Category
“รสอ.สุรพล” ร่วมประชุมกับคณะอนุฯ ของบปี 69 เน้นยกระดับทักษะ ผปก.ไทย รับเศรษฐกิจใหม่ ตามนโยบาย “อธิบดีณัฏฐิญา”
กรุงเทพฯ 24 เมษายน 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายพลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน (กง.กสอ.) เข้าร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการศึกษาการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ CB 401 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา โดยมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมเข้าประชุมด้วย ในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาคำของบประมาณด้านการพัฒนาทักษะ (Reskill) และการส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อรวบรวมข้อมูลสำหรับการศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำรายงานเสนอรัฐสภา โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) ได้เสนอคำของบประมาณโครงการพัฒนาทักษะ ความรู้ และศักยภาพของประชาชนทั่วไปและผู้ประกอบการ มุ่งเน้นการ ยกระดับทักษะเดิม (Upskill) สร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นต่อการทำงาน (Reskill) และทักษะใหม่ที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมยุคใหม่ (New Skill) ทั้งนี้ กรมฯ ยังได้เสนอแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมเดิมสู่เศรษฐกิจใหม่ ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของอธิบดีณัฏฐิญา เนตยสุภา
28 เม.ย. 2025
“ดีพร้อม” ร่วมประชุมคณะกรรมการจริยธรรมฯ มุ่งส่งเสริมการสร้างคุณธรรม จริยธรรมในองค์กรให้ยั่งยืน ผลักดันการทำงานด้วยความซื่อสัตย์โปร่งใสตาม "นโยบาย รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 24 เมษายน 2568 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการจริยธรรม ประจำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2568 ร่วมด้วย นางบุญเจือ วงษ์เกษม และนายเพทาย ล่อใจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และนายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมี นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกรรมการประชุม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ถนนพระรามที่ 6 การประชุมครั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พร้อมแจ้งที่ประชุมทราบ เรื่อง คำสั่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่มีการแต่งตั้งนางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นผู้บริหารด้านการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม (Chief Ethic Promotion Officer - CEPO) แทนนายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากครบเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567 และคัดเลือกนายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นกรรมการของคณะกรรมกรรมการจริยธรรม ประจำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แทนนายวัชรุน จุ้ยจำลอง ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณารายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2567 - มีนาคม 2568)โดยมีกิจรรม/โครงการที่ต้องดำเนินการตามแผนทั้งสิ้น 22 กิจกรรม ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จ 11 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 50 ของแผนฯ อาทิ กิจกรรมเชิดชูคนดี ศรี กสอ. กิจกรรมรางวัลอุตสาหกรรม 2567 กิจกรรมประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อนการเป็นองค์กรคุณธรรม 2568 เป็นต้น โดยกิจกรรมตามแผนฯ มุ่งเน้นสร้างเสริมและยกระดับคุณธรรม จริยธรรมให้กับบุคลากรทุกระดับ และสร้างสภาพแวดล้อมขององค์กรให้ดีพร้อม ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มุ่งปฏิรูปดีพร้อมให้เป็นองค์กรที่ทำงานด้วยความสะอาด โปร่งใส ทั้งนี้ ที่ประชุมให้ข้อสังเกตและเสนอแนะแนวทางการดำเนินกิจกรรม "DIPROM จิตอาสาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สังคม และสิ่งแวดล้อม แนวกันไฟป่า” โดยมอบหมายให้ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคทั้ง 11 ศูนย์ของดีพร้อม เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการ และมีหน่วยงานส่วนกลางเป็นหน่วยร่วม เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการทำงานจิตอาสาเพื่อสังคม และส่งเสริมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ดีพร้อม นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้เน้นย้ำให้มีการดำเนินกิจกรรมการขับเคลื่อนคุณธรรม จริยธรรมขององค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน และสร้าง DNA ด้านคุณธรรม จริยธรรมให้บุคลากรของดีพร้อม รวมถึงให้นำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนวทางมาตรฐานองค์กรแห่งความสุข (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) ไปสอดแทรกการดำเนินงานร่วมกับสถานประกอบการและหน่วยงานภายในองค์กร เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์การประเมินองค์กรคุณธรรม
