Category
เชิญชวนผู้ประกอบการกาแฟ และโกโก้ ในพื้นที่เชียงใหม่และลำพูน
ประชาสัมพันธ์ เข้าร่วมกิจกรรม "Work shop การทำเชื้อจุลินทรีย์บริสุทธิ์ สำหรับงานหมัก" วันพฤหัสที่ 24 สิงหาคม 2566 นี้ เวลา 13:00-16:30 น. ณ ศูนย์พัฒนากาแฟไทย (DIPROM THAI COFFEE CENTER) ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ รับจำนวนจำกัด 10 ท่าน ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม "Work shop สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณปรียาวรรณ 089-612-8594
22 ส.ค 2023
เข้าร่วมฟรี! กิจกรรม Business Matching กับบริษัทชั้นนำจากจังหวัด Kanagawa ที่บินตรงมาจากญี่ปุ่น
กิจกรรม Business Matching กับบริษัทชั้นนำจากจังหวัด Kanagawa ที่บินตรงมาจากญี่ปุ่น ดูโปรไฟล์บริษัทญี่ปุ่นได้ที่: https://shorturl.at/acp46 วันที่ 1 กันยายน 2566 เวลา 13.30 - 17.00 น. ณ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มเป้าหมาย อุตสาหกรรมเครื่องจักร ชิ้นส่วนยานยนต์/อากาศยาน ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ อุตสาหกรรมการพิมพ์ วัสดุรีไซเคิล สมัครได้ที่ ภายใน 18 สิงหาคม 2566 รับจำนวนจำกัด! เข้าร่วมฟรี! สอบถามเพิ่มเติมที่ 0 2430 6867 ต่อ 1414 / intercoop@diprom.go.th
21 ส.ค 2023
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่เยี่ยมชมชุมชนดีพร้อมเครื่องแกงใต้ เกาะยอ
จ.สงขลา 20 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชม กลุ่มเครื่องแกงกุลญาดา พร้อมด้วย นางสาววรรณี พุฒแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 (DIPROM CENTER 11) ดร.พลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางกุลญาดา เจริญศรุตา กรรมการกลุ่มเครื่องแกงกุลญาดา ให้การต้อนรับ ณ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา กลุ่มเครื่องแกงกุลญาดาผลิตและจำหน่ายพริกแกงปักษ์ใต้ น้ำพริก กะปิหวาน และน้ำพริกเผา มีรสชาติที่มีความเป็นอัตลักษณ์ของชาวชุมชนเกาะยอ ซึ่งได้รับเครื่องหมาย อย. และมาตรฐานฮาลาล จนได้รับการยอมรับจาก บริษัท เชฟรอน คอร์ปอเรชั่น ให้เป็นผู้ผลิตและจัดส่งวัตถุดิบในการทำอาหาร อาทิ เนื้อ หมู ปลา กุ้ง ผักสด ผลไม้ และขนม รวมถึงพริกแกง 7 ชนิด จำนวน 300 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ไปที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน จำนวน 15 แท่น ของบริษัทเชฟรอนฯ มาเป็นเวลายาวนานกว่า 26 ปี ขณะเดียวกัน กลุ่มเครื่องแกงกุลญาดายังรับเป็นศูนย์ฝึกเชฟมาตรฐานของเชฟรอน ก่อนส่งไปยังแท่นขุดเจาะอีกด้วย ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้เข้าไปช่วยส่งเสริมและพัฒนาด้านของผลิตภัณฑ์เครื่องแกงพร้อมรับประทาน การรวมกลุ่มและเชื่อมโยงผู้ประกอบการเพื่อเสริมความเข้มแข็งของคลัสเตอร์ในพื้นที่ รวมถึงการให้ความรู้เรื่องการตลาดออนไลน์ และการทำบัญชี/ต้นทุนในการผลิต นอกจากนี้ ยังได้เชิญชวนชุมชนดังกล่าวเข้าร่วมโครงการ "เมนูเด็ดชุมชนดีพร้อม" โดยการส่งเสริมและพัฒนาในด้านต่าง ๆ อาทิ ดีพร้อมฮีโร่ เป็นจุดรวมวัตถุดิบในประเทศไทยผลิตเครื่องแกงเชื่อมโยงเครือข่ายวัตถุดิบ ได้แก่ พริก หอม และกระเทียม โดยส่งเสริมให้ชุมชนโดยรอบปลูกวัตถุดิบดังกล่าว พร้อมกำหนดราคาให้เป็นมาตรฐาน เน้นย้ำการถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น เพื่อคงคุณภาพและอัตลักษณ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นออกสู่ตลาดต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ส.ค 2023
"ดีพร้อม" ลงพื้นที่เยี่ยมชม กลุ่มทอผ้าร่มไทร ต่อยอดสร้างอาชีพดีพร้อม
จ.สงขลา 20 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชม กลุ่มทอผ้าร่มไทร พร้อมด้วย นางสาววรรณี พุฒแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 11 (DIPROM CENTER 11) ดร.พลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางยมนา สินธุรัตน์ ประธานกลุ่มทอผ้าร่มไทร ให้การต้อนรับ ณ ตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา ผ้าทอเกาะยอ หรือ ผ้าเกาะยอ เป็นผ้าทอพื้นเมืองของตำบลเกาะยอ อำเภอเมืองสงขลา ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยกลุ่มทอผ้าร่มไทร เป็นกลุ่มผู้บุกเบิกผ้าทอเกาะยอ และเป็นผู้ริเริ่มผ้าทอลายเกล็ดปลาขี้ตัง (เป็นปลาเฉพาะที่ทะเลสาบ จ.สงขลา) ตามที่ได้รับการส่งเสริมการออกแบบจากดีพร้อม และด้วยเอกลักษณ์ของผ้าเกาะยอที่ทอเป็นลายเล็ก ๆ จึงเป็นเหตุให้ผู้ทอต้องมีสมาธิสูงมากในการทำดอกผ้าแต่ละดอก โดยมีลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายดอกพยอม ลายดอกรสสุคนธ์ ลายพริกไทย และลายลูกหวาย เป็นต้น โดยปัจจุบันกลุ่มผ้าทอร่มไทรยังมีการถ่ายทอดความรู้การทอผ้าให้แก่ลูกหลานชาวเกาะยอ ถ่ายทอดองค์ความรู้การทอผ้าให้กับสามเณรกว่าร้อยชีวิตที่ศูนย์การเรียนรู้ ผ้าทอสีธรรมชาติ วัดโคกเปรี้ยว ให้ได้เรียนรู้วิชาชีพการทอผ้าซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการเรียนรู้ของสามเณร "ตามวิถีของพระที่ต้องเย็บทำจีวรเอง" ตามที่เจ้าอาวาสบอกกล่าวไว้ เพื่อเป็นโอกาสในการสร้างอาชีพและสามารถหารายได้หลังลาสิกขาต่อไป ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้สนับสนุนจักรเย็บผ้าให้แก่ศูนย์การเรียนรู้ฯ อีกทั้ง ยังได้ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีอัตลักษณ์สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนเกาะยอในอนาคต ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ส.ค 2023
ปลัดฯ ณัฐพล ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงาน สอจ.อยุธยา และอ่างทอง ย้ำทุกจุดจี้โรงงานกรอกข้อมูลการประกอบการอุตสาหกรรม ภายในสิงหาคมนี้!
