โทรศัพท์ 1358
ดีพร้อม จับมือพันธมิตร เดินหน้าเฟ้นหานักออกแบบหน้าใหม่ประดับวงการบรรจุภัณฑ์ไทย พร้อมชูแนวคิด “วิถีไทย” ลุ้นเงินรางวัลกว่า 250,000 บาท
กรุงเทพฯ 5 มีนาคม 2567 – นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานพิธีแถลงข่าวการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทยประจำปี 2567 (ThaiStar Packing Award 2024) พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และ สื่อมวลชน ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 (ThaiStar Packaging Awards 2024) ดีพร้อมได้ดำเนินการร่วมกับ สมาคมบรรจุภัณฑ์กระดาษลูกฟูกไทย สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย สถาบันรหัสสากล และสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “วิถีไทย (Being Thai)” เพื่อมุ่งเน้นการสรรหาบรรจุภัณฑ์ที่มีการออกแบบ ประโยชน์การใช้งาน หรือ การใช้วัสดุที่ส่งเสริม “Soft Power” ความเป็นไทยในบรรจุภัณฑ์ โดยเปิดโอกาสให้ทั้งนักเรียน นักศึกษา บริษัท หน่วยงาน และผู้ประกอบการเข้าร่วมนำเสนอผลงาน แสดงความคิดการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคสมัยใหม่ พร้อมชิงเงินรางวัลมูลค่ากว่า 250,000 บาท และต่อยอดเป็นตัวแทนประเทศไทยโชว์ศักยภาพด้านบรรจุภัณฑ์ในระดับเวทีสากล ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
06 มี.ค. 2567
“รมว.พิมพ์ภัทรา” ลงพื้นที่ จ. ชุมพร เร่งเสริมสร้างศักยภาพเศรษฐกิจชุมชน "การทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรท้องถิ่น" รองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
จ.ชุมพร 5 มีนาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ประธานพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรท้องถิ่น สบู่ขมิ้นชันและลูกประคบ” พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายกิตติศักดิ์ พรมรัตน์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายคณิต กายสอน อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นายธานินทร์ เวียงวีระชาติ ผู้จัดการอาวุโส สาขาชุมพร SME D Bank นายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสื่อมวลชน ร่วมเปิดงานดังกล่าว ณ หอประชุมโรงเรียนทุ่งตะโกวิทยา ตำบลทุ่งตะไคร อำเภอทุ่งตะโก นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและวางรากฐานพื้นที่รองรับให้มีความเข้มแข็งเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง กระจายรายได้ให้กับทุกองคาพยพทั้งในสังคมและชุมชน โดยประเทศไทยมีความได้เปรียบในเรื่องผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้เป็นแหล่งที่มีทรัพยากรและวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์ จังหวัด ชุมพร มีผลผลิตด้านการเกษตรและพืชสมุนไพรที่สำคัญมากมายหลายชนิดสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบหรือส่วนผสมในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพในรูปแบบต่าง ๆ ให้มีคุณลัษณะตรงกับความต้องการของตลาดเพื่อยกระดับวัตถุดิบในพื้นที่ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม โดยการพัฒนาคุณภาพ ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้มีมาตรฐานและต่อยอดภาคเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาต่อยอดไปสู่การแข่งขันและรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับประเทศต่อไป ทั้งนี้ การจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรท้องถิ่น สบู่ขมิ้นชันและลูกประคบ” ในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ โดยการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาต่อยอดธุรกิจให้กับประชาชนในพื้นที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นให้เกิดมูลค่าเพิ่มซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้เกิดการนำองค์ความรู้ไปต่อยอด เพื่อสร้างอาชีพกระจายรายได้ในชุมชนให้ดีขึ้น ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
06 มี.ค. 2567
“รมว.พิมพ์ภัทรา” ยกระดับเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก "การทำขนมไทยปั้นขลิบ" ภายใต้โครงการ ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน
จ.ชุมพร 4 มีนาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ประธานพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การทำขนมปั้นขลิบ” พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ประธานกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ SME D Bank นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายกิตติศักดิ์ พรมรัตน์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายคณิต กายสอน อุตสาหกรรมจังหวัดชุมพร นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นายไชยพงษ์ ทองคำ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร นายวัฒนา แก้วประจุ ผู้อำนวยการภาค 7 SME D Bank นายพิชิต มิตรทราวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ SME D Bank นายชาตรี