"รสอ.ดวงดาว" ติดตามความคืบหน้าการจัดงานพิธีปิด คพอ. ภาคอีสาน
กรุงเทพฯ 14 พฤษภาคม 2567 – นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) ประชุมติดตามความคืบหน้าการจัดพิธีปิดโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) ภาคอีสาน โดยมี นายติณห์ เจริญใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 นางรุ่งอรุณ เปี่ยมปัจจัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 นางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม รสอ. ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดงานพิธีปิดโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) ในพื้นที่จังหวัดภาคอีสาน เป็นการดำเนินการ่วมกันระหว่างศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4, 5, 6 และ 7 โดยโครงการดังกล่าว เป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อต่าง ๆ อาทิ การสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การสร้างภาวะความเป็นผู้นำ และการเสริมองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจในหลากหลายด้าน เช่น ด้านการเงิน การตลาด การจัดทำแผนธุรกิจ และด้านดิจิทัล เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการให้เป็นนักธุรกิจที่พร้อมจะพัฒนาและรองรับการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และเกิดการเรียนรู้หลักการบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ สมาชิก คพอ. ยังได้สร้างเครือข่าย พร้อมเชื่อมโยงและจับคู่ธุรกิจ ซึ่งก่อให้เกิดโอกาสในการต่อยอดธุรกิจหรือขยายการลงทุนในอนาคตต่อไป
19 พ.ค. 2567
ดีพร้อม ปลื้มองค์กรร่วมมหกรรมคิวซีลดต้นทุน-เพิ่มผลิตกว่า 100 ล้านบาท พร้อมตั้งเป้ายกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมไทยสู่สากล
กรุงเทพฯ 13 พฤษภาคม 2566 – นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในงานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 38 มหกรรมคุณภาพภาครัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35 และมหกรรมคุณภาพข้ามสายงาน ครั้งที่ 7 ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม คณะกรรมการจัดงานสมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทย และบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมี นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) พระรามที่ 6 ราชเทวี งานดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้นำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ หรือคิวซี ไปปรับใช้ในองค์กรทำให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรและแก้ไขปัญหานำมาสู่การปฏิบัติที่ก่อให้เกิดผลด้านบวก ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพอุตสาหกรรมไทยสู่สากล ทั้งนี้ การดำเนินการกลุ่มคุณภาพขององค์กรที่เข้าร่วมกิจกรรมในปีที่ผ่านมาสามารถลดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กรได้มากกว่า 100 ล้านบาท
14 พ.ค. 2567
“พิมพ์ภัทรา” ยกคณะลงพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 2 ตรวจเยี่ยมการฝึกอาชีพชุมชน-รับฟังปัญหา ก่อนชงเข้าที่ประชุม ครม.สัญจรนอกสถานที่ ครั้งที่ 3
จ.ราชบุรี - จ.เพชรบุรี 13 พฤษภาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ ประธานคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอนันต์ ฟักสักข์ รักษาการรองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายพิชิต มิทราวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย คณะผู้บริหารระดับกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัดราชบุรี และจังหวัดเพชรบุรี การลงพื้นที่ดังกล่าว เป็นการตรวจเยี่ยมกิจกรรมฝึกอาชีพของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อมใน 4 จุด ดังนี้ จุดที่ 1 ตรวจเยี่ยมกิจกรรมฝึกอาชีพ ณ โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งมีการอบรมในหลักสูตรการตัดต่อภาพ/คลิป การทำไข่เค็ม การทำยาหม่องน้ำ และการทำสบู่สมุนไพร มีผู้เข้ารับร่วมกิจกรรมจุดนี้ ประมาณ 300 คน จุดที่ 2 ตรวจเยี่ยมกิจกรรมฝึกอาชีพ ณ วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ซึ่งมีการอบรมในหลักสูตรเค้กกล้วยหอมนึ่ง ซาลาเปานึ่ง สบู่น้ำผึ้งหัวไชเท้า และการตัดต่อภาพ มีผู้เข้ารับร่วมกิจกรรมจุดนี้ ประมาณ 300 คน จากนั้นในช่วงบ่าย ได้เดินทางไปยังจังหวัดเพชรบุรี เพื่อตรวจเยี่ยมกิจกรรมฝึกอาชีพ ในจุดที่ 3 ณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีการอบรมในหลักสูตรการทำไข่เค็ม การทำเค้กกล้วยหอม การทำซาลาเปา และการทำสบู่สมุนไพร มีผู้เข้ารับร่วมกิจกรรมจุดนี้ ประมาณ 300 คน และจุดที่ 4 ตรวจเยี่ยมกิจกรรมฝึกอาชีพของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ณ โรงเรียนบ้านลาดวิทยา อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีการอบรมในหลักสูตรการทำไข่เค็ม การทำเค้กกล้วยหอม การทำซาลาเปา และการทำสบู่สมุนไพร มีผู้เข้ารับร่วมกิจกรรมจุดนี้ ประมาณ 300 คน
