โทรศัพท์ 1358
“ดีพร้อม” ตั้งโต๊ะหารือ “กพร.” จัดตั้ง “กองเกษตรอุตสาหกรรมและศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรม“ รองรับการปฏิรูปอุตสาหกรรม ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 13 พฤษภาคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมหารือการจัดทำ (ร่าง) คำชี้แจงการแบ่งส่วนราชการภายในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมีนางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ นางสาวอภิจิตตรา อภิราชจิตร ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบราชการ นางกาญจนา มังกโรทัย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาระบบราชการ นางสาวภัทรผกา ใจปินตา นักพัฒนาระบบราชการชำนาญการพิเศษ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม การประชุมในวันนี้ เป็นการหารือเกี่ยวกับการจัดทำ (ร่าง) คำชี้แจงการแบ่งส่วนราชการภายในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อประกอบการจัดทำคำขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) จำนวน 2 หน่วยงาน ได้แก่ กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม และศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยในการเสนอปรับโครงสร้างครั้งนี้ ไม่มีการเพิ่มอัตรากำลังแต่จะเป็นการเกลี่ยอัตรากำลังในทุกหน่วยงานภายใต้การสังกัดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถรองรับการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายและข้อสั่งการของรัฐบาล โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาการดำเนินงานที่รองรับด้านเกษตรอุตสาหกรรม ซึ่งในปี 2567 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการจัดตั้งศูนย์อุตสาหกรรมฮาลาลไทย ดังนั้น ในการจัดตั้งกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม จะเป็นการผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนการดำเนินงาน และการจัดตั้งศูนย์อุตสาหกรรมฮาลาลไทยดังกล่าวให้บรรลุตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนดไว้ รวมถึงมีบทบาทความรับผิดชอบด้านเกษตรอุตสาหกรรมที่ครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยการพัฒนากระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และยกระดับผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการไทยให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล เพื่อป้องกันการถูกกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนี้ “ดีพร้อม” ได้เสนอจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักด้านวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์โดยตรง ซึ่งจะดำเนินงานตั้งแต่การวิจัย พัฒนาวัสดุ ตลอดจนวัสดุทดแทน วัสดุที่ผ่านการออกแบบ เพื่อพัฒนาให้มีคุณสมบัติพิเศษสามารถตอบโจทย์การใช้งานในอุตสาหกรรม สอดรับนโยบายที่มุ่งเน้นการปฏิรูปอุตสาหกรรม สร้างเศรษฐกิจใหม่ ให้มีความทันสมัย สะดวก สะอาด โปร่งใส ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ควบคู่ไปกับการดำเนินงานตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่ส่งเสริมการสร้างและพัฒนาทักษะพร้อมกับการเครื่องมือที่ทันสมัย ส่งเสริม สนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าสูง เพื่อให้ธุรกิจและชุมชนมีโอกาสในการเติบโต สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้ให้คำแนะนำ ชี้แนะแนวทางการจัดทำ (ร่าง) คำชี้แจงการแบ่งส่วนราชการภายในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ และเป็นไปตามกฎระเบียบ แบบแผนของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนอย่างถูกต้องและเหมาะสม
16 พ.ค. 2568
ดีพร้อม ปั้นนักเขียนโครงการรุ่นใหม่ เพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ สอดรับนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 14 พฤษภาคม 2568 – นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "การเขียนโครงการอย่างมืออาชีพ (Project Writing : From Idea Into Practice)" พร้อมด้วยวิทยากร ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ผู้เข้ารับการอบรม เข้าร่วม โดยมีนายวีระพล ผ่องสุภา เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ให้บุคลากรผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้หลักการเขียนโครงการภาครัฐอย่างถูกต้อง สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการเขียนโครงการให้เชื่อมโยงและสอดรับกับยุทธศาสตร์ นโยบายของดีพร้อม รวมทั้งให้มีความเข้าใจในหลักเกณฑ์การเขียนโครงการ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำคำของบประมาณ และการจัดทำแผนงบประมาณประจำปีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลักสูตรดังกล่าวจะมีการฝึกอบรมที่ครอบคลุมทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ โดยผู้เข้ารับการอบรมจะได้นำเสนอผลงานการเขียนข้อเสนอโครงการของตนเอง พร้อมรับฟังคำแนะนำจากคณะผู้บริหารและวิทยากร ทั้งนี้ การพัฒนาทักษะด้านการเขียนโครงการถือเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบาย "ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้" ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งมุ่งมั่นที่จะปฏิรูปการดำเนินงานของดีพร้อม ให้สามารถตอบสนองต่อประเด็นปัญหาเชิงมหภาคของภาคอุตสาหกรรม ผ่านโครงการที่กำหนดทิศทางการพัฒนา และเป็นกรอบในการติดตาม-ประเมินผลการดำเนินงาน ทำให้การใช้งบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด สอดรับกับนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม" ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ที่มุ่งเน้นให้การดำเนินงานสามารถสร้างผลลัพธ์ได้อย่างเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมและประชาชนอย่างแท้จริง
16 พ.ค. 2568
“อธิบดีณัฏฐิญา” ร่วมโต๊ะประชุมคณะกรรมการฯ ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ พร้อมโชว์ผลสำเร็จการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์อาหารและแฟชั่น เพื่อปฏิรูปอุตสาหกรรม ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 8 พฤษภาคม 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติครั้งที่ 4/2568 โดยมี นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นประธานในการประชุม ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม เข้าร่วม ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ การประชุมครั้งนี้ มีการรายงานให้คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติทราบถึงความคืบหน้าของภาพรวมโครงการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์สาขาอาหารและสาขาแฟชั่น ในวงเงินกว่า 500 ล้านบาท ภายใต้ 7 โครงการ เช่น การยกระดับหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งเชฟอาหารไทย การพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย การพัฒนาและเชื่อมโยงเครือข่ายบุคลากรอุตสาหกรรมแฟชั่น การส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นจากทุนทางวัฒนธรรมไทยสู่สากล โดยจะดำเนินงานผ่านการใช้เครื่องมือ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้“ ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งสอดรับนโยบายที่มุ่งเน้นการปฏิรูปอุตสาหกรรม ให้มีความทันสมัย สะดวก สะอาด โปร่งใส ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ ในแต่ละสาขามีการรายงานผลการดำเนินงานต่าง ๆ อาทิ การจัดงานมหาสงกรานต์ ณ ท้องสนามหลวง การจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 23 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ การเป็นเจ้าภาพงาน Gamescom asia x Thailand Game Show และการเป็นประเทศพันธมิตรอย่างเป็นทางการในงาน Gamescom 2025 ที่ประเทศเยอรมนี โดยคณะอนุกรรมการฯ ด้านภาพยนตร์ ได้รายงานถึงความคืบหน้าในการนำผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ เข้าร่วมงาน Marché du Film ภายใต้ Thailand Pavilion ณ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ (Cannes Film Festival 2025) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 21 พฤษภาคม 2568 ณ เมืองคานส์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส ขณะเดียวกัน ดีพร้อม มีแผนดำเนินกิจกรรมผลิตภาพยนต์สั้น ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเผยแพร่ซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร โดยจะมีการบูรณาการความร่วมมือกับคณะอนุกรรมการฯ ด้านภาพยนตร์ สารคดี และแอนิเมชัน ต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้รายงานถึงสถานะโครงการที่ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางปี 2568 ความคืบหน้าของการจัดประชุมนานาชาติด้านซอฟต์พาวเวอร์ ความคืบหน้าของการจัดทำร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (ร่าง พ.ร.บ. THACCA) และร่วมกันพิจารณาและเห็นชอบเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านหนังสือ ด้านดนตรี ด้านท่องเที่ยว ด้านกีฬา และด้านภาพยนตร์เพิ่มเติม อีกด้วย