เวทสรณสุธี รองกรรมการผู้จัดการ SME D Bank นายธานินทร์ เวียงวีระชาติ ผู้จัดการอาวุโส สาขาชุมพร SME D Bank นายสุรพงศ์ ประสารวุฒิ นายกเทศมนตรีตำบลบางหมาก ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสื่อมวลชน ร่วมเปิดงานดังกล่าว ณ หอประชุมเทศบาลบางหมาก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เผยว่า รัฐบาลมุ่งเน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ด้วยการสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน สร้างความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ เพื่อจะช่วยให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศได้ตนจึงได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งและพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการประกอบธุรกิจโดยการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนให้มีองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการในการดำเนินธุรกิจด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านคุณภาพและมาตรฐาน การเชื่อมโยงธุรกิจเพื่อนำไปสู่การขยายโอกาสทางการตลาด โดยนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรม และส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยการผลักดัน Soft Power ของประเทศไทยด้วยทุนทางวัฒนธรรมในระดับประเทศสู่ระดับภาคและท้องถิ่นจะถูกขับเคลื่อนควบคู่ ไปกับการกระจายความเจริญสู่ระดับพื้นที่ให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรมและเติบโต คู่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่าการจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การทำขนมปั้นขลิบ” ในครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ โดยการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาต่อยอดธุรกิจ ในการทำผลิตภัณฑ์ขนมไทยปั้นขลิบให้กับประชาชนในพื้นที่ ใช้วัตถุดิบที่สำคัญในท้องถิ่นให้เกิดมูลค่าเพิ่ม โดยดีพร้อมได้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการเงินในการจัดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้เกิดการนำองค์ความรู้ไปต่อยอด เพื่อสร้างอาชีพกระจายรายได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
06 มี.ค. 2567
รมว.พิมพ์ภัทรา ออกสตาร์ทขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาลไทยสู่ตลาดโลก หวังยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปโคเนื้อ สร้างรายได้ให้ชุมชน คาดกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 24,000 ล้านบาท
จ.ชุมพร 4 มีนาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานพิธีมอบสินเชื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ณ บริษัท ดี แอนด์ แซด คอนซัลแทนท์ จำกัด พร้อมด้วย นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ประธานกรรมการ SME D Bank นายประสิชฌ์ วีระศิลป์ รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการ SME D Bank นายพิชิต มิทราวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ SME D Bank นายชาตรี เวทสรณสุธี รองกรรมการผู้จัดการ SME D Bank นายธนนท์ พรรพีภาส รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ดร. อดุลย์ กำไลทอง กรรมการผู้จัดการบริษัท บริษัท ดีแอนด์แซด คอนซัลแทนท์ จำกัด ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสื่อมวลชน ร่วมเปิดงาน ณ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีมอบสินเชื่อจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ให้แก่ บริษัท ดี แอนด์ แซด คอนซัลแทนท์ จำกัด ผู้ผลิตและแปรรูปเนื้อโค มาตรฐานฮาลาล จ.ชุมพร และผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในพื้นที่ภาคใต้ ว่า จากนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การผลักดันของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่มีเป้าหมายขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาลไทยสู่ “อาเซียน ฮาลาล ฮับ” (ASEAN Halal Hub) นำไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม จึงเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว โดยใช้กลไกในการนำศักยภาพของหน่วยงานภายใต้สังกัดมาบูรณาการการทำงานควบคู่กับใช้จุดเด่นในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยมาต่อยอด โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดชุมพร ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีความพร้อมทั้งด้านวัตถุดิบและศักยภาพการผลิตอาหาร จึงเหมาะแก่การผลักดันเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลไทยสู่ตลาดโลก สามารถตอบโจทย์ความต้องการตลาดผู้บริโภคอาหารฮาลาลทั่วโลกที่มีมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 13.5% ตามสัดส่วนประชากรมุสลิมโลกที่ขยายตัวต่อเนื่อง และนับเป็นจุดเริ่มต้นในการเร่งผลักดันนโยบายการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาลไทยสู่อาเซียนฮาลาลฮับของรัฐบาล ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม และ SME D Bank เร่งบูรณาการความร่วมมือในการขับเคลื่อนนโยบายอุตสาหกรรมฮาลาลไทย ด้วยการสนับสนุนบริษัท ดีแอนด์แซด คอนซัลแทนท์ จำกัด และกลุ่มอุตสาหกรรมฮาลาลในพื้นที่จังหวัดชุมพร และใกล้เคียงให้เข้าถึงแหล่งทุน เพื่อนำไปยกระดับศักยภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจ โดยได้นำแนวทาง “รื้อ-ลด-ปลด-สร้าง” ขจัดขั้นตอนการทำงานที่เป็นอุปสรรคควบคู่กับการสร้างบริการใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงแหล่งทุนพัฒนาธุรกิจได้ ไปพร้อม ๆ กับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยบริษัท ดีแอนด์แซด คอนซัลแทนท์ จำกัด ที่ติดข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งทุน แต่ด้วยศักยภาพและโอกาสเติบโตของธุรกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม จึงให้การสนับสนุนเพื่อเข้าถึงเงินทุนสำเร็จผ่านโครงการสินเชื่อแฟคตอริ่ง วงเงิน 10 ล้านบาท ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการรายนี้ มีเงินไปลงทุนขยายกิจการ และหาก บริษัท ดีแอนด์แซด คอนซัลแทนท์ จำกัด ผลิตได้เต็มกำลังการผลิตแล้วคาดว่าจะสร้างยอดขายได้กว่า 14,000 ล้านบาทต่อปี และสามารถรับซื้อโคจากเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้และทั่วประเทศได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งจะสามารถกระตุ้นมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมเพิ่มขึ้นกว่า 24,000 ล้านบาท นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าว นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ ครม.สัญจร จ.ชุมพร และระนอง เมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ได้รับมอบหมายให้รับฟังแนวคิดในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว พบว่า บริษัท ดีแอนด์แซด คอนซัลแทนท์ จำกัด จ.ชุมพร มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจและสามารถเป็นต้นแบบของอุตสาหกรรมฮาลาลของไทยได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทมีความต้องการขอรับการสนับสนุนเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากภาครัฐ ดังนั้น ดีพร้อม จึงได้นำเรียน รมว.พิมพ์ภัทรา เพื่อทราบถึงความต้องการดังกล่าวของบริษัท โดย รมว.อุตสาหกรรม สั่งการให้ ดีพร้อม บูรณาการความร่วมมือกับ SME D Bank และสถาบันการเงินต่าง ๆ ผ่านกลไกการขยายเครือข่ายความร่วมมือ (DIPROM Connection) เพื่อให้ผู้ประกอบการมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน (Financial Inclusion) ภายใต้นโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยนอุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ด้วยการเร่งพัฒนากลไกการให้สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อกลุ่มเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในวงเงิน 10 ล้านบาท และช่วยสนับสนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคในพื้นที่ภาคใต้และทั่วประเทศให้สามารถสร้างยอดขายและกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่พร้อมทั้งต่อยอดและพัฒนาธุรกิจโคแปรรูปฮาลาลให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้นด้วยการส่งเสริมและผลักดันศักยภาพกระบวนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น ๆ ที่ได้มาตรฐานฮาลาล รวมถึงสร้างความน่าเชื่อถือในมาตรฐานฮาลาลและส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศผ่านการเชื่อมโยงกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพของผู้ประกอบการโคในพื้นที่และการสร้างแบรนด์เนื้อโคคุณภาพของภาคใต้ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น นายประสิชฌ์ วีระศิลป์ รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการ SME D Bank กล่าวเพิ่มเติมว่า SME D Bank พร้อมขานรับนโยบายรัฐบาล สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเติบโตยั่งยืนด้วยกระบวนการ “เติมทุนคู่พัฒนา” โดยด้าน “การเงิน” จัดเตรียมผลิตภัณฑ์สินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่มเอสเอ็มอี วงเงินกู้สูงสุด 50 ล้านบาท ควบคู่ด้าน “การพัฒนา” ยกระดับศักยภาพเอสเอ็มอี ผ่านโครงการ SME D Coach เชื่อมโยงการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนไว้ในจุดเดียว รวมถึงนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาให้บริการเอสเอ็มอีได้คลอบคลุมและกว้างขวางยิ่งขึ้น ผ่านแพลตฟอร์ม DX (Development Excellent) ระบบพัฒนาผู้ประกอบการอัจฉริยะ สร้างสังคมของการเรียนรู้ e-Learning ศึกษาได้ด้วยตัวเอง 24 ชม. ช่วยเติมศักยภาพให้เอสเอ็มอีสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
05 มี.ค. 2567
ดีพร้อม ร่วมกับ เมติ จัดประชุมออนไลน์ติดตามความคืบหน้า 3 โครงการ
