“รมว.พิมพ์ภัทรา” นั่งหัวโต๊ะ ประชุมผู้บริหาร อก. เผย “นายกฯ” กำชับ เร่งใช้มาตรการกระตุ้นการลงทุนเพิ่ม GDP ประเทศ ย้ำดูแลเสริมแกร่งเอสเอ็มอีให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน จัดการน้ำในพื้นที่ EEC รวมทั้งควบคุมกระบวนการโรงงานแก้ปัญหาราคาปาล์มตกต่ำ
กรุงเทพฯ 17 มิถุนายน 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ครั้งที่ 10/2567 โดยมี นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ นายบรรจง สุกรีฑา นายใบน้อย สุวรรณชาตรี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2567 นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามประเด็นภาวะเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและตั้งเป้าการเติบโตของเศรษฐกิจที่ร้อยละ 3.0 ซึ่ง อก. ต้องเร่งตอบโจทย์มาตรการกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน เพื่อเพิ่ม GDP ได้ตามเป้าหมาย การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณควรเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามแผน ด้านมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว การจัดอบรม สัมมนาของภาครัฐควรมีการเชื่อมโยงพื้นที่เมืองน่าเที่ยวหรือเมืองรอง ส่วนการส่งเสริม SME วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็ง ด้วยการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำของหน่วยงานภายในกระทรวงอุตสาหกรรม ผ่านกองทุนพัฒนา SME ตามแนวประชารัฐ และ SME D BANK และขอให้เร่งประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้ประกอบการ SME ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนต่อไป ส่วนเรื่องราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ ขอให้ อก. เข้าไปช่วยในเรื่องกระบวนการ ควบคุมดูแลโรงงานต่างๆ และการจัดการน้ำในพื้นที่ EEC ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมหรือน้ำแล้ง ขอให้ดูเรื่องอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ และปริมาณน้ำมีเพียงพอหรือไม่ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมข้อมูลเรื่องผังเมือง นำเสนอก่อนการประชุม ครม.ในครั้งต่อไป จากนั้น กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้รายงานการพิจารณาคำขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง. 4) ว่า ระหว่าง 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2567 มี 254 คำขอ ดำเนินการแล้วเสร็จ 98 คำขอ คิดเป็น 38.6% อยู่ระหว่างดำเนินการ 94 คำขอ คิดเป็น 37% คำขอที่ผู้ประกอบการขอขยายเวลา 23 คำขอ คิดเป็น 9% และอยู่ระหว่าง กรอ. พิจารณาอีก 39 คำขอ คิดเป็น 15.4% และรายงานความคืบหน้าการจัดการกากอุตสาหกรรมในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา และ จ.ระยอง นอกจากนี้ รองปลัดฯ บรรจง ได้นำเสนอแนวทางเพื่อปรับปรุงกระบวนการควบคุมกากอุตสาหกรรมระยะยาว โดยให้มีการกำหนดราคากลางกากอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ เพิ่มบทบาทพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ เชื่อมโยงข้อมูลแหล่งอื่นที่ไม่ใช่โรงงาน เช่น กรมอนามัย (ขยะติดเชื้อ) และศึกษาเทคโนโลยีการบำบัดและกำจัดกากอุตสาหกรรมให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการจัดการกากอุตสาหกรรมขั้นสูง ด้านกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) รายงานความคืบหน้าการขนย้ายกากตะกอนแคดเมียมจากพื้นที่ต้นทางคือ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร และ ชลบุรี ไปยังพื้นที่ปลายทางที่โรงงานในจังหวัดตากแล้ว 10,042 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77 เมื่อเทียบกับปริมาณกากตะกอนแคดเมียมที่ตรวจพบทั้งหมด โดยคาดว่าจะสามารถขนกากตะกอนแคดเมียมทั้งหมดไปยังจังหวัดตากได้ภายในสิ้นเดือนมิถุนายน พร้อมเร่งตรวจสอบและเตรียมการซ่อมแซมบ่อกักเก็บกากตะกอนที่ถูกเปิดออกต่อไป และที่ประชุมโดยหน่วยงานภายใต้กำกับของ อก.