำอะไรบ้าง ส่วนใหญ่จากตำแหน่งพนักงานแล้วได้รับการโปรโมตให้เป็นผู้บริหารระดับต้นมักมีคุณสมบัติเฉพาะด้านผลิต แต่ขาดทักษะผู้นำ เช่น การจูงใจ และ การแนะนำ/สอนงาน ผู้บริหารจึงควรสอบถามความคิดเห็นผู้ถูกคัดเลือกถึงแนวความคิดในเรื่องดังกล่าว และถามความสมัครใจใตการปรับเปลี่ยนตำแหน่งด้วย 4. มอบหมายโครงการให้บริหาร เมื่อการสัมภาษณ์/พูดคุยผ่าน หน่วยงานควรกำหนดโครงการเล็ก ๆ พร้อมอำนาจในการบริหารจัดการให้ทำในระยะสั้น ๆ ควรเป็นโครงการที่จำลองงานที่เขาจะต้องรับผิดชอบในอนาคต (รวมถึงการบริหาร งบประมาณด้วย) เปิดโอกาสให้เขาเข้าประชุมกับผู้บริหารระดับสูง เพื่อผู้บริหารจะได้สังเกตพฤติกรรมของเขาอย่างใกล้ชิด อาทิ ความมั่นใจ ความริเริ่ม เมื่อเขาได้รับมอบหมายงานให้ทำ จำเป็นต้องมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิดหรือไม่? รับผิดชอบต่อผลการตัดสินใจที่ตนเองเป็นผู้ทำหรือไม่? 5. ประเมินผลงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการตามเวลาที่กำหนด 6. สนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งใหม่ เมื่อแต่งตั้งใครขึ้นมาเป็นผู้บริหาร หน่วยงานจะต้องประกาศให้ทุกคนทราบอย่างเป็นทางการ รวมทั้งบอกผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งถึงความรับผิดชอบที่เขาต้องทำในตำแหน่งนั้น ๆ การประกาศอย่างเป็นทางการนี้จะช่วยลดความตึงเครียด หากผู้ได้รับการแต่งตั้งต้องดูแลพนักงานในแผนกที่เคยทำงาน และ 2-3 เดือนแรกหลังเข้ารับตำแหน่งผู้บริหารควรประชุมเพื่อหารือถึงงานที่ผ่านมา มอบหมายงานที่ท้าทายขึ้น และ ให้คำแนะนำเพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ดำรงตำแหน่งใหม่ นอกจากนั้น ผู้บริหารยังสามารถเตรียมการโปรโมทพนักงานโดยการกระทำอย่างไม่เป็นระบบ ดังนี้ 1. หยุดแก้ไขปัญหาให้พนักงาน โดยการถามคำถาม “คุณคิดว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร?” “ผลดี และ ผลเสียของวิธีการนี้เป็นอย่างไร?” คำถามนี้เป็นคำถามที่เป็นผลดีต่อการพัฒนาทักษะ และ การตัดสินใจของพนักงาน 2. ให้พนักงานตามผู้บริหารอย่างใกล้ชิดในทุกเรื่องที่ผู้บริหารพิจารณาว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพนักงาน พร้อมพูดคุยกับเขา/เธอหลังจากการสังเกตการณ์ รวมทั้งยกประเด็นในสิ่งที่เราทำ อาทิ การตัดสินใจ การพูดคุยสนทนา เพื่อให้พนักงานรู้ว่าทำไมเราทำแบบนั้นในสถานการณ์ นั้น ๆ อันจะทำให้พนักงานมีความมั่นใจมากขึ้นเมื่อได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ที่สูงขึ้น 3. มอบหมายงานเพิ่มมากขึ้น ผู้บริหารพิจารณาถึงงานที่พนักงานที่จะได้รับการโปรโมต และหาวิธีเริ่มต้นให้พนักงานได้ประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ ทันที โดยให้ทำโครงการต่าง ๆ และมอบหมายความรับผิดชอบให้เพิ่มเติม กระตุ้นให้พวกเขาทำสุดความสามารถ โดยผู้บริหารจะเป็นเสมือนพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ และคิดสิ่งท้าทายใหม่ ๆ 4. ประเมินผล และ บอกให้พนักงานทราบ การให้ข้อมูลสะท้อนกลับเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการเตรียมการเพื่อโปรโมตพนักงาน ผู้บริหารสามารถทำได้โดยการพูดคุยในสิ่งที่เราเห็นว่าเป็นจุดแข็งในการทำงานของเขา รวมทั้งจุดที่ควรปรับปรุง และโครงการที่พนักงานได้รับมอบหมาย ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง : 1. quickbase.com
29 พ.ค. 2563
จับตา 8 เทรนด์เทคโนโลยี เปลี่ยนยุคธุรกิจและอุตสาหกรรมใหม่
