“อสอ. ภาสกร” ประชุมแนวทางการปรับตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ มุ่งพัฒนาบุคลากร สนองแนวคิด “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม”
กรุงเทพฯ 21 พฤษภาคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมการนำเสนอผลการศึกษา “แนวทางการปรับตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม” พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว ได้มีการนำเสนอผลการศึกษา “แนวทางการปรับตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ สำหรับการยกระดับบทบาทของหน่วยงานภายใต้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดย ทีมงานบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด อีกทั้งได้มีการทบทวนบทบาทของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในระบบนิเวศ (Ecosystem) และร่างแนวทางการปรับตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ในภาพรวมและหน่วยงานภายใต้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 5 หน่วยงาน ประกอบไปด้วย 1) กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม (กข.) 2) กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (กน.) 3) กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม (กท.) 4) กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน(กช.) และ 5) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ศส.) ทั้งนี้ ได้มีการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการของดีพร้อม โดยการเร่งสร้างบุคลากรให้เป็น Business Consult และ Market Creators เพื่อให้บรรลุแนวคิด “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม”
23 พ.ค. 2567
“อธิบดีภาสกร” นำทีมดีพร้อม รวมพลังปลูกต้นไม้ เนื่องในวันต้นไม้ของชาติประจำปี 2567
กรุงเทพฯ 20 พฤษภาคม 2566 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรม Reshape ภูมิทัศน์ กสอ. พระรามที่ 6 รวมพลังจิตอาสาปลูกต้นไม้ เนื่องในวันต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2567 โดยมี นายวาที พีระวรานุพงศ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม เห็นคุณค่าของการรักษา และฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวด้วยกระบวนการต่าง ๆ เพื่อสร้างสมดุลให้ธรรมชาติ จากรุ่นสู่รุ่นในอนาคต โดยการร่วมกันปลูกต้นไม้ ปรับภูมิทัศน์ บริเวณกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พระรามที่ 6 ให้เป็นสถานที่ร่มรื่น น่าอยู่และเป็นระเบียบเรียบร้อย อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างความสามัคคี ระหว่างสมาชิก ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานต่อไป
23 พ.ค. 2567
“อธิบดีภาสกร” นำทีมผู้ประกอบการเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน Toyota L&F Customer’s Center
ประเทศญี่ปุ่น 18 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ นายกิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรม ประจำประเทศญี่ปุ่น นำคณะผู้ประกอบการไทยเยี่ยมชมและศึกษาดูงานบริษัทในเครือโตโยต้า โดยมี Mr.Yasuji Fukuta ผู้บริหารบริษัทในเครือโตโยต้า และคณะ ให้การต้อนรับ ณ Toyota L&F Customer’s Center เมืองชิบะ ประเทศญี่ปุ่น กิจกรรมในวันนี้ เป็นการศึกษารายละเอียดและจุดเด่นของบริษัทโตโยต้า อาทิ 1) ด้านโลจิสติกส์ที่นําเสนอ Solution ที่เหมาะสมให้กับสถานประกอบการ 2) การผลิตผลิตภัณฑ์ Material Handling เครื่องจักรและอุปกรณ์อํานวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์ 3) ให้บริการสนับสนุนอื่น ๆ ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวเป็นการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของประเทศไทย และหน่วยงานภาคเอกชนในประเทศญี่ปุ่น ในการส่งเสริมและสนับสนุนสถานประกอบการโลจิสติกส์ต้นแบบ เพื่อการศึกษาและเผยแพร่องค์ความรู้ในอนาคตต่อไป
20 พ.ค. 2567
"ดีพร้อม" ร่วมแสดงความยินดีในความสำเร็จ RESHAPE THE FUTURE คพอ.ดีพร้อมภาคเหนือ