จ.พระนครศรีอยุธยา 18 สิงหาคม 2566 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแนวทางการบูรณาการงานของหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมด้วย โดยมีนายธีระ แก้วพิมล อุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายบวรวิทย์ อัครจันทรโชติ อุตสาหกรรมจังหวัดอ่างทอง และนางสาววันรานี เลี่ยวไพโรจน์ ผู้จัดการเขต 7 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เป็นผู้นำเสนอข้อมูล ณ ห้องประชุมอโยธยา ศาลากลางจังหวัดพระศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีโรงงานทั้งสิ้น 1,868 โรงงาน ปัจจุบันมีโรงงานที่กรอกข้อมูลการประกอบการอุตสาหกรรมกว่า 50% ซึ่งต้องผลักดันให้ได้ครบ 100% ภายในเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้กรอกข้อมูลและขาดการติดต่อกับกระทรวงฯ ก็จะทำการลงพื้นที่ตรวจโรงงานแบบสุดซอยเพื่อพิจารณาทบทวนการยกเลิกใบอนุญาตโรงงานออกจากระบบฐานข้อมูลโรงงานต่อไป ส่วนในด้านการร้องเรียนในพื้นที่ยังพบปัญหาโรงงานลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม ซึ่งได้ดำเนินการตามกฎหมายไปแล้ว ส่วนการร้องเรียนปัญหา PM 2.5 ที่มีสาเหตุทั้งจากโรงงานและการกำจัดวัชพืชด้วยการเผาของชุมชนทาง สอจ.พระนครศรีอยุธยา จะติดตามแก้ไขอย่างใกล้ชิดต่อไป ด้านจังหวัดอ่างทอง มีโรงงานอุตสาหกรรม 324 โรงงาน ส่วนใหญ่พื้นที่กว่า 60% เป็นพื้นที่เกษตรกรรมปลูกนาข้าว รายได้ส่วนใหญ่จึงมาจากเกษตรกรรมและการท่องเที่ยว โดยวิสาหกิจชุมชนมีรายได้จากการจำหน่ายของที่ระลึก อาทิ ตุ๊กตาชาววัง กลอง เครื่องจักสาน ซึ่งอาจไม่เป็นที่นิยมมากนัก สอจ.อ่างทอง จึงมีแนวคิดตามนโยบาย MIND คือให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในลักษณะ Big Brother โดยให้โรงงานสนับสนุนผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ ในท้องถิ่น เพื่อช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกให้น่าสนใจและเหมาะกับความนิยมของผู้ซื้อมากขึ้น ส่วนการแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนโรงงานได้ให้โรงงานนำนโบายทั้ง 4 มิติ ไปปรับใช้ทั้งในด้านการดูแลสังคมและการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับชุมชนโดยรอบเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพในการจำกัดของเสีย การส่งเสริมเครือข่ายและเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม เพื่อให้โรงงานและชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบนโยบายให้ทุกจังหวัดเน้นย้ำกับผู้ประกอบการให้รายงานข้อมูลประกอบกิจการผ่านระบบข้อมูลกลาง (iSingle Form) โดยกรอกข้อมูลด้วยตนเองให้ถูกต้องครบถ้วน เพื่อให้ข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำไปวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ต่อไปได้ นอกจากนี้ ยังทำให้การรับบริการจากกระทรวงอุตสาหกรรมสะดวกขึ้น เช่น การขอใบอนุญาตต่าง ๆ การชำระค่าธรรมเนียม อย่างไรก็ตามจะต้องให้ผู้ประกอบการรายงานข้อมูลการประกอบการอุตสาหกรรม ให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งหากเลยระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมายและมีโทษปรับ โดยในช่วงก่อนจะครบกำหนด ขอให้ สอจ. เร่งลงพื้นที่ตรวจโรงงานแบบสุดซอยในทุกมิติของการรายงานตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยหากพบโรงงานที่ผิดกฎหมายขอให้ดำเนินการตามระเบียบอย่างจริงจัง รวมทั้งหากพบโรงงานที่มีการหยุดการดำเนินการมาเป็นเวลานาน ขอให้พิจารณาทบทวนการยกเลิกใบอนุญาตประกอบโรงงาน เพื่อให้ระบบฐานข้อมูลโรงงานมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันต่อไป ด้าน รองปลัดฯ ณัฏฐิญา กล่าวเสริมว่า ขอให้จังหวัดพยายามชี้เป้าให้ได้ว่าอุตสาหกรรมอะไรในพื้นที่ที่มีศักยภาพและเหมาะสมต่อการพัฒนา ส่วนในด้านการนำข้อมูลระบบ iSingle Form ไปวิเคราะห์และใช้ประโยชน์ สามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับพร้อมวิเคราะห์ไปถึงต้นทางเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไปสู่การเป็น SPRING UP ที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องมีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และมุ่งพัฒนาระบบมาตรฐาน เพื่อเพิ่มการส่งออกไปสู่ตลาดสากล นอกจากนี้ควรนำนโยบายดิน น้ำ ลม ไฟ ไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้โรงงานอุตสาหกรรมใส่ใจสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยลดข้อร้องเรียนได้ดียิ่งขึ้น ส่วนในด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการรายเล็ก ควรดึงอัตลักษณ์ในพื้นที่มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เด่นประจำจังหวัดพร้อมผลักดันสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ต่อไป ด้าน หัวหน้าผู้ตรวจฯ ย้ำให้ สอจ. มีการจัดทำแผนและการกำกับการตรวจโรงงานที่ดี เพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน ส่วนการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนซ้ำซาก ขอให้บูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ในการนี้ ผู้จัดการเขต 7 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME D Bank ได้นำเสนอผลการดำเนินงาน ของสาขาพระนครศรีอยุธยา สระบุรี และอ่างทอง ประกอบด้วย การให้สินเชื่อของ ธพว.เขต 7 การดำเนินการปล่อยสินเชื่อภายใต้กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ผลการเบิกจ่าย ยอดหนี้คงค้างของธนาคาร และจำนวน NPL ในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจประเภทรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจท่องเที่ยว เป็นต้น ต่อมาในเวลา 17.00 น. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมคณะ ได้ตรวจเยี่ยมธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สาขาพระนครศรีอยุธยา เพื่อให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานและรับฟังสรุปผลการดำเนินการตลอดช่วงครึ่งปีแรก โดยมีเจ้าหน้าที่ ธพว.พระนครศรีอยุธยา ร่วมให้การต้อนรับ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ส.ค 2023
แม่ทัพ "ดีพร้อม" เปิดประตูรับฟังความเห็นแนวทางการส่งเสริมเอสเอ็มอีเมืองย่าโม
จ.นครราชสีมา 18 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการดำเนินงานของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) กลุ่มผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องอิมพีเรียล 2 - 4 ชั้น 1 โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เพื่อรับฟังความคิดเห็น ปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากทุกภาคส่วนของดีพร้อม ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการเงิน อาทิ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย สภาเกษตรกร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยในจังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดอื่น ๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอื่น ๆ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดีพร้อม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน เพื่อนำประเด็นปัญหาความต้องการมาร่วมกันกำหนดทิศทางการส่งเสริมพัฒนาที่จะนำไปสู่การจัดทำโครงการที่ตอบโจทย์ตามความต้องการ ตลอดจนเป็นแนวทางในการปรับบทบาทของดีพร้อมให้สอดรับกับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยดีพร้อมได้ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้สามารถเพิ่มศักยภาพและขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งและเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ส.ค 2023