14 พ.ค. 2567
"รสอ.วาที" ลงพื้นที่เตรียมความพร้อมการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพดีพร้อม
จ.เพชรบุรี - จ.ราชบุรี 12 พฤษภาคม 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ติดตามการเตรียมความพร้อมการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพดีพร้อม พร้อมด้วย นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ให้การต้อนรับ การลงพื้นที่ดังกล่าว เป็นการติดตามการเตรียมความพร้อมการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการส่งเสริมทักษะอาชีพดีพร้อม จำนวน 3 จุด ได้แก่ จุดที่ 1 โรงเรียนบ้านลาดวิทยา ตำบลบ้านลาด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี จุดที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี และ จุดที่ 3 วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เพื่อเตรียมการให้กิจกรรมดังกล่าวดำเนินการไปอย่างเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพต่อไป
13 พ.ค. 2567
“รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา” นั่งหัวโต๊ะ แถลงยืนยัน เหตุเพลิงไหม้ที่มาบตาพุดไร้กังวลแจงดับสนิทแล้ว พร้อมส่งทีมแพทย์ดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ ด้าน “วีริศ” กำชับทุกนิคมฯ เข้มงวดมากขึ้น อย่าให้เกิดซ้ำอีก!
จ.ระยอง 10 พฤษภาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่บริษัท มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด จ.ระยอง โดยมี นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รองศาสตราจารย์วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ณ บริษัท มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด การลงพื้นที่ดังกล่าว สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และบริษัทฯ ได้ทำการควบคุมเพลิงไว้ได้อย่างเด็ดขาด แต่ขณะเดียวกันยังทำการฉีดโฟมหล่อเย็นไว้ เพื่อควบคุมอุณหภูมิจากสภาวะอากาศที่มีอุณหภูมิสูง ด้านการดูแลประชาชนในพื้นที่โดยรอบนั้น ได้อพยพประชาชนไปยังที่ทำการชุมชนตากวนอ่าวประดู่ จ.ระยอง รวมทั้งประสานกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะสหเวชศาสตร์ เพื่อส่งทีมแพทย์เข้ามาดูแลสุขภาพ และตรวจรักษาให้กับพี่น้องประชาชนแล้ว ส่วนการตรวจวัดคุณภาพน้ำชุมชนโดยรอบพื้นที่ โดยรถโมบายของสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด (สนพ.) จำนวน 2 จุด ได้แก่ คลองชากหมาก และบริเวณบริษัท ไทยพลาสติกเคมีภัณฑ์ พบว่าคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ขณะที่คุณภาพในบรรยากาศพบว่า ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศจำนวน 3 จุด ได้แก่ จุดตรวจสถานีอนามัยตากวน จุดตรวจสถานีหนองเสือเกือก และจุดตรวจสถานีเทศบาลเมืองมาบตาพุด อยู่ในเกณฑ์ปกติ “สำหรับผู้ได้รับบาดเจ็บ 5 ราย และเสียชีวิต 1 ราย เบื้องต้นทางบริษัทฯ ยืนยันว่าจะดูแลและเยียวยาอย่างเต็มที่ และดิฉันได้มอบเงินช่วยเหลือให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ ยังกำชับ กนอ. ให้กำกับดูแลการประกอบกิจการในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม และท่าเรืออุตสาหกรรมอย่างเข้มงวดและรัดกุมมากขึ้น อีกทั้งต้องกำกับให้ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 ที่แก้ไขเพิ่มเติมอย่างจริงจังด้วย” นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าว นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า กนอ. จะตรวจวิเคราะห์หาสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเร่งด่วน จัดทำมาตรการด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ ซึ่งต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานภายนอกที่ให้การรับรองด้านความปลอดภัย (Third Party) พร้อมทั้งชี้แจงแนวทางและมาตรการในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตาม ได้กำชับทุกนิคมอุตสาหกรรมให้เพิ่มความเข้มงวดของมาตรการรักษาความปลอดภัยภายในพื้นที่ ตามมาตรฐาน “การจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต”(Process Safety Management : PSM) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบกิจการ และประชาชนโดยรอบนิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
13 พ.ค. 2567
ดีพร้อม โชว์ผลสำเร็จ “BCG Model” นำร่อง 10 กิจการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 2,000 ตันต่อปี พร้อมขยายผลปี 67 เตรียมเปิดตัวเดือนมิถุนายนนี้