จ.พิจิตร 17 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวแสดงความยินดีในพิธีปิดและมอบวุฒิบัตรกิจกรรมเชื่อมโยงและจับคู่ธุรกิจระหว่างสมาชิก คพอ.ดีพร้อม พื้นที่ภาคเหนือ โดยมี นายณัฐพล แสงฟ้า นายกสหพันธ์สมาคมผู้ประกอบการไทย (FA SME) คณะผู้บริหารจากส่วนกลางและคณะผู้บริหารดีพร้อมภาคเหนือ เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม และได้รับเกียรติจาก นายสิงหราช วงษ์เสงี่ยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ให้การต้อนรับ ณ HAPPY Convention Hall ศูนย์การค้า HAPPY PLAZA อำเภอเมืองพิจิตร กิจกรรมดังกล่าว เป็นการร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จจากอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม (คพอ.ดีพร้อม) ในพื้นที่ภาคเหนือ จำนวน 3 รุ่น คือ รุ่น 401 จังหวัดเชียงใหม่ รุ่น 402 จังหวัดพิษณุโลก และรุ่น 403 จังหวัดพิจิตร เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการให้เป็นนักธุรกิจที่พร้อมจะพัฒนาและรองรับการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และเกิดการเรียนรู้หลักการบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในด้านการบริหารจัดการธุรกิจในทุกมิติแล้ว ยังได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์โดยให้ สมาชิก คพอ.ดีพร้อม ได้เชื่อมโยงกลุ่ม คพอ. พร้อมกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจ และเกิดโอกาสในการต่อยอดธุรกิจ หรือขยายการลงทุนในอนาคต ซึ่งจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศชาติต่อไป ทั้งนี้ โครงการ คพอ. ดีพร้อม เป็นโครงการที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 - ปัจจุบัน มีผู้ผ่านการฝึกอบรมแล้วจำนวนกว่า 12,000 ราย ทั่วประเทศ (พื้นที่ภาคเหนือประมาณ 3,300 ราย) ส่งผลให้ผู้ประกอบการได้ปรับปรุงการบริหารจัดการ เกิดประสิทธิภาพและเพิ่มศักยภาพ รวมไปถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเกิดการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงธุรกิจในจังหวัดตนเองและในระดับภูมิภาคไปจนถึงในระดับประเทศต่อไป
20 พ.ค. 2567
"รสอ.วัชรุน" ลงพื้นที่เมืองชาละวัน มอบนโยบายพร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ดีพร้อม
จ.พิจิตร 17 พฤษภาคม 2567 - นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 เพื่อสำรวจและวางแผนแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของเจ้าหน้าที่ ตลอดจนสาธารณูปโภคพื้นฐาน พร้อมทั้งประชุมติดตามการดำเนินงานและมอบนโยบายการดำเนินงานให้แก่ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 ตำบลท่าหลวง อำเภอเมือง การประชุมดังกล่าว เป็นการติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 และกำชับให้มีการเร่งดำเนินการในงบประมาณ ปี พ.ศ.2567 (ส่วนที่เหลือ) โดยมีการรายงานแผนและผลการดำเนินงาน ผลการเบิกจ่าย รวมทั้งหารือประเด็นแนวทางการพัฒนากระบวนงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้กำชับให้นำนโยบาย “RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต” มาเชื่อมโยงสู่ภาคการปฏิบัติและสร้างสรรค์งานตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการและสอดรับกับปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน
20 พ.ค. 2567
“อธิบดีภาสกร” เยือนญี่ปุ่น ศึกษางาน E-commerce ด้วยระบบโลจิสติกส์ หุ่นยนต์ และระบบ IoT
ประเทศญี่ปุ่น 17 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) พร้อมด้วย นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ นายกิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรม ประจำประเทศญี่ปุ่น นำคณะผู้ประกอบการไทยเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน บริษัท แอคก้า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดยมี นายโอกาโมโตะ ฮิเดโตชิ ผู้บริหารบริษัท แอคก้า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ให้การต้อนรับ ณ เมืองชิบะ ประเทศญี่ปุ่น กิจกรรมในวันนี้ เป็นการเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน บริษัท แอคก้า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนธุรกิจด้าน E-commerce ด้วยระบบโลจิสติกส์ หุ่นยนต์ และระบบ IoT เป็นผู้ให้บริการด้าน Logistics Solution, Fulfillment การบริหารระบบหลังบ้าน เช่น Customer Support (Call Center, บริหารหลังการขาย, การวิเคราะห์คำสั่งซื้อ) การบริหารคลังสินค้า รวมถึงการบริหารข้อมูลเชื่อมโยงกับระบบอื่น ๆ ให้บริการด้านหุ่นยนต์ และระบบ IoT ได้แก่ AGV (Automated Guided Vehicle) ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ (Automated Warehouse) ที่สามารถเก็บข้อมูลและบริหารงานได้ ซึ่งเหมาะสำหรับบริษัทด้าน E-commerce ซึ่งบริษัทมีระบบ Software ของตนเองชื่อ ALIS (All is One) เป็นระบบการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ซึ่งบริหารจัดการได้ทั้งอัตราการใช้งานและผลกำไร
