รสอ.วาที” ร่วมประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการค้าและการลงทุนชายแดน
กรุงเทพฯ 12 มิถุนายน 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ชายแดนและประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้คณะกรรมการส่งเสริมการค้าและการลงทุนชายแดนและผ่านแดน ครั้งที่ 1-2567 พร้อมด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายนฤชา ฤชุพันธุ์ รองเลขาธิการบีโอไอ เป็นประธาน การประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน การประชุมดังกล่าว ได้มีการแจ้งเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับพื้นที่ชายแดน ภาวการณ์ส่งเสริมการลงทุนสำหรับพื้นที่ชายแดนในปี 2566 และช่วง 3 เดือนแรกของปี 2567 ตลอดจนสถานการณ์และทิศทางการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังได้ร่วมหารือเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเชื่อมโยงฐานการผลิตและบริการระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน หารือถึงปัญหาและอุปสรรคของการลงทุนในพื้นที่ชายแดน และข้อเสนอแนวทางการยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดน เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการค้าและการลงทุนชายแดนและผ่านแดน ปี พ.ศ. 2567 – 2570 ให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
13 มิ.ย. 2567
รมว.พิมพ์ภัทรา หารือ เอกอัครราชทูตฯ ญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ย้ำความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย – ญี่ปุ่น
กรุงเทพฯ 11 มิถุนายน 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับ นายโอตากะ มาซาโตะ (H.E. Mr. OTAKA Masato) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ และหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นภาพรวมและโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างไทย - ญี่ปุ่นในอนาคต รวมถึงนโยบายด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย และนโยบายด้านการจัดการซากรถยนต์ในอนาคต (Future End of Life Vehicle Policy) นายดนัยณัฎฐ์ โชคอำนาย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และนางสาวนลินี กาญจนามัย รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เข้าร่วมด้วย ณ ห้องรับรอง 1 ชั้น 2 อาคาร สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก ๆ ที่มาลงทุนและสร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย ในส่วนของกระทรวงอุตสาหกรรมก็ได้รับความร่วมมือที่ดีจาก องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) และองค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (NEDO) เข้าพบเพื่อรายงานสรุปผลแนวโน้มทางเศรษฐกิจและสถานการณ์ต่างๆ ด้วย สำหรับความร่วมมือในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ขณะนี้อยู่ระหว่างประเทศไทยให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมรถยนต์อีวี เพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอน แต่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน นายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน ก็มีนโยบายไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และพร้อมสนับสนุนยานยนต์สันดาปภายใน (ICE) ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมี สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กำลังรวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการ เพื่อประเมินทิศทางของอุตสาหกรรมต่อไป นอกจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรมยังมีแผนการตั้งนิคมอุตสาหกรรม Circular บนพื้นที่ 5,000 ไร่ เพื่อรองรับการจัดการกากของเสียต่างๆ ในอนาคตด้วย ด้านนายโอตากะ กล่าวว่า วันนี้ยินดีที่ได้มีโอกาสได้พูดคุยหารือถึงการขยายการค้าการลงทุนระหว่างสองประเทศ โดยเฉพาะค่ายรถยนต์ของญี่ปุ่นที่มาลงทุนในประเทศไทย รู้สึกยินดีที่ทราบว่ารัฐบาลไทย จะยังคงให้การสนับสนุนยานยนต์ ICE และไฮบริดจ์ และทางญี่ปุ่นเองก็พร้อมสนับสนุน และที่สำคัญยังมีความยินดีที่จะให้คำปรึกษาเรื่องนิคมอุตสาหกรรม Circular การจัดการพลังงาน รวมถึงเรื่องกากอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้
12 มิ.ย. 2567
เลขานุการรัฐมนตรีฯ ไพลิน ประชุมคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (กอ.นตผ.) ครั้งที่ 1/2567
