หมวดหมู่
DIPROM Smart Market เสริมศักยภาพการตลาดผู้ประกอบการชุนชน
จ.นนทบุรี 18 พฤษภาคม 2566 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) ให้เกียรติเป็นประธานในกิจกรรม DIPROM Smart Market โดยมีคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชน เข้าร่วมประชุม ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 โซน B ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวสต์เกต กิจกรรมดังกล่าว เป็นการส่งเสริมการตลาดวิถีใหม่ด้วยกลไก Smart Marketing เพื่อยกระดับสินค้าชุมชนให้เกิดการสร้างเครือข่าย การเจรจาธุรกิจและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการชุมชนได้มีโอกาสเพิ่มช่องทางการจําหน่ายสินค้า ตลอดจนประชาสัมพันธ์สินค้าให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง โดยคัดเลือกผู้ประกอบการชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 ราย ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ผ่านการพัฒนาตามกลไก 7 วิธี ปั้นชุมชนดีพร้อม ได้แก่ แผนชุมชนดีพร้อม คนชุมชนดีพร้อม ผลิตภัณฑ์ชุมชนดีพร้อม การผลิตชุมชนดีพร้อม แบรนด์ชุมชนดีพร้อม ตลาดชุมชนดีพร้อม และเงินทุนหมุนเวียนดีพร้อม นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการเสวนา หัวข้อ “ปรับตัวอย่างไร ให้มีชัย ด้วยกลไก Smart Marketing” การจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนในกิจกรรม DIPROM Smart Market นี้ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ เครื่องแต่งกาย ของใช้ของตกแต่ง สมุนไพร อาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งสิ้น 50 บูธ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-21 พฤษภาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 22.00 น. บริเวณลานโปรโมชั่น ชั้น 1 โซน B ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวสต์เกต ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 พ.ค. 2566
ฤกษ์ดี!! รสอ.วาทีฯ ก้าวเท้าเข้าห้องทำงาน พร้อมสักการะองค์พระนารายณ์พระภูมิ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงอุตสาหกรรม และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ - 18 พฤษภาคม 2566 ราชาฤกษ์ เวลา 16.24 น. นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อันเชิญพระพุทธรูป เข้าห้องทำงานเป็นวันแรก พร้อมเข้าสักการะองค์พระนารายณ์ พระภูมิ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และกราบพระพุทธรูปที่ประดิษฐานประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อความเป็นสิริมงคลเนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมีคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ บริเวณอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และอาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 พ.ค. 2566
ราชาฤกษ์ รสอ.วัชรุนฯ ลงนามปากกาเริ่มงานวันแรก พร้อมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ - 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.09 น. นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กราบพระพุทธรูป และองค์พระนารายณ์ที่ประดิษฐานประจำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และเข้าสักการะพระภูมิ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ประจำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อความเป็นสิริมงคลเนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งรองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมีคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 พ.ค. 2566
“รสอ.สุชาดา” ร่วมประชุมคณะกรรมการบริหาร สสว. ครั้งที่ 6/2566