25 เม.ย. 2025
ดีพร้อม เร่งยกระดับบุคลากร "Front Desk" สู่การเป็นผู้วินิจฉัยสถานประกอบการ มุ่งขับเคลื่อนธุรกิจอุตสาหกรรมไทยให้เติบโต ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 22 เมษายน 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "ทักษะการวินิจฉัยสถานประกอบการและการให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น" โดยมีนายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ร่วมด้วยวิทยากรและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ณ ห้องโมโนเคิล ชั้น 1 โรงแรมกราฟ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "ทักษะการวินิจฉัยสถานประกอบการและการให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น" เป็นหนึ่งกลไกในการดำเนินงานของ "ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม หรือ DIPROM BSC" โดยมีวัตถุประสงค์ให้บุคลากรได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ที่จำเป็น อาทิ ด้านการเงิน การบัญชี และการตลาด เพื่อสามารถเป็น Front Desk หรือหน้าต่างบานแรกในการให้บริการของดีพร้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ของผู้ประกอบการที่เข้ามาขอรับบริการในด้านต่าง ๆ ทั้งกระบวนการผลิตและการดำเนินธุรกิจ ผ่านการให้คำแนะนำด้วยทักษะการวินิจฉัยสถานประกอบการที่แม่นยำ ซึ่งจะต้องมีทักษะในการเชื่อมโยงพื้นฐานองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานประกอบการนั้น ๆ ร่วมกับข้อมูลภาพรวมทางเศรษฐกิจ เพื่อให้คำแนะนำในการประกอบธุรกิจที่เหมาะสม เช่น ผลกระทบด้านต้นทุนจากการส่งออกนำเข้า หรือการปรับตัวจากผลกระทบต่อเนื่องจากธุรกิจในประเทศคู่แข่งที่เป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชน ทั้งนี้ การนำองค์ความรู้มาใช้ในการวินิจฉัยสถานประกอบการ จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนให้เกิดระบบมาตรฐาน ผลิตภาพ และนวัตกรรมให้ไปในทิศทางเดียวกัน จึงจำเป็นที่ต้องมีความเข้าใจระบบการทำงานภายในของธุรกิจหรือโรงงาน ทั้งด้านแรงงาน บุคลากร และเครื่องจักรในการผลิต เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับกำหนดแนวทางการส่งเสริม สนับสนุน หรือพิจารณาให้ความช่วยเหลือสถานประกอบผ่านโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของดีพร้อม เช่น ด้านโลจิสติกส์ ด้านความยั่งยืน ด้านการพัฒนาเชิงธุรกิจ เป็นต้น รวมถึงการนำเครื่องมือสมัยใหม่ เช่น AI และ IoT เข้ามาช่วยในการวินิจฉัยและให้คำปรึกษา ตลอดจนการพัฒนาแนวทางการทำงานในรูปแบบ "คอมมูนิตี้" ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ตามกรอบนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ นาวสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้กลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ซึ่งเป็นการผนึกเครื่องมือที่จำเป็นมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิดการเติบโต สามารถสร้างรายได้ในการดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนสอดคล้องกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
25 เม.ย. 2025
“รสอ.ดวงดาว” ติดตามการขับเคลื่อน การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) แผนปฏิบัติการด้านป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และแผนบริหารความเสี่ยงการทุจริต ประจำปี 68
กรุงเทพฯ 23 เมษายน 2568 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะทำงานการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA) และขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ และแผนบริหารความเสี่ยงการทุจริต กสอ. ครั้งที่ 2/2568 พร้อมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว ฝ่ายเลขานุการคณะทำงานฯ ได้มีการรายงานความคืบหน้าการดำเนินการในส่วนของการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment: OIT) ให้ที่ประชุมได้รับทราบ ซึ่งได้มีการมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและอัพโหลดขึ้นเว็บไซต์ เพื่อเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนและผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการคัดเลือกโครงการที่เป็นการดำเนินงานตามภารกิจหลักของดีพร้อม เพื่อดำเนินการจัดเก็บข้อมูลการประเมินแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment : EIT) ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กำหนด รวมทั้งมีการรายงานแผนการประเมินความเสี่ยงการทุจริต ทั้ง 4 ประเด็น ได้แก่ 1) การอนุมัติ อนุญาต ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 2) การใช้อำนาจตามกฎหมายหรือการให้บริการตามภารกิจ 3) การจัดซื้อจัดจ้าง และ 4) การบริหารงานบุคคล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ซึ่งที่ประชุมได้รับทราบและมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะทำงานฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามมติที่ประชุม เพื่อยกระดับผลการประเมิน ITA ของดีพร้อม ให้เป็นไปตามเป้าหมาย รวมถึงสร้างความความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอนการปฏิบัติงาน ซึ่งสอดรับตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มุ่งปฏิรูปดีพร้อมให้เป็นองค์กรที่ทำงานด้วยความสะอาด โปร่งใส และเปิดเผยข้อมูลได้
