Category
การเสียภาษีนิติบุคคล
“ภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องเสียยังไง” ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล ทั้งเจ้าของกิจการและผู้บริหารระดับสูงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้เรื่องภาษีและอากรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เพราะมีความยุ่งยากและซับซ้อนกว่าธุรกิจบุคคลธรรมดา และเมื่อลืมยื่นภาษีหรือเสียภาษีผิดไปแล้วก็จะถูกปรับได้ในอัตราที่สูง ทำให้ผู้ประกอบการบางรายต้องไปจดเลิกบริษัทก็มีและบางรายที่เข็ดหลาบกับการเปิดบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนไปเลย ในความเป็นจริงแล้วการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลไม่น่ากลัวอย่างที่คิด แต่ปัญหาเกิดจากเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารไม่มีความรู้เรื่องภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจมากกว่า จึงทำให้มีปัญหากับสรรพากรและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องอยู่เรื่อยๆ ในบทนี้จะอธิบายถึงภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียงอย่างเดียว และในบทถัดไปจะอธิบายเรื่องภาษีอากรอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่เป็นบริษัทและห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งจะมีทั้งภาษีตามประมวลรัษฎากร และภาษีอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจดังนี้ ภาษีที่ธุรกิจ SMEs ควรรู้ ภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นผู้มีหน้าที่จ่ายก็คือนิติบุคคลที่มีเงินได้ในประเทศ ดังต่อไปนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัท (มหาชน) จำกัด กิจการร่วมค้า มูลนิธิ/สมาคมที่ประกอบกิจการมีรายได้ โดยนิติบุคคลเหล่านี้ต้องมีการยื่นภาษีเงินได้ตามระยะเวลาการยื่นตามตาราง ตารางสรุปแบบ/กำหนดเวลายื่นแบบฯ ของภาษีเงินได้นิติบุคคล * กรณีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่ม 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. - ภ.ง.ด.51 ยื่นแบบฯ ตั้งแต่เดือน ก.ค. - ส.ค. ของปีนั้น - ภ.ง.ด.50, ภ.ง.ด.52, ภ.ง.ด.55 กำหนดยื่นแบบภายใน 150 วัน ให้นับวันที่ 1 ม.ค. ของปีถัดไป เป็นวันแรก ** ที่มา:เว็ยไซต์กรมสรรพากร http://www.rd.go.th/ สำหรับนิติบุคคล SMEs เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ในการเสียภาษีน้อยกว่านิติบุคคลอื่นๆโดยสรรพากรมีหลักเกณฑ์ 2 ข้อคือ ต้องเป็นนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้าน ต้องเป็นนิติบุคคลที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท (บริษัทที่มีทุนจดทะเบียน 3 ล้านบาทแต่มีรายได้ 50 ล้านบาทก็ไม่ได้สิทธิเสียภาษีเงินได้ในอัตรา SMEs ) อัตราภาษีนิติบุคคลในปี 2559 ยังคงใช้อัตราเดียวกับปี 2558 ดังนี้ จากตารางข้างบนจะเห็นได้ว่ากิจการที่เป็น SMEs จะได้ยกเว้นภาษีในช่วงที่มีกำไรก่อนเสียภาษี 300,000 บาทแรก และเมื่อมีกำไรตั้งแต่ 300,001-1,000,000 บาทก็จะเสียในอัตราร้อยละ 15 ซึ่งแสดงว่าธุรกิจ SMEs ที่มีกำไรไม่เกิน 1 ล้านจะเสียภาษีน้อยกว่านิติบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่ SMEs จะขอยกตัวอย่างการคำนวณภาษีของบริษัท SMEs เปรียบเทียบกับบริษัททั่วไป จากตารางข้างล่าง เปรียบเทียบการเสียภาษีนิติบุคคลปี 2558 จากตารางเปรียบเทียบจะเห็นว่า บริษัท SMEs เสียภาษีน้อยกว่าบริษัททั่วไปถึง 63,000 บาทและยังมีกำไรสุทธิมากกว่าด้วย มีข่าวใหม่ตอนต้นปี 2559 เกี่ยวกับ เรื่องภาษีของนิติบุคคล ก็คือ มาตรการบัญชีเล่มเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ SMEs คือ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 มีประกาศพระราชกำหนดการยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558 พอสรุปได้ตามภาพข้างล่างนี้ มาตรการนิรโทษกรรมและลดอัตราภาษี สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