กรุงเทพฯ 11 มิถุนายน 2567 - นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (กอ.นตผ.) ครั้งที่ 1/2567 พร้อมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ณ ห้องประชุม 108 อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยที่ประชุมฯ มีระเบียบวาระเพื่อพิจารณา ดังนี้ เห็นชอบโครงการการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ปี พ.ศ. 2567 (OTOP Product Champion : OPC) เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ OTOP ได้มีโอกาสพัฒนาให้มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับแก่บุคคลทั่วไป จนสามารถใช้เป็นแหล่งสร้างรายได้และความเข้มแข็งให้กับชุมชน และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ OTOP มีมาตรฐานในระดับสากล ทั้งนี้ ประเภทผลิตภัณฑ์ที่คัดสรรฯ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ประเภทอาหาร ประเภทเครื่องดื่ม ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก และประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ซึ่งหน่วยงานภาคี แยกตามประเภทผลิตภัณฑ์ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ดูแลในส่วนของกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย
12 มิ.ย. 2567
เลขานุการรัฐมนตรีฯ ไพลิน ร่วมพิธีเปิด “OTOP Midyear 2024 หลากหลายผลิตภัณฑ์สีสันภูมิปัญญาไทย” เปิดตัวอย่างคึกคัก ยกทัพสินค้ากว่า 2,000 ร้าน ชิม ช้อป ทั่วไทย
จ.นนทบุรี 10 มิถุนายน 2567 - นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมเป็นเกียรติในงานร่วมพิธีเปิด “OTOP Midyear 2024 หลากหลายผลิตภัณฑ์สีสันภูมิปัญญาไทย” โดยมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีเปิดงาน พร้อมด้วย นางสาวธนนนท์ นิรามิษ ภริยาผู้บริหารระดับสูงกระทรวงมหาดไทย เอกอัครราชทูต คณะทูตานุทูต ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน คณะทำงานโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก ผู้ประกอบการ OTOP สื่อมวลชน และภาคีเครือข่าย ร่วมเปิดงาน ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1-3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการขยายผลและสนับสนุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ผ่านการพัฒนาผู้ผลิต ส่งเสริมผู้ประกอบการ ยกระดับคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ระดับ 3-5 ดาว และเพิ่มช่องทางการตลาด ซึ่งได้แสดงถึงวัฒนธรรม ความมั่นคงทางวัฒนธรรม ตลอดจนถึงประเพณีของชาวไทยให้ชาวต่างชาติได้เห็นถึงความก้าวหน้าของผลิตภัณฑ์ OTOP ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ได้มีส่วนร่วมในการจัดงานดังกล่าว ผ่านกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปแบบ DIY ด้านความคิดสร้างสรรค์และการประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้จากวัสดุเหลือใช้และวัสดุอื่น ๆ ตลอดการจัดงาน ได้แก่ ศิลปะสร้างสรรค์สร้อยสวยจากเศษผ้า การลงรักปิดทองจากกระเป๋าผ้า การนำเศษผ้าเหลือใช้จากอุตสาหกรรมมา Upcycling Recycle โดยใช้เทคนิคการถักมือนิตติ้งผสมโครเชต์ การทำปิ่นปักผม พร้อมด้วยกิจกรรมการแสดง หุ่นกระบอกไทย เรื่อง มโนราห์ จากบ้านตุ๊กกะตุ่น หุ่นกระบอกไทย มูลนิธิช่างหัตถศิลป์ไทย โดยสามารถร่วมอุดหนุนสินค้าหัตถอุตสาหกรรมไทยกระจายรายได้สู่ชุมชน นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้ฝากเน้นย้ำให้พวกเราทุกคนได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายเสริมสร้างการรับรู้ และประชาสัมพันธ์การจัดงานในครั้งนี้ไปยังพี่น้องประชาชนเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ได้รับรู้รับทราบและเดินทางมาเยี่ยมชม ให้กำลังใจ และอุดหนุนผลิตภัณฑ์ ยิ่งมีกำลังซื้อมาก ผู้ประกอบการก็จะมีกำลังใจไปพัฒนาต่อยอดคุณภาพของสินค้า OTOP ให้มากยิ่งขึ้นไป เพราะสินค้า OTOP ทุกชิ้น ล้วนผลิตโดยคนไทย ใช้ของไทย แรงงานไทย และเสริมสร้างคุณค่าให้กับประเทศไทย "งาน OTOP Midyear 2024" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8 – 16 มิถุนายน 2567 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 – 3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทอ
11 มิ.ย. 2567
"ดีพร้อม" RESHAPE THE INDUSTRY สานต่อการพัฒนา คพอ.ดีพร้อม น้องใหม่ 412 กรุงเทพฯ
