โทรศัพท์ 1358
การค้นหาขั้นสูง

หมวดหมู่
“พิมพ์ภัทรา” นำคณะผู้บริหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประกาศวิสัยทัศน์ “IGNITE THAILAND” ของนายกรัฐมนตรี มุ่งเป้าพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก
“พิมพ์ภัทรา” นำคณะผู้บริหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประกาศวิสัยทัศน์ “IGNITE THAILAND” ของนายกรัฐมนตรี มุ่งเป้าพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก
กรุงเทพฯ 22 กุมภาพันธ์ 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ นายบรรจง สุกรีฑา นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประกาศวิสัยทัศน์ Thailand Vision “IGNITE THAILAND : จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง” ยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก ของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่มุ่งเป้าพัฒนาประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับดลก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุมทั้งการท่องเที่ยว การรักษาพยาบาลและสุขภาพ อาหาร การบิน การผลิตยานยนต์แห่งอนาคต เทคโนโลยี และการเงิน ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล โดยวิสัยทัศน์แรก นายกฯ เศรษฐา ประกาศตั้งเป้าให้ไทยเป็นศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยว (Tourism Hub) ส่งเสริมรายได้ให้กับประชาชนจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เฟ้นหา Soft Power ชูจุดขายเป็นเสน่ห์ของประเทศไทย ให้โดดเด่นในสายตาประชาคมโลก พร้อมเปิดอิสรภาพสู่การเดินทางระดับภูมิภาค อำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว ปลดล็อกทุกข้อจำกัดของการท่องเที่ยว ผ่านการเปิดฟรีวีซ่าให้กับนักท่องเที่ยวในหลายประเทศ วิสัยทัศน์ที่ 2 ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ (Wellness & Medical Hub) รัฐบาลจะผลักดันอุตสาหกรรมสาธารณสุข ให้เป็นศูนย์การดูแลสุขภาพครบวงจรของโลก ด้วยเพราะระบบการรักษาพยาบาลของประเทศไทยมีชื่อเสียงระดับโลก ทั้งศาสตร์การดูแลสุขภาพแผนไทยที่มีชื่อเสียง บุคลากรที่มีคุณภาพและ Service Mind ทั้งยังสามารถดูแลได้ครอบคลุมตั้งแต่เกิดไปจนถึงวัยชรา และรักษาได้ทุกโรค วิสัยทัศน์ที่ 3 ศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub) รัฐบาลจะยกระดับการผลิตอุตสาหกรรมการเกษตร ดูแลความมั่นคงทางอาหารของโลก พร้อมเป็นครัวของโลกที่สามารถปรุงอาหารทุกประเภทส่งออกไปยังตลาดโลก วิสัยทัศน์ที่ 4 ศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั่วโลกให้เชื่อมถึงกัน เพื่อเตรียมพร้อมจะเป็น Homeland ของสายการบินทั้งไทยและสายการบินนานาชาติ เพียบพร้อมไปด้วยศูนย์ดูแลรักษา ซ่อมบำรุง ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค วิสัยทัศน์ที่ 5 ศูนย์กลางขนส่งของภูมิภาค (Logistic Hub) รัฐบาลจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มศักยภาพระบบคมนาคมทั้งในและต่างประเทศ โดยรัฐบาลมีแผนจะเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ กระจายความเจริญจากเมืองใหญ่สู่เมืองเล็ก ตั้งแต่การปรับปรุงสนามบินทั้งระบบ ขยายถนนทั้งถนนหลัก ถนนรอง พร้อมทั้งเชื่อมต่อไปยังท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบัง และเป็นศูนย์กลางคมนาคมของอาเซียน เชื่อมจีน ยุโรป และเป็นศูนย์กลางขนส่งผ่าน Land Bridge เชื่อมสองฝั่งมหาสมุทรอันดามันและอ่าวไทย วิสัยทัศน์ที่ 6 ศูนย์กลางผลิตยานยนต์แห่งอนาคต (Future Mobility Hub) รัฐบาลตั้งเป้าให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์แห่งอนาคต ส่งเสริมอุตสาหกรรมรถ EV ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การค้นคว้าวิจัย การผลิตชิ้นส่วน ยางรถยนต์ แบตเตอร์รี่ อะไหล่ การประกอบ การบำรุงรักษา ทำให้เกิดเป็น Ecosystem ที่สมบูรณ์ในประเทศ วิสัยทัศน์ที่ 7 ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy Hub) รัฐบาลตั้งเป้าดึงอุตสาหกรรมแห่งอนาคต Digital for all Technology Innovation AI ให้มาขยายธุรกิจในประเทศไทย โดยเฉพาะเทคโนโลยี High Tech ต่าง ๆ ทั้งการลงทุนโรงงานผลิต Semiconductor, การตั้งศูนย์ Data Center รองรับ Cloud Computing, การวิจัยและนำ AI