"อสอ.ใบน้อย" นำทีมผู้บริหารดีพร้อม มอบวุฒิบัตรและแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการ คพอ. พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จ.นครราชสีมา 18 สิงหาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานมอบวุฒิบัตรและกล่าวแสดงความยินดีในพิธีปิดกิจกรรมการฝึกอบรมการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.ดีพร้อม) พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้แทนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และสมาชิก คพอ. ดีพร้อม ผู้สำเร็จการฝึกอบรม โดยมี นายณัฐพล แสงฟ้า นายกสหพันธ์สมาคมผู้ประกอบการไทย กล่าวแสดงความยินดี และนางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 (DIPROM CENTER 6) กล่าวรายงาน ณ ห้องลำตะคอง โรงแรมแคนทารีโคราช ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา กิจกรรมดังกล่าว เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพด้านการบริหารจัดการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 128 ราย แบ่งเป็น 4 รุ่น ได้แก่ รุ่น 392 จังหวัดอุดรธานี รุ่นที่ 393 จังหวัดขอนแก่น รุ่นที่ 394 จังหวัดนครราชสีมา และรุ่นที่ 395 จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีผู้ผ่านการฝึกอบรมกว่า 90 ชั่วโมง ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้ตั้งเป้าหมายเพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการ SMEs มีความพร้อมในการปฏิรูปธุรกิจด้วยการสร้างสรรค์หลักสูตรฝึกอบรมระยะยาวที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของ SMEs ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ด้านการจัดตั้งธุรกิจ การวางแผนธุรกิจ การบริหารจัดการ การผลิต การบัญชี การเงิน การตลาด การสร้างแบรนด์สินค้า การจัดการทรัพยากรบุคคล ระบบมาตรฐาน ระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรม และอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของธุรกิจและตัวผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 อย่างสมบูรณ์ ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงธุรกิจ กับผู้ประกอบการทั่วทุกภูมิภาคของประเทศและนับได้ว่าเป็นกำลังสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ส.ค 2023
"ไอมูกิอุดร (iMUKi Udon)" ได้เข้าร่วม หลักสูตร "เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC)
ผู้ประกอบการที่ผ่าน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) "ไอมูกิอุดร (iMUKi Udon)" ได้เข้าร่วม โครงการดังกล่าว กับทางศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 (DIPROM Center4) จากการฝึกอบรม สิ่งที่ได้นำไปใช้ในกิจการ ได้แก่ เทคนิคการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ แนวคิดการสร้างธุรกิจเชิงนวัติกรรมให้เติบโต (Disruptive Trends and Innovation Mindset) รูปแบบใหม่ในการบริหารธุรกิจด้วย Lean Startup and Design Thainking การเขียนแบบจำลองธุรกิจ (Business Model Canvas :BMC) รอบรู้ ต้นทุน /บัญชี การบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ ไอมูกิอุดร (iMUKi Udon)จำหน่ายเบาะหนังรถยนต์คุณภาพดี อุปกรณ์ตกแต่งรถ และอื่นๆ
18 ส.ค 2023
"Onepoint Interior" บริษัท วันพอยท์ อินทีเรีย จำกัด
ผู้ประกอบการที่ผ่าน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) "Onepoint Interior" บริษัท วันพอยท์ อินทีเรีย จำกัด ได้เข้าร่วม โครงการดังกล่าว กับทางศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 (DIPROM Center4) จากการฝึกอบรม สิ่งที่ได้นำไปใช้ในกิจการ ได้แก่ เทคนิคการสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ แนวคิดการสร้างธุรกิจเชิงนวัติกรรมให้เติบโต (Disruptive Trends and Innovation Mindset) รูปแบบใหม่ในการบริหารธุรกิจด้วย Lean Startup and Design Thainking การเขียนแบบจำลองธุรกิจ (Business Model Canvas :BMC) ต้นทุน / บัญชี การบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ Onepoint Interior รับเหมาก่อสร้าง ตกแต่งภายในที่มีชื่อเสียงในอุดรธานี สอบถาม และปรึกษาฟรี สามารถคลิกดูผลงานได้ที่ https://www.onepointint.com/ รับประกันงาน 1 ปี ไม่ทิ้งงาน ดูแลตลอดชีพ งบน้อยก็ทำได้ ไม่มีบาน ควมคุมงบประมาณด้วยตัวคุณเอง ทีมงานมืออาชีพ เชื่อถือได้ โทร : 061-8181000 , 095-2043665