กรุงเทพฯ 7 มิถุนายน 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการฝึกอบรมการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม (คพอ.ดีพร้อม) พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พร้อมด้วย นายณัฐพล แสงฟ้า นายกสหพันธ์สมาคมผู้ประกอบการไทย (FA SME) นายชาย บูรณจิตร์ภิรมย์ นายกสหพันธ์สมาคมผู้ประกอบการไทย กรุงเทพและปริมณฑล (FA SME Bangkok) โดยมี นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ โรงแรมแกรนด์ ฮาวเวิร์ด แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม ดีพร้อม ภายใต้แนวคิด RESHAPE THE INDUSTRY ปรับตัวให้ก้าวทันอุตสาหกรรมยุคใหม่ ได้เร่งดำเนินการจัดกิจกรรมฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าว ภายใต้โครงการการพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพด้านการบริหารจัดการ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการให้เป็นนักธุรกิจที่พร้อมจะพัฒนาและรองรับการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นและเกิดการเรียนรู้หลักการบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการเป็นอย่างดี มีผู้มาสมัครเข้ารับการคัดเลือกกว่า 130 คน จากในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และมีผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมหลักสูตร คพอ. ดีพร้อม รุ่น 412 กรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 60 คน
11 มิ.ย. 2567
“รสอ.ดวงดาว” หารือสถาบันอาหารผลักดัน Soft Power อาหารไทย
กรุงเทพฯ 7 มิถุนายน 2567 – นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมหารือรายละเอียดโครงการ Soft Power ร่วมกับสถาบันอาหาร โดยมี คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สถาบันอาหาร ณ ห้องประชุม รสอ. ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การหารือในวันนี้ เป็นการร่วมเสนอโครงการขออนุมัติใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินสำหรับดำเนินงานโครงการหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย และโครงการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย (Local Chef Restaurant) เพื่อดำเนินการโครงการยกระดับทักษะคนไทยให้เป็นแรงงานทักษะสูงด้วยการส่งเสริมองค์ความรู้ และทักษะด้านอาหารไทยให้ประชาชนได้นำความรู้ไปประกอบอาชีพตามมาตรฐานของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ตามนโยบายในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม Soft Power ไทย ซึ่งผ่านมติของคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ โดยต้องเร่งผลักดันเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในปี 2567 และเกิดประโยชน์สูงสุด จึงมีความจำเป็นต้องขอรับจัดสรรงบประมาณจากงบกลาง รายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินสาหรับดำเนินงาน เพื่อช่วยสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชน ลดการแออัดในเมืองใหญ่ ขยายโอกาสทางธุรกิจให้แก่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการด้านอาหาร รวมทั้งเป็นการพัฒนาด้านบุคลากรอาหารเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหาร ให้เกิดซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหารของประเทศไทย ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไปในอนาคต
11 มิ.ย. 2567
"รสอ.วัชรุน" เข้าร่วมประชุม คปก. ครั้งที่ 4/2567
กรุงเทพฯ 7 มิถุนายน 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ครั้งที่ 4/2567 โดยมีร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุมไชยยงค์ ชูชาติ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ถนนราชดำเนินนอก การประชุมดังกล่าว ได้สรุปประเด็นสำคัญต่าง ๆ ดังนี้ 1) รายงานผลการดำเนินงานของ สปก. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และความคืบหน้าแผนงานและงบประมาณของ สปก. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 2) โครงการตรวจสอบคุณสมบัติการใช้ประโยชน์ในที่ดินของผู้ได้รับจัดสรรที่ดินและผู้ถือครองที่ดินโดยมิชอบตามกฏหมายการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และยังอนุมัติโครงการและใช้เงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพิ่มเติม 3) การขออนุญาตใช้ที่ดินเพื่อกิจการและสาธารณูปโภคในเขตปฏิรูปที่ดิน 4) หลักเกณฑ์ของ สปก. เกี่ยวกับแนวทางการจัดที่ดินชุมชนในที่ดินเอกชน ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า “ที่ประชุม คปก. มีการอนุมัติหลายโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร และโครงการที่ทำให้เจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. สามารถขับเคลื่อนงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตรวจสอบคุณสมบัติการใช้ประโยชน์ในที่ดินของผู้ได้รับการจัดที่ดินและผู้ถือครองที่ดินเพื่อให้เกษตรกรผู้ได้รับการจัดที่ดินปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายของ ส.ป.ก. เพื่อให้สอดรับกะบเจตนารมณ์ของการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่ตระหนักถึงความเป็นอยู่ของประชาชน และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งการใช้ประโยชน์ในที่ดินที่สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม ในปัจจุบันและอนาคต”
11 มิ.ย. 2567
“รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา” ดันสมาร์ทฟาร์มสวนทุเรียนสู่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลฉลอง อำเภอสิชล
จ.นครศรีธรรมราช 7 มิถุนายน 2567 – นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่สวนทุเรียนแบบสมาร์ทฟาร์ม องค์การบริหารส่วนตำบลฉลอง โดยมี นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้เข้าร่วมอบรม เข้าร่วม ณ สวนทุเรียนแบบสมาร์ทฟาร์ม องค์การบริหารส่วนตำบลฉลอง อำเภอสิชล การลงพื้นที่ในวันนี้ นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับฟังความคิดเห็นขององค์การบริหารส่วนตำบลฉลอง อำเภอสิชล ที่มีความต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านระบบให้น้ำในพื้นที่นำร่องแปลงเพาะปลูกทุเรียนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่เกษตรกร โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้คำปรึกษาแนะนำในด้านการพัฒนาระบบให้น้ำในพื้นที่นำร่องแปลงเพาะปลูกทุเรียน ซึ่งได้วางแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ ดังนี้ 1) การออกแบบระบบให้น้ำในพื้นที่ 2) การวางแผนผังในพื้นที่นำร่องแปลงเพาะปลูกทุเรียน 3) การปรับปรุงขนาดและแนววางท่อเพื่อแบ่งพื้นที่โซนการจ่ายน้ำให้มีความเหมาะสมกับขนาดของปั้มน้ำ 4) การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานของปั้มน้ำ และ 5) การติดตั้งระบบการเปิด-ปิดน้ำ โดยใช้ระบบ IoT เข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน เพื่อลดเวลาการทำงานให้แก่เกษตรกร ทั้งนี้ ปัจจุบันสวนทุเรียนแบบสมาร์ทฟาร์ม องค์การบริหารส่วนตำบลฉลอง อำเภอสิชล กำลังอยู่ในช่วงระหว่างพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลฉลอง อำเภอสิชล ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จและจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรหรือผู้สนใจภายในเดือนกรกฎาคม 2567 นี้
11 มิ.ย. 2567
ดีพร้อม เปิดตัวศูนย์ “Happy Workplace Center”ภาคเหนือ
จ.เชียงใหม่ 7 มิถุนายน 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ “Happy Workplace Center” พร้อมด้วย นายอนุพงษ์ แสงอรุณทอง ผู้อำนวยการอาวุโสภาค 1 ธนาคารเอสเอ็มอี ผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กล่าวรายงาน ณ บริเวณชั้น 1 อาคาร Unit 1C ศูนย์ Happy Workplace Center ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ศูนย์ Happy Workplace Center เป็นการดำเนินงานภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนวทางมาตรฐานองค์กรแห่งความสุข (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) ที่ดีพร้อมได้รับความร่วมมือจาก “สสส.” ในการขับเคลื่อนการส่งเสริมการสร้างสุขภาวะองค์กร โดยใช้ 3 ยุทธศาสตร์หลัก ประกอบด้วย พลังองค์ความรู้ พลังเครือข่าย และพลังในด้านนโยบาย ซึ่งดีพร้อมได้มีส่วนในการทำหน้าที่สนับสนุนพลังองค์ความรู้ ด้านข้อมูลข่าวสารสุขภาวะองค์กรและการส่งเสริมการสร้างสุขภาวะองค์กร พร้อมสร้างพลังเครือข่ายหน่วยงานผู้สนับสนุนการสร้างสุขภาวะองค์กรในเอสเอ็มอี และได้ดำเนินการสร้างศูนย์ “Happy Workplace Center” ไปแล้ว เป็นจำนวน 6 แห่งทั่วประเทศ กิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมภายใต้แนวคิด Happy 8 หรือ ความสุข 8 ประการที่ทำให้เกิดสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตน ภายใต้ความเชื่อที่ว่า คน คือ หัวใจขององค์กร การสร้างคนที่มีความสุขให้อยู่รวมกัน จะเกิดเป็นองค์กรแห่งความสุข (Happy workplace) ประกอบไปด้วย 1) Happy Heart 2) Happy Body 3) Happy Money 4) Happy Soul 5) Happy Society 6) Happy Family 7) Happy Brain และ 8) Happy Relax
