โทรศัพท์ 1358
การค้นหาขั้นสูง

หมวดหมู่
"อธิบดีภาสกร” เดินหน้าบูรณาการดำเนินโครงการในพื้นที่ระหว่าง ดีพร้อม และ สอจ. ชุมพร
"อธิบดีภาสกร” เดินหน้าบูรณาการดำเนินโครงการในพื้นที่ระหว่าง ดีพร้อม และ สอจ. ชุมพร
จ.ชุมพร 20 มกราคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายคณิต กายสอน อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และเจ้าหน้าที่ สอจ.ชุมพร เข้าร่วมประชุม ณ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร การประชุมครั้งนี้ เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างดีพร้อม และ สอจ.ชุมพร ในการผลักดันผู้ประกอบการให้เข้าถึงโครงการได้เพิ่มมากขึ้น โดย สอจ.ชุมพร เร่งให้เกิดการส่งต่อความต้องการของผู้ประกอบการให้ได้รับการส่งเสริม พัฒนา และยกระดับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ประจำปี 2567 ตามนโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ที่มีแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรม ร่วมกับแนวคิด “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม” โดยมีทิศทางการทำงานที่สอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในบริบทต่าง ๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมถึงมีศักยภาพในการแสวงหาโอกาสและผลประโยชน์จากความท้าทายต่าง ๆ ผ่านกลยุทธ์ 3 ด้าน ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบนโยบายและพร้อมประสานความร่วมมือในการส่งต่อความต้องการเพื่อเปิดโอกาสในการเข้าถึงบริการให้มากขึ้น โดยเฉพาะความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรม และการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อ เพื่อเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการร่วมกันในอนาคต ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ม.ค. 2567
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา เปิดอบรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา เปิดอบรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก
จ.ชุมพร 19 มกราคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร "การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ"ภายใต้โครงการ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน โดยมี นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายคณิต กายสอน อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร นายวิชญพรรณ พลอยทับทิม อุตสาหกรรมจังหวัดระนอง นางดวงธิดา จันทร์พุ่ม อุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช และคณะผู้บริหาร เข้าร่วม ณ อาคารอเนกประสงค์วัดหินแก้ว อำเภอท่าแซะ และอาคารตลาดกลาง เทศบาลวังใหม่ ตำบลวังไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา กล่าวว่า ภายใต้การนำของรัฐบาล ท่านเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญในการช่วยเหลือและฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วและเป็นระบบด้วยนโยบายต่าง ๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมุ่งแก้ไขปัญหาในระดับเศรษฐกิจฐานรากลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันขับเคลื่อนภารกิจให้บรรลุเป้าหมาย กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนกลุ่มเป้าหมายในทุกพื้นที่ของประเทศ ให้มีความเติบโตอย่างมีคุณภาพ เพื่อการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งและพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการประกอบธุรกิจ โดยการส่งเสริม พัฒนาและสนับสนุนให้มีองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการในการดำเนินธุรกิจ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านคุณภาพและมาตรฐาน การเชื่อมโยงธุรกิจเพื่อนำไปสู่การขยายโอกาสทางการตลาด โดยนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรม และส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยการผลักดัน Soft Power ของประเทศไทย ด้วยทุนทางวัฒนธรรมในระดับประเทศสู่ระดับภาคและท้องถิ่นตลอดจนสนับสนุนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่าง อ่าวไทยและอันดามัน หรือ โครงการแลนด์บริดจ์ ซึ่งเป็นโครงการสำคัญ ของ รัฐบาลการพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวนโยบายข้างต้น จะถูกขับเคลื่อนควบคู่ ไปกับการกระจายความเจริญสู่ระดับพื้นที่ให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรมและเติบโต คู่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนพร้อม ๆ ไปกับการเติบโตสู่ความยั่งยืน โดยกำหนดนโยบายในการส่งเสริม สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการไทยทุกกลุ่มให้เติบโตอย่างมีคุณภาพรวมถึงให้ความสำคัญกับการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ด้วยการสนับสนุนให้ประชาชนมีอาชีพมั่นคงจากต้นทุนในชุมชน ทั้งต้นทุนทางวัฒนธรรมและวัตถุดิบในท้องถิ่น พร้อมการพัฒนาทักษะ อาชีพเสริมเพื่อการลดรายจ่ายในภาคครัวเรือน การผนวกวิชาการอุตสาหกรรมเข้ากับวิถีชุมชนเพื่อสร้างรายได้ยั่งยืนให้กับประชาชน และเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยก้าวข้ามประเทศกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ความมั่งคั่งในอนาคต ทั้งนี้ ในปัจจุบันตลาดสมุนไพรไทย ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น และมีการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ในเชิงอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2565 การบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศไทย มีมูลค่าสูงถึง 52,104.3 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรม ได้ส่งเสริมให้มีการนำพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานสำหรับใช้ในการรักษา บำบัดร่างกายและดูแลสุขภาพในเชิงการแพทย์ อาทิ เครื่องสำอาง และเวชภัณฑ์จากสมุนไพรเป็นต้น ซึ่งจะดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาและสร้างผู้ประกอบการให้เกิดการ พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยการยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้มีมาตรฐานเพื่อรองรับตลาดการทองเที่ยวเชิงสุขภาพ ต่อไป สำหรับการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ" ในครั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งมีศักยภาพในการแข่งขัน พัฒนาองค์ความรู้และเพิ่มทักษะให้ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน ตลาดจนพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชุมพรและจังหวัดใกล้เคียง ได้มีโอกาสต่อยอดสู่การเป็น ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและสร้างรายได้ให้กับชุมชนกระตุ้นระบบเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ม.ค. 2567
ขอเชิญชวนผู้บริหารในภาคอุตสาหกรรม มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านกลยุทธ์การบริหารซัพพลายเชนอย่างยั่งยืนและเหนือชั้น
ขอเชิญชวนผู้บริหารในภาคอุตสาหกรรม มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านกลยุทธ์การบริหารซัพพลายเชนอย่างยั่งยืนและเหนือชั้น
ขอเชิญเจ้าของกิจการหรือผู้บริหาร สถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม ในพื้นที่ภาคเหนือ เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การจัดการโลจิสติกส์เชิงกลยุทธ์ สำหรับผู้บรหาร (Logistics Management for CEO) ดำเนินการโดย : กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กิจกรรมพิเศษ : เชื่อมโยงเครือข่ายซัพพลายเชน & Business Matching & Executive Dinner talk & ศึกษาดูงาน & รับวุฒิบัตร กิจกรรมพิเศษ กิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายซัพพลายเชน & Business Matching Executive Dinner Talk เสวนาในหัวข้อ "บทบาทและทิศทางการค้าและอุตสาหกรรมในฐานะ สมาชิกระบียบเศรษฐกิจภาคเหนือ Northern Economic Corridor (NEC)" รับวุฒิบัตร เมื่อเข้าร่วมอบรมครบหลักสูตร หลักสูตร 3 วัน วันที่ 15-16 ก.พ. 67 เวลา 13.00–19.30 น. วันที่ 17 ก.พ. 67 เวลา 09.00–12.00 น. ณ โรงแรมเวียงลคอร จังหวัดลำปาง เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 มกราคม 2567 จำนวน ท่านเท่านั้น ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม คุณพินิฐ เหล็กกล้า 09 4132 4641
19 ม.ค. 2567
ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมสืบสาน พัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ประณีตศิลป์เชิงพาณิชย์
ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมสืบสาน พัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ประณีตศิลป์เชิงพาณิชย์
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมกิจกรรม สืบสาน พัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรม ประณีตศิลป์เชิงพาณิชย์ (Premium Product) ภายใต้โครงการ : การยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้ประกอบการ OTOP ที่อยู่ในกลุ่ม Quadrant C ประเภท ผ้าและเครื่องแต่งกาย และ ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก สถานประกอบการอยู่ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ พะเยา และแม่ฮ่องสอน เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 23 มกราคม 2567 รับจำนวนจำกัด ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่ปรึกษา : 08 2515 9879 (วรเชษฐ์) เจ้าหน้าที่ : 0 5324 5361 - 2 ต่อ 430 (วราภรณ์)
19 ม.ค. 2567
เชิญผู้ประกอบวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเป้าหมาย
เชิญผู้ประกอบวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเป้าหมาย
