หมวดหมู่
โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม (คพอ. ดีพร้อม)
รับสมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม (คพอ. ดีพร้อม) รับสมัคร (50 ราย) รุ่นที่ 400 กรุงเทพมหานคร วันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน 2565 สัมภาษณ์ วันที่ 14 – 15 ธันวาคม 2565 ประกาศผลผู้ผ่านการสัมภาษณ์ วันที่ 27 ธันวาคม 2565 เริ่มเรียนหลักสูตร คพอ. ปี 2566 วันที่ 8 กุมภาพันธ์ – 18 มีนาคม 2566 อบรมหลักสูตรแบบ Offline โรงแรมแบงค็อก มิดทาวน์ โฮเต็ล กรุงเทพมหานคร คุณสมบัติผู้สมัคร ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของธุรกิจ หุ้นส่วน ทายาท หรือผู้บริหารที่มีอำนาจในการตัดสินใจ ต้องดำเนินธุรกิจมาไม่น้อยกว่า 3 ปี กิจการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล สมัครเข้าร่วมโครงการ CLICK
02 พ.ย. 2565
"รสอ.ณัฏฐิญา" ซักซ้อมเข้มแนวทางการใช้ระบบ JOB DIPROM รองรับลงทะเบียนฝึกอาชีพดีพร้อมหลักสูตร 2 3 4
กรุงเทพฯ 1 พฤศจิกายน 2565 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการเปิดประชุมชี้แจงแนวทางการทำงานในระบบ JOB DIPROM สำหรับ คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) จากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และคณะเจ้าหน้าที่จากบริษัทผู้รับจ้างในโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม หรือ “อาชีพดีพร้อม” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 500 คน โดยมี นางเกษราภรณ์ โกวิทลวากุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวรายงาน ผ่านระบบออนไลน์ทางแอปพลิเคชัน Zoom Meeting JOB DIPROM เป็นระบบสารสนเทศสำหรับการลงทะเบียนผู้ฝึกอาชีพฯ ในการเข้าร่วมโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม หรือ “อาชีพดีพร้อม” ซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นการซักซ้อมความเข้าใจการทำงานของระบบ JOB DIPROM ในฟังก์ชันต่าง ๆ ที่สนับสนุนการทำงานการลงทะเบียนฝึกอาชีพดีพร้อมในหลักสูตรที่ 2 พัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการบริการ หลักสูตรที่ 3 พัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และหลักสูตรที่ 4 พัฒนาต่อยอดทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ โดยแบ่งเป็น 3 ระบบหลัก ได้แก่ 1. ระบบเจ้าหน้าที่ (JOB OFFICER) ใช้รองรับการทำงานของเจ้าหน้าที่ดีพร้อม กสอ. ในการบริหารจัดการกิจกรรม รวมทั้งตรวจสอบและติดตามสถานการณ์การลงทะเบียน เพื่อสามารถประเมินและวางแผนการจัดฝึกอาชีพฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ระบบจองสิทธิ์เข้าอบรม (JOB BOOKING) ใช้สำหรับการจองสิทธิ์ของผู้ฝึกอาชีพฯ ในการเข้าร่วมหลักสูตรต่าง ๆ พร้อมคัดกรองป้องกันการจองสิทธิ์ซ้ำสำหรับผู้ที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมฝึกอาชีพฯ ก่อนหน้านี้ เพื่อกระจายการฝึกอาชีพได้ครอบคลุมเป็นวงกว้าง และ 3. ระบบลงทะเบียนเข้าอบรม (JOB SMARTCARD) เพื่อยืนยันการลงทะเบียนผู้ฝึกอาชีพ ณ จุดให้บริการ พร้อมกันนี้ในที่ประชุมยังได้แจ้งขั้นตอนให้แก่ผู้รับจ้างได้ทราบ อาทิ การใช้งานระบบให้กับผู้รับจ้าง การทำงานของผู้รับจ้างในการดำเนินการลงทะเบียนและเก็บข้อมูลการประเมินของผู้เข้าร่วมฝึกอบรม การเปิดสิทธิ์เข้าใช้งานระบบของผู้รับจ้าง เป็นต้น ทั้งนี้ โครงการอาชีพดีพร้อม ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง กรอบวงเงิน 1,249 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเพิ่มทักษะและรายได้ให้ชุมชนครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งตั้งเป้าพัฒนาประชาชนกว่า 700,000 ราย และคาดว่าจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท ###PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
02 พ.ย. 2565
รสอ.ณัฏฐิญา มอบนโยบายการดำเนินงานของดีพร้อมในปี 2566 ให้แก่หน่วยงานภายใต้กำกับ เร่งพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน
กรุงเทพฯ 31 ตุลาคม 2565 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมมอบนโยบายการดำเนินงานของดีพร้อมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ร่วมด้วย นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม นางเกษราภรณ์ โกวิทลวากุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ ดร. อริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการมอบนโยบายการดำเนินงานให้กับ หน่วยงานบางส่วนภายใต้การกำกับดูแลของ รสอ.ณัฏฐิญาฯ ได้แก่ สำนักงานเลขานุการกรม (สล.) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ศส.) และ กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม (กอ.) เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบด้วย แนวทางการจัดสรรผลผลิตและงบประมาณให้แก่หน่วยงานส่วนภูมิภาค หลักการดำเนินงานในงบอุดหนุน และงบรายจ่ายอื่น การปรับการดำเนินโครงการ/กิจกรรมให้สอดรับกับนโยบายและสามารถสร้างผลลัพธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรมตามทิศทางการสร้างขีดความสามารถในการเติบโตจากรากหญ้าสู่ผู้ประกอบการในอนาคตให้สามารถต่อยอดเกษตรอุตสาหกรรมในพื้นที่ได้ รวมถึงการให้บริการเครื่องจักรการเกษตรและเครื่องจักรการแปรรูปผ่านแพลตฟอร์ม IAID Application และศูนย์ DIPROM ITC การเชื่อมโยงระบบเครือข่าย Big Data และ Ecosystem เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการในภาพรวมของ อก. พร้อมทั้ง เน้นย้ำในส่วนของการประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานอย่างชัดเจน นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังมีเงินทุนหมุนเวียนสนับสนุนสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย ผ่านโครงการ “ดีพร้อมเปย์” (DIPROM Pay) ที่เน้นการจับคู่ระหว่างการส่งเสริมและพัฒนาผ่านโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ของดีพร้อม กับการให้เงินทุนหมุนเวียนฯ เพื่อชวยเหลือผู้ประกอบการในอนาคตต่อไป ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
01 พ.ย. 2565
ก.อุตสาหกรรม แท็กทีมภาครัฐ-เอกชน ลงพื้นที่อุบลฯ มอบถุงยังชีพและอุปกรณ์ทำความสะอาด บรรเทาความเดือดร้อนประชาชนหลังน้ำลด ภายใต้กิจกรรม "อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย"
จ.อุบลราชธานี 29 ตุลาคม 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นำทีมผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี นำสิ่งของอุปโภค บริโภค และอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านเรือน ตลอดจนของใช้ที่จำเป็น จัดเป็นถุงยังชีพ จำนวน 3,000 ถุง เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ในจังหวัดอุบลราชธานี ภายใต้กิจกรรม "อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย" โดยมีนายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายสมเพชร สร้อยสระคู นายทรงพล วิชัยขัทคะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายวรรณเวย์ ศิวารัตน์ อุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี ให้การต้อนรับ โอกาสนี้ นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวชลาริน นิลพิฤกษ์ ผู้อำนวยการกองกลาง นายเตมีย์ พันธุสงศ์ราช ผู้อำนวยการกองตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรมนายดุสิต อนันตรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการกองศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 7 (DIPROM CENTER 7) ร่วมลงพื้นที่ด้วย ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม มีความห่วงใยประชาชนชาวอุบลราชธานีเป็นอย่างยิ่งที่กำลังประสบอุทกภัยอย่างรุนแรงมาเป็นเวลานานในหลายพื้นที่ อันเนื่องมาจากพายุโซนร้อน “มู่หลาน” “โนรู” และ “เซินกา” ที่พัดเข้าประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา ทำให้เกิดฝนตกหนักจนเกิดอุทกภัยเป็นบริเวณกว้างครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) ได้ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด และตระหนักถึงความเดือดร้อนของประชาชนที่ประสบอุทกภัยครั้งร้ายแรงดังกล่าว ส่งผลให้บ้านเรือนและพื้นที่ทำการเกษตรเกิดความเสียหายเป็นจำนวนมาก โดยจังหวัดได้มีการประกาศเป็นเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ในหลายพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี กระทรวงอุตสาหกรรม จึงดำเนินการภายใต้มาตรการ 3 ระยะ คือ 1. ป้องกัน 2. เยียวยา 3. ฟื้นฟู จัดกิจกรรม “อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย” เพื่อเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาทั้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) ร่วมกันช่วยเหลือเยียวยา