หมวดหมู่
รายงานการกำกับติดตามการการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี รอบ 6 เดือน
รายงานผลความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนดำเนินงานประจำปีในข้อ o11 ซึ่งมีเนื้อหาหรือรายละเอียดความก้าวหน้า อย่างน้อยประกอบด้วย (1) ความก้าวหน้าการดำเนินการแต่ละโครงการ/กิจกรรม (2) รายละเอียดงบประมาณที่ใช้ดำเนินงานแต่ละโครงการ/กิจกรรม โดยสามารถจัดทำข้อมูลเป็นแบบรายเดือน หรือรายไตรมาส หรือราย 6 เดือน ที่มีข้อมูลครอบคลุมในระยะเวลา 6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2566 รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ไตรมาสที่ 1 และ ไตรมาสที่ 2) รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ไตรมาสที่ 1 และ ไตรมาสที่ 2) รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ไตรมาสที่ 1 และ ไตรมาสที่ 2) รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (ไตรมาสที่ 1 และ ไตรมาสที่ 2)
30 มิ.ย. 2563
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
- แสดงผลการดำเนินงานตามแผนดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2567 ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย (1) ผลการดำเนินงานของแต่ละโครงการหรือกิจกรรม (2) งบประมาณที่ได้รับจัดสรรแต่ละโครงการหรือกิจกรรม* (3) ผลการใช้จ่ายงบประมาณที่ใช้ดำเนินงานแต่ละโครงการหรือกิจกรรม** (4) ช่วงระยะเวลาในการดำเนินงานแต่ละโครงการหรือกิจกรรม รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
30 มิ.ย. 2563
กสอ. เปิดตัว Thailand Textiles Tag คาดสร้างมูลค่าเพิ่มสิ่งทอไทยกว่า 60 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 30 มิถุนายน 2563 - นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายจำนงค์ นวสมิตวงศ์ ประธานสหพันธ์อุตสาหกรรมสิ่งทอแห่งประเทศไทย นายคมสรรค์ วิจิตรวิกรม รองประธานอนุกรรมการฯ แก้ไขปัญหาโควิด-19 และนางปารีสา จาตนิลพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจค้าปลีก บริษัท สยามพิวรรธน์ รีเทลโฮลดิ้ง จำกัด ร่วมแถลงข่าวกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม (Thailand Textiles Tag) ในรูปแบบเสวนา โดยมี นายชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ดำเนินรายการเสวนา ร่วมด้วย ผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ผู้บริหารจากสถาบันเครือข่ายภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ ชั้น 6 ห้อง Auditorium True Digital Park พระโขนง สำหรับกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม (Thailand Textile Tag) เพื่อสร้างมาตรฐานและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการ ยกระดับให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตามมาตรฐานอุตสาหกรรม เปิดตลาดการค้าทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการได้มีช่องทางตลาดที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางที่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อเข้าสู่การแข่งขันในยุคปัจจุบันได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ได้มีการจัดการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ฉลากคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย (Thailand Textiles Tag Logo Contest) ซึ่งในโอกาสนี้ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้มอบรางวัลแก่ผู้ชนะเลิศการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ดังกล่าว ได้แก่ นายพิเชษฐ์พล ไทยประสงค์ นักออกแบบอิสระ ในผลงานภายใต้แนวคิด Thailand Textiles Tag ผลิตภัณฑ์สิ่งทอคุณภาพประเทศไทย โดยตราสัญลักษณ์ Thailand Textiles Tag เป็นการมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับคุณภาพของเนื้อผ้า ความคงทนของสี และความปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง รวมถึงวัตถุดิบที่ใช้และกระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การรับรองเครื่องหมาย Thailand Textiles Tag จะพิจารณาจากแหล่งกำเนิดของสินค้าโดยยึดตามหลักสากล ได้แก่ เส้นด้ายที่ผลิตในประเทศไทย (Yarn Forward) และผ้าผืนที่ผลิตในประเทศไทย (Fabric Forward) สำหรับฉลาก Thailand Textiles Tag นี้ถือเป็นการนำร่อง โดยได้เตรียมแนวทางในการพัฒนาเพื่อรณรงค์สร้างการรับรู้และเข้าใจ รวมทั้งพัฒนาระบบ (Platform) ที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มา โรงงานผู้ผลิต เพื่อป้องกันการปลอมแปลงฉลากในอนาคต และสร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพแก่ผู้บริโภคได้ต่อไป ทั้งนี้ คาดว่าภายหลังการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้ได้รับการรับรอง Thailand Textiles Tag จะสามารถกระตุ้นการค้าให้กับอุตสาหกรรมสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มของไทย พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มและฟื้นฟูสิ่งทอไทย ไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
30 มิ.ย. 2563
“อธิบดีณัฐพล” เดินหน้าประชาสัมพันธ์โครงการ Agro Beyond Academy
กรุงเทพฯ 29 มิถุนายน 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติสัมภาษณ์ในรายการ Live Super Talk รูปแบบไลฟ์สดในประเด็นการพัฒนาแนวคิดปั้นนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม (Agro Beyond Academy) โดยมี นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมรับชม ณ บริษัท วู้ดดี้ เวิลส์ จำกัด เขตวัฒนา การให้สัมภาษณ์ดังกล่าวเป็นการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ โครงการ Agro Beyond Academy ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นวางแนวทางยกระดับภาคเกษตรไทยสู่การเป็นเกษตรอุตสาหกรรม การยกระดับขีดความสามารถการแข่งขัน ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิตการเกษตรอย่างครบวงจร ในการพัฒนาภาคเกษตรไทยสู่การเป็นเกษตรอุตสาหกรรม ที่จำเป็นต้องพัฒนาอย่างรอบด้านมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรให้มีองค์ความรู้ที่เหมาะสมเท่าทันและสามารถรองรับ การพัฒนาเกษตรสู่การเป็นเกษตรอุตสาหกรรมได้ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวจะเป็นการร่วมกันถ่ายทอดองค์ความรู้จาก 16 วิทยากรแนวหน้าระดับประเทศ ในรูปแบบของการเรียนอบรมแบบออนไลน์ (E-Learning) กว่า 30 ชั่วโมง และคาดว่าจะมีผู้เข้าอบรมกว่า3,000 ราย ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
30 มิ.ย. 2563
ก.อุตฯ ส่งกำลังใจ มอบอุปกรณ์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ให้แก่ รพ.ในพื้นที่ชัยภูมิ
จ.ชัยภูมิ 25 มิถุนายน 2563 - นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกประจำกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้ส่งมอบอุปกรณ์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ หน้ากากใส (Face Shield) หน้ากากอนามัยชนิดผ้า สเปรย์แอลกอฮอล์ ให้กับคณะแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลเทพสถิตและโรงพยาบาลบำเหน็จณรงค์ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
30 มิ.ย. 2563
ก.อุตฯ เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชุน เร่งสร้างนักธุรกิจเกษตรยุคใหม่ในพื้นที่ชัยภูมิ
จ.ชัยภูมิ 25 มิถุนายน 2563 - นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกประจำกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการสร้างนักธุรกิจเกษตรเบื้องต้น ภายใต้โครงการ "ห้วยยายจิ๋ว จิ๋วแต่แจ๋ว" พร้อมด้วย ผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ โดยมี นายสมเกียรติ ศรีษะเนตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ กล่าวต้อนรับ และนายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ โรงเรียนตรีประชาพัฒนศึกษา ตำบลห้วยยายจิ๋ว อำเภอเทพสถิต การอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการสร้างนักธุรกิจเกษตรเบื้องต้น เป็นหนึ่งกิจกรรมในโครงการ "ห้วยยายจิ๋ว จิ๋วแต่แจ๋ว" เพื่อสร้างผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมรายใหม่เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรได้อย่างยั่งยืน โดยกิจกรรมในครั้งนี้ กำหนดจัดขึ้นจำนวน 2 วัน ระหว่างวันที่ 25-26 มิถุนายน 2563 โดยมีเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการเกษตร/ วิสาหกิจชุมชน จำนวน 2 รุ่น ๆ ละ 75 คน รวมทั้งสิน 150 คน ทั้งนี้ โครงการ "ห้วยยายจิ๋ว จิ๋วแต่แจ๋ว" มีกิจกรรมย่อย