หมวดหมู่
กสอ. จับมือ รัฐบาลญี่ปุ่น เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมอัจริยะตอบโจทย์ยุค Next Normal
กรุงเทพฯ 18 พฤศจิกายน 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานฝ่ายไทย พร้อมด้วย นายอัทสึชิ ทาเคทานิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (แห่งประเทศไทย) เป็นประธานฝ่ายญี่ปุ่น ร่วมกันเปิดงานและกล่าวแสดงความยินดีในงานสัมมนาเผยแพร่ผลลัพธ์ "โครงการจัดตั้งทีมสนับสนุนอุตสาหกรรมอัจริยะของประเทศไทย (Smart Monozukuri) ประจำ พ.ศ. 2563 และโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายฮิโรชิ คะจิยามะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น (METI) นายอุจิยามาดะ ทาเคชิ ประธานสมาคมส่งเสริมเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น (JTECS) กล่าวแสดงความยินดีผ่านการบันทึกเทป โดยมี นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย เข้าร่วม ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โครงการ Smart Monozukuri เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นการทำงานร่วมกันของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กับหลากหลายองค์กรจากประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) สมาคมส่งเสริมเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น (JTECS)และ ศูนย์วัฒนธรรมเอเชียและทุนฝึกอบรมเทคนิคโพ้นทะเล (AOTS) เพื่อที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้พร้อมสร้างบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีอัจฉริยะ โดยมีทีมสนับสนุนอุตสาหกรรมอัจฉริยะของญี่ปุ่นเป็นต้นแบบ ฝึกบุคลากรให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาเพื่อทำการปรับปรุงและมองหาโอกาสการพัฒนากระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมผ่านการเชื่อมโยงการทำงานโดยใช้โครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ IoT (Internet of Things) โดยรูปแบบการฝึกอบรมในปี 2563-2564 จะฝึกอบรบผ่านระบบ virtual พร้อมเยี่ยมชมและติดตามการดำเนินงานของผู้ประกอบที่ได้นำระบบ IoT มาปรับใช้ในภาคการผลิต โดยได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Master Instructor เป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ประกอบการ รายอื่นได้ และ กลุ่ม Instructor คือ ผู้เชี่ยวชาญที่เรียนรู้การแก้ปัญหาด้วย IoT ในขั้นต้น เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมให้ดำเนินต่อไปในอนาคต### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
23 พ.ย. 2563
กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ ”กระบวนการผลิต พัฒนาเส้นใย เทคนิคการทอ/สี/ลวดลาย” ภายใต้โครงการยกระดับผ้าทอมืออัตลักษณ์อีสานสู่สากล
เสริมแกร่ง เศรษฐกิจฐานราก ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เปิดรับสมัครผู้ประกอบการที่ผลิตผ้าไหมและผ้าฝ้ายทอมือ แปรรูปเป็นสินค้าประเภท ผ้าและเครื่องแต่งกาย ของใช้/ของฝาก/ของที่ระลึก และอุตสาหกรรมแฟชั่น เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ ”กระบวนการผลิต พัฒนาเส้นใย เทคนิคการทอ/สี/ลวดลาย” ภายใต้โครงการยกระดับผ้าทอมืออัตลักษณ์อีสานสู่สากล ระหว่างวันที่ 2-5 ธันวาคม 2563 โรงแรมบ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท จังหวัดอุบลราชธานี ครบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ ในการพัฒนากระบวนการผลิต เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 หรือท่านสามารถลงทะเบียนเตรียมพร้อมร่วมกิจกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรม ลงทะเบียนรับข้อมูลข่าวสารได้ที่ ไม่มีค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คุณเปลี่ยน 09 2952 6163 คุณต้อม 08 6873 9644 คุณกิ๊ฟ 09 0257 7188
23 พ.ย. 2563
เรื่อง รายชื่อผู้สมัครเข้ารับการเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบ
ประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง รายชื่อผู้สมัครเข้ารับการเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ และระเบียบเกี่ยวกับการสอบ รายละเอียดดังแนบ.- ประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กำหนดวัน เวลา สถานที่สอบ ระเบียบเกี่ยวกับการสอบ แผนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต รายชื่อผู้สมัครเข้ารับการเลือกสรรเป็นพนักงานราชการฯ นักจัดการงานทั่วไป นักวิชาการการเงินและบัญชี นักวิชาการอุตสาหกรรม นักวิชาการพัสดุ นิติกร วิศวกร เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ นักวิเทศสัมพันธ์
18 พ.ย. 2563
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร ปั้นช่องยูทูป ให้มีรายได้
ปั้นช่องยูทูป ให้มีรายได้ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ชวนผู้ประกอบการร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร ปั้นช่องยูทูป ให้มีรายได้ ณ ห้องประชุมฝ้ายขิด โรงแรมฝ้ายขิด อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ระหว่างวันที่ 14-16 ธันวาคม 2563 คุณสมบัติ เป็นสถานประกอบการที่จดนิติบุคคลหรือจดทะเบียนการค้า ลงทะเบียนเป็นสมาชิกใน ระบบลงทะเบียนลูกค้ากระทรวงอุตสาหกรรม (i.industry) เป็นที่เรียบร้อย โดยมีรายละเอียดครบถ้วนถูกต้อง มี Smartphone ที่สามารถโหลดแอพพลิเคชั่น ตัดต่อ VDO ได้ เตรียมสินค้า/ผลิตภัณฑ์ มาใช้ถ่าย VDO ในการทำ Workshop ประกอบการฝึกอบรม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คุณหนึ่ง 08 5495 3432 คุณเก่ง 08 6246 1388
17 พ.ย. 2563
กสอ. จับมือ เจโทร สานพลังติดอาวุธให้เอสเอ็มอี ยกระดับอุตฯ อาหารและเครื่องดื่ม
กรุงเทพฯ 16 พฤศจิกายน 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานและกล่าวปาฐกถาในเปิดการสัมมนา Thailand-Japan Collaboration on Food Processing Industry โดยมี นายอัทสึชิ ทาเคทานิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) กล่าวต้อนรับ ณ ห้องฟูจิ 1 ชั้น 3 โรงแรมนิกโก้ สุขุมวิท การสัมมนาดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมกับ องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ถือเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมกันพัฒนาห่วงโซ่มูลค่าอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมสัมมนาจะทราบถึงแนวทางการยกระดับการแปรรูปสินค้าและบริการ ทั้งในด้านปรับปรุงคุณภาพและเทคโนโลยีการผลิต รวมถึงการเชื่อมโยงธุรกิจและการหาตลาดใหม่ ๆ ของอุตสาหกรรมอาหารไทย ซึ่งอาศัยการให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการส่งเสริมพัฒนา ตลอดจนการส่งเสริมการจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการญี่ปุ่นในด้านเทคโนโลยีและธุรกิจที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมอาหารเพื่อตอบโจทย์ความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ ๆ ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
17 พ.ย. 2563
กสอ. ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการดาว เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน
กรุงเทพฯ 16 พฤศจิกายน 2563 - นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการดาว เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน ครั้งที่ 2/2563 โดยมี นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ผู้แทนจากกลุ่มภาคีเครือข่าย เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคาร กสอ. โครงการดาวเพื่ออุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนในปีนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "พี่ช่วยน้อง" (Big Brother) โดยมีเป้าหมายด้านพัฒนาสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงาน ลดปริมาณของเสีย ตลอดจนนำเทคโนโลยี IoT (internet of things)มาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุน เพิ่มกำลังการผลิต โดยการประชุมฯ ครั้งนี้ เป็นการประชุมต่อนื่อง เพื่อให้คณะกรรมการทราบถึงสถานการณ์ปัจจุบันของโครงการฯ ผลการดำเนินงานด้านการจัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนาสู่อุตสาหกรรม 4.0 รวมไปถึงการพิจารณาความเหมาะสมของแผนงาน การคัดเลือกผู้ประกอบการที่เข้าร่วมสมัครโครงการฯ ที่ผ่านเกณฑ์ ในประเภทอุตสาหกรรมพลาสติกและอุตสาหกรรมอาหาร ตลอดจนการจัดประกวดรางวัล SMEs ดีเด่น ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