16 พ.ค. 2568
“ดีพร้อม” รายงานการสนับสนุน SME ภายใต้สงครามการค้า พร้อมผลักดันเป็น Smart SME ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 8 พฤษภาคม 2568 – นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร เรื่อง "แนวทางการจัดสรรรประมาณเพื่อสนับสนุน SMEs ภายใต้สถานการณ์สงครามการค้า" โดยมี นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากูล เป็นประธานการประชุมฯ ร่วมด้วย ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ผู้แทนจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และผู้แทนสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ N 401 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา และออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting ในการประชุมครั้งนี้ ได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการจัดสรรรงบประมาณเพื่อสนับสนุน SMEs ภายใต้สถานการณ์สงครามการค้า พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการสนับสนุน SMEs ในปีงประมาณ พ.ศ. 2567 - 2568 โดยให้หน่วยงานรายงานข้อมูลประเด็นสำคัญต่าง ๆ อาทิ (1) ข้อมูลโครงการทั้งหมดที่หน่วยงานของบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 เพื่อสนับสนุน SMEs และ (2) รายละเอียดโครงการย้อนหลัง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 -2568 สำหรับสรุปเป็นแนวทางการพัฒนาโครงการเพื่อสนับสนุน SMEs ต่อไป กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้รายงานการสนับสนุน SMEs ภายใต้สงครามการค้า โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 มุ่งเน้นการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เป็น Smart SME ที่มีองค์ความรู้และทักษะในการบริหารจัดการธุรกิจครอบคลุมทุกมิติ เพื่อให้ธุรกิจสามารถปรับตัวรองรับความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ตลอดจนแสวงหาโอกาสใหม่เพื่อส่งเสริมการขยายธุรกิจในประเทศเป้าหมาย โดยคาดการณ์ว่าจะได้รับการจัดสรรงบประมาณ 193.9516 ล้านบาท ในการพัฒนากลุ่มเป้าหมายจำนวน 4,705 คน 1,120 กิจการ 15 กลุ่ม 290 ผลิตภัณฑ์ ผ่านกิจกรรมการฝึกอบรม และพัฒนาสถานประกอบการ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายทางธุรกิจและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน รวมถึงสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการในกลุ่มประเทศเป้าหมายตลอดห่วงโซ่อุปทานการผลิตด้วยแนวทาง OTAGAI ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งสอดรับกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่” ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
14 พ.ค. 2568
“ปลัดณัฐพล” นั่งหัวโต๊ะถกหลักเกณฑ์เฟ้นหาอุตฯ ยอดเยี่ยม ปี 68 ชูความสำเร็จสถานประกอบการตามแนวทางอุตสาหกรรมวิถีใหม่ มุ่งสู่ความสำเร็จ 4 มิติ สอดรับนโยบายปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจ ยุคใหม่ ของ รวอ.เอกนัฏ
กรุงเทพ 7 พฤษภาคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะทำงานพิจารณาคัดเลือกอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1/2568 โดยมี ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมฯ ร่วมด้วย นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม การประชุมครั้งนี้ ได้มีการรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2568 ที่กำหนดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม - สิงหาคม 2568 โดยมีสาระสำคัญ ประกอบด้วย (1) การประชาสัมพันธ์และการรับสมัคร (2) สรุปผลการสัมมนาชี้แจงหลักเกณฑ์ (3) การกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของสถานประกอบการ ที่มีความประสงค์จะสมัครคัดเลือกรางวัลฯ จะต้องเป็นสถานประกอบการที่เคยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ประเภทรางวัลขึ้นไป ภายในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา และหากเคยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยมแล้ว จะต้องเว้นช่วงระยะเวลา 5 ปี (4) สรุปรายชื่อสถานประกอบการที่มีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2568 มีจำนวนทั้งสิ้น 27 ราย และ (5) การกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกรางวัลฯ ได้กำหนดให้ครอบคลุม 6 ด้าน คือ 1) มีการกำหนดกลยุทธ์และนโยบาย 