Category
“อธิบดีณัฐพล” นำทีมดีพร้อมลุยพื้นที่ราชบุรีฝึก "อาชีพดีพร้อม" ช่วยชาวบ้านสร้างรายได้
จ.ราชบุรี 23 กันยายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 8 (DIPROM CENTER 8) นายกิตติโชติ ศุภกำเนิด วิศวกรชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งวิศวกรเชี่ยวชาญ กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้แทนจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี ลงพื้นที่ช่วยประชาชนเพิ่มทักษะ สร้างอาชีพดีพร้อม ภายใต้ โครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม หรือ อาชีพดีพร้อม ณ ศาลาเอนกประสงค์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกหม้อ อำเภอเมืองราชบุรี การลงพื้นที่ครั้งนี้ เป็นการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของโครงการอาชีพดีพร้อมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ดีพร้อม พร้อมทั้งพบปะและรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนตำบลโคกหม้อและพื้นที่ใกล้เคียง มีประชาชนสนใจเข้าร่วม จำนวน 200 ราย ซึ่งดีพร้อมได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ในส่วนของการพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิตที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว โดยแบ่งออกเป็น 2 หมวด คือ 1. ลดรายจ่าย ได้แก่ การทำน้ำยาล้างจานและการทำสบู่เหลว และ 2. เพิ่มรายได้ ได้แก่ การสกรีนกระเป๋าผ้าและการทำของชำร่วย โครงการอาชีพดีพร้อม เป็นการพัฒนาทักษะอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านรูปแบบการพัฒนา 4 หลักสูตรหลัก ได้แก่ 1) พัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิต 2) พัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการบริการ 3) พัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และ 4) พัฒนาต่อยอดทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ นับเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยลดค่าครองชีพให้กับครอบครัว รวมถึงสามารถสร้างรายได้และอาชีพเสริม ตลอดจนเพิ่มความรู้และทักษะการประกอบการธุรกิจให้กับชุมชน อันจะสามารถช่วยยกระดับศักยภาพชุมชน เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และอาชีพในชุมชน รวมทั้งส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตและมีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ทั้งนี้ โครงการอาชีพดีพร้อม ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง กรอบวงเงิน 1,249 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเพิ่มทักษะและรายได้ให้ชุมชนกว่า 400 แห่ง ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งตั้งเป้าพัฒนาประชาชนกว่า 700,000 ราย และคาดว่าจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
26 ก.ย. 2022
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมงานแสดงกตเวทิตาจิตแด่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ กระทรวงอุตฯ ประจำปี 2565
กรุงเทพฯ 21 กันยายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายเจตนิพิฐ รอดภัย และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมงานแสดงกตเวทิตาจิตแด่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ ในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมที่เกษียณอายุราชการประจำปี 2565 โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในงานดังกล่าว ร่วมด้วย นายธีระยุทธ วานิชชัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมเข้าร่วม ณ ห้องประชุม 509 ชั้น 5 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับในปีนี้ มีผู้บริหาร ข้าราชการ และพนักงานราชการในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมเกษียณอายุราชการ รวมจำนวน 160 ท่าน โดยมีผู้เกษียณอายุราชการของดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมงานในครั้งนี้ จำนวน 10 ท่านด้วยกัน ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ก.ย. 2022
