โทรศัพท์ 1358
การค้นหาขั้นสูง

หมวดหมู่
เข้าร่วมฟรี! กิจกรรม Business Matching กับบริษัทชั้นนำจากจังหวัด Kanagawa ที่บินตรงมาจากญี่ปุ่น
เข้าร่วมฟรี! กิจกรรม Business Matching กับบริษัทชั้นนำจากจังหวัด Kanagawa ที่บินตรงมาจากญี่ปุ่น
กิจกรรม Business Matching กับบริษัทชั้นนำจากจังหวัด Kanagawa ที่บินตรงมาจากญี่ปุ่น ดูโปรไฟล์บริษัทญี่ปุ่นได้ที่: https://shorturl.at/acp46 วันที่ 1 กันยายน 2566 เวลา 13.30 - 17.00 น. ณ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มเป้าหมาย อุตสาหกรรมเครื่องจักร ชิ้นส่วนยานยนต์/อากาศยาน ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการพิมพ์ วัสดุรีไซเคิล สมัครได้ที่ ภายใน 18 สิงหาคม 2566 รับจำนวนจำกัด! เข้าร่วมฟรี! สอบถามเพิ่มเติมที่ 0 2430 6867 ต่อ 1414 / intercoop@diprom.go.th
21 ส.ค 2566
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่เยี่ยมชมชุมชนดีพร้อมเครื่องแกงใต้ เกาะยอ
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่เยี่ยมชมชุมชนดีพร้อมเครื่องแกงใต้ เกาะยอ
จ.สงขลา 20 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชม กลุ่มเครื่องแกงกุลญาดา พร้อมด้วย นางสาววรรณี พุฒแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 (DIPROM CENTER 11) ดร.พลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางกุลญาดา เจริญศรุตา กรรมการกลุ่มเครื่องแกงกุลญาดา ให้การต้อนรับ ณ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา กลุ่มเครื่องแกงกุลญาดาผลิตและจำหน่ายพริกแกงปักษ์ใต้ น้ำพริก กะปิหวาน และน้ำพริกเผา มีรสชาติที่มีความเป็นอัตลักษณ์ของชาวชุมชนเกาะยอ ซึ่งได้รับเครื่องหมาย อย. และมาตรฐานฮาลาล จนได้รับการยอมรับจาก บริษัท เชฟรอน คอร์ปอเรชั่น ให้เป็นผู้ผลิตและจัดส่งวัตถุดิบในการทำอาหาร อาทิ เนื้อ หมู ปลา กุ้ง ผักสด ผลไม้ และขนม รวมถึงพริกแกง 7 ชนิด จำนวน 300 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ไปที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน จำนวน 15 แท่น ของบริษัทเชฟรอนฯ มาเป็นเวลายาวนานกว่า 26 ปี ขณะเดียวกัน กลุ่มเครื่องแกงกุลญาดายังรับเป็นศูนย์ฝึกเชฟมาตรฐานของเชฟรอน ก่อนส่งไปยังแท่นขุดเจาะอีกด้วย ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้เข้าไปช่วยส่งเสริมและพัฒนาด้านของผลิตภัณฑ์เครื่องแกงพร้อมรับประทาน การรวมกลุ่มและเชื่อมโยงผู้ประกอบการเพื่อเสริมความเข้มแข็งของคลัสเตอร์ในพื้นที่ รวมถึงการให้ความรู้เรื่องการตลาดออนไลน์ และการทำบัญชี/ต้นทุนในการผลิต นอกจากนี้ ยังได้เชิญชวนชุมชนดังกล่าวเข้าร่วมโครงการ "เมนูเด็ดชุมชนดีพร้อม" โดยการส่งเสริมและพัฒนาในด้านต่าง ๆ อาทิ ดีพร้อมฮีโร่ เป็นจุดรวมวัตถุดิบในประเทศไทยผลิตเครื่องแกงเชื่อมโยงเครือข่ายวัตถุดิบ ได้แก่ พริก หอม และกระเทียม โดยส่งเสริมให้ชุมชนโดยรอบปลูกวัตถุดิบดังกล่าว พร้อมกำหนดราคาให้เป็นมาตรฐาน เน้นย้ำการถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น เพื่อคงคุณภาพและอัตลักษณ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นออกสู่ตลาดต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ส.ค 2566