วิถีชีวิตของเทคโนโลยีเริ่มมีบทบาทต่อผู้คนมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยความก้าวหน้า รวดเร็ว และเที่ยงตรง ทำให้เทคโลยีที่มีหลากหลายเริ่มเป็นที่น่าจับตามมองที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมและธุรกิจในอนาคต วิถีชีวิตของเทคโนโลยีเริ่มมีบทบาทต่อผู้คนมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยความก้าวหน้า รวดเร็ว และเที่ยงตรง ทำให้เทคโลยีที่มีหลากหลายเริ่มเป็นที่น่าจับตามมองที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมและธุรกิจในอนาคต ผลการสำรวจผลจาก Tech Breakthroughs Megatrend ซึ่งทำการสำรวจรูปแบบเทคโนโลยีกว่า 150 แบบทั่วโลกจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เพื่อค้นหาเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทในการพลิกโลกเข้าสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีในอนาคตอีก 3-7 ปีข้างหน้า อันดับ 1 ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI)Aiเรียกง่ายๆก็คือคอมพิวเตอร์ที่สามารถคิดและวิเคราะห์สิ่งต่างๆด้วยเหตุและผล จนสามารถตอบโต้การสนทนาได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนั้นยังสามารถเรียนรู้และจดจำสิ่งที่ผ่านมาเป็นบทเรียนได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ถูกแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบเพราะการนำไปใช้งานของแต่ละองค์กรนั้นแตกต่างกัน ซึ่งแน่นอนว่าการบริการที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นเพียงบางส่วนของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เท่านั้น แต่ในอนาคต ความก้าวหน้าและผลสำเร็จของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะช่วยให้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของโลกอินเทอร์เน็ตถูกนำมาใช้ประโยชน์มากกว่าในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังสามารถช่วยเหลือมนุษย์ได้ทุกเรื่องจากการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งมนุษย์ไม่มีวันทำได้ แต่ถึงกระนั้นความกังวลใจเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์เองได้อย่างอิสระของปัญญาประดิษฐ์ก็ถูกมองว่าอาจจะเป็นภัยต่อมนุษย์ เพราะกรอบจริยธรรม ความคิด หรือแม้กระทั่งการตอบสนองจะต้องถูกควบคุมอย่างดี เพื่อให้ปลอดภัยกับมนุษย์มากที่สุด ก่อนที่จะเริ่มการปฏิวัติวงการด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์นั่นเอง อันดับ 2 โลกกึ่งเสมือนจริง (Augmented Reality หรือ AR)AR เทคโนโลยีโลกกึ่งเสมือนจริง ด้วยรูปแบบการผสมผสานเทคโนโลยีการมองเห็นกับโลกของความเป็นจริงมาเป็นหนึ่งเดียว ด้วยการซ้อนเทคโนโลยีเข้ากับการมองของมนุษย์ปกติ ทำให้เกิดมุมมองใหม่ของการเรียกใช้เทคโนโลยีและจัดการระบบได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยปัจจุบันแม้ว่าจะยังเป็นแค่การทำงานอย่างง่าย ๆ เช่น การออกกำลังกายในลู่วิ่ง เมื่อสวมแว่น VR เข้าไปจะทำให้การวิ่งนั้นมองเห็นวิวทิวทัศน์ในสถานที่ที่เราต้องการได้อย่างเป็นธรรมชาติ หรือจะเป็นการสวมใส่ VR ในการจัดของเพื่อตรวจนับสต๊อกสินค้าไปในตัว เป็นต้น ซึ่งอีกไม่นานเราจะเห็นการนำ AR ไปใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งด้านความบันเทิงและกิจกรรมต่าง ๆ อย่างแพร่หลายในอนาคต อันดับ 3 บล็อกเชน (Blockchain)บล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีการร้อยต่อข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด โดยข้อมูลทุกบล็อกจะเป็นเหมือนสำเนาของตัวเอง