Category
วิดีโอการเรียนการสอน
ท่านสามารถรับชมวิดีโอย้อนหลังของหลักสูตรฝึกอบรมต่าง ๆ ที่กรมฯ ได้จัดขึ้น สำหรับให้ผู้ประกอบการ หรือบุคคลที่สนใจ ได้รับความรู้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่กิจการและองค์กร
01 มิ.ย. 2020
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในรูปแบบออนไลน์ หลักสูตร “การวางแผนและการบริหารเพื่อการอยู่รอดและเติบโตสำหรับผู้ประกอบการในภาวะวิกฤต”
กสอ. จัดบ่มเพาะผู้ประกอบการออนไลน์ เพื่อสามารถรับมือและบริหารธุรกิจให้ผ่านพ้นสภาวะวิกฤต COVID-19 และหวังสร้างที่ปรึกษาทางธุรกิจยุคใหม่ กรุงเทพฯ 1 มิถุนายน 2563 นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในรูปแบบออนไลน์ หลักสูตร “การวางแผนและการบริหารเพื่อการอยู่รอดและเติบโตสำหรับผู้ประกอบการในภาวะวิกฤต” ร่วมด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ณ ห้อง DIProm Co-Working Space ชั้น 3 อาคาร กสอ. การอบรมดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้โครงการศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SME Support & Rescue Center : SSRC) โดยการอบรมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น ZOOM Cloud Meeting เพื่อให้ผู้ประกอบการหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ได้รับความรู้ด้านการบริหารธุรกิจและสามารถพลิกฟื้นธุรกิจได้ รวมถึงสามารถวางแผนธุรกิจเพื่อรองรับต่อสถานการณ์วิกฤตในอนาคต ซึ่งมีผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 30 ราย ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านหลักสูตรการฝึกอบรม ดังกล่าว สามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปให้คำปรึกษาแนะนำกับผู้ประกอบการรายอื่นได้เช่นเดียวกันและยังสามารถพัฒนาตนเองเพื่อต่อยอดเป็นวิทยากรหรือที่ปรึกษาในเครือข่ายของ กสอ. เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ต่อไปได้ ณ ห้อง DIProm Co-Working Space ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2563
01 มิ.ย. 2020
กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
01 มิ.ย. 2020
กฏหมายเกี่ยวกับธุรกิจอุตสาหกรรม
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอก และการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2530 พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560
01 มิ.ย. 2020
กฏหมายเกี่ยวกับธุรกิจการค้าและการบริการ
พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ. 2474 พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าขาออก พ.ศ. 2503 พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติการประกอบอาชีพงานก่อสร้าง พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติกควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551
01 มิ.ย. 2020
ทำไม FinTech ถึงเป็นธุรกิจที่น่าจับตามอง?
ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะในชีวิตประจำวันของเราเกี่ยวข้องกับเรื่องของการทำธุรกรรมทางการเงินกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการกดเงินจากตู้ ATM หรือบางคนก็สะดวกกับการจ่ายเงินโดยการโอนเงินผ่านแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ หรือจะเป็นการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ แบบออนไลน์ (เราควรเลือกใช้บริการเว็ปไซต์ที่มีการเข้ารหัสอย่างปลอดภัยด้วย) FinTech เกี่ยวข้องกับการให้บริการประกันรถยนต์แบบออนไลน์ทุกคน สามารถกรอกรายละเอียดจากหน้าเว็ปไซต์รวมถึงจ่ายเงินได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ได้ตามความสะดวกด้วย เพราะยังไงเราก็ต้องทำประกันรถยนต์และต่อ พ.