11 มิ.ย. 2567
“รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา” จับมือคนคอน พัฒนาปลาเค็มร้า ของดีชุมชนบ้านทอนตะเกียง
จ.นครศรีธรรมราช 7 มิถุนายน 2567 – นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาเค็มร้าปากน้ำกลาย โดยมี นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้เข้าร่วมอบรม เข้าร่วม ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาเค็มร้าปากน้ำกลาย ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา "กลุ่มปลาเค็มร้าปากน้ำกลาย" ก่อตั้งขึ้นหลังจากการเข้าอบรมโครงการ "ฝึกอบรมอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนตำบลกลาย" เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์จริยธรรมบ้านในไร่ หมู่ 11 ตำบลกลาย ซึ่งเป็นการจัดอบรมให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ โดยมีการบรรยายและสอนกรรมวิธีการทำปลาเค็มร้า ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการส่งเสริมการตลาด ซึ่งภายหลังจากการอบรมในโครงการ ได้กลับมาทดลองทำรับประทานเองในครอบครัว พร้อมทั้งมีการปรับปรุงและพัฒนาสูตรเฉพาะจนลงตัว จึงได้มีการชักชวนกันมาตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาเค็มร้าปากน้ำ โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญคือ การสร้างงานและสร้างรายได้เสริมเพิ่มเติมจากรายได้หลักของคนในชุมชน ภายใต้การส่งเสริมสนับสนุนของ นายยุทธยา พิมเสน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกลาย ตั้งแต่เริ่มคิดเริ่มทำ ให้คำชี้แนะปรึกษาแนวทางการดำเนินงาน หลักเกณฑ์และวิธีการต่าง ๆ จนได้มีการรวมทุนกัน โดยมีสมาชิกจำนวน 15 คน การลงพื้นที่ในวันนี้ นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาเค็มร้าปากน้ำซึ่งมีความต้องการพัฒนาสินค้าในชุมชน ในการทำ “ปลาเค็มร้าปากน้ำกลาย” ของดีขึ้นชื่อชุมชนบ้านทอนตะเกียง ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เลือกสรรวัตถุดิบที่หาได้จากธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ปลากุเลา และปลากระบอก จากพี่น้องชาวประมงพื้นบ้านที่หาปลาบริเวณปากน้ำกลาย สืบสานการใช้ภูมิปัญญาถนอมอาหารรุ่นปู่ย่าที่ถ่ายทอดกันมา ต่อยอดด้วยนวัตกรรมสมัยใหม่ในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และในขณะนี้มีหลากหลายผลิตภัณฑ์ที่ทางกลุ่มได้ทำออกจำหน่ายสู่ท้องตลาด ได้แก่ ปลากุเลาเค็มร้า ปลากระบอกเค็มร้า ปลากุเลาแดดเดียว ปลากระบอกแห้ง ไตปลาบรรจุขวด ไตปลาแห้งสูตรเตาถ่าน หลนปลาเค็ม เป็นต้น โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลาเค็มร้าปากน้ำกลายมีความต้องการในการพัฒนาสูตรสินค้าให้มีความโดดเด่น มีมาตรฐาน เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ ต้องการให้ภาครัฐเข้าไปสนับสนุนในเรื่องของเครื่องจักร อุปกรณ์การผลิต โดยเฉพาะตู้แช่ปลาขนาดใหญ่ และการปรับปรุงโรงตากปลา นอกจากนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะเดินหน้าขยายความร่วมมือตามนโยบาย DIPROM Connection กับหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ พัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาเค็มร้าปากน้ำกลายและเชื่อมโยงด้านการตลาดกับไปรษณีย์ไทยเพื่อขยายช่องทางการตลาดให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และเตรียมแผนสำหรับขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อพัฒนาต่อยอดให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนดังกล่าวเป็นศูนย์เรียนรู้ปลาเค็มร้า ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนสินค้าชุมชนเป็นการเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจฐานรากให้สามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นกระจายรายได้สู่ชุมชน และยกระดับวิสาหกิจชุมชนให้มีความเข้มแข็ง นำไปสู่การสร้างเศรษฐกิจชุมชนที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนและมีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับประเทศ
11 มิ.ย. 2567