กรุงเทพฯ 18 พฤษภาคม 2566 - นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) เป็นผู้แทนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ครั้งที่ 6/2566 ร่วมด้วย กรรมการและผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย โดยมี นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล เป็นประธานการประชุม ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมครั้งนี้ ในที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1. การเพิ่มสัดส่วนงบประมาณการให้ความช่วยเหลือ อุดหนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภายใต้โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS ปีงบประมาณ 2565 ที่ได้รับการขยายระยะเวลาการดำเนินงานโครงการฯ (เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2566) 2. ทบทวนกฎบัตรคณะอนุกรรมการตรวจสอบปี 2566 และรายงานผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการตรวจสอบปี 2565 3. การกำหนดนิยามวิสาหกิจขนากกลางและขนาดย่อมสตรี 4. ข้อบังคับคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมว่าด้วยสวัสดิการหรือการสงเคราะห์อื่นแก่พนักงานและลูกจ้าง พร้อมรับทราบผลการประเมินการดำเนินงานทุนหมุนเวียนของกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2565 ผ่านกรอบหลักเกณฑ์การประเมินผล 6 ด้าน (ด้านการเงิน ด้านการสนองประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการปฏิบัติการ ด้านการบริหารจัดการทุนหมุนเวียน ด้านการปฏิบัติงานของ คกก.บริหารทุนหมุนเวียน พนักงานและลูกจ้าง และด้านการดำเนินงานตามนโยบายรัฐ/กระทรวงการคลัง) โดยด้านการเงิน ได้คะแนนประเมินอยู่ที่ 1 ต่ำกว่าเกณฑ์ เข้าเงื่อนไข “ต้องปรบปรุง/พัฒนา” ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำ(ร่าง)แผนปรับปรุงพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานทุนหมุนเวียน เพื่อปรับปรุงระดับคะแนนเป็น 4 ในบัญชี 2566 - 2567 ต่อไป ##PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 พ.ค. 2566
เชิญเข้าร่วมอบรบ หลักสูตร สเปรย์สมุนไพรไล่ยุง
พบกับนักส่งเสริมอาชีพดีพร้อม หลักสูตร สเปรย์สมุนไพรไล่ยุง อย่าเพิ่งเบื่อกันก่อนนะ ฝนตกยุงเยอะนักใช่ไหม เจอนี่หน่อยเป็นไง สเปรย์สมุนไพรไล่ยุง ทำใช้ไว้ไล่เองก็ได้ หรือทำขายไว้เป็นอาชีพเสริมก็ดี จากผู้มีประสบการณ์ตรง เรียนฟรีไม่มีจ่าย วันที่ 24 พ.ค. 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น. สนใจร่วมกิจกรรมสามารถส่งชื่อ https://forms.gle/56FSifYoBtfLpUhV8 ติดต่อ สอบถามเพิ่มเติม 094-8297495 (คุณเป้า) 056-039942 ต่อ 3322 (สำนักงาน) ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 @ajg4938t
18 พ.ค. 2566
ปลัดฯ ณัฐพล นำทีม MIND ผุดไอเดียพลิกฟื้น JBIC บ้านนาตีน จ.กระบี่ เน้นการสร้างแบรนด์ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เชื่อมโยงธุรกิจขนาดใหญ่กระจายรายได้ให้ชุมชนสู่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ
จ.กระบี่ 16 พฤษภาคม 2566 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (รปอ.) นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (หน.ผตร.อก.) นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (ผตร.อก.) นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (ชปอ.) นางสุชาดา โพธิ์เจริญ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) ผู้บริหารจากสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและรับฟังการดำเนินงานของศูนย์บริการย่อย (Mini DC 10) ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 โดยมีอุตสาหกรรมจังหวัด 9 จังหวัด (สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ตรัง พัทลุง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ระนอง) และผู้อำนวยการภาค 7 ธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และมีนายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIProm Center 10) ให้การต้อนรับและรายงานการดำเนินการของศูนย์บริการย่อย Mini DC 10 ซึ่งเดิมเป็นศูนย์ JBIC บ้านนาตีน จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ รวมถึงพัฒนาอาชีพของชุมชนตลาดนาตีน ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีจุดเด่นในพื้นที่ คือ เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมุสลิม ใกล้บริเวณหาดอ่าวนาง หาดนพรัตน์ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศ มีผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชนจากผ้าบาติก กระเป๋า เสื้อผ้า ของฝากของที่ระลึกจากกะลามะพร้าว ช้อน ทัพพี และเรือหัวโทงจำลอง ปัจจุบันมีแนวคิดในการขยายให้เป็นสำนักงานย่อยของศูนย์ DIPROM Center 10 เชื่อมโยงการบริการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความรู้ ให้คำปรึกษาแนะนำด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ จัดนิทรรศการแสดงผลงาน เป็นสถานที่แสดงผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ท้องถิ่นและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน ใช้เป็นห้องประชุมและ Coworking Space รองรับการประชุม พื้นที่ฝึกอบรม ลานอเนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรรมและออกร้านค้าชุมชน เป็นต้น ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบนโยบายการพัฒนาศูนย์บริการย่อย Mini DC 10 ให้เป็นหน่วยบริการที่สามารถกระจายความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยในอนาคตควรมีการจัดทำเป็นแอปพลิเคชันที่เชื่อมโยงงานบริการต่าง ๆ ของหน่วยงาน และขยายจุดบริการไปยังจังหวัดทั่วประเทศ ส่วนในด้านการพัฒนากลุ่ม JBIC บ้านนาตีนให้เกิดความยั่งยืน ควรเน้นการสร้างจุดเด่นและดึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเพื่อสร้างจุดขาย พร้อมการสร้างแบรนด์และการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักและเกิดการจดจำ ขณะเดียวกันก็ให้มีการเชิญชวนผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาช่วยเหลือเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายและกระจายรายได้ให้กับชุมชน โดยการนำสินค้าไปจัดแสดงและวางจำหน่ายสินค้าในพื้นที่ เช่น โรงแรมที่พักที่มีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก รวมถึงการเชื่อมโยงกิจกรรม One Day Trip เพื่อดึงให้นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาสัมผัสกับประสบการณ์การผลิตสินค้าของชุมชนในพื้นที่ โดยสร้างกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวเป็นผู้ผลิตสินค้าและนำกลับไปเป็นของที่ระลึกได้ รวมถึงการพัฒนาผลิตให้กับกลุ่มเกิดการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และการจัดกิจกรรม Event อย่างต่อเนื่อง เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวและพัฒนาสู่ความยั่งยืน นอกจากนี้ ควรสร้างสรรค์กิจกรรมภายในศูนย์เพื่อให้เกิดการใช้พื้นที่ให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดฝึกอบรมและสัมมนาของหน่วยงานราชการต่าง ๆ อย่างไรก็ดีควรเชื่อมโยงกับ ธพว. ให้เข้ามาร่วมพัฒนากับ DIPROM Center 10 ทั้งในด้านระบบบัญชี การเติมทุน และการพัฒนาด้านการตลาดด้วย ส่วนในด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรม ควรขยายขอบข่ายการทำงานให้มากขึ้น ทั้งการกำกับดูแลมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก. การมาตรฐานแห่งชาติ การส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการในด้านต่าง ๆ โดยมอบหมายผู้ตรวจฯ ภาสกร วางแนวทางด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมของทุกจังหวัด ร่วมกับ กสอ. เช่น การจัดทำโครงการ MIND to Modern Trade การส่งเสริมสินค้าในชุมชนให้นำเข้าไปจำหน่ายในเซเว่นอีเลฟเว่น (7eleven) พร้อมทั้งเชื่อมโยงกลไกกองทุน SME ตามแนวประชารัฐ และ SME D Bank ด้วย ด้าน รปอ.ณัฏฐิญา ได้เน้นย้ำการสร้างแบรนด์ของชุมชนบ้านนาตีน ให้เกิดการรับรู้และสร้างความยั่งยืน ควบคู่กับการพัฒนาสินค้าให้มีมาตรฐานผ่านการรับรอง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว พร้อมการพัฒนาให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาให้มีความยั่งยืน มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น นอกจากนี้ยังได้เน้นย้ำให้ศูนย์มีการบริหารจัดการที่ดี ทั้งในด้านระบบบัญชี การบริหารงบประมาณ รวมถึงการเชิญชวน Big Brother หรือโรงงาน เพื่อเป็นพี่เลี้ยงเข้ามาสนับสนุนและกระตุ้นการท่องเที่ยวทำให้เกิดเศรษฐกิจชุมชนหมุนเวียน ตลอดจนการบูรณาการเชื่อมโยงสินค้าจากแหล่งต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย MIND ในมิติที่ 2 การดูแลสังคมโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
18 พ.ค. 2566
เชิญเข้าร่วมอบรมระยะสั้ง หลักสูตร การมัดย้อมผ้า ย้อมคราม / ย้อมครั่ง
ฝึกอบรมระยะสั้น อาชีพดีพร้อมมา แล้วจ้า หลักสูตร การมัดย้อมผ้า ย้อมคราม / ย้อมครั่ง ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 - 14.00 น. ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เลขที่ 222 ม.24 ต.ขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี รับจำนวนจำกัด ท่านเท่านั้น สอบถามเพิ่มเติม คุณประสพ รักษา 081-2828333