18 ส.ค 2023
เทวา อินเตอร์กรุ๊ป
ออกแบบลายผ้า ด้วยระบบดิจิทัล ดันยอดขายได้หลักล้าน จากพ่อค้าขายก๋วยเตี๋ยว ขายลูกชิ้นทอด สู่การสร้างธุรกิจ “ผ้าทอ” ระดับประเทศ เส้นทางนี้ คุณกิตติพันธุ์ สุทธิสา เล่าว่าเริ่มต้น จากความบังเอิญ แต่เดินหน้าด้วยความตั้งใจ โดยเฉพาะการเรียนรู้ อย่างจริงจังและความมุ่งมั่นที่จะต้องผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน ทำให้ วันนี้ เทวา อินเตอร์กรุ๊ป คือหนึ่งในผู้ผลิตและจำหน่ายปลีกส่งผ้า หัตถกรรมทุกชนิดรายใหญ่ระดับประเทศ สร้างงานสร้างอาชีพให้กับ ชาวหนองบัวลำภูที่เป็นช่างทอกว่า 300 คนได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ จุดที่ทำให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด คือการสร้างอัตลักษณ์ ให้สินค้าจนมีความแตกต่างจากที่อื่น นั่นก็คือ “ผ้าหมักน้ำข้าว นวัตกรรมผ้าสองหน้า” ใช้ภูมิปัญญาการหมักผ้าด้วยน้ำซาวข้าวของคนหนองบัวลำภูมาผสานกับเทคนิคการทอ ด้านหนึ่งเป็นผ้า ทอลายมัดหมี่ ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นผ้าทอยกดอก ทำให้สามารถใส่ ได้ทั้งสองด้าน และยังมีเรื่องของการพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐาน อย่างต่อเนื่อง คุณภาพระดับส่งออกต่างประเทศ เช่น สินค้าผ้าคลุม ไหล่ส่งออกไปยังประเทศเนปาลซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี แม้จะสามารถนำเสนอสินค้าผ่านช่องทางการตลาดทั้งการออกบูธการ Live สดบนโซเชียลมีเดียจนได้รับการตอบรับอย่างต่อเนื่องแต่ปัญหาหลักที่ทำให้คุณกิตติพันธุ์ต้องการผู้เชี่ยวชาญมาให้ความช่วยเหลือนั้นก็คือ “การออกแบบลายผ้า” เนื่องจากใช้ลายเดิม ๆ มาเป็นระยะเวลายาวนาน และคุณกิตติพันธุ์เองก็ต้องการพัฒนารูปแบบ กระบวนการผลิต โดยกำหนดลายให้แก่ช่างทอก่อนที่ จะผลิตซึ่งจะช่วยให้ได้ชิ้นงานที่ตรงตามความต้องการ ของตลาด และมีความสวยงามแปลกใหม่เพิ่มขึ้นได้ คุณกิตติพันธุ์จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมการประยุกต์ใช้ ระบบดิจิทัลในการบริหารจัดการธุรกิจ ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัลกับดีพร้อม จนสามารถนำโปรแกรมออกแบบ ลายผ้าสำเร็จรูป โปรแกรมออกแบบลายผ้า JK-Weave ไปใช้ออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากเดิม ต้องใช้เวลาในการออกแบบ 10 วันเหลือเพียง 1 วัน ช่วย ลดต้นทุนเฉพาะค่าออกแบบได้ถึง 37,800 บาทต่อปี นอกจากนี้ ยังสามารถออกแบบลายตามความต้องการ ของลูกค้า องค์กร หน่วยงาน ฯ ทำให้เปิดสู่ตลาดใหม่ ๆ เกิดยอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 200,000 บาทต่อปี ทั้งหมด นี้คิดเป็นมูลค่าเศรษฐกิจรวมถึง 7,200,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว นอกจากความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างงดงามตรงตาม โจทย์ธุรกิจแล้ว อีกสิ่งที่คุณกิตติพันธ์มีความประทับใจ คือการให้ความช่วยเหลือดูแลและพร้อมสนับสนุนจาก ดีพร้อมในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการตลาด ประชาสัมพันธ์ เมื่อธุรกิจมีปัญหาดีพร้อมยังเป็นเพื่อนคู่คิด ทำให้ ผู้ประกอบการรู้สึกไม่โดดเดี่ยว สิ่งนี้เองเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกว่าดีพร้อมพร้อมอยู่เคียงข้างในทุกเส้นทางอย่างแท้จริง บริษัท เทวา อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด 264 หมู่ 2 ถ.อุดร-เลย ต.นาคำไฮ อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู 33000 08 6972 9787 kittiphan0869729787@gmail.com ที่มา : รายงานประจำปี 2565 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
18 ส.ค 2023