Category
เอส.พี.เค. เครน เพิ่มศักยภาพการตลาด ผ่าน Social Media
กลยุทธ์ทางการตลาดผ่าน Social Media มีบทบาทมากขึ้นในยุคปัจจุบัน แต่การทำการตลาดในช่องทางดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก คุณปิยะพงษ์ เตชจารุวงศ์ เจ้าของ บริษัท เอส.พี.เค. เครน จำกัด ผู้ให้บริการรถเครนให้เช่า เล็งเห็นความสำคัญของการทำตลาดบนโลกออนไลน์ โดยทำการค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเองทั้งจากหนังสือและจากอินเทอร์เน็ต แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริม SMEs ใช้ Social Media เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาด ภายใต้โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมไทย ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เมื่อได้เข้าร่วมโครงการแล้วพบว่า ได้ความรู้ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ทางการตลาดการจัดการทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงการสื่อสารที่ตรงประเด็น สอดคล้องกับธุรกิจมากขึ้น เช่น การทำให้ผู้เข้าสืบค้นข้อมูลบนหน้าเว็บไซต์ค้นพบ เอส.พี.เค. เครน เป็นรายแรก ๆ ส่งผลให้ยอดขายในปี 2558 เติบโตขึ้นประมาณ 20%หลังจากใช้ Social Media คุณปิยะพงษ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า “ถ้ามีโอกาส อยากให้ผู้ประกอบการ SMEs ลองเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ยอมเสียเวลาเรียนตอนนี้ เพื่อประหยัดเวลาในภายภาคหน้า และรับรองว่าสิ่งที่ได้รับจะส่งผลดีต่อธุรกิจอย่างประเมินค่ามิได้” นายปิยะพงษ์ เตชจารุวงศ์ บริษัท เอส.พี.เค. เครน จำกัด 109/9 ม.6 ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000 โทรศัพท์ 0 3828 6437 www.spkcrane.com ที่มา : รายงานประจำปี 2558 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2015
ไทยซิลค์ วิลเลจ ต่อยอดสู่ "ไทยซิลค์พลัส" ครีมบำรุงจากใยไหมสาหร่าย
บริิษัท ไทยซิลค์ วิลเลจ จำกัด ผลิจและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหมอย่างครบวงจร ตั้งแต่เลี้ยงไหม ทอผ้าไหม และตัดเย็บ นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อของจังหวัดเชียงใหม่ที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเข้ามาเยี่ยมชมกระบวนการผลิต รวมทั้งซื้อผลิตภัณฑ์ในราคาโรงงาน คุณสุนทร วาณิชย์มงคล มีแนวคิดที่จะเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยนวัตกรรม จึงได้เข้าร่วม กิจกรรมเชื่อมโยงงานวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์เพื่อสร้างงมูลค่าเพิ่ม ภายใต้พัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูปของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยนำใยไหมและสารสกัดจากสาหร่ายไกมาพัฒนา "ซิลค์พลัสไวท์เทนนิ่ง" ซึ่งเป็นครีมที่มีประสิทธิภาพในการบำรุงและฟื้นฟูสภาพผิวต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ ลดริ้วรอยทำให้ผิวหน้ากระจ่างใสและชุ่มชื้น นวัตกรรมนี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มมูลค่าของใยไหมที่เป็นเศษเหลือจากการทำผ้าไหมและสาหร่ายไกที่เป้นวัตถุดิบพื้นบ้านราคาถูกแล้ว ยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนที่เพาะเลี้ยงทั้งไหมและสาหร่าย รวมทั้งเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย คุณสุนทร วาณิชย์มงคล บริษัท ไทยซิลค์ วิลเลจ จำกัด 120/11 ม.3 ถ.