29 พ.ย. 2021
การเสียภาษีธุรกิจบุคคลธรรมดา
“เสียภาษีมากไหมสำหรับธุรกิจบุคคลธรรมดา” คำถามที่เต็มไปด้วยความกลัวเรื่องภาษีของธุรกิจบุคคลธรรมดา ไม่ว่าคุณจะเป็นร้านค้าจดทะเบียนพาณิชย์ ร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ แม้กระทั่งบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้เปิดเป็นร้านค้าแต่มีการทำธุรกิจขายสินค้า ทั้งซื้อมาขายไป, เป็นตัวแทนจำหน่าย จำหน่ายสินค้าที่ผลิตในครัวเรือน ต้องเสียภาษีทั้งนั้น ภาษีสำหรับธุรกิจบุคคลธรรมดาจะใช้อัตราภาษีเดียวกับมนุษย์เงินเดือนเพียงแต่จะแยกที่มาของรายได้ต่างกัน คือคนกินเงินเดือนจะยื่นภงด.91 แต่ธุรกิจบุคคลธรรมดาจะยื่น ภงด. 90 ขออธิบายเรื่องที่มาของรายได้ก่อนเพื่อให้เข้าใจว่าการที่ทำธุรกิจที่ไม่เหมือนกัน การหักค่าใช้จ่ายก็จะไม่เหมือนกันไปด้วย สำหรับเงินได้(รายได้) ของบุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้าง หรือพ่อค้า รายได้ทั้งหมดจะรวมอยู่ในเงินได้ตาม มาตรา 40 ทั้งสิ้น โดยจะแบ่งประเภทของเงินได้ตั้งแต่ 40 (1) - (8) ในที่นี้เราจะไม่กล่าวถึงบุคคลที่เป็นลูกจ้างรับเงินเดือนซึ่งถือเป็นเงินได้ตาม มาตรา40 (1) คือเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง โบนัส เราจะกล่าวถึง เงินได้ตั้งแต่มาตรา 40 (2) - (8) ที่เป็นรายได้ของธุรกิจที่มีผู้ประกอบการคนเดียวทั้งที่จดทะเบียนพาณิชย์หรือไม่ได้จดก็ตาม ต้องยื่นภาษี ภงด 90 และ ยื่น ภงด. 94 (ยื่นรายได้ครึ่งปีสำหรับผู้มีรายได้ตามมาตรา 40 ( 8) จากภาพบน จะพบว่าธุรกิจบุคคลธรรมดา มักมีรายได้จากข้อ(7) และ (8) เป็นส่วนใหญ่คือ 1. เงินได้พึงประเมินมาตรา 40(7) คือ รายได้จากการรับเหมาก่อสร้าง รวมเกี่ยวกับการก่อสร้างทั้งหมด เช่น รับเหมาถมดินก็อยู่ในเงินได้ประเภทนี้เช่นกัน สมมติว่าเราได้ทำสัญญารับเหมากับบริษัทที่ว่าจ้างแห่งหนึ่ง เมื่อทำงานครบถ้วนแล้วจะได้รับเงินที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 หรือ(ถ้ารับงานจากราชการก็ถูกหักในอัตราร้อยละ 1) เราจำเป็นต้องนำรายได้ที่ได้รับตามสัญญาจ้างนี้มาคำนวณและยื่นภาษี ภงด 90 โดยให้หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 70 (ตามหลักเกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายที่สรรพากรกำหนด) อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2559 ยกตัวอย่าง นายแอกรับเหมางานก่อสร้างกับบริษัทแห่งหนึ่ง มูลค่า 1,000,000 บาท ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้วร้อยละ 3 เป็นเงิน 30,000 บาท เมื่อนายเอกจะยื่นภาษี ภงด.90 มีวิธีการคำนวณดังนี้ หากนายเอกไม่มีค่าลดหย่อนอะไรเพิ่มเติมก็ให้นำเงินได้สุทธินี้มาคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2558 (ปี 2559 ใช้อัตราเดียวกับปี 2558) ดังนี้ จำนวนเงินที่ชำระเกินไว้ 24,000 บาทนี้นายเอกสามารถยื่นขอเงินภาษีคืนได้จากสรรพากรเวลายื่น ภงด.90 ในปีถัดไป 2. เงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (8) คือ เงินได้ที่นอกเหนือจาก มาตรา 40 (1)-(7) ซึ่งจะเป็นรายได้จากการรับจ้างทำของและรายได้จากบริการรวมทั้งหมด 43 รายการซึ่งไปดูรายละเอียดของรายการได้ ที่นี่ ธุรกิจของบุคคลธรรมดาส่วนใหญ่มักอยู่ในมาตรา 40 (8) นี้ ดังนั้นคุณต้องเข้าไปดูรายละเอียดว่าคุณจะสามารถหักค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายในอัตราเท่าใด เช่น รายการที่ 9 เป็นธุรกิจทำสบู่ แชมพู และเครื่องสำอาง หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ร้อยละ 70 เมื่อหักค่าใช้จ่ายเหมาแล้ว คุณค่อยนำค่าลดหย่อนส่วนตัวมาหักได้อีก โดยมีรายละเอียดการหักค่าลดหย่อนสำหรับบุคคลธรรมดาที่สรรพากรกำหนดไว้ดังรายละเอียด