18 พ.ค. 2566
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่สนับสนุนทักษะเครื่องมือเพื่อช่วยเหลือชุมชนและสังคม
จ.สุราษฎร์ธานี 16 พฤษภาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "นักส่งเสริมอาชีพดีพร้อม" และมอบเครื่องจักรเพื่อเป็นการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ ร่วมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 10 อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี การลงพื้นที่ดังกล่าว เป็นการติดตามกิจกรรม "นักส่งเสริมอาชีพดีพร้อม" เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาสายอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน และได้มอบเครื่องกะเทาะเปลือกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ให้กับวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนเกาะพยาม จังหวัดระนอง และ เครื่องปั่นผสมวัตถุดิบสมุนไพร ใช้สำหรับปั่นผสมวัตถุดิบสมุนไพรแบบอัตโนมัติ เพื่อใช้ในการผสมวัตถุดิบสำหรับผลิตสบู่ ยาหม่อง ของวิสาหกิจชุมชนพัฒนาอาชีพเกษตรกรและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีไม้พฤษณาเป็นส่วนผสม จังหวัดตรัง เพื่อเป็นการสนับสนุนให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสามารถยกระดับการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ของตนเองได้ดียิ่งขึ้นต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
18 พ.ค. 2566
"อธิบดีใบน้อย" นำทัพดีพร้อมลงพื้นที่ประชุมผู้บริหาร (สัญจร) ครั้งที่ 80-5/2566
จ.สุราษฎร์ธานี 16 พฤษภาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (สัญจร) ครั้งที่ 80-5/2566 ร่วมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ณ ศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 10 อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการชี้แจงการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของดีพร้อม ได้แก่ 1. การเตรียมจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์ ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM MICE CENTER) จังหวัดลำปาง 2. การกำหนดสถานที่ในการประชุมผู้บริหารดีพร้อมสัญจรในครั้งต่อ ๆ ไป 3. กิจกรรมรวมพลังจิตอาสา DIPROM Transformation Day ภายใต้โครงการปรับภูมิทัศน์ DIPROM Landmark พระราม 4 ในวันที่ 31 พ.ค.66 และ 4. การจัดกิจกรรม "นักส่งเสริมอาชีพดีพร้อม" นอกจากนี้ อธิบดีใบน้อย ได้ติดตามเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณและผลการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (เงินกันเหลื่อมปี) และปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และแนวทางการบริหารและใช้งานครุภัณฑ์และทรัพย์สินของราชการ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
18 พ.ค. 2566
เชิญเข้าร่วมกิจกรรม CEO Business Meeting Event for Eco Tech
ขอเชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรม CEO Business Meeting Event for Eco Tech กิจกรรม : จับคู่ธุรกิจที่เเตกต่างด้วยการเชิญ CEO หรือ ผู้มีอำนาจเทียบเท่าจากบริษัทไทยเเละญี่ปุ่นเข้าร่วม ทำให้สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว มีความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพ อุตสาหกรรมเป้าหมาย พลังงานใหม่ ระบบและเครื่องจักรประหยัดพลังงาน วัสดุสมัยใหม่ การจัดการน้ำและน้ำเสีย การพัฒนาเมือง คุณสมบัติผู้เข้าร่วม Trading Company ต้องการทำ Joint Venture มีเทคโนโลยีที่น่าสนใจและล้ำสมัย ต้องการหาพาร์ทเนอร์ธุรกิจหรือสนใจผลิตภัณฑ์ญี่ปุ่น ต้องการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยีญี่ปุ่น สิทธิประโยชน์ในการเข้าร่วม ได้รับการเเนะนำบริษัทญี่ปุ่นที่ตรงกับความต้องการ ได้รับโอกาสในการจับคู่ธุรกิจกับบริษัทญี่ปุ่น บริการล่ามภาษาไทย-ญี่ปุ่น ฟรี! วันที่ 11-15 กันยายน 2566 เข้าร่วมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ส่งมาที่ : intercoop.dip@gmail.com สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ 0 2430 6867 ต่อ 1414
16 พ.ค. 2566