“รมว.เอกนัฏ” บุกภาคเหนือ โชว์ปฏิรูปอุตสาหกรรม สั่งการ “ดีพร้อม” ส่งเสริมเกษตรแปรรูป ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น หนุนซอฟต์พาวเวอร์ เชื่อมโยงเครือข่ายคลัสเตอร์ดิจิทัล ป้องกันภัยพิบัติ ดันอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพอย่างยั่งยืน
จ.เชียงใหม่ 30 พฤศจิกายน 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ นายเศรษฐรัชต์ เลือดสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายพรยศ กลั่นกรอง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ที่ไม่อาจคาดเดา มีความซับซ้อน และไม่ชัดเจนตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคเหนือเป็นพื้นที่ผลิตสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพแต่กลับมีพื้นที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรไม่มากนักจึงเหมาะกับเกษตรประณีตหรือเกษตรอินทรีย์ที่ใช้พื้นที่ และน้ำน้อยแต่ผลตอบแทนสูงซึ่งพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นและสามารถเติบโตได้ดีในพื้นที่ ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะดวก โปร่งใส” จึงได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) พัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่น อาทิ สินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น (Crop) อาหารพื้นถิ่น (Food) หัตถกรรมพื้นบ้าน (Craft) สมุนไพรประจำถิ่น (Herb) และวัสดุพื้นถิ่น (Material) ด้วยการประยุกต์ ใช้ทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา นวัตกรรม และเทคโนโลยีสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่สร้างโอกาสทางการตลาดและพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในกระบวนการผลิต สร้างภาพลักษณ์และการรับรู้ผ่านการสร้างแบรนด์และนำเสนอเรื่องราวที่เชื่อมโยงกับแหล่งผลิต ตลอดจนขยายโอกาสทางธุรกิจด้วยการเชื่อมโยงการท่องเที่ยว ทั้งการท่องเที่ยวเชิงอาหาร การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ชุมชนสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองและเป็นการกระจายรายได้ไปยังเกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อยอย่างทั่วถึง อันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจภูมิภาค (Local Economy) ได้อย่างยั่งยืน นายเอกนัฏ กล่าวเพิ่มเติมว่า โกโก้ เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่อีกหนึ่งชนิดที่น่าสนใจของภาคเหนือ ที่สามารถผลักดันและเชื่อมโยงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโกโก้แบรนด์ชั้นนำของไทยสู่ตลาดสากลได้ รวมถึงการพัฒนาและยกระดับการแปรรูปโกโก้สู่การเป็นอาหารแห่งอนาคต (Future Food) ด้วยการนำทุกส่วนของโกโก้มาแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายสู่การเป็นสินค้าพรีเมี่ยม อาทิ โกโก้ผง เนยโกโก้ ช็อกโกแลต โดยการใช้ “อุตสาหกรรมนำ” เช่นเดียวกับกรณีของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ผ่านแนวทางการเติมศักยภาพยผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโกโก้ ชา หรือกาแฟ ให้มีขีดความสามารถการแข่งขันระดับเวทีโลก เพื่อดึงให้เกิดการเพาะปลูกและผลิตสินค้าเกษตรของพื้นที่ที่มีคุณภาพพร้อมมีตลาดรองรับ ภายใต้หลักการ “ตลาดนำ” ที่สามารถต่อยอดไปสู่ธุรกิจต่าง ๆ ได้อีก ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร คาเฟ่ โรงแรม รีสอร์ท และแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งนับได้ว่าเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพืชเศรษฐกิจนตลอดทั้งห่วงโซ่ นอกจากเรื่องของการเกษตรแล้ว จังหวัดเชียงใหม่ยังมีผู้ประกอบการที่มีความรู้เรื่องดิจิทัลอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นอันดับ 2 รองจากกรุงเทพมหานคร ดังนั้น หากสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการให้เกิด Cluster Digital จะส่งผลให้บริษัทดิจิทัลชั้นนำของไทยเกิดการขยายตัว และสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งมีเป้าหมาย “เป็นองค์กรนำวิสาหกิจภาคเหนือตอนบนสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์” โดยมีการดำเนินการทั้งในด้านวิชาการ คิดค้นรูปแบบ หลักสูตร เพื่อสร้างต้นแบบการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ เป็นศูนย์กลางการบริการทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำ การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ และในด้านการปฏิบัติ ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจให้มีขีดความสามารถสอดคล้องกับความต้องการและอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของพื้นที่ อาทิ อุตสาหกรรมอาหารและเกษตรอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ ประกอบกับรัฐบาลได้กำหนดพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง เป็นระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ หรือ Northern Economic Corridor: NEC – Creative LANNA เพื่อพัฒนาเป็นพื้นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ ของรัฐบาลที่มุ่งสนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์ของประเทศในการยกระดับและพัฒนาความรู้ ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยให้สามารถสร้างมูลค่าและรายได้ โดยดีพร้อมได้ขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหารและด้านแฟชั่น ด้วยการสร้างและพัฒนา Thailand Soft Power DNA ผ่าน 3 แนวทาง คือ 1) สร้างสรรค์และต่อยอด 2) โน้มน้าว และ 3) เผยแพร่ ซึ่งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ได้ชูเรื่องการพัฒนาอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่ซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหาร โดยการ “สร้างสรรค์” วัตถุดิบล้านนาสู่สินค้ามูลค่าสูง วัตถุดิบ Local สู่ทางเลือกสุขภาพ สมุนไพร Local สู่สารสกัดเลอค่า และ Hyper Local Taste รสชาติท้องถิ่นที่กินสะดวก “โน้มน้าว” ให้มาสัมผัสวิถีล้านนา และ “เผยแพร่” ผ่าน Influencer ส่งต่อประสบการณ์ใหม่ผ่านมุมมองที่สัมผัสได้สไตล์ Local LANNA ผ่านบูธนิทรรศการต่าง ๆ ของผู้ประกอบการ อาทิ บริษัท บีโปรดักส์ อินดัสตรี จำกัด บริษัท ที แกลเลอรี่ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ชาระมิงค์ จำกัด นางสาวณัฏฐิญา กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ยังได้เล็งเห็นถึงปัญหาของอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ จึงได้เร่งดำเนินการส่งเสริม และพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันภัยพิบัติเป็นอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ พร้อมจับมือกับภาคเอกชน ผลิตแผ่นป้องกันน้ำท่วมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลิตจากวัสดุคอมโพสิต หรือขยะพลาสติก และเตรียมขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ รวมถึงเร่งฟื้นฟูสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบผ่านการซ่อมแซมเครื่องจักร และบูรณะสถานประกอบการ อีกทั้ง ยังมีการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ นอกจากนี้ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศยังได้พัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมต่อยอดงานวิจัยเกราะกันกระสุนผสมใยกัญชงให้ได้มาตรฐานและขยายผลเชิงพาณิชย์ สามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากกว่าร้อยละ 50 และได้ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ในการให้คำปรึกษาแนะนำและแก้ไขให้สายพานที่ติดมากับหุ่นยนต์กู้ภัยจากต่างประเทศมาออกแบบทำใหม่ทดแทนตัวเก่า รวมทั้งสนับสนุนการสร้างเครือข่ายคลัสเตอร์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อาทิ อุตสาหกรรมยานต์รบ อุตสาหกรรมต่อเรือ เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เป็นต้น “การขับเคลื่อนการพัฒนาในเชิงพื้นที่ จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบและกลไกการทำงานที่สามารถจัดการกับประเด็นปัญหาหรือความต้องการของพื้นที่ได้อย่างแท้จริง ด้วยการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายและผู้ประกอบการร่วมกัน ด้วยการเชื่อมโยงกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน SME และสถาบันการศึกษา เพื่อยกระดับศักยภาพและสร้างโอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยในภาพรวม” นางสาวณัฏฐิญา กล่าวทิ้งท้าย
15 ม.ค. 2025