25 เม.ย. 2025
“รสอ.ดวงดาว” เปิดงาน “JGAB 2025” เวทีอัญมณีและเครื่องประดับอาเซียน ค้นหาดีไซน์เนอร์หน้าใหม่ ผลักดันไทยสู่ศูนย์กลางการค้าและการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับระดับโลก ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 23 เมษายน 2568 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน Jewellery & Gem ASEAN Bangkok 2025 (JGAB 2025) งานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับแห่งภูมิภาคอาเซียน โดยมี นายมนู เลียวไพโพจน์ ประธาน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย นายอภิชิต ประสพรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นางอภิรดี ขาวเธียร รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ ฮอลล์ 5-7 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ งาน Jewellery & Gem ASEAN Bangkok 2025 คือ เวทีระดับอาเซียนที่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับให้เติบโตอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการเชื่อมโยงตลาดระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการรวมตัวครั้งสำคัญของผู้ผลิต ผู้ออกแบบ ผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลก โดยมีผู้ประกอบการชั้นนำจากหลากหลายประเทศร่วมออกงานแสดงสินค้ารวมกว่า 400 บริษัท จาก 15 ประเทศ อาทิ จีน ฮ่องกง อินเดีย อิตาลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และตุรกี เป็นต้น นับเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนและผู้ประกอบการได้พบปะเจรจาธุรกิจ สร้างโอกาสในการเติบโตและขยายธุรกิจ นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ได้มีโอกาสแสดงศักยภาพสินค้าที่ผลิตโดยฝีมือคนไทยให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับนานาชาติ สามารถเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างรายได้และสร้างโอกาสให้กับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม ไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ “ดีพร้อม” เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาขาอุตสาหกรรมซอฟท์พาวเวอร์ด้านแฟชั่น ผ่านการพัฒนาและสร้างทักษะ (Up-Re Skill) ที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ การบริหารจัดการ รวมถึงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการเชื่อมโยงเครือข่ายและสามารถสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับจัดตั้งและยกระดับธุรกิจแฟชั่น ซึ่งสอดรับกับนโยบาย "ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้" ของนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอีกด้วย งาน Jewellery & Gem ASEAN Bangkok 2025 มีกิจกรรม hi light ที่น่าสนใจมากมาย อาทิ - การสัมมนาระดับนานาชาติที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญ นักวิเคราะห์การตลาด และผู้ประกอบการชั้นนำ เพื่อร่วมกันวิเคราะห์และเจาะลึกแนวโน้มธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับในอนาคต ตลอดจนกำหนดกลยุทธ์การทำตลาดดิจิทัล และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น AI และ Blockchain ที่เข้ามามีบทบาทในการซื้อขายอัญมณีและเครื่องประดับ - The ASEAN’s Masterpieces Gallery การจัดนิทรรศการพิเศษที่นำเสนอผลงานเครื่องประดับอันล้ำค่าจากทั่วอาเซียน สะท้อนเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และงานฝีมืออันประณีต - The Next Gem Awards 2025 เวทีเฟ้นหานักออกแบบเครื่องประดับรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ ให้ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานสู่ตลาดระดับโลก นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมแฟชั่นโชว์เครื่องประดับสุดอลังการ เพื่อถ่ายทอดศิลปะและความงดงามผ่านเครื่องประดับที่สะท้อนวัฒนธรรมและแนวโน้มแฟชั่นแห่งอนาคต โดยงาน Jewellery & Gem ASEAN Bangkok 2025 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 - 26 เมษายน 2568 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ คาดการณ์ว่า ปีนี้จะมีนักธุรกิจและผู้ประกอบการผลิตและออกแบบในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับให้ความสนใจเข้าร่วมงานมากกว่า 10,000 ราย และคาดว่าจะสามารถเกิดการเจรจาทางธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการจากทั่วโลกและเกิดการซื้อขายต่อไปในอนาคต
25 เม.ย. 2025