กรุงเทพฯ 9 พฤษภาคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมการแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมไทย พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ และนายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก พญาไท กิจกรรมดังกล่าว เป็นการดำเนินงานภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG พร้อมเชื่อมโยงพันธมิตรทางธุรกิจ (BCG DIPROM Open House) เป็นการมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะการสร้างการเปลี่ยนแปลงภาคอุตสาหกรรมสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการยกระดับธุรกิจ SME ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยที่ผ่านมาสามารถนำร่องและยกระดับผู้ประกอบการจำนวนกว่า 10 กิจการ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท และสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้แล้วมากกว่า 2,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย รวมถึงบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือให้เป็นกลไกสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้ลงทุนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ในปี 2567 ดีพร้อมยังได้ตั้งเป้ายกระดับผู้ประกอบการไทยจำนวนกว่า 1,800 ราย และเตรียมเปิดตัวโครงการในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
13 พ.ค. 2567
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา ประชุมผู้บริหาร อก. เร่งขยับความสัมพันธ์ ไทย-ซาอุฯ ผลักดันสินค้าฮาลาลไทยสู่ตลาดซาอุดิอาระเบีย พร้อมรับลูกนายกเตรียมแผน ศูนย์ One Stop Service บริการประชาชน วางแนวทางแก้ปัญหาการจัดการใบอนุญาต รง. 4 แล้วเสร็จใน 30 วัน แนะตรวจสอบสถานประก
กรุงเทพฯ 9 พฤษภาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ครั้งที่ 7/2567 โดยมี นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แจ้งในที่ประชุมว่า วานนี้ (8 พฤษภาคม 2567) ได้ให้การต้อนรับ ดร. มาญิด บิน อับดุลเลาะฮ์ อัลกอเศาะบี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียและคณะ เพื่อหารือความร่วมมือและแนวทางการขับเคลื่อนการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลของทั้งสองประเทศ ซึ่งประเทศไทยมีความโดดเด่นในด้านอุตสาหกรรมอาหาร ทางซาอุดีอาระเบียมีความยินดีที่ได้ร่วมมือและดำเนินการร่วมกันในอุตสาหกรรมฮาลาล เนื่องจากซาอุดิอาระเบียเป็นศูนย์กลางของตลาดฮาลาลในภูมิภาคชาติอาหรับ อีกทั้งมีผู้บริโภคจำนวนมาก นับเป็นเรื่องสำคัญมากหากได้รับความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาลของทั้งสองประเทศให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึง กรณีนายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) ได้พูดถึงการจัดตั้งศูนย์ One Stop Service โดยได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งวางแผนการให้บริการแก่ประชาชน และผู้ประกอบการในรูปแบบ Single Submission ซึ่งได้กำหนดให้มีการทดลองระบบ ในวันที่ 1 กันยายนนี้ ณ ด่านศุลกากรหนองคาย และให้แล้วเสร็จเต็มรูปแบบในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ โดยให้คณะอนุกรรมการฯ ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน เร่งพิจารณาในด่านศุลกากรอื่นๆ ที่มีความพร้อมให้เร่งดำเนินการคู่ขนานกันไปด้วย และเร่งดำเนินการแก้ปัญหาและจัดการการพิจารณาใบอนุญาตโรงงาน (รง. 4) ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน เพื่อให้เกิดความสะดวก และรวดเร็วในการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน ตลอดจนหามาตรการในการลดระยะเวลาในการยื่นขอใบอนุญาตด้วย นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้สรุปสถานการณ์อุบัติภัยที่เกิดขึ้นสถานประกอบการอุตสาหกรรม กรณีเพลิงไหม้โกดังเก็บสารเคมีของกลางในพื้นที่ อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพลิงไหม้โรงงานเก็บกากอุตสาหกรรมและสารเคมี บริษัท วิน โพรเสส จำกัด จังหวัดระยอง และกรณีสารเคมีรั่วไหลในพื้นที่โรงงานบริษัท เอกอุทัย จำกัด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมรายงานความคืบหน้าการดำเนินการเพื่อการปรับปรุงผังเมืองให้เหมาะสมกับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย และวางแนวทางการตรวจสอบสถานประกอบการเชิงรุกและการเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน
13 พ.ค. 2567
"รสอ.ดวงดาว" ร่วมตัดสินการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย Thaistar Packaging Awards 2024