”ดีพร้อม“ เดินหน้าโครงการ DIPROM HAPPY WORKPLACE สร้างบรรยากาศองค์กรแห่งความสุข เพื่อส่งต่อความสุขให้แก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 3 ธันวาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมองค์กรแห่งความสุข (DIPROM HAPPY WORKPLACE) ครั้งที่ 1/2568 ร่วมด้วย นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม นายพลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในครั้งนี้ ได้มีการรายงานกรอบการดำเนินโครงการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมองค์กรแห่งความสุข (DIPROM HAPPY WORKPLACE) อีกทั้งได้มีการร่วมพิจารณาแผนดำเนินการจัดทำห้องสร้างสุขสำหรับเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ตามหลัก Happy 8 Workplace ภายในห้องสร้างสุขจะประกอบไปด้วย มุมส่งเสริมสุขภาพกาย มุมส่งเสริมสุขภาพใจ มุมให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการสร้างสุขภาวะที่ดี มุมให้ความรู้ด้านการเงิน มุมพักผ่อนหย่อนใจ/สันทนาการ และ Co – Working Space โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดสรรพื้นที่ในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พระรามที่ 6 เพื่อจัดทำห้องสร้างสุข ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่มุ่งหวังในการดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อให้บุคลากรดีพร้อม มีความรู้ด้านสุขภาวะ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เกิดพลังเครือข่ายหน่วยงานสุขภาวะองค์กร มีองค์ความรู้ในการร่วมแลกเปลี่ยนและได้พัฒนาสุขภาวะองค์กรอย่างต่อเนื่อง พร้อมเป็นแบบอย่างที่ดีให้หน่วยงานภาครัฐ และสถานประกอบการที่มีความสนใจ ส่งเสริมให้บุคลากรดีพร้อม มีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งต่อความสุขให้แก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
15 ม.ค. 2025
"ดีพร้อม" สานต่อความสัมพันธ์กับ "จังหวัดโคจิ" ร่วมกันพัฒนาอุตฯ ป้องกันภัยพิบัติ เชื่อมโยงเครือข่ายไทย-ญี่ปุ่นสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน
กรุงเทพฯ 2 ธันวาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนต้อนรับ นายโอคาดะ ทาดาอากิ (Mr. OKADA Tadaaki) อธิบดีกรมการค้าอุตสาหกรรมและแรงงาน จังหวัดโคจิ พร้อมคณะเข้าเยี่ยมคารวะและประชุมหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างจังหวัดโคจิและดีพร้อม พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมครั้งนี้ นายโอคาดะฯ กล่าวว่า จังหวัดโคจิ เป็น 1 ใน 4 จังหวัดของภูมิภาคเกาะชิโกกุ มีธรรมชาติรายล้อม ทั้งภูเขา ทะเล และแม่น้ำ ทำให้มีชื่อเสียงด้านการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมป่าไม้มาเป็นเวลายาวนาน มีพืชเศรษฐกิจ คือ ส้มยูซุ และมะเขือเทศ รวมทั้งยังมีความเชื่ยวชาญด้านการทำประมงและปลาทูน่า ทางจังหวัดจึงได้พัฒนาด้านเครื่องจักรและเทคโนโลยีการเกษตร ทั้งนี้ ปัจจุบันโคจิถือเป็นจังหวัดอันดับหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นที่มีการปลูกพืชโดยใช้โรงเรือนเกษตรแบบ Green House ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ ได้ ทำให้ช่วยประหยัดพลังงานและควบคุมคุณภาพของผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม จังหวัดโคจิก็ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ประสบกับภัยทางธรรมชาติค่อนข้างบ่อย ทำให้เกิดแรงผลักดันในการพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันภัยพิบัติ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) เทคโนโลยีเพื่อเตรียมการก่อนเกิดภัยพิบัติ 2) เทคโนโลยีสำหรับเผชิญภัยพิบัติ และ 3) เทคโนโลยีเพื่อการบรรเทาทุกข์หลังเกิดภัยพิบัติ ทั้งหมดนี้กำลังได้รับความสนใจจากนานาประเทศ เนื่องจากความแปรปรวนของสภาพภูมิกาศที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ต่อมา นายวัชรุนฯ ได้กล่าวว่า ภาคใต้ของประเทศไทยก็กำลังประสบกับอุทกภัยครั้งใหญ่ ดังนั้น หากทางโคจิสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีป้องกันภัยพิบัติมาสู่ประเทศไทยได้นั้นจะเป็นประโยชน์กับภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือนของไทย ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเสียหายจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นทุกปี อีกทั้งยังสามารถสร้างความมั่นใจให้กับภาคอุตสาหกรรมได้ ว่ากระบวนการผลิตจะไม่หยุดชะงักเนื่องจากปัญหาดังกล่าวตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ชองนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ อุตสาหกรรมภาคการเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยสามารถเชื่อมโยงกับจังหวัดโคจิได้ อีกทั้งจังหวัดโคจิยังให้ความสนใจด้านเครื่องจักรทางการเกษตร ซึ่งประเทศไทยเองยังต้องการองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการพัฒนาเครื่องจักรการเกษตรแบบแปลงเล็ก สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อเก็บเกี่ยว แปรรูป และกำจัดซากพืชต่าง ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปัญหาการเผาไหม้และ PM2.5 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทางนายโอคาดะฯ ยินดีที่จะประสานและเป็นตัวกลางในการจัดกิจกรรมร่วมกับดีพร้อม เพื่อผลักดันการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว ทั้งด้านเกษตรอุตสาหกรรม และการป้องกันภัยพิบัติ เพื่อช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรมของไทย พร้อมทั้งเชื่อมโยงให้เกิดเครือข่ายผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศ ให้ได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นต่อไปในอนาคต
