หมวดหมู่
“ดีพร้อม” ร่วมผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ" เร่งสร้างอัตลักษณ์ไทย นำผู้ประกอบการไทยสู่สากล
กรุงเทพฯ 29 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ 2/2567 (ครั้งที่ 9) พร้อมด้วย คณะกรรมการจากภาคส่วนต่าง ๆ โดยมี นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นประธานการประชุม และนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ เป็นที่ปรึกษาและกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ การประชุมในครั้งนี้ ได้มีการแจ้งเพื่อทราบถึงความคืบหน้าในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านแฟชั่น ด้านภาพยนตร์ สารคดี และแอนิเมชัน ด้านหนังสือ ด้านสาขาศิลปะการแสดง รวมไปถึงความคืบหน้าการออกแบบโลโก้ซีเกมส์ โดยดีพร้อมได้มีแนวทางการสร้างและส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์สาขาอาหารและแฟชั่น อันประกอบด้วย 5 เสาหลัก คือ 1) ศึกษาและพัฒนาทรัพยากร และทุนทางวัฒนธรรม อย่างสร้างสรรค์ 2) พัฒนาบุคลากรเพื่อขับเคลื่อน Soft Power ไทย 3) พัฒนาธุรกิจ เพื่อยกระดับขีดความสามารถ ของ Soft Power ไทย 4) ส่งเสริม Soft Power ไทย สู่ระดับสากล 5) สนับสนุนปัจจัยเอื้อ ในการส่งเสริม Soft Power ไทย ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาประเด็นต่าง ๆ เพิ่มเติม ประกอบไปด้วย การขอรับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับการจัดงานมหาสงกรานต์ พ.ศ. 2568 และการของบกลางเพื่อดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2568 ของอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านเฟสติวัล ด้านหนังสือ ด้านเกม ด้านการออกแบบ และได้มีแนวทางความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมศิลปะและภาพยนตร์ ละคร และซีรีส์ ในการดำเนินการสนับสนุนงานศิลปะไทยมุ่งสู่สายตาคนทั่วโลกผ่านภาพยนตร์ รวมไปถึงการนำเสนอโครงการ Archive & Digital Platform สำหรับสาขาศิลปะการแสดงอีกด้วย
15 ม.ค. 2568
"ดีพร้อม" นำทีมส่งมอบ "ถุง MIND ไม่ทิ้งกัน" ร่วมใจช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบภัยพิบัติในพื้นที่ภาคใต้
กรุงเทพฯ 29 พฤศจิกายน 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ร่วมบรรจุและขนย้าย "ถุงอุตสาหกรรมรวมใจ MIND ไม่ทิ้งกัน" ขึ้นรถบรรทุกเพื่อลำเลียงไปส่งมอบเป็นกำลังใจให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน รวมถึงได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในพื้นที่ภาคใต้ ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ซึ่งภายในถุงบรรจุสิ่งของอุปโภค บริโภค และของใช้ที่จำเป็น เช่น ข้าวสาร น้ำตาลทราย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นถุงยังชีพที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศที่รวมใจส่งมอบรอยยิ้ม เป็นกำลังใจให้กับผู้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียงในการก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ ตามนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการเตรียมมาตรการป้องกันให้พร้อมรับมือกับปัญหาภัยพิบัติอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการและประชาชน
15 ม.ค. 2568
"รมว.เอกนัฏ" นำทีม "ดีพร้อม" ลุยเมืองน่าน หารือการแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำท่วม เดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์จากโกโก้ และกาแฟอย่างยั่งยืน
จ.น่าน 26 พฤศจิกายน 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรายงานการแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำท่วม และการสร้างโอกาสทางธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ณ กาแฟบ้านไทลื้อ อำเภอปัว จังหวัดน่าน การหารือหน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดน่าน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 และศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยในช่วงของการร่วมหารือกัน ได้มีการรายงานการแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำท่วมโดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดน่าน ซึ่งมีการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดประชุมเชิงปฎิบัติการร่วมกัน ระดมความคิดเห็นและข้อผิดพลาด เพื่อป้องกันเหตุและเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ และจะได้นำแผนการเตรียมความพร้อมดังกล่าว มาบูรณาการในการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเหตุอุทกภัยให้ผู้ประกอบการกิจการโรงงาน/สถานประกอบการ ได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งได้มีการแนะนำและให้คำปรึกษาผู้ประกอบกิจการ เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ ที่จะสามารถช่วยป้องกันเหตุอุกทกภัยเบื้องต้น และการแจ้งช่องทางที่จะสามารถทราบข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานราชการเพื่อป้องกันเหตุ นอกจากนี้ ได้มีการรายงานผลการส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่ผ่านการพัฒนาโกโก้ที่เป็นพืชเศรษฐกิจ โดยพบว่า เปลือกโกโก้ที่เป็นวัสดุที่เหลือใช้จากกระบวนการแปรรูปโกโก้ สามารถนำมาพัฒนาต่อยอด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้เป็นผลิตภัณฑ์เซรามิกได้ ดีพร้อมจึงได้มีทำการทดลองและพัฒนาเป็นสูตรเคลือบเซรามิกจากขี้เถ้าเปลือกโกโก้ จนสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการผลิตเซรามิก และสามารถนำไปต่อยอดเป็นสินค้าหรือเป็นผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ใช้ในร้านอาหารในอนาคตต่อไป
15 ม.ค. 2568
“ดีพร้อม” อัพสกิล SMEs ไทย ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ" มุ่งเซฟ SME ไทย
กรุงเทพฯ 28 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “Scale Up Social Commerce” กิจกรรมการส่งเสริม SMEs ด้านนวัตกรรมการตลาดออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้ประกอบการ เข้าร่วมงาน ณ โรงแรม เบส เวสเทิร์น จตุจักร กิจกรรมดังกล่าว ได้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการ (SMEs) เพิ่มความรู้ ทักษะด้านการตลาดออนไลน์ด้วยการใช้เครื่องมือดิจิทัล และสามารถขยายธุรกิจให้เติบโตด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล อีกทั้ง สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย เพิ่มยอดขาย ขยายฐานลูกค้า และสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ปัจจุบันเทคโนโลยี และนวัตกรรมกำลังเปลี่ยนแปลงจาก Industry 4.0 เป็นยุคที่มีการใช้งานผสมผสานกับเทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นแนวโน้มของ Industry 5.0 คือ แนวคิดมนุษย์และเทคโนโลยีดิจิทัลทำงานร่วมกัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลให้ธุรกิจทุกภาคส่วนต้องปรับตัวตามโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากอาจารย์ธัญญ์นิธิ อภิชัยโชติรัตน์ อาจารย์ยุทธนา เทียนธรรมชาติ อาจารย์ศุภกร สินธุธาน และอาจารย์เกียรติกร เทียนธรรมชาติ วิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์มาถ่ายทอดความรู้และเทคนิคต่าง ๆ เกี่ยวกับ TikTok Facebook และ Line OA โดยมีผู้ประกอบการที่สนใจจะขยายธุรกิจตลาดออนไลน์ให้เติบโตด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เข้ารับการฝึกอบรมจำนวนกว่า 50 ราย
15 ม.ค. 2568
“รมว.เอกนัฏ” เปิดโร้ดแม็ป 3 ปี ดันไทย “ฮับโกโก้แห่งอาเซียน” เชื่อมท่องเที่ยวด้วยซอฟต์พาวเวอร์ โชว์ศักยภาพ “ดีพร้อม” ยกระดับผู้ประกอบการโกโก้สู่สินค้า GI โกยรายได้เพิ่มอีก 8 พันล้านบาท
จ.น่าน 25 พฤศจิกายน 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อร่วมกิจกรรมสร้างโอกาสทางธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานคณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ด้านยุทธศาสตร์ นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ โกโก้ วัลเลย์ รีสอร์ท อำเภแปัว จังหวัดน่าน นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม มีนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” พร้อมมุ่งสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน และมุ่งเซฟอุตสาหกรรมไทยที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมอยู่คู่กับชุมชน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการสร้างรายได้และเป็นการกระจายมูลค่าเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะ “เกษตรอุตสาหกรรม” ซึ่งเกษตรกรไทยมีศักยภาพและมีการเพาะปลูกในทุกภูมิภาค โดยจะมุ่งสนับสนุนทั้งพืชเศรษฐกิจเดิม และพืชเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โกโก้ ที่สามารถสร้างมูลค่าตั้งแต่ผลสด เมล็ดแห้ง และการแปรรูปเป็นสินค้าสร้างสรรค์ อีกทั้งยังพบว่าตั้งแต่โกโก้เริ่มได้รับความนิยมในไทย ยังเป็นแรงจูงใจในหลายด้าน เช่น โมเดลธุรกิจคาเฟ่ ท่องเที่ยว คนรุ่นใหม่ที่ผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการเกษตร รวมถึงการจ้างงานในชุมชนที่มากขึ้น