โทรศัพท์ 1358
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา นำคณะผู้บริหาร ขึ้นเหนือ เสริมศักยภาพอุตสาหกรรม เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา นำคณะผู้บริหาร ขึ้นเหนือ เสริมศักยภาพอุตสาหกรรม เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ
จ.ลำพูน 2 พฤศจิกายน 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ลำพูน หารือร่วมเอกชน ถึงแนวทางขับเคลื่อน ภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดลำพูน พร้อมด้วย นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารระดับสูง กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม โดยมี นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน นางจันทนา ไวยาวัจมัย อุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องร่วมต้อนรับ ณ ห้องประชุมสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน สำหรับในพื้นที่จังหวัดลำพูน มีผู้ประกอบกิจการโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ 73 ราย แบ่งเป็น ญี่ปุ่น 35 ราย ไทย 19 ราย ยุโรป 11 ราย เกาหลี 3 ราย ไต้หวัน 2 ราย สหรัฐอเมริกา 1 ราย สิงคโปร์ 1 ราย และอินเดีย 1 ราย มีจำนวนการจ้างงาน 35,000 คน โดยเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม แบ่งเป็นด้าน ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ 27 โรงงาน อุตสาหกรรมเหล็ก และผลิตภัณฑ์โลหะ 8 โรงงาน อุตสาหกรรมน้ำมัน และพลังงาน 7 โรงงาน อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม 5 โรงงาน อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ เครื่องจักร และอะไหล่ 5 โรงงาน และอุตสาหกรรมด้านอื่นๆ เช่น อัญมณี เครื่องแต่งกาย ฯลฯ 21 โรงงาน โดยการประชุมหารือในครั้งนี้ ได้นำเสนอในประเด็นต่าง ๆ อาทิ โครงการพัฒนาและเชื่อมโยงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรายใหญ่กับ SMEs ลำพูน (Lamphun Supply Chain) : เพื่อเปิดโอกาสแสดงศักยภาพ และสร้างโอกาสเจรจาธุรกิจร่วมกัน ,โครงการขนส่งสินค้าทางรถไฟ และสถานี Container Yard : เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขนส่งสินค้าในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมภายในประเทศไทยและขนส่งออกไปต่างประเทศ, การปรับปรุงผังเมือง เพื่อรองรับการขยายตัวของการค้าและอุตสาหกรรมลำพูน NEC ,การปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับเศรษฐกิจ และ อุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มมูลค่าสูง (Lamphun Superfoods Valley) อุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน กล่าวว่า สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดลำพูน จากข้อมูล ประจำปี พ.ศ. 2564 ต่อหัว ลำพูน เป็นอันดับ 1 ของภาคเหนือ ลำดับที่ 14 ของประเทศ และจังหวัดลำพูน มีประเด็นการพัฒนาจังหวัดให้เป็นเมืองอุตสาหกรรม หัตถกรรม และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ยกระดับศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทย ให้สอดรับกับการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคเหนือ (Northern Economic Corridor) หรือ NEC ซึ่งรัฐบาลหวังพัฒนาภาคเหนือในส่วนของ 4 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และลำพูน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดลำพูน ให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของประเทศอย่างยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปวิสัยทัศน์ของจังหวัดลำพูนในปี 2570 ต่อไป ทั้งนี้ รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งดึงดูดนักลงทุน ในส่วนภาคอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูนว่า รัฐบาลมีความพร้อมในการสนับสนุนศักยภาพภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก พร้อมกับมีโยบายในการส่งเสริมการจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อดึงดูดการลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งให้กำลังใจพี่น้องประชาชน และผู้ประกอบการภาคธุรกิจ และเน้นย้ำให้การนิคมฯ ดูแลในส่วนของการบริหารจัดการน้ำ การใช้น้ำของโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ให้กระทบต่อภาคการเกษตรของประชาชน ซึ่งนายกรัฐมนตรี เป็นห่วงสถานการณ์น้ำแล้งเป็นอย่างมาก ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม) รายงาน
06 พ.ย. 2566
"อธิบดีภาสกร" บินตรงเมืองล้านนา มอบนโยบายบุคลากรดีพร้อม เน้นขับเคลื่อนอุตฯ เชิงพื้นที่ทุกมิติ
"อธิบดีภาสกร" บินตรงเมืองล้านนา มอบนโยบายบุคลากรดีพร้อม เน้นขับเคลื่อนอุตฯ เชิงพื้นที่ทุกมิติ