15 ม.ค. 2025
“อธิบดีดีพร้อม” ต้อนรับ “นายกฯ แพทองธาร” ชมผลิตภัณฑ์สุดปังจากดีพร้อม โชว์ไผ่และเครื่องเขินไทย ชูอัตลักษณ์พื้นถิ่น ดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่สากล ตามนโยบาย "รมต.เอกนัฏ"
จ.เชียงใหม่ 30 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีเยี่ยมชมการดำเนินโครงการและกิจกรรมของดีพร้อมในการลงพื้นที่คณะรัฐมนตรีสัญจรจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ นายเศรษฐรัชต์ เลือดสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และนายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ การลงพื้นที่ดังกล่าง นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้แนะนำการดำเนินโครงการและกิจกรรมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ผ่านจัดแสดงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งได้รับการพัฒนาจากศูนย์เรียนรู้วิถีไผ่ (DIPROM Bamboo City Center) และศูนย์อนุรักษ์หัตถกรรมเครื่องเขินภาคเหนือ (DIPROM Northern Lacquerware Center) ตามแนวทาง BCG มุ่งเน้นการสร้างคุณค่า และเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ไผ่และเครื่องเขิน ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต ออกแบบผสมผสานความร่วมสมัย คงอัตลักษณ์ความเป็นไทย รักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญาของภาคเหนือ เช่น โคมไฟ ชุดเฟอร์นิเจอร์ ของใช้จากไผ่ กระเป๋า ชุดจิบชา และชุดเก้าอี้จากงานเครื่องเขิน ด้วยการการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ถือเป็นแนวทางหนึ่งที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย รัฐบาลจึงมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) เพื่อให้เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองในการผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก โดยการพัฒนา Thailand Soft Power DNA ผ่าน 3 แนวทาง คือ 1) สร้างสรรค์และต่อยอด 2) โน้มน้าว และ 3) เผยแพร่ ซึ่งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ชูการพัฒนาอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่ซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหาร โดยการ “สร้างสรรค์” วัตถุดิบล้านนาสู่สินค้ามูลค่าสูง วัตถุดิบ Local สู่ทางเลือกสุขภาพ สมุนไพร Local สู่สารสกัดเลอค่า และ Hyper Local Taste รสชาติท้องถิ่นที่กินสะดวก “โน้มน้าว” ให้มาสัมผัสวิถีล้านนา และ “เผยแพร่” ผ่าน Influencer ส่งต่อประสบการณ์ใหม่ผ่านมุมมองที่สัมผัสได้สไตล์ Local LANNA ทั้งนี้ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ที่เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งมีเป้าหมาย “เป็นองค์กรนำวิสาหกิจภาคเหนือตอนบนสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์” โดยมีการดำเนินการทั้งในด้านวิชาการ คิดค้นรูปแบบ หลักสูตร เพื่อสร้างต้นแบบการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ เป็นแกนหลักในการกำหนดยุทธศาสตร์ และจัดทำแผนพัฒนาในระดับภูมิภาค ด้านการบริการ เป็นศูนย์กลางการบริการทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำ การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ รวมทั้งมีศูนย์บริการที่สำคัญเพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการ เช่น ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (DIPROM ITC) ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (DIPROM THAI-IDC) ศูนย์อนุรักษ์หัตถกรรมเครื่องเขินภาคเหนือ ศูนย์จัดแสดงสินค้าเครื่องมือแพทย์ ศูนย์เรียนรู้วิถีไผ่ และศูนย์พัฒนากาแฟไทยเป็นต้น นอกจากนี้ยังดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจให้มีขีดความสามารถสอดคล้องกับความต้องการและอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของพื้นที่ อาทิ อุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ
15 ม.ค. 2025
“ดีพร้อม” ร่วมผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ" เร่งสร้างอัตลักษณ์ไทย นำผู้ประกอบการไทยสู่สากล
กรุงเทพฯ 29 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ 2/2567 (ครั้งที่ 9) พร้อมด้วย คณะกรรมการจากภาคส่วนต่าง ๆ โดยมี นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นประธานการประชุม และนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ เป็นที่ปรึกษาและกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ การประชุมในครั้งนี้ ได้มีการแจ้งเพื่อทราบถึงความคืบหน้าในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านแฟชั่น ด้านภาพยนตร์ สารคดี และแอนิเมชัน ด้านหนังสือ ด้านสาขาศิลปะการแสดง รวมไปถึงความคืบหน้าการออกแบบโลโก้ซีเกมส์ โดยดีพร้อมได้มีแนวทางการสร้างและส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์สาขาอาหารและแฟชั่น อันประกอบด้วย 5 เสาหลัก คือ 1) ศึกษาและพัฒนาทรัพยากร และทุนทางวัฒนธรรม อย่างสร้างสรรค์ 2) พัฒนาบุคลากรเพื่อขับเคลื่อน Soft Power ไทย 3) พัฒนาธุรกิจ เพื่อยกระดับขีดความสามารถ ของ Soft Power ไทย 4) ส่งเสริม Soft Power ไทย สู่ระดับสากล 5) สนับสนุนปัจจัยเอื้อ ในการส่งเสริม Soft Power ไทย ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาประเด็นต่าง ๆ เพิ่มเติม ประกอบไปด้วย การขอรับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับการจัดงานมหาสงกรานต์ พ.ศ. 2568 และการของบกลางเพื่อดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2568 ของอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านเฟสติวัล ด้านหนังสือ ด้านเกม ด้านการออกแบบ และได้มีแนวทางความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมศิลปะและภาพยนตร์ ละคร และซีรีส์ ในการดำเนินการสนับสนุนงานศิลปะไทยมุ่งสู่สายตาคนทั่วโลกผ่านภาพยนตร์ รวมไปถึงการนำเสนอโครงการ Archive & Digital Platform สำหรับสาขาศิลปะการแสดงอีกด้วย
15 ม.ค. 2025
"ดีพร้อม" นำทีมส่งมอบ "ถุง MIND ไม่ทิ้งกัน" ร่วมใจช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบภัยพิบัติในพื้นที่ภาคใต้
กรุงเทพฯ 29 พฤศจิกายน 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ร่วมบรรจุและขนย้าย "ถุงอุตสาหกรรมรวมใจ MIND ไม่ทิ้งกัน" ขึ้นรถบรรทุกเพื่อลำเลียงไปส่งมอบเป็นกำลังใจให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน รวมถึงได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในพื้นที่ภาคใต้ ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ซึ่งภายในถุงบรรจุสิ่งของอุปโภค บริโภค และของใช้ที่จำเป็น เช่น ข้าวสาร น้ำตาลทราย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นถุงยังชีพที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศที่รวมใจส่งมอบรอยยิ้ม เป็นกำลังใจให้กับผู้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียงในการก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ ตามนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการเตรียมมาตรการป้องกันให้พร้อมรับมือกับปัญหาภัยพิบัติอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการและประชาชน
15 ม.ค. 2025
"รมว.เอกนัฏ" นำทีม "ดีพร้อม" ลุยเมืองน่าน หารือการแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำท่วม เดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์จากโกโก้ และกาแฟอย่างยั่งยืน
จ.น่าน 26 พฤศจิกายน 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรายงานการแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำท่วม และการสร้างโอกาสทางธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ณ กาแฟบ้านไทลื้อ อำเภอปัว จังหวัดน่าน การหารือหน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดน่าน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 และศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยในช่วงของการร่วมหารือกัน ได้มีการรายงานการแก้ไขปัญหาสถานการณ์น้ำท่วมโดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดน่าน ซึ่งมีการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดประชุมเชิงปฎิบัติการร่วมกัน ระดมความคิดเห็นและข้อผิดพลาด เพื่อป้องกันเหตุและเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ และจะได้นำแผนการเตรียมความพร้อมดังกล่าว มาบูรณาการในการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเหตุอุทกภัยให้ผู้ประกอบการกิจการโรงงาน/สถานประกอบการ ได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งได้มีการแนะนำและให้คำปรึกษาผู้ประกอบกิจการ เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ ที่จะสามารถช่วยป้องกันเหตุอุกทกภัยเบื้องต้น และการแจ้งช่องทางที่จะสามารถทราบข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานราชการเพื่อป้องกันเหตุ นอกจากนี้ ได้มีการรายงานผลการส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่ผ่านการพัฒนาโกโก้ที่เป็นพืชเศรษฐกิจ โดยพบว่า เปลือกโกโก้ที่เป็นวัสดุที่เหลือใช้จากกระบวนการแปรรูปโกโก้ สามารถนำมาพัฒนาต่อยอด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้เป็นผลิตภัณฑ์เซรามิกได้ ดีพร้อมจึงได้มีทำการทดลองและพัฒนาเป็นสูตรเคลือบเซรามิกจากขี้เถ้าเปลือกโกโก้ จนสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการผลิตเซรามิก และสามารถนำไปต่อยอดเป็นสินค้าหรือเป็นผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ใช้ในร้านอาหารในอนาคตต่อไป
15 ม.ค. 2025
“ดีพร้อม” อัพสกิล SMEs ไทย ส่งเสริมการตลาดออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ" มุ่งเซฟ SME ไทย
กรุงเทพฯ 28 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “Scale Up Social Commerce” กิจกรรมการส่งเสริม SMEs ด้านนวัตกรรมการตลาดออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้ประกอบการ เข้าร่วมงาน ณ โรงแรม เบส เวสเทิร์น จตุจักร กิจกรรมดังกล่าว ได้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการ (SMEs) เพิ่มความรู้ ทักษะด้านการตลาดออนไลน์ด้วยการใช้เครื่องมือดิจิทัล และสามารถขยายธุรกิจให้เติบโตด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล อีกทั้ง สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย เพิ่มยอดขาย ขยายฐานลูกค้า และสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ปัจจุบันเทคโนโลยี และนวัตกรรมกำลังเปลี่ยนแปลงจาก Industry 4.0 เป็นยุคที่มีการใช้งานผสมผสานกับเทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นแนวโน้มของ Industry 5.0 คือ แนวคิดมนุษย์และเทคโนโลยีดิจิทัลทำงานร่วมกัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลให้ธุรกิจทุกภาคส่วนต้องปรับตัวตามโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากอาจารย์ธัญญ์นิธิ อภิชัยโชติรัตน์ อาจารย์ยุทธนา เทียนธรรมชาติ อาจารย์ศุภกร สินธุธาน และอาจารย์เกียรติกร เทียนธรรมชาติ วิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์มาถ่ายทอดความรู้และเทคนิคต่าง ๆ เกี่ยวกับ TikTok Facebook และ Line OA โดยมีผู้ประกอบการที่สนใจจะขยายธุรกิจตลาดออนไลน์ให้เติบโตด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เข้ารับการฝึกอบรมจำนวนกว่า 50 ราย
15 ม.ค. 2025
“รมว.เอกนัฏ” เปิดโร้ดแม็ป 3 ปี ดันไทย “ฮับโกโก้แห่งอาเซียน” เชื่อมท่องเที่ยวด้วยซอฟต์พาวเวอร์ โชว์ศักยภาพ “ดีพร้อม” ยกระดับผู้ประกอบการโกโก้สู่สินค้า GI โกยรายได้เพิ่มอีก 8 พันล้านบาท
จ.น่าน 25 พฤศจิกายน 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อร่วมกิจกรรมสร้างโอกาสทางธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานคณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ด้านยุทธศาสตร์ นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ โกโก้ วัลเลย์ รีสอร์ท อำเภแปัว จังหวัดน่าน นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม มีนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” พร้อมมุ่งสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน และมุ่งเซฟอุตสาหกรรมไทยที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมอยู่คู่กับชุมชน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการสร้างรายได้และเป็นการกระจายมูลค่าเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะ “เกษตรอุตสาหกรรม” ซึ่งเกษตรกรไทยมีศักยภาพและมีการเพาะปลูกในทุกภูมิภาค โดยจะมุ่งสนับสนุนทั้งพืชเศรษฐกิจเดิม และพืชเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โกโก้ ที่สามารถสร้างมูลค่าตั้งแต่ผลสด เมล็ดแห้ง และการแปรรูปเป็นสินค้าสร้างสรรค์ อีกทั้งยังพบว่าตั้งแต่โกโก้เริ่มได้รับความนิยมในไทย ยังเป็นแรงจูงใจในหลายด้าน เช่น โมเดลธุรกิจคาเฟ่ ท่องเที่ยว คนรุ่นใหม่ที่ผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการเกษตร รวมถึงการจ้างงานในชุมชนที่มากขึ้น ทั้งนี้ ใน 6 เดือนแรกของปี 2567 