โดยการบริจาคสิ่งของเครื่องใช้อุปโภค-บริโภคที่จำเป็น จัดเป็นถุงยังชีพ เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำตาล น้ำปลา น้ำมัน ยากันยุง ปลากระป๋อง อาหารสำเร็จรูป กระดาษทิชชู น้ำดื่ม วัสดุและอุปกรณ์ทำความสะอาด และยารักษาโรค เป็นต้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้ประสบอุทกภัยในเบื้องต้น อย่างไรก็ตามภายหลังจากสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลายก็ได้สร้างความเสียหายกับบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูให้กลับมาสู่สภาพเดิม เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาดำรงชีวิตได้เป็นปกติ กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ลงพื้นที่นำถุงยังชีพ พร้อมด้วยวัสดุและอุปกรณ์ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย ไปมอบให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ในอำเภอเมือง และอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยในจุดแรกได้มอบถุงยังชีพซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับมอบ จำนวน 2,400 ชุด ณ ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี และจุดที่สอง แจกจ่ายไปยัง 5 ชุมชนในตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ กว่า 170 ครัวเรือน จำนวน 600 ชุด
31 ต.ค. 2565
"ดีพร้อม" ร่วมคณะผู้บริหาร อก. อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน ทอดถวาย ณ วัดทองนพคุณ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา
กรุงเทพฯ 28 ตุลาคม 2565 - นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของกระทรวงอุตสาหกรรม ประจำปีพุทธศักราช 2565 โดยมี ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน คณะผู้บริหาร นายวรวิทย์ จิรัฐิติเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรม ณ วัดทองนพคุณ แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กระทรวงอุตสาหกรรม และประชาชนผู้มีจิตศรัทรา ร่วมบริจาคจตุปัจจัยทำบุญ และร่วมเป็นเจ้าภาพพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน โดยมียอดกฐินเพื่อถวายพระภิกษุ สามเณร และถวายจตุปัจจัยบำรุงพระอารามหลวง จำนวนทั้งสิ้น 10,239,999 บาท พร้อมกันนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบเงินสนับสนุนการศึกษาพระภิกษุสามเณรและองค์กรสาธารณประโยชน์เพื่อพระพุทธศาสนา จำนวน 2 ทุน ๆ ละ 300,000 บาท ได้แก่ โรงเรียนวัดทองนพคุณ และโรงเรียนพระปริยัติธรรม การทอดกฐินเป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชน ได้ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน เพื่อเป็นการอุปถัมภ์พระสงฆ์ที่จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสให้ได้รับอานิสงส์ตามพระวินัย และเป็นทุนในการบูรณปฏิสังขรณ์พระอาราม โดยเป็นการรวมพลังแห่งความสามัคคี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจในการสร้างบุญกุศล สร้างความสุขของการอยู่ร่วมกันในสังคม รวมทั้งเป็นการจรรโลงและส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้มั่นคงดำรงอยู่เจริญวัฒนาสถาพรสืบไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
31 ต.ค. 2565
"ดีพร้อม" และ "กนอ." รับมอบสิ่งของอุปโภค-บริโภค จากผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการในจังหวัดเพชรบุรี เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
กรุงเทพฯ 28 ตุลาคม 2565 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม เข้ารับมอบสิ่งของอุปโภค บริโภค และของใช้ที่จำเป็น จากผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานอุตสาหกรรมเพชรบุรี เพื่อนำไปช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
31 ต.ค. 2565
ดีพร้อม" รับมอบสิ่งของอุปโภค-บริโภค จากผู้ประกอบการเครือข่าย FA SME, Bangkok Biz และผู้ประกอบการเครือข่าย DIPROM CENTER 9 เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