ดีพร้อม เปิดบ้านให้ศิษย์เก่าสตาร์ตอัพ 11 บริษัท ดันดีคาร์บอนไนเซชันโชว์นวัตกรรมลดใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ตั้งเป้าเพิ่มรายได้ธุรกิจกว่า 100 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 19 กันยายน 2565 - นายภาสกร ชัยรัตน์รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ DIPROM Playground for Decarbonization Technology ร่วมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ( DIPROM) กลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ตอัพ และคณะสื่อมวลชน ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคาร DIPROM Headquarter (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) โครงการดังกล่าว เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ (Alumni Networking) โดยร่วมมือกับกลุ่มสตาร์ตอัพที่เคยเข้าร่วมโครงการกับดีพร้อมด้านลดการปลดปล่อยคาร์บอน (Decarbonization) จำนวน 11 บริษัท ในรูปแบบนำเสนอวิธีการและทำการทดสอบเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสถานที่จริง เน้นด้านการประหยัดพลังงาน และการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดเป็น ยูสเคส (Used case) ซึ่งยังเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกัน รวมถึงเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานภายใต้ ดีพร้อม เพื่อตอบโจทย์ในการลดการปล่อยคาร์บอน และมีเข้าใจความต้องการและระบบการทำงานของอาคารขนาดใหญ่มากขึ้นภายใต้สนามทดสอบที่เป็นของจริงโดยนำร่องที่อาคารของดีพร้อมเป็นพื้นที่ต้นแบบ และมีเงื่อนไขที่เป็นข้อจำกัด โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มบริหารจัดการพลังงาน (5 บริษัท) 2.กลุ่มบริหารจัดการขยะ (4 บริษัท) และ 3. กลุ่มบริหารจัดการน้ำและอากาศ (2 บริษัท) โดยคาดว่าเมื่อดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบ ในระยะเวลา 6 เดือน -1 ปี จะสามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้มากกว่า 10% คิดเป็น 56 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และสตาร์ตอัพที่ร่วมโครงการสามารถนำโมเดลไปใช้ต่อยอดสร้างรายได้จากสินค้าและบริการที่ได้นำมาทดสอบกว่า 100 ล้านบาทต่อปี ###PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
20 ก.ย. 2022
ดีพร้อม จับมือ ภาคีเครือข่าย ร่วมหารือและรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อประมวลแนวทางโครงการ เสนอขอรับงบฯ ปี 67
กรุงเทพฯ 19 กันยายน 2565 – ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในประชุมการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อเป็นแนวทางการจัดทำโครงการ เสนอขอรับงบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2567 ของดีพร้อม (DIPROM) พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมฟูจิ 2 โรงแรมนิกโก้ กรุงเทพ และ.ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนเพื่อจัดเก็บประเด็นปัญหาความต้องการในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ตามบริบทของแต่ละพื้นที่และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นการร่วมกันกำหนดทิศทางการส่งเสริมพัฒนาผ่านเสียงสะท้อนปัญหาความต้องการปัจจัยสนับสนุนที่เกี่ยวข้องในด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งในที่ประชุมได้เสนอประเด็นการพัฒนาที่ต่าง ๆ อาทิ การสร้างแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อซื้อขายสินค้า การทำแผนส่งเสริมผู้ประกอบการในทุกระดับ การพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตร การพัฒนาอุตสาหกรรม S-Curve การสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนสำหรับผู้ประกอบการรายย่อย การเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายเพื่อยกระดับผู้ประกอบการ การพัฒนาสมาร์ทฟาร์มเมอร์ไปสู่เกษตรอุตสาหกรรม เป็นต้น โดยดีพร้อมจะนำข้อเสนอต่าง ๆ ไปประมวลผลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็นแนวทางการดำเนินโครงการเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของดีพร้อมต่อไป ###PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
20 ก.ย. 2022
“อธิบดีณัฐพล” นำทีมดีพร้อม ลุยฝึก "อาชีพดีพร้อม" ช่วยชาวบ้านสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ไปแล้วกว่า 265,800 ครัวเรือนทั่วประเทศ
จ.ภูเก็ต 18 กันยายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่ช่วยประชาชนเพิ่มทักษะ สร้างอาชีพดีพร้อม ภายใต้ โครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม หรือ อาชีพดีพร้อม อย่างต่อเนื่องอีกกว่า 18,800 ราย 94 จุดทั่วประเทศ ครอบคลุม 32 จังหวัด โครงการอาชีพดีพร้อม เป็นการพัฒนาทักษะอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านรูปแบบการพัฒนา 4 หลักสูตรหลัก ได้แก่ 1) พัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิต 2) พัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการบริการ 3) พัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และ 4) พัฒนาต่อยอดทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ ดีพร้อมได้ถ่ายทอดองค์ความรู้และเพิ่มทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิตที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ แบ่งออกเป็น 2 หมวด คือ 1. ลดรายจ่าย ได้แก่ การทำน้ำยาล้างจานและการทำสบู่เหลว และ 2. เพิ่มรายได้ ได้แก่ การสกรีนกระเป๋าผ้าและการทำของชำร่วย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยลดค่าครองชีพให้กับครอบครัว รวมถึงสามารถสร้างรายได้และอาชีพเสริม ตลอดจนเพิ่มความรู้และทักษะการประกอบการธุรกิจให้กับชุมชน อันจะสามารถช่วยยกระดับศักยภาพชุมชน เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และอาชีพในชุมชน รวมทั้งส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตและมีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สำหรับในวันนี้ อธิบดีดีพร้อมและคณะ ได้ลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต เพื่อตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของโครงการอาชีพดีพร้อมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ดีพร้อม พร้อมทั้งพบปะและรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนที่เข้าร่วมอบรม ณ ชุมชนราไวย์ บริเวณศาลาหนองหาน ซึ่งมีประชาชนผู้ที่สนใจเข้าร่วม จำนวน 200 ราย ขณะเดียวกัน ดีพร้อมยังได้เร่งเดินหน้าอย่างต่อเนื่องในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิตให้กับประชาชนอีกกว่า 18,800 ราย 94 จุดทั่วประเทศ ครอบคลุม 32 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย 4 จุด เชียงใหม่ 1 จุด พะเยา 1 จุด กำแพงเพชร 10 จุด สุโขทัย 3 จุด พิจิตร 2 จุด นครสวรรค์ 8 จุด ชัยนาท 3 จุด ลพบุรี 2 จุด สระบุรี 3 จุด หนองคาย 1 จุด อุดรธานี 6 จุด นครพนม 4 จุด ศรีสะเกษ 2 จุด อำนาจเจริญ 2 จุด อุบลราชธานี 1 จุด ชัยภูมิ 3 จุด บุรีรัมย์ 1 จุด ตราด 1 จุด จันทบุรี 1 จุด ชลบุรี 2 จุด สมุทรปราการ 6 จุด กรุงเทพฯ 5 จุด สุพรรณบุรี 1 จุด กาญจนบุรี 1 จุด สมุทรสาคร 5 จุด เพชรบุรี 1 จุด ประจวบคีรีขันธ์ 1 จุด ระนอง 3 จุด นครศรีธรรมราช 6 จุด ตรัง 3 จุด และภูเก็ต 1 จุด ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้ดำเนินการเพิ่มทักษะและสร้างอาชีพเสริมให้แก่คนในชุมชน ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2565 มาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบันกว่า 265,800 ราย ในพื้นที่ทั้งหมด 1,329 จุดทั่วประเทศ ครอบคลุม 46 จังหวัด ทั้งนี้ โครงการอาชีพดีพร้อม ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง กรอบวงเงิน 1,249 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเพิ่มทักษะและรายได้ให้ชุมชนกว่า 400 แห่ง ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งตั้งเป้าพัฒนาประชาชนกว่า 700,000 ราย และคาดว่าจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว ดูแผนที่ฝึกอาชีพดีพร้อมคลิก : https://www.google.com/maps/d/u/1/edit?mid=1aaUA6SiLHFu028Nu1Mxvy43uzHX5qdw&usp=sharing
19 ก.ย. 2022
“อธิบดีณัฐพล” ลุยพื้นที่ภาคใต้ ช่วยประชาชนสร้าง "อาชีพดีพร้อม" อย่างต่อเนื่องทั่วประเทศอีกกว่า 23,400 ราย 117 จุด ครอบคลุม 37 จังหวัด
จ.ภูเก็ต 17 กันยายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่ช่วยประชาชนเพิ่มทักษะ สร้างอาชีพดีพร้อม ภายใต้ โครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม หรือ อาชีพดีพร้อม อย่างต่อเนื่องอีกกว่า 23,400 ราย 117 จุดทั่วประเทศ ครอบคลุม 37 จังหวัด โครงการอาชีพดีพร้อม เป็นการพัฒนาทักษะอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ ผ่านรูปแบบการพัฒนา 4 หลักสูตรหลัก ได้แก่ 1) พัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิต 2) พัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการบริการ 3) พัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และ 4) พัฒนาต่อยอดทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ ดีพร้อมได้ถ่ายทอดองค์ความรู้และเพิ่มทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิตที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ แบ่งออกเป็น 2 หมวด คือ 1. ลดรายจ่าย ได้แก่ การทำน้ำยาล้างจานและการทำสบู่เหลว และ 2. เพิ่มรายได้ ได้แก่ การสกรีนกระเป๋าผ้าและการทำของชำร่วย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยลดค่าครองชีพให้กับครอบครัว รวมถึงสามารถสร้างรายได้และอาชีพเสริม ตลอดจนเพิ่มความรู้และทักษะการประกอบการธุรกิจให้กับชุมชน อันจะสามารถช่วยยกระดับศักยภาพชุมชน เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และอาชีพในชุมชน รวมทั้งส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตและมีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สำหรับในวันนี้ อธิบดีดีพร้อมและคณะ ได้ลงพื้นที่ จ.