ขอเชิญผู้ประกอบวิสาหกิจชุมชนสมัครเข้าร่วมกิจกรรม พัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเป้าหมาย ภายใต้โครงการ : การยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คุณสมบัติ วิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียน OTOP (ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการพัฒนา ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ มะม่วง สับปะรด ลำไย) ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน ประโยชน์ที่ท่านจะได้รับ องค์ความรู้เกี่ยวกับ เทรนด์ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ (Functional food) ,การพัฒนาผลิตอาหารและเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตร, การตลาด แนวโน้มความต้องของผู้บริโภค การให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ การวิเคราะห์คุณค่าอาหารทางโภชนาการเบื้องต้น การทดลองผลิตภัณฑ์ต้นแบบ การส่งเสริมทักษะทางด้านการตลาด และต่อยอดผลิตภัณฑ์ Digital Marketing รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึง 28 มกราคม 2567 หรือจนกว่าจะเต็ม ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 09 5690 7279
19 ม.ค. 2567
ขอเชิญผู้ประกอบธุรกิจ เข้าร่วมอบรม “NEC DIPROM FOOD OF CHANGE”
ขอเชิญผู้ประกอบธุรกิจ เข้าร่วมอบรม “NEC DIPROM FOOD OF CHANGE”
เชิญผู้ประกอบการร้านอาหาร หรือ ผู้ประกอบธุรกิจอาหา เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง NEC DIPROM FOOD OF CHANGE เพิ่มโอกาสทางรอด ต่อยอดธุรกิจอาหารสำหรับผู้ประกอบการใหม่ ดำเนินกิจกรรมโดย : กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดอบรมระหว่างวันที่ 19-21 กุมภาพันธ์ และ 27-29 กุมภาพันธ์ 2567 โดยวิทยากรที่ชำนาญ และเชี่ยวชาญ งานนี้พลาดไม่ได้จริงๆ สถานที่ จัดที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร (จะแจ้งรายละเอียดให้ทราบอีกครั้ง) ซึ่งภายในกิจกรรมท่านจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Mega Trends In Future Food การปรับตัว การสร้างระบบอาหารอย่างยั่งยืน พร้อมกับร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปกับเหล่ากูรู ผู้เชี่ยวชาญ ด้านอาหารชื่อดัง Food Marketing ท่านจะได้เรียนรู้ในเรื่องของทักษะการเป็นนักการตลาด การเป็นผู้ประกอบการ กลยุทธ์การทำตลาดเพื่อเพิ่มยอดขาย Business Model Canvas : BMC การออกแบบแบบจำลองทางธุรกิจ Zero Food Waste เทคนิคและเคล็ดลับ การลดต้นทุนเพื่อเพิ่มกำไร จากวัตถุดิบเหลือใช้ Clean Good Food Taste กฎหมาย มาตรฐานการสุขาภิบาล Food Shot & Content Creator For Beginner ถ่ายภาพอาหารให้ปังด้วยมือถือ Food Pitching Day เคล็ดลับนำเสนอธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง - 25 มกราคม 2567 รับจำนวนจำกัด 40 ท่าน เท่านั้น ฟรี ไม่มีค่าใช่จ่าย ขอสงวนสิทธิ์ สำหรับผู้ที่ไม่เคยผ่านเข้าร่วมโครงการ NEC ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-430-6873 ต่อ 1653
19 ม.ค. 2567
“อธิบดีภาสกร” ชูนโยบาย RESHAPE THE FUTURE ปรับ 3 ด้าน รับเทรนด์โลก ตอกย้ำผู้ประกอบการ “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม” คาดกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 10,000 ล้านบาท
“อธิบดีภาสกร” ชูนโยบาย RESHAPE THE FUTURE ปรับ 3 ด้าน รับเทรนด์โลก ตอกย้ำผู้ประกอบการ “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม” คาดกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 10,000 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 18 มกราคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แถลงนโยบายทิศทางการส่งเสริม พัฒนา และยกระดับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ประจำปี 2567 พร้อมชูนโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ร่วมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และผ่าน Facebook Live : https://fb.watch/pES_F5JsTw/?mibextid=Nif5oz อธิบดีดีพร้อม เปิดเผยว่า ในปี 2567 ดีพร้อมมีแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบาย “RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต” กับแนวคิด “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม” โดยมีทิศทางการทำงานที่สอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในบริบทต่าง ๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมถึงมีศักยภาพในการแสวงหาโอกาสและผลประโยชน์จากความท้าทายต่าง ๆ ผ่านกลยุทธ์ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1. ปรับตัวให้ก้าวทันอุตสาหกรรมยุคใหม่ (RESHAPE THE INDUSTRY) ผ่านการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม การพัฒนาสินค้าและบริการด้านเชิงสุขภาพ สนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์ในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและ การส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้เป็นเครื่องยนต์ใหม่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG 2. ปรับเปลี่ยนการพัฒนาเชิงพื้นที่ (RESHAPE THE AREA) ผ่านการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค โดยสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่อุปทานให้กับสินค้าและบริการที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมเป้าหมายของแต่ละพื้นที่ รวมถึงสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการและชุมชนมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชนตามแนวคิด “ชุมชนเปลี่ยน” 3. ปรับเพิ่มการเข้าถึงโอกาส (RESHAPE THE ACCESSIBILITY) ผ่านการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยพัฒนากลไกการให้สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อกลุ่ม SMEs ที่มีศักยภาพให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ภายใต้ความร่วมมือกับสถาบันการเงินต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังขยายเครือข่ายความร่วมมือและบูรณาการกับองค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ ในปี 2567 ดีพร้อมตั้งเป้าหมายการส่งเสริมและพัฒนายกระดับผู้ประกอบการกว่า 18,400 ราย ภายใต้งบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 ม.ค. 2567