กรุงเทพฯ 27 ตุลาคม 2565 - นายภาสกร ชัยรัตน์ และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อํานวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม นายวรวิทย์ จิรัฐิติเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ และเจ้าหน้าที่ของศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 9 (DIPROM CENTER 9) เข้ารับมอบสิ่งของอุปโภค บริโภค และของใช้ที่จำเป็น จากผู้ประกอบการเครือข่ายสหพันธ์สมาคมผู้ประกอบการไทย (FA SME) สมาคมการค้าส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทยกรุงเทพและปริมณฑล (Bangkok Biz) และผู้ประกอบการในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 9 เพื่อนำไปช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
28 ต.ค. 2565
ดีพร้อม รวมใจแพ็คถุงยังชีพ เร่งเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม
กรุงเทพฯ 26 ตุลาคม 2565 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำทีมข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ร่วมกันแพ็คสิ่งของบรรจุเป็นถุงยังชีพ เพื่อเตรียมนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมโดยเร่งด่วน ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) โอกาสนี้ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้ารับมอบสิ่งของอุปโภค บริโภค และของใช้ที่จำเป็น โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี เพื่อนำไปช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นให้กับผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 ต.ค. 2565
"ดีพร้อม" รับมอบสิ่งของอุปโภค-บริโภค จากผู้ประกอบการเครือข่าย DIPROM SMEs NETWORK และผู้ประกอบการเครือข่าย DIPROM Center 6 เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
กรุงเทพฯ 25 ตุลาคม 2565 - นายภาสกร ชัยรัตน์ และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายวรวิทย์ จิรัฐิติเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ และนางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 (DIPROM CENTER 6) เข้ารับมอบสิ่งของอุปโภค บริโภค และของใช้ที่จำเป็น จากผู้ประกอบการเครือข่าย DIPROM SMEs NETWORK และผู้ประกอบการในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 เพื่อนำไปช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 ต.ค. 2565
ดีพร้อม ประชุมคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ครั้งที่ 1/2565
กรุงเทพฯ 26 ตุลาคม 2565 – นางบุญเจือ บุญเกษม ประธานคณะทำงาน กรรมการจริยธรรมประจำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำทีม คณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 1/2565 ร่วมด้วย คณะผู้บริหาร คณะทำงานหรือ ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ โรงแรม รอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำแผนส่งเสริมจริยธรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖1 – ๒๕80 แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. 2566 - 2570) ยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ (พ.ศ. ๒๕๖๕ – ๒๕๗๐) การประเมินองค์กรคุณธรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖6 ของกรมการศาสนา และสอดคล้องกับแนวทาง มาตรการปลูกจิตสำนึก เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมแก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานและเครือข่ายกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อีกทั้งได้ ร่างกำหนดคุณธรรมเป้าหมาย “ปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ” โดยมุ่งเน้นคุณธรรม จริยธรรม และธรรมมาภิบาลในหน่วยงาน ด้วยการปลูกฝังระเบียบวินัย ค่านิยมที่พึงประสงค์ และให้บุคลากรยึดมั่นปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และร่วมกันสืบสานวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม รวมทั้งการส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งคุณธรรมที่พึงประสงค์ 5 ประการ ได้แก่ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู เพื่อวางรากฐานให้บุคลากรมีส่วนร่วมสร้างสังคมไทยเป็นสังคมคุณธรรมอย่างยั่งยืน ส่งเสริมให้บุคลากร ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีสมรรถนะที่จำเป็น มีคุณลักษณะตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และภูมิคุ้มกันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คำสั่ง กสอ. ที่ 412/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รายงานการประชุม คณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2565
26 ต.ค. 2565