“อธิบดีณัฐพล” เข้าร่วมพิธีบวรสรวงฯ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา อก. ครบรอบ 80 ปี
กรุงเทพฯ 5 พฤษภาคม 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมพิธีถวายเครื่องบวงสรวงองค์พระนารายณ์และศาลพระภูมิ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงอุตสาหกรรม ครบรอบ 80 ปี โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธาน ร่วมด้วย นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และพนักงานกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมพิธีดังกล่าว ณ กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
05 พ.ค. 2565
“อธิบดีณัฐพล” ประชุมมาตรการปฏิบัติงานและการป้องกันโควิด-19 ประจำเดือนพฤษภาคม 65
กรุงเทพฯ 1 พฤษภาคม 2565 – ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมชี้แจงการกำหนดมาตรการปฏิบัติงานและการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำเดือน พฤษภาคม 2565 ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสากรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมในครั้งนี้ ประธานได้แจ้งประเด็นสำคัญพร้อมขอความร่วมมือในการปฏิบัติงานและการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประกอบด้วย 1) ให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติงาน ณ สถานที่ตั้งของหน่วยงานดีพร้อม และยกเลิกการปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัย (Work from Home) โดยแต่ละหน่วยงานสามารถกําหนดวิธีการลงเวลาการปฏิบัติราชการได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องมีหลักฐานสําหรับการตรวจสอบวันเวลาการปฏิบัติราชการ 2) กรณีมีอาการที่เข้าเกณฑ์การสอบสวนโรคและสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ หรือมีความเสี่ยงสูง แต่มีผลตรวจ ATK เป็นลบ ให้ลาป่วยเพื่อรักษาตัวอย่างน้อยเป็นเวลา 5 วัน โดยห้ามไม่ให้เข้าสถานที่ตั้งของหน่วยงานดีพร้อม หรือสถานที่ปฏิบัติงานในภารกิจของดีพร้อม จนกว่าจะหายป่วย และให้ตรวจ ATK ในวันที่ 5 หากกรณีไม่มีอาการ หรือได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าไม่เป็นโรคฯ และผลตรวจ ATK ออกมาเป็นลบ ให้กลับมาทำงานได้ ทั้งนี้ หากกรณีครบ 5 วัน ผลตรวจ ATK เป็นลบ แต่อาการป่วยยังไม่หายให้ลาป่วยต่อไป จนกว่าจะหาย ทั้งนี้ ให้ตรวจ ATK ในวันที่ 10 อีกครั้ง 3) กรณีสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ หรือมีความเสี่ยงสูง ให้ตรวจ ATK ทันที ซึ่งหากผลเป็นลบ ให้มาปฏิบัติงานตามปกติ พร้อมทั้งสังเกตอาการและให้ทำการตรวจ ATK ซ้ำในวันที่ 5 อีกครั้ง 4) ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด สวมหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน งดสังสรรค์ และงดเข้าพื้นที่เสี่ยง 5) ให้เจ้าหน้าที่ดีพร้อมทุกท่านติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฯ และข่าวสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้ปฏิบัติตามคำสั่งการนายกรัฐมนตรี ประกาศ หรือคําสั่งของกระทรวงสาธารณสุข ประกาศหรือคําสั่งของผู้ว่าราชการต่าง ๆ รวมท้ังมาตรการที่ กสอ. กําหนดโดยเคร่งครัด 6) สําหรับหลักเกณฑ์การสอบสวนโรค การลาป่วย การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดของโรค (Cluster) การแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อของเจ้าหน้าที่ในสังกัด ดีพร้อม และการดําเนินกิจกรรมผ่านระบบทางไกล (Teleconferencing) หรือการใช้รูปแบบออนไลน์อื่น ๆ ให้เป็นไปตามบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด ที่อก 0401/ว 313 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2565 และ 7) หากมีเจ้าหน้าที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคฯ ต้องรายงานข้อมูลทันทีและรายละเอียด (timeline) เกี่ยวกับสาเหตุที่ติดเชื้อ หรือคาดว่าจะติดเชื้อ และความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นในหน่วยงานเป็นระยะเวลาสิบสี่วันย้อนหลัง ทั้งนี้ ให้ลงรายละเอียดของสาเหตุการตรวจ ATK ซึ่งได้ผลแปรค่าออกมาเป็นบวกด้วย ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