เมื่อเกิดการแก้ไขจะทำให้ทุกบล็อกรับรู้การแก้ไขนั้น ๆ และมีประวัติเก็บไว้อย่างซับซ้อน โดยเนื้อแท้ของเทคโนโลยีจึงมีความปลอดภัยจากโครงสร้างที่เกิดขึ้น ซึ่งความสามารถของบล็อกเชนเริ่มเป็นที่รู้จักเมื่อถูกนำมาใช้งานในรูปของ Bitcoin หรือเงินเสมือนจริงที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ด้วยรูปแบบการบันทึกทุกกล่องเป็นสำเนาข้อมูลเหมือนกันหมด ทำให้บล็อกเชนมีความปลอดภัยมากกว่าการบันทึกด้วยมนุษย์หรือเครื่องมือบันทึกใด ๆ ที่มีอยู่เดิม และนั่นก็ทำให้บล็อกเชนได้รับความสนใจกับกลุ่มธุรกิจการเงินเช่นธนาคารเป็นอย่างมาก โดยเชื่อว่าบล็อกเชนจะเป็นนวัตกรรมทางการเงินที่มีความปลอดภัยและรวดเร็วมากกว่าเทคโนโลยีการเงินที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน อันดับ 4 โดรน (Drones)โดรนเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีการบินที่ได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถของการบินหลายระยะด้วยระบบอัตโนมัติ ทำให้โดรนเข้ามาแทนที่ในการบินหลากหลายระบบทั้งเล็กและใหญ่ เช่น จากเดิมที่ใช้เครื่องบินใส่ปุ๋ยและยาพืชไร่ ก็สามารถเปลี่ยนเป็นเครื่องโดรนที่บรรทุกปุ๋ยและยาบินเข้าพื้นที่แบบอัตโนมัติตามการวางโปรแกรมการบินเพื่อจัดการพื้นที่ได้อย่างไม่หลงลืม ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้โดรนในหลายรูปแบบ ทั้งทางการทหาร การช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งการขนส่ง ทำให้โดรนกลายเป็นเครื่องมือขนส่งที่ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางอากาศระยะไกลได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขนส่งคนหรือสิ่งของก็ตาม แนวคิดดังกล่าวยังไม่สามารถเกิดขึ้นจริงในเชิงพาณิชย์ แต่กระนั้นก็เริ่มมีการทดลองอย่างจริงจังในหลายประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอีคอมเมิร์ซที่กลายมาเป็นระบบค้าขายที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน อันดับ 5 อินเทอร์เน็ตเพื่อทุกสิ่ง (Internet of Things หรือ IoT)เทคโนโลยี IoT เป็นสิ่งที่หลายคนพูดถึงกันมากที่สุด เพราะสามารถแทรกตัวเข้าไปได้แทบทุกอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีของการสื่อสารอุปกรณ์เท่านั้น โดยคาดหวังกันว่า IoT จะช่วยลดเวลาการจัดการทั้งหมดของมนุษย์ รวมไปถึงการดูแลความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้มีความปลอดภัย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ IoT ยังเป็นอุปกรณ์ที่จะเก็บข้อมูล รายงานสิ่งที่จำเป็นให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการตรวจสอบในระบบสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับได้ว่าการแทรกตัวเข้าไปของทุกอุตสาหกรรมยังมีต้นทุนที่ราคาไม่แพงเกินไป ด้วยอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ฝังเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อช่วยในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ แต่หัวใจของการประมวลผลและคิดวิเคราะห์ยังคงใช้งานจากส่วนกลางเพื่อสนองตอบพฤติกรรมนั่นเอง อันดับ 6 หุ่นยนต์ (Robots)หุ่นยนต์เป็นเป้าหมายใหม่ของการทดแทนแรงงานในอนาคต เนื่องจากงานบางชนิดเป็นการใช้แรงงานที่ต้องทำงานซ้ำ ๆ จนเกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน ด้วยค่าแรงที่ต่ำหรือปัญหาของพื้นที่ก็ตามแต่ ซึ่งในโลกอุตสาหกรรมหุ่นยนต์แขนกลที่ทำหน้าที่แทนหนุ่มสาวโรงงาน