โทรศัพท์ 1358
"แม่ทัพดีพร้อม" ตั้งโต๊ะรับฟังความเห็นแนวทางการส่งเสริมเอสเอ็มอี เมืองสองทะเล
"แม่ทัพดีพร้อม" ตั้งโต๊ะรับฟังความเห็นแนวทางการส่งเสริมเอสเอ็มอี เมืองสองทะเล
จ.สงขลา 22 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการดำเนินงานของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 3 พื้นที่ภาคใต้ ร่วมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางจันทร์จิรา บางเสน อุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) กลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน เข้าร่วมประชุม ณ ห้อง สมิหลา ชั้น 2 โรงแรมหาดใหญ่ซิกเนเจอร์ และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting ุการประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 เพื่อรับฟังความคิดเห็น ปัญหา และความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ภาคใต้ ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนของดีพร้อม ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการเงิน อาทิ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดสตูล ศูนย์ให้บริการ SMEs จังหวัดสงขลา หอการค้าจังหวัดสงขลาและยะลา สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยสาขาจังหวัดสงขลา ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และกระบี่ และสถาบันอาหาร รวมถึงสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ภาคใต้ถือได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพและความพร้อมที่หลากหลายทั้งในเชิงของเกษตรอุตสาหกรรม ที่มีการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ รวมไปถึงสาขาอุตสาหกรรมในประเภทต่าง ๆ อาทิ ถุงมือยาง แปรรูปไม้ยางพารา แปรรูปอาหารทะเล และการประมง รวมถึงการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษกิจสูงที่สุดในประเทศ นอกจากนี้ ในเชิงของศิลปวัฒนธรรม อัตลักษณ์ และภูมิปัญหาท้องถิ่น ถือได้ว่ามีเอกลักษณ์ความโดดเด่น และมีเสน่ห์ทั้งในเรื่องของ อาหาร การแต่งกาย ศิลปะการแสดงท้องถิ่น ถือเป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจชุมชน ให้สามารถขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจวิถีใหม่ โดยอาศัยการร่วมด้วยช่วยกันจากทุกภาคส่วน เพื่อสนับสนุนให้ภาคใต้ฟื้นตัวและเติบโตได้อย่างมั่นคง พร้อมทั้งขยับออกจากโครงสร้างเศรษฐกิจที่ "กระจุกตัว และมูลค่าเพิ่มน้อย" ไปสู่เศรษฐกิจ "มูลค่าสูงและยั่งยืน" อธิบดีใบน้อยฯ ได้นำประเด็นปัญหาความต้องการมาร่วมกันกำหนดทิศทางการส่งเสริมพัฒนา ที่จะนำไปสู่การจัดทำโครงการของดีพร้อมที่ตอบโจทย์ตามความต้องการ ตลอดจนเป็นแนวทางในการปรับบทบาทของดีพร้อมให้สอดรับกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งและเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
23 ส.ค 2566
ปลัดฯ ณัฐพล ลงพื้นที่สระบุรี กำชับจี้โรงงานลงทะเบียนข้อมูลการประกอบการอุตสาหกรรมให้ครบ 100% ย้ำกำกับดูแลเหมืองแร่ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ
ปลัดฯ ณัฐพล ลงพื้นที่สระบุรี กำชับจี้โรงงานลงทะเบียนข้อมูลการประกอบการอุตสาหกรรมให้ครบ 100% ย้ำกำกับดูแลเหมืองแร่ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ
จ.สระบุรี 20 สิงหาคม 2566 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี (สอจ.สระบุรี) โดยมีนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมด้วย โดยมีนายนพดล ชีวะอิสระกุล อุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี เป็นผู้นำเสนอข้อมูล ณ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสระบุรี อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรีเป็นเมืองหน้าด่านจากภาคกลางไปสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหนาแน่น มีโรงงานอุตสาหกรรม 1,484 โรงงาน และเป็นที่ตั้งกลุ่มผลิตปูนซีเมนต์จำนวนสูงสุดของประเทศ ซึ่งมีการเฝ้าระวังมลพิษทางอากาศอย่างเข้มงวด โดยโรงงานในพื้นที่ต้องมีการจัดการตามแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังมี SME อีกเกือบ 3 หมื่นราย และมีเหมืองแร่ที่มีประทานบัตรมากที่สุดในประเทศไทย จำนวน 210 แปลง ด้านการรายงานข้อมูลการประกอบกิจการผ่านระบบรายงานข้อมูลกลางของกระทรวงอุตสาหกรรม (iSingle Form) ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 68% โดย สอจ.สระบุรี ได้มีช่องทางการติดต่อประสานงานให้เจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการร่วมกันแก้ไขปัญหาในการกรอกข้อมูล นอกจากนี้ยังได้จัดเตรียมแผนการตรวจโรงงานแบบสุดซอยในทุกมิติของการรายงานตามข้อกำหนดของกฎหมายด้วย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของ สอจ.สระบุรีในการติดตามการรายงานข้อมูลในระบบ iSingle Form ทั้งนี้ ขอให้สร้างความเข้าใจร่วมกันในเป้าหมายหลักของการรายงานข้อมูลเป็นการดำเนินการในเรื่อง Digital Government และทบทวนสถานะการประกอบกิจการได้จากผู้ประกอบการมีปฏิสัมพันธ์กับกระทรวงฯ รวมถึงสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม และเพิ่มความสะดวกในการรับบริการจากกระทรวงอุตสาหกรรมในอนาคต เช่น การขอใบอนุญาตต่าง ๆ การชำระค่าธรรมเนียม เป็นต้น จึงเน้นย้ำให้ผู้ประกอบการต้องเป็นผู้กรอกข้อมูลเอง เพื่อความถูกต้อง อีกทั้งให้ถือเป็นหน้าที่ของโรงงานที่ต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ดี ในการกรอกข้อมูลฯ ต้องให้แล้วเสร็จ 100% ภายในเดือนสิงหาคมนี้ หากเลยกำหนดจะถือว่าเป็นความผิดและมีโทษปรับ ทั้งนี้ ขอให้ สอจ. ดำเนินการลงพื้นที่ตรวจโรงงานแบบเข้มข้น เพื่อตรวจสอบสาเหตุโรงงานที่ไม่กรอกข้อมูล พร้อมเร่งสำรวจตรวจสอบในทุกมิติของการรายงานตามข้อกำหนดของกฎหมาย หากพบโรงงานที่ผิดกฎหมายขอให้ดำเนินการตามระเบียบอย่างจริงจัง พร้อมทั้งเพิ่มเงื่อนไขในใบอนุญาตเพื่อการกำกับดูแลให้มากขึ้นต่อไป อย่างไรก็ตาม หากพบโรงงานที่มีการหยุดการดำเนินการมาเป็นเวลานาน ขอให้พิจารณาทบทวนการยกเลิกใบอนุญาตประกอบกิจการต่อไป ในส่วนการกำกับดูแลเหมืองแร่ในจังหวัดซึ่งมักเกิดการข้อร้องเรียนจากปัญหาฝุ่นละออง ขอให้บูรณาการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาเพื่อดูแลชุมชนและสังคมโดยรอบ ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขอย่างยั่งยืน รปอ.ณัฏฐิญา กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ สอจ.