ร.บ.กันทุกปีอยู่แล้ว การใช้ชีวิตของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ด้วยเทคโนโลยีที่ของโลกที่ก้าวหน้ามากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนถึงกับเคยมีคนพูดไว้ว่าในอนาคตคอมพิวเตอร์พกพาจะเริ่มขายไม่ออกเพราะทุกคนสามารถเข้าถึงโลกอินเตอร์เน็ตได้จากโทรศัพท์มือถือกันแล้วทั้งการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ก่อนการตัดสินใจซื้อรีวิวสินค้าหรือบริการจากคนใช้จริงหรือแม้กระทั่งการจ่ายเงินบนมือถือเพื่อซื้อสินค้า เช่น ซื้อประกันรถยนต์ผ่านแอปพลิเคชั่นหรือจากหน้าเว็ปไซต์ทำให้การเกิดความเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิตของเราที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นหลัก และ FinTech เองก็ตอบโจทย์ในเรื่องของการใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือได้ที่ทั้งสะดวก ง่าย รวดเร็วและมีความปลอดภัยสูงอีกด้วย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เป็นธุรกิจที่น่าจับตามมองมากที่สุดในตอนนี้ ใช้งานได้จากทุกที่ทั่วโลก เรื่องความสะดวกนี่เป็นหัวใจหลักของ FinTech เลยทีเดียว เพราะ หลาย ๆคนคงไม่ชอบอะไรที่ขั้นตอนเยอะ ยุ่งยาก เสียเวลา และ FinTech เองก็เน้นจุดแข็งของการทำธุรกิจไปที่ความสะดวกและประกอบกับโลกของเรามีความเชื่อมโยงกันง่ายขึ้น เหมือนโลกเราจะใบเล็กลงผู้คนเดินทางกันเป็นว่าเล่นและทุกคนอยากที่จะใช้ผู้ให้บริการรายเดียวไม่ต้องคอยสมัครใหม่กันให้เหนื่อยใจเหมือน PayPal ที่เราสมัครครั้งเดียวก็สามารถจ่ายเงินออนไลน์ได้ทุกสกุลเงินและทั่วโลกอีกต่างหากทั้งหมดนี้คือสาเหตุที่ว่าทำไมเราถึงต้องรู้จักและเข้าใจ FinTech
30 พ.ค. 2020
Digital Transformation – ความเปลี่ยนแปลงและความเป็นผู้นำ
Digital disruption? ไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานบริษัท, ครู, หมอ, แม่บ้าน, วัยรุ่น หรือเจ้าของร้านอาหาร หรือเป็นอะไร เราทั้งหมดต่างก็รู้สึกถึงผลกระทบของ Digital disruption แม้แต่กับกิจกรรมที่ธรรมดาที่สุดอย่างการซื้อของชำ ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี (และการนำมาใช้) ทำให้ลักษณะการมีปฏิสัมพันธ์กัน การบริโภคสื่อ หรือแม้แต่การจับจ่ายซื้อสินค้าละบริการของคนในสังคม, กลุ่มคน และในครอบครัวไม่เหมือนก่อนอีกต่อไป ปรากฏการณ์ยักษ์ล้มที่มากับ Digital Disruption Digital transformation ไม่ได้เป็นความท้าทายแค่กับธุรกิจขนาดเล็กเท่านั้น แต่กลับให้ผลที่รุนแรงยิ่งกว่ากับบรรดาแบรนด์ใหญ่ระดับตำนานทั้งหลาย ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เราต่างก็ได้เห็นความเป็นไปของบริษัทต่าง ๆ ที่เติบโตขึ้น หรือต้องปิดตัวไป จริง ๆ แล้วเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง แต่ถ้าคุณติดตามข่าวสาร และการวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดล่ะก็ น่าจะทราบว่าDigital disruption นี่แหละที่มีส่วนทำให้เกิดกรณีแบบนี้ แต่ก็มีหลายครั้งที่การปิดตัวลงของธุรกิจไม่ใช่ผลพวงจากความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้บริโภคโดยตรง แต่กลับเกี่ยวข้องกับความเป็นผู้นำ และการดิ้นรนของทีมเพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง เราน่าจะเคยเห็นกรณีของ Kodak แบรนด์ระดับตำนานที่มีอันจะต้องเลิกกิจการกล้องถ่ายรูปไปเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ต่อมา Yahoo ก็ไปกับเค้าด้วย โดยสื่อบอกว่าเป็นเพราะปัญหาเกี่ยวกับการบริหาร Nokia