"ดีพร้อม" ลงพื้นที่เยี่ยมชม กลุ่มทอผ้าร่มไทร ต่อยอดสร้างอาชีพดีพร้อม
"ดีพร้อม" ลงพื้นที่เยี่ยมชม กลุ่มทอผ้าร่มไทร ต่อยอดสร้างอาชีพดีพร้อม
จ.สงขลา 20 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชม กลุ่มทอผ้าร่มไทร พร้อมด้วย นางสาววรรณี พุฒแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 (DIPROM CENTER 11) ดร.พลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางยมนา สินธุรัตน์ ประธานกลุ่มทอผ้าร่มไทร ให้การต้อนรับ ณ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา ผ้าทอเกาะยอ หรือ ผ้าเกาะยอ เป็นผ้าทอพื้นเมืองของตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยกลุ่มทอผ้าร่มไทร เป็นกลุ่มผู้บุกเบิกผ้าทอเกาะยอ และเป็นผู้ริเริ่มผ้าทอลายเกล็ดปลาขี้ตัง (เป็นปลาเฉพาะที่ทะเลสาบ จ.สงขลา) ตามที่ได้รับการส่งเสริมการออกแบบจากดีพร้อม และด้วยเอกลักษณ์ของผ้าเกาะยอที่ทอเป็นลายเล็ก ๆ จึงเป็นเหตุให้ผู้ทอต้องมีสมาธิสูงมากในการทำดอกผ้าแต่ละดอก โดยมีลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายดอกพยอม ลายดอกรสสุคนธ์ ลายพริกไทย และลายลูกหวาย เป็นต้น โดยปัจจุบันกลุ่มผ้าทอร่มไทรยังมีการถ่ายทอดความรู้การทอผ้าให้แก่ลูกหลานชาวเกาะยอ ถ่ายทอดองค์ความรู้การทอผ้าให้กับสามเณรกว่าร้อยชีวิตที่ศูนย์การเรียนรู้ ผ้าทอสีธรรมชาติ วัดโคกเปรี้ยว ให้ได้เรียนรู้วิชาชีพการทอผ้าซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเรียนรู้ของสามเณร "ตามวิถีของพระที่ต้องเย็บทำจีวรเอง" ตามที่เจ้าอาวาสบอกกล่าวไว้ เพื่อเป็นโอกาสในการสร้างอาชีพและสามารถหารายได้หลังลาสิกขาต่อไป ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้สนับสนุนจักรเย็บผ้าให้แก่ศูนย์การเรียนรู้ฯ อีกทั้ง ยังได้ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีอัตลักษณ์สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนเกาะยอในอนาคต ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ส.ค 2566
ปลัดฯ ณัฐพล ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงาน สอจ.อยุธยา และอ่างทอง ย้ำทุกจุดจี้โรงงานกรอกข้อมูลการประกอบการอุตสาหกรรม ภายในสิงหาคมนี้!
ปลัดฯ ณัฐพล ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงาน สอจ.อยุธยา และอ่างทอง ย้ำทุกจุดจี้โรงงานกรอกข้อมูลการประกอบการอุตสาหกรรม ภายในสิงหาคมนี้!