สระบุรี มีการชี้เป้าอุตสาหกรรมในพื้นที่ให้ชัดเจนว่าอุตสาหกรรมใดมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสระบุรี เพื่อวางแผนการสนับสนุน ดูแล และกำหนดมาตรการส่งเสริมด้านต่าง ๆ ได้อย่างตรงจุด โดยมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ช่วยชี้เป้าอุตสาหกรรมที่เหมาะสมในเชิงพื้นที่ต่อไป สำหรับในด้านการพัฒนาแอปพลิเคชัน (Super App) สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจโรงงานของเจ้าหน้าที่ ระบบจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเก็บข้อมูลด้วยอุปกรณ์ Smart Phone เช่น การถ่ายรูป การอัดเสียง การอัดวิดีโอ และการกำหนดโลเคชั่น เป็นต้น เพื่อให้เกิดความสะดวกในการตรวจโรงงาน ซึ่งระบบนี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการอัพเดทข้อมูลของโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความเป็นปัจจุบันอย่างต่อเนื่องกระทรวงฯ ได้เร่งดำเนินการและคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายนนี้ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ส.ค 2566
"ดีพร้อม" พาตะลุยย่านเมืองเก่าจังหวัดสงขลา หวังขยายชุมชนดีพร้อม ให้โตได้โตไกลแบบยั่งยืน
"ดีพร้อม" พาตะลุยย่านเมืองเก่าจังหวัดสงขลา หวังขยายชุมชนดีพร้อม ให้โตได้โตไกลแบบยั่งยืน
จ.สงขลา 21 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่และเยี่ยมชมสถานประกอบการชุมชนดีพร้อมบริเวณย่านเมืองเก่าจังหวัดสงขลา ร่วมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางจันทร์จิรา บางเสน อุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางสาววรรณี พุฒแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 (DIPROM CENTER 11) พาเยี่ยมชม ณ ย่านเมืองเก่าจังหวัดสงขลา ย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา มีประวัติความเป็นมาและมีอายุยืนยาวกว่า 200 ปี มีถนนที่สำคัญด้วยกัน 3 สาย คือ ถนนนางงาม ถนนนครใน นครนอก เป็นถนนเล็ก ๆ ตึก และบ้านเรือนร้านค้าในละแวกนี้สร้างตามสถาปัตยกรรมแบบจีนปนยุโรป มีลวดลายปูนปั้นประดับที่กรอบหน้าต่างและหัวเสาสวยงาม นอกจากนี้ ถนนนางงามนี้มีสถานที่สำคัญ คือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา ศาลเจ้าพ่อกวนอู ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้าน คู่เมือง ของชาวสงขลาและบริเวณนี้ยังเป็นย่านอาหารพื้นเมืองของสงขลา ในพื้นที่ดังกล่าวยังมี ดีพร้อมฮีโร่ คือ คุณปาริชาด สอนสุภาพ เจ้าของธุรกิจ บ้าน “สงขลาสเตชั่น“ ที่รับซื้อวัตถุดิบในชุมชนย่านเมืองเก่าจังหวัดสงขลามารังสรรค์เป็นเมนูอาหารต้อนรับแขกผู้มาเยือน เพื่อคงความอัตลักษณ์ของจังหวัดสงขลา พร้อมทั้ง ยังได้สนับสนุนการท่องเที่ยวในชุมชน โดยมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนในทะเลสาบสงขลาผ่านการนั่งเรือหางยาวไปกับชาวประมง ร่วมให้อาหารปลา ชมทิวทัศน์อันงดงาม และลิ้มรสเมนูอาหารพื้นเมืองแท้ ๆ ริมทะเลสาบสงขลาอีกด้วย นอกจากนี้ อธิบดีใบน้อยฯ ยังได้แนะนำการให้ดีพร้อมมีส่วนช่วยเหลือในเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีหลากหลายรูปแบบโดยเชิญชวนผู้ประกอบการเข้าโครงการของศูนย์ Thai-idc การแปรรูปหัวปลาอินทรีย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าโดยการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจ ลูกค้าอยากซื้อกลับไปเป็นของฝาก และที่สำคัญคือยกระดับย่านเมืองเก่าที่มี 8 หมู่บ้าน 11 ชุมชน ให้เป็นจุดโชว์ "เมนูเด็ดชุมชนดีพร้อม" เพื่อเป็นประโยชน์ต่อคนในชุมชนย่านเมืองเก่าสามารถสร้างรายได้ยกระดับคุณภาพชีวิตให้เพิ่มขึ้นต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ส.ค 2566