16 พ.ย. 2563
เปิดรับสมัครผู้ประกอบการในสาขาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ นักออกแบบอิสระ และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมอบรมหลักสูตร "จุดประกายสร้างสรรค์ เพื่อชุมชนเข้มแข็ง (Local Designer)”
ปลุกพลังสร้างสรรค์ เพื่อชุมชนเข้มแข็ง ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เปิดรับสมัครผู้ประกอบการในสาขาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ นักออกแบบอิสระ และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมอบรมหลักสูตร "จุดประกายสร้างสรรค์ เพื่อชุมชนเข้มแข็ง (Local Designer)” ระหว่างวันที่ 1-3 ธันวาคม 2563 ณ โรงแรมแกลลอรี่ ดีไซน์ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ครบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย คุณธัญญ์นภัส กิ่งสุวรรณ : เจ้าของแบรนด์ 'Thorr' ของตกแต่งบ้าน และแฟชั่นร่วมสมัย คุณขวัญสุดา เนตรวงศ์ : เจ้าของเพจ อรรถรส ที่สร้างยอดไลค์หลักแสน ภายใน 1 เดือน คุณศิรวิชญ์ ชัยอภิสิทธิ์ : Creative Director แบรนด์ Dhammada Garden เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2563 หรือท่านสามารถลงทะเบียนเตรียมพร้อมร่วมกิจกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรม ลงทะเบียนรับข้อมูลข่าวสารได้ที่ ติดต่อสอบถาม ม่าเหมี่ยว 082 151 9973 mmeaw192
16 พ.ย. 2563
กสอ. โชว์ผู้ประกอบการ THAI LGBT CONNECT เซอร์วิสดีไซน์สุดล้ำที่ออกแบบมาเฉพาะเข้าใจคุณที่สุด
จ.เชียงใหม่ 14 พฤศจิกายน 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมการให้บริการนำเที่ยวและเชื่อมโยงกลุ่มหลากหลายทางเพศ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอเชี่ยน พลัส ทราเวล แอนด์ เซอร์วิส ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กสอ. นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กสอ. และคณะผู้บริหาร กสอ. โดยมี นายศกุณภัทร มโนกนกพานิช กรรมการผู้จัดการ ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมการดำเนินงานและนำเยี่ยมชมการให้บริการนำเที่ยว ณ อ.แม่แตง และ อ.แม่ริม อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาช่วงเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า กสอ. ได้ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการผ่าน กิจกรรมเปิดทาง-สู่ธุรกิจหลัง COVID 19 ค้นหาสุดยอดผู้ประกอบการ Challenge Project by DIProm เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถปรับรูปแบบการ ดําเนินธุรกิจในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งมีทีมนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญให้คําแนะนําเชิงลึก เพื่อให้โมเดลธุรกิจที่ ได้รับการพัฒนาสามารถนําไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปลี่ยนวิกฤตที่ภาคอุตสาหกรรมเผชิญ เป็นโอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นการดําเนินงานภายใต้ มาตรการฟื้นฟูผู้ประกอบการให้ดีพร้อมทันทีใน 90 วัน โดยหนึ่งในผู้ประกอบการที่เข้าร่วมคือเป็นผู้ประกอบการที่นําเที่ยวในกลุ่มเพศทางเลือกในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ที่อาศัยโอกาสในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ปรับรูปแบบการดําเนินธุรกิจจากเดิมที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดประเทศ พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล THAI LGBT CONNECT ทางเลือกใหม่ สําหรับนักท่องเที่ยว แม้ปัจจุบันการท่องเที่ยวยังไม่สามารถดําเนินการได้เต็มรูปแบบ แต่พบว่ายังมีความต้องการท่องเที่ยวเป็นจํานวนมาก ซึ่งแพลตฟอร์มนี้จะสามารถสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับชุมชนและสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้เป็นอย่างดี