เชียงใหม่-สันกำแพง ต.สันกลาง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ 50110 โทรศัพท์ 0 5333 8357, 0 5333 9022 โทรสาร 0 5333 8701 www.thaisilkvillage.com ที่มา : รายงานประจำปี 2558 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2015
'Mr.Leaf' สร้างดีไซน์ด้วยวัสดุธรรมชาติ เกิดเป็นผลิตภัณฑ์รัก(ษ์)โลกที่แฝงความทันสมัย
คุณปรเมศร์ สายอุปราข เจ้าของแบรนด์ Mr.Leaf ที่ต่อยอดวัสดุธรรมชาติใบตองตึงมาเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋าที่เพิ่มมูลค่าด้วยลวดลายใบตองที่มีคุณสมบัติกันน้ำได้ดี และมีความเหนียวทนทาน จนได้รับรางวัลรองงชนะเลิศอันดับที่ 2 ของโครงการกิจกรรมการประกวดผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรมและภูมิปัญญา (Cultural & Wisdom Talent) หลังจากเข้าร่วมโครงการ คุณปรเมศร์ให้เหตุผลว่า "เพราะธุรกิจหยุดนิ่งไม่ได้ ทำให้เรามองเห็นว่าคนอื่นเขาไปถึงไหนแล้วและยังได้แรงบันดาลใจในการพัฒนาสินค้าครั้งต่อไป ที่สำคัญโครงการยังเปรียบเหมือนกระจกสะท้อนให้เห็นว่ามีคนรับรู้ในสิ่งที่เราทำอยู่ นอกจากนี้เราได้ความรู้ทั้งเชิงพาณิชย์ว่าต้องปรับภาพลักษณ์อย่างไรให้ดูเป็นผลิตภัณฑ์รักษ์โลก แต่ยังคงความหรูหราได้ ส่วนมุมวิชาการก็ควรมีการการันตีหรือรับรองว่าวัตถุดิบเราดีอย่างไร อย่างตอนนี้ได้การการันตีจากศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบหรือ TCDC ว่าเรามีวัตถุดิบหรือ Material รายเดียวในโลก ปัจจุบันสินค้า Mr.Leaf มีจำหน่ายอยู่ที่ลอนดอนและอเมริกา ส่วนเมืองไทยมีจำหน่ายที่เอเชีนทีคและสวนจตุจักร ทั้งนี้ยังเตรียมเปิดแกลอรี่ที่เชียงใหม่อีกด้วยซึ่งภายภาคหน้าคุณปรเมศร์ มุ่งหวังเป้าหมายใหญ่ คือ การเป็นผู้นำและผู้เชี่ยวชาญด้าน Material โดยเฉพาะ คุณปรเมศร์ สายอุปราช Me.Leaf 239/2 ถ.จามเทวี ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง 52000 โทรศัพท์ 08 6182 3589 ที่มา : รายงานประจำปี 2558 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2015
เจริญกิจ เออาร์ ต่อยอดธุรกิจก่อสร้าง สร้างบ้านน็อคดาวน์ ต้นทุนต่ำ
ก่อนที่บริษัท เจริญกิจ เออาร์ จำกัด จะถูกก่อตั้งขึ้น ได้ดำเนินการอยู่ในรูปของห้างหุ้นส่วนจำกัด เพื่อรับเหมาก่อสร้างทั่วไปภายใต้ชื่อ เจริญกิจก่อสร้าง มาตั้งแต่ พ.ศ.2500 ต่อมาวงการก่อสร้างขยายตัว ปริมาณความต้องการวัสดุก่อสร้างในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดใกล้เคียงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จึงได้ขยายโรงงานเพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอกับความต้องการ พร้อมกับก่อตั้งบริษัท เจริญกิจ เออาร์ จำกัด ขึ้นในปี 2536 เพื่อผลิตและจำหน่ายวัสดุก่อสร้างทุกชนิด จากรุ่นพ่อสู่พี่สาว สืบต่อมาจนถึงคุณศราวุธ ฉันทวิบูลชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัทเจริญกิจ เออาร์ จำกัด ซึ่งเป็นรุ่นที่ 3 ได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มพูนความรู้ ด้วยมองว่าแม้จะเป็น SMEs ที่ไม่ได้มีเงินทุนมากมาย แต่มีจุดแข็งคือความรู้และประสบการณ์ทางด้านวิศวกรรม เพราะผู้บริหารและพนักงานอยู่ในสายงานก่อสร้างและสายงานผลิตวัสดุก่อสร้างมานานทำให้มีความเชี่ยวชาญ จึงสนใจเข้าร่วม โครงการประยุกต์งานวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยได้รับทั้งคำปรึกษาแนะนำเชิงลึก รวมถึงการนำงานวิจัยเข้ามาทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมกับความรู้ที่มีอยู่เดิมจนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งก็คือบ้านถอดประกอบได้หรือบ้านน็อคดาวน์ ด้วยการนำนวัตกรรมผนังสำเร็จรูปที่ได้รับการเสริมความแข็งแรงจากการใช้กรอบเหล็กทุกชิ้น กับนวัตกรรมเสาที่ออกแบบเฉพาะในการรับน้ำหนักผนัง นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมระบบการจับยึดชนิดพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของบริษัทฯ ที่เพิ่มความแข็งแรงและปลอดภัยให้กับบ้าน คุณศราวุธ ฉันทวิบูลชัย บริษัท เจริญกิจ เออาร์ จำกัด 627/1-9 ม.7 ต.หนองกรด อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60240 โทรศัพท์ 0 5629 6007-9 www.ar.in.th ที่มา : รายงานประจำปี 2558 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2015
เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป (4 ตำแหน่ง)
ประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป (4 ตำแหน่/Portals/0/2558/สบก/edit3-2558.pdf
19 ม.ค. 2015
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (6 ตำแหน่ง)
ประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (6 ตำแหน่ง) รายละเอียดดังแนบ
08 ม.ค. 2015
ปีงบประมาณ 2558
รายละเอียดตัวชี้วัด 2558 รายละเอียดตัวชี้วัด 2558(1) รายละเอียดตัวชี้วัด 2558(2)
07 ม.ค. 2015
แผนที่อุตสาหกรรมยางพาราไทย (ตอนที่ 2)
แผนที่อุตสาหกรรมยางพาราไทย ตอนที่ 2 สินเชื่อยางแนวทางพยุงราคา แนวทางในการผลักดันและเร่งรัดโครงการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้สถาบันเกษตรกรรับซื้อยางจากเกษตรกรในราคาที่สูงขึ้น และการปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการ นำเงินเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อใช้ในการแปรรูปยาง อีกทั้ง สนับสนุนให้มีการปล่อยเงินกู้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อเข้าถึงเกษตรกรมากขึ้น โครงการสินเชื่อยาง เป็นโครงการหนึ่งที่อยู่ในแนวทางที่ 2 นี้ ในส่วนของการชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับผู้ประกอบการนำเงินไปซื้อน้ำยางข้นเพื่อเก็บน้ำยางเข้าสะต๊อกของโรงงานให้เต็มจำนวนสะต๊อก ใช้วงเงิน 10,000 ล้านบาท โดยให้ผู้ประกอบการกลุ่มน้ำยางข้นกู้เงินหรือขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ตามที่ผู้ประกอบการมีอยู่ เพื่อนำเงินไปหมุนเวียนซื้อน้ำยางข้นจากเกษตรกรชาวสวนยางมาเข้าสะต๊อกให้เต็มจำนวนในช่วงเวลาที่ผลผลิตน้ำยางออกมามาก