03 พ.ค. 2565
“ดีพร้อม” ลงพื้นที่สุโขทัย เดินหน้านโยบาย “ดีพร้อมแคร์” ปักธงยกระดับฐานรากและสินค้าชุมชน มุ่งคืนรายได้สู่ท้องถิ่น
จ.สุโขทัย 1 พฤษภาคม 2565 - นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้เกียรติแถลงข่าวร่วมกับ ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในพิธีเปิดโครงการ “DIPROM ยกระดับสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก นำสู่รายได้คืนถิ่นชุมชน” (สุโขทัย) พร้อมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุชาติ ทีคะสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงานและวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ณ อำเภอเมืองสุโขทัย โครงการ “DIPROM ยกระดับสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก นำสู่รายได้คืนถิ่นชุมชน” เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย “ดีพร้อมแคร์” ในรูปแบบของการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาสินค้าชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ เสริมทักษะการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ เป็นการนำร่องพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท สงขลา และชลบุรี โดยการเลือกจังหวัดสุโขทัยให้เป็นหนึ่งในจังหวัดนำร่องของโครงการฯ เนื่องด้วยเล็งเห็นถึงศักยภาพและการมีจุดแข็งของต้นทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีชื่อเสียง ให้สามารถเกิดการพัฒนาต่อยอด สร้างอัตลักษณ์ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจจากสินค้าและบริการการท่องเที่ยว ซึ่งการฝึกอบรมดังกล่าวจะจัดขึ้นในพื้นที่ อำเภอเมืองสุโขทัย และอำเภอคีรีมาศ โดยจะถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ พร้อมการจัดฝึกอบรมการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ การเพาะเห็ดนางฟ้า การทำน้ำพริกจากเห็ด การทำไข่เค็ม การทำเจลแอลกอฮอล์ การทำสบู่ก้อน การทำน้ำยาล้างจาน ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 400 คน ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
02 พ.ค. 2565
ดีพร้อม ลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการแปรรูปกล้วยและมะม่วงจากแหล่งผลิตพันธุ์ดีของสุโขทัย
จ.สุโขทัย 30 เมษายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เยี่ยมชม บริษัท ฟาเธอร์แมน กรุ๊ป จำกัด โดยมี นางสาวรจเรข ทองมา เจ้าของธุรกิจ ให้การต้อนรับพร้อมสรุปภาพรวมของบริษัทฯ ณ ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย บริษัท ฟาเธอร์แมน กรุ๊ป จำกัด คือ ผู้แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง และ มะม่วงพันธุ์โชคอนันต์ เป็นหลัก โดยกระบวนการทอด (Deep fried) และ กระบวนการอบแห้ง (Dehydrate) โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Parabola Dome) และ ตู้อบลมร้อน (Tray Dried) ภายใต้แบรนด์ “อันนา” บนความตั้งใจให้เป็นแบรนด์ของสุโขทัย มุ่งเน้นผลิตสินค้าที่คัดสรรวัตถุดิบจากแหล่งผลิตที่ดีที่สุดของสุโขทัย พร้อมสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้น ดีพร้อม ได้ส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านกิจกรรมยกระดับมาตรฐานและเพิ่มผลิตภาพการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร (Standardization for SMES) ส่งผลให้ทางบริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล GHP และ HACCP ทั้งนี้ อธิบดีณัฐพล ได้รับฟังภาพรวมการดำเนินงานของบริษัทฯ พร้อมเสนอแนะโครงการของดีพร้อมให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมได้แก่ โครงการดีพร้อม