สำหรับห้างหุ้นส่วนจำกัด เอเชี่ยน พลัส ทราเวล แอนด์ เซอร์วิส ดำเนินธุรกิจนำเที่ยวมากกว่า 10 ปี มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้ความสนใจใช้บริการนําเที่ยวมาโดยตลอด แต่ธุรกิจไม่สามารถดําเนินต่อไปได้เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงเข้าร่วมโครงการฯ และได้รับการส่งเสริมจาก กสอ. ในการปรับโมเดลธุรกิจให้เท่าทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมคําแนะในการการจัดทําแพลตฟอร์ม THAI LGBT CONNECT เครื่องมือเพื่อการนําเที่ยว เชื่อมโยงกลุ่มผู้ประกอบการในประเทศ ฐานข้อมูลสินค้าและบริการ ในทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเพศทางเลือก (LGBT) ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศรายแรกของไทย ซึ่งนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ต้องการสัมผัสเอกลักษณ์ความเป็นไทย หรือ Thainess โดยไม่จําเป็นต้องปักธงสีรุ้งในสถานที่ท่องเที่ยว แต่ให้คงเอกลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวและต้องการการปฏิบัติที่เท่าเทียม ไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกแปลกแยก ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
16 พ.ย. 2563
กสอ. โชว์ต้นแบบแตกกอจากผู้ประกอบการรางผ้าม่าน สู่สมาร์ทฟาร์ม นวัตกรรมเอาใจสายสุขภาพ
จ.เชียงใหม่ 13 พฤศจิกายน 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการ บริษัท อี.พี. เดคคอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กสอ. นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 (ศภ.1 กสอ.) และคณะผู้บริหาร กสอ. โดยมี นายสราวุฒิ สินสำเนา กรรมการผู้จัดการบริษัทฯ ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมการดำเนินงานและนำเยี่ยมชมสถานประกอบการ ณ อ.สันทราย บริษัทฯ ดังกล่าว ดำเนินกิจการผลิตและจัดจำหน่ายรางผ้าม่านมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2543 ซึ่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ส่งผลให้มียอดขายลดลง จึงได้ปรับตัวหันมาจัดจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และใช้กลยุทธ์การสร้างคอนเทนต์เพื่อดึงดูดลูกค้า ซึ่งในระยะเดียวกันนี้ บริษัทฯ ได้แบ่งเบาภาระค่าครองชีพของพนักงาน โดยจัดทำแปลงปลูกผัก ให้พนักงานเก็บเกี่ยวไปประกอบอาหาร และพัฒนาจากสวนผักทั่วไปสู่การนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัลที่ได้รับคำแนะนำจากการเข้าโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาคอุตสาหกรรมสู่ผู้ประกอบการใหม่สู้วิกฤต COVID – 19 (แตกกอ) ของ กสอ. ที่เข้าไปช่วยพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพ สามารถเชื่อมต่อผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ (LINE) เพื่อให้การเพาะปลูกเกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น และเริ่มมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ ตลอดจนศักยภาพที่ได้รับการพัฒนาของพนักงาน จึงได้ต่อยอดเป็นระบบ "บ้านสวนสมาร์ทฟาร์ม" พร้อมการดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาระบบปลูกผักให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การวัดระดับความชื้นของดิน การให้น้ำในปริมาณที่เหมาะสมกับการเติบโต และการจัดเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลบิ๊กดาต้า ใช้สำหรับการวิเคราะห์รูปแบบการเพาะปลูก และพร้อมพัฒนาเข้าสู่กระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้ที่ชื่นชอบการปลูกผักแต่ไม่มีเวลาดูแลรดน้ำได้นำไปใช้ สำหรับพื้นที่ภาคเหนือ กสอ. ได้ดำเนินการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการทำธุรกิจให้สามารถแตกกอขยายสู่ธุรกิจใหม่ ผ่านการดำเนินงานของ ศภ. 1 จนสามารถแตกกอธุรกิจใหม่ได้ 12 กิจการ เกิดบุคลากรคุณภาพมาขับเคลื่อนการดำเนินงาน และมีความพร้อมที่จะต่อยอดไปสู่การประกอบธุรกิจใหม่ เป็นทางออกสำคัญที่ภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับตัวให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรม ช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนเพื่อประกอบกิจการใหม่ และยังช่วยให้เกิดการจ้างงานได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้พบปะเดินเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการแตกกออีกด้วย### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