ที่นี่ ยกตัวอย่าง สมมติร้านสบู่เย็นกาย เป็นร้านที่ผลิตและจำหน่ายสบู่ จดทะเบียนพาณิชย์โดยคุณสายใจ ได้ผลิตและจำหน่ายสบู่ขายมีรายได้ในปี 2558 จำนวน 400,000 บาท คุณสายใจยังเป็นโสดแต่มีภาระต้องดูแลคุณแม่ และมีการซื้อประกันชีวิต ปีละ 30,000 บาท เราลองคำนวณกันว่าคุณสายต้องเสียภาษีเท่าไร (ทะเบียนพาณิชย์ถือเป็นรายได้บุคคลธรรมดาเพราะจดทะเบียนด้วยชื่อบุคคลและใช้เลขเสียภาษีเดียวกันกับเจ้าของกิจการ) การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของร้านสบู่เย็นกายโดยคุณสายใจ กรณีของคุณสายใจนี้ไม่ต้องเสียภาษีเลยเพราะเงินได้สุทธิหลังหักค่าลดหย่อนแล้ว ไม่เกิน 150,000 บาทได้รับการยกเว้นไม่ภาษี อย่างไรก็ตามคุณสายใจก็ต้องยื่น ภงด 90 เช่นกันแต่ไม่ต้องนำส่งภาษีเพราะไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีนั่นเอง ผู้ประกอบการธุรกิจทุกรายต้องยื่นเสียภาษีเพื่อแจ้งว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ หากไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีก็ไม่ต้องนำส่งอยู่แล้ว จากตัวอย่างทั้งสองรายคือนายเอกและคุณสายใจ คนที่เคยกลัวภาษีก็คงทราบแล้วว่าภาษีไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวอะไรเลยเพราะยอดขายที่ได้ขายไปนั้นยังสามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายเหมาได้(มีอัตราหักตั้งแต่ 30-85% ของยอดขาย) เหลือเท่าไหร่ก็ยังนำมาหักค่าลดหย่อนส่วนตัวได้อีก เช่นนี้แล้วเราไม่ควรไปเลี่ยงด้วยการไม่ยื่น ไม่ติดต่อใดๆกับหน่วยงานรัฐ เพราะหากสรรพากรมาพบหรือตรวจสอบเมื่อไหร่เราอาจถูกประเมินสูงกว่ารายได้ที่ขายได้จริงก็ได้ และยังอาจถูกปรับได้อีก จึงอยากแนะนำผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ควรสนใจในเรื่องการยื่นภาษีทุกปีแม้ว่ารายได้จะไม่ถึงเกณฑ์ก็ตาม *คุณสามารถอ่านความรู้เรื่องภาษีของบุคคลธรรมดาได้ที่ www.rd.go.th/publish/309.0.html **ศึกษาแบบฟอร์มกรอกภาษีที่ www.rd.go.th/publish/fileadmin/tax_pdf/pit/PIT90_2558_291258_k.pdf
29 พ.ย. 2021
การจัดตั้งธุรกิจนิติบุคคล
ตามที่กล่าวไว้แล้วว่าในเรื่องการจัดตั้งธุรกิจสำหรับเจ้าของคนเดียวในบทที่แล้ว ธุรกิจที่จดทะเบียนพาณิชย์หรือจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ล้วนเป็นธุรกิจขนาดเล็กทั้งนั้น หากกิจการของเราเริ่มต้นด้วยการร่วมหุ้น หรือมีการดำเนินการร่วมกับผู้อื่นจำนวนหลายคนและมีเงินลงทุนจำนวนมากกว่า 500,000 บาทขึ้นไป ผู้ประกอบการก็ควรต้องเลือกรูปแบบการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะเหมาะสมกว่า มารู้จักนิติบุคคลกันก่อนว่านิติบุคคล คืออะไร? นิติบุคคล คือบุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้นเพื่อให้มีความสามารถ มีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบได้ตามกฎหมายเหมือนกับบุคคลธรรมดา เนื่องจากเป็นการรวมตัวกันของบุคคลมากกว่าสองคนขึ้นไปเพื่อร่วมทุนกันและเพื่อก่อตั้งกิจการรวมทั้งดำเนินกิจกรรมด้วยกัน สำหรับนิติบุคคลจะไม่สามารถกระทำการเหมือนบุคคลธรรมดาได้ทุกเรื่องเพราะเป็นการรวมตัวกัน ดังนั้นนิติบุคคลจึงต้องมี “ผู้แทน” กระทำการแทน ผู้แทนนี้จะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ซึ่งการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลนั้น แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ 1. ห้างหุ้นส่วนจำกัด 2. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 3. บริษัทจำกัด ** นอกจากสามประเภทนี้แล้วยังมีนิติบุคคลอีกสองประเภทที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจคือ สมาคมและมูลนิธิ แต่ในธุรกิจทั่วไปนั้นนิติบุคคลสามประเภทนี้สำคัญที่สุด 1. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โดยความรับผิดชอบของหุ้นส่วนแบ่งได้เป็นสองจำพวกคือหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด คือเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการนั่นเอง จะเป็นผู้รับผิดชอบในหนี้สินแบบไม่จำกัดจำนวน แต่จะมีหน้าที่และสิทธิเต็มที่ในการตัดสินใจเรื่องต่างๆของกิจการ ส่วนหุ้นส่วนอีกจำพวกหนึ่งคือหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด หุ้นส่วนจำพวกนี้จะรับผิดชอบในหนี้สินไม่เกินจำนวนเงินที่ได้ลงทุนไป แต่จะไม่มีสิทธิเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ มีเพียงสิทธิในการสอบถามผลการดำเนินงานของห้างเท่านั้น 2. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล เป็นห้างหุ้นส่วนที่มีบุคคล 2 คนขึ้นไปมาร่วมลงทุนกัน โดยหุ้นส่วนทุกคนไม่จำกัดความรับผิดชอบ และแต่ละคนก็มีอำนาจในการจัดการกิจการของห้าง ทั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดและห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลมีขั้นตอนการจดทะเบียนเหมือนกันดังนี้ สำหรับผู้ที่สนใจอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนได้ ที่นี่ Download **หรือสอบถามได้ที่เว๊ปไซค์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ www.dbd.go.th/main.php?filename=index 3. บริษัทจำกัด เป็นนิติบุคคลที่มีบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปร่วมกันทำกิจการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรจากการดำเนินกิจการนั้นและนำกำไรมาแบ่งปันกัน โดยบริษัทจำกัด จะแบ่งทุนออกเป็นหุ้น มูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน เช่นหุ้นละ 100 บาทเป็นต้น สำหรับผู้ลงทุนในบริษัท เราจะเรียกว่าผู้ถือหุ้น ดังนั้นผู้ที่จะไปจดทะเบียนบริษัทจึงต้องมีผู้ร่วมก่อตั้งอย่างน้อยจำนวน 3 คน และการจดทะเบียนบริษัทค่อนข้างจะยุ่งยากในการพิมพ์เอกสาร จึงขอแนะนำให้ใช้บริการของบริษัทที่รับจดทะเบียนนิติบุคคลจะดีกว่าซึ่งราคาค่าบริการประมาณ 2,000-3,000 บาท ทำให้เราประหยัดเวลาและไม่เกิดข้อผิดพลาดในการยื่นเอกสารได้ ผู้สนใจจดทะเบียนบริษัทสามารถสอบถามเพิ่มเติมตามที่อยู่ข้างล่าง เมื่อคุณได้จดทะเบียนเป็นบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัดเรียบร้อยแล้ว นิติบุคคลจะต้องไปขอเลขผู้เสียภาษีอากรจากรมสรรพากรซึ่งเป็นเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลักเพื่อใช้ในการยื่นภาษีต่อไป เมื่อทราบว่าการจดทะเบียนนิติบุคคลทำอย่างไรบ้าง หลายคนก็ยังมีข้อสงสัยต่อว่าควรจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือจดเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดดี หรือว่ายังไม่ควรจดทะเบียนนิติบุคคลเลย ไปจดเป็นทะเบียนพาณิชย์ก่อนดีไหม ผู้เขียนขอแยกประเด็นออกเป็นข้อๆเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้ คุณควรจดเป็นนิติบุคคลในกรณีที่คุณมีหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการถือหุ้น การแบ่งผลกำไร และความรับผิดชอบในหนี้สินต่างๆเพราะการจดทะเบียนพาณิชย์มีเจ้าของคนเดียว อาจจะเป็นข้อถกเถียงว่าจะใช้ชื่อใคร และต่อไปในอนาคตอาจมีปัญหาได้ กิจการที่ต้องติดต่อประมูลงานราชการหรือรับงานจากบริษัทใหญ่ๆทั้งในประเทศและบริษัทข้ามชาติ จำเป็นต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทมากกว่าการจดเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดเพราะจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า เนื่องจากบริษัทจำกัด จะต้องนำส่งงบการเงินที่ตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) ในขณะที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะถูกตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีภาษีอากรเท่านั้น