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11
จ.สงขลา 21 สิงหาคม 2566 – นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 (DIPROM CENTER 11) ร่วมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางสาววรรณี พุฒแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 (DIPROM CENTER 11) การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นการรับฟัง การให้บริการ ศูนย์ DIPROM ITC ที่ช่วยลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการด้านการบรรจุอาหาร และติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานการใช้จ่ายจ่ายงบประมาณ พร้อมการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 การพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยว หรือ หมู่บ้าน JBIC และการดำเนินการ DIPROM BSC ที่มีผู้นสนใจมาศึกษาดูงานกว่า 350 คน และรวมทั้งโรงเรียนปัญญาภิวัตน์กว่า 100 คน คาดว่าในปีนี้จะมีบุคคลภายนอกกว่า 400 คน และที่ผ่านได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรนอกศูนย์ฯ เข้าร่วมเพิ่มมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ อธิบดีใบน้อยฯ ได้มอบแนวทางการพัฒนาศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 ในเรื่องของอาทิ การเปิดถนนข้างศูนย์หัตถกรรม ปรับปรุงศูนย์บ่มเพาะให้เป็นหอพัก การทำรั้วกำแพงคอนกรีต เพื่อป้องการน้ำไหลออกนอกพื้นที่ การซ่อมบำรุงเครื่องจักรภายในศูนย์ DIPROM ITC รวมถึงการสืบทอดองค์ความรู้ระหว่างบุคลากร โดยได้กล่าวชื่นชมการเป็นกูรูของบุคลากรดีพร้อมว่าสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ของศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 ได้ดีอีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ส.ค 2566
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่เยี่ยมชมชุมชนดีพร้อมเครื่องแกงใต้ เกาะยอ
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่เยี่ยมชมชุมชนดีพร้อมเครื่องแกงใต้ เกาะยอ
จ.สงขลา 20 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชม กลุ่มเครื่องแกงกุลญาดา พร้อมด้วย นางสาววรรณี พุฒแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 (DIPROM CENTER 11) ดร.พลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางกุลญาดา เจริญศรุตา กรรมการกลุ่มเครื่องแกงกุลญาดา ให้การต้อนรับ ณ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา กลุ่มเครื่องแกงกุลญาดาผลิตและจำหน่ายพริกแกงปักษ์ใต้ น้ำพริก กะปิหวาน และน้ำพริกเผา มีรสชาติที่มีความเป็นอัตลักษณ์ของชาวชุมชนเกาะยอ ซึ่งได้รับเครื่องหมาย อย. และมาตรฐานฮาลาล จนได้รับการยอมรับจาก บริษัท เชฟรอน คอร์ปอเรชั่น ให้เป็นผู้ผลิตและจัดส่งวัตถุดิบในการทำอาหาร อาทิ เนื้อ หมู ปลา กุ้ง ผักสด ผลไม้ และขนม รวมถึงพริกแกง 7 ชนิด จำนวน 300 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ไปที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน จำนวน 15 แท่น ของบริษัทเชฟรอนฯ มาเป็นเวลายาวนานกว่า 26 ปี ขณะเดียวกัน กลุ่มเครื่องแกงกุลญาดายังรับเป็นศูนย์ฝึกเชฟมาตรฐานของเชฟรอน ก่อนส่งไปยังแท่นขุดเจาะอีกด้วย ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้เข้าไปช่วยส่งเสริมและพัฒนาด้านของผลิตภัณฑ์เครื่องแกงพร้อมรับประทาน การรวมกลุ่มและเชื่อมโยงผู้ประกอบการเพื่อเสริมความเข้มแข็งของคลัสเตอร์ในพื้นที่ รวมถึงการให้ความรู้เรื่องการตลาดออนไลน์ และการทำบัญชี/ต้นทุนในการผลิต นอกจากนี้ ยังได้เชิญชวนชุมชนดังกล่าวเข้าร่วมโครงการ "เมนูเด็ดชุมชนดีพร้อม" โดยการส่งเสริมและพัฒนาในด้านต่าง ๆ อาทิ ดีพร้อมฮีโร่ เป็นจุดรวมวัตถุดิบในประเทศไทยผลิตเครื่องแกงเชื่อมโยงเครือข่ายวัตถุดิบ ได้แก่ พริก หอม และกระเทียม โดยส่งเสริมให้ชุมชนโดยรอบปลูกวัตถุดิบดังกล่าว พร้อมกำหนดราคาให้เป็นมาตรฐาน เน้นย้ำการถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น เพื่อคงคุณภาพและอัตลักษณ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นออกสู่ตลาดต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ส.ค 2566
"ดีพร้อม" ลงพื้นที่เยี่ยมชม กลุ่มทอผ้าร่มไทร ต่อยอดสร้างอาชีพดีพร้อม
"ดีพร้อม" ลงพื้นที่เยี่ยมชม กลุ่มทอผ้าร่มไทร ต่อยอดสร้างอาชีพดีพร้อม
จ.สงขลา 20 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชม กลุ่มทอผ้าร่มไทร พร้อมด้วย นางสาววรรณี พุฒแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 (DIPROM CENTER 11) ดร.พลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางยมนา สินธุรัตน์ ประธานกลุ่มทอผ้าร่มไทร ให้การต้อนรับ ณ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา ผ้าทอเกาะยอ หรือ ผ้าเกาะยอ เป็นผ้าทอพื้นเมืองของตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยกลุ่มทอผ้าร่มไทร เป็นกลุ่มผู้บุกเบิกผ้าทอเกาะยอ และเป็นผู้ริเริ่มผ้าทอลายเกล็ดปลาขี้ตัง (เป็นปลาเฉพาะที่ทะเลสาบ จ.สงขลา) ตามที่ได้รับการส่งเสริมการออกแบบจากดีพร้อม และด้วยเอกลักษณ์ของผ้าเกาะยอที่ทอเป็นลายเล็ก ๆ จึงเป็นเหตุให้ผู้ทอต้องมีสมาธิสูงมากในการทำดอกผ้าแต่ละดอก โดยมีลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายดอกพยอม ลายดอกรสสุคนธ์ ลายพริกไทย และลายลูกหวาย เป็นต้น โดยปัจจุบันกลุ่มผ้าทอร่มไทรยังมีการถ่ายทอดความรู้การทอผ้าให้แก่ลูกหลานชาวเกาะยอ ถ่ายทอดองค์ความรู้การทอผ้าให้กับสามเณรกว่าร้อยชีวิตที่ศูนย์การเรียนรู้ ผ้าทอสีธรรมชาติ วัดโคกเปรี้ยว ให้ได้เรียนรู้วิชาชีพการทอผ้าซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเรียนรู้ของสามเณร "ตามวิถีของพระที่ต้องเย็บทำจีวรเอง" ตามที่เจ้าอาวาสบอกกล่าวไว้ เพื่อเป็นโอกาสในการสร้างอาชีพและสามารถหารายได้หลังลาสิกขาต่อไป ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้สนับสนุนจักรเย็บผ้าให้แก่ศูนย์การเรียนรู้ฯ อีกทั้ง ยังได้ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีอัตลักษณ์สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนเกาะยอในอนาคต ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ส.ค 2566
ปลัดฯ ณัฐพล ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงาน สอจ.อยุธยา และอ่างทอง ย้ำทุกจุดจี้โรงงานกรอกข้อมูลการประกอบการอุตสาหกรรม ภายในสิงหาคมนี้!
ปลัดฯ ณัฐพล ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงาน สอจ.อยุธยา และอ่างทอง ย้ำทุกจุดจี้โรงงานกรอกข้อมูลการประกอบการอุตสาหกรรม ภายในสิงหาคมนี้!