ภูเก็ต เพื่อตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของโครงการอาชีพดีพร้อมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ดีพร้อม พร้อมทั้งพบปะและรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนที่เข้าร่วมอบรมจำนวน 3 จุด ได้แก่ มัสยิดสะพานร่วม ศูนย์อบรมมัสยิดบ้านพารา และวัดท่าฉัตรไชย ซึ่งมีประชาชนผู้ที่สนใจเข้าร่วม จำนวน 600 ราย ขณะเดียวกัน ดีพร้อมยังได้เร่งเดินหน้าอย่างต่อเนื่องในการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิตให้กับประชนกว่า 23,400 ราย 117 จุดทั่วประเทศ ครอบคลุม 37 จังหวัด ได้แก่ จ.ลพบุรี 2 จุด สิงห์บุรี 2 จุด กรุงเทพมหานคร 8 จุด สมุทรสาคร 5 จุด กำแพงเพชร 11 จุด เชียงราย 4 จุด เชียงใหม่ 1 จุด น่าน 4 จุด พะเยา 1 จุด เพชรบูรณ์ 1 จุด สุโขทัย 3 จุด ชัยนาท 3 จุด นครสวรรค์ 7 จุด พิจิตร 2 จุด หนองคาย 1 จุด อุดรธานี 7 จุด ขอนแก่น 2 จุด นครพนม 5 จุด ชัยภูมิ 4 จุด นครราชสีมา 4 จุด บุรีรัมย์ 2 จุด ศรีสะเกษ 2 จุด อำนาจเจริญ 2 จุด อุบลราชธานี 1 จุด กาญจนบุรี 1 จุด ประจวบคีรีขันธ์ 1 จุด เพชรบุรี 2 จุด สุพรรณบุรี 1 จุด จันทบุรี 2 จุด ฉะเชิงเทรา 2 จุด ชลบุรี 3 จุด ตราด 1 จุด สมุทรปราการ 4 จุด ตรัง 3 จุด นครศรีธรรมราช 8 จุด ภูเก็ต 3 จุด และระนอง 2 จุด ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้ดำเนินการเพิ่มทักษะและสร้างอาชีพเสริมให้แก่คนในชุมชน ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2565 มาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบันกว่า 247,000 ราย ในพื้นที่ทั้งหมด 1,235 จุดทั่วประเทศ ครอบคลุม 46 จังหวัด ทั้งนี้ โครงการอาชีพดีพร้อม ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง กรอบวงเงิน 1,249 ล้านบาท เพื่อดำเนินการเพิ่มทักษะและรายได้ให้ชุมชนกว่า 400 แห่ง ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งตั้งเป้าพัฒนาประชาชนกว่า 700,000 ราย และคาดว่าจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 12,000 ล้านบาท ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว ดูแผนที่ฝึกอาชีพดีพร้อมคลิก : https://www.google.com/maps/d/u/1/edit?mid=1aaUA6SiLHFu028Nu1Mxvy43uzHX5qdw&usp=sharing
19 ก.ย. 2022
ดีพร้อม ปลื้ม "Angel Fund - Startup Connect" ดันสตาร์ทอัพไทยลุยธุรกิจครบวงจร รังสรรค์นวัตกรรมหลากหลายด้วยเทคโนโลยีเชิงลึก กระตุ้น ศก. กว่า 420 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 14 กันยายน 2565 – นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมให้เกียรติเป็นประธานมอบนโยบายสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพในงานแถลงผลสำเร็จพร้อมมอบเงินทุนสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจ ในกิจกรรมสร้างความตระหนักและภาพลักษณ์ของวิสาหกิจไทย (Tribe image) ร่วมด้วย ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ และสื่อมวลชน พร้อมด้วย นายแจ็คกี้ ชาง ประธานกรรมการบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความร่วมมือในการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพ โดยมี ดร.วรวิทย์ จิรัฐิติเจริญ ผู้อํานวยการกองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กล่าวรายงาน ณ Glowfish Sathon ชั้น 2 ตึกสาทรธานี 2 กิจกรรมดังกล่าว เป็นการเชื่อมโยงเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ โดย ดีพร้อม ได้ร่วมมือกับ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผ่าน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการ Angel Fund (แองเจิ้ล ฟันด์) และโครงการ Startup Connect โดยได้ส่งเสริมและพัฒนาสตาร์ทอัพระยะเริ่มต้น จำนวน 44 ธุรกิจ โดยผู้ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการ Angel Fund ที่เป็นการสนับสนุนเงินทุนแบบให้เปล่า ได้เกิดการจัดตั้งบริษัทใหม่และจ้างงานในประเทศ ขณะที่โครงการ Startup Connect เพื่อพัฒนาทักษะการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเน้น Co-creation ได้เปิดโอกาสในการร่วมงานกับพันธมิตรเอกชนรายใหญ่และทดลองใช้นวัตกรรมในตลาดจริง และเชื่อมโยงสตาร์ทอัพเข้าถึงตลาดภาคอุตสาหกรรม ผลงานต่าง ๆ ของผู้เข้าร่วมงานได้แสดงออกมาในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับ “เทคโนโลยีเชิงลึก” (Deep Technology) ทั้ง 12 ด้าน อาทิ การแพทย์ครบวงจร การเกษตร อาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ แพลตฟอร์มดิจิทัล เทคโนโลยีการเงิน อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและหุ่นยนต์ เกิดเป็นนวัตกรรมที่หลากหลาย