มาใช้งานในประเทศไทย และวิสัยทัศน์ที่ 8 ศูนย์กลางทางการเงิน (Financial Hub) รัฐบาลตั้งเป้าจะเปลี่ยนให้ไทยเป็น Financial Center of Southeast Asia ขับเคลื่อนโดยระบบการเงินที่แข็งแกร่ง ดึงสถาบันการเงินระดับโลกเข้ามาลงทุน รวมถึงเชื่อมต่อระหว่างสินทรัพย์ในโลกปัจจุบันให้มาอยู่บนโลกดิจิทัลได้อีกด้วย ปิดท้ายด้วย พื้นฐานที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ (Foundation to Success) โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวทิ้งท้ายว่า การจะทำทุกอย่างให้สำเร็จได้นั้น มีเป้าหมายอย่างเดียวคงไม่พอ การเป็นศูนย์กลางต่าง ๆ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนทุกคน เป้าหมาย ความเจริญทางเศรษฐกิจ จะต้องมาพร้อมกับการพัฒนาทางสังคมด้วยกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของภาครัฐ (Transparency) โครงสร้างพื้นที่ฐานที่จับต้องได้ และทางสังคมจะต้องมีการปรับปรุงด้วย และรัฐบาลจะอัปเกรดระบบงานของรัฐทั้งหมดขึ้นระบบ Cloud เพื่อให้บริการประชาชนได้เร็วยิ่งขึ้น และจะทำระบบ Application SDK มาตรฐานของรัฐ เปิดให้ทั้งภาคประชาชน และเอกชนเข้าใช้งานได้ เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของรัฐ ซึ่งอาจจะได้เห็น Start Up ใหม่ ๆ เกิดขึ้นจากการใช้บริการจากภาครัฐ และรัฐบาลจะให้ความสำคัญในเรื่องของความเท่าเทียมกัน (Equality) ทั้งเพศสภาพ การประกอบอาชีพ การรักษาพยาบาล รองรับทั้งผู้สูงวัย ผู้พิการ หญิงตั้งครรภ์ และเด็ก วัฒนธรรมที่เปิดกว้าง (Soft Power) พร้อมต่อยอด เปลี่ยนไปตามยุคสมัยได้ โดยไม่ละเลยอัตลักษณ์และตัวตน จนสามารถสร้างรายได้ให้ตนเอง โอกาสทางการศึกษา (Education) ที่จะต้องได้รับการพัฒนา โดยรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน เปิดช่องทางการเรียนรู้ใหม่ ๆ สร้างกลไกที่เอื้อให้เอกชนมีส่วนร่วมตั้งแต่การพัฒนา Content การทำ Play-based learning พร้อมทั้งผลักดันเด็กไทยอ่านภาษาอังกฤษ ต่อยอดภาษาต่างประเทศได้ด้วย ไปจนถึงประเทศ ความปลอดภัย (Safe & Security) สังคมต้องปราศจากอาชญากรรม และยาเสพติดทุกรูปแบบ ประชาชนใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย และ พลังงานสะอาด (Green Society) ประชาชนและภาคธุรกิจจะต้องเข้าถึงพลังงานสะอาดและราคาถูก ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
23 ก.พ. 2567
เชิญผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมอบรม "การจัดทำบัญชีเพื่อยกระดับ SMEs อย่างมืออาชีพ"
เชิญผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมอบรม "การจัดทำบัญชีเพื่อยกระดับ SMEs อย่างมืออาชีพ"
ขอเชิญผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การจัดทำบัญชีเพื่อยกระดับ SMEs อย่างมืออาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการจัดทำบัญชีในองค์กรให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน 2567 เวลา 08.30 – 16.30 น. ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย รับเพียง คนเท่านั้น ณ ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา โดยวิทยากรจาก : สำนักงานสรรพากรพื้นที่สงขลา เงื่อนไขการสมัคร ผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน เป็นสมาชิกระบบทะเบียนลูกค้าของกระทรวงอุตสาหกรรม (I-Industry) กำหนดการ เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 19 มีนาคม 2567 ประกาศผลผู้ได้เข้าอบรมฯ วันที่ 26 มีนาคม 2567 (กรณีที่มีผู้สมัครเกินกว่าที่กำหนด) ช่องทางการสมัคร สมัครเข้ารับการอบรมฯ สมัครเป็นสมาชิกกระทรวงอุตสาหกรรม (I-Industry) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม นางสาวอัญชลี กงส์มณีกุล 08 5029 2115
22 ก.พ. 2567
"ดีพร้อม" ประชุมชี้แจงการประเมินองค์กรคุณธรรม
"ดีพร้อม" ประชุมชี้แจงการประเมินองค์กรคุณธรรม