จ.พระนครศรีอยุธยา 18 สิงหาคม 2566 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแนวทางการบูรณาการงานของหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมด้วย โดยมีนายธีระ แก้วพิมล อุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายบวรวิทย์ อัครจันทรโชติ อุตสาหกรรมจังหวัดอ่างทอง และนางสาววันรานี เลี่ยวไพโรจน์ ผู้จัดการเขต 7 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เป็นผู้นำเสนอข้อมูล ณ ห้องประชุมอโยธยา ศาลากลางจังหวัดพระศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีโรงงานทั้งสิ้น 1,868 โรงงาน ปัจจุบันมีโรงงานที่กรอกข้อมูลการประกอบการอุตสาหกรรมกว่า 50% ซึ่งต้องผลักดันให้ได้ครบ 100% ภายในเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้กรอกข้อมูลและขาดการติดต่อกับกระทรวงฯ ก็จะทำการลงพื้นที่ตรวจโรงงานแบบสุดซอยเพื่อพิจารณาทบทวนการยกเลิกใบอนุญาตโรงงานออกจากระบบฐานข้อมูลโรงงานต่อไป ส่วนในด้านการร้องเรียนในพื้นที่ยังพบปัญหาโรงงานลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม ซึ่งได้ดำเนินการตามกฎหมายไปแล้ว ส่วนการร้องเรียนปัญหา PM 2.5 ที่มีสาเหตุทั้งจากโรงงานและการกำจัดวัชพืชด้วยการเผาของชุมชนทาง สอจ.พระนครศรีอยุธยา จะติดตามแก้ไขอย่างใกล้ชิดต่อไป ด้านจังหวัดอ่างทอง มีโรงงานอุตสาหกรรม 324 โรงงาน ส่วนใหญ่พื้นที่กว่า 60% เป็นพื้นที่เกษตรกรรมปลูกนาข้าว รายได้ส่วนใหญ่จึงมาจากเกษตรกรรมและการท่องเที่ยว โดยวิสาหกิจชุมชนมีรายได้จากการจำหน่ายของที่ระลึก อาทิ ตุ๊กตาชาววัง กลอง เครื่องจักสาน ซึ่งอาจไม่เป็นที่นิยมมากนัก สอจ.อ่างทอง จึงมีแนวคิดตามนโยบาย MIND คือให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในลักษณะ Big Brother โดยให้โรงงานสนับสนุนผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ ในท้องถิ่น เพื่อช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกให้น่าสนใจและเหมาะกับความนิยมของผู้ซื้อมากขึ้น ส่วนการแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนโรงงานได้ให้โรงงานนำนโบายทั้ง 4 มิติ ไปปรับใช้ทั้งในด้านการดูแลสังคมและการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับชุมชนโดยรอบเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพในการจำกัดของเสีย การส่งเสริมเครือข่ายและเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม เพื่อให้โรงงานและชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบนโยบายให้ทุกจังหวัดเน้นย้ำกับผู้ประกอบการให้รายงานข้อมูลประกอบกิจการผ่านระบบข้อมูลกลาง (iSingle Form) โดยกรอกข้อมูลด้วยตนเองให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้ข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำไปวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ต่อไปได้ นอกจากนี้ ยังทำให้การรับบริการจากกระทรวงอุตสาหกรรมสะดวกขึ้น เช่น การขอใบอนุญาตต่าง ๆ การชำระค่าธรรมเนียม อย่างไรก็ตามจะต้องให้ผู้ประกอบการรายงานข้อมูลการประกอบการอุตสาหกรรม ให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งหากเลยระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายและมีโทษปรับ โดยในช่วงก่อนจะครบกำหนด ขอให้ สอจ. เร่งลงพื้นที่ตรวจโรงงานแบบสุดซอยในทุกมิติของการรายงานตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยหากพบโรงงานที่ผิดกฎหมายขอให้ดำเนินการตามระเบียบอย่างจริงจัง รวมทั้งหากพบโรงงานที่มีการหยุดการดำเนินการมาเป็นเวลานาน ขอให้พิจารณาทบทวนการยกเลิกใบอนุญาตประกอบโรงงาน เพื่อให้ระบบฐานข้อมูลโรงงานมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันต่อไป ด้าน รองปลัดฯ ณัฏฐิญา กล่าวเสริมว่า ขอให้จังหวัดพยายามชี้เป้าให้ได้ว่าอุตสาหกรรมอะไรในพื้นที่ที่มีศักยภาพและเหมาะสมต่อการพัฒนา ส่วนในด้านการนำข้อมูลระบบ iSingle Form ไปวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับพร้อมวิเคราะห์ไปถึงต้นทางเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่การเป็น