โดยในปี 2565 ทั้ง 2 โครงการ สามารถสร้างมูลค่าเศรษฐกิจให้ประเทศ รวมถึง 420 ล้านบาท และ ในปี 2566 ดีพร้อมจะเดินหน้าร่วมมือกับภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ร่วมกันพัฒนาเครือข่ายตลาดภาครัฐควบคู่ไปกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีด้าน GovTech (Government Technology) ที่ช่วยให้ภาครัฐทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึง IndustryTech เทคโนโลยีและโซลูชันที่ถูกคิดค้นและพัฒนาเพื่อกระบวนการทางอุตสาหกรรมและเป็นวิศวกรรมขั้นสูงที่แก้ปัญหาภาคอุตสาหกรรมได้ตรงจุด นอกจากนี้ ภายในงานยังได้มอบประกาศนียบัตรแก่ทีมที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 44 ทีม และมอบเงินทุนสนับสนุนให้กับสตาร์ทอัพที่ได้ผ่านการพิจารณา 6 ทีม ได้แก่ 1. ทีม RENEWSI - ขั้วแบตเตอรี่ลิเธียมจากขยะโซล่าเซลล์ 2. ทีม EMMA (Expert of EKG) - เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 12 ลีด 3. ทีม UPCYDE - หนังเทียมจากขยะทางการเกษตร ลดการฝังกลบด้วยไบโอเทคโนโลยี 4. ทีม NRG Trac - Planet C-platform ช่วยบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม 5. ทีม Muu - นมที่ผลิตจากโปรตีนเคซีนและเวย์โดยการใช้กระบวนการหมักจากจุลินทรีย์ชนิดพิเศษที่พัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ 6. ทีมทีอีเอสอาร์ - ชุดฝึกอบรมแขนกลหุ่นยนต์ที่ใช้งานได้จริงในอุตสาหกรรม ทั้งนี้ สตาร์ตอัพเหล่านี้ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้และพัฒนาธุรกิจเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดได้มากขึ้น ช่วยดึงดูดการลงทุนจากกลุ่มผู้สนับสนุนที่ใหญ่ขึ้นในอนาคต เพราะโลกธุรกิจปัจจุบันขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี จึงต้องการนวัตกรรม มาตอบโจทย์อย่างไม่หยุดนิ่ง ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
16 ก.ย. 2022
'อธิบดีณัฐพล' เยี่ยมชมบูธผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม ในงาน “DIPROM FAIR”
กรุงเทพฯ 14 กันยายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เยี่ยมชมบูธผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมงาน “DIPROM FAIR” ณ บริเวณห้องแสดงนิทรรศการ ชั้น 1 อาคาร DIPROM Headquarter (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) งานดังกล่าว เป็นการขยายช่องทางการตลาด และทดสอบการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์เกษตรอุตสาหกรรม โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 16 กันยายน 2565 ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 DIPROM Headquarter (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) จำนวนทั้งสิ้น 96 บูธ ประกอบด้วย อาหารแปรรูป จำนวน 54 บูธ สมุนไพรจำนวน 8 บูธ สินค้าจากเครือสหพัฒน์ สินค้าเกษตรอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมอื่น เช่น เครื่องสำอาง ผ้าและเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ รวมจำนวน 34 บูธ นอกจากนี้ยังมี กิจกรรมส่งเสริมการขาย โดยมีการเล่นเกมลุ้นรับของรางวัล พร้อมทั้งจับคูปองของรางวัลสมนาคุณให้กับผู้เข้าชมงานที่ได้เลือกซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ ตลอดระยะเวลาการจัดงานอย่างต่อเนื่อง ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
16 ก.ย. 2022
'อธิบดีณัฐพล' ดันผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม เปิดตลาดผ่านงาน “DIPROM FAIR”
กรุงเทพฯ 13 กันยายน 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานส่งเสริมการตลาด "DIPROM FAIR" ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย และนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้ประกอบการ และประชาชนที่เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก โดยมี ดร.อริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ บริเวณหน้าห้องแสดงนิทรรศการ ชั้น 1 อาคาร DIPROM Headquarter (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) สำหรับงานดังกล่าว เป็นการขยายช่องทางการตลาด และทดสอบการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์เกษตรอุตสาหกรรม ที่ได้รับการพัฒนาจาก ดีพร้อม เพื่อสร้างการรับรู้ในตราสินค้า รวมทั้งศึกษาวิธีการเจรจากับลูกค้าตลอดจนการจัดร้านค้าให้สวยงามและน่าสนใจ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานแสดงสินค้า ยังได้ใช้เวทีนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์เรื่องการผลิตและการตลาด ระหว่างผู้ประกอบการด้วยกันเองอีกด้วย งานดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 