กิจการที่มีการติดต่อนำเข้าและส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ จำเป็นต้องจดทะเบียนนิติบุคคลเพื่อประโยชน์ในทางภาษีและเพื่อให้ได้รับความเชื่อถือจากคู่ค้าต่างประเทศเพราะเป็นกิจการที่เป็น company limited กรณีนี้ก็ไม่ควรจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จากประเด็นต่างๆที่กล่าวมาแล้ว คุณคงพอตัดสินใจได้ว่าจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลดีหรือไม่ หรือจะดำเนินการไปก่อนสักพักให้มีลูกค้ามากขึ้นแล้วค่อยไปจดทะเบียนภายหลัง ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับหุ้นส่วนและความพร้อมในเงินลงทุนเพราะการจดเป็นนิติบุคคลมีภาระในเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นทุกปี เช่นค่าจัดทำบัญชี ค่าตรวจสอบบัญชี ค่าภาษีต่างๆ เป็นต้น
29 พ.ย. 2021
ธุรกิจสำหรับเจ้าของคนเดียว
เพื่อการจัดตั้งธุรกิจที่เหมาะสมกับตนเอง ผู้เริ่มต้นธุรกิจก็ควรมีความรู้ในเรื่องรูปแบบการจดทะเบียนธุรกิจ จากขั้นตอนเริ่มธุรกิจข้างบนเราได้ก้าวผ่านมาถึงขั้นตอนการเริ่มธุรกิจ (Start up)แล้ว ก่อนจะอธิบายถึงรูปแบบการจดทะเบียนของธุรกิจ อยากให้ผู้อ่านทราบว่าธุรกิจในประเทศเราแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆคือ ธุรกิจผลิต (Manufacturing Business) ธุรกิจซื้อขายสินค้าหรือซื้อมาขายไป (Merchandising Business) ธุรกิจบริการ (Services Business) ไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจประเภทไหนก็ตาม ก็ต้องมีรูปแบบการจดทะเบียนธุรกิจทั้งสิ้น ซึ่งในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่เป็น(SMEs) นี้ผู้เขียนจะขอแบ่งให้เข้าใจได้ง่ายๆเป็น 2 ลักษณะคือ บุคคลธรรมดา ที่เป็นเจ้าของคนเดียว นิติบุคคล ที่มีเจ้าของหลายคน การพิจารณาเลือกรูปแบบธุรกิจ ซึ่งในบทนี้เราจะกล่าวเฉพาะการจัดตั้งธุรกิจสำหรับบุคคลธรรมดา ที่เป็นเจ้าของคนเดียว โดยมีรูปแบบการจดทะเบียนได้ 2 รูปแบบคือ จดทะเบียนพาณิชย์ ผู้ประกอบการสามารถใช้ชื่อของตัวเองจดทะเบียนได้เลยหรือจะใช้ชื่อร้านที่ต้องการให้ลูกค้าจดจำได้ง่ายเป็นชื่อที่จดทะเบียนพาณิชย์ก็ได้ การเสียภาษีก็ไม่ต้องไปขอเลขผู้เสียภาษี ให้ใช้เลขบัตรประชาชนของผู้จดได้เลย กิจการค้าที่เป็นบุคคลธรรมดา(เจ้าของคนเดียว) ต้องจดทะเบียนพาณิชย์มีดังนี้ 1. ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร 2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป 3. นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป 4. ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป 5. ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับ จำนำ และการทำโรงแรม 6. ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิตัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง 7. ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี 8. ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 9. บริการอินเทอร์เน็ต 10. ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย 11. บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 12. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต 13. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ 14. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์ 15. การให้บริการตู้เพลง 16. โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง ** ผู้สนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=373 อย่างไรก็ตามยังมีบางกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่ 1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย 2. พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล 3. พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น 4. พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม 5. พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ 6. พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515 (คือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) จากกิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กที่เป็น พ่อค้าเร่ พ่อค้ารถเข็น หรือเป็นพ่อค้าแผงลอยตามตลาดนัด ก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนพาณิชย์ก็ได้ ทั้งนี้รวมไปถึงกลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้วย จดทะเบียนพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์ เป็นการจดทะเบียนสำหรับผู้ที่ทำการค้าอยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือมีร้านค้าออนไลน์นั่นเอง ปัจจุบันคนรุ่นใหม่นิยมซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตมากขึ้นทำให้มีผู้ประกอบการจำนวนมากที่เปิดร้านค้าอยู่บนเว็บไซค์ทั้งของตนเองและฝากขายกับเว็บผู้อื่น ดังนั้นผู้ประกอบการที่ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตควรมีความรู้ว่ากิจการของตัวเองจำเป็นต้องจดทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ ซึ่งผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นจะเป็น บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทยเท่านั้นและประกอบกิจการขายในเชิงพาณิชย์โดยเป็นอาชีพปกติ ซึ่งกิจการที่ต้องจดทะเบียนมีดังนี้ 1. มีการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ บุคคลที่มีเว็บไซต์เพื่อทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการ 2. ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider) 3. ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting) 4. ให้บริการเป็นตัวกลางหรือตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Marketplace) สำหรับผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของคนเดียวมักเข้าข่ายกิจการในข้อ 1 ก็คือขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แต่ก็ไม่ต้องตกใจว่าต้องจดทะเบียนทุกรายไปแม้ว่าคุณจะมีเว็บไซค์ของตัวเองก็ตามเพราะยังมีการแบ่งว่าเว็บไซค์ประเภทไหนที่ต้องจดทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์บ้างได้แก่ 1. เว็บไซค์นั้นต้องมีระบบการสั่งซื้อ เช่น ระบบกรอกฟอร์ม ระบบตะกร้า มีระบบการชำระเงิน ออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ เช่น การโอนเงินผ่านระบบบัญชี การชำระด้วยบัตรเครดิต หรือ e-cash , e-wallet เป็นต้น 2. เว็บไซค์ที่มีระบบสมัครสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลหรืออื่น ๆ โดยมีการคิดค่าใช้จ่าย (ถือเป็นการขายบริการ) เช่น บริการข่าวสาร/บทความ/หนังสือ การรับสมัครงานผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น 3. เว็บไซค์ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการรับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้อื่น และมีรายได้จากการโฆษณานั้น 4. เว็บไซค์ที่รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ด้วยกัน หรือโฆษณาว่าเป็นผู้รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ เพราะถือว่าการออกแบบเว็บไซต์นั้นมีช่องทางการค้าปกติบนอินเทอร์เน็ต 5. เว็บไซต์ให้บริการเกมส์ออนไลน์ที่คิดค่าบริการจากผู้เล่น (เจ้าของเว็บไซต์ต้องจดทะเบียน) 6. เว็บไซต์ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่นให้ Download เกมส์เพลงริงโทน ภาพยนตร์ เป็นต้น ผู้ประกอบการที่มีร้านค้าและได้จดทะเบียนพาณิชย์ไว้แล้ว หากมีเว็บไซค์ซึ่งเป็นร้านค้าบนอินเตอร์เน็ตและมีตะกร้าให้ซื้อขายผ่านออนไลน์ได้ต้องจดทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่ม