2) มีความสามารถในการแข่งขัน เพื่อสร้างการเติบโตของธุรกิจ 3) มีความสามารถในการปรับตัวและฟื้นคืนธุรกิจจากภาวะวิกฤต 4) มีความสามารถในการพัฒนาอย่างยั่งยืน 5) มีความสามารถในการสร้างคุณประโยชน์ และ 6) มีผลลัพธ์จากการดำเนินงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ยังมีรางวัลพิเศษมอบให้แก่สถานประกอบการที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2568 คือ “ทูตอุตสาหกรรมภาคเอกชน หรือ MIND Ambassador” ซึ่งจะเป็นตัวแทนของกระทรวงอุตสาหกรรมในการประสานความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ผ่านการดำเนินโครงการ/กิจกรรม รวมถึงช่วยประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสาร และบริการของหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม “รางวัลอุตสาหกรรม” ถือเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศที่ทรงคุณค่าของภาคอุตสาหกรรมไทย ที่สถานประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกควรจะได้รับ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี อันจะนำไปสู่การปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้อยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป สอดคล้องตามแนวทางอุตสาหกรรมวิถีใหม่ มุ่งสู่ความสำเร็จ 4 มิติ ของ ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ มิติที่ 1 ความสำเร็จทางธุรกิจ มิติที่ 2 การดูแลสังคมและชุมชน มิติที่ 3 การรักษาสิ่งแวดล้อม และมิติที่ 4 การกระจายรายได้สู่ชุมชน - การรักษาชีวิต สร้างประโยชน์ พัฒนาชุมชนรอบอุตสาหกรรม ซึ่งสอดรับกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่” ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
13 พ.ค. 2568
ดีพร้อม มอบวุฒิบัตรบุคลากร ยกระดับ "Front Desk" สู่ผู้วินิจฉัยธุรกิจมืออาชีพ พร้อมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยเติบโต ตามนโยบาย รมว. เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 2 พฤษภาคม 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "ทักษะการวินิจฉัยสถานประกอบการและการให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น" พร้อมมอบวุฒิบัตรให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม โดยมี นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม เข้าร่วม ณ ห้องโมโนเคิล ชั้น 1 โรงแรมกราฟ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว มีระยะเวลาการฝึกอบรม 10 วัน เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ "ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม หรือ DIPROM BSC" ซึ่งทำหน้าที่เป็นด่านหน้าหรือ "Front Desk" ในการบริการให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการ โดยมีกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ครอบคลุมทักษะสำคัญในการวินิจฉัยสถานประกอบการในมิติต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านการตลาด ด้านการผลิต และด้านบัญชี-การเงิน รวมทั้งแบ่งกลุ่มลงพื้นที่วินิจฉัยสถานประกอบการจริง 3 กิจการ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ และเหล็ก เพื่อรับฟังปัญหาจากผู้ประกอบการ รวบรวม และประมวลผลข้อมูล และวิเคราะห์ประเด็นปัญหา พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไข โดยใช้หลักการวินิจฉัย "SHINDAN" ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญระดับสากล ร่วมกับการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) ของธุรกิจ ถือเป็นการเปิดมุมมองและสร้างทักษะเชิงลึกให้กับบุคลากร ให้เข้าใจระบบการทำงานของสถานประกอบการอย่างแท้จริง สามารถวินิจฉัยสถานประกอบการได้อย่างแม่นยำ ครอบคลุม และนำไปสู่การเสนอแนวทางการแก้ปัญหา ปรับปรุง และพัฒนาได้ตรงประเด็น นอกจากนี้ ผู้เข้าอบรมยังนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานในรูปแบบ "คอมมูนิตี้" เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ตามกรอบนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้กลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ซึ่งเป็นการผนึกเครื่องมือที่จำเป็นมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ เพื่อให้เติบโต สามารถสร้างรายได้ในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
13 พ.ค. 2568
“อธิบดีณัฏฐิญา” แท็คทีมดีพร้อม เตรียมจัดตั้ง 2 หน่วยงานใหม่ เพื่อยกระดับศักยภาพเกษตรอุตสาหกรรมและวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สร้างฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
กรุงเทพฯ 2 พฤษภาคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานประชุมเตรียมการนำเสนอข้อมูลในการประชุมหารือการจัดทำ (ร่าง) คำชี้แจงการแบ่งส่วนราชการภายในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสุชาดา โพธ์เจริญ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ และนายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายพลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน นายวีระพล ผ่องสุภา เลขานุการกรม นางอรพิน อุดมธนะธีระ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ นายกิตติโชค ศุภกำเนิด ผู้อำนวยการกองเกษตรอุตสาหกรรม ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อทบทวน (ร่าง) คำชี้แจงการแบ่งส่วนราชการภายในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ให้มีความครบถ้วนและสมบูรณ์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประชุมร่วมกันระหว่างสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อพิจารณา (ร่าง) คำชี้แจงประกอบการแบ่งส่วนราชการฯ ดังกล่าว โดยมีกำหนดจัดการประชุมในวันอังคารที่ 13 พฤษภาคม 2568 ทั้งนี้ ที่ประชุมได้นำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ประกอบด้วย สรุปคำขอและเหตุผลความจำเป็นในการปรับปรุงโครงสร้าง กสอ. สำหรับการจัดตั้ง 2 หน่วยงานใหม่ ได้แก่ กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม (กอ.) และศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (ศว.) การขอปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการ โครงสร้าง และอัตรากำลัง กสอ. รวมถึงประโยชน์ รายละเอียดปริมาณงาน ค่าน้ำหนักเป้าหมายผลการดำเนินงาน รายละเอียดงบประมาณค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินงาน และตัวชี้วัดผลการปฏิบัติราชการของทั้ง 2 หน่วยงานที่ขอจัดตั้งใหม่ “อธิบดีณัฏฐิญา” ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในส่วนภารกิจงานของทั้ง 2 หน่วยงาน โดย กองพัฒนาเกษตรฯ ให้นำศาสตร์อุตสาหกรรมและแนวคิด BCG ไปประยุกต์ใช้กับภาคเกษตรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตลอดห่วงโซ่อุปทาน สำหรับศูนย์วิจัยฯ จะเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การทำงานในเชิงพื้นที่กับจังหวัด ซึ่งมีลักษณะการดำเนินงานคล้ายกับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค แต่จะเน้นอุตสาหกรรมรายสาขามากยิ่งขึ้น รวมถึงการเชื่อมโยงกับนโยบาย Soft Power ของรัฐบาล ร่วมกับศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ภูมิภาค (DIPROM Thai-IDC Ready) ตลอดจนการขับเคลื่อนไมซ์เซ็นเตอร์ (MICE Center) อาทิ การจัดงานที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสุขภาพ อุตสาหกรรมที่สามารถชูอัตลักษณ์ในเรื่องของ Soft Power ขึ้นมา หรือเชื่อมโยงกับซอฟต์พาวเวอร์ที่ ”ดีพร้อม” ดำเนินการอยู่ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาใน Supply Chain ของซอฟต์พาวเวอร์ให้เข้มแข็ง ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” สำหรับการบริหารจัดการในส่วนพื้นที่ต่าง ๆ ให้เชื่อมโยงกับสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (Thailand Convention and Exhibition Bureau: TCEB) เพื่อสร้างเครือข่ายในการดำเนินงานร่วมกันต่อไปในอนาคต
13 พ.ค. 2568
“รสอ.ดุสิต” ร่วมประชุมคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม เร่งช่วยเหลือรถตุ๊กตุ๊ก จังหวัดภูเก็ต รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 1 พฤษภาคม 2568 - นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจากนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม โดยมี นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ เป็นประธานฯ ร่วมด้วย ผู้บริหารจากกรมการขนส่งทางบก ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต สำนักงานขนส่งจังหวัดภูเก็ต องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต สหกรณ์สี่ล้อเล็กภูเก็ต จำกัด และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ N 406 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา ที่ประชุมฯ ได้ร่วมพิจารณาประเด็นการเปลี่ยนแปลงรถยนต์โดยสารขนาดเล็ก หรือรถตุ๊กตุ๊กในจังหวัดภูเก็ต จากเครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นรถไฟฟ้า ของสหกรณ์สี่ล้อขนาดเล็ก ภูเก็ต