กรุงเทพฯ 9 พฤษภาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีตัดสินการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจ๋าปี 2567 (Thaistar Packaging Awards 2024) พร้อมด้วย ผู้แทนจากสถาบันรหัสสากล (GS1 Thailand) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ณ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (DIPROM Thai-IDC) กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กล้วยน้ำไท) ซอยตรีมิตร งานดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุน ศักยภาพของนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ ให้ได้แสดงความรู้ ความสามารถ และเพื่อให้ได้ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีศักยภาพ พร้อมเป็นตัวแทนของประเทศไทยไปประกวดในระดับนานาชาติต่อไป
13 พ.ค. 2567
กระทรวงอุตสาหกรรม จัดงานสถาปนาครบรอบ 82 ปี
กรุงเทพฯ 9 พฤษภาคม 2567 - นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงอุตสาหกรรม ครบรอบ 82 ปี โดยมี นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย อดีตผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ นายมนู เลียวไพโรจน์ นายพสุ โลหารชุน อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายอภิจิน โชติกะเสถียร นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อดีตรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงกระทรวงอุตสาหกรรม ข้าราชการ และพนักงานกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมพิธีไหว้ศาลพระภูมิ พิธีบวงสรวงองค์พระนารายณ์ และพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ณ บริเวณอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม “กระทรวงการอุตสาหกรรม” สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 และในปี พ.ศ. 2495 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กระทรวงอุตสาหกรรม” มีตราสัญลักษณ์ คือ “ตรานารายณ์เกษียรสมุทร” ซึ่งนำมาจากเรื่องนารายณ์สิบปาง โดยถือเอาสัญลักษณ์ขณะที่พระนารายณ์ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ ประกอบพิธีกวนน้ำอมฤต และในการกวนน้ำอมฤตนี้ก็ได้เกิดผลิตผลอย่างอื่น ๆ ขึ้นในโลกอีกด้วย โดยในปี พ.ศ.2567 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้ทุกหน่วยงานในสังกัดเน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในทุกมิติ โดยให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม มุ่งเน้น การบังคับใช้กฎหมาย กำกับดูแล และตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด เพื่อลดการปล่อยมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในระยะยาว ส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจเขตพื้นที่ภาคใต้ (Southern Industrial Fair) เร่งผลักดันขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และอุตสาหกรรมแร่โพแทช รวมทั้งคุ้มครองผู้บริโภค โดยดำเนินการตรวจสอบและยึดอายัดผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานอย่างเข้มงวด สร้างเครือข่ายร้านจำหน่ายที่มีเครื่องหมายมาตรฐาน มอก. และช่วยเหลือชาวไร่อ้อย สนับสนุนอุตสาหกรรมน้ำตาล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
13 พ.ค. 2567
“ดีพร้อม” เร่งขับเคลื่อนชุมชนเปลี่ยน RESHAPE THE AREA ผ่านกลไก DIPROM CONNECTION
จ.อ่างทอง 8 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางเกษสุดา ดอนเมือง ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่สำรวจการใช้ประโยชน์จากอาคารศูนย์กลางชุมชนภายใต้โครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยว (JBIC) ชุมชนบางเจ้าฉ่า และเข้าร่วมการประชุมหารือแนวทางการพัฒนาชุมชนผ่านกลไกในการขับเคลื่อนของดีพร้อมภายใต้นโยบาย RESHAPE THE FUTURE โดยมี นายอนุชา เรืองอมรวิวัฒน์ นายอำเภอโพธิ์ทอง และนางสาวสายชล สุขมนต์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางเจ้าฉ่า ให้การต้อนรับ ณ บ้านวังยาง หมู่ 8 ตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง สำหรับการลงพื้นที่และการเข้าร่วมประชุมหารือดังกล่าว เป็นการดำเนินงานระหว่างดีพร้อม ร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และแนวทางการใช้ประโยชน์ ปรับปรุงและฟื้นฟูอาคารหมู่บ้านอุตสาหกรรมชนบทเพื่อการท่องเที่ยว (JBIC) ชุมชนบางเจ้าฉ่า พร้อมนำเสนอแนวทางการเชื่อมโยงชุมชนเข้ากับการดำเนินงานของดีพร้อมที่ได้ร่วมบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนผ่านกลไก DIPROM CONNECTION ที่ผ่านมา อาทิ เช่น บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) (Thailand Post) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (GLO) และกลุ่มธุรกิจในเครือเซ็นทรัล (Central Group) เพื่อขับเคลื่อนชุมชนสู่เป้าหมายให้ “ชุมชนมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจบนวิถีของตนเองอย่างยั่งยืน” เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ราษฎรและชุมชนในพื้นที่
09 พ.ค. 2567