และต้องยื่นเสียภาษีรายได้ทั้งที่ร้านค้าตามทะเบียนพาณิชย์และร้านค้าทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ที่ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถไปดาวน์โหลดคู่มือการจดทะเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงพาณิชย์ได้ ที่นี่ Download ตอนนี้ผู้ประกอบการมือใหม่ก็คงทราบแล้วว่าตัวเองควรจดทะเบียนแบบไหน และควรจดทะเบียนหรือไม่จะเป็นแบบบุคคลธรรมดาแล้วยื่นเพียงภาษีรายได้ก็พอ จากประสบการณ์ที่ผ่านของผู้เขียนขอให้ความเห็นว่าผู้ประกอบการรายใหม่รายใดที่มีเงินลงทุนครั้งแรกไม่เกิน 100,000 บาท คาดว่าจะมียอดขายเดือนละไม่เกิน 20,000 บาท น่าจะเริ่มทำธุรกิจไปก่อนจนมียอดขายที่เติบโตขึ้น เมื่อจะขยายกิจการและลงทุนเพิ่มขึ้นค่อยมาพิจารณาถึงการจดทะเบียนพาณิชย์ ถ้าการลงทุนนั้นต้องลงทุนเงินจำนวนมากเพราะเป็นธุรกิจขนาดกลางแล้วก็อาจพิจารณาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็ได้ สำหรับผู้ที่มีการลงทุนตั้งแต่ 100,000 -500,000 บาทก็ควรพิจารณาว่าตัวเองจำเป็นต้องมีหน้าร้านไว้ขายของไหม จำเป็นต้องมีป้ายและชื่อที่หน้าร้านหรือไม่เพื่อให้กิจการดูดีน่าเชื่อถือขึ้น ถ้าคิดว่าจำเป็นต้องมีร้านค้าก็ควรจดทะเบียนพาณิชย์ไว้เลย หากคิดว่ายังไม่จำเป็นก็อาจจะรอให้ดำเนินการไปแล้วสัก 6-12 เดือนก่อน เพื่อจะทราบทิศทางธุรกิจว่าจะไปได้ดีไหม มีความมั่นคงหรือไม่ค่อยพิจารณาไปจดทะเบียนภายหลังก็ได้
29 พ.ย. 2021
กฏหมายการคุ้มครองผู้บริโภค
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
29 พ.ย. 2021
กฏหมายธุรกิจภาคการค้าและการบริการ
พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ. 2474 พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติการประกอบอาชีพงานก่อสร้าง พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติกควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551
29 พ.ย. 2021
กฏหมายธุรกิจภาคอุตสาหกรรม
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอก และการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530 พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560
29 พ.ย. 2021
กฏหมายธุรกิจทั่วไป
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอก และการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530 พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560
29 พ.ย. 2021
นิทรรศการแสดงสินค้าออนไลน์ Medical Creation Fukushima 2021 ครั้งที่ 17
นิทรรศการแสดงสินค้าออนไลน์ Medical Creation Fukushima 2021 ครั้งที่ 17 ผู้จัดงาน : รัฐบาลท้องถิ่นจังหวัดฟุคุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ระยะเวลาการจัดงาน : กันยายน 2564 - กุมภาพันธ์ 2565 กลุ่มเป้าหมาย : - ผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ และสินค้าเพื่อสุขภาพ - ผู้ผลิตที่มีเทคโนโลยี หรือ การบริการที่ต้องการนำเสนอ สิทธิประโยชน์จากการเข้าร่วม : - โอกาสในการพบคู่ค้าที่หลากหลายจากทั้งในและต่างประเทศ - โอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching)กับผู้ประกอบการญี่ปุ่นแบบตัวต่อตัว สมัครเข้าร่วมออกร้าน : https://fmdipa.jp/mcf/
29 พ.ย. 2021
ความหมายของคุณภาพสินค้า
เมื่อพูดถึงคำว่าคุณภาพสินค้า เราทุกคนจะหมายถึงผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่ดี ซึ่งความหมายของคุณภาพในความคิดของผู้ผลิตและผู้บริโภคอาจจะไม่ตรงกันเสียทีเดียวแต่ในทางวิชาการคุณภาพหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้งาน มีการออกแบบที่ดี มีความคงทน มั่นคง มีสภาพดี สามารถใช้และทำงานได้ตามหน้าที่ของผลิตภัณฑ์ และมีรายละเอียดเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด รวมทั้งมีรูปร่างสวยงาม เรียบร้อยน่าใช้ หรืออาจจะสรุปได้ว่า คุณภาพหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ดี