ก็เป็นอีกหนึ่งยักษ์ใหญ่ที่ต้องล้มลงเพราะ Digital disruption และจริง ๆ แบรนด์เหล่านี้ต่างก็เป็นบริษัทธุรกิจดิจิทัลที่ผ่านการต่อสู้เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงให้ทันมาแล้วทั้งนั้น เช่นเดียวกับรายล่าสุด ที่การปิดตัวของเขาทำให้คนยุคก่อนรุ่นปัจจุบันค่อนข้างช็อค และใจหายไปตาม ๆ กัน:Toys "R" Us จากยุครุ่งสู่ยุคร่วง ความท้าทายจาก Digital Transformation แล้วเราจะรับมือกับ Digital transformation อย่างไรให้รอด? ลองมาดูตัวอย่างทางเลือกและความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นกันค่ะ: จ้างเอเจนซีนอก: คุณอาจจะคิดว่า "ให้คนที่รู้งานดิจิทัลรับมือ Digital transformation แทนน่าจะดีที่สุด ก็เขาเชี่ยวชาญเรื่องนี้อยู่แล้วนี่นา…." ผิดค่ะ หยุดคิดแบบนั้นเลย คนทำงานดิจิทัลอาจมีความรู้เรื่องดิจิทัลมากก็จริง แต่เขาไม่ได้เชี่ยวชาญธุรกิจของคุณด้วย แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่าจะทำงานให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กรคุณได้ยังไง คนที่รู้จักวัฒนธรรม, ธุรกิจ, ผลิตภัณฑ์ และลูกค้าของคุณดีที่สุดก็คือบุคคลากรของคุณเอง บริษัทจากข้างนอกอาจสามารถช่วยเรื่องทักษะและความรู้ด้านดิจิทัลที่คุณขาดไปได้ แต่การการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นดิจิทัลควรเริ่มจากภายในองค์กรเอง ไม่ใช่จากภายนอกเข้าสู่องค์กร จ้างคนเก่ง ๆ เข้ามาทำงาน: เอาล่ะ "ถ้างั้นจ้างคนเก่งทางดิจิทัลที่รู้เรื่องผลิตภัณฑ์, บริการ, ลูกค้า และธุรกิจของคุณเข้ามา แล้วก็ให้คนนี้แหละ รับผิดชอบเรื่อง Digital transformation ให้" ช้าก่อนค่ะ ถ้าคุณกำลังวางแผนจะจ้างนักวางแผนการตลาดดิจิทัล, นักจัดการโซเชียลมีเดีย และสื่อแบบจ่ายเงิน ก็ต้องทำใจว่าเขาเหล่านี้อาจยังมีคุณสมบัติไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรทั้งองค์กร เพราะการจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ต้องอาศัยคนที่มีทักษะในการเป็นผู้นำสูง และได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายตั้งแต่บัญชียันIT และ HR กันเลยทีเดียว "สิ่งสำคัญไม่ใช่การหาคนเก่งด้านดิจิทัลเข้ามาทำงาน แต่เป็นการหาผู้นำที่ด้านดิจิทัลที่มีทั้งทักษะด้านความเป็นผู้นำ, การตลาด, IT ไปจนถึงการจัดการผลิตภัณฑ์ แถมคุณจะต้องแข่งกับหลาย ๆ บริษัทเพื่อมนุษย์เนื้อหอมคนนี้อีกต่างหาก" ตั้งทีมจัดการการเปลี่ยนแปลง และ/หรือ Scrum Team: มาถึงตอนนี้ คุณอาจจะเกิดความคิดที่แบบ "ถ้าเกิดเราหาผู้นำด้านดิจิทัล, CMO, CIO และ CXO ไม่ได้ ก็สร้างทีมที่รวมคนที่มีทักษะหลาย ๆ อย่างไว้ด้วยกันซะเลยสิ ด้วยความรู้และทักษะของคนเหล่านั้น พอเอามารวมกันแล้วอาจเพียงพอที่จะรับมือ Digital transformation ได้ก็ได้" แม้ว่านี่จะฟังดูเหมือนทางเลือกที่ดีที่สุดเท่าที่กล่าวมา แต่ทีมนี้จะต้องพบกับความท้าทายอีกมากกับแผนกต่าง ๆ เช่นเซิร์ฟเวอร์ หรือเทคโลโลยีเก่า ๆ ที่ไม่สามารถปรับได้ งบอันจำกัดจำเขี่ยจากฝ่ายการตลาด การตรวจสอบค่าใช้จ่ายอย่างละเอียดจากฝั่งHR และบัญชี และที่สำคัญที่สุดก็คือความกดดันด้านผลตอบแทนการลงทุนจากผู้บริหาร (ซึ่งก็คือคุณนั่นแหละ) แม้ว่าจริง ๆ แล้ว Digital transformation เป็นกระบวนการแบบกึ่ง Passive ที่มีเป้าหมายหลัก ๆ เป็นการลดทอนทัศนคติที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงให้หมดไป ประกอบกับการกระจายความรู้ด้านดิจิทัล และส่งเสริมการเรียนรู้เพิ่มเติมอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร ด้วยเหตุผลนี้แหละ CMO, CIO และ CXO ทั้งหลายน่าจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการทำให้เกิด