โดยเล็งเห็นผลว่าเป็นการดึงปริมาณน้ำยางออกจากมือเกษตรกรให้มากที่สุดและเร็วที่สุดและคาดว่าจะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำยางข้นมีมากยิ่งขึ้นเพื่อดึงราคายางพาราให้สูงขึ้นตาม วิธีที่ทำก็คือกลุ่มผู้ประกอบการกลุ่มน้ำยางข้นไปกู้เงินจากสถาบันการเงินมาใช้ซื้อน้ำยางข้นในวงเงิน 10,000 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ที่ผู้ประกอบการต้องจ่ายให้ธนาคารเจ้าหนี้ตามอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน ซึ่งปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 บาท คิดเป็นเม็ดเงินที่ใช้ในโครงการอยู่ที่ 500 ล้านบาท ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสินเชื่อยางจะได้รับการชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 3 บาท รวมเม็ดเงิน 300 ล้านบาท หมายความว่าผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสินเชื่อยางจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้ธนาคารเจ้าหนี้รวมทั้งสิ้น 500 ล้านบาท ในจำนวนนี้ภาครัฐจ่ายชดเชยแทนให้ 300 ล้านบาท ผู้ประกอบการจ่ายเอง 200 ล้านบาท เรื่องแบบนี้ท่านเห็นเป็นอย่างไรมาพิจารณาวิเคราะห์เรื่องนี้กันสักหน่อยจะได้เห็นมุมมองต่างๆ ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ก่อนอื่นต้องชมรัฐบาลยุคที่มาจาก คสช. ว่าทำงานได้อย่างรวดเร็ว คำนึงถึงความเดือดร้อนและเรื่องปากท้องของพี่น้องเกษตรกร ทุ่มเทการทำงานอย่างหนักเพื่อคลี่คลายความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรการอย่างแท้จริง เรื่องนี้ถูกยกขึ้นเป็นวาระปัญหาระดับชาติ ก็คิดว่าโครงการสินเชื่อยางซึ่งเป็นกลไกชิ้นเล็กๆ ชิ้นหนึ่งที่จะขับเลื่อนการแก้ปัญหาราคายางทั้งระบบได้ส่งผลเป็นลูกโซ่ถึงตัวเกษตรกรชาวสวนยางจริงๆ คงได้ระดับหนึ่ง ท่านก็เห็นด้วยตามความข้างต้นนี้นะครับ ในมุมมองอีกด้านหนึ่ง เมื่อพิจารณาดูกันอีกทีเปรียบเทียบข้อมูลให้รอบด้านแล้วค่อยสรุปตกผลึกทางความคิดกันดีกว่า ตามที่เราเห็นว่าเรื่องราวของยางพาราตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่ามีบทสรุปที่เป็นหัวใจอยู่ที่ภาคอุปทาน มีอัตราการเติบโตที่สูงกว่าภาคอุปสงค์ การใช้มาตรการช่วยเหลือผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่นโครงการสินเชื่อยางเพื่อพยุงราคายางจึงถือว่าเป็นการใช้เครื่องมือที่ถูกต้องเหมาะกับเวลาหรือไม่ ถ้าเปรียบปริมาณยางที่ผลิตออกมาเรื่อยๆ เหมือนปริมาณฝนตกไม่หยุดมีน้ำที่ไหลหลากลงมาจากภาคเหนือเข้าสู่ภาคกลาง การผันน้ำลงสู่ทะเลเปรียบเหมือนกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ยางซึ่งในภาวะปกติระบายได้ทันก็ไม่เป็นประเด็นปัญหา ปริมาณน้ำที่ไหลลงมามีอัตราที่มากกว่าอัตราปริมาณน้ำที่ระบายออกไป สถานการณ์นี้ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมแน่นอน เช่นเดียวกับปริมาณยางพาราที่ระบายขายออกไปไม่หมดจึงมีปริมาณยางเหลืออยู่ในระบบฉันนั้น แล้วอย่างไรจะเป็นการช่วยไม่ให้น้ำท่วมได้ วิธีคิดเรื่องยางพาราก็เป็นแนวทางเดียวกัน