ได้รายงานถึงผลการดำเนินงานในรอบ 1 ปี ตลอดจนการเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามเป้าหมาย นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือถึงการเตรียมการ ครม.สัญจร ครั้งที่ 4/2567 ระหว่างวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2567 ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และ สุรินทร์) ณ จ.นครราชสีมา
20 มิ.ย. 2567
“อสอ.ภาสกร” จับมือสมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย (THTA) ผลักดันความเป็นเลิศของหัตถกรรมไทยสู่การแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ
กรุงเทพฯ 17 มิถุนายน 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาสินค้าหัตถอุตสาหกรรม ร่วมกับ สมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย (THTA) พร้อมด้วย ดร.สุรภีร์ โรจนวงศ์ นายกสมาคมการค้าส่งเสริมหัตถกรรมไทย (THTA) นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในครั้งนี้ ได้หารือแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยสมาคมฯ จะมีการดำเนินงานร่วมกับดีพร้อม ในด้านการสำรวจผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมาย ที่ผ่านการพัฒนาฝีมือและมีความพร้อมในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาด รวมไปถึงกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการส่งเสริมนักออกแบบ ผู้ผลิต และช่างฝีมืองานหัตถกรรมให้สามารถพัฒนาศักยภาพการผลิต ผสมผสานนวัตกรรมที่ทันสมัยควบคู่กับการอนุรักษ์วัฒนธรรมการผลิตแบบดั้งเดิม เพื่อยกระดับตลาดสินค้าหัตถกรรมชุมชน นำไปสู่ตลาดระดับสากล
20 มิ.ย. 2567
“ดีพร้อม” มอบรางวัลนักออกแบบ ชูศักยภาพซอฟต์พาวเวอร์แฟชั่นไทย ก้าวไปสู่ระดับสากล
กรุงเทพฯ 16 มิถุนายน 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิด “กิจกรรมพัฒนานักออกแบบดีพร้อมในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (DIPROM Thai Designer Lab)” พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางสาวอังสนา โสมาภา ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กล่าวรายงาน ณ ลาน Co-Event Space Zone A ชั้น G ศูนย์การค้ายูเนี่ยน มอลล์ ลาดพร้าว กิจกรรมดังกล่าว เป็นการแสดงถึงผลสำเร็จของนักออกแบบไทยที่เข้าร่วม "กิจกรรมพัฒนานักออกแบบดีพร้อมในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (DIPROM Thai Designer Lab)" ประจำปี 2567 โดยมีแบรนด์เข้าร่วม 24 แบรนด์ และมีผลงานผ่านคัดเลือกได้รับรางวัล จำนวน 3 แบรนด์ ได้แก่ แบรนด์ KH EDITIONS แบรนด์ HOMRAK (ห่มรัก) และแบรนด์ Chanikran เพื่อให้นักออกแบบสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้จากหลักสูตรนำไปประยุกต์ใช้ สร้างความโดดเด่นให้กับแบรนด์ เพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภค พร้อมก้าวไปสู่การเป็นแบรนด์สินค้าที่เป็นที่รู้จักในระดับสากล
19 มิ.ย. 2567
รมว.พิมพ์ภัทรา ดันเรือนจำกลางนครศรีธรรมราชเป็นโมเดลต้นแบบ "นิคมราชทัณฑ์" อนุรักษ์ทักษะงานศิลป์เลอค่า สร้างอาชีพเส้นทางใหม่ คืนคนดีสู่สังคม