กรุงเทพฯ 4 มีนาคม 2567 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมระดับนโยบายระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม) และ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม หรือ เมติ (METI) ประเทศญี่ปุ่น ร่วมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างดีพร้อมและเมติ พร้อมรายงานความคืบหน้าการทำงานของปี 2567 ภายใต้กิจกรรมพัฒนาบุคลากรร่วมกับหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ประกอบด้วย โครงการ Lean Automation System Integrator (LASI) โครงการพัฒนาบุคลากร Smart Monozukuri Support Team for Thailand และ โครงการพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อการบริหารจัดการและการดำเนินงานด้าน Lean IoT (Lean IoT Plant Management and Execution : LIPE) ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
05 มี.ค. 2567
“รสอ.วัชรุน” นำทีมดีพร้อมอนุรักษ์พลังงานและการหาประสิทธิภาพพลังงาน
กรุงเทพฯ 4 มีนาคม 2567 - นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะที่ได้รับมอบมอบหมายให้เป็น ผู้บริหารด้านการจัดการพลังงาน (Chief Energy Management Officer หรือ CEMO) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการอบรมการสร้างความตระหนักและองค์ความรู้ต่อการอนุรักษ์พลังงานและการหาประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศ (EER) พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การอบรมดังกล่าว เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านพลังงาน ให้รู้ถึงโครงสร้างพลังงานไฟฟ้าของไทย ประโยชน์ของพลังงาน อัตราการใช้พลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า การอนุรักษ์พลังงาน แนวทางการลดใช้พลังงานเบื้องต้น นอกจากนี้ ยังมีการให้ความรู้ในการคำนวณค่า EER (Energy Efficiency Ratio) ซึ่งเป็นค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศอีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
05 มี.ค. 2567
ดีพร้อม จับมือ สกช. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร
กรุงเทพฯ 1 มีนาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมหารือกับสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ พร้อมด้วย นายณรงค์รัตน์ ม่วงประเสริฐ รองเลขาธิการสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายชาญยุทธ์ ชาวข้าวไร่ ผู้ช่วยประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ นายไชยวิทย์ บัวงาม ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดราชบุรี คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquater) สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ หรือ สกช. เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทกำหนดแนวทางการประกันความเสี่ยงของราคาและผลผลิตทางเกษตรกรรม กำหนดสวัสดิการให้แก่เกษตรกร ช่วยแก้ไขปัญหาการผลิต การแปรรูป การตลาดของเกษตรกร พร้อมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้พัฒนาเกษตรกรรม รวมทั้งการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกร องค์กรเกษตรกร และการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม เสริมสร้างความร่วมมือ รวมทั้งประสานงานกับภาครัฐ/เอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาเกษตรกรรม การประชุมดังกล่าว เป็นการประชุมหารือแนวทางบูรณาการความร่วมมือระหว่าง ดีพร้อม กับ สกช. ใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1). แนวทางการบูรณาการความร่วมมือเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร และการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ 2) แนวทางการบูรณาการความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร 3) แนวทางเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ ด้วยการผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม โดยการหารือในวันนี้จะช่วยให้การพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรของทั้งสองหน่วยงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าวดีพร้อม
05 มี.ค. 2567
ดีพร้อม ร่วมประชุมแนวทางการบริหารจัดการการเงินการคลัง
กรุงเทพฯ 1 มีนาคม 2567 – นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการการเงินการคลัง ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 20 ร่วมด้วย หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนระดับประเด็นแผนแม่บทและหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนระดับเป้าหมายแผนแม่บทย่อย และหน่วยงานเกี่ยวข้องหลักในแผนย่อย 200201 200202 และ 200203 โดยมี พลเอก ชูศักดิ์ เมฆสุวรรณ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการ กล่าวเปิดการประชุม ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ CA 330 อาคารรัฐสภา (ฝั่งวุฒิสภา) และประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Webex การประชุมดังกล่าว เพื่อให้ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะอนุกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและร่วมกับหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนระดับประเด็นแผนแม่บท (จ.๒) และหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนระดับเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (จ.๓) รวมทั้งการนำเสนอแนวคิดในการกำหนดเป้าหมาย ค่าเป้าหมาย ตัวชี้วัด และชี้แจงปัญหาอุปสรรคในการจัดทำแผนงาน/กิจกรรม เพื่อนำผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเสนอเป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