จ.เชียงใหม่ 3 พฤศจิกายน 2566 - นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและมอบนโยบายการทำงานให้แก่ ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 (DIPROM CENTER 1 : DC1) พร้อมด้วย นางเกษราภรณ์ โกวิทลวากุล ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 ให้การต้อนรับและสรุปภาพรวมการดำเนินงาน ณ ห้องประชุม หิรัญญิการ์ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 อำเภอเมืองเชียงใหม่ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) ได้รับฟังผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ และการให้บริการของดีพร้อมเซ็นเตอร์ 1 ซึ่งมุ่งเน้นการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ และอุตสาหกรรมยานยนต์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน อสอ. ยังได้มอบนโยบายการทำงานที่มุ่งเน้นการดำเนินงานในโครงการที่มีลักษณะ Quick Win การส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารที่เป็น Soft Power การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการตลาดด้วย Digital Transformation การสร้างการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน และสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) รวมถึงการบริหารจัดการชุมชน การบูรณาการความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก ตลอดจนเน้นย้ำให้ DC1 ขับเคลื่อนการทำงานตามยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ด้วยการขอรับการจัดสรรงบประมาณจากกลุ่มจังหวัด งบจังหวัด และหน่วยงานอื่นได้ด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม) รายงาน/ภาพข่าว
06 พ.ย. 2566
"ดีพร้อม" หารือแนวทางการบริหารงาน ปีงบฯ  66 ไปพลางก่อน
"ดีพร้อม" หารือแนวทางการบริหารงาน ปีงบฯ 66 ไปพลางก่อน
กรุงเทพฯ 1 พฤศจิกายน 2566 – นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมหารือแนวทางการบริหารงานงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2566 ไปพลางก่อน ร่วมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในครั้งนี้ เป็นการหารือด้านแนวทางการบริการดำเนินงานและการบริหารงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน เพื่อให้ทิศทางการทำงานนั้นเป็นไปตามแผน หลักเกณฑ์ มีการใช้จ่ายงบประมาณได้คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถติดตาม กำกับ ดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน พร้อมพิจารณาแนวทางการปรับแผน เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน ภายใต้การอนุมัติของหน่วยงาน และ อสอ. เพื่อสร้างมาตรฐานในการบริหารจัดการและการปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
02 พ.ย. 2566
"รสอ.วัชรุน" ร่วมประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงาน
"รสอ.วัชรุน" ร่วมประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงาน
กรุงเทพฯ 27 ตุลาคม 2566 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาฝีมือแรงงาน ครั้งที่ 7/2566 โดยมี นายถาวร ชลัษเฐียร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานสถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์ เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมปกรณ์ อังคุสิงห์ ชั้น 10 อาคารกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1) รับทราบรายงานผลการพิจารณาอนุมัติการให้เงินช่วยเหลือหรืออุดหนุนตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 และรายงานผลการให้กู้ยืมเงินและการชำระเงินกู้ยืมกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน 2) ให้ความเห็นชอบการร่างประกาศคณะกรรมการส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งชาติ เรื่องมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติและรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริม การพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 3) ให้ความเห็นชอบจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ สาขาการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
30 ต.ค. 2566
“อธิบดีภาสกร” นั่งหัวโต๊ะ ประชุมบอร์ดบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ เคาะมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการประสบภัยพิบัติ ปี 2566
“อธิบดีภาสกร” นั่งหัวโต๊ะ ประชุมบอร์ดบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ เคาะมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการประสบภัยพิบัติ ปี 2566
กรุงเทพฯ 27 ตุลาคม 2566 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ ครั้งที่ 7/2566 พร้อมด้วย นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมครั้งนี้ เป็นการพิจารณามาตรการการบรรเทาและฟื้นฟูภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับการให้กู้เงิน 1) ยกเลิกคำสั่งและออกคำสั่งเรื่อง มาตรการบรรเทาและฟื้นฟูผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ 2) ออกประกาศและกำหนดหลักเกณฑ์การยื่นคำขอรับความช่วยเหลือ 3) กำหนดระยะเวลาดำเนินการ โดยกำหนดเบื้องต้นไว้ที่ 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ได้ประกาศมาตรการ 4) กำหนดกรอบวงเงินให้ความช่วยเหลือ วงเงิน 20 ล้านบาท โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 5) ขอความเห็นชอบโดยมอบหมายให้อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีอำนาจออกประกาศและลงนามประกาศในฐานะประธานกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ นอกจากนี้ ยังได้รายงานผลการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ ประจำปีบัญชี 2566 รายงานงบการเงินสำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน 2566 ของเงินทุนหมุนเวียนฯ และการอนุมัติแผนการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วงเงิน 51,900,000 บาท โดยที่ประชุมรับทราบและมอบหมายให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติมตามแผนงานต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
30 ต.ค. 2566
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา ลงพื้นที่เมืองชล เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมสู่เมืองเศรษฐกิจชั้นนำอาเซียน
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา ลงพื้นที่เมืองชล เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมสู่เมืองเศรษฐกิจชั้นนำอาเซียน
จ.ชลบุรี 27 ตุลาคม 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี (สอจ.ชลบุรี) พร้อมหารือแนวทางการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีนางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (หน.ผตร.อก.) นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเตมีย์ พันธุ์วงค์ราช ผู้อำนวยการกองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมหารือ และมีนางสาวอังศุมาลิน ฉัตรสุวรรณวารี อุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี (อสจ.ชลบุรี) นางสาวภารดี เสมอกิจ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 (ศภ.9) ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ สอจ.ชลบุรี และ ศภ.9 และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี (สอท.ชลบุรี) ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม ชั้น 7 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จังหวัดชลบุรี อสจ.ชลบุรี ได้รายงานว่า จังหวัดชลบุรี มีโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 4,248 โรงงาน อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ แหลมฉบัง ปิ่นทอง ดับบลิวเอชเอ และปิ่นทอง (แหลมฉบัง) จำนวน 1,099 โรงงาน นอกนิคมอุตสาหกรรม จำนวน 3,149 โรงงาน วิสาหกิจชุมชน จำนวน 620 กลุ่ม OTOP จำนวน 1,395 ราย เหมืองแร่ในจังหวัดได้ประทานบัตร 31 แปลง เปิดการทำเหมือง 22 แปลง ประกอบด้วย อุตสาหกรรมชนิดหินแกรนิต หินปูน และอยู่ระหว่างต่ออายุ 6 แปลง หยุดการทำเหมือง 3 แปลง นอกจากนี้ สอจ.ชลบุรี ได้รายงานแนวทางปฏิบัติงานภายใต้นโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) อุตสาหกรรมเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน ด้วยแนวคิดสร้างสรรค์ ที่ทันสมัย และเป็นสากล ซึ่งจังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่มีนักลงทุนชาวต่างชาติ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และยุโรป มาลงทุนเป็นจำนวนมาก โดยดำเนินงานโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมในภูมิภาค โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งทั้งได้มีการจัดทำระบบ LINE Open Chat กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการ SME ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 1,800 ราย เพื่อเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ อีกด้วย ด้านนายณัฏฐ์ธน สารทจีนพงษ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี ได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด 20 ปี "เมืองเศรษฐกิจชั้นนำอาเซียน นวัตกรรมเพิ่มมูลค่า แลนด์มาร์ค การท่องเที่ยว สังคมคุณภาพ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน" การพัฒนาอุตสาหกรรมตามแนวทาง BCG และ ESG ของจังหวัดชลบุรี ในด้านยุทธศาสตร์ทางจังหวัดได้ตั้งเป้าในลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ลดลงร้อยละ 16 ผ่านการดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งจังหวัด โดยเฉพาะแสงสว่าง ปรับเปลี่ยนพลังงานเป็นพลังงานสะอาด จัดรูปแบบการขนส่งและการขนส่งสาธารณะ แบบ multimodal transportation โครงการปลูกป่า 1 ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม 1 ป่า 1 ไร่ ส่วนการพัฒนาผู้ประกอบการสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ มีการตั้งค่าเป้าหมายระดับการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับที่ 5 ภายในปี 70 ทั้งนี้ สอท.