Digital transformation (หรือการปรับเปลี่ยนรูปแบบอื่นใดในองค์กร) และสิ่งนี้ยังต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนที่เป็นหัวหน้าอย่างใหญ่หลวงอีกด้วย กล่าวคือต้องพัฒนาความเข้าใจในกลไกของความเป็นดิจิทัล, ผลกระทบ, การวัดผลต่าง ๆ ไปจนถึงลักษณะการใช้เทคโนโลยีของลูกค้า การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่สำหรับผู้นำ เมื่อดูจากทางเลือก 3ตัวอย่างที่ยกมา ก็น่าจะทำให้คุณเห็นแล้วว่า Digital transformation เริ่มต้นที่ความเป็นผู้นำ การวิจัย IQ ทางดิจิทัลโดย digital.pwc.com แสดงให้เห็นว่ามีผู้บริหาร 60เปอร์เซ็นต์ขาดทีมซึ่งมีทักษะที่เหมาะสม, 45เปอร์เซ็นต์มีกระบวนการทำงานที่กินเวลามากและไม่ยืดหยุ่น, 51เปอร์เซ็นต์ไม่มีการนำข้อมูลและเทคโนโลยีแบบใหม่มาใช้รวมกัน และ 63เปอร์เซ็นต์ยังคงใช้เทคโนโลยีที่เก่า หรือตกรุ่นไปแล้ว Digital disruption นับเป็นความท้าทายใหญ่หลวงอย่างหนึ่งสำหรับเหล่าผู้นำองค์กร ซึ่งเป็นคนที่จะต้องคอยติดตามความเปลี่ยนแปลงของเทรนด์ต่าง ๆ และปรับการทำงานภายในองค์กรให้เหมาะกับเทรนด์เหล่านั้นอย่างefficiently map these trends internally, เพื่อผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นภายในองค์กรในทุก ๆ วัน เรื่องดิจิทัลไม่ได้ยากเกินเอื้อม แต่ก็ต้องทำความเข้าใจกันมากนึดนึง ตั้งแต่ Blockchain ไปจนถึง AI, เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เข้าสู่ตลาด, การทำ Social listening ตลอดจนรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ อาทิ การทำ Performance marketing และ UTM หมายถึงอะไร? เมื่อเร็ว ๆ นี้มีบทความชิ้นหนึ่งจาก Forbes ที่อธิบายว่าการทำ Digital transformation ให้ประสบความสำเร็จเริ่มต้นที่ความสัมพันธ์อันดีระหว่าง CMO และ CIO ดังนั้น การทำให้เกิดความชัดเจนในการทำงาน และการขจัดความกำกวมเพื่อให้เกิด Team dynamic ดูจะให้ผลเสียมากกว่าผลดีกับการทำ Digital transformation เพราะการจะผ่านสิ่งนี้ไปได้ ต้องยอมรับว่ามันจะต้องเกิดความกำกวม ไม่ชัดเจนว่าอะไรที่จะเป็นตัวผลักดันบริษัทไปในทิศทางที่ถูกต้อง สำหรับหลาย ๆ บริษัท คงไม่มีใครบรรเทาความรู้สึกไม่แน่นอน, ความอึดอัด และความไม่พอใจที่ทีมงานจะต้องเจอ เมื่อต้องทำงานภายใต้ความไม่ชัดเจนได้ดีไปกว่าผู้บริหารระดับ C-level นั่นเอง ฉะนั้น การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ และทัศนคติจึงมีความจำเป็นต่อผู้นำระดับสูงในการที่จะเปลี่ยนทั้งองค์กรจากแบบดั้งเดิมไปเป็นแบบดิจิทัล ความท้าทายด้าน Learning Curve ความท้าทายนี้ไม่ได้เกิดแค่กับผู้นำทางดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของทั้งทีมที่ต้องเตรียมความพร้อมด้านความรู้เพื่อให้สามารถรับมือกับสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบใหม่ได้อย่างมั่นใจอีกด้วย แม้ว่าจะมีคอร์สเรียนด้านดิจิทัลอยู่มากมายทั่วโลก แต่ในประเทศไทยกลับมีตัวเลือกที่ค่อนข้างจำกัด ยิ่งสื่อการเรียนการสอนซึ่งให้ข้อมูลด้านดิจิทัลเชิงลึกที่เข้าใจง่าย และฟรี แทบไม่ต้องพูดถึงเลย อย่างไรก็ดี ถ้าอยากเริ่มศึกษา ก็อาจเริ่มได้ง่าย ๆ ด้วยการติดตามสื่อที่เกี่ยวข้องกับโลกดิจิทัล เช่น e-book จาก STEPS Academy เล่มนี้ที่เป็นภาษาไทย และดาวน์โหลดกันได้ฟรีเลยนะคะ เนื้อหาก็จะเป็นแนะนำแนวทางสำหรับการทำ Content transformation, Personalized marketing, ประสบการณ์ในการใช้งานเว็บไซต์ และ Digital CRM ส่องทัศนะผู้นำระดับโลกเกี่ยวกับ Digital Transformation "อย่างน้อย 40%ของธุรกิจทั้งหมดจะต้องปิดตัวลงภายในสิบปีข้างหน้านี้ … หากไม่สามารถเปลี่ยนตัวเองให้รับกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้" – John Chambers | ประธานกรรมการบริหาร Cisco System "ถ้าเราลองมาดูอายุเฉลี่ยของคณะผู้บริหารทั่วโลก – จริง ๆ แล้ว ดูแบ็คกราวด์ของพวกเขาควบคู่ไปด้วยก็ได้ – พวกเขายังไม่มีความพร้อมจะเข้าสู่ยุคดิจิทัลหรอกครับ" – James Bilefield | ที่ปรึกษาอาวุโสบริษัท McKinsey "เหตุการณ์แบบเรื่อง Silicon Valley กำลังจะมา และถ้าธนาคารทั้งหลายไม่พัฒนาตัวเอง ก็เตรียมตัวถูกบริษัทเทคโนโลยีแย่งพื้นที่ในวงการธุรกิจได้เลย เดี๋ยวนี้ก็มีบริษัท Startup พร้อมเงินและมันสมองอยู่เป็นร้อยรายที่กำลังพัฒนาทางเลือกใหม่ ๆ มาแทนที่การทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารแบบเดิม ๆ กันอยู่" – Jamie Dimon | ประธานกรรมการ, ประธานบริษัท และ CEO บริษัท JPMorgan Chase "ตอนนี้เราไม่ควรต้องมาคุยกันเรื่อง ‘การตลาดดิจิทัล’ อีกแล้ว แต่ควรเป็นเรื่องการทำการตลาดในโลกดิจิทัลต่างหาก" – Keith Weed | Unilever, 2015
30 พ.ค. 2020
การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ( Big Data Analysis ) คืออะไรและทำไมถึงสำคัญ
การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analysis) คืออะไรและทำไมถึงสำคัญ Big Data คือ ข้อมูลจำนวนมากมหาศาลของบริษัททุกเรื่อง ทุกแง่มุม ทุกรูปแบบที่คุณพอจะนึกออก ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้างชัดเจน (Structured Data) เช่น ข้อมูลที่เก็บอยู่ในตารางข้อมูลต่าง ๆ หรืออาจเป็นข้อมูลกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-Structured Data) เช่น ล็อกไฟล์ (Log files) หรือแม้กระทั่งข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เช่น ข้อมูลการโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ผ่านสังคมเครือข่าย (Social Network) เช่น Facebook, twitter หรือ ไฟล์จำพวกมีเดีย เป็นต้น โดยอาจจะเป็นข้อมูลที่มาจากภายในองค์กร และภายนอกที่มาจากการติดต่อกับ Supplier หรือจากทุกช่องทางการติดต่อกับลูกค้า แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังคงเป็นเพียงข้อมูลดิบที่รอการนำมาประมวลและวิเคราะห์ เพื่อนำผลที่ได้มาสร้างมูลค่าทางธุรกิจ ข้อมูลเหล่านี้อาจจะไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่องค์กรสามารถนำไปใช้ได้ทันที แต่อาจมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรบางอย่างแฝงอยู่ความเป็นมาและวิวัฒนาการของการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ แนวคิดของ Big Data มีมานานหลายปีแล้ว องค์กรส่วนใหญ่ตอนนี้เข้าใจว่าหากพวกเขารวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ไหลเข้าสู่ธุรกิจของพวกเขา พวกเขาสามารถใช้การวิเคราะห์และรับค่าที่สำคัญจากมัน แต่แม้กระทั่งในทศวรรษ 1950 หลายทศวรรษก่อนใครก็ตามที่ใช้คำว่า "ข้อมูลขนาดใหญ่" ธุรกิจต่าง ๆ กำลังใช้การวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานเพื่อเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกและแนวโน้มต่าง ๆ ต่อธุรกิจหรือองค์กร ประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ คือความรวดเร็วและประสิทธิภาพ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาธุรกิจต่าง ๆ จะรวบรวมข้อมูลและดำเนินการวิเคราะห์และค้นพบข้อมูลที่ซ่อนอยู่ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจในอนาคตได้ วันนี้ธุรกิจสามารถระบุข้อมูลเชิงลึกเพื่อการตัดสินใจได้ทันที ความสามารถในการทำงานได้เร็วขึ้นและคล่องตัว – ช่วยให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำไมการวิเคราะห์ Big Data จึงมีความสำคัญ การวิเคราะห์ Big Data ช่วยให้องค์กรควบคุมข้อมูลของพวกเขาและใช้เพื่อระบุโอกาสใหม่ ๆ ในทางกลับกันนำไปสู่การเคลื่อนไหวทางธุรกิจที่ชาญฉลาดเพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลกำไรที่สูงขึ้นและลูกค้าที่มีความสุขมากขึ้น ในรายงาน Big Data ใน บริษัท ขนาดใหญ่โดยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ Tom Davenport ให้สัมภาษณ์ว่า มากกว่า 50 ธุรกิจใช้และทำความเข้าใจว่าพวกเขาใช้ Big Data อย่างไร และพบว่าสามารถช่วยเหลือธุรกิจได้ดังต่อไปนี้ 1. ลดต้นทุน : เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่เช่น Hadoop และการวิเคราะห์บนคลาวด์นำมาซึ่งความได้เปรียบด้านต้นทุนอย่างมีนัยสำคัญเมื่อพูดถึงการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากรวมทั้งสามารถระบุวิธีการทำธุรกิจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. เร็วกว่าและตัดสินใจดีกว่า : ด้วยความเร็วของ Hadoop และการวิเคราะห์ในหน่วยความจำรวมกับความสามารถในการวิเคราะห์แหล่งข้อมูลใหม่ๆ ของธุรกิจจะสามารถสร้างข้อมูลได้ทันทีและสามารถดำเนินการต่อได้ทันทีจากการวิเคราะห์นั้น ๆ 3. ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ : ด้วยความสามารถในการวัดความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าผ่านการวิเคราะห์นำมาซึ่งสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งยกตัวอย่างโดย ดาเวนพอร์ท สามารถชี้ให้เห็นว่าด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ของบริษัทต่างๆ จะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี (Hadoop เป็นซอฟต์แวร์ open-source ที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็น framework ในการทำ distributed processing สำหรับข้อมูลขนาดใหญ่ จุดเด่นข้อนึงของ Hadoop ก็คือ ออกแบบมาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบไม่ต้องแรงมากได้ด้วย การจะขยาย scale ในอนาคต ก็สามารถเพิ่มเครื่องเข้าไปได้ง่ายๆ เลย แถมยังมีระบบสำรองข้อมูลให้โดยอัตโนมัติอีกด้วย )Cr : https://www.sas.com/en_us/insights/analytics/big-data-analytics.html
30 พ.ค. 2020
หัวใจของการสร้าง FinTech คืออะไร
FinTech (Financial Technology) คือ กลุ่มธุรกิจที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ามาทำให้การบริการที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การทำธุรกรรมรับ-จ่าย-โอนเงินออนไลน์ของธนาคาร หรือการวิเคราะห์ข้อมูลหุ้นเพื่อช่วยการตัดสินใจของนักลงทุน โดยบริการเหล่านี้มักจะอยู่ในรูปแบบของบริการออนไลน์แทบทั้งสิ้น ด้วยเหตุที่ FinTech เป็นกลุ่มธุรกิจที่นำเสนอบริการในช่องทางใหม่ ๆ หลักการที่เคยใช้ได้ดีในการสร้างสินค้าแบบเดิม ๆ อาจไม่เพียงพออีกต่อไป วันนี้ เรามาดูกันว่า หัวใจของการสร้างสินค้าหรือบริการใน FinTech ให้ประสบความสำเร็จ มีอะไรบ้าง แก้ปัญหาได้ตรงจุด ต้องมองให้ออกว่าลูกค้ามีปัญหาอะไร แล้วเสนอวิธีการแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ เราสามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยสร้างพฤติกรรมการใช้บริการใหม่ ๆ ให้ผู้บริโภคได้ โดยดูจากตัวอย่างความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ เช่น ตัดปัญหาเวลาทำการของธนาคารด้วยการทำธุรกรรมบน iBanking หรือลดเวลาการเดินทางไปห้างสรรพสินค้าด้วยการ Shopping Online ใช้งานง่าย เพราะการใช้ชีวิตทุกวันนี้ก็ยากพอแล้ว ลูกค้าจึงมองหาบริการที่ใช้งานได้ง่าย และให้ประสบการณ์ที่ดีระหว่างการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเว็บไซต์ที่เรียบง่าย เข้าถึงได้ทั้งจากเดสก์ท็อปและมือถือ ความสะดวกรวดเร็วในการติดตั้งแอปพลิเคชัน การใช้งานผ่าน user interface ที่เข้าใจง่าย สามารถใช้งานได้อย่างสะดวกไม่ว่าจะเป็นลูกค้าในช่วงอายุใด ๆ ก็ตาม มีความปลอดภัย เนื่องจาก FinTech เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางด้านการเงินไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง ความปลอดภัยในการใช้บริการย่อมเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่ระบบจะต้องมี ทั้งในด้านการรักษาข้อมูลของลูกค้ารวมไปถึงความปลอดภัยในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ลูกค้าเข้าถึงการบริการได้ง่าย ความสะดวกในการเข้าถึงการบริการถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ตัวอย่างที่เห็นชัดในปัจจุบันนี้ เช่น การสร้าง Mobile application เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย และสามารถเข้าใช้งานจากที่ใดก็ได้ เปรียบเสมือนจับเอาบริการหน้าร้านใส่ในมือของลูกค้า ซึ่งทุกวันนี้ ใคร ๆ ก็ใช้ smartphone ดังนั้น การสร้าง Mobile application จึงเป็นอีกหนึ่งบริการที่ไม่ควรมองข้าม ตรง life style ของกลุ่มเป้าหมาย ยกตัวอย่างเช่น หากกลุ่มลูกค้าเป็นนักวิเคราะห์ ชอบอ่านตัวเลข ตีเส้นราคาหุ้น และวิเคราห์ข้อมูลในเชิงลึก การใช้บริการผ่านเว็บไซต์หรือโปรแกรมบนเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ดูจะเป็นสิ่งที่เหมาะสม เนื่องจากการใช้งานบนแท็บเล็ตหรือมือถืออาจจะมีข้อจำกัดในหลาย ๆ ด้าน แต่หากเป็นบริการง่าย ๆ เช่น การชำระเงิน โอนเงิน หรือธุรกรรมอื่น ๆ ที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน การทำธุรกรรมเหล่านี้บนมือถือก็จะให้ความคล่องตัวกับผู้ใช้งานมากกว่า มีระบบรองรับที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการบริการด้านใดก็ตาม ระบบจะต้องมีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และสามารถรองรับการใช้งานของลูกค้าจำนวนมากได้อย่างเหมาะสม จะต้องมั่นใจว่าระบบยังสามารถให้บริการลูกค้าได้ แม้จะมีจำนวนลูกค้าหลาย ๆ ท่านเข้าใช้งานพร้อม ๆ กันก็ตาม อีกทั้งควรมีแผนสำรอง ในกรณีระบบหลักเกิดมีปัญหาใช้งานไม่ได้ด้วย ตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็วการบริการที่ดีควรจะปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ เพื่อรักษากลุ่มลูกค้า นอกจากการนำ feedback มาพัฒนาและปรับปรุงบริการแล้ว การเห็นปัญหาและความต้องการในอนาคต ก็จะทำให้บริการของเราทันสมัยอยู่เสมอครับ ความสำเร็จของ FinTech อาจจะวัดได้จากหลายด้าน แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การมุ่งที่จะแก้ปัญหาให้กับลูกค้า สามารถเป็นคำตอบในระยะยาวให้กับลูกค้าได้ โดยที่ลูกค้าไม่เลิกหรือเปลี่ยนไปใช้บริการเจ้าอื่น และในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ เข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย
30 พ.ค. 2020
How to navigate the Digital Transformation Maze
Digital Transformation การดำเนินการเกี่ยวกับ Digital Transformation เป็นความพยายามครั้งยิ่งใหญ่สำหรับ บริษัท ทุกขนาด แต่อาจลำบากสำหรับองค์กรขนาดใหญ่โดยเฉพาะ การแปลงระบบดิจิตอลส่งผลกระทบต่อทั้งองค์กรและต้องการการเปลี่ยนแปลงจำนวนมากจากทุกไตรมาส ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้ Digital Transformation ที่ประสบความสำเร็จมีลักษณะอย่างไร มันไม่ใช่การกระทำที่ทำเสร็จแล้วที่ธุรกิจสามารถทำได้ แต่เป็นชุดของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไป เช่นทาง