16 กันยายน 2565 ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 DIPROM Headquarter (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) จำนวนทั้งสิ้น 96 บูธ ประกอบด้วย อาหารแปรรูป จำนวน 54 บูธ สมุนไพรจำนวน 8 บูธ สินค้าจากเครือสหพัฒน์ สินค้าเกษตรอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมอื่น เช่น เครื่องสำอาง ผ้าและเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ รวมจำนวน 34 บูธ นอกจากนี้ยังมี กิจกรรมส่งเสริมการขาย โดยมีการเล่นเกมลุ้นรับของรางวัล พร้อมทั้งจับคูปองของรางวัลสมนาคุณให้กับผู้เข้าชมงานที่ได้เลือกซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ ตลอดระยะเวลาการจัดงานอย่างต่อเนื่อง ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
16 ก.ย. 2022
ดีพร้อม ประชุมคณะกรรมการจริยธรรมฯ ครั้งที่ 1/2565
กรุงเทพฯ 15 กันยายน 2565 นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจริยธรรมประจำกรมส่งเสริ,อุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2565 ร่วมด้วย นายเจตนิพิฐ รอดภัย และนายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ และบุคลากรจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุมสำนักงานเลขานุการกรม ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom Meetingการประชุมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อได้แจ้งบทบาทอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการจริยธรรม ประจำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม โดยสำนักงาน ก.พ. ได้ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมประจำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 โดยมีองค์ประกอบ (นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ประธานกรรมการ ,นายภาสกร ชัยรัตน์ , นายสิงห์ จงประเสริฐ , นางสาวิตรี ทาจ๋อย นางบุญเจือ วงษ์เกษม, นายเพทาย ล่อใจ ทำหน้าที่เป็นกรรมการ และ นายเจตนิพิฐ รอดภัย เป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ 5 ด้านหลักๆ ได้แก่ ด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ ด้านระเบียบ มาตรการ แนวทาง ด้านการวิจัยและพัฒนา ด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจและเครือข่าย และด้านการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล อีกทั้งได้มีมติเห็นชอบกรอบระยะเวลาในการดำเนินการ และการจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อจัดทำและขับเคลื่อน แผนส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรมข้าราชการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เอกสารที่เกี่ยวข้อง รายงานการประชุมคณะกรรมการจริยธรรมประจำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมครั้งที่ 1/2565 เอกสารนำเสนอประกอบการประชุมคณะกรรมการจริยธรรมประจำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมครั้งที่ 1/2565 ประกาศคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมประจำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หลักเกณฑ์แนวทางที่เกี่ยวข้อง นำเสนอแนวทางการปรับใช้กับงานบริหารทรัพยากรบุคคลและหลักเกณฑ์การรายงานผล หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและการแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรม (ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1019/ว 22 ลงวันที่ 22 กันยายน 2564) แนวทางการดำเนินการขับเคลื่อนประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการจริยธรรม คู่มือคำอธิบายและตัวอย่างพฤติกรรมตามมาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซักซ้อมแนวทางการจัดตั้งกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม แนวทางการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สำหรับส่วนราชการ คู่มือการใช้งานระบบแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมในรูปแบบออนไลน์ ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ระเบียบคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การรายงานผลการดาเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรม พ.ศ. 2565 ข้อกำหนดว่าด้วยกระบวนการรักษาจริยธรรม : กลไกและการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2564 ระเบียบคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทาประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรมและกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2563 พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2564
15 ก.ย. 2022