จ.พระนครศรีอยุธยา 18 สิงหาคม 2566 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแนวทางการบูรณาการงานของหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมด้วย โดยมีนายธีระ แก้วพิมล อุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายบวรวิทย์ อัครจันทรโชติ อุตสาหกรรมจังหวัดอ่างทอง และนางสาววันรานี เลี่ยวไพโรจน์ ผู้จัดการเขต 7 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เป็นผู้นำเสนอข้อมูล ณ ห้องประชุมอโยธยา ศาลากลางจังหวัดพระศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีโรงงานทั้งสิ้น 1,868 โรงงาน ปัจจุบันมีโรงงานที่กรอกข้อมูลการประกอบการอุตสาหกรรมกว่า 50% ซึ่งต้องผลักดันให้ได้ครบ 100% ภายในเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้กรอกข้อมูลและขาดการติดต่อกับกระทรวงฯ ก็จะทำการลงพื้นที่ตรวจโรงงานแบบสุดซอยเพื่อพิจารณาทบทวนการยกเลิกใบอนุญาตโรงงานออกจากระบบฐานข้อมูลโรงงานต่อไป ส่วนในด้านการร้องเรียนในพื้นที่ยังพบปัญหาโรงงานลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม ซึ่งได้ดำเนินการตามกฎหมายไปแล้ว ส่วนการร้องเรียนปัญหา PM 2.5 ที่มีสาเหตุทั้งจากโรงงานและการกำจัดวัชพืชด้วยการเผาของชุมชนทาง สอจ.พระนครศรีอยุธยา จะติดตามแก้ไขอย่างใกล้ชิดต่อไป ด้านจังหวัดอ่างทอง มีโรงงานอุตสาหกรรม 324 โรงงาน ส่วนใหญ่พื้นที่กว่า 60% เป็นพื้นที่เกษตรกรรมปลูกนาข้าว รายได้ส่วนใหญ่จึงมาจากเกษตรกรรมและการท่องเที่ยว โดยวิสาหกิจชุมชนมีรายได้จากการจำหน่ายของที่ระลึก อาทิ ตุ๊กตาชาววัง กลอง เครื่องจักสาน ซึ่งอาจไม่เป็นที่นิยมมากนัก สอจ.อ่างทอง จึงมีแนวคิดตามนโยบาย MIND คือให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในลักษณะ Big Brother โดยให้โรงงานสนับสนุนผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ ในท้องถิ่น เพื่อช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกให้น่าสนใจและเหมาะกับความนิยมของผู้ซื้อมากขึ้น ส่วนการแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนโรงงานได้ให้โรงงานนำนโบายทั้ง 4 มิติ ไปปรับใช้ทั้งในด้านการดูแลสังคมและการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับชุมชนโดยรอบเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพในการจำกัดของเสีย การส่งเสริมเครือข่ายและเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม เพื่อให้โรงงานและชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบนโยบายให้ทุกจังหวัดเน้นย้ำกับผู้ประกอบการให้รายงานข้อมูลประกอบกิจการผ่านระบบข้อมูลกลาง (iSingle Form) โดยกรอกข้อมูลด้วยตนเองให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้ข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำไปวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ต่อไปได้ นอกจากนี้ ยังทำให้การรับบริการจากกระทรวงอุตสาหกรรมสะดวกขึ้น เช่น การขอใบอนุญาตต่าง ๆ การชำระค่าธรรมเนียม อย่างไรก็ตามจะต้องให้ผู้ประกอบการรายงานข้อมูลการประกอบการอุตสาหกรรม ให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งหากเลยระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายและมีโทษปรับ โดยในช่วงก่อนจะครบกำหนด ขอให้ สอจ. เร่งลงพื้นที่ตรวจโรงงานแบบสุดซอยในทุกมิติของการรายงานตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยหากพบโรงงานที่ผิดกฎหมายขอให้ดำเนินการตามระเบียบอย่างจริงจัง รวมทั้งหากพบโรงงานที่มีการหยุดการดำเนินการมาเป็นเวลานาน ขอให้พิจารณาทบทวนการยกเลิกใบอนุญาตประกอบโรงงาน เพื่อให้ระบบฐานข้อมูลโรงงานมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันต่อไป ด้าน รองปลัดฯ ณัฏฐิญา กล่าวเสริมว่า ขอให้จังหวัดพยายามชี้เป้าให้ได้ว่าอุตสาหกรรมอะไรในพื้นที่ที่มีศักยภาพและเหมาะสมต่อการพัฒนา ส่วนในด้านการนำข้อมูลระบบ iSingle Form ไปวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับพร้อมวิเคราะห์ไปถึงต้นทางเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่การเป็น SPRING UP ที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องมีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และมุ่งพัฒนาระบบมาตรฐาน เพื่อเพิ่มการส่งออกไปสู่ตลาดสากล นอกจากนี้ควรนำนโยบายดิน น้ำ ลม ไฟ ไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้โรงงานอุตสาหกรรมใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยลดข้อร้องเรียนได้ดียิ่งขึ้น ส่วนในด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการรายเล็ก ควรดึงอัตลักษณ์ในพื้นที่มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เด่นประจำจังหวัดพร้อมผลักดันสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ต่อไป ด้าน หัวหน้าผู้ตรวจฯ ย้ำให้ สอจ. มีการจัดทำแผนและการกำกับการตรวจโรงงานที่ดี เพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน ส่วนการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนซ้ำซาก ขอให้บูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ในการนี้ ผู้จัดการเขต 7 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME D Bank ได้นำเสนอผลการดำเนินงาน ของสาขาพระนครศรีอยุธยา สระบุรี และอ่างทอง ประกอบด้วย การให้สินเชื่อของ ธพว.เขต 7 การดำเนินการปล่อยสินเชื่อภายใต้กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ผลการเบิกจ่าย ยอดหนี้คงค้างของธนาคาร และจำนวน NPL ในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจประเภทรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจท่องเที่ยว เป็นต้น ต่อมาในเวลา 17.00 น. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมคณะ ได้ตรวจเยี่ยมธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สาขาพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานและรับฟังสรุปผลการดำเนินการตลอดช่วงครึ่งปีแรก โดยมีเจ้าหน้าที่ ธพว.พระนครศรีอยุธยา ร่วมให้การต้อนรับ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ส.ค 2566
แม่ทัพ "ดีพร้อม" เปิดประตูรับฟังความเห็นแนวทางการส่งเสริมเอสเอ็มอีเมืองย่าโม
แม่ทัพ "ดีพร้อม" เปิดประตูรับฟังความเห็นแนวทางการส่งเสริมเอสเอ็มอีเมืองย่าโม
จ.นครราชสีมา 18 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการดำเนินงานของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) กลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องอิมพีเรียล 2 - 4 ชั้น 1 โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เพื่อรับฟังความคิดเห็น ปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนของดีพร้อม ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการเงิน อาทิ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย สภาเกษตรกร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยในจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดอื่น ๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอื่น ๆ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดีพร้อม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน เพื่อนำประเด็นปัญหาความต้องการมาร่วมกันกำหนดทิศทางการส่งเสริมพัฒนาที่จะนำไปสู่การจัดทำโครงการที่ตอบโจทย์ตามความต้องการ ตลอดจนเป็นแนวทางในการปรับบทบาทของดีพร้อมให้สอดรับกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยดีพร้อมได้ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้สามารถเพิ่มศักยภาพและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งและเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ส.ค 2566
"อสอ.ใบน้อย" นำทีมผู้บริหารดีพร้อม มอบวุฒิบัตรและแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการ คพอ. พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
"อสอ.ใบน้อย" นำทีมผู้บริหารดีพร้อม มอบวุฒิบัตรและแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการ คพอ. พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จ.นครราชสีมา 18 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานมอบวุฒิบัตรและกล่าวแสดงความยินดีในพิธีปิดกิจกรรมการฝึกอบรมการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.