จำกัด เพื่อความประหยัด ปลอดภัย และสนองนโยบายของภาครัฐด้านสิ่งแวดล้อม โดยรถยนต์โดยสารขนาดเล็ก มีระยะเวลาการใช้งานมานานกว่า 40 – 50 ปี เครื่องยนต์เสื่อมสภาพ และไม่สามารถหาอะไหล่ทดแทนได้ ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ประกอบกับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น สมาชิกของสหกรณ์สี่ล้อขนาดเล็ก ภูเก็ต จำกัด กว่า 200 ราย จึงต้องการให้หน่วยงานภาครัฐช่วยเหลือ พร้อมส่งเสริมทักษะการซ่อมบำรุง และดัดแปลงรถยนต์จากเครื่องยนต์สันดาปภายในเป็นรถไฟฟ้า โดยที่ประชุมฯ ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พิจารณาแนวทางการให้ความช่วยเหลือแก่สหกรณ์สี่ล้อขนาดเล็ก ภูเก็ต จำกัด และให้กรมการขนส่งทางบก พิจารณาแนวทางการแก้ปัญหา เรื่อง การจดทะเบียนรถยนต์โดยสารขนาดเล็กดัดแปลง และการควบคุมปริมาณและแบ่งโซนพื้นที่ให้บริการของรถยนต์โดยสารขนาดเล็กในจังหวัดภูเก็ต พร้อมทั้งกำหนดให้มีการลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และวางแผนการแก้ไขปัญหาต่อไป กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) มีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคตที่สอดคล้องตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า โดยการเสริมสร้างองค์ความรู้และเพิ่มพูนทักษะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ครบวงจรตลอด Supply Chain ซึ่งสอดคล้องตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
13 พ.ค. 2568
“รสอ.สุรพล” ติดตามความคืบหน้าการจัดแข่งขันกีฬากอล์ฟสวัสดิการ กสอ. ครั้งที่ 2/2568
กรุงเทพฯ 7 พฤษภาคม 2568 - นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะทำงานจัดการแข่งขันกีฬากอล์ฟสวัสดิการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2/2568 พร้อมด้วย ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Zoom Meeting ประธานที่ประชุม ได้แจ้งผลการเป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมชี้แจงรายละเอียดที่จะจัดให้มีการเรี่ยไรจัดการแข่งขันกอล์ฟสวัสดิการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในวันที่ 6 มิถุนายน 2568 ณ สนามกอล์ฟ วินด์เซอร์ปาร์ค แอนด์ กอล์ฟคลับ กรุงเทพมหานคร ต่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองเรื่องที่เสนอต่อคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานรัฐ (อกร.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการได้ จึงให้ฝ่ายเลขานุการคณะทำงานฯ นำเสนอรูปแบบในการจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬากอล์ฟสวัสดิการ กสอ. 2025 ในด้านต่างๆ เพื่อให้คณะทำงานร่วมกันพิจารณา เช่น แบบฟอร์มการรับสมัคร เสื้อแข่งขันนักกีฬา รางวัลผู้แข่งขัน สิทธิประโยชน์สำหรับผู้บริจาคสนับสนุนกิจกรรม การเตรียมรูปแบบการเปิดงาน ทั้งนี้ ประชุมมีการพิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานย่อย ซึ่งประกอบด้วย คณะทำงานย่อยด้านอำนวยการ และคณะทำงานย่อยด้านการประสานงานและอำนวยความสะดวก เพื่อให้การจัดการแข่งขันกีฬากอล์ฟสวัสดิการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะทำงานฯ ติดตามความคืบหน้าการจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬากอล์ฟสวัสดิการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และจัดทำรายงานสรุปผลการจำหน่ายใบสมัคร เพื่อนำเสนอคณะทำงานจัดการแข่งขันฯ ต่อไป
08 พ.ค. 2568
”ปลัดณัฐพล“ ติดปีกชุมชน “ดีพร้อม” นครพนม ให้ทักษะแปรรูปผัก ผลไม้ สมุนไพรท้องถิ่น สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจชุมชนตำบลรามราช ท่าอุเทน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
จ.นครพนม 30 เมษายน 2568 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “DIPROM Community ที่นี่มีแต่ให้ : ให้ทักษะเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนนครพนม” หลักสูตร "แซ่บหลายอีสานเฮา ซอฟต์พาวเวอร์ อาหารถิ่นอาหารไทย (สร้างสรรค์อาหารพื้นบ้าน) “ ในโอกาสการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2568 โดยมี ดร.