ชลบุรี มีข้อเสนอการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรี ดังนี้ 1) ส่งเสริมให้มีนิคมอุตสาหกรรมของรัฐ เนื่องจากราคาที่ดินในการนิคมของภาคเอกชนมีราคาค่อนข้างสูงเป็นปัญหาอุปสรรคของนักลงทุนที่ต้องการสร้างโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม 2) ต่อยอดพัฒนาเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในด้านเทคโนโลยี เงินทุนหมุนเวียน และการตลาด ซึ่งการต่อรองกับผู้ประกอบการที่เป็นแบรนด์ของสินค้าโดยเลือกใช้ผู้ประกอบการไทยเป็นหลัก 3) การจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาตามแนวทางพี่ช่วยน้อง (big brother) ในการช่วยบริหารจัดการแบบมีผลประโยชน์ร่วมกัน 4) การพัฒนาการตรวจประเมินรับรองและสร้างมาตรฐาน เรื่อง carbon neutrality เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 5) การพัฒนาฝีมือแรงงานภาคอุตสาหกรรมและการยกระดับฝีมือแรงงานตามคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งยังไม่ตรงเป้าหมายตามความต้องการ 6) ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีวัตถุดิบภายในประเทศ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการเกษตร เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง อ้อย พืชสมุนไพร เป็นต้น นอกจากนี้ ทาง สอท. ยังได้เพิ่มเติมในเรื่องเขตการค้าเสรี FTA ( Free Trade Area) ซึ่งเป็นการทำความตกลงทางการค้าของประเทศ โดยขอให้มีการเปิดเขตการค้าเสรีให้มากยิ่งขึ้น มีการพัฒนากฎหมายให้ครอบคลุมภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบัน และภาครัฐควรมีการรวบรวมฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลมาพัฒนาธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา กล่าวว่า ในวันนี้ได้รับทราบข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน และจะนำข้อเสนอแนะไปหารือกับคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้รัฐบาลได้ให้ความสำคัญและเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำแล้งหรือน้ำหลาก มีนโยบายเตรียมการวางแผนแก้ไขปัญหาน้ำในระยะยาว และสุดท้ายนี้ ขอให้กำลังใจพี่ๆ น้องๆ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ทุกท่านไม่ว่าจะเป็น สอจ.ชลบุรี ศภ.9 สอท.ชลบุรี ที่ปฏิบัติภารกิจและหน้าที่ให้กับ อก. หรือการบริหารจัดการความขัดแย้งระหว่างประชาชนและผู้ประกอบการเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่มาก ขอเป็นตัวแทนของ อก. ขอบคุณทุกท่านที่เสียสละ และสนับสนุนในทุกๆ กิจกรรมของกระทรวง หลังจากนั้น คณะรัฐมนตรีฯ ได้เยี่ยมชมบริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด (เครือสหพัฒน์) ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค แบบครบวงจร โดยมีนายนิติ วิวัฒน์วานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี นายวรจักร สถาพรภิญโญ นายอำเภอศรีราชา และคุณสายชล ศีติสาร กรรมการบริหารการผลิต บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด ให้การต้อนรับ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ถ่ายภาพ
30 ต.ค. 2566
"รสอ.วัชรุน" ร่วมถกทีมดีพร้อม เตรียมจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ปี 66
"รสอ.วัชรุน" ร่วมถกทีมดีพร้อม เตรียมจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ปี 66
กรุงเทพฯ 27 ตุลาคม 2566 - นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานคณะทำงานเลขานุการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 3/2566 ร่วมด้วย คณะทำงานฯ เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และบริษัทผู้รับจ้างจัดงานฯ ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว ได้ร่วมกันพิจารณาประเด็นสำคัญต่าง ๆ ประกอบด้วย 1) การมอบหมายผู้แทน เพื่อทำหน้าที่กรรมการและเลขานุการร่วม คณะกรรมการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 และรองประธานคณะทำงานจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 2) แนวคิดและรูปแบบการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 ภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรมเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนอยู่คู่กับชุมชน” ที่มุ่งเน้นสู่ความสำเร็จ 4 มิติ 3) การสรุปผลการตัดสินรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 และ 4) ร่างประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2566 ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม) รายงาน/ภาพข่าว
30 ต.ค. 2566
“รสอ.วาที” ร่วมงาน Industrial IoT Solution Expo 2023 ยกระดับอุตสาหกรรมไทยด้วยนวัตกรรมล้ำสมัย
“รสอ.วาที” ร่วมงาน Industrial IoT Solution Expo 2023 ยกระดับอุตสาหกรรมไทยด้วยนวัตกรรมล้ำสมัย