ทั้งการยกของจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งหรือทำงานซ้ำ ๆ แบบเดิมตามไลน์การผลิต มักใช้หุ่นยนต์แขนกลที่มีเพียงจังหวะหมุนของการผลิตเท่านั้น และนอกจากอุตสาหกรรมการผลิตแล้ว หุ่นยนต์ยังสามารถเข้าไปแทนที่การทำงานในแง่มุมที่มีความเสี่ยงสูง เช่น หุ่นยนต์ดับเพลิง กู้ภัย หรือแม้กระทั่งหุ่นยนต์ให้บริการ ทำให้ในอนาคต หุ่นยนต์จะถูกนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์มากขึ้น อันดับที่ 7 โลกเสมือนจริง (Virtual Reality หรือ VR)VR เป็นเทคโนโลยีที่อาจจะดูใกล้เคียงกับ AR หากมองแบบผิวเผิน แต่จริง ๆ แล้วมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะวิธีการใช้หรือรูปแบบที่นำไปใช้ก็ตาม นั่นเพราะ VR เป็นสิ่งที่อยู่ในโลกเสมือนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ร่างกายเพียงตอบสนองกับสิ่งที่เห็นเพื่อฝึกฝนหรือเพื่อความบันเทิง โดยที่ไม่มีการซ้อนกันของโลกความเป็นจริงแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น การทำเครื่อง VR เพื่อฝึกบินเครื่องบินตามรุ่นต่าง ๆ ช่วยลดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการฝึกบินบางส่วน หรืออีกตัวอย่างเป็นการฝึกผ่าตัดของแพทย์เพื่อความเชี่ยวชาญ แน่นอนว่าเครื่องเหล่านี้สร้างระบบครอบการรับรู้ของมนุษย์ทั้งหมดไว้เพื่อสร้างโลกเสมือนที่อาจจะใกล้เคียงหรือไม่ใกล้เคียงกับสิ่งที่เป็นอยู่ก็เป็นได้ อันดับที่ 8 ระบบพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing)เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ อาจจะฟังดูเป็นเครื่องพรินเตอร์ที่วุ่นวายกับเรื่องหมึกไปสักหน่อย แต่แท้จริงแล้วเครื่องนี้กลับเป็นอะไรที่แตกต่างออกไป เนื่องจากฟีเจอร์การทำงานเป็นเหมือนการแกะสลักด้วยแบบดิจิทัลที่สั่งงานโดยคอมพิวเตอร์ ค่อย ๆ แกะเนื้อวัสดุออกตามที่ต้องการไปทีละขั้นทีละตอน เหมือนการขึ้นรูปวัสดุ และนั่นก็ทำให้เครื่องพิมพ์ 3 มิติเป็นที่หมายปองของนักออกแบบ เพราะเพียงเวลาไม่นาน แบบที่ร่างไว้ในคอมพิวเตอร์ก็จะถูกพรินต์ออกมาเป็นโมเดล 3 มิติที่จับต้องได้ทุกประการ ด้วยจุดเด่นของการทำงานที่ไม่จำกัดจำนวน และรวดเร็วเช่นที่พรินเตอร์จะพิมพ์ออกมาได้ ทำให้เครื่องพิมพ์เช่นนี้หลุดเข้าไปในหลากหลายอุตสาหกรรม แน่นอนว่าในวงการแพทย์ที่มีการออกแบบอวัยวะเทียมเพื่อทดแทนอวัยวะสำคัญที่ขาดหายไป การออกแบบด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติแล้วฉีดเซลล์เข้าไปเพื่อลดอาการต่อต้านก็จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีทั้ง 8 นี้ต่างมีบทบาทของการพัฒนาและคุณประโยชน์ที่สามารถพลิกการใช้งานเครื่องมือในปัจจุบันของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งก็ได้แต่หวังว่าสิ่งที่จะต่อยอดในอนาคตจะมีราคาที่ไม่แพงจนเกินไป และท้ายที่สุด คนธรรมดาก็สามารถเอื้อมถึงได้นั่นเอง
29 พ.ค. 2563
ระบบการจัดการข้อมูลผลการวัดเพื่อประสิทธิภาพการควบคุมคุณภาพที่ดีกว่า
ระบบการตรวจวัดความแม่นยำสูงมีความสำคัญมากขึ้นในอุตสาหกรรมการผลิตแบบลีน (Lean manufacturing) เพราะแสดงให้เห็นถึงคุณภาพการผลิตชิ้นงานแต่ละชิ้น ซึ่งในช่วงระยะหลัง การตรวจวัดแบบ 100% ร่วมกับระบบการผลิตแบบออโตเมชั่นพัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน เนื่องจากนวัตกรรมการผลิตอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีรายละเอียดและมีความซับซ้อนในการผลิตสูง จำเป็นต้องมีการบันทึกผลการวัดและตรวจสอบตามช่วงเวลาเพื่อนำมาวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการผลิตและเป็นข้อมูลในการรับประกันคุณภาพสินค้าเมื่อส่งมอบ การออกแบบระบบการจัดการข้อมูลประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ นั่นคือ 1. การเชื่อมต่อระบบ เครื่องจักรกล เครื่องมือและอุปกรณ์ จะสามารถประสานการทำงานวัดโดยสามารถส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบประมวลผลกลางได้ทันที ทำให้ข้อมูลการผลิตได้ครบถ้วน 100% ระบบเชื่อมต่อสัญญาณโดยตรงเข้ากับอุปกรณ์ประมวลผลหรือคอมพิวเตอร์ มีให้เลือกแบบ SPCหรือแบบไร้สายที่ใช้คลื่นความถี่วิทยุ (Wireless) ทำให้ผู้ควบคุมสามารถตรวจสอบข้อมูลได้แบบ Real Time 2. การจัดเก็บข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากการวัดและการตรวจสอบมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากถ้าข้อมูลเหล่านี้ผิดพลาด สูญหาย หรือจัดเรียงไม่เป็นระบบ อาจส่งผลกระทบต่อการควบคุมคุณภาพการผลิตในช่วงเวลานั้นๆ ได้ ด้วยระบบData Management จะทำให้สามารถกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อเก็บสำรองในฐานข้อมูล การทำงานทั้งหมดจะได้รับการบันทึกอย่างเป็นขั้นตอนในกระบวนการผลิต และข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาใช้ในการวางแผนการผลิตและควบคุมคุณภาพให้เป็นที่น่าเชื่อถือต่อไป 3. การวิเคราะห์ผลสถิติข้อมูลการผลิต หรือการจำลองระบบการควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ (Statistical Process Control หรือ SPC) เพื่อกำหนดวิธีการตรวจสอบคุณภาพในการผลิตให้ได้รับความเชื่อถือ ลดปัญหาความผิดพลาดในการตรวจสอบคุณภาพ และวางแผนการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการผลิตชิ้นงานแต่ละประเภท ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการทำงาน ซึ่งจะช่วยในการปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตที่ดีกว่า มิตูโตโย หนึ่งในผู้นำด้านการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องมือวัดละเอียดอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก จึงได้ออกแบบระบบการจัดการข้อมูลผลการวัด สามารถตอบสนองการทำงานได้หลายรูปแบบ อุปกรณ์เชื่อมโดยตรงเข้ากับคอมพิวเตอร์ด้วยสายสัญญาณ SPC, การเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์ไร้สาย U-Wave (Wireless) และโปรแกรมการจัดการผลการวัดและการวิเคราะห์ผลการตรวจวัดได้อย่างแม่นยำและสะดวกรวดเร็ว โดยการแสดงผลผ่านโปรแกรม Microsoft Excel นอกจากนี้ยังพัฒนา Data Management System ด้วยโปรแกรม MeasurLink ที่จะสามารถบริหารจัดการข้อมูลทั้งระบบได้อย่างครบวงจรและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด Reference : Blue Update Edition 20
29 พ.ค. 2563
Transformation with Industrial Internet of Things
แนวคิดของอุตสาหกรรม 4.0 มีอิทธิพลในการสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมเพื่อเข้าสู่ยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งเป็นการบูรณาการการผลิตเข้ากับการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในรูปแบบ “The Internet of Things (IoT)” ทำให้กระบวนการผลิตตลอดทั้งซัพพลายเชนเชื่อมต่อกันบนโลกดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น What is the Industrial Internet of Things? Industrial Internet of Things หรือ IIoT คือ การนำเครื่องจักร ระบบการวิเคราะห์ขั้นสูง และคนมาทำงานร่วมกันผ่านโครงข่ายของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร ส่งผลให้เกิดระบบที่สามารถติดตาม เก็บข้อมูล แลกเปลี่ยนและแสดงผลข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ อย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน ข้อมูลดังกล่าวสามารถช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างชาญฉลาดและรวดเร็วยิ่งขึ้น What are the Benefits of IIoT? IIoT ช่วยปรับปรุงการเชื่อมต่อ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร ยืดหยุ่น ประหยัดเวลา และประหยัดค่าใช้จ่ายในการวางแผนการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริษัทที่มีความพร้อม เริ่มได้รับประโยชน์จาก IIoT ในการลดต้นทุนการผลิตจากการบำรุงรักษาที่คาดการณ์ล่วงหน้า (Predictive maintenance) การตรวจสถานะของเครื่องจักร (Monitor) และหลีกเลี่ยงการ Downtime ของระบบเพิ่มความปลอดภัยและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในส่วนอื่นได้ดียิ่งขึ้น ระบบเครือข่าย IIoT สามารถเชื่อมต่อข้อมูลขนาดใหญ่ของแต่ละหน่วยงาน ตั้งแต่ไลน์การผลิต ไปจนถึงระดับออฟฟิศและทุกคนในองค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะทำให้ผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลจาก IIoT ได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพซึ่งจะเป็นตัวแปรสำคัญนำไปสู่การตัดสินใจในอนาคต การขยายตัวของ IoT สำหรับภาคอุตสาหกรรมและโรงงานการผลิต (Industrial Internet of Thing – IIoT) ทั่วโลกมีแนวโน้มการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผลจากการศึกษาวิจัยข้อมูลทางการตลาดโดย Market and Market พบว่าในปี 2015 ตลาด IIoT มีมูลค่าตลาดโดยรวมสูงถึง 113 พันล้าน เหรียญสหรัฐ ซึ่งคาดว่าภายในปี 2022 จะมีมูลค่ากว่า 195 พันล้านเหรียญสหรัฐ อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี 7.9% การเติบโตของ IIoT มีผลมาจากหลักการโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) และเทคโนโลยีการผลิตแบบออโตเมชั่นโดยการริเริ่มของภาครัฐ ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศเยอรมันและฝรั่งเศสที่มีการส่งเสริมการใช้โซลูชั่น IIoT ในยุโรป เช่นเดียวกันกับประเทศผู้นำอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ในขณะที่ประเทศจีนยังถือครองตลาดทางด้าน IIoT ที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิค ในทิศทางเดียวกันตลาดในอินเดียคาดว่าน่าจะมีการเติบโตสูงขึ้น ทั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายตลาด IIoT ได้แก่ ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิคส์ และวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีคลาวน์ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว Key Components of IIoTการนำระบบ Internet of Thing (IoT) มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตนั้นจำเป็นจะต้องพัฒนาองค์ประกอบหลายประการ อาทิ การปรับปรุงเครื่องจักรกลและอุปกรณ์แบบเดิมให้รองรับเทคโนโลยี IIoT การเพิ่มอุปกรณ์ตรวจวัดและการเชื่อมต่อระบบการทำงานเข้าด้วยกัน รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การควบคุมและจัดการข้อมูลที่ได้รับทั้งโครงข่ายข้อมูล การใช้สมาร์ทเซนเซอร์ในการเชื่อมต่อสื่อสารถึงกันระหว่างเครื่องจักรกล (Machine-to-Machine M2M Communication) ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เครื่องจักรกลสามารถประเมินสถานะการทำงานที่ดีที่สุดและจดจำข้อมูล