จ.นครศรีธรรมราช 15 มิถุนายน 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมหารือกับนายกฤษณะ ทิพย์จันทร์ ผู้บัญชาการเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นภาพรวมและโอกาสในการสร้างอาชีพให้กับผู้ต้องขังได้ฝึกทักษะอาชีพเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนพ้นโทษ หรือในช่วงต้องขัง พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ เรือนจำกลางนครศรีธรรมราช ตำบลนาพรุ อำเภอพระพรหม การหารือดังกล่าว เป็นเตรียมการฝึกทักษะการตัดเย็บเสื้อผ้าให้กับบุคลากรเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช เพื่อเป็นอาชีพเสริมและเป็นการอนุรักษ์งานศิลป์ที่ทรงคุณค่าของเมืองนครฯ อาทิ เครื่องถม จักสานหญ้าลิเภา และผ้าทอผ้ายกดอก เพื่อให้ผู้ต้องขัง สามารถนำไปประกอบอาชีพอิสระพร้อมทั้งสืบสาน อนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นถิ่นที่เล่อค่า ทั้งนี้ รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา พร้อมคณะ ได้เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตจากฝืมือผู้ต้องขัง อาทิ ผลิตภัณฑ์จักสานจากเส้นพลาสติก ผ้ามัดย้อม ตัดเย็บเสื้อผ้า และอื่น ๆ พร้อมทั้งร่วมอุดหนุนสินค้าและมอบแนวทางการเพิ่มทักษะในการทำงานให้สอดคล้องกับตลาดและโอกาสในการสร้างแบรนด์ให้กับผลิตภัณฑ์ เพื่อดึงทักษะของแรงงานที่มีฝืมือที่ถูกสร้างไว้หลังกำแพงเรือนจำ "แค่เราสร้างโอกาสให้เปิดกว้าง สิ่งเหล่านี้ก็สร้างมูลค่าให้กับสังคมได้ หากมีโอกาสที่ดี การกลับมาทำความผิดน้อยลง ส่งให้สังคมปลอดภัยมากยิ่งขึ้น" โดยได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จะร่วมพัฒนาโมเดลต้นแบบ "นิคมราชทัณฑ์" โดยการเพิ่มทักษะบุคลากรในเรือนจำ โดยการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต การสร้างตราสินค้า และการบริหารจัดการด้านการตลาด การตลาดออนไลน์ต่อไป
18 มิ.ย. 2567
“รสอ.วาที” ประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติฯ ครั้งที่ 21
กรุงเทพฯ 14 มิถุนายน 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจากนายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติและการประชุมวิชาการ ประจำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 21 พร้อมด้วย นายกิตติโชติ ศุภกำเนิด ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม โดยมี นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็นประธานในการประชุม ณ ห้องประชุมรองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ชั้น 3 และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว ได้มีการนำเสนอแผนการประชาสัมพันธ์และความก้าวหน้าในการจัดเตรียมงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติฯ ครั้งที่ 21 “Thailand Herbal Expo 21th” เพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้เข้มแข็ง เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านสาธารสุข เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศด้วยวิถีใหม่ ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 3 - 7 ก.ค.67 โดยในปีนี้ “สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี” ทรงเป็นประธานในการเปิดงานมหกรรมดังกล่าว
18 มิ.ย. 2567
“อสอ.ภาสกร” ประชุมคณะกรรมการจัดทำระบบและกลั่นกรองการประเมินผลปฏิบัติราชการ กสอ. ครั้งที่ 2
กรุงเทพฯ 14 มิถุนายน 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการจัดทำระบบและกลั่นกรองการประเมินผลปฏิบัติราชการ กสอ. ครั้งที่ 2 /2567 พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว ได้มีการพิจารณามาตรฐานและความเป็นธรรม การประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการและประเภททั่วไป ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รอบที่ 1 (1 ตุลาคม 2566 - 31 มีนาคม 2567)
18 มิ.ย. 2567
“ปลัดฯ ณัฐพล” นั่งหัวโต๊ะ ประชุมคณะกรรมการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม 2567