One CIO การย้ายของ Rob Alexander เพื่อดูแลการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของทีม DevOps ของเขาเพื่อเร่งการสร้างซอฟต์แวร์ เขาเข้าใจถึงบทบาทสำคัญที่เทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนและจะยังคงดำเนินต่อไปในด้านการธนาคารและพยายามที่จะดำเนินการใช้งาน Digital Transformation เพื่อให้องค์กรของเขาสามารถสร้างซอฟต์แวร์ได้อย่างยอดเยี่ยม วิธีการขับเคลื่อน Digital Transformation ไม่น่าแปลกใจสำหรับทุกคน ณ จุดนี้ว่าองค์กรดั้งเดิมกำลังรับมือกับการเปลี่ยนแปลงแบบดิจิทัล แต่การขับเคลื่อน Digital Transformation อาจเป็นเรื่องยากเนื่องจากส่วนหนึ่งของความจริงที่ว่ากิจการอาจจจะมีลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อยสำหรับแต่ละธุรกิจที่ดำเนินการในแต่ละรูปแบบ ในบทความนี้ผู้เขียน Barry Libert , Megan Beck และ Yoram Wind ได้วางกระบวนการห้าขั้นตอนของพวกเขาที่เรียกว่า PIVOT เพื่อช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่าเป็นระเบียบ - P คือจุดเริ่มต้นของธุรกิจคุณ - I คือ ทรัพย์สินทั้งหมดขององค์กรของคุณ - V คือ สร้างอนาคตใหม่ในฐานะเครือข่ายดิจิตอล - O คือ เครือข่ายของธุรกิจของคุณ - T คือ ติดตามความคืบหน้าของการริเริ่มเครือข่ายของคุณ คำถามที่ถามก่อนที่คุณใช้งาน Digital Transformation หนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดของบทความนี้คือ Digital Transformationไม่ได้เป็นเพียงแค่ข้อตกลงเดียวเท่านั้น มันเป็นกระบวนการต่อเนื่องสำหรับองค์กรที่จะดำเนินการ คำถามที่สำรวจที่นี่นอกเหนือไปจากการประเมินทรัพยากรที่จำเป็นในการใช้เทคโนโลยีใหม่และท้าทายซึ่งจะให้คิดอย่างมีวิจารณญาณเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่พวกเขากำลังทำอยู่ พวกเขาเริ่มต้นด้วยคำถามที่หลายคนอาจไม่คิดว่าจะถาม เช่น คุณทำการอัพเกรดดิจิตอลหรือ Digital Transformationหรือไม่? เพื่อนำไปสู่ Digital Transformation ซีอีโอต้องจัดลำดับความสำคัญ ในบทความนี้ผู้เขียน Laurent-Pierre Baculard กล่าวว่าการเป็นผู้นำทางดิจิทัลนั้นไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของเทคโนโลยีการทำความเข้าใจ การเป็นผู้นำแบบดิจิทัลนั้นเกี่ยวกับ“ การสร้างองค์กรที่มีความคล่องตัวซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่าการเปลี่ยนแปลงประเภทใดมีความสำคัญและตอบสนองอย่างรวดเร็วด้วยโซลูชั่นที่มีการแข่งขันสูงที่สุด” เขาแนะนำว่าซีอีโอจะมองภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงที่องค์กรของพวกเขาจำเป็นต้องได้รับและดำเนินการสามขั้นตอนสำคัญเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้น เช่น กำหนดว่าการเปลี่ยนแปลงใดที่จำเป็นที่สุด ทีละขั้นตอนก่อนทำการเปลี่ยนแปลงและมอบอำนาจให้ผู้คนนองค์กร ไม่มีเรื่องไหนที่ง่าย เนื่องจากผู้เขียนแต่ละคนชี้ให้เห็นว่าการนำการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลไม่ใช่งานเล็ก ๆ และมันจะดูแตกต่างจากองค์กรต่าง ๆ หรือแม้แต่กับองค์กรเดียวกันในเวลาต่างกันชิ้นส่วนที่สำคัญของปริศนานี้คือการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับDigital Transformation ก็คือ หัวข้อที่ควรค่าการดำเนินการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา ซึ่งนำที่ประสบความสำเร็จจะไม่ต้องเกรงกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ แต่จะทำอย่างดีที่สุดเพื่อนำทางแห่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเพื่อเตรียมพร้อมให้กับองค์กรเพื่อเข้าสู่อาณาจักรแห่งดิจิตอลนั่นเอง
30 พ.ค. 2020