ตลอดจนการลำดับขั้นตอนการผลิตได้ด้วยตัวเองและการรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่ที่ได้รับ (Big Data) ด้วยระบบการประมวลผลการผลิตแบบเรียลไทม์ (Manufacturing Execution Systems – MES) เข้ามาควบคุมติดตามและบันทึกผลการผลิตผ่านอุปกรณ์ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันแพลตฟอร์มการทำงานของระบบ IIoT ประกอบด้วย 3 เทคโนโลยีหลัก ได้แก่ Sensors และ Sensor-Driven Computing คือด่านแรกในการเก็บข้อมูลที่ได้จากการผลิตและส่งไปยังส่วนของ Processor ซึ่งตัวเซนเซอร์ทำให้อุปกรณ์สามารถรับรู้สภาวะต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ความดัน แรงดันไฟฟ้า การเคลื่อนไหว และด้านเคมี Sensor-Driven Computing จะแปลงการรับรู้นี้เป็นข้อมูลเชิงลึก (Insights) โดยใช้ Industrial Analytics ในลำดับถัดไปที่ผู้ปฏิบัติงานและระบบสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อได้ Processor หรือ Industrial Analytics เป็นตัวประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากเซนเซอร์ ให้อยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลหลาย ๆ ส่วนของเครื่องจักรในคราวเดียวกัน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ส่งคำสั่งไปยังเซนเซอร์ เป็นเสมือนเครือข่ายในการเชื่อมโยงข้อมูลทุกจุดให้สามารถทำงานได้ทันที (Real time) Intelligent Machine Application ในอนาคตอันใกล้ผู้ผลิตเครื่องจักรจะไม่ผลิตเพียงแค่เครื่องจักรที่มีเฉพาะระบบกลไกเท่านั้น แต่จะรวมฟังก์ชั่นที่มีสมอง (Intelligence) อีกด้วย เพื่อควบคุมการผลิตอัตโนมัติผ่านซอฟท์แวร์ ซึ่งปกติผู้วางระบบจะทำบนระบบคลาวด์ทั้งหมดเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุม แก้ไข จัดการตรวจสอบการทำงานผ่านแอปพลิเคชั่นที่ได้รับการพัฒนาขึ้น และสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ประมวลผลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต่อไป แอปพลิเคชันที่มาพร้อมกับเครื่องจะเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างรายได้ใหม่ในรูปแบบผสมระหว่างผลิตภัณฑ์และบริการและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ง่ายต่อการผสานรวมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เข้าด้วยกัน Future and Challengesอย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบ Industrial IoT ซึ่งต้องอาศัยการเชื่อมต่ออุปกรณ์และเครื่องจักรต่างๆ ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวอาจทำได้ยากและต้องใช้เวลา เนื่องจากในเครื่องจักรแต่ละเครื่องมีรูปแบบและระบบโครงสร้างที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงถือเป็นความท้าทายของผู้พัฒนาระบบการเชื่อมต่อทั้งหมดให้สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ และคำนึงถึงการเก็บรักษาความปลอดภัยของข้อมูล IIoT กำลังกลายเป็นกระแสการพัฒนาที่สำคัญส่งผลต่อความสำเร็จในธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งในปัจจุบันและอนาคต ภาคธุรกิจต่างพยายามผลักดันการพัฒนาระบบและอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อตอบสนองให้ทันต่อความต้องการตลาดที่รวดเร็วผันผวนและเผชิญกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน (Disruptive Technology) อุตสาหกรรมที่นำ IIoT มาใช้งานสามารถปรับปรุงและพัฒนากระบวนการผลิต ความปลอดภัยเพิ่มประสิทธิภาพ และให้ผลกำไรที่ดีกว่าในระยะยาว Reference : Blue Update Edition 20
29 พ.ค. 2563