ทั้งนี้ ใน 6 เดือนแรกของปี 2567 ไทยมีผลผลิตโกโก้รวมทั้งหมด 1,016.78 ตัน พบการตื่นตัวของผู้ประกอบการที่เริ่มหันมาสนใจนำทุกส่วนจากโกโก้ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มูลค่าสูงหลายรูปแบบ เช่น เครื่องสำอาง น้ำสกัดโกโก้ ฯลฯ ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ภายใต้เป้าหมายการผลักดันประเทศไทยให้เป็นผู้นำในแหล่งผลิตและตลาดผลไม้เมืองร้อนที่มีคุณภาพ กระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมโกโก้ในอาเซียน ด้วยเล็งเห็นความนิยมและแนวโน้มการเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่มีมูลค่าสูงจากจุดแข็งของไทยที่มีภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสม เป้าหมายที่สำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมโกโก้คือ การผลักดันให้พันธุ์ต่าง ๆ ที่กำลังพัฒนาและปลูกในแต่ละภูมิภาคก้าวสู่การเป็นสินค้า GI เพื่อตอกย้ำการเป็นแบรนด์ของท้องถิ่น ที่บ่งบอกถึงคุณภาพ แหล่งที่มาของสินค้า และโอกาสเพิ่มมูลค่าของโกโก้ในรูปแบบของสินค้าและบริการ รวมถึงพัฒนาให้มีความโดดเด่นในเชิงคุณภาพ อัตลักษณ์ทางรสชาติ และหลีกเลี่ยงการแข่งขันในเชิงปริมาณ ดังเช่นที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จมาแล้วกับอุตสาหกรรมกาแฟ รวมถึงการพัฒนาสารสกัดจากโกโก้ไทยที่เป็นทั้งสารสกัดจากกลิ่น รสชาติ และคุณประโยชน์ซึ่งสามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าใหม่ที่เหนือไปกว่ารูปแบบของเดิม โดยได้มอบนโยบายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) สนับสนุนโกโก้ในเชิงรุกผ่านการเข้าไปให้ความรู้ การนำเครื่องจักร เทคโนโลยี และระบบอัตโนมัติเข้าไปสนับสนุนผู้ประกอบการ รวมถึงในด้านการพัฒนามาตรฐานทั้งด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับโกโก้โดยตรง ตลอดจนการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) วางแผนการส่งเสริมโกโก้ในระยะ 3 ปี (2567 – 2569) โดยวางเป้าเพิ่มจำนวนผลผลิตภาคเหนือเพิ่มขึ้น 240 ตัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้น 57 ตัน ภาคใต้เพิ่มขึ้น 113 ตัน ภาคตะวันออกเพิ่มขึ้น 682 ตัน และภาคกลางเพิ่มขึ้น 5 ตัน คาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 8,000 ล้านบาท ด้วยมาตรการต่าง ๆ ประกอบด้วย 1) พัฒนาบุคลากรภาคการเกษตร ผ่านการเพิ่มมูลค่าให้กับเมล็ดโกโก้ ตั้งแต่ในขั้นตอนการแปรรูปเพื่อให้ตรงความต้องการของตลาด เทคนิคการคัดเลือกเมล็ดโกโก้ เทคนิคการหมัก การรวมกลุ่มคลัสเตอร์เพื่อการทำธุรกิจร่วมกันตั้งแต่ต้นน้ำ – ปลายน้ำ 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการ ซึ่งจะพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์พร้อมนำเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงสำหรับเกษตรแปรรูปมาประยุกต์ใช้กับผู้ประกอบการ เช่น เครื่องคั่วเมล็ดโกโก้อัจฉริยะด้วยระบบ AI เครื่องบีบสกัดไขมันเนยโกโก้ ฯลฯ รวมถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์และสินค้าสร้างสรรค์ 3) พัฒนาปัจจัยเอื้อ ด้วยการยกระดับมาตรฐานเมล็ดโกโก้ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้เทียบเท่าสากล อีกทั้งยังได้ส่งเสริมด้านเกษตรปลอดภัยโดยเฉพาะการปรับตัวผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 4) ส่งเสริมด้านการตลาดโดยนำผู้ประกอบการแปรรูปโกโก้ ซึ่งในปีนี้ได้เน้นการทดสอบตลาดในงานแสดงสินค้า เช่น THAIFEX ANUGA ASIA 2024 งาน Craft Cocoa Village ฯลฯ ส่วนในปี 2568 – 2569 จะเน้นการผลักดันเข้าสู่โมเดิร์นเทรดให้มากขึ้น “นอกเหนือไปจากเกษตรอุตสาหกรรม โกโก้ยังมีความสำคัญในมิติซอฟต์พาวเวอร์ในด้านอาหาร ที่สามารถพัฒนาได้ทั้งสินค้าสร้างสรรค์ รูปแบบของอาหารใหม่ ๆ และสามารถทำให้ไทยในฐานะผู้นำด้านอุตสาหกรรมมีส่วนแบ่งมูลค่าจากตลาดโกโก้ และอาหารที่มากขึ้น รวมถึงการเชื่อมโยงกับงานเทศกาล (Festival) ที่เป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จะเกิดขึ้นจากกิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวชุมชน ธุรกิจคาเฟ่ สปา สินค้าของฝากและสินค้าไลฟ์สไตล์ใหม่ ๆ ด้านความงามและสุขภาพรวมถึงการบูรณาการกับสมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทยที่มีแผน 3 ปี ในการเพิ่มเทรนเนอร์มืออาชีพ สร้างผู้มีความรู้ในการทำคราฟต์ช็อกโกแลต และสร้างตรารับรองโกโก้ รวมทั้งการร่วมกันจัด Asian Chocolate Festival เพื่อตอกย้ำให้ประเทศไทยเป็นหมุดหมายโกโก้ที่สำคัญของโลกพร้อมสร้างเครือข่ายอย่างน้อย 