ดีพร้อม) พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้แทนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และสมาชิก คพอ. ดีพร้อม ผู้สำเร็จการฝึกอบรม โดยมี นายณัฐพล แสงฟ้า นายกสหพันธ์สมาคมผู้ประกอบการไทย กล่าวแสดงความยินดี และนางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 (DIPROM CENTER 6) กล่าวรายงาน ณ ห้องลำตะคอง โรงแรมแคนทารีโคราช ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา กิจกรรมดังกล่าว เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพด้านการบริหารจัดการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 128 ราย แบ่งเป็น 4 รุ่น ได้แก่ รุ่น 392 จังหวัดอุดรธานี รุ่นที่ 393 จังหวัดขอนแก่น รุ่นที่ 394 จังหวัดนครราชสีมา และรุ่นที่ 395 จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีผู้ผ่านการฝึกอบรมกว่า 90 ชั่วโมง ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้ตั้งเป้าหมายเพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการ SMEs มีความพร้อมในการปฏิรูปธุรกิจด้วยการสร้างสรรค์หลักสูตรฝึกอบรมระยะยาวที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของ SMEs ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ด้านการจัดตั้งธุรกิจ การวางแผนธุรกิจ การบริหารจัดการ การผลิต การบัญชี การเงิน การตลาด การสร้างแบรนด์สินค้า การจัดการทรัพยากรบุคคล ระบบมาตรฐาน ระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรม และอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของธุรกิจและตัวผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 อย่างสมบูรณ์ ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงธุรกิจ กับผู้ประกอบการทั่วทุกภูมิภาคของประเทศและนับได้ว่าเป็นกำลังสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ส.ค 2566
"ไอมูกิอุดร (iMUKi Udon)" ได้เข้าร่วม หลักสูตร "เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC)
"ไอมูกิอุดร (iMUKi Udon)" ได้เข้าร่วม หลักสูตร "เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC)
ผู้ประกอบการที่ผ่าน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) "ไอมูกิอุดร (iMUKi Udon)" ได้เข้าร่วม โครงการดังกล่าว กับทางศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 (DIPROM Center4) จากการฝึกอบรม สิ่งที่ได้นำไปใช้ในกิจการ ได้แก่ เทคนิคการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ แนวคิดการสร้างธุรกิจเชิงนวัติกรรมให้เติบโต (Disruptive Trends and Innovation Mindset) รูปแบบใหม่ในการบริหารธุรกิจด้วย Lean Startup and Design Thainking การเขียนแบบจำลองธุรกิจ (Business Model Canvas :BMC) รอบรู้ ต้นทุน /บัญชี การบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ ไอมูกิอุดร (iMUKi Udon)จำหน่ายเบาะหนังรถยนต์คุณภาพดี อุปกรณ์ตกแต่งรถ และอื่นๆ
18 ส.ค 2566
"Onepoint Interior" บริษัท วันพอยท์ อินทีเรีย จำกัด
"Onepoint Interior" บริษัท วันพอยท์ อินทีเรีย จำกัด
ผู้ประกอบการที่ผ่าน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) "Onepoint Interior" บริษัท วันพอยท์ อินทีเรีย จำกัด ได้เข้าร่วม โครงการดังกล่าว กับทางศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 (DIPROM Center4) จากการฝึกอบรม สิ่งที่ได้นำไปใช้ในกิจการ ได้แก่ เทคนิคการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ แนวคิดการสร้างธุรกิจเชิงนวัติกรรมให้เติบโต (Disruptive Trends and Innovation Mindset) รูปแบบใหม่ในการบริหารธุรกิจด้วย Lean Startup and Design Thainking การเขียนแบบจำลองธุรกิจ (Business Model Canvas :BMC) ต้นทุน / บัญชี การบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ Onepoint Interior รับเหมาก่อสร้าง ตกแต่งภายในที่มีชื่อเสียงในอุดรธานี สอบถาม และปรึกษาฟรี สามารถคลิกดูผลงานได้ที่ https://www.onepointint.com/ รับประกันงาน 1 ปี ไม่ทิ้งงาน ดูแลตลอดชีพ งบน้อยก็ทำได้ ไม่มีบาน ควมคุมงบประมาณด้วยตัวคุณเอง ทีมงานมืออาชีพ เชื่อถือได้ โทร : 061-8181000 , 095-2043665
18 ส.ค 2566
เทวา อินเตอร์กรุ๊ป
เทวา อินเตอร์กรุ๊ป