16 พ.ย. 2563
กสอ.หนุนนโยบายรวมกลุ่มเอสเอ็มอีเชิงพื้นที่-กลุ่มธุรกิจ ทางออกวิกฤตเศรษฐกิจได้ผลจริง ตั้งเป้าปี 64 ปั้นคลัสเตอร์ 29 กลุ่มใหม่ หวังเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจโตกว่า 100 ล้านบาท
จ.เชียงใหม่ 13 พฤศจิกายน 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการ บริษัท สุภาฟาร์มผึ้ง จำกัด ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กสอ. นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กสอ. และคณะผู้บริหารกสอ. โดยมี นางสาวสุวรัตนา ยาวิเลิศ กรรมการผู้จัดการ บริษัทฯ ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมการดำเนินงานและนำเยี่ยมชมสถานประกอบการ ณ อ.แม่ริม อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรมฯ มุ่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการผ่านการส่งเสริมทักษะการประกอบการในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการรวมกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้ 2 เครื่องมือสำคัญประกอบด้วย โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือในระดับพื้นที่ในการรวมกลุ่มผู้ประกอบการทุกสาขาอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการส่งต่อข้อมูลการดำเนินธุรกิจและช่วยเหลือกันในระดับจังหวัดและภูมิภาค ทำให้เครือข่ายผู้ประกอบการมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาดำเนินการไปแล้ว 367 รุ่น ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ และโครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม หรือ คลัสเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือในระดับธุรกิจที่รวบรวมผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพภายในเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ โดย กสอ. ได้ขยายผลการขับเคลื่อนการผนึกกลุ่มผู้ประกอบการบนแนวคิด Cluster Hub คือ เชื่อมโยงอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพเชิงพื้นที่กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานสนับสนุน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น และเกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน โดยที่ผ่านมา กสอ. สามารถพัฒนาคลัสเตอร์ จำนวน 103 กลุ่ม และตั้งเป้าในปี พ.ศ. 2564 พัฒนาคลัสเตอร์รวมอีก 29 กลุ่ม และคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท สำหรับ บริษัท สุภาฟาร์ผึ้ง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผึ้งจากเดิมที่เคยเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม ต่อมาได้หันมาเลี้ยงอย่างจริงจัง เป็นอาชีพหลัก จนสามารถนำผลผลิตออกขายสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิต GMP/มาตรฐาน อย.จากคณะกรรมการอาหารและยา /มาตรฐาน GAP /HACCP /อาหารฮาลาล ซึ่งสินค้าทุกตัวต้องมีการตรวจสอบคุณภาพดีพร้อมก่อนส่งถึงมือลูกค้า นอกจากน้ำผึ้งธรรมชาติแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรที่แปรรูปจากผึ้งชนิดอื่น ๆ ก็ยังคงเป็นที่ต้องการในตลาดเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จ.เชียงใหม่ ผ่านกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการ คพอ. โครงการคลัสเตอร์ ซึ่งได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการต่อยอดทางธุรกิจจนประสบผลสำเร็จ โดยล่าสุดได้เข้าร่วมโครงการแตกกอธุรกิจผ่านการจัดทำโมเดลธุรกิจใหม่ ขยายฐานลูกค้าจากกลุ่มผู้สูงอายุ มาสู่กลุ่มคนวัยทำงาน โดยให้ใช้แฟลตฟอร์มออนไลน์เป็นเครื่องมือในการขาย ทั้งการนำเสนอโปรโมชันผ่านระบบไลฟ์ และการนำเสนอคอนเทนต์ผ่าน Youtube ของสุภาฟาร์ม ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 พ.ย. 2563