33 ประเทศ นอกจากนี้ ยังใช้โมเดลชุมชนดีพร้อม และดีพร้อมฮีโร่ เพื่อให้เศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตัวเองได้ และธุรกิจเป็นที่รู้จักในระดับภูมิภาคและในระดับประเทศ และนำไปสู่การส่งต่อความสำเร็จไปยังชุมชนอื่น ๆ” นางสาวณัฏฐิญา กล่าวเสริมว่า ดีพร้อมได้กำหนดให้จังหวัดน่านเป็นพื้นที่ต้นแบบการปลูกโกโก้ทั่วประเทศภายใต้แนวคิด “น่านโมเดล” โดยมุ่งหวังสร้างความนิยมการปลูกพันธุ์โกโก้น่าน 133 ที่เป็นสินค้า GI โดยการเพิ่มจำนวนพื้นที่เพาะปลูกและจำนวนผู้ประกอบการ สร้างต้นแบบธุรกิจ หรือดีพร้อมฮีโร่ขึ้น โดยมีผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ คือโกโก้วัลเลย์ (Cocoa Valley) ต้นแบบธุรกิจโกโก้ครบวงจรของน่านที่มีศักยภาพตั้งแต่การปลูก แปรรูปจนถึงการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง จากการเข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมต้นแบบอัจฉริยะ สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสที่พร้อมเข้าสู่การแข่งขันในตลาดโลก โดยทุกวันนี้โกโก้วัลเลย์ ถือเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของจังหวัดน่าน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบโกโก้และช็อกโกแลต และขณะเดียวกันธุรกิจนี้ยังได้ส่งต่อความรู้การปลูกโกโก้ให้กับเกษตรกรในชุมชน สร้างรายได้ และผลกระทบเชิงบวกให้กับชุมชนโดยรอบมากกว่า 300 ชุมชน เช่น กลุ่มขายผลสดโกโก้ กลุ่มชนเผ่า กลุ่มย้อมผ้า ทำให้คนในท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกโกโก้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร และสปา เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ได้สอดรับกับความต้องการตลาด เช่น เครื่องสำอาง เครื่องดื่มสำเร็จรูป คราฟท์ช็อกโกแลต นางสาวณัฏฐิญา กล่าวทิ้งท้าย
15 ม.ค. 2568
"ดีพร้อม" เร่งเดินหน้าปั้นผู้ประกอบการ OTAGAI รุ่นที่ 2 เตรียมความพร้อมสู่การเชื่อมโยงเครือข่ายทางธุรกิจไทย - ญี่ปุ่น สู่งาน Thailand International Motor Expo 2024
กรุงเทพฯ 26 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม “การฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้และยกระดับผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดสากล” รุ่นที่ 2 ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อโอกาสการขยายธุรกิจไทย – ญี่ปุ่น ตามแนวทาง OTAGAI (The OTAGAI Forum of TH – JP Business Network) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมี ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องศรีนครินทร์ 1 ชั้น 1 โรงแรมดุสิต ปริ้นเซส ศรีนครินทร์ กรุงเทพฯ ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ว่าด้วยการสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SME ไทย โดยการ “Save อุตสาหกรรมไทย” ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดีพร้อม จึงได้ดำเนินโครงการดังกล่าวในฐานะหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและยกระดับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมและ SMEs ให้มีความพร้อมและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งกิจกรรมตามแนวทาง OTAGAI เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้และเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ ผ่านการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม เพื่อสร้างโอกาสสำหรับการขยายธุรกิจในตลาดสากล สำหรับกิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรมการฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้และยกระดับผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดสากล รุ่นที่ 2 สำหรับผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมเหล็กและพลาสติก อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยและเป็น 10 กลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่อยู่ใน S-Curve โดยมีผู้ประกอบการให้ความสนใจและเข้าร่วมกว่า 70 คน จาก 50 กิจการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยจะดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบการ จำนวน 10 กิจการ ที่ผ่านการฝึกอบรมรุ่นที่ 2 ที่มีความพร้อมและศักยภาพในการขยายธุรกิจสู่ตลาดสากล พร้อมผ่านกระบวนการพัฒนาโดยดีพร้อมไปเป็นตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมการเจรจาจับคู่ธุรกิจ ณ งาน Thailand International Motor Expo 2024 ในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ณ อาคารอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ 1 - 3 เมืองทองธานี