“ดีพร้อม” หารือ “เมืองโยโกฮาม่า” เตรียมกระชับความร่วมมือ ส่งเสริมผู้ประกอบการไทย-ญี่ปุ่น มุ่งเน้น  "Decarbonization (การลดคาร์บอน)" และ "Biofuel Vehicles (ยานยนต์เชื้อเพลิงชีวภาพ)" ส่งเสริมอุตสาหกรรม BCG ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏฯ
กรุงเทพฯ 23 เมษายน 2568 - นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมาย จากนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมหารือร่วมกับคณะผู้บริหารจากเมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น นำโดย นายโอริอิ เรียวอิจิโระ ผู้อำนวยการสำนักงานต่างประเทศ พร้อมคณะทำงานจากเมืองโยโกฮาม่า ร่วมด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อมที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อหารือถึงทิศทางการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น และเป็นการสานต่อความสัมพันธ์อันดี ระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กับเมืองโยโกฮาม่า โดยได้มีการกล่าวถึงประเด็นความร่วมมือเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยั่งยืน ภายใต้แนวคิด "Decarbonization" ที่สอดรับตาม BCG Economy Model และสอดคล้องกับทิศทางของโลก อีกทั้งสามารถเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve Industries) และอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น รวมถึงแนวคิดของ รัฐบาลญี่ปุ่นในการผลักดันให้ผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่นผลิตและใช้ “ยานยนต์เชื้อเพลิงชีวภาพ” (Biofuel Vehicles) โดย “ดีพร้อม” หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเกิดความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่สอดรับและเกี่ยวข้องใน Supply Chain นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือถึงแนวทางในการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมในมิติอื่น ๆ อาทิ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในเรื่องของระบบการกำจัดกากอุตสาหกรรม ซึ่งประเทศญี่ปุ่นได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้ความสำคัญ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและอยู่กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน ตามนโยบาย "สู้ เซฟ สร้าง" ภายใต้แนวทาง "ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดย “ดีพร้อม” ได้ขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวผ่านการส่งเสริม สนับสนุนให้ SMEs มีการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีมาตรฐานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้กลไกต่าง ๆ ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้ ของนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
24 เม.ย. 2025
“อธิบดีณัฏฐิญา” ระดมทีมดีพร้อม เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 68 พร้อมเดินเกมรุก! ยกระดับอุตสาหกรรมเต็มกำลัง ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 21 เมษายน 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมผู้บริหาร กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ครั้งที่ 96 - 3/2568 พร้อมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ และนายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พระรามที่ 6 (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว มีการรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณและผลการดำเนินงานโครงการของหน่วยงานในไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีการเน้นย้ำขอให้แต่ละหน่วยงานติดตามเร่งรัดการดำเนินงานโครงการให้เป็นไปตามแผน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการใช้จ่ายงบประมาณ พร้อมทั้งขอให้เตรียมการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 สำหรับใช้ประกอบการชี้แจงงบประมาณฯ ในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ นอกจากนั้น ที่ประชุมได้ให้แต่ละหน่วยงานรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการสำคัญตามนโยบาย อาทิ การดำเนินงานโครงการ Soft Power ในอุตสาหกรรมแฟชั่นและอาหาร ความคืบหน้าการเข้าร่วมจัดนิทรรศการแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมสู่ตลาดโลกในงาน Expo 2025 Osaka Kansai และความคืบหน้าการเตรียมการจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์ ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมกับกระทรวงคมนาคมในการจัดงานมหกรรมสินค้า โดยเครือสหพัฒน์จะร่วมนำสินค้าอุปโภคบริโภคมาจัดจำหน่ายในราคาประหยัด ร่วมกับ SMEs /OTOP จะนำสินค้ามาจำหน่าย เป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการและกระตุ้นเศรษฐกิจ สอดรับกับนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่เน้นการปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ให้ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส เพื่อสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SMEs ไทย นอกจากนี้ “อธิบดีณัฏฐิญา” ได้ติดตามเรื่องการปรับปรุงการดำเนินงานของเงินทุนหมุนเวียน เพื่อให้มีความเข้มแข็งและสามารถเป็นแหล่งทุนในการสนับสนุนผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ การติดตามรายงานการตรวจสอบอาคารและแนวทางการปรับเสริมกำลัง (สล.