ทั้งหมด 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่เกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน จำนวน 3 หลักสูตร กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดในเชิงพาณิชย์ จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ รวมถึงกิจกรรมเชื่อมโยงความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนอย่างยั่งยืน ในโอกาสนี้ คณะผู้บริหารฯ ได้เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาของตำบลห้วยยายจิ๋ว จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การแปรรูปพริกอินทรีย์เป็นน้ำพริกผัดเอนกประสงค์ ผลิตภัณฑ์มะเขือเทศจิ๊ดจ๊าด ผลิตภัณฑ์บัดดี้กวน จากมะเขือเทศราชินีและมะม่วงนำกวนรวมกัน ข้าวเกรียบกลอย และไก่ห้วยยายจิ๋ว พร้อมกันนี้ได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมแนวทางการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้อาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท (อศ.กช.) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ เพื่อต่อยอดหาแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ร่วมกันต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
30 มิ.ย. 2563
ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องการร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี
ข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริต และประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่หน่วยงาน
29 มิ.ย. 2563
แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
- แสดงคู่มือหรือแนวทางการดำเนินการต่อเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย (1) รายละเอียดของข้อมูลที่ผู้ร้องควรรู้เพื่อใช้ในการร้องเรียน เช่น ชื่อ-สกุล ของผู้ถูกร้อง ช่วงเวลาการกระทำความผิด พฤติการณ์การทุจริตและประพฤติมิชอบ (2) ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ (3) ขั้นตอนหรือวิธีการในการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ (4) ส่วนงานที่รับผิดชอบ (5) ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการ
29 มิ.ย. 2563
การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
ความก้าวหน้าหรือผลการดำเนินการตามมาตรการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน ตามข้อ o42 ไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีข้อมูลรายละเอียดการนำมาตรการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน รวมทั้งมีการแสดง QR code แบบวัด EIT บนเว็บไซต์หน่วยงาน เพื่อให้ผู้รับบริการหรือติดต่อราชการมีโอกาสมีส่วนร่วมในการประเมิน ITA ของหน่วยงาน ทั้งนี้เป็นการดำเนินการในปี พ.ศ. 2566 การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน ความก้าวหน้าหรือผลการดำเนินการตามมาตรการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน แสดง QR code แบบวัด EIT บนเว็บไซต์หน่วยงาน เพื่อให้ผู้รับบริการหรือติดต่อราชการมีโอกาสมีส่วนร่วมในการประเมิน ITA ของหน่วยงาน
29 มิ.ย. 2563
มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
แสดงการวิเคราะห์ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ในปี พ.ศ. 2567 ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วยประเด็น ดังต่อไปนี้ (1) กระบวนการปฏิบัติงานที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ (2) การให้บริการและระบบ E-Service (3) ช่องทางและรูปแบบการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารภาครัฐ (4) กระบวนการกำกับดูแลการใช้ทรัพย์สินของราชการ (5) กระบวนการสร้างความโปร่งใสในการใช้งบประมาณและการจัดซื้อจัดจ้าง (6) กระบวนการควบคุม ตรวจสอบการใช้อำนาจและการบริหารงานบุคคล (7) กลไกและมาตรการในการแก้ไขและป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน แสดงการกำหนดวิธีการนำผลการวิเคราะห์แต่ละประเด็นไปสู่การปฏิบัติที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย (1) มาตรการ โครงการ หรือกิจกรรม (2) ขั้นตอนหรือวิธีการปฏิบัติ (3) ช่วงระยะเวลาในการดำเนินการ (4) ผู้รับผิดชอบ แนวทางมาตรการการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2568
29 มิ.ย. 2563