กรุงเทพฯ 13 มิถุนายน 2567 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 1/2567 พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายยงยุทธ ภักตร์ดวงจันทร์ ผู้แทนบริษัท เดลต้า อิเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และนางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว ได้ร่วมกันพิจารณาประเด็นสำคัญต่าง ๆ ประกอบด้วย 1) คำสั่งคณะทำงานจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 2) คำสั่งคณะทำงานพิจารณาคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 3) คำสั่งคณะทำงานพิจารณากลั่นกรองรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 4) เกณฑ์พิจารณาคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 ซึ่งประกอบไปด้วย รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น และรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น 5) แผนการดำเนินงานและแผนการใช้งบประมาณจัดงาน และ 6) ธีมการประชาสัมพันธ์การจัดงานรางวัลอุตสาหกรรมในปี พ.ศ. 2567 “อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ ที่เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน”
18 มิ.ย. 2567
รมว.พิมพ์ภัทรา หารือ สมาคมพันธมิตรกฎหมายไทย-จีน สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุนจีนในไทย พร้อมรองรับการส่งเสริมนักลงทุนหน้าใหม
กรุงเทพฯ 13 มิถุนายน 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับ นายสื่อ ต้าถัว ( Mr. Shi Datuo) ประธานสมาคมพันธมิตรกฎหมายไทย-จีน พร้อมคณะนักกฎหมายจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโอกาสเข้าหารือ เพื่อขอรับทราบนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมและสภาพแวดล้อมการลงทุน รวมถึงข้อกฎหมายด้านอุตสาหกรรมในประเทศไทย โดยมีนายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมด้วย ณ ห้องรับรอง 1 ชั้น 2 อาคาร สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับคณะสมาคมพันธมิตรกฎหมายไทย-จีน ประเทศไทยและจีนต่างให้การสนับสนุนกันและกันมาโดยตลอด ไทยก็มีนักลงทุนมากมายที่ไปลงทุนในจีน และปัจจุบันนี้ทางจีนก็มีการมาลงทุนในไทยเป็นอันดับ 1 โดยประเภทธุรกิจที่มาลงทุน ได้แก่ การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ เหล็ก ยางล้อรถยนต์ มิเตอร์ไฟฟ้า การสื่อสารและโทรคมนาคม และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น โดยรัฐบาลนำโดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มีนโยบายเรื่องการอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน ซึ่งในส่วนของทางกระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมให้การสนับสนุนนักลงทุนจากจีน โดยมีการนิคมอุตสาหกรรมที่ดูแลพื้นที่การลงทุน ที่พร้อมดูแลเรื่องพลังงานสะอาด อุตสาหกรรมสีเขียว การดูแลระบบน้ำ การจัดการกากของเสีย ซึ่งสามารถดำเนินการได้แบบ One Stop Service แต่อยากให้นักลงทุนมีการดำเนินการต่าง ๆ ที่ถูกต้อง อยู่ในขอบเขต และเป็นไปตามข้อกฎหมายของไทย ซึ่งการมีสำนักงานกฎหมายฯ เข้ามาดูแลก็ถือเป็นการดีที่การดำเนินการต่าง ๆ จะได้เป็นด้วยความเรียบร้อย ซึ่งการหารือครั้งนี้ หวังว่าทางสมาคมพันธมิตรกฎหมายไทย-จีน จะมีความเข้าใจสภาพแวดล้อมการลงทุนด้านอุตสาหกรรมในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น หากทางสมาคมฯ มีข้อปัญหาติดขัดประการใด สามารถสอบถามข้อมูลเข้ามากับทางกระทรวงฯ ได้ เรามีทีมงานที่พร้อมจะสนับสนุนให้เกิดการลงทุนอย่างเต็มที่ ด้านนายสื่อ ต้าถัว กล่าวว่า วันนี้ยินดีที่ได้มีโอกาสได้นำคณะนักกฎหมายจากทางสมาคมพันธมิตรกฎหมายไทย-จีน ที่ให้บริการทางกฎหมายระดับมืออาชีพและความสามารถในการสืบค้นทางกฎหมาย เพื่อพัฒนาประเทศจีนและไทยให้มีคุณภาพฯ จำนวน 27 คน เข้ามาร่วมหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรม ถึงการขยายการค้าการลงทุนระหว่างสองประเทศ โดยตนเองมองว่าประเทศไทยยังเป็นประเทศที่น่าลงทุน ทั้งสภาพภูมิประเทศ อากาศ อาหาร และผู้คน จึงมุ่งมั่นที่อยากจะขยายฐานการลงทุนในประเทศไทยให้แก่นักลงทุนจีน การหารือครั้งนี้ได้เชิญทนายอันดับต้น ๆ จากมณฑลต่าง ๆ ของประเทศจีน เข้ามาศึกษาดูงานเพื่อให้เข้าใจกับสภาพแวดล้อมการลงทุนในประเทศไทย และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับนักลงทุนในประเทศจีนที่สนใจลงทุนในประเทศไทยได้
18 มิ.ย. 2567
ดีพร้อม ชู 54 สุดยอดบรรจุภัณฑ์ “วิถีไทย (Being Thai)” สู่ซอฟต์พาวเวอร์ สร้างอัตลักษณ์ไทยผ่านบรรจุภัณฑ์ ในงาน “ThaiStar Packaging Awards 2024
กรุงเทพฯ 12 มิถุนายน 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานมอบโล่รางวัลและมอบประกาศนียบัตรพร้อมทั้งกล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้ชนะการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 (ThaiStar Packaging Awards 2024 ) ร่วมด้วย นายมนู เลียวไพโรจน์ ประธานบริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย คณะกรรมการตัดสินการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย 2567 ผู้ประกอบการ ผู้ชนะการประกวด คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้อง Nile 1-2 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ดีพร้อมจัดงานประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด "วิถีไทย (Being Thai)" เพื่อส่งเสริม Soft Power ของประเทศ โดยมุ่งเน้นการออกแบบ ประโยชน์การใช้งาน และการใช้วัสดุที่สื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นไทย มีผลงานส่งเข้าประกวด 247 ผลงาน แบ่งเป็นประเภทนักเรียนและบริษัท มีผู้ได้รับรางวัล 54 รางวัล ผู้ได้รับรางวัลสามารถสมัครเข้าร่วมการประกวดบรรจุภัณฑ์ระดับเอเชียและระดับโลกได้ในอนาคต กิจกรรมดังกล่าว ThaiStar Packaging Awards กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดการประกวดตั้งแต่ปี 2515 เป็นประจำต่อเนื่องกันทุกปี จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 52 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ไทย ประเทศไทยคว้ารางวัล 24 รางวัลจากการประกวดบรรจุภัณฑ์ระดับเอเชีย (AsiaStar Awards 2023) และ 26 รางวัลจากการประกวดบรรจุภัณฑ์ระดับโลก (WorldStar Packaging Awards) ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
13 มิ.ย. 2567
รสอ.วาที” ร่วมประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการค้าและการลงทุนชายแดน
กรุงเทพฯ 12 มิถุนายน 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ชายแดนและประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้คณะกรรมการส่งเสริมการค้าและการลงทุนชายแดนและผ่านแดน ครั้งที่ 1-2567 พร้อมด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายนฤชา ฤชุพันธุ์ รองเลขาธิการบีโอไอ เป็นประธาน การประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน การประชุมดังกล่าว ได้มีการแจ้งเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับพื้นที่ชายแดน ภาวการณ์ส่งเสริมการลงทุนสำหรับพื้นที่ชายแดนในปี 2566 และช่วง 3 เดือนแรกของปี 2567 ตลอดจนสถานการณ์และทิศทางการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังได้ร่วมหารือเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเชื่อมโยงฐานการผลิตและบริการระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน หารือถึงปัญหาและอุปสรรคของการลงทุนในพื้นที่ชายแดน และข้อเสนอแนวทางการยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดน เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการค้าและการลงทุนชายแดนและผ่านแดน ปี พ.ศ. 2567 – 2570 ให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
13 มิ.ย. 2567