“ดีพร้อม” กางแผนหารือโครงการซอฟต์พาวเวอร์ อาหาร แฟชั่น
“ดีพร้อม” กางแผนหารือโครงการซอฟต์พาวเวอร์ อาหาร แฟชั่น
กรุงเทพฯ 18 มกราคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการระดมความเห็นโครงการซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร และสาขาแฟชั่น พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุงพงศ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมครั้งนี้ เป็นการระดมความเห็นเพื่อจัดทำรายละเอียดโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร และสาขาแฟชั่น ประกอบด้วย สาขาแฟชั่น 4 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาและเชื่อมโยงเครือข่ายบุคลากรอุตสาหกรรมแฟชั่น โครงการส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นจากทุนทางวัฒนธรรมไทยสู่สากล โครงการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แฟชั่นและหัตถกรรมสิ่งทอระหว่างประเทศ และสาขาอาหาร 4 โครงการ ได้แก่ โครงการยกระดับศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชน โครงการส่งเสริมการใช้นวัตกรรม ยกระดับ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทยสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน โครงการยกระดับหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย โครงการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชนอาหารถิ่น อาหารไทย และอีก 3 โครงการจะดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภายนอก ได้แก่ โครงการจัดทำและพัฒนาแพลตฟอร์ม Cross Border E-Commerce (CBEC) โครงการ Thai Food / Thai Cuisine / Documentary / Series on Netflix และ โครงการ Best Thai Guide ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับข้อเสนอเพื่อจัดทำรายละเอียดโครงการ และจัดส่งข้อมูลต่อ ให้สำนักงบประมาณพิจารณากรอบวงเงินตามขั้นตอนต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 ม.ค. 2567
“อสอ.ภาสกร” ร่วมประชุมแนะนำระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
“อสอ.ภาสกร” ร่วมประชุมแนะนำระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กรุงเทพฯ 18 มกราคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมแนะนำระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กองทุน และ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พร้อมด้วย นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในวันนี้ เป็นการรายงานโครงสร้างและแผนการดำเนินงานระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ทั้งนี้การจัดตั้งกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมขึ้นใน สกสว. เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนระบบการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสหวิทยาการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ พัฒนานโยบายสาธารณะ และสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 ม.ค. 2567
"อธิบดีภาสกร" นั่งหัวโต๊ะประชุมทีมผู้บริหารดีพร้อมครั้งที่  86 - 3/ 2567
"อธิบดีภาสกร" นั่งหัวโต๊ะประชุมทีมผู้บริหารดีพร้อมครั้งที่ 86 - 3/ 2567
กรุงเทพฯ 17 มกราคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมผู้บริหาร กสอ. ครั้งที่ 86 - 3/2567 ร่วมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการร่วมกันพิจารณาในประเด็น 1) ผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม (DIPROM Pay for BCG)” เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในสินทรัพย์ถาวรที่สนับสนุนการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และรักษาสิ่งแวดล้อม สำหรับกลุ่มประเภทอุตสาหกรรมที่เป็นผู้ผลิตสินค้าภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG กลุ่มประเภทอุตสาหกรรมที่มีลักษณะเกี่ยวเนื่อง Supply Chain ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และกลุ่มประเภทอุตสาหกรรมภาคการผลิตที่มีความประสงค์ในการปรับปรุงเครื่องจักร และกระบวนการผลิต เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งมีวงเงินให้กู้ระยะยาวสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 7 ปี (84 งวด) โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ แบบขั้นบันได เริ่มต้นร้อยละ 3 เป็นระยะเวลา 3 ปี และปีที่ 4 ถึงปีที่ 7 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปี 2) แผนเงินทุนหมุนเวียน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
18 ม.ค. 2567