20 พ.ค. 2567
“อธิบดีภาสกร” พบ “NEDO” หารือความร่วมมือด้านพลังงาน
ประเทศญี่ปุ่น 17 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) พร้อมด้วย นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ นายกิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรม ประจำประเทศญี่ปุ่น เข้าพบปะ หารือแนวทางความร่วมมือกับ New Energy and Industrial Technoloy Development Organization (NEDO) โดยมี Mr. Yoshinori FURUKAWA คณะผู้บริหาร NEDO ให้การต้อนรับ ณ NEDO office , MUZA Kawasaki Central Tower คานากาว่า ประเทศญี่ปุ่น กิจกรรมในวันนี้ เป็นการเข้าพบเพื่อหารือถึงแนวทางความร่วมมือระหว่าง ดีพร้อม และ New Energy and Industrial Technoloy Development Organization (NEDO) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนาแห่งชาติ มุ่งเน้นการสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อสังคม สนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานรูปแบบใหม่พร้อมกับการอนุรักษ์พลังงาน สร้างความมั่นคงทางพลังงานละการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับโลก โดยทั้งสองหน่วยงานได้หารือเกี่ยวกับการจัดสัมมนา Matching ระหว่างผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น ในประเด็นการอนุรักษ์พลังงานที่ NEDO ให้ทุนพัฒนาเทคโนโลยีในการอนุรักษ์พลังงานให้กับบริษัทต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนา Robot และ AI โดยการจัดสัมมนาร่วมกัน ซึ่งทาง NEDO จะศึกษาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับผู้ประกอบการไทยต่อไปในอนาคต
20 พ.ค. 2567
“อธิบดีภาสกร” หารือความร่วมมือพัฒนา SMEs ไทย-ญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่น 17 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) พร้อมด้วย นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ นายกิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรม ประจำประเทศญี่ปุ่น เข้าพบปะ หารือแนวทางความร่วมมือกับ Tokyo SME Support Center โดยมี Mr.Mitsuru Nakanishi ผู้บริหาร Tokyo SME Support Center ให้การต้อนรับ ณ กรุงโตเกียว กิจกรรมในวันนี้ เป็นการเข้าพบเพื่อหารือถึงแนวทางความร่วมมือระหว่าง ดีพร้อม และ Tokyo SME Support Center ซึ่งเป็นหน่วยงานภาคเอกชน ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจ SMEs ในโตเกียว สนับสนุน SMEs ในหลากหลายกลุ่มธุรกิจให้สามารถเติบโตได้ โดยทั้งสองหน่วยงานได้หารือความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับสังคมผู้สูงอายุ Aging Society Climate change และ Global warming รวมถึงแนวทางการจัด Business Matching นอกจากนี้ Tokyo SME Support Center จะเข้าร่วมงาน Propak Asia ในช่วงเดือนมิถุนายน งาน Asia Sustainable Energy Week ในช่วงเดือนกรกฏาคม งาน Nippon Haku ในช่วงเดือนสิงหาคม และงาน Metalex ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2567
20 พ.ค. 2567
"รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา" ลงพื้นที่จังหวัดระนอง ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน พร้อมมอบนโยบาย ส่งเสริมอุตสาหกรรม SMEs ให้เติบโต ก้าวสู่สากล
จ.ระนอง 16 พฤษภาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัดระนอง ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรที่ 1 “การทำผ้ามัดย้อม (ย้อมเย็น)” ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง อำเภอเมือง และหลักสูตรที่ 2 “การทำผลิตภัณฑ์ตะกร้าหวายเทียม” ณ อาคารอเนกประสงค์ (สระน้ำหนองใหญ่) หมู่ที่ 7 ตำบลปากจั่น อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่ความยั่งยืน พร้อมด้วย นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวิชญพรรณ พลอยทับทิม อุตสาหกรรมจังหวัดระนอง นายโดม ถนอนบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 และคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เข้าร่วม โดยมี นายราชัน มีน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง นายธนกร บริสุทธิญาณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง หัวหน้าส่วนราชการ ภาคเอกชนให้การต้อนรับ การฝึกอบรมในครั้งนี้ จัดขึ้นโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM : ดีพร้อม) ซึ่งเป็นผลจากการขับเคลื่อนนโยบาย มาสู่การปฏิบัติ ในการส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง ได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านการออกแบบและพั ฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผนวกกับวิถีและอัตลักษณ์ท้องถิ่น นำไปสู่การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดและเชื่อมโยงการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม Soft power โดยจังหวัดระนอง มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรมีแหล่งน้ำแร่ร้อนที่มีคุณภาพ ทะเลที่สวยงามและสมบูรณ์สังคมที่น่าอยู่ และที่สำคัญอยู่ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) ซึ่งได้กำหนดนโยบายให้ทุกหน่วยงานกำกับให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้ประกอบการขนาดเล็ก ไปสู่การเป็นประกอบการขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยการ สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อขยายกิจการ (SME D BANK) การพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์และระบบบริหารจัดการ (สมอ.) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการสร้างโอกาส ที่ DIPROM ที่จะช่วยผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี โดยกระทรวงอุตสาหกรรม จะสนับสนุนพี่น้องผู้ประกอบการในการวางรากฐาน ให้มีความสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง สอดรับกับกติกาใหม่ๆของโลก ที่สำคัญเพื่อเป็นการกระจายการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและเมือง เพื่อกระจายประโยชน์จากความเจริญทางเศรษฐกิจไปสู่พี่น้องประชาชน และขยายผลไปในพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศ นอกจากนี้ ดีพร้อม ให้ความสำคัญกับนโยบายรัฐบาล ในการช่วยเหลือและฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วด้วยการสร้างความเข้มแข็งมุ่งแก้ไขปัญหาในระดับเศรษฐกิจฐานรากลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ ซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และประชาชนในประเทศ ภายใต้วิสัยทัศน์เป็นองค์กรพัฒนาอุตสาหกรรม และวิสาหกิจไทยให้เติบโตในเศรษฐกิจและสังคมโลกยุคใหม่อย่างมั่นคง โดยการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศให้มีความเข้มแข็ง เติบโต และมีศักยภาพในการประกอบการธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
20 พ.ค. 2567
“อธิบดีภาสกร” เยี่ยมคารวะประธานคนใหม่ SMRJ
ประเทศญี่ปุ่น 16 พฤษภาคม 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) เข้าเยี่ยมคาระ แสดงความยินดีกับ Mr. MIYAGAWA Tadashi ประธานคนใหม่องค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรมภูมิภาคแห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ) พร้อมหารือแนวทางความร่วมมือในอนาคต โดยมี นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ นายกิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายอุตสาหกรรม ประจำประเทศญี่ปุ่น คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ สำนักงานองค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรมภูมิภาคแห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ) กรุงโตเกียว กิจกรรมในวันนี้ เป็นการเข้าคารวะแสดงความยินดีกับ Mr. MIYAGAWA Tadashi ประธานคนใหม่องค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและนวัตกรรมภูมิภาคแห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ) ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังได้หารือแนวทางความร่วมมือให้สอดรับกับนโยบายของทั้งสองหน่วยงาน มุ่งเน้นเชื่อมโยงคู่ค้าและสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการอุตสาหกรรม SMEs ไทย-ญี่ปุ่น พัฒนาอุตสาหกรรมของไทย-ญี่ปุ่น ให้เติบโตในเศรษฐกิจและสังคมโลกยุคใหม่อย่างมั่นคง อีกทั้ง ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ของ SMRJ ประจำการที่ Japan Desk ณ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ปฏิบัติหน้าที่ประสานงานหน่วยงานในเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย-ญี่ปุ่น มีแผนการจัดกิจกรรม CEO Business Matching 2024 ในช่วงเดือนกันยายน และ OTAGAI Friend Meeting ในปี 2025
20 พ.ค. 2567