ใช้งานได้ ทนทาน สวยงามเรียบร้อย และมีความปลอดภัยในการใช้งาน ความหมายของคุณภาพผลิตภัณฑ์โดยทั่วไปจะมองในแง่มุมด้านต่างๆดังนี้ ประสิทธิภาพการทำงาน คือ การที่ผลิตภัณฑ์ต้องสามารถใช้งานได้ตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ ความน่าเชื่อถือ คือ ความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต(ผู้ผลิตมีชื่อเสียงที่ดี) ว่าสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้ดีอย่างสม่ำเสมอ ความทนทาน คือ ผลิตภัณฑ์ควรมีอายุใช้งานที่ยาวนานในระดับหนึ่ง ไม่เสียง่ายจนเกินไป หรือไม่เสียจนใช้งานไม่ได้ก่อนเวลาอันสมควร ความสวยงาม คือ ผลิตภัณฑ์ต้องมีรูปทรง , ผิวสัมผัส , ลวดลาย , กลิ่น , รสชาติ , สีสัน รวมถึงรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามดึงดูดใจลูกค้า ความปลอดภัย คือ ผลิตภัณฑ์ควรมีความเสี่ยงอันตรายในการใช้น้อยที่สุด ความสอดคล้องกับมาตรฐาน คือ ผลิตภัณฑ์มีระดับคุณภาพที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ควรเป็นของสินค้า คุณสมบัติพิเศษ คือ มีความสามารถทำงานได้พิเศษเหนือไปจากหน้าที่ปกติของผลิตภัณฑ์ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งขัน คุณค่าที่รับรู้ คือ ผลิตภัณฑ์และผู้ผลิต มีภาพพจน์ที่ดีในสายตาลูกค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่น เชื่อถือในผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมา การบริการหลังการขาย คือ การดูแลลูกค้าต่อหลังการซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น รถยนต์ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องมีการให้บริการหลังการขาย เช่น การซ่อมบำรุงตามอายุการใช้งาน หรือการให้คำแนะนำในการใช้งาน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ จากความหมายของคุณภาพตามที่อธิบายข้างต้น จะเห็นได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีในสายตาของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคคือ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้ดี คงทน สวยงาม ปลอดภัยในการใช้งาน และมีมาตรฐาน แต่ในส่วนของผู้บริโภคจะเพิ่มมุมมองในด้านราคาเป็นปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อ ราคาทำให้สามารถตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น และเมื่อได้ใช้งานผลิตภัณฑ์จะทำให้เกิดการประเมินคุณภาพหลังการใช้งาน หากคุณภาพดีกว่าที่คาดหวังไว้จะทำให้เกิดเป็นความประทับใจ และจดจำตราสินค้าหรือชื่อผู้ผลิต จนเกิดเป็นการซื้อซ้ำเป็นลูกค้าประจำ และอาจจะช่วยบอกต่อให้เพื่อนๆหรือญาติพี่น้องซื้อตามด้วย โดยเฉพาะในในปัจจุบันที่โลกสังคมออนไลน์ เข้าถึงได้ง่าย และถูกใช้เป็นพื้นที่ในการบอกเล่าความนึกคิด ความรู้สึกต่างๆ ทั้งในด้านดีและด้านไม่ดี หากลูกค้าไม่พอใจคุณภาพสินค้าของเรา อาจจะไปเขียนต่อว่า หรือบรรยายความไม่พอใจในสังคมออนไลน์ โดยไม่ยอมติดต่อกลับมาบอกเราโดยตรง ทั้งที่เราอาจจะมีศูนย์ให้บริการรับข้อร้องเรียน (Call center) ก็ตาม ซึ่งในสังคมออนไลน์มักจะมีผู้คนเข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็นต่อๆกันไปเป็นวงกว้าง หากทางเราในฐานะผู้ผลิตไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดในทันที ก็ยิ่งทำให้ภาพพจน์ของสินค้าเสียหาย และข้อมูลที่ไม่ใช่ความจริงจะถูกส่งต่อกันต่อเนื่องไป ดังนั้นความหมายของคุณภาพในฐานะของผู้ผลิตสินค้า จึงไม่ใช่เพียงแค่ผลิตสินค้าที่ดีเท่านั้น แต่ยังต้องมีความรับผิดชอบต่อลูกค้าหรือผู้บริโภคที่นำสินค้าไปใช้ ให้ได้รับสินค้าที่มีคุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม และมีความปลอดภัยในการใช้งาน ร่วมถึงต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่จะไม่ปล่อยมลภาวะออกสู่ภายนอก
29 พ.ย. 2021