SPRING UP ที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องมีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และมุ่งพัฒนาระบบมาตรฐาน เพื่อเพิ่มการส่งออกไปสู่ตลาดสากล นอกจากนี้ควรนำนโยบายดิน น้ำ ลม ไฟ ไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้โรงงานอุตสาหกรรมใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยลดข้อร้องเรียนได้ดียิ่งขึ้น ส่วนในด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการรายเล็ก ควรดึงอัตลักษณ์ในพื้นที่มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เด่นประจำจังหวัดพร้อมผลักดันสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ต่อไป ด้าน หัวหน้าผู้ตรวจฯ ย้ำให้ สอจ. มีการจัดทำแผนและการกำกับการตรวจโรงงานที่ดี เพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน ส่วนการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนซ้ำซาก ขอให้บูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ในการนี้ ผู้จัดการเขต 7 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME D Bank ได้นำเสนอผลการดำเนินงาน ของสาขาพระนครศรีอยุธยา สระบุรี และอ่างทอง ประกอบด้วย การให้สินเชื่อของ ธพว.เขต 7 การดำเนินการปล่อยสินเชื่อภายใต้กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ผลการเบิกจ่าย ยอดหนี้คงค้างของธนาคาร และจำนวน NPL ในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจประเภทรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจท่องเที่ยว เป็นต้น ต่อมาในเวลา 17.00 น. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมคณะ ได้ตรวจเยี่ยมธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สาขาพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานและรับฟังสรุปผลการดำเนินการตลอดช่วงครึ่งปีแรก โดยมีเจ้าหน้าที่ ธพว.พระนครศรีอยุธยา ร่วมให้การต้อนรับ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ส.ค 2566
แม่ทัพ "ดีพร้อม" เปิดประตูรับฟังความเห็นแนวทางการส่งเสริมเอสเอ็มอีเมืองย่าโม
แม่ทัพ "ดีพร้อม" เปิดประตูรับฟังความเห็นแนวทางการส่งเสริมเอสเอ็มอีเมืองย่าโม
จ.นครราชสีมา 18 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการดำเนินงานของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) กลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องอิมพีเรียล 2 - 4 ชั้น 1 โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เพื่อรับฟังความคิดเห็น ปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนของดีพร้อม ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการเงิน อาทิ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย สภาเกษตรกร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยในจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดอื่น ๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอื่น ๆ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดีพร้อม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน เพื่อนำประเด็นปัญหาความต้องการมาร่วมกันกำหนดทิศทางการส่งเสริมพัฒนาที่จะนำไปสู่การจัดทำโครงการที่ตอบโจทย์ตามความต้องการ ตลอดจนเป็นแนวทางในการปรับบทบาทของดีพร้อมให้สอดรับกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยดีพร้อมได้ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้สามารถเพิ่มศักยภาพและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งและเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ส.ค 2566
"อสอ.ใบน้อย" นำทีมผู้บริหารดีพร้อม มอบวุฒิบัตรและแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการ คพอ. พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