กสอ.) โครงสร้างอาคารของดีพร้อม พระรามที่ 6 (DIPROM Headquarter) และพระรามที่ 4 (DIPROM Rama IV Campus) รวมทั้งความคืบหน้าการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการจัดเก็บข้อมูลผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรม การแจ้งเตือน และรายงานสถานะการจัดซื้อจัดจ้างภายใต้โครงการ Soft Power ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ทำให้สามารถติดตามและควบคุมการเร่งรัดเบิกงจ่ายงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการปฏิรูปการดำเนินงานของดีพร้อมให้รองรับการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อีกด้วย
24 เม.ย. 2025
“รสอ.ดวงดาว" ร่วมประชุมบอร์ดสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ วิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงเพื่อกำหนดแผนการดำเนินงานด้านอัญมณีและเครื่องประดับไทย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมตามนโยบายของ "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 22 เมษายน 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2568 โดยมีคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว มีการรายงานให้ที่ประชุมให้ทราบเกี่ยวกับสถานการณ์การนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีมูลค่าการนำเข้า 4,768.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีการนำเข้าสินค้าหลัก คือ ทองคำ รองลงมา คือ เครื่องประดับแท้ พลอยสี เพชรเจียระไน และโลหะเงิน ในด้านมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นมูลค่า 6,133.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตลาดสำคัญในการส่งออกของไทย ได้แก่ อินเดีย สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และอิตาลี โดยปัจจัยบวกส่งเสริมการส่งออก คือ ความต้องการบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลสำคัญ และความนิยมพลอยสีทั้งพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนเพิ่มมากขึ้น ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม คือ การปรับเปลี่ยนนโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกา ซึ่งการขึ้นภาษีนำเข้าอาจทำให้ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไปยังสหรัฐอเมริกาได้ลดลง ในขณะที่ความผันผวนของราคาทองคำ ซึ่งมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อความต้องการ ทั้งนี้ มีการรายงานให้ที่ประชุมทราบข้อมูลรายได้จากผลการดำเนินงานประจำเดือนมีนาคม 2568 ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นรายได้ที่มาจากค่าบริการการตรวจสอบอัญมณี การตรวจสอบโลหะ และการฝึกอบรม เป็นหลัก นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้ร่วมกันพิจารณาผลการดำเนินงานของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ตามข้อกำหนดของสำนักงาน ก.พ.ร. รอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2567 - มีนาคม 2568) โดยประเมินจากการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1. การยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมอัญมณี โลหะมีค่าและเครื่องประดับของประเทศไทยให้ครอบคลุมด้านธรรมาภิบาลและความยั่งยืน 2. การส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาต่อยอดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทย 3. การเป็นศูนย์กลางความร่วมมือของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในตลาดโลก 4. การเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านอัญมณีและเครื่องประดับของไทยอย่างครบวงจร และ 5. การพัฒนาไปสู่องค์กรดิจิทัลที่มีสมรรถนะสูงและเสริมสร้างภาพลักษณ์ความเป็นมืออาชีพขององค์กรไปสู่ระดับสากล รวมทั้งมีการพิจารณาการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ เพื่อให้การดำเนินงานด้านอัญมณีและเครื่องประดับไทย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรม ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
24 เม.ย. 2025