จีเนียส อะคาเดมี (DIPROM Genius Academy) เพื่อพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการอัจฉริยะ นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทสามารถพัฒนาต่อยอดสินค้าแปรรูปเกษตรของตนเองได้ และโครงการสร้างเครือข่ายผู้นำพันธุ์ดีพร้อม (DIPROM Heroes) โดยให้ผู้นำทางธุรกิจที่มีแนวคิดการสร้างระบบนิเวศของการอยู่ร่วมกันของธุรกิจอุตสาหกรรมและชุมชน เป็นการทำงานร่วมกันในการพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการและชุมชนอยู่ร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้สามารถขับเคลื่อนประเทศให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
02 พ.ค. 2565
"อธิบดีณัฐพล" ลงพื้นที่สุโขทัย ร่วมพิธีเปิดโครงการไกล่เกลี่ยหนี้สิน หาช่องทางทำกินขจัดสิ้นความยากจน
จ.สุโขทัย 30 เมษายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการไกล่เกลี่ยหนี้สิน หาช่องทางทำกิน ขจัดสิ้นความยากจน ภายใต้การดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองพื้นที่ต้นแบบ (จังหวัดสุโขทัย) โดยมี นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ขึ้นกล่าวที่มาโครงการฯ และ นายวิรุฬ พรรณเทวี ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย กล่าวต้อนรับ ณ เทิดไทฟาร์ม ตำบลวังใหญ่ อำเภอศรีสำโรง โครงการดังกล่าว เป็นการบูรณาการร่วมกันของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองพื้นที่ต้นแบบ จังหวัดสุโขทัย เพื่อให้สมาชิกและประชาชนได้รับประโยชน์จากโครงการอย่างแท้จริง กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ช่วยอำนวยความสะดวกในการไกล่เกลี่ยหนี้สินก่อนและหลังฟ้องร้องดำเนินคดี ซึ่งการลงพื้นที่จังหวัดสุโขทัยครั้งนี้เป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยมุ่งสนับสนุนแหล่งเงินทุน สร้างงาน สร้างรายได้ การประกอบอาชีพ ส่งเสริมความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต ผ่านโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตภายใต้การดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองพื้นที่ต้นแบบ จังหวัดสุโขทัย ระยะที่ 1 เพื่อให้สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ได้มีโอกาสสร้างความรู้ ความเข้าใจ การไกล่เกลี่ยหนี้สินก่อนและหลังฟ้องร้องดำเนินคดี ลดปริมาณการฟ้องร้องคดีอันเกิดจากหนี้สินภายในครัวเรือน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกัน ดีพร้อม ได้บูรณาการกับกระทรวงยุติธรรม ในการสนับสนุนเศรษฐกิจฐานราก เร่งผลักดันการพัฒนาพื้นที่ชุมชนผ่านโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “DIPROM ยกระดับสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก นำรายได้คืนถิ่นชุมชน” มุ่งช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนในท้องถิ่นที่ประสบปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจ เป็นการปฏิรูปการส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพก่อเกิดการสร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชน จนสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยเริ่มนำร่อง จังหวัดสุโขทัยเป็นแห่งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 และเตรียมเดินหน้าโครงการอย่างครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคต่อไป ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
02 พ.ค. 2565
ดีพร้อม นำคณะ ตสร. เยี่ยมชมสถานประกอบการ “ปูคอนโด” เปิดเส้นทางการเติบโตทางธุรกิจพร้อมโชว์ผลสำเร็จภายใต้การดูแลของดีพร้อมตลอด 17 ปี
จ.สุราษฎร์ธานี 28 เมษายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ วุฒิสภา (ตสร.) นำโดย พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่งในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ ตสร. พร้อมคณะฯ ลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป บริษัท วิยะเครป โปรดักส์ จำกัด พร้อมด้วย นายเจตนิพิฐ รอดภัย และ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ผู้แทนจากภาครัฐ ผู้แทนหอการค้าจังหวัด ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัด และผู้แทนวิสาหกิจชุมชนในจังหวัด โดยมี นายธวัชชัย พูนช่วย ผู้จัดการฝ่ายการตลาดให้การต้อนรับและสรุปภาพรวมของบริษัทฯ ณ อำเภอไชยา บริษัท วิยะเครป โปรดักส์ จำกัด ประกอบธุรกิจด้านอาหารแปรรูปพร้อมบริโภคมีผลิตภัณฑ์หลัก คือ เนื้อปูบรรจุกระป๋องพาสเจอร์ไรส์ ส่งออกจำหน่าย 15 ประเทศทั่วโลก ภายใต้แบรนด์ สยามเครป (Siam Crab) วิยะเครป (Viya Crab) และ สวัสดีเครป (Swasdee Crab) หรือเรียกว่า “เนื้อปูคอนโด” โดยเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมของดีพร้อมตั้งแต่ปี 2548 – ปัจจุบัน เพื่อขอรับรองมาตรฐานต่างๆ ได้แก่ มาตรฐาน GMP และ HACCP มาตรฐาน BRC FOOD SAFETY มาตรฐาน HALAL ตลอดจนพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถปัจจัยต่าง ๆ เพื่อบริหารธุรกิจ ได้แก่ การลดต้นทุนการผลิต การจัดการของเสีย การเพิ่มผลิตภาพการผลิต การเพิ่มยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานกิจกรรม ส่งผลให้บริษัฯ สามารถลดสัดส่วนต้นทุนการถือครองสินค้าได้กว่า 9.6 ล้านบาท และในปี 2565 ก็ได้เข้าร่วมกิจกรรมการประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลในการบริหารจัดการธุรกิจ เป็นการนำโปรแกรม Power BI เข้ามาใช้ เพื่อลดเวลาและขั้นตอนจัดทำรายงานด้านการผลิต การบัญชี การเงิน ในการนำไปวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มยอดขาย ทำให้ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา บริษัทฯ สามารถเพิ่มยอดขายได้ 15 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 2.5 ล้านบาท ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
29 เม.ย. 2565
ดีพร้อม โชว์ต้นแบบความสำเร็จชุมชน DIPROM CIV หวังกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้เพิ่มให้ชุมชนอย่างยั่งยืน
จ.สุราษฎร์ธานี 28 เมษายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ วุฒิสภา (ตสร.) นำโดย พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่งในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ ตสร. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของชุมชนต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ (Success Case) พร้อมด้วย นายเจตนิพิฐ รอดภัย และ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) นายสุทธิพงษ์ คล้ายอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม โดยมี นางสาวจรัญญา ศรีรักษ์ กำนันตำบลบางใบไม้ ให้การต้อนรับและสรุปภาพรวมของชุมชนบางใบไม้ พร้อมด้วย นายสมประสงค์ ศรีเทพ กล่าวสรุปภาพรวมการดำเนินงานของสวนลุงสงค์ ณ หมู่บ้านชุมชนบางใบไม้ อ.เมืองสุราษฎร์ธานี ชุมชนบางใบไม้เป็นหนึ่งในต้นแบบชุมชนหมู่บ้าน DIPROM CIV ที่ได้รับการส่งเสริมจากดีพร้อมเซ็นเตอร์ 10 ผ่านการพัฒนาทักษะและยกระดับชุมชนในหลากหลายมิติ อาทิ การพัฒนาผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์ การจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยว การสร้างคอนเทนต์เพื่อประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย และการตลาดออนไลน์ รวมถึงการประยุกต์ใช้วัตถุดิบในชุมชนผนวกกับภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ตลอดจนการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน การสร้างและต่อยอดอัตลักษณ์ภูมิปัญญาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ โดยในปีงบประมาณปี 2565 ดีพร้อมได้เดินหน้าพัฒนาชุมชนผ่านกิจกรรมเสริมสร้างการนำระบบการผลิตใหม่ควบคู่กับเครื่องมือที่เกี่ยวข้องให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสวนลุงสงค์ ซึ่งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนน้ำมันมะพร้าวบางใบไม้ โดยประเมินวินิจฉัยศักยภาพด้านการผลิตของผู้ประกอบการทำให้ทราบถึงการวางแผนกระบวนการผลิตในรูปแบบใหม่ สามารถลดการสูญเสียด้านเวลาในการผลิตและการนำวัตถุดิบเหลือจาการผลิตมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังได้แนะนำการปรับปรุงการผลิตด้วยเทคโนโลยี เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนดังกล่าว สามารถเพิ่มผลิตภาพการผลิตได้มากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการยังได้มีความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐเข้าไปช่วยสนับสนุนด้านการตลาดออนไลน์และเชื่อมโยงไปสู่ตลาดสากลเพิ่มขึ้นอีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
29 เม.ย. 2565
ดีพร้อม นำคณะ ตสร. ลงพื้นที่ติดตามการยกระดับอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย พร้อมโชว์ต้นแบบความสำเร็จการสร้างมูลค่าเพิ่มขมิ้นชันสู่เชิงพาณิชย์
จ.สุราษฎร์ธานี 28 เมษายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ วุฒิสภา (ตสร.) นำโดย พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่งในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ ตสร. พร้อมคณะฯ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนต้นแบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ (Success Case) พร้อมด้วย นายเจตนิพิฐ รอดภัย และ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารดีพร้อม ผู้แทนจากภาครัฐ ผู้แทนหอการค้าจังหวัด ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัด และผู้แทนวิสาหกิจชุมชนในจังหวัด ณ วิสาหกิจชุมชนขมิ้นชันศาลาไทยและเกษตรแปรรูป อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี ถือเป็นเมืองสมุนไพร 1 ใน 4 จังหวัดนำร่อง (จ.เชียงราย, จ.ปราจีนบุรี, จ.สกลนคร และ จ.สุราษฎร์ธานี) เป็นแหล่งเพาะปลูกขมิ้นชันมีปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์สูงสุดในโลก ที่ผ่านมากลุ่มวิสาหกิจได้ใช้ความรู้ภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยดึงสรรพคุณที่เด่นของขมิ้นมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ขมิ้นผง สบู่ขมิ้น โลชั่นขมิ้น เป็นต้น และได้รับการพัฒนาจากดีพร้อมภายใต้ โครงการเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมสมุนไพร ประจำปีงบประมาณ 2563 ของศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 10 (DIPROM CENTER 10) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มพืชสมุนไพรและส่งเสริมด้านการตลาดสมุนไพรให้มีคุณภาพเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและนโยบายภาครัฐเพื่อการขับเคลื่อนสมุนไพรไทยอย่างยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมบุคลากรผู้ปลูกสมุนไพรให้ตระหนักถึงความปลอดภัยโดยการปลูกแบบอินทรีย์หรือแบบปลอดภัย เพื่อสอดรับกับประเด็นการปฏิรูปด้านการยกระดับการแปรรูปพืชสมุนไพร เพิ่มมูลค่าสมุนไพร ผลักดันให้เป็นพืชเศรษฐกิจภาคใต้ เกษตรกรประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงต่อยอดเกษตรอุตสาหกรรมไปสู่อุตสาหกรรมทางการแพทย์ จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และทดสอบตลาดของวิสาหกิจดังกล่าวส่งผลให้มูลค่ายอดขายของเพิ่มขึ้น 62.31% คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 94,000 บาท/ปี โดยในปีงบประมาณ 64-65 วิสาหกิจชุมชนขมิ้นชันศาลาไทยและเกษตรแปรรูป ยังได้เพิ่มทักษะผ่านกิจกรรมการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (Cluster) คลัสเตอร์สมุนไพร จ.สุราษฎร์ธานี ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายคลัสเตอร์เกษตรอุตสาหกรรม เพื่อนำองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ มาปรับใช้ อาทิ การจัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการกลุ่มอุตสาหกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “กฎระเบียบ พรบ.อาหาร พรบ.ยามาตรฐาน อย. และ GMP” การทบทวนแผนการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี การเชื่อมโยงสร้างการรับรู้ให้เป็นที่รู้จักและเกิดความร่วมมือกับหน่วยงาน เป็นต้น ในเวลาต่อมา อธิบดีณัฐพลได้นำคณะ ตสร. เดินทางเยี่ยมชมภัตตาคารป๊อปอาย ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจากโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) หรือ DIPROM MINI MBA รุ่น 33 ที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นนักธุรกิจที่มีศักยภาพ พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงตามสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ###PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
28 เม.ย. 2565
“รสอ.ภาสกร” ประชุมคณะกรรมการตัดสินรางวัลที่ปรึกษาตัวอย่างแห่งปี 2565 (DIPROM Consultant Award 2022)
กรุงเทพฯ 28 เมษายน 2565 - นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการตัดสินรางวัลที่ปรึกษาตัวอย่างแห่งปี 2565 (DIPROM Consultant Award 2022) “เวทีศักยภาพที่ปรึกษามุ่งพัฒนา MSMEsให้ดีพร้อม”ครั้งที่ 6 ร่วมด้วย นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 4 (DIPROM CENTER 4) นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ประธานเครือข่ายผู้ประกอบการสากลแห่งประเทศไทย (President of Global Entrepreneurship Network Thailand) นางยุพรัตน์ ศตวิริยะ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาที่ปรึกษาธุรกิจอุตสาหกรรม ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom Meeting การประชุมดังกล่าวจัดขึ้น เพื่อประชุมหารือและพิจารณาในประเด็นสำคัญประกอบด้วย 1.ผลคะแนนรวมของผู้สมัครประกวด ที่ปรึกษาตัวอย่างแห่งปี 2565 (DIProm Consultant Award 2022) “เวทีศักยภาพ ที่ปรึกษา มุ่งพัฒนา MSMEs ให้ดีพร้อม” จำนวน 29 ผลงาน 2.รายชื่อผู้ได้รับรางวัลที่ปรึกษาตัวอย่างแห่งปี 2565 (DIProm Consultant Award 2022) “เวทีศักยภาพที่ปรึกษา มุ่งพัฒนา MSMEs ให้ดีพร้อม” 3.การพิจารณาข้อเสนอการจัดงานและรูปแบบการมอบรางวัลที่ปรึกษาตัวอย่างแห่งปี 2565 (DIProm Consultant Award 2022) “เวทีศักยภาพที่ปรึกษา มุ่งพัฒนา MSMEs ให้ดีพร้อม” 4.ข้อแนะนำเพื่อปรับปรุงกระบวนการคัดเลือกที่ปรึกษาตัวอย่างแห่งปีในปีงบประมาณต่อไป ทั้งนี้ ดีพร้อม จะได้ดำเนินการจัดประกวดที่ปรึกษาตัวอย่างแห่งปี 2565 เพื่อเป็นการเชิดชูการทำงานของที่ปรึกษาที่มีผลงานการให้บริการที่ดีเยี่ยม สามารถตอบโจทย์ ความต้องการของผู้ประกอบการ ทำให้ธุรกิจสามารถเติบโต และแข่งขันได้ อีกทั้ง ยังเป็นการสร้างการรับรู้และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชนในคุณภาพของที่ปรึกษาต่อไป ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
28 เม.ย. 2565
“อธิบดีณัฐพล” นำเสนอข้อมูล ตสร. ชูความสำเร็จการยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมสมุนไพรพื้นถิ่น สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 7 ลบ./ปี
จ.สุราษฎร์ธานี 28 เมษายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายเจตนิพิฐ รอดภัย และ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) คณะผู้บริหารดีพร้อม ผู้แทนจากภาครัฐ ผู้แทนหอการค้าจังหวัด ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ผู้แทนวิสาหกิจชุมชนในจังหวัด และผู้ประกอบการในพื้นที่ ร่วมประชุมนำเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ วุฒิสภา (ตสร.) นำโดย พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่งในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ ตสร. พร้อมคณะฯ ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 10 (DIPROM CENTER 10) อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้นำเสนอข้อมูลต่อ ตสร. ในประเด็นเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานโครงการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตสินค้าในการเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมสมุนไพร ประจำปี 2563 ที่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งการดำเนินงานโครงการดังกล่าวก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มพืชสมุนไพรและส่งเสริมด้านการตลาดสมุนไพรให้มีคุณภาพ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและสอดรับกับนโยบายภาครัฐเพื่อการขับเคลื่อนสมุนไพรไทยอย่างยั่งยืน รวมถึงส่งเสริมบุคลากรผู้ปลูกสมุนไพรให้ตระหนักถึงความปลอดภัยด้วยการปลูกแบบอินทรีย์ หรือแบบปลอดภัย โดยการดำเนินงานของศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 10 ได้นำกลไกต่าง ๆ มาส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชน ผ่าน 4 กิจกรรม ประกอบด้วย 1. การพัฒนาอาหารอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่มีการใช้สมุนไพร 2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และทดสอบตลาด 3. การฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรผู้ปลูกสมุนไพรและผู้เกี่ยวข้องผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และ 4. การยกระดับและเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งสามารถส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 80 ราย 30 ผลิตภัณฑ์ และก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจกว่า 7 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ อธิบดีกรมเสริมอุตสาหกรรม ยังได้นำเสนอแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนประจำปีงบประมาณ 2565 ภายใต้นโยบายดีพร้อมแคร์ (DIPROM CARE) ผ่านกลไกการดำเนินงาน ดังนี้ 1. การยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการ 2. การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตผ่านการดำเนินการของศูนย์แปรรูปเกษตรอุตสาหกรรมและศูนย์ออกแบบดีพร้อม ทั้ง 13 ศูนย์ทั่วประเทศ 3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของชุมชน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ และ 4. การส่งเสริมการตลาดออนไลน์ และสนับสนุนการวิจัยตลาดเพื่อในวิสาหกิจชุมชนได้มีข้อมูลเชิงลึกเพื่อการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ผ่านโครงการถุงดีพร้อม นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์ชุมชนเข้ากับสถานที่ท่องเที่ยว พร้อมทั้งพัฒนาต่อยอดหมู่บ้าน DIPROM CIV ขณะเดียวกัน ยังมีการเสริมสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจผ่านสินเชื่อระยะสั้นดอกเบี้ยต่ำ หรือ DIPROM PAY และสินเชื่อจากกองทุนฯ ต่าง ๆ รวมทั้งการเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนคุณภาพจนทำให้เกิดการร่วมลงทุนในระดับต่าง ๆ และในโอกาสนี้ อธิบดีณัฐพล ได้นำคณะ ตสร. รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้แทนภาคประชาชนผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาภายใต้โครงการเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมสมุนไพร ประจำปี 2563 และผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัด อาทิ ขมิ้นชัน พืชสมุนไพร จากสมาชิกคลัสเตอร์กลุ่มสมุนไพร ซึ่งขับเคลื่อนภายใต้ศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 10 (DIPROM CENTER 10) นอกจากนี้ คณะ ตสร. ยังได้เยี่ยมชมศูนย์แปรรูปเกษตรอุตสาหกรรม Co-working Space ห้องแสดงนิทรรศการผลิตภัณฑ์ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งเครื่องจักร Pilot Plant สำหรับเกษตรแปรรูปและสมุนไพร และเยี่ยมชมศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์อีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
28 เม.ย. 2565