15 ม.ค. 2568
“ดีพร้อม” พุ่งเป้าสินเชื่อฮาลาล จับมือ SME D Bank, EXIM Bank, iBank ดันอุตสาหกรรมฮาลาล ตามข้อสั่งการนายกฯ และนโยบาย "รมว.เอกนัฏ" โชว์สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่โตได้ยั่งยืน
กรุงเทพฯ 21 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมการสนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล พร้อมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางจันทร์ฉาย พิทักษ์อรรณพ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย นายชาตรี เวทสรณสุธี รองกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นางนุจรี ภักดีเจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารกลุ่มงานธุรกิจรายย่อย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากสำนักงานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการวางแนวทางการสนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ผ่านการบูรณาการหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม และ 3 สถาบันการเงิน ประกอบด้วย 1) สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม – กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ดำเนินกิจกรรมหลัก 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 การสนับสนุนสินเชื่อแก่เอสเอ็มอี เพื่อให้มีขีดความสามารถสูงขึ้น และด้านที่ 2 การส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอี เพื่อให้สามารถต่อยอดพัฒนาธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน สำหรับการส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาล จะมุ่งเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการและมาตรฐานในการผลิต รวมถึงสนับสนุนการขอการรับรองเครื่องหมายฮาลาล 2) ดีพร้อม – เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย ได้สนับสนุนสินเชื่อ DIPROM Pay เงินกู้ระยะสั้น เงินกู้ระยะยาว และวงเงินกู้เพื่อลงทุนหรือขยายธุรกิจ (DIPROM Pay for BCG) มอบสิทธิพิเศษให้กับผู้ประกอบการที่ผ่านการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลจากดีพร้อม จะได้รับส่วนลดค่าจดผ่อนชำระร้อยละ 50 ปลอดเงินต้นเป็นระยะเวลา 6 เดือน ผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่ Thailand Halal Valley จะได้รับสิทธิประโยชน์ปลอดเงินต้นเป็นระยะเวลา 12 เดือน 3) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย - สนับสนุนแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล โดยปล่อยสินเชื่อ Smile Biz ธุรกิจฮาลาลยิ้มได้ วงเงิน 10,000 ล้านบาท และสินเชื่อ SME Green Productivity For SMEs Halal วงเงิน 15,000 ล้านบาท 4) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย - ส่งเสริมผู้ประกอบการให้ได้รับความรู้ด้านการส่งออกและมาตรฐานฮาลาล โดยการให้สินเชื่อเอ็กซิมเริ่มต้นส่งออก สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจส่งออกหรือนำเข้าเพื่อการส่งออก (EXIM First Step Export Financing) สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (EXIM Green Start) สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ (EXIM Trade Fair Ready) นอกจากนี้ ยังมีบริการประกันการส่งออก (EXIM for Small Biz) เพื่อเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการที่มีมูลค่าการส่งออกไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อปี 5) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มีการสนับสนุนแหล่งเงินทุน โดยการปล่อยสินเชื่ออิกไนท์ฮาลาล (IGNITE HALAL) วงเงินสินเชื่อระยะยาว สามารถใช้ บสย. ค้ำประกันวงเงินได้ สินเชื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ Easy Halal Biz สินเชื่อ Easy Halal Exporter และ Packing Credit นำไปหมุนเวียนในธุรกิจ เพื่อเป็นค่าจัดซื้อวัตถุดิบ ค่าบริหารจัดการ หรือเพิ่มสภาพคล่องในกิจการ นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้มีข้อเสนอแนะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาล เช่น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาใช้ในการดำเนินงานจัดทำฐานข้อมูลฮาลาล หรือการตรวจสอบสินค้าและบริการที่ได้รับการรับรองเครื่องหมายฮาลาล ทั้งนี้ ควรมุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์ การสร้างความเชื่อมั่นในสินค้า สร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องการรับรองสินค้า ขยายตลาดให้กว้างมากขึ้นโดยดำเนินการร่วมกับองค์กรศาสนา อีกทั้ง ยังได้เตรียมแนวทางการบูรณาการความเข้าใจร่วมกัน (MOU) ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม และ 3 สถาบันการเงิน เพื่อจัดทำสินเชื่อ และต่อยอดการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ผู้ประกอบการต่อไป