มีผู้คิดได้เสนอข้อคิดความเห็นทั้งระบบให้รัฐบาลออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางและยกระดับราคายางพาราให้สูงขึ้น เครื่องมือหนึ่งในมาตรการเหล่านั้นก็คือโครงการสินเชื่อยาง ภาพของโครงการนี้แสดงออกมาให้เห็นว่าเป็นโครงการที่ดีในระดับหนึ่ง เนื้อหาหลักของโครงการเป็นการชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการกลุ่มน้ำยางข้นในอัตราร้อยละ 3 ที่ไปกู้สถาบันการเงินต่างๆ ในวงเงินกู้รวม 10,000 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขให้ผู้ประกอบการนำเงินกู้นี้ไปหมุนเวียนซื้อน้ำยางข้นเก็บเข้าสะต๊อกให้เต็มตลอดเวลา เมื่อโครงการนี้ดำเนินต่อไปคาดการได้ว่าจะมีปริมาณน้ำยางข้นจำนวนหนึ่งจะไหลเข้าโกดังเก็บของผู้ประกอบการ เกษตรกรชาวสวนยางขายน้ำยางได้ปริมาณเพิ่มขึ้น คล้ายกับตลาดมีความต้องการมากขึ้นราคาน้ำยางก็จะขยับตัวสูงขึ้นแต่วัดค่าไม่ได้ว่า ราคาสูงขึ้นแค่ไหนจากโครงการนี้ เกษตรการชาวสวนยางไม่ได้รับประโยชน์โดยตรงต้องรอดูไปว่าโครงการนี้จะส่งผลต่อราคาน้ำยางมากน้อยแค่ไหนอย่างไร เปรียบเหมือนการทำโครงการนี้ผิดฝาผิดตัวหรือเกาไม่ถูกที่คัน ถ้าหันมาดูแบจำลองเปรียบเทียบกับสถานการณ์น้ำท่วม คล้ายกับว่าโครงการนี้กำลังใช้ความพยายามต่อสู้กับสถานการณ์น้ำท่วมด้วยการสร้างแก้มลิงเป็นตัวช่วยดูดซับปริมารณน้ำยางที่กำลังไหลสู่ตลาด ก็ช่วยได้ระดับหนึ่งซึ่งค่อนข้างจะได้ผลน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำยางที่ผลิตออกมากและระบายออกต่างประเทศได้ช้าและปริมาณไม่มากพอ เหตุการณ์ลักษณะนี้จะเกิดขึ้นซ้ำๆ เป็นแบบนี้ทุกปี ทีนี้ลองพิจารณาแยกส่วนให้ชัดถึงผลลัพธ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โครงการนี้มีผู้เกี่ยวข้องได้เสียอย่างไรบ้าง เริ่มจากคนที่หนึ่งคือภาครัฐ มติ ครม.เห็นชอบให้ดำเนินโครงการนี้ รัฐจำต้องนำภาษีอากรจากประชาชนออกมาจ่ายชดเชยค่าดอกเบี้ยเงินกู้ให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ 300 ล้านบาท คนที่สองเป็นเหล่าผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ เป็นผู้รับผลประโยชน์นี้จากเงินภาษีอากร 300 ล้านบาทที่รัฐบาลจ่ายแทนให้ คนที่สามเป็นเกษตรกรชาวสวนยางที่ขายน้ำยางได้ราคาที่สูงกว่าราคาตลาดปกติทั่วไป (สูงกว่ากี่บาทหรือไม่) ข้อนี้ไม่สามารวัดเป็นมูลค่าออกมาได้ ภาพที่แสดงให้เห็นนี้ยังสามารถบ่งชี้ถึงกลุ่มผู้รับประโยชน์จากโครงการนี้ เชื่อได้ว่าน่าจะมาจากกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับยางพาราเพียงไม่กี่รายที่เสนอแนวความคิดนี้เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนมาตรการต่างๆ ออกมาช่วยเหลือพยุงราคายางไม่ให้ตกต่ำ เป็นผลงานเด่นของรัฐบาล เพื่อพิสูจน์ความจริงและการยอมรับผลงานชิ้นนี้ ต้องมีหน่วยติดตามสำรวจและสอบถามจากพี่น้องเกษตรการชาวสวนยางว่าได้รับประโยชน์ราคาที่เพิ่มขึ้นและมีความพึงพอใจกับมาตรช่วยเหลือในโครงการสินเชื่อยางหรือไม่ คำตอบนั้นคือเสียงสวรรค์ที่ต้องน้อมรับนะครับ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติม : http://in-promote.blogspot.com/2015/01/2-2-10000-10000-5-500-3-300-500-300-200.html เรียบเรียง : สิทธิชนคน กสอ.