“ดีพร้อม” ร่วมประชุมคณะกรรมการจริยธรรมฯ มุ่งส่งเสริมการสร้างคุณธรรม จริยธรรมในองค์กรให้ยั่งยืน ผลักดันการทำงานด้วยความซื่อสัตย์โปร่งใสตาม "นโยบาย รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 24 เมษายน 2568 – นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการจริยธรรม ประจำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2568 ร่วมด้วย นางบุญเจือ วงษ์เกษม และนายเพทาย ล่อใจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมีนายอาทิตย์ วุฒิคะโร อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกรรมการประชุม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ถนนพระรามที่ 6 การประชุมครั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พร้อมแจ้งที่ประชุมทราบ เรื่อง คำสั่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่มีการแต่งตั้งนางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นผู้บริหารด้านการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม (Chief Ethic Promotion Officer - CEPO) แทนนายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากครบเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567 และคัดเลือกนายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นกรรมการของคณะกรรมกรรมการจริยธรรม ประจำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แทนนายวัชรุน จุ้ยจำลอง ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณารายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รอบ 6 เดือน (ตุลาคม 2567 - มีนาคม 2568)โดยมีกิจรรม/โครงการที่ต้องดำเนินการตามแผนทั้งสิ้น 22 กิจกรรม ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จ 11 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 50 ของแผนฯ อาทิ กิจกรรมเชิดชูคนดี ศรี กสอ. กิจกรรมรางวัลอุตสาหกรรม 2567 กิจกรรมประกาศเจตนารมณ์ขับเคลื่อนการเป็นองค์กรคุณธรรม 2568 เป็นต้น โดยกิจกรรมตามแผนฯ มุ่งเน้นสร้างเสริมและยกระดับคุณธรรม จริยธรรมให้กับบุคลากรทุกระดับ และสร้างสภาพแวดล้อมขององค์กรให้ดีพร้อม ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มุ่งปฏิรูปดีพร้อมให้เป็นองค์กรที่ทำงานด้วยความสะอาด โปร่งใส ทั้งนี้ ที่ประชุมให้ข้อสังเกตและเสนอแนะแนวทางการดำเนินกิจกรรม "DIPROM จิตอาสาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สังคม และสิ่งแวดล้อม แนวกันไฟป่า” โดยมอบหมายให้ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคทั้ง 11 ศูนย์ของดีพร้อม เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการ และมีหน่วยงานส่วนกลางเป็นหน่วยร่วม เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการทำงานจิตอาสาเพื่อสังคม และส่งเสริมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ดีพร้อม นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ได้เน้นย้ำให้มีการดำเนินกิจกรรมการขับเคลื่อนคุณธรรม จริยธรรมขององค์กรอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน และสร้าง DNA ด้านคุณธรรม จริยธรรมให้บุคลากรของดีพร้อม รวมถึงให้นำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนวทางมาตรฐานองค์กรแห่งความสุข (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) ไปสอดแทรกการดำเนินงานร่วมกับสถานประกอบการและหน่วยงานภายในองค์กร เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์การประเมินองค์กรคุณธรรม
24 เม.ย. 2025
ผู้บริหาร
นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดี กรมส่งเสริมอุตสาหรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดี กรมส่งเสริมอุตสาหรรม นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดี กรมส่งเสริมอุตสาหรรม นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดี กรมส่งเสริมอุตสาหรรม นายวีระพล ผ่องสุภา เลขานุการกรม สำนักงานเลขานุการกรม นายเจษฎา ถาวรศักดิ์ ผู้อำนวยการ กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม นางเกษราภรณ์ โกวิทลวากุล ผู้อำนวยการ กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม นายมนตรี วงศ์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการ กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นายพลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการ กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน นางสาวนันท์ บุญยฉัตร ผู้อำนวยการ กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ นางสาวอังสนา โสมาภา ผู้อำนวยการ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการ กองโลจิสติกส์ นายวรวิทย์ จิรัฐิติเจริญ ผู้อำนวยการ กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายกิตติโชติ ศุภกำเนิด ผู้อำนวยการ กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม นางณัฐนภัสสร์ บุญญกูล ผู้อำนวยการ กลุ่มตรวจสอบภายใน นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 นางสาวนิจรินทร์ โอภาสเสถียร ผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 นางเกษสุดา ดอนเมือง ผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 นายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 นางสาวจินดา ธนาดำรงค์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 นางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นางสาววรรณี พุฒแก้ว ผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 นายนพดล อุ่มน้อย รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
24 เม.ย. 2025