กรุงเทพฯ 22 กุมภาพันธ์ 2567 – นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจากนายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในการประชุมชี้แจงการประเมินองค์กรคุณธรรม พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และทางออนไลน์ ผ่านระบบ ZOOM Meeting การประชุมดังกล่าว เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติและหน่วยงานเครือข่ายในสังกัดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม เกี่ยวกับแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และหลักเกณฑ์และขั้นตอนการประเมินองค์กรคุณธรรมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กำหนด ตลอดจนเกิดความร่วมมือในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม รวมถึงให้หน่วยงานในส่วนภูมิภาคของดีพร้อม เข้าร่วมการประเมินองค์กรคุณธรรม กับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดที่หน่วยงานของตนตั้งอยู่ เพื่อยกระดับการประเมินและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร และขับเคลื่อนหน่วยงานไปสู่องค์กรคุณธรรมตามเป้าหมาย ให้ดีพร้อมเป็นหน่วยงาน องค์กรคุณธรรม “ต้นแบบ” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 นอกจากนี้ ยังได้มีการรายงานผลการขับเคลื่อนการประเมินองค์กรคุณธรรม ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้รับการประเมินองค์กรคุณธรรมของกระทรวงอุตสาหกรรม ในระดับ องค์กรคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น ของกระทรวงอุตสาหกรรม ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ก.พ. 2567
ดีพร้อม ต้อนรับคณะผู้แทนจากประเทศไนจีเรีย
ดีพร้อม ต้อนรับคณะผู้แทนจากประเทศไนจีเรีย
กรุงเทพฯ 21 กุมภาพันธ์ 2567 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ให้การต้อนรับ Mr. Saliu Lukman Aytunde ผู้ช่วยผู้อำนวยการจากกระทรวงการคลัง ประเทศไนจีเรีย และคณะผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนประเทศไนจีเรีย อาทิ ผู้แทนจากกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ ธนาคารกลาง และสมาคมผู้ประกอบการภาคเอกชน ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การพบกันครั้งนี้ ทัั้งสองฝ่ายได้ร่วมพูดคุยและหารือในแนวทางการดำเนินความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการและขยายโอกาสทางธุรกิจ โดยได้หยิบยกประเด็นถึงการจัดกิจกรรมสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม เช่น การจัดงานแสดงสินค้า และการเจรจาจับคู่ธุรกิจ ระหว่างประเทศไทย - ไนจีเรีย เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศให้ก้าวสู่ระดับสากล ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ก.พ. 2567
“รสอ.วัชรุน” ร่วมงาน Tokyo - Thailand the Business Connecting 2024 : Innovation for EV
“รสอ.วัชรุน” ร่วมงาน Tokyo - Thailand the Business Connecting 2024 : Innovation for EV
กรุงเทพฯ 21 กุมภาพันธ์ 2567 - นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมงานสัมมนาและเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น Tokyo - Thailand the Business Connecting 2024 : Innovation for EV โดยมี คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ โรงแรม Cariton สุขุมวิท กิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางนวัตกรรม สร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทย - ญี่ปุ่นได้นำเสนอเทคโนโลยีเพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือทางการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีระหว่างประเทศ รวมถึงขยาย Supply Chain ในอุตสาหกรรม EV ได้เพิ่มเติมอีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ก.พ. 2567
ดีพร้อม ร่วมแสดงความยินดี บสย. ก้าวสู่ปีที่ 33
ดีพร้อม ร่วมแสดงความยินดี บสย. ก้าวสู่ปีที่ 33
กรุงเทพฯ 21 กุมภาพันธ์ 2567 – นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาบรรษัทสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ก้าวสู่ปีที่ 33 โดยมี คณะผู้บริหารของ บสย. นำโดย นางดุสิดา ทัพวงษ์ รองผู้จัดการทั่วไปอาวุโส นายกิตติพงษ์ บุรณศิริ และ นายวุฒิพันธุ์ ปริดิพันธ์ รองผู้จัดการทั่วไป ให้การต้อนรับ ณ อาคารชาญอิสระทาวเวอร์ 2 ห้วยขวาง บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ช่วยเหลือเอสเอ็มอี ผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อ สร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงินในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น และช่วยให้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพแต่ขาดหลักประกัน หรือหลักประกันไม่เพียงพอได้รับวงเงินที่เพียงพอกับความต้องการ สำหรับในปี 2567 บสย. ได้มุ่งมั่นเดินหน้าสู่การเป็น Credit Mediator และ SMEs Digital Gateway คอยเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ด้วยกลยุทธ์ 3 ช่วย คือ “ช่วย..ค้ำ ช่วย..ปรับโครงสร้างหนี้ ช่วย..แก้หนี้” เสริมแกร่ง SMEs สู่ความยั่งยืน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ก.พ. 2567
แบบวัดการรับรู้ EIT
แบบวัดการรับรู้ EIT
ขอเชิญผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
21 ก.พ. 2567
"รสอ.วัชรุน" ร่วมประชุมการจัดงานร้านกระทรวงอุตสาหกรรมในงานกาชาด ประจำปี 2566 ครั้งที่ 1/2567
"รสอ.วัชรุน" ร่วมประชุมการจัดงานร้านกระทรวงอุตสาหกรรมในงานกาชาด ประจำปี 2566 ครั้งที่ 1/2567
กรุงเทพฯ 20 กุมภาพันธ์ 2567 - นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการจัดงานร้านกระทรวงอุตสาหกรรมในงานกาชาด ประจำปี 2566 ครั้งที่ 1/2567 พร้อมด้วย นายเอกภัทร วังสุวรรณ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายอดิทัต วสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ รศ.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายพรยศ กลั่นกรอง รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว โดยมี ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และร่วมประชุมผ่านระบบ Microsoft Teams การประชุมดังกล่าว เป็นการรายงานผลการจัดงาน และสรุปรายรับ - รายจ่าย จากร้านกระทรวงอุตสาหกรรมในงานกาชาดประจำปี 2566 นอกจากนี้ ยังพิจารณาเกี่ยวกับการทูลเกล้าฯ ถวายรายได้แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย และได้มอบหมายการจัดงานร้านกระทรวงอุตสาหกรรมในงานกาชาดประจำปี 2567 ให้หน่วยงานอื่นภายในสังกัด อก. ต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ก.พ. 2567
ดีพร้อมจับมือภาคีเครือข่าย เร่งพัฒนารถบัสไฟฟ้า เตรียมยกระดับไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์สมัยใหม่
ดีพร้อมจับมือภาคีเครือข่าย เร่งพัฒนารถบัสไฟฟ้า เตรียมยกระดับไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์สมัยใหม่
กรุงเทพฯ 20 กุมภาพันธ์ 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานนำการประชุมคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รศ.ดร.ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ หัวหน้าคณะศึกษาและส่งเสริมอุตสาหกรรมประกอบตัวถังรถบัส และคณะ คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อหารือในเรื่องการส่งเสริมอุตสาหกรรมประกอบตัวถังรถบัส อันเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ โดยดีพร้อมได้บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ ทั้งปัญหาด้านมลพิษ ปัญหาด้านความปลอดภัยของรถบัส และยังเป็นการพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการ ตลอดจนบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ให้สามารถปรับเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันรองรับการเป็นหนึ่งในฐานการผลิตยานยนต์สมัยใหม่ที่สำคัญของโลกในอนาคต ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ก.พ. 2567
“รมว.พิมพ์ภัทรา” เดินหน้าชุมชนเปลี่ยน RESHAPE THE AREA ประเดิมเปิดศูนย์แปรรูปสมุนไพรยาเส้น เมืองนครศรี โมเดลต้นแบบเสริมแกร่งเศรษฐกิจฐานราก
“รมว.พิมพ์ภัทรา” เดินหน้าชุมชนเปลี่ยน RESHAPE THE AREA ประเดิมเปิดศูนย์แปรรูปสมุนไพรยาเส้น เมืองนครศรี โมเดลต้นแบบเสริมแกร่งเศรษฐกิจฐานราก
จ.นครศรีธรรมราช 18 กุมภาพันธ์ 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดศูนย์การเรียนรู้ “การแปรรูปสมุนไพรยาเส้น” ณ กลุ่มพัฒนาอาชีพสมุนไพรยาเส้นบ้านเขาทราย ตำบลเปลี่ยน อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช และลงพื้นที่ ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรสรรค์สร้าง ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีนายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงธิดา จันทร์พุ่ม อุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นายวัฒนา แก้วประจุ ผู้อำนวยการภาค 7 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นายสิริวิทย์ ปรีชาศุทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนองค์กร บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมเปิดงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า รัฐบาลเร่งยกระดับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขัน เตรียมความพร้อมรับมือกับรูปแบบเศรษฐกิจแห่งอนาคต ส่งเสริมอัตลักษณ์ของประเทศเพื่อสร้างรายได้ผ่านการสนับสนุน Soft Power จูงใจนานาประเทศผ่านการส่งเสริมการลงทุน การเปิดตลาดประเทศคู่ค้า ทั้งนี้ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมเดินหน้าได้อย่างเต็มความสามารถจึงจำเป็นต้องยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เพื่อให้ชุมชนสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำ และเติมเต็มโอกาสในการสร้างรายได้จากต้นทุนที่มีในท้องที่ต่าง ๆ ดังนั้น ตนจึงได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม เร่งขับเคลื่อนการเสริมศักยภาพและพัฒนาชุมชนด้วยการผลักดันให้ธุรกิจชุมชนเติบโตตามบริบทอุตสาหกรรมใน 2 มิติ ได้แก่ การพัฒนาคนให้มีทักษะด้านอุตสาหกรรมการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำให้เติบโตไปพร้อมกัน และการพัฒนาผู้นำทางธุรกิจที่เข้มแข็งเพื่อเชื่อมโยงกับธุรกิจในชุมชน ซึ่งได้นำร่องในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ “การแปรรูปสมุนไพรยาเส้น” ณ กลุ่มพัฒนาอาชีพสมุนไพรยาเส้นบ้านเขาทราย ตำบลเปลี่ยน อำเภอสิชล ถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านการผลิต เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับเกษตรกรในชุมชนให้เกิดการดำเนินงานทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพจนกลายเป็นชุมชนเปลี่ยน และสามารถต่อยอดสู่การเป็นชุมชนดีพร้อมที่มีความเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ศูนย์การเรียนรู้ “การแปรรูปสมุนไพรยาเส้น” เป็นโมเดลต้นแบบของชุมชนเปลี่ยน ซึ่งเกิดจากการทำงานสอดประสานกันระหว่าง ด้านเทคโนโลยี โดยกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมรวมถึงในด้านการยกระดับทักษะธุรกิจชุมชน โดยกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคต่าง ๆ ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ตามนโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ในบริบทปรับเปลี่ยนการพัฒนาเชิงพื้นที่ (RESHAPE THE AREA) เพื่อสร้างชุมชนเปลี่ยน เปลี่ยนชุมชนให้ดีพร้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งยึดศักยภาพชุมชนที่ฐานการพัฒนา ส่งเสริมทักษะด้านอุตสาหกรรมที่จำเป็น อาทิ การพัฒนาทักษะการประกอบการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมมาตรฐานการผลิต/ผลิตภัณฑ์ การใช้เครื่องจักรเทคโนโลยี การส่งเสริมการตลาด การขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG และการส่งเสริมเงินทุนหมุนเวียน สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้กับสินค้าและบริการชุมชน สร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการและชุมชนมีส่วนร่วมในโซ่อุปทาน ภายใต้แนวคิด “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม” ขณะเดียวกัน ยังได้มีการดำเนินกิจกรรม “การพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการด้วยแนวคิดเชิงสร้างสรรค์” ภายใต้โครงการยกระดับธุรกิจอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน เป็นการนำร่องชุมชนที่ 2 หลังจากที่ได้มีการนำร่องที่ชุมชนเปลี่ยนเป็นที่แรก เพื่อเตรียมความพร้อมให้เศรษฐกิจฐานรากและอุตสาหกรรมชุมชนให้มีความได้เปรียบเชิงแข่งขัน ด้วยการสร้างองค์ความรู้ ทักษะ แนวคิด และการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Design) ซึ่งจะเป็นการนำเศษวัสดุเหลือใช้ในชุมชนผนวกเข้ากับแนวความคิดเชิงสร้างสรรค์ มาประยุกต์สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพ รวมถึงสามารถใช้ทรัพยากรภายในชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ ดีพร้อมได้วางเป้าหมายในการนำร่องพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการด้วยแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ในปี 2567 จำนวน 20 ชุมชนทั่วประเทศ นายภาสกร กล่าว ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ก.พ. 2567