05 ม.ค. 2015
บริษัท ลี้ กิจเจริญแสง จำกัด สร้างวิสัยทัศน์ใหม่ จากคนขายหลอดไฟสู่การขายแสง
จากธุรกิจห้องแถวเล็กๆ สร้างธุรกิจมานานกว่า 40 ปี เติบโตจากการรับจ้างผลิตแบบ OEM ปัจจุบันบริษัท ลี้ กิจเจริญแสง จำกัด คือผู้ผลิตอุปกรณ์แสงสว่างครบวงจร สร้างแบรนด์ Lekise จนโด่งดัง มีผลิตภัณฑ์มากกว่า 150 ชนิด คุณสมนึก โอวุฒิธรรม กรรมการผู้จัดการ ทายาทธุรกิจผู้เข้ามาบริหารงานในช่วงสิบปีที่ผ่านมา วางวิสัยทัศน์ขององค์กรไว้ว่า ที่นี่คือองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ไม่เคยหยุดพัฒนาตลอดระยะเวลาที่เข้ามาบริหารงาน คุณสมนึกส่งพนักงานไปอบรมสัมมนา แล้วนำความรู้เรื่องต่าง ๆ กลับเข้ามาอบรมให้กับพนักงานในบริษัท แม้กระทั่งระบบ ISO ก็อบรมแล้วทำด้วยตนเองจนสำเร็จมาแล้ว แม้เรียนรู้ไม่เคยหยุด แต่แล้ววันหนึ่งก็รู้สึกว่าถึงทางตัน ช่วง 7-8 ปีที่ผ่านมาถือว่าองค์กรแห่งนี้พัฒนาได้เร็ว แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งก็เริ่มรู้สึกว่าไม่รู้จะพัฒนาต่อไปในทิศทางใดถึงเวลาที่ต้องมองหาแนวทางใหม่ๆ เมื่อรู้ว่ากรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดทำโครงการ MDICP รุ่น 11 ซึ่งพัฒนาศักยภาพ 5 แผน คุณสมนึกจึงได้เข้าร่วมอบรม ด้วยความหวังว่าอยากเปิดโลกทัศน์และมองหาแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ให้กับองค์กร หลังเข้าร่วมโครงการ บริษัทมี Road Mapที่ชัดเจนเกี่ยวกับแผนการผลิต โดยเลือกทำหลอด T5 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เน้นไปที่สินค้าที่มีนวัตกรรม จึงจัดตั้งทีมงานเรียนรู้เรื่อง Technology Road Map ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่วางไว้ ในด้านงานบัญชีมีการนำระบบ ERP มาใช้ และมีการวางแผนการตลาดเพื่อสร้างแบรนด์ด้วยงประมาณ 50 ล้านบาท “เราได้เรียนรู้และพัฒนาค่อนข้างเยอะ ที่สำคัญทีมงานก็สนุกกับการทำงาน ผมมองธุรกิจเป็นระบบมากขึ้น สุดท้ายผลจากการเข้าโครงการ MDICP สะท้อนมาที่ผลประกอบการ ยอดขายของเราเพิ่มขึ้นในเปอร์เซ็นต์ที่น่าพอใจมาก” นอกจากได้เรียนรู้การวางแผนงานอย่างเป็นระบบแล้ว องค์กรยังได้ค้นพบแนวคิดใหม่จากการเข้าอบรม นั่นคือ การเปลี่ยนวิสัยทัศน์เกี่ยวกับตนเอง จากที่เคยเป็นเพียงคนขายหลอดไฟ ปรับไปเป็นคนขายแสง เพราะวันหนึ่งหากโลกเปลี่ยนไปจนไม่จำเป็นต้องใช้หลอดไฟ คนขายหลอดไฟก็คงต้องตกงาน แต่คนขายแสงไม่มีวันตกงาน สิ่งที่ทำให้เกิดแสงจึงไม่ได้จำกัดอยู่ที่หลอดไฟอีกต่อไป คุณสมนึกจึงมีโครงการตั้ง R&D Center เพื่อวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คุณสมนึก โอวุฒิธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลี้ กิจเจริญแสง จำกัด 29/22 ถ.พระราม 2 ต.นาดี อ.เมือง จ.สมุทรสาคร โทรศัพท์ : 0 3441 9200 โทรสาร : 0 3441 9205 เว็บไซต์ : www.lekise.com ที่มา : หนังสือ 72 ปี แห่งการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมสู่ความสำเร็จ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ธ.ค. 2014