ออกแบบลายผ้า ด้วยระบบดิจิทัล ดันยอดขายได้หลักล้าน จากพ่อค้าขายก๋วยเตี๋ยว ขายลูกชิ้นทอด สู่การสร้างธุรกิจ “ผ้าทอ” ระดับประเทศ เส้นทางนี้ คุณกิตติพันธุ์ สุทธิสา เล่าว่าเริ่มต้น จากความบังเอิญ แต่เดินหน้าด้วยความตั้งใจ โดยเฉพาะการเรียนรู้ อย่างจริงจังและความมุ่งมั่นที่จะต้องผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน ทำให้ วันนี้ เทวา อินเตอร์กรุ๊ป คือหนึ่งในผู้ผลิตและจำหน่ายปลีกส่งผ้า หัตถกรรมทุกชนิดรายใหญ่ระดับประเทศ สร้างงานสร้างอาชีพให้กับ ชาวหนองบัวลำภูที่เป็นช่างทอกว่า 300 คนได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ จุดที่ทำให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด คือการสร้างอัตลักษณ์ ให้สินค้าจนมีความแตกต่างจากที่อื่น นั่นก็คือ “ผ้าหมักน้ำข้าว นวัตกรรมผ้าสองหน้า” ใช้ภูมิปัญญาการหมักผ้าด้วยน้ำซาวข้าวของคนหนองบัวลำภูมาผสานกับเทคนิคการทอ ด้านหนึ่งเป็นผ้า ทอลายมัดหมี่ ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นผ้าทอยกดอก ทำให้สามารถใส่ ได้ทั้งสองด้าน และยังมีเรื่องของการพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐาน อย่างต่อเนื่อง คุณภาพระดับส่งออกต่างประเทศ เช่น สินค้าผ้าคลุม ไหล่ส่งออกไปยังประเทศเนปาลซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี แม้จะสามารถนำเสนอสินค้าผ่านช่องทางการตลาดทั้งการออกบูธการ Live สดบนโซเชียลมีเดียจนได้รับการตอบรับอย่างต่อเนื่องแต่ปัญหาหลักที่ทำให้คุณกิตติพันธุ์ต้องการผู้เชี่ยวชาญมาให้ความช่วยเหลือนั้นก็คือ “การออกแบบลายผ้า” เนื่องจากใช้ลายเดิม ๆ มาเป็นระยะเวลายาวนาน และคุณกิตติพันธุ์เองก็ต้องการพัฒนารูปแบบ กระบวนการผลิต โดยกำหนดลายให้แก่ช่างทอก่อนที่ จะผลิตซึ่งจะช่วยให้ได้ชิ้นงานที่ตรงตามความต้องการ ของตลาด และมีความสวยงามแปลกใหม่เพิ่มขึ้นได้ คุณกิตติพันธุ์จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมการประยุกต์ใช้ ระบบดิจิทัลในการบริหารจัดการธุรกิจ ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัลกับดีพร้อม จนสามารถนำโปรแกรมออกแบบ ลายผ้าสำเร็จรูป โปรแกรมออกแบบลายผ้า JK-Weave ไปใช้ออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากเดิม ต้องใช้เวลาในการออกแบบ 10 วันเหลือเพียง 1 วัน ช่วย ลดต้นทุนเฉพาะค่าออกแบบได้ถึง 37,800 บาทต่อปี นอกจากนี้ ยังสามารถออกแบบลายตามความต้องการ ของลูกค้า องค์กร หน่วยงาน ฯ ทำให้เปิดสู่ตลาดใหม่ ๆ เกิดยอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 200,000 บาทต่อปี ทั้งหมด นี้คิดเป็นมูลค่าเศรษฐกิจรวมถึง 7,200,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว นอกจากความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างงดงามตรงตาม โจทย์ธุรกิจแล้ว อีกสิ่งที่คุณกิตติพันธ์มีความประทับใจ คือการให้ความช่วยเหลือดูแลและพร้อมสนับสนุนจาก ดีพร้อมในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการตลาด ประชาสัมพันธ์ เมื่อธุรกิจมีปัญหาดีพร้อมยังเป็นเพื่อนคู่คิด ทำให้ ผู้ประกอบการรู้สึกไม่โดดเดี่ยว สิ่งนี้เองเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกว่าดีพร้อมพร้อมอยู่เคียงข้างในทุกเส้นทางอย่างแท้จริง บริษัท เทวา อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด 264 หมู่ 2 ถ.อุดร-เลย ต.นาคำไฮ อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู 33000 08 6972 9787 kittiphan0869729787@gmail.com ที่มา : รายงานประจำปี 2565 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
18 ส.ค 2566
"BAAN LOM DAO organic farm (บ้านล้อมดาวออแกนิคฟาร์ม)"
"BAAN LOM DAO organic farm (บ้านล้อมดาวออแกนิคฟาร์ม)"
ผู้ประกอบการที่ผ่าน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) "BAAN LOM DAO organic farm (บ้านล้อมดาวออแกนิคฟาร์ม)" ได้เข้าร่วม โครงการดังกล่าว กับทางศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 (DIPROM Center4) จากการฝึกอบรม สิ่งที่ได้นำไปใช้ในกิจการ ได้แก่ เทคนิคการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ แนวคิดการสร้างธุรกิจเชิงนวัติกรรมให้เติบโต (Disruptive Trends and Innovation Mindset) รูปแบบใหม่ในการบริหารธุรกิจด้วย Lean Startup and Design Thainking การเขียนแบบจำลองธุรกิจ (Business Model Canvas :BMC) รอบรู้ ต้นทุน /บัญชี การบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ บ้านล้อมดาวออแกนิคฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ อ.บ้านดุง อุดรธานี ความเงียบสงบ ได้ใช้ชีวิตเรียบง่าย และเข้าใจธรรมชาติอยู่อย่างธรรมชาติ และใช้ชีวิตอย่างเป็นธรรมชาติ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 089-8412819 (ครูปุ๊) 088-6217373 (ดาว)
18 ส.ค 2566