15 ม.ค. 2568
เลขาฯ "พงศ์พล" นำประชุมบอร์ดเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม ดัน 2 แพลตฟอร์มเทคโนโลยีสุดล้ำ จับมือ "ดีพร้อม" สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการไทย ตามนโยบาย "รมต.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 21 พฤศจิกายน 2567 - นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2567 ร่วมด้วย นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารระดับสูง และผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting คณะกรรมการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม เป็นการดำเนินการตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยให้ความสำคัญกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยและสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยในที่ประชุมได้ร่วมรับฟังการนำเสนอ 2 เทคโนโลยี เพื่อช่วยจัดการปัญหาต่าง ๆ ได้แก่ 1) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ที่ใช้ใน Platform e-Commerce เพื่อแก้ปัญหาสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือการแอบอ้างนำเครื่องหมาย มอก. มาแสดงบนผลิตภัณฑ์โดยไม่ได้รับอนุญาตบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และ 2) เทคโนโลยี Traffy Fondue มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์แจ้งเรื่องร้องเรียนรายงานสินค้าปลอมหรือผิดกฎหมาย นอกจากนี้ ยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ตรวจจับสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม และคณะอนุกรรมการพัฒนาแพลตฟอร์มแจ้งเรื่องร้องเรียนออนไลน์ เพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม มุ่งหวังเพื่อเร่งดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจไทยยุคใหม่ของกระทรวงอุตสาหกรรมให้เกิดผลเป็นรูปธรรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ
15 ม.ค. 2568
"ดีพร้อม" เร่งจับคู่ธุรกิจ มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ตามนโยบาย "รมต.เอกนัฏ" ต่อยอดความร่วมมือ เมืองไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น นำผู้ประกอบการไทยก้าวสู่เวทีโลก
กรุงเทพฯ 21 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมกับ นายคิมูระ ซาโตรุ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเมืองไซตามะ จังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น และคณะ พร้อมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายพลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นายณรัฐ รุจิรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และนายตรีพล บุณยะมาน รองผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมครั้งนี้ นายคิมูระ ให้ข้อมูลว่า เมืองไซตามะ (City of Sitama) เป็นเมืองหลักของจังหวัดไซตามะ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับมหานครโตเกียว และเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีอัตราการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมสูงที่สุดในประเทศญี่ปุ่น อาทิ เช่น อุตสาหกรรมเครื่องจักร โลหะ และอาหารแปรรูป อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาค โดยเมืองไซตามะ นับเป็นหนึ่งในเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ด้วยจำนวนประชากร กว่า 1.3 ล้านคน นอกจากนี้ เมืองไซตามะยังได้จัดตั้งมูลนิธิแห่งเมืองไซตามะ (Saitama City Foundation for Business Creation: SFBC) เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการในท้องถิ่น โดยอุตสาหกรรมหลักที่มูลนิธิฯ มุ่งเน้นส่งเสริม คือ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์และการดูแลสุขภาพ (Medical Technology & Healthcare) อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรม AI & Robotics ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยและญี่ปุ่น มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันมาโดยตลอด ประกอบกับประเทศไทยมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ มีแรงงานคุณภาพ ทำให้ภาคเอกชนญี่ปุ่นตัดสินใจมาลงทุนในไทยเป็นอันดับต้น ๆ ดังนั้น เมืองไซตามะ จึงได้กำหนดแผนการจัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจ ระหว่างผู้ประกอบการไทยและเมืองไซตามะ รวมประมาณ 15 - 20 ราย เพื่อร่วมกันขยายโอกาสทางธุรกิจสู่สากล โดยคาดว่ากิจกรรมดังกล่าวจะจัดขึ้นในช่วงกลางปี 2568 ณ กรุงเทพมหานคร อสอ. ณัฏฐิญาฯ กล่าวว่า จังหวัดไซตามะ และ อก. โดย ดีพร้อม ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เมื่อเดือนสิงหาคม 2556 เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมและ SMEs โดย MOU นี้ ถือเป็นฉบับแรก ระหว่าง อก. และหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น ดังนั้น จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือ แบบ Local to Local ที่เน้นการเชื่อมโยงและต่อยอดภูมิปัญญาระหว่างกัน เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจในระดับชุมชนเติบโตได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ดังนั้น ดีพร้อม จึงยินดีให้ความร่วมมือกับเมืองไซตามะ ในการจัดกิจกรรมฯ ครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) 12 อุตสาหกรรม อาทิ ยานยนต์สมัยใหม่ เครื่องมือแพทย์และบริการทางการแพทย์ หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อาหารแห่งอนาคต อีกทั้งยังเชื่อว่า สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และสถาบันยานยนต์ จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้กิจกรรมดังกล่าวประสบความสำเร็จได้ เพื่อประโยชน์สูงสุดของภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยและเมืองไซตามะ
15 ม.ค. 2568
สายโกโก้มีเฮ "ดีพร้อม" จับมือสมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย เดินตาม "รมต.เอกนัฏ" สานต่อวิสาหกิจชุมชนโกโก้ไทย มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลาง Thai CoCoa Hub
กรุงเทพฯ 19 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมประชุมหารือร่วมกับสมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย (TACCO) นำโดย นายบดินทร์ เจริญพงศ์ชัย นายกสมาคมฯ และคณะ พร้อมด้วย นายกิตติโชติ ศุภกำเนิด ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในครั้งนี้ สมาคมฯ ได้นำเสนอแผนการพัฒนาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโกโก้ไทย สู่การเป็นศูนย์กลางโกโก้ของภูมิภาคอาเซียน ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบไปด้วย การสร้างองค์ความรู้ การสร้างมาตรฐานให้กับผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการสร้างแบรนด์สู่ระดับสากล สำหรับการดำเนินงานของดีพร้อม ได้มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมโกโก้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ดังนี้ 1) ต้นน้ำจะมุ่งเน้นการสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตให้กับเกษตรกร ตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยว และการหมักเมล็ดโกโก้ 2) กลางน้ำ จะมุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรม กระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์โกโก้ เพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ และยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสากล และ 3) ปลายน้ำ จะมุ่งเน้นการสนับสนุนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานโกโก้ เพื่อรองรับการนำไปผลิตเชิงพาณิชย์ ด้วยการ Matching เกษตรกรหรือผู้ผลิตและผู้ค้า ในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ การพัฒนาระบบตลาด E-commerce พร้อมทั้งเชื่อมโยงการเข้าถึงแหล่งทุน และมาตรการสนับสนุนของภาครัฐ ทั้งนี้ สมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย (TACCO) จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบวิสาหกิจเกี่ยวกับโกโก้และช็อกโกแลต พร้อมทั้งเป็นสื่อกลางในการแก้ไขปัญหา เจรจากับบุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์ร่วมกัน รวมถึงการติดตามความเคลื่อนไหวของตลาด วิจัย และเผยแพร่ความรู้ อีกทั้งส่งเสริมคุณภาพสินค้า และวิธีการผลิต โดยร่วมมือกับรัฐบาล รวมไปถึงอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมโกโก้เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมโกโก้ไทยสู่การเป็นศูนย์กลางโกโก้ของภูมิภาคอาเชียน
15 ม.ค. 2568