05 มี.ค. 2567
"พิมพ์ภัทรา" เร่งหารือผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมสนับสนุน หลังรับผลกระทบ จากตลาดรถยนต์ EV บูม
กรุงเทพฯ 29 กุมภาพันธ์ 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมสรุปประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไขเพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมสนับสนุน โดยมี นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวิโรจน์ ศิริธนาศาสตร์ ประธานสมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน นายวาที พีระวรานุพงษ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และนางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้แทนสมาคมต่าง ๆ คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวว่า รัฐบาลได้มุ่งสนับสนุนการใช้ศักยภาพของประเทศ เพื่อให้เป็นแหล่งรองรับการลงทุนที่โดดเด่นของภูมิภาค โดยหนึ่งในอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่รัฐบาลให้การสนับสนุน คือ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ที่รัฐบาลได้มีการกำหนดมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริม อาทิ การให้เงินอุดหนุน การลดอัตราอากรขาเข้ารถยนต์สำเร็จรูป และการลดอัตราภาษีสรรพสามิต เป็นต้น ซึ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV มีการเติบโตขึ้นเป็นลำดับ แต่ในขณะเดียวกันการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าก็ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine: ICE) ปรับตัวลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสนับสนุนหรือผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ICE เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จึงขอรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบถึงปัญหาและแนวทาง การช่วยเหลือและสนับสนุนที่ตรงจุดและตรงต่อความต้องการ พร้อมจะได้จัดทำนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมสนับสนุน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยมีหน่วยงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ร่วมรับทราบถึงแนวทาง และหารือข้อแก้ไขเพื่อช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมสนับสนุน และดำเนินการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสนับสนุนของประเทศได้ต่อไป ทั้งนี้ การประชุมได้มีผู้แทนจากสมาคมต่าง ๆ อาทิ สมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย สมาคมอุตสาหกรรมหล่อโลหะไทย สมาคมพัฒนาสเตนเลสไทย สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย สมาคมไทยคอมโพสิท นายกสมาคมเครื่องจักรกลไทย สมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย สมาคมผู้ค้าเครื่องปรับอากาศไทย เข้าร่วมหารือด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
05 มี.ค. 2567
"อสอ.ภาสกร" หารือ ผู้แทนรัฐบาลนครฉางชุน มณฑลจี๋หลิน แลกเปลี่ยนนโยบายด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 29 กุมภาพันธ์ 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำทีมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ร่วมประชุมหารือกับนายหลี่ จั้วซิน (Mr. Li Zuoxin) รองผู้อำนวยการ กรมพาณิชย์รัฐบาลนครฉางชุน มณฑลจี๋หลิน สาธารณรัฐประชาชนจีน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และผู้ประกอบการจากนครฉางชุน ในกลุ่มอุตสาหกรรมอุปกรณ์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์นำแสง (Photo Electronics) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) มณฑลจี๋หลิน เป็นหนึ่งในมณฑลของประเทศจีนที่มูลค่า GDP เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2566 โดยปัจจัยหลัก คือ รายได้จากอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์ ชีวการแพทย์ และเกษตร อีกทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่มีศักยภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศจีนอีกด้วย การประชุมหารือวันนี้ ได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนนโยบายด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมและข้อมูลด้านอุตสาหกรรมที่ทั้งสองฝ่ายมีความเชี่ยวชาญและสนใจร่วมกัน เพื่อเชื่อมโยงและต่อยอดอุตสาหกรรมเป้าหมายไทย-จีน อาทิ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ และชิ้นส่วนยานยนต์ ตลอดจนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าไทยและความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยไปได้พร้อม ๆ กัน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 มี.ค. 2567