กรุงเทพฯ 27 ตุลาคม 2566 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นวิทยากรในงาน Industrial IoT Solution Expo 2023 โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม สื่อมวลชน ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจด้านเทคโนโลยี เข้าร่วมประชุม ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ งาน Industrial IoT Solution Expo 2023 จัดขึ้นโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่ออุตสาหกรรม ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 มุ่งส่งเสริม สนับสนุนในการผลักดันให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมได้มีโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ มุ่งให้เกิดเวทีในการแลกเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม โดยมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานกว่า 800 คน โดย รสอ.วาทีฯ ร่วมเป็นวิทยากรการเสวนาในหัวข้อ “ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตสู่ Industry 4.0 ด้วยเทคโนโลยีแห่งอนาคต” ในประเด็นของนโยบายภาครัฐกับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมไทย นโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ตลอดจนมาตรการของหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้มีการปรับตัวโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการผลิต นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการร่วมออกบูธกว่า 50 บูธ จากผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยี และผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมอีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
30 ต.ค. 2566
“ลสล.ประเทือง” แจ้งแนวทางการทำงานแก่ชาว สล. และเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรมใหญ่ปลายปี
“ลสล.ประเทือง” แจ้งแนวทางการทำงานแก่ชาว สล. และเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรมใหญ่ปลายปี
กรุงเทพฯ 27 ตุลาคม 2566 - นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ลสล.กสอ.) เป็นประธานการประชุมข้าราชการและเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (สล.กสอ.) ร่วมด้วย ผู้อำนวยการกลุ่มฯ หัวหน้าฝ่ายบริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ สล.กสอ. เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในครั้งนี้ ลสล.กสอ. ได้แจ้งแนวทางการทำงานและข้อควรปฏิบัติต่าง ๆ ในทุกหน่วยงาน ประกอบด้วย การจัดสรรใช้เงินงบประมาณฯ ให้เหมาะสม ตลอดจนการช่วยกันดูแลพื้นที่อาคาร และการแจ้งจุดที่ชำรุดเพื่อให้สามารถดำเนินการซ่อมแซมและแก้ไขได้ทันที นอกจากนี้ ยังได้เน้นย้ำการทำ 5 ส. โดยการรักษาความสะอาดห้องทำงาน จัดแบ่งพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสาร คัดแยกทำลายเอกสารที่หมดอายุ การตรวจสอบความถูกต้องของหนังสือราชการ เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการทำงาน โดยขอความร่วมมือทุกหน่วยงานปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน พร้อมทั้งได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ สล.กสอ. เตรียมความพร้อมสำหรับกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ กิจกรรมอุตสาหกรรมแฟร์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และการจัดพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ที่กำหนดจัดขึ้นในช่วงเดือน พ.ย. - ธ.ค. นี้ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สล.กสอ. ภาพข่าว / รายงาน)
30 ต.ค. 2566
“อธิบดีภาสกร" มอบนโยบาย กข.กสอ. เดินหน้าพัฒนาผู้ประกอบการไทย
“อธิบดีภาสกร" มอบนโยบาย กข.กสอ. เดินหน้าพัฒนาผู้ประกอบการไทย
กรุงเทพฯ 26 ตุลาคม 2566 - นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมมอบนโยบาย กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม (กข.กสอ.) พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม นางเกษราภรณ์ โกวิทลวากุล ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว ได้รายงานผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2566 ที่ผ่านมา จากงบประมาณ 23.33 ล้านบาท สามารถพัฒนาผู้ประกอบการจำนวน 1,150 คน 95 กิจการ 7 กลุ่ม 1 เครือข่าย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจรวม 1,507 ล้านบาท โดยในปีงบประมาณ 2567 มีแผนการดำเนินโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เติบโตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพด้านการบริหารจัดการ ปรับธุรกิจให้รองรับการเปลี่ยนแปลง ยกระดับ SMEs ด้วยการประยุกต์ใช้ BCG พัฒนารวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ยกระดับผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดโลก และมุ่งเน้นการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของวิสาหกิจอีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 ต.ค. 2566