สุภวิทย์ พรรณวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ และ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ร่วมด้วย นายอำนาจ เฮี้ยะหลง รองกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นายกฤศ จันทร์สุวรรณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุรพล ปลื้มใจ และ นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเตมีย์ พันธุวงค์ราช ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายชินวัต ทองปรีชา นายอำเภอท่าอุเทน นายวิษณุกรณ์ ภูชุม สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม นายประกอบ นิวงษา ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลรามราช นายนพพร แก้วนิวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านรามราช และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมจากส่วนกลางและภูมิภาค ประชาชนในพื้นที่ ต.รามราช 17 หมู่บ้าน เข้าร่วมอบรม จำนวน 150 คน ณ อาคารโรงเรียนบ้านรามราช ตำบลรามราช อำเภอท่าอุเทน ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การยกระดับประเทศไทยให้ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง และการกระจายรายได้อย่างทั่วถึงจำเป็นต้องวางรากฐานที่มั่นคงและแข็งแรง โดย กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การนำของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มองเห็นถึงหัวใจสำคัญดังกล่าวและมีความมุ่งเน้นในการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีทิศทางสอดรับกับวิสัยทัศน์ของรัฐบาลที่มุ่งใช้การพัฒาที่ยั่งยืนเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในยุคใหม่ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุด คือ การกระจายรายได้สู่ชุมชนให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยนำกลไกของซอฟต์พาวเวอร์มาขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยบนพื้นฐานของทุนวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อมุ่งยกระดับศักยภาพของประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับสากล สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม เลือกนำร่องในพื้นที่จังหวัดนครพนม เพื่อสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โดยเฉพาะในมิติของ “ซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหาร” ที่จะสามารถสะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นได้อย่างงดงามผ่านการให้ทักษะที่ตรงจุด สร้างอาชีพ สร้างรายได้ รวมถึงเปิดมุมมองในการประกอบอาชีพเสริมและนำไปต่อยอดสู่ธุรกิจหลักได้จริง อันจะทำให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตอย่างยั่งยืน นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กิจกรรมในครั้งนี้ จัดขึ้น ภายใต้นโยบาย ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้ ผ่านกลยุทธ์ 4 ให้ ได้แก่ (1) ให้ทักษะใหม่ : ผ่านการอบรมเพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ พัฒนาเป็นอาชีพและต่อยอดสู่ธุรกิจ (2) ให้เครื่องมือทันสมัย : เสริมศักยภาพด้วยเครื่องมือที่จะช่วยในการแปรรูปและเพิ่มมูลค่าสินค้า (3) ให้โอกาสโตไกล : เข้าถึงตลาด ช่องทางจัดจำหน่าย และการเข้าถึงแหล่งทุน และ (4) ให้ธุรกิจไทยที่ดีคู่ชุมชน : สร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ ชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน กิจกรรมดังกล่าว มุ่งเน้นการ “ให้ทักษะ” “เพิ่มความรู้” และ “กระจายรายได้” ภายใต้หลักสูตร “หลักสูตรแซ่บหลายอีสานเฮา ซอฟต์พาวเวอร์ อาหารถิ่นอาหารไทย (สร้างสรรค์อาหารพื้นบ้าน)” แก่ผู้เข้าร่วมอบรมในพื้นที่ ต.รามราช ทั้ง 17 หมู่บ้าน จำนวน 150 คน ซึ่งเป็นการกระจายโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้และทักษะ เพื่อสร้างเชฟชุมชนอาหารไทยสู่เชฟมืออาชีพทั่วประเทศ ผ่านการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริงด้านการสร้างสรรค์อาหารพื้นถิ่นให้มีความร่วมสมัย เพิ่มคุณค่า และสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างเศรษฐกิจของชุมชนด้วยแนวคิด “ซอฟต์พาวเวอร์” ที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่นของ จ.นครพนมอย่างชัดเจน ประกอบด้วย การทำลูกชุบ การทำเยลลี่หนึบ เค้กกล้วยหอมนึ่ง และน้ำสมุนไพร โดยผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับองค์ความรู้และฝึกฝนทักษะเชิงปฏิบัติในการสร้างสรรค์เมนูอาหารจากวัตถุดิบพื้นถิ่นให้มีความน่าสนใจ ทันสมัย และสามารถเข้าถึงตลาดที่กว้างขึ้น อันเป็นการปลุกศักยภาพทางเศรษฐกิจที่แฝงอยู่ในมรดกวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นของชุมชนให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง และนำไปต่อยอดอาชีพเพื่อก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน อธิบดีณัฏฐิญา กล่าวทิ้งท้าย
04 พ.ค. 2568