ไทยมีผลผลิตโกโก้รวมทั้งหมด 1,016.78 ตัน พบการตื่นตัวของผู้ประกอบการที่เริ่มหันมาสนใจนำทุกส่วนจากโกโก้ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มูลค่าสูงหลายรูปแบบ เช่น เครื่องสำอาง น้ำสกัดโกโก้ ฯลฯ ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ภายใต้เป้าหมายการผลักดันประเทศไทยให้เป็นผู้นำในแหล่งผลิตและตลาดผลไม้เมืองร้อนที่มีคุณภาพ กระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมโกโก้ในอาเซียน ด้วยเล็งเห็นความนิยมและแนวโน้มการเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่มีมูลค่าสูงจากจุดแข็งของไทยที่มีภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสม เป้าหมายที่สำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมโกโก้คือ การผลักดันให้พันธุ์ต่าง ๆ ที่กำลังพัฒนาและปลูกในแต่ละภูมิภาคก้าวสู่การเป็นสินค้า GI เพื่อตอกย้ำการเป็นแบรนด์ของท้องถิ่น ที่บ่งบอกถึงคุณภาพ แหล่งที่มาของสินค้า และโอกาสเพิ่มมูลค่าของโกโก้ในรูปแบบของสินค้าและบริการ รวมถึงพัฒนาให้มีความโดดเด่นในเชิงคุณภาพ อัตลักษณ์ทางรสชาติ และหลีกเลี่ยงการแข่งขันในเชิงปริมาณ ดังเช่นที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จมาแล้วกับอุตสาหกรรมกาแฟ รวมถึงการพัฒนาสารสกัดจากโกโก้ไทยที่เป็นทั้งสารสกัดจากกลิ่น รสชาติ และคุณประโยชน์ซึ่งสามารถสร้างคุณค่าและมูลค่าใหม่ที่เหนือไปกว่ารูปแบบของเดิม โดยได้มอบนโยบายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) สนับสนุนโกโก้ในเชิงรุกผ่านการเข้าไปให้ความรู้ การนำเครื่องจักร เทคโนโลยี และระบบอัตโนมัติเข้าไปสนับสนุนผู้ประกอบการ รวมถึงในด้านการพัฒนามาตรฐานทั้งด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับโกโก้โดยตรง ตลอดจนการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) วางแผนการส่งเสริมโกโก้ในระยะ 3 ปี (2567 – 2569) โดยวางเป้าเพิ่มจำนวนผลผลิตภาคเหนือเพิ่มขึ้น 240 ตัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้น 57 ตัน ภาคใต้เพิ่มขึ้น 113 ตัน ภาคตะวันออกเพิ่มขึ้น 682 ตัน และภาคกลางเพิ่มขึ้น 5 ตัน คาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 8,000 ล้านบาท ด้วยมาตรการต่าง ๆ ประกอบด้วย 1) พัฒนาบุคลากรภาคการเกษตร ผ่านการเพิ่มมูลค่าให้กับเมล็ดโกโก้ ตั้งแต่ในขั้นตอนการแปรรูปเพื่อให้ตรงความต้องการของตลาด เทคนิคการคัดเลือกเมล็ดโกโก้ เทคนิคการหมัก การรวมกลุ่มคลัสเตอร์เพื่อการทำธุรกิจร่วมกันตั้งแต่ต้นน้ำ – ปลายน้ำ 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการ ซึ่งจะพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์พร้อมนำเทคโนโลยีเครื่องทุ่นแรงสำหรับเกษตรแปรรูปมาประยุกต์ใช้กับผู้ประกอบการ เช่น เครื่องคั่วเมล็ดโกโก้อัจฉริยะด้วยระบบ AI เครื่องบีบสกัดไขมันเนยโกโก้ ฯลฯ รวมถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์และสินค้าสร้างสรรค์ 3) พัฒนาปัจจัยเอื้อ ด้วยการยกระดับมาตรฐานเมล็ดโกโก้ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้เทียบเท่าสากล อีกทั้งยังได้ส่งเสริมด้านเกษตรปลอดภัยโดยเฉพาะการปรับตัวผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 4) ส่งเสริมด้านการตลาดโดยนำผู้ประกอบการแปรรูปโกโก้ ซึ่งในปีนี้ได้เน้นการทดสอบตลาดในงานแสดงสินค้า เช่น THAIFEX ANUGA ASIA 2024 งาน Craft Cocoa Village ฯลฯ ส่วนในปี 2568 – 2569 จะเน้นการผลักดันเข้าสู่โมเดิร์นเทรดให้มากขึ้น “นอกเหนือไปจากเกษตรอุตสาหกรรม โกโก้ยังมีความสำคัญในมิติซอฟต์พาวเวอร์ในด้านอาหาร ที่สามารถพัฒนาได้ทั้งสินค้าสร้างสรรค์ รูปแบบของอาหารใหม่ ๆ และสามารถทำให้ไทยในฐานะผู้นำด้านอุตสาหกรรมมีส่วนแบ่งมูลค่าจากตลาดโกโก้ และอาหารที่มากขึ้น รวมถึงการเชื่อมโยงกับงานเทศกาล (Festival) ที่เป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จะเกิดขึ้นจากกิจกรรมการท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวชุมชน ธุรกิจคาเฟ่ สปา สินค้าของฝากและสินค้าไลฟ์สไตล์ใหม่ ๆ ด้านความงามและสุขภาพรวมถึงการบูรณาการกับสมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทยที่มีแผน 3 ปี ในการเพิ่มเทรนเนอร์มืออาชีพ สร้างผู้มีความรู้ในการทำคราฟต์ช็อกโกแลต และสร้างตรารับรองโกโก้ รวมทั้งการร่วมกันจัด Asian Chocolate Festival เพื่อตอกย้ำให้ประเทศไทยเป็นหมุดหมายโกโก้ที่สำคัญของโลกพร้อมสร้างเครือข่ายอย่างน้อย 33 ประเทศ นอกจากนี้ ยังใช้โมเดลชุมชนดีพร้อม และดีพร้อมฮีโร่ เพื่อให้เศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตัวเองได้ และธุรกิจเป็นที่รู้จักในระดับภูมิภาคและในระดับประเทศ และนำไปสู่การส่งต่อความสำเร็จไปยังชุมชนอื่น ๆ” นางสาวณัฏฐิญา กล่าวเสริมว่า ดีพร้อมได้กำหนดให้จังหวัดน่านเป็นพื้นที่ต้นแบบการปลูกโกโก้ทั่วประเทศภายใต้แนวคิด “น่านโมเดล” โดยมุ่งหวังสร้างความนิยมการปลูกพันธุ์โกโก้น่าน 133 ที่เป็นสินค้า GI โดยการเพิ่มจำนวนพื้นที่เพาะปลูกและจำนวนผู้ประกอบการ สร้างต้นแบบธุรกิจ หรือดีพร้อมฮีโร่ขึ้น โดยมีผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ คือโกโก้วัลเลย์ (Cocoa Valley) ต้นแบบธุรกิจโกโก้ครบวงจรของน่านที่มีศักยภาพตั้งแต่การปลูก แปรรูปจนถึงการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง จากการเข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมต้นแบบอัจฉริยะ สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสที่พร้อมเข้าสู่การแข่งขันในตลาดโลก โดยทุกวันนี้โกโก้วัลเลย์ ถือเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของจังหวัดน่าน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบโกโก้และช็อกโกแลต และขณะเดียวกันธุรกิจนี้ยังได้ส่งต่อความรู้การปลูกโกโก้ให้กับเกษตรกรในชุมชน สร้างรายได้ และผลกระทบเชิงบวกให้กับชุมชนโดยรอบมากกว่า 300 ชุมชน เช่น กลุ่มขายผลสดโกโก้ กลุ่มชนเผ่า กลุ่มย้อมผ้า ทำให้คนในท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกโกโก้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร และสปา เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ได้สอดรับกับความต้องการตลาด เช่น เครื่องสำอาง เครื่องดื่มสำเร็จรูป คราฟท์ช็อกโกแลต นางสาวณัฏฐิญา กล่าวทิ้งท้าย
15 ม.ค. 2025
"ดีพร้อม" เร่งเดินหน้าปั้นผู้ประกอบการ OTAGAI รุ่นที่ 2 เตรียมความพร้อมสู่การเชื่อมโยงเครือข่ายทางธุรกิจไทย - ญี่ปุ่น สู่งาน Thailand International Motor Expo 2024
กรุงเทพฯ 26 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม “การฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้และยกระดับผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดสากล” รุ่นที่ 2 ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อโอกาสการขยายธุรกิจไทย – ญี่ปุ่น ตามแนวทาง OTAGAI (The OTAGAI Forum of TH – JP Business Network) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมี ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องศรีนครินทร์ 1 ชั้น 1 โรงแรมดุสิต ปริ้นเซส ศรีนครินทร์ กรุงเทพฯ ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ว่าด้วยการสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SME ไทย โดยการ “Save อุตสาหกรรมไทย” ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดีพร้อม จึงได้ดำเนินโครงการดังกล่าวในฐานะหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและยกระดับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมและ SMEs ให้มีความพร้อมและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งกิจกรรมตามแนวทาง OTAGAI เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้และเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ ผ่านการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม เพื่อสร้างโอกาสสำหรับการขยายธุรกิจในตลาดสากล สำหรับกิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรมการฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้และยกระดับผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดสากล รุ่นที่ 2 สำหรับผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมเหล็กและพลาสติก อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยและเป็น 10 กลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่อยู่ใน S-Curve โดยมีผู้ประกอบการให้ความสนใจและเข้าร่วมกว่า 70 คน จาก 50 กิจการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยจะดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบการ จำนวน 10 กิจการ ที่ผ่านการฝึกอบรมรุ่นที่ 2 ที่มีความพร้อมและศักยภาพในการขยายธุรกิจสู่ตลาดสากล พร้อมผ่านกระบวนการพัฒนาโดยดีพร้อมไปเป็นตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมการเจรจาจับคู่ธุรกิจ ณ งาน Thailand International Motor Expo 2024 ในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ณ อาคารอิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ 1 - 3 เมืองทองธานี
15 ม.ค. 2025