"อสอ.ใบน้อย" นำทีมผู้บริหารดีพร้อม มอบวุฒิบัตรและแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการ คพอ. พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จ.นครราชสีมา 18 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานมอบวุฒิบัตรและกล่าวแสดงความยินดีในพิธีปิดกิจกรรมการฝึกอบรมการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.ดีพร้อม) พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้แทนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และสมาชิก คพอ. ดีพร้อม ผู้สำเร็จการฝึกอบรม โดยมี นายณัฐพล แสงฟ้า นายกสหพันธ์สมาคมผู้ประกอบการไทย กล่าวแสดงความยินดี และนางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 (DIPROM CENTER 6) กล่าวรายงาน ณ ห้องลำตะคอง โรงแรมแคนทารีโคราช ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา กิจกรรมดังกล่าว เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพด้านการบริหารจัดการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 128 ราย แบ่งเป็น 4 รุ่น ได้แก่ รุ่น 392 จังหวัดอุดรธานี รุ่นที่ 393 จังหวัดขอนแก่น รุ่นที่ 394 จังหวัดนครราชสีมา และรุ่นที่ 395 จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีผู้ผ่านการฝึกอบรมกว่า 90 ชั่วโมง ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้ตั้งเป้าหมายเพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการ SMEs มีความพร้อมในการปฏิรูปธุรกิจด้วยการสร้างสรรค์หลักสูตรฝึกอบรมระยะยาวที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของ SMEs ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ด้านการจัดตั้งธุรกิจ การวางแผนธุรกิจ การบริหารจัดการ การผลิต การบัญชี การเงิน การตลาด การสร้างแบรนด์สินค้า การจัดการทรัพยากรบุคคล ระบบมาตรฐาน ระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรม และอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของธุรกิจและตัวผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 อย่างสมบูรณ์ ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงธุรกิจ กับผู้ประกอบการทั่วทุกภูมิภาคของประเทศและนับได้ว่าเป็นกำลังสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ส.ค 2566
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่เยี่ยมชมชุมชนดีพร้อมต้นแบบเมืองย่าโม
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่เยี่ยมชมชุมชนดีพร้อมต้นแบบเมืองย่าโม
จ.นครราชสีมา 17 สิงหาคม 2566 – นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 (DIPROM CENTER 6) นายสิทธิรงค์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่เยี่ยมชมวิสาหกิจต้นแบบโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Happy and Productivity Workplace : SHAP) และการพัฒนาโมเดล “ชุมชนดีพร้อมต้นแบบ” โดยมี นายชูศักดิ์ เสาร์แก้ว รักษาการผู้จัดการโรงงาน บริษัท เอบิโก้ แดรี่ ฟาร์ม จำกัด ให้การต้อนรับ ณ บริษัท เอบิโก้ แดรี่ ฟาร์ม จำกัด อำเภอปากช่อง บริษัทดังกล่าว เข้าร่วมโครงการของดีพร้อมในการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Happy and Productivity Workplace : SHAP) และมีแนวทางในการดำเนินธุรกิจร่วมกับ 14 ชุมชนรอบพื้นที่โรงงาน ที่บริษัทให้การช่วยเหลือตามนโยบายของปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม “MIND: ปรับอุตสาหกรรมเข้าสู่วิถีใหม่" นอกจากนี้ อธิบดีใบน้อยฯ ได้นำคณะลงพื้นที่เยี่ยมชมชุมชนบ้านถ้ำเต่าพัฒนา ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง พร้อมเยี่ยมชมการทำปุ๋ยจากตะกอนนมของชุมชนที่ บริษัทฯ ได้ช่วยเหลือตามแนวทางการพัฒนาโมเดล “ชุมชนดีพร้อมต้นแบบ” พร้อมเชิญชวนให้ชาวชุมชนเข้าร่วมโครงการ "เมนูเด็ดชุมชนดีพร้อม" โดยดีพร้อมจะดำเนินการส่งเสริมด้านต่าง ๆ อาทิ เพื่อส่งเสริมพัฒนา ยกระดับการยืดอายุผลิตภัณฑ์ และชูเมนูเด็ด "น้ำพริกตาไหว" ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนแห่งนี้ ตลอดจนได้ส่งเสริมช่องทางการตลาดออนไลน์เพื่อให้กลุ่มลูกค้าและนักท